กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: ประเภทของพระสงฆ์  (อ่าน 4590 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

มหาสุ

  • **แก้ไข**
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 749
  • กระทู้: 135
  • Thank You
  • -Given: 323
  • -Receive: 749
ประเภทของพระสงฆ์
« เมื่อ: มีนาคม 25, 2013, 09:02:19 PM »
ประเภทของพระสงฆ์

พระสงฆ์ ในทางพระพุทธศาสนามี 2 ประเภทใหญ่ ตามหลักการในบทสวดสังฆคุณ ยทิทํ ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือจตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฺฐ ปุริสปุคฺคลา คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ 8 บุคคล อันหมายถึงพระสงฆ์ฝ่ายธรรม 4 และพระสงฆ์ฝ่ายวินัย 4

[แก้]อริยสงฆ์
พระอริยสงฆ์คือพระอริยบุคคล ไม่ว่าเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิต ไม่ว่าเป็นมนุษย์หรือเทวดา ถ้าบรรลุมรรคผลก็นับเป็นพระสงฆ์โดยพระธรรม พระอริยบุคคล 4 ประเภท คือ

พระโสดาบัน (สุปฏิปณฺโณ ปฏิบัติดี , งาม)
พระสกทาคามี (อุชุปฏิปณฺโณ ปฏิบัติตรง , ถูกต้อง)
พระอนาคามี (ญายปฏิปณฺโณปฏิบัติชอบ , เพื่อธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์)
พระอรหันต์ (สามีจิปฏิปณฺโณปฏิบัติสมควร , เหมาะสม)
[แก้]สมมุติสงฆ์
สมมุติสงฆ์คือพระสงฆ์โดยสมมติ เป็นพระสงฆ์ด้วยพระวินัย เพราะได้รับการอุปสมบทตามพระบรมพุทธานุญาต จากพระเถระตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป เรียกว่าสงฆ์ เนื่องจากคำว่าสงฆ์แปลว่าหมู่ จึงเรียกหมู่พระภิกษุว่าภิกษุสงฆ์และหมู่พระภิกษุณีว่าภิกษุณีสงฆ์ และ พระภิกษุสงฆ์จัดเป็นพระสงฆ์โดยสมมุติจึงเรียกว่าสมมุติสงฆ์จัดเป็น 4 วรรค ตามตามพระบรมพุทธานุญาติ ให้ทำสังฆกิจตามพระวินัย คือ จตุวรรค 4 รูป ปญฺจวรรค 5 รูป ทสวรรค 10 รูป วิสติวรรค 20 รูป แต่ถ้าพระภิกษุ 2-3 รูป เรียกว่า คณะ (เนื่องจากแบ่งพวกกันฝ่ายละ 2 รูปมิได้) ถ้าพระภิกษุรูปเดียว จัดเป็นบุคคล

อนุตฺตรํ ปุญฺญเขตฺตํ โลกสฺสเป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
อาหุเนยฺโย เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา (นำมาถวาย เช่นนำมาใส่บาตรขณะบิณฑบาตร)
ปาหุเนยฺโย เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ (จัดไว้รอท่าให้ท่านมารับ เช่น การนิมนต์มาฉันที่บ้าน)
ทกฺขิเนยฺโย เป็นสงฆ์ควรแก่การรับทักษิณาทาน (การเอ่ยปากขอเองจากท่าน)
อฺญชลีกรณีโย เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี (การประนมมือ)


ขอนำเานอ อัตชีวประวัติพระอริยสงฆ์ และพระเกจิอาจารย์ในประเทศไทย
    [[][พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ http://www.thammapedia.com/sankha/his_thoud.php : หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด
๓ มีนาคม ๒๑๒๕ - ๖ มีนาคม ๒๒๒๕
วัดราษฎร์บูรณะ (วัดช้างไห้) ตำบลบ้านไร่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

คติธรรม คำสอน :
พูดมาก เสียมาก พูดน้อย เสียน้อย ไม่พูด ไม่เสีย นิ่งเสีย โพธิสัตว์



มหาสุ

  • **แก้ไข**
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 749
  • กระทู้: 135
  • Thank You
  • -Given: 323
  • -Receive: 749
Re: ประเภทของพระสงฆ์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 26, 2013, 01:03:24 PM »
โรคห่าเหือดหาย
 ต่อจากนั้น กรุงศรีอยุธยาเกิดโรคห่าระบาดไปทั่วเมือง ประชาราษฎรล้มป่วยเจ็บตายลงเป็นอันมาก ประชาชนพลเมืองเดือดร้อนเป็นยิ่งนัก สมัยนั้นหยูกยาก็ไม่มี นิยมใช้รักษาป้องกัน ด้วยอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย พระเจ้าอยู่หัวทรงพระวิตกกังวลมาก เพราะไม่มีวิธีใดจะช่วยรักษาและป้องกันโรคนี้ได้ ทรงระลึกถึงพระราชมุนีฯ มีรับสั่งให้อำมาตย์ไปนิมนต์ท่านเจ้าเฝ้า ท่านได้ช่วยไว้อีกครั้ง โดยรำลึกถึงคุณพระศรีรัตนตรัย และดวงแก้ววิเศษ แล้วทำน้ำพระพุทธมนต์ประพรมแก่ประชาชนทั่วทั้งพระนคร โรคห่าก็หายขาดด้วยอำนาจ คุณความดีและคุณธรรมอันสูงส่ง ทำให้พระเจ้าอยู่หัว ทรงเลื่อนสมณศักดิ์ท่านขึ้นเป็นพระสังฆราชมีนามว่า “พระสังฆราชคูรูปาจารย์” และทรงพอพระราชหฤทัย ในองค์ท่านเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับทรงมีรับสั่งว่า “หากสมเด็จเจ้าฯ ประสงค์สิ่งใด หรือจะบูรณะวัดวาอารามใด ๆ ข้าพเจ้าจะอุปถัมภ์ทุกประการ”

กลับสู่ถิ่นฐาน
 ครั้นกาลเวลาล่วงไปหลายปี สมเด็จเจ้าฯได้เข้าเฝ้า ถวายพระพรทูลลาจะกลับภูมิลำเนาเดิม พระองค์ทรงอาลัยมาก ไม่กล้าทัดทานเพียงแต่ตรัสว่า “สมเด็จอย่าละทิ้งโยม” แล้วเสด็จมาส่งสมเด็จเจ้าฯ จนสิ้นเขตพระนครศรีอยุธยา

 ขณะที่ท่านรุกขมูลธุดงค์ สมเด็จเจ้าฯ ได้เผยแผ่ธรรมะไปด้วยตามเส้นทาง ผ่านที่ไหนมีผู้เจ็บป่วยก็ทำการรักษาให้ ตามแนวทางที่ท่านเดินพักแรมที่ใดนั้น ที่นั่นก็เกิดเป็นสถานศักดิ์สิทธิ์ ประชาชนในถิ่นนั้นได้ทำการเคารพสักการะบูชามาถึงบัดนี้ ได้แก่ที่บ้านโกฏิ อำเภอปากพนัง ที่หัวลำภูใหญ่ อำเภอหัวไทร และอีกหลายแห่ง

สมเด็จเจ้าพะโคะ
 ต่อจากนั้น ท่านก็ได้ธุดงค์ไปจนถึงวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะ อันเป็นจุดหมายปลายทาง ประชาชนต่างซึ่งชื่นชมยินดีแซ่ซ้องสาธุการ ต้อนรับท่านเป็นการใหญ่ และได้พร้อมกันถวายนามท่านว่า “สมเด็จเจ้าพะโคะ” และเรียกชื่อวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะว่า “วัดพะโคะ” มาจนบัดนี้ สมเด็จเจ้าฯ เห็นวัดพระโคะเสื่อมโทรมมาก เนื่องจากถูกข้าศึกทำลายโจรกรรม มีสภาพเหมือนวัดร้างสมเด็จเจ้าฯ กับท่านอาจารย์จวง คิดจะบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพะโคะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบ ยินดีและอนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง โปรดให้นายช่างผู้ชำนาญ ๕๐๐ คน และทรงพระราชทานสิ่งของต่างๆ และเงินตราเพื่อการนี้เป็นจำนวนมาก ใช้เวลาประมาณ ๓ ปี จึงแล้วเสร็จ สิ่งสำคัญในวัดพะโคะหรือ พระสุวรรณมาลิกเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งพระอรหันต์นามว่า พระมหาอโนมทัสสี ได้เป็นผู้เดินทางไปอัญเชิญมาจากประเทศอินเดียสมเด็จเจ้าฯ ได้จำพรรษาเผยแผ่ธรรมที่วัดพะโคะอยู่หลายพรรษา

เหยียบน้ำทะเลจืด
 ขณะที่สมเด็จเจ้าฯ จำพรรษาอยู่ ณ วัดพะโคะ ครั้งนี้คาดคะเนว่า ท่านมีอายุกาลถึง ๘๐ ปีเศษ อยู่มาวันหนึ่ง ท่านถือไม้เท้าศักดิ์สิทธิ์ประจำตัว ไม้เท้านี้มีลักษณะคดไปมาเป็น ๓ คด ชาวบ้านเรียกว่า “ไม้เท้า ๓ คด” ท่านออกจากวัดมุ่งหน้าเดินไปยังชายฝั่งทะเลจีน ขณะที่ท่านเดินพักผ่อนรับอากาศทะเลอยู่นั้น ได้มีเรือโจรสลัดจีนแล่นเลียบชายฝั่งมา พวกโจรจีนเห็นท่านเดินอยู่ คิดเห็นว่าท่านเป็นคนประหลาด เพราะท่านครองสมณเพศ พวกโจรจึงแวะเรือเทียบฝั่ง จับท่านลงเรือไป เมื่อเรือโจรจีนออกจากฝั่งไม่นาน เหตุมหัศจรรย์ก็ปรากฏขึ้น คือ เรือลำนั้นแล่นต่อไปไม่ได้ต้องหยุดนิ่งอยู่กับที่ พวกโจรจีนพยายามแก้ไข จนหมดความสามารถเรือก็ยังไม่เคลื่อน จึงได้จอดเรือนิ่งอยู่ ณ ที่นั้นเป็นเวลาหลายวันหลายคืน ในที่สุดน้ำจืดที่นำมาบริโภคในเรือก็หมดสิ้น จึงขาดน้ำจืดดื่มและหุงต้มอาหาร พากันเดือดร้อน กระวนกระวายด้วยกระหายน้ำเป็นอย่างมาก สมเด็จเจ้าฯ ท่านเห็นเหตุการณ์ความเดือดร้อน ของพวกโจรถึงขั้นที่สุดแล้ว ท่านจึงเหยียบกราบเรือ ให้ตะแคงต่ำลง แล้วยื่นเท้าเหยียบลงบนผิวน้ำทะเล ทั้งนี้ย่อมไม่พ้นความสังเกตของพวกโจรจีนไปได้

 เมื่อท่านยกเท้าขึ้นจากพื้นน้ำทะเลแล้ว ก็สั่งให้พวกโจรตักน้ำตรงนั้นมาดื่มชิมดู พวกโจรจีนแม้จะไม่เชื่อก็จำเป็นต้องลอง เพราะไม่มีทางใดจะช่วยตัวเองได้แล้ว แต่ได้ปรากฏว่าน้ำทะเลเค็มจัดที่ตรงนั้น แปรสภาพเป็นน้ำจืด เป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก พวกโจรจีนได้เห็นประจักษ์ในคุณอภินิหารของท่านเช่นนั้น ก็พากันหวาดเกรงภัยที่จะเกิดแก่พวกเขาต่อไป จึงได้พากันกราบไหว้ ขอขมาโทษ แล้วนำท่านล่องเรือส่งกลับขึ้นฝั่งต่อไป

 เมื่อสมเด็จเจ้าฯ ขึ้นจากเรือเดินกลับวัด ถึงที่แห่งหนึ่งท่านหยุดพักเหนื่อย ได้เอา “ไม้เท้า ๓ คด” พิงไว้กับต้นยางสองต้นอันยืนต้นคู่เคียงกัน ต่อมาต้นยางสองต้นนั้นสูงใหญ่ขึ้น ลำต้นและกิ่งก้านสาขาเปลี่ยนไปจากสภาพเดิกกลับคดๆ งอๆ แบบเดียวกับรูปไม้เท้าทั้งสองต้น ประชาชนในถิ่นนั้นเรียกว่าต้นยางไม้เท้า ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งปรากฏอยู่ถึงทุกวันนี้

 สมเด็จเจ้าพะโคะ หรือหลวงปู่ทวด ครองสมณเพศและจำพรรษาอยู่ที่วัดพะโคะ เป็นที่พึ่งของประชาราษฎร์มีความร่มเย็นเป็นสุข ได้ช่วยการเจ็บไข้ได้ทุกข์ บำรุงสุข เทศนาสั่งสอนธรรมของพระพุทธองค์ ประดุจร่มโพธิ์ร่มไทรของปวงพุทธศาสนิกชนตลอดมา

สังขารธรรม
 หลังจากนั้นหลายพรรษา สมเด็จเจ้าฯ หายไปจากวัดพะโคะ เที่ยวจาริกเผยแผ่ธรรมะไปหลายแห่ง จากหลักฐานทราบว่าท่านได้ไปพำนักที่เมืองไทรบุรี ชาวบ้านเรียกท่านว่า “ท่านลังกา” และได้ไปพำนักที่วัดช้างไห้ ชาวบ้านเรียกท่านว่า “ท่านช้างให้” ดังนี้ ท่านได้สั่งแก่ศิษย์ว่า หากท่านมรณภาพเมื่อใด ขอให้ช่วยกันจัดการหามศพไปทำการฌาปนกิจ ณ วัดช้างให้ด้วย ขณะหามศพพักแรมนั้น ณ ที่ใดน้ำเหลืองไหลลงสู่พื้นดิน ที่ตรงนั้นให้เอาเสาไม้แก่นปักหมายไว้ ต่อไปข้างหน้าจะเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ อยู่มาไม่นานเท่าไร ท่านก็ได้มรณภาพลงด้วยโรคชรา ปวงศาสนิกก็นำพระศพมาไว้ที่วัดช้างให้ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

 สถานที่ที่สมเด็จเจ้าฯ เคยพำนักอยู่ หรือไปมา นับได้ดังนี้ วัดกุฎิหลวง วัดสีหยัง วัดเสมาเมือง นครศรีธรรมราช กรุงศรีอยุธยา วัดพะโคะ วัดเกาะใหญ่ วัดในไทรบุรี และวัดช้างให้

ปัจฉิมภาค
 สมเด็จเจ้าฯ ในฐานะพระโพธิสัตว์ หน่อพระพุทธภูมิ ผู้ทรงศีลวิสุทธิทรงธรรม และปัญญาญาณอันล้ำเลิศ กอปรด้วยกฤษดาภินิหาร และปาฏิหาริย์ไม่ว่าท่านจะพำนักอยู่สถานที่ใด ที่นั่นจะเป็นศูนย์กลาง ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ไม่ว่าท่านจะจาริกไป ณ ที่ใด ก็จะมีคนกราบไหว้ฟังธรรม หลักการปฏิบัติของท่าน เป็นหลักสำคัญของพระโพธิสัตว์ คือช่วยเหลือประชาชน และเผยแพร่ธรรมะให้ชาวโลกอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มีความเคารพเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ สมดังคำว่า “พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณัง คัจฉามิ” ตลอดไป


บันทึกการเข้า

มหาสุ

  • **แก้ไข**
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 749
  • กระทู้: 135
  • Thank You
  • -Given: 323
  • -Receive: 749
Re: ประเภทของพระสงฆ์
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 26, 2013, 01:06:49 PM »
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรํสี)
๑๗ เมษายน ๒๓๓๑ - ๒๒ มิถุนายน ๒๔๑๕
วัดระฆังโฆสิตาราม แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

คติธรรม คำสอน :
บุญเราไม่เคยสร้าง...ใครที่ไหนจะมาช่วยเจ้า
นิพพาน คือว่างจากกิเลส จิตวิญญาณของพระอรหันต์ไม่สูญ ที่วิญญาณสูญนั่นคือวิญญาณในขันธ์ ๕ เท่านั้น



สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) http://www.thammapedia.com/sankha/his_somdejto.php
๑๗ เมษายน ๒๓๓๑ - ๒๒ มิถุนายน ๒๔๑๕
วัดระฆังโฆสิตาราม แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
--------------------
ชาตะ
วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 ตรงกับเดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จ.ศ. 1150 เวลา พระบิณฑบาต 06.45 น. (ย่ำรุ่ง 9 บาท ) มารดาชื่อ งุด เกศ บิดาไม่ปรากฏแน่ชัด(บางแห่ง อ้างว่าเป็นราชวงศ์จักกรี)

บวชเป็นสามเณร
เมื่ออายุได้ 13 ปี ณ วัดใหญ่เมืองพิจิตร ต่อมาย้ายมาศึกษาพระปริยัติธรรม ณ เมือง ชัยนาทพออายุได้ 18 ปี ก็ย้ายมาศึกษากับอาจารย์แก้ว วัดบางลำพู กรุงเทพฯ และยังได้ ศึกษาพระปริยัติธรรมกับเสมียนตราด้วง ขุนพรมเสนา ปลัดเสนา ปลัดกรมนุท เสมียนบุญ และพระกระแสร์ต่อมาได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอดิศร สุนทร พระ บรมโอรสาธิราชให้ทรงโปรดมาอยู่กับสมเด็จพระสังฆราช วัดมหาธาตุ

บวชเป็นพระภิกษุ
พอถึง พ.ศ. 2351 อายุ 21 ปี สมเด็จเจ้าฟ้าพระบรมราชโอรสทรงรับภาระบรรพชาเป็น นาคหลวงโดยให้ไปบวชที่วัดตะไกร จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งโยมแม่และญาติมีภูมิลำเนาอยู่ที่นั่น แล้วมาประจำอยู่กับพระสังฆราชวัดมหาธาตุต่อไป

เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ
เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 สวรรคตลง เจ้าฟ้าทูลกระหม่อม ซึ่ง บวชตลอดรัชกาลที่ 3 ที่วัดบวรฯ ก็ลาสิขาบทขึ้นเสวยราชย์เป็นรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จัก กรี ก็ได้ทรงมีพระบรมราชโองการให้เป็น "พระธรรมกิตติ" ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัด ระฆัง เมื่อ พ.ศ. 2395 ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสได้ไม่นาน พอถึง พ.ศ. 2397 ก็โปรด เกล้าฯ ให้เป็น "พระเทพกวี" ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2407 ก็โปรดเกล้าฯ ให้เป็น "สมเด็จพระ พุฒาจารย์" ชาวบ้านทั่ว ๆ ไปเรียกกันว่า "สมเด็จพุฒาจารย์โต วัดระฆัง" เรียกไปเรียกมา เหลือเพียง "สมเด็จโต" ในทีสุด ขณะที่โปรดเกล้าฯ เป็นสมเด็จนั้น มีอายุได้ 78 ปี อายุ พรรษาได้ 56 พรรษาแล้ว

มรณภาพ
สมเด็จโต จะอาพาธด้วยโรคอะไรไม่ปรากฏ มรณภาพเมื่อวันเสาร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 (ต้น) ปีวอก จ.ศ. 1234 ตรงกับวันที่ 22 มิถุนายน 2415 เวลาประมาณ 24.00 น.เศษ บนศาลา ใหญ่วัดอินวรวิหาร บางขุนพรหม

สรุป
สมเด็จโตมีสิริรวมชนมายุของท่านได้ 85 ปี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ได้ 20 ปี บริบูรณ์ ดำรงฐานันดรศักดิ์ สมเด็จพระพุฒาจารย์โตมาได้ 7 ปี เศษ 65 พรรษา สมเด็จโตทรงถวายความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเปํนที่ยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นทางตรงและทางอ้อมทุกประการ


อัจฉริยะและภูมิปัญญา
ท่านสมเด็จโตนั้น เป็นคนที่เกิดอายุได้ 5 รัชกาล ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 5 มีแม่เป็นชาวบ้านธรรมดา ชื่อใดนั้นตามประวัติหลายต่อหลายเล่มมิได้กล่าวอ้าง สมเด็จท่านเป็นคนอัจฉริยะภูมิปัญญาแตกฉาน ตั้งแต่เด็จโตขึ้นบวชเณรก็มีผู้อุปถัมภ์ค้ำชูมาโดยตลอด ไม่เคยยุ่งเกี่ยวทางด้านโลกีย์ หญิงใด ๆ มาชอบพอไม่เคยสน เป็นเด็กว่านอนสอนง่าย มักไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ ชอบดู เหตุผล ชอบคิดวิเคราะห์สติปัญญาจึงแตกฉาน พอโตขึ้นมาอายุได้ครบบวชเป็นพร ท่านก็บวชสละเณรเปลี่ยนบวชเป็นพระต่อไปเลย การบวชเป็นพระนั้นเป็นที่ฮือฮาชอบพอรักใคร่ของผู้หลักผู้ใหญ่จนถึงกษัตริย์ จัดเป็นนาคหลวง เมื่อบวชเป็นพระเสร็จ ท่านได้เที่ยวสัญจรไปมาตามที่ต่าง ๆ ตามนิสัยของท่านที่ของค้นคว้าหาความรู้จึงมุ่งศึกษาหาอาจารย์ต่าง ๆ ที่คงแก่เรียนด้านวิปัสสนากรรมฐานสมถะ จากอาจารย์ต่าง ๆ ของเดินธุดงค์พงไพรไป

ขณะนั้นยศของท่านยังไม่ได้ยศเป็นสมเด็จ เป็นพระธรรมดา อาศัยท่านแตกฉานด้านปัญญา พระไตรปิฎกท่านรู้อย่างดี จิตใจท่านมุ่งแต่บูชาพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง ท่านจึงริเริ่มสร้างพระขึ้นมา สมัยที่ขณะนั้นยศยังไม่ได้เป็นสมเด็จ ท่านสร้างขึ้นตามใจของท่าน รูปแบบพิมพ์พระสมเด็จที่ท่านสร้างตอนนั้น มิใช่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เรากำลังแสวงหาพระสมเด็จกัน รูปทรงพิมพ์สมเด็จขณะนั้นเป็นรูปคดหอย จับผงมาปั้นเป็นก้อน ๆ ยาว ๆ แล้วก็วนเป็น คดหอย ปลุกเสกแจกชาวบ้าน บางพิมพ์ก็เป็นรูปปูก็มี เป็นรูปต่าง ๆ ก็มีแสดงให้เห็นว่า ท่านสมเด็จเริ่มสร้างพระสมเด็จตั้งแต่ยังไม่ได้ยศสมเด็จจากในหลวงแต่งตั้ง วัดที่ท่านได้ไปอยู่ก็หลายต่อหลายวัด แต่ในที่นี้เราจะเอาเฉพาะวัดที่สำคัญในตระกูลพระสมเด็จที่เล่นกันอยู่ นั่นคือ วัดเกศไชโย วัดบางขุนพรหม และวัดระฆัง ทั้งสามวัดนี้ ท่านได้สร้างพระสมเด็จขึ้นมาจนทุกวันนี้เราก็ต่างเสาะแสวงหากันอยู่ การสร้างนั้นท่านสมเด็จจะปลุกเสกเดี่ยวแต่เพียงผู้เดียว เพราะฉะนั้นพลังจิตในพระสมเด็จทุกรุ่นทุกพิมพ์จึงเป็นพลังจิตของท่าน

หลังจากที่ท่านได้ร่ำเรียนจนสำเร็จวิปัสสนาญาณกรรมฐานชั้นสูง ท่านก็ได้มีอาจารย์อยู่คนหนึ่ง อาจารย์คนนั้นท่านผู้อ่านอาจจะนึกเดาถูก นั่นคือ สมเด็จพระสังฆราชสุกไก่เถื่อน เหตุที่เรียกว่าสังฆราชสุกไก่เถื่อน เพราะมีไก่ป่า ท่านสังฆราชเอามาเลี้ยงจนเชื่องเล่นกันได้ จึงได้ฉายาว่าสังฆราชสุกไก่เถื่อน พระสังฆราชนั้นเป็นอาจารย์ของสมเด็จโต พร่ำสอนวิชาต่าง ๆ ให้จนสมเด็จโตเก่งแตกฉานทุกอย่าง สม้ยนั้นสมเด็จพระสังฉราชสุกไก่เถื่อนได้สร้างพระสมเด็จวัดพลับขึ้นมาปลุกเสกเอง ซึ่งสมเด็จโตก็รู้ จากนั้นมาไม่นาน ท่านสมเด็จโตก็ได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆัง

จากการที่ได้รับยศเป็นถึงสมเด็จนั้น ท่านจำไจยอมรับ เพราะตอนนั้นในหลวงเป็นเจ้าฟ้า ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะฟ้านั้น ปกคลุมพื้นดินไปหมด จะหนีฟ้าก็ไม่พ้น แต่ถ้าเป็นเจ้าแผ่นดิน สมเด็จโตท่านมีความรู้ ย่อมหนีพ้นจึงไม่รับยศ หนีออกนอกแผ่นดิน โดยเดินธุดงค์ไปหลายเดือนเพื่อหนียศ แต่นี่กษัตริย์เป็นยศถึงเจ้าฟ้าไม่พ้นจึงจำใจรับยศสมเด็จ และเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่นั้นมา ขณะนั้นเองเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่แปลกแหวกแนวพิสดารมากมาย ตลกขบขันก็มี เกิดขึ้นบ่อย ๆ อาทิเช่น มีฝรั่งต่างชาติ รู้ข่าวว่าท่านสมเด็จโตเก่งอัจฉริยะ จึงลองภูมิปัญญาท่านสมเด็จโตว่า "จุดศูนย์กลางของโลกอยู่ตรงไหน?" ท่านสมเด็จตอบฝรั่งไปว่า "จุดศูนย์กลางของโลกนั้นอยู่ทุกหนทุกแห่งบนพื้นผิวโลก ไม่ว่าฉันจะไปยืน ณ ที่ใดตรงนั้นคือจุดศูนย์กลางของโลก " ฝรั่งถามว่า ท่านพิสูจน์ให้เห็นได้ไหม ? ท่านสมเด็จตอบว่า "ฉันพิสูจน์ได้แล้วท่านจะว่าอย่างไร" ฝรั่งไม่ตอบ จากนั้นสมเด็จโตก็ถือตาลปัตร มือหยิบสายสิญจน์แทนเชือก เอาสายสิญจน์ผูกที่ตาลปัตรเอาตาลปัตรปักดินแลังดึงเชือกสายสิญจน์ให้ตึงกางออก ใช้ปลายนิ้ว แทนดินสอ จากนั้นก็ลากลงบนพื้นดินเป็นวงกลม ท่านสมเด็จบอกว่า วงกลมคือโลก เพราะฉะนั้น ฉันยืนอยู่จุดศูนย์กลางของโลก ตรงจุดที่ตาลปัตรปักดินนั้นแหละ

เมื่อเป็นเช่นนี้ฝรั่งยอมแพ้กลับไป ยังมีอีกหลายเรื่องที่ท่านสมเด็จโตย่อมรู้กาลเวลาอนาคต มีครั้งหนึ่ง หญิงจีนมาขอหวยท่านสมเด็จโต แอบมานัดกับเด็กวัด โดยแนะให้ขึ้นไปคุยกับท่านสมเด็จโตบนกุฏิ ให้เด็กวัดชวนพูดแล้วบีบนวดไป จากนั้นเด็กวัดก็ถามท่านสมเด็จโตว่า "ท่านตา ท่านตา หวยงวดนี้มันจะออกอะไร " เมื่อท่านสมเด็จโตได้ยินดังนั้น ท่านก็ตอบว่า ข้าตอบไม่ได้โว้ย เดี๋ยวหวยของข้าจะรอดร่อง ขณะนั้น ก็บังเอิญอาเจ็คคนนี้แกแอบอยู่ใต้ถุนกุฏิ แกแอบได้ยินสมเด็จโตพูดอย่างนั้นก็เปิดแน่บไปเลย

นอกจากเหตุการณ์ดังกล่าวแล้ว ก็ยังมีเหตุการณ์อื่น ๆ อีก มีครั้งหนึ่งขณะที่ท่านสมเด็จโตกำลังจะไปธุระ บังเอิญเรือติดหล่ม ต้องเข็นเรือกัน ท้านสมเด็จโตได้เอาพัดยศวางไว้ในเรือแล้วรีบมาช่วยคนอื่นซึ่งเป็นลูกศิษย์เข็นเรือ บังเอิญชาวบ้านแถบนั้น แลเห็นเข้าหัวเราะชอบใจขบขัน พูดตะโตนออกมาว่า "ดูท่านสมเด็จเข็นเรือ" เสมือนหนึ่งล้อเลียนท่านในเชิงปัญญาขบขัน เมื่อเป็นเช่นนั้น สมเด็จโตก็พูดออกมาว่า สมเด็จเขาไม่ได้เข็นเรือหรอกจ้ะ สมเด็จท่านอยู่บนเรือ ว่าแล้วท่านสมเด็จโตก็ชี้มือไปที่พัดยศในเรือ เมื่อชาวบ้านต่างได้ยินได้ฟัง แลเห็นเช่นนั้น ก็เงียบกริบไม่ว่าอะไร เรื่องพิสดารอย่างนี้ก็มีเกิดขี้น

เราขอพาท่านไปดูเหตุการณ์ในอีกลักษณะหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องลองภูมิปัญญากัน มีครั้งหนึ่ง ท่านในหลวงได้มีราชโองการโปรดเกล้า ให้ท่านสมเด็จโตเข้าเฝ้า ถวายพระธรรมเทศนาในวัง เมื่อสมเด็จโตท่านมาถึง นั่งธรรมมาสก์เสร็จ ก็เอ่ยปากพูดว่า "ดีีพระมหาบพิธก็รู้ ชั่วพระมหาบพิธก็รู้ เพราะฉะนั้นวันนี้อากาศแจ่มใสดี เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้"

เมื่อเจ้าเหลวงได้ยินดังนั้น ก็แลเห็นท่านโตลุกจากธรรมมาสก์แล้ว มิได้มองเจ้าหลวง เจ้าหลวงเห็นดังนั้น จึงเอ่ยปากเรียกสมเด็จโตว่า ท่านโต ท่านโต ทำไมถึงเทศน์จบเร็วจัง ไงไม่เข้าใจ ท่านโตก็เฉลยว่า ที่พูดว่าอากาศแจ่มใสดี ดีก็รู้ ชั่วก็รู้ ก็หมายถึงว่า วันนี้ จิตใจของพระมหาบพิธ รื่นเริงสดชื่น ปราศจากความหม่นหมองใจ ก็คือความหมายที่ว่า อากาศแจ่มใสดี อาตมาจึงเทศน์เพียงเท่านี้ เพราะไม่รู้จะพูดอะไร เมื่อพระมหาบพิธได้ยินดังนั้น ก็รู้สึกเข้าใจในความหมายเทศน์ เป็นยังไงท่านผู้อ่าน เรื่องราวแหลวแหวกแนวพิสดาร แสดงกถึงภูมิปัญญาอัจฉริยะของท่านสมเด็จโต ยังมีอีกมากมายที่จะบอกเล่าให้ท่านผู้อ่านได้รู้กัน

มีอยู่ตอนหนึ่ง ขณะที่เจ้าหลวงเชิญสมเด็จโตมาเทศน์ วันนั้นท่านโตเทศน์นานแล้วนานเล่า จนกิริยาอาการของเจ้าหลวงเริ่มเหนื่อยหน่าย หงุดหงิด พอท่านโตเทศน์เสร็จ เจ้าหลวงถามท่านโตว่า ท่านโต วันนี้ทำไมถึงเทศน์นานจัง เราเมื่อย เหนื่อย อยากจะถาม ท่านโต ได้ยินดังนั้น ก็ตรัสตอบไปว่า ก็วันนี้จิตใจของมหาบพิธเต็มไปด้วย ความทุกข์เร่าร้อนในอารมณ์ตลอดเวลา จึงเทศน์ให้มันเย็น จึงนานไปหน่อย

ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่จะกล่าวถึง คือ ในวันนั้น ท่านสมเด็จโตได้ออกจากกุฏิมุ่งหน้าไปธุรกิจ แจงเรือผ่านไปตามคลองชาวบ้านก็แลเห็น ต่างก็พูดขอหวยท่านโตต่าง ๆ นานา รู้กิตติศัพท์ว่า ท่านให้แม่น สงสารคนจน และเวลาเทศนาธรรมที่ใด ท่านสมเด็จได้เงินกัณฑ์เทศน์มา ก็นำมาแจกชาวบ้านและเด็กจน ๆ แม้แต่สตางค์แดงเดียวก็มิเอา ครั้นพอขากลับวัด ท่านสมเด็จโต ก็ซื้อหม้อขนมาเต็มลำเรือ เจตนารมณ์ จะบอกใบ้ให้ชาวบ้านจน ๆ ตีปริศนาไปแทงกัน เพราะรู้ว่าหวยจะต้องออก "ม" มอม้า วันนี้ จึงซื้อหม้อมาเต็มลำเรือ บังเอิญชาวบ้าน ที่ท่านสมเด็จโตแจวเรือผ่านมา ตามริมคลองแลเห็นเข้า ต่างก็ตะโกนพูดว่า "ท่านโตเป็นอะไร ทำไมถึงซื้อหม้อมาเยอะแยะนะ" แต่ก็มีชาวบ้าน ที่ปัญญาฉลาดตีความถูก วันนั้นพอเห็นท่านโตซื้อหม้อมาเยอะแยะ รู้ว่าหวยออก ม. มอม้า จึงรีบไปแทง ครั้นพอหวยประกาศออกมาปรากฏว่า ออก "ม" มอม้า นี่ก็แสดงให้ท่านผู้อ่านได้แลเห็นว่า ท่านสมเด็จโตเป็นอัจฉริยะบุคคล ที่มีใช่บุคคลธรรมดา เก่งด้วยวิปัสสนากรรมฐาน รู้อดีต รู้ปัจจุบัน และรู้อนาคต ยังมีอีกหลายต่อหลายบทตอน ที่จะหยิบยกเอามาพูดกันให้รู้ทีละตอน ๆ

มีคราวหนึ่ง ท่านสมเด็จโตได้สร้างพระสมเด็จขึ้นมาพิมพ์หนึ่ง โดยผีมือช่างหลวงช่วยแกะพิมพ์ให้ พอสร้างเสร็จปลุกเสกเสร็จ ท่านโตก็ได้ให้พระสมเด็จทรงพิมพ์นี้ ให้ ร.5 ติดตังไป ท่าน ร.5 ได้นำพระสมเด็จ ที่สมเด็จโตสร้างติดตัวไปประเทศเยอรมัน พอถึงเยอรมัน กษัตริย์เยอรมันพบ ร.5 เข้าก็แปลกใจ แลเห็นที่หน้าอกของ ร.5 มีแสงสว่างประกายออกมา จึงกราบเรียนถาม ร.5 ว่า ในตัวมีอะไร ร.5 ก็นึกขึ้นมาได้ว่า มีพระสมเด็จองค์หนึ่งที่ท่านโตให้ติดตัวมา จึงถวายให้กับกษัตริย์เยอรมันไป จึงเรียกสมเด็จทรงพิมพ์นี้ว่า ทรงพิมพ์ไกเซอร์

ท่านผู้อ่านที่เคารพยิ่ง ตามประวัติต่างๆ ที่ผู้เขียนได้หยิบยกขึ้นมาเขียนกล่าว บางครั้งอาจจะคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงไปบ้าง เขียนถูกบ้างผิดบ้าง ขอได้โปรดอภัย แต่เจตนารมณ์ของผู้เขียน มุ่งที่จะจรรโลงไว้ซึ่งศาสนา ให้เจริญสูงส่ง รวมทั้งสถาบันกษัตริย์ และประการสุดท่านก็คือส่งเสริมคุณค่า และความดีเกียรติคุณยกย่องให้ท่านสมเด็จโต มิได้มุ่งทำลาย อดุมการณ์ของผู้เขียนมีอย่างนี้ จึงได้เพียรพยายามทุกวิถึทาง ที่จะให้หนังสือเล่มนี้ได้สำเร็จขี้นมา ด้วยความเพียร และขอบรารมีพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ให้ดลบังดาล เกิดผลคุณค่าทางปัญญา ส่งผลออกมาทางลายลักษณ์อักษร ให้ท่านได้ดูอ่านชมกัน เพื่อให้ได้มาซึ่งสมบูรณ์แบบครบถ้วน อาจจะขาดเหลือไป ก็เพียงเล็กน้อย ผลอันนี้มุ่งหวังให้ท่านผู้อ่านทั้งประเทศ หรือต่างประเทศได้รู้ถึงคุณค่าของพระพุทธศาสนาไทยเรา และรู้คุณค่าของประวัติความดีของสมเด็จโต ตลอดจนพระสมเด็จที่ท่านสมเด็จโตได้สร้างขึ้น

สุดท้ายนี้ ผลงานความดีทั้งหลายแหล่ที่ได้จากากรจัดทำนั้น ผู้เขียนขอน้อมเกล้าถวายยกให้พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอรหันต์ ตลอดจนสมเด็จโต รวมถึงสิ่งศักดิ์สิทธ์ทั้งหลายในสากลโลกทั้งหมด ไม่ว่าชาติใด ภาษาใด และศาสนาใด ๆ จงได้รับผลอานิสงค์บุญ จากการจัดทำหนังสือเล่มนี้ไปด้วยเทอญ ความบกพร่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ผู้เขียนขอน้อมรับไว้แต่เพียงผู้เดียว

คราวหนึ่งเจ้าประคุณสมเด็จฯ ไปธุระทางแขวงจังหวัดนนทบุรีด้วยเรือแจง ขอกลับพอมาถึงปากคลองสามเสน เด็กศิษย์คนหนึ่ง ได้เอากะโหลกออกไปตัก น้ำ จะเนื่องด้วยเหตุใดไม่ปรากฏ กะโหลกนั้นได้พลัดหลุดจากมือจมลงไปในแม่น้ำ ท่านพูดว่า "งมที่นี้ไม่ได้ เพราะน้ำลึก ต้องไปงมที่หน้าวัดระฆังจึงจะได้" เมื่อถึงวัดระฆังท่านจึงให้เด็กศิษย์นั้นลงไปงมทื่หน้าวัด ก็ได้กะโหลกลมจริงดังที่ท่านบอก


บันทึกการเข้า

มหาสุ

  • **แก้ไข**
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 749
  • กระทู้: 135
  • Thank You
  • -Given: 323
  • -Receive: 749
Re: ประเภทของพระสงฆ์
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มีนาคม 26, 2013, 08:08:42 PM »
ว่าด้วยอภินิหาร
เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ได้ศึกษาเชี่ยวชาญ ทั้งในทางคันถธุระและวิปัสสนาธุระดังกล่าวมา นับว่าท่านเป็นอัจฉริยะบุรุษผู้หนึ่ง ที่หาได้ยากในโลก" (ด้วยปรากฎว่า มีแต่ผู้ชำนาญเฉพาะธุระเดียว ที่ชำนาญทั้งสองธุระนั้นหายาก) เห็นจะเป็นเพราะ ท่านเชี่ยวชาญในสองธุระ ประกอบกัน จึงเกิดเสียงเลื่องลือกันว่า ท่านทรงคุณในวิทยาคุณานุภาพศักดิ์สิทธ์ว่า นี้มาต์หรือเครืองวิทยาคม ของท่าน มีคุณานุภาพศักดิ์สิทธิ์ คือแก้โรคต่าง ๆ ป้องกันสรรพภัย ค้าขายดี ทางเมตตามหานิยมก็ว่าดีนัก อนึ่งว่ากันว่า ท่านทรงคุณวิเศษ ถึงสามารถทำสิ่ง ซึ่งเหลือวิสัยมนุษย์สามัญให้สำเร็จได้ อาทิเช่น ทำให้ คลื่นลมสงบ ห้ามฝน ย่นหนทางฯ ดังจะยกมาสาธก เป็นอุทาหรณ์ต่อไป

ในรัชกาลที่ 4 โปรดฯ ให้สร้างพระราชวัง พระที่นั่ง และพระเจดีย์วิหารที่บนเขามหาสมณะ จังหวัดเพชรบุรี พระราชทานนามเรียกรวมกันว่า "พระนครคิรี" (และเขามหาสมณะนี้ พระราชทานนามใหม่ว่า เขามไหศวรรย์) ในจดหมายเหตุของหมอบรัดเล (พิมพ์ไว้ในประชุม พงศาวดาร ภาคที่ 120หน้า 52) ว่า โปรดฯ ให้เฉลิมพระราชมณเฑียรที่พระนครคีรี พร้อมกับบรรจุพระบรมธาตุในพระเจดีย์ศิลา

เมือเดือนพฤษภาคม ปีจอ พ.ศ.2405 ดังนี้ กล่าวกันว่า เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ไปในงานพระราชพิธินั้น ด้วยขากลับท่านออกเรือ จากปากอ่าวบ้านแหลม จะข้ามมาอ่าวแม่ฉลอง เวลานั้นคลื่นลมจัดมาก ชาวบ้านห้ามท่านก็ไม่ฟัง ว่าท่านได้ออกมายืน ที่หน้าเก๋งเรือโบกมือไปมา ไม่ช้าคลื่นลมก็สงบราบคาบ

คราวหนึ่งมีการก่อพระเจดีย์ทรายที่ในวัดระฆัง ประจวบกับวันนั้นมีเมฆฝนตั้งมืดคลึ้ม คนทั้งหลายเกรงฝนตก จึงไปกราบเรียน ปรารภกับเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ท่านได้กล่าวพร้อมกับโบกมือว่า "ตกที่อื่น ๆ" ว่าน่าประหลาด ที่ในวันนั้นปรากูฎว่า ฝนไปตกที่อื่น หาได้ตกที่ในตำบลศิริราชพยาบาลไม่ คราวหนึ่งเขานิมนต์เจ้าประคุณสมเด็จฯ ไปในงานพิธีโกนจุกที่จังหวัดอ่างทอง ท่านได้เริ่มออกเดินทาง ก่อนถึงกำหนดเวลาเพียง 3 ชั่วโมง มีผู้สงสัยว่าท่านจะไปทันเวลากำหนดได้อย่างไร ถึงกับได้สอบถาม ไปยังเจ้าภาพในภายหลังต่อมา ก็ไดรับคำตอบว่าท่านไปทันเวลาตามฎีกาทุกประการ (ว่าวิชานี้ท่านได้เรียนต่อพระอาจารย์แสง ที่จังหวัดลพบุรี)

กล่าวกันว่า เจ้าประคุณสมเด็จฯ ไม่มีเงินติดตัว เพราะท่านเป็นผู้มีอัธยาศัยมักน้อยไม่เก็บสะสม (ดังเล่ามาแล้วในที่อื่น) แต่น่าประหลาด ที่ท่านสามารถสร้าง ปูชนียวัตถุสถานใหญ่ ๆ โต ๆ สำเร็จหลายแห่ง (บางแห่งสร้างค้างไว้ เช่น พระโตวัดอินทรวิหาร ว่าท่านประสงค์จะให้ผู้อื่นสร้างต่อบ้าง) มีผู้ได้พยายามสังเกตกันนักหนาแล้ว แต่ก็ไม่ทราบว่าท่านเอาเงินมาแต่ไหน พระเทพราชแสนยาว่า คราวหนึ่งจึนช่างปูน ไปขอเงินค่าจ้างก่อสร้าง จากเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ 1 ชั่ง (80 บาท) ท่านบอกให้หลวงวิชิตรณชัยหลายชาย ไปเอาเงินที่ใต้ที่นอนของท่าน หลวงวิชิต ฯ กลับมากราบเรียนว่า ได้ไปค้นหาดูแล้วไม่เห็นมีเงินอยู่เลย ท่านสั่งให้ไปค้นหาใหม่ ก็ได้เงิน 1 ชั่ง เรื่องนี้หลวงวิชิต ฯ ว่าน่าประหลาดนักหนา

มีสิ่งหนึ่ง ที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ทำไว้ที่วัดระฆัง คือน้ำมนต์ จะเขียนแทรกลงไว้ตรงนี้ มีคำเล่ากันว่า เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ปลุกเสกลงเลขยันต์ศิลา 3 ก้อน ก้อนหนึ่ง เอาไปไว้ที่ในสระหลังวัด (สระนี้ตื้นเขินนานแล้ว) ก้อนหนึ่งเอาไว้ในสระกลางน้ำ (สระนี้ยังมีปราฏอยู่) อีกก้อนหนึ่งเอาไว้ในแม่น้ำตรงหน้าวัด (ห่างเขื่อนราว 2 วา ประมาณว่าอยูตรงกลางโป๊ะท่าเรือ) ว่าน้ำในที่ทั้งสามแห่งนั้น มีคุณานุภาพศักดิ์สิทธิ์ต่างกัน คือน้ำที่สระหลังวัด อยูคงกระพันชาตรี น้ำที่สระกลางวัด ทางเมตตามหานิยม น้ำที่หน้าวัดทำให้เสียงไพเราะ (เหมาะกับนักร้อง) และว่าเมื่อจะตักน้ำที่หน้าวัดน้ำให้ตักตามน้ำ (ห้ามตักทวนน้ำ) ถ้าน้ำนิ่งให้ตักตรงไปอภินิหารของเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ นับถือกันสืบมา จนเมื่อท่านถึงมรณภาพแล้ว

ดังปรากฎว่ามีผู้คนไปบนบานปิดทองที่รูปหล่อของท่านเนือง ๆ (อธิบายเรื่องรูปหล่อของเจ้าประคุณสมเด็จฯ จะปรากฎต่อไปในที่อื่นข้างหน้า) ว่ากันว่าเพียงแต่ตั้งจิตระลึกถึงท่าน ก็ยังให้เกิดประสิทธิผลอย่างน่ามหัศจรรย์ จะยกมาอ้างเป็นอุทาหรณ์ ดังเช่นเจ้าคุณธรรมกิติ (ลมูล สุตาคโม ป.6) วัดระฆังกลับไม่ทันรถไฟ ต้องเดินมาลงเรือเมล์โดยสารที่ท่าเรือ พอย่างเข้าชานสถานีเรือ มีชายคนหนี่ง ในเครื่องแต่งกายชุดดำ เดินออกจากที่กำบังตรงเข้ามาขวางทาง (สังเกตไม่ได้ว่าจะมีอาวุธหรือไม่ เพราะเป็นเวลามืด) ถามว่า "ท่านจะไปไหน" ตอบว่า จะไปหาเจ้าประคุณสมเด็จฯ ขอให้ช่วยคุมภัย

ท่านว่า แล้วชายคนนั้นก็ออกเดินหลีกทางไปโดยไม่ได้พูดอะไร และว่าอีกคราวหนึ่ง (ดูเหมือนจะเป็น พ.ศ.2485) ท่านไปเทศน์ที่วัดอินทาราม แขวงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้เรือจ้างส่งที่แพหน้าวัดสุวรรณเจดีย์ (ตำบลหัวเวียง) ด้วยหมายจะขึ้นไปพักวัดนั้นก่อน แต่ขึ้นวัดไม่ได้เพราะน้ำท่วม เวลานั้นดึกมาก ผู้คนนอนหลับกันหมดแล้ว ทั้งฝนก็ตกพรำ ๆ ท่านมิรู้จะทำอย่างหร เลยนั้นพักอยู่บนตุ่มปูนที่ข้างแพนั้น สักครู่หนึ่งมีชาย 2 คน พายเรือทวนนี้ขึ้นไปทางเหนือ ท่านจึงเอาไฟฉายส่องที่ตังท่านเอให้รู้ว่าเป็นพระ พร้อมกับร้องเรียนให้ช่วยรับส่งขึ้นที่วัด ชาย 2 คนนั้นจะได้ยินหรือไม่ไม่ทราบ แต่หาได้นำพาต่อคำขอร้องของท่านไม่ คงเร่งพายเรือต่อไป

ท่านจึงตั้งจิตระลึกถึงเจ้าประคุณสมเด็จฯ ว่า เวลานี้ลูกลำบาก ขอให้หลวงพ่อช่วยลูกด้วย ท่านว่า น่าประหลาดที่ต่อมาสัก 4-5 นาที ชาย 2 คนนั้นได้พายเรือมารับท่าน ส่งขึ้นวัดสุวรรณเจดีย์ตามประสงค์ พระอาจารย์ขวัญวิสิฎโฐ เล่าเรื่องหนึ่งว่า คราวหนึ่ง มีงานฉลองสุพรรณบัฎสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร ณ อยุธยา) ที่วัดระฆังในงานนั้นมีอาจารย์มาประชุมกันหลายรูป พอตกบ่ายฝนตั้งเค้ามือครึ้ม เสมียน (ตรา) เหมือน บ้านหลังตลาดบ้านขมิ้น จังหวัดธนบุรี ผู้ซึ่งมีความเคารพในเจ้าประคุณสมเด็จฯ มาก ได้กล่าวขึ้นในที่ประชุม ว่าท่านผู้ใดจะสามารถห้ามไม่ให้ฝนตกไดั ที่ประชุมต่างนิ่งไม่มีใครว่าขานอย่างไร เสมือนเหมือนกล่าวต่อไปว่า (สมเด็จโตถึงจะห้ามฝนได้" ดังนี้ แล้วผินหน้าไปทางรูปหลบ่อเจ้าประคุณสมเด็จฯ จะธูปเทียนบุชาสักการะตั้งสัตยาธิศฐานขออย่าให้ฝนตกที่วัด ว่าวันนั้นฝนตกเพียงแค่โรงหล่อ หกตกถึงที่วัดระฆังไม่ คนทั้งหลายต่างเห็นอัศจรรย์ยิ่งนัก นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวเล่ากันอึกมากมายหลายเรื่อง

ทีนี้จะพรรณาว่าด้วยอภินิหาร พระพุทธรูปที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างต่อไป จะกล่าวงถึงพระโตก่อน อันพระโต (หรือเรียกกันว่า "หลวงพ่อโต") ที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างไว้นี้ ดูเหมือนจะมีอภินิหารศักดิ์สิทธิ์ทั้งนั้น ข้อนี้จะพึงสังเกตุเห็นได้ ด้วยมีประชาชนไปปิดทองบนบานศาลกล่าวและเซียมซีเสี่ยงทายกันเนือง ๆ บางแห่งถึงจัดให้มีงานประจำปี มีพุทธศาสนิกชนจากแหล่งต่าง ๆ ทั่วประเทศมาชุมนุมกันในคราวหนึ่ง ๆ นักแสน ว่าเฉพาะพระโตวัดไชโยปรากฎในหนังสือ "ลิลิตพายัพ" พระราชนิพนธ์

ในรัชกาลที่6 ว่าเมื่อปีมะเส็ง พ.ศ.2448 พระบาทสมเด็จ ฯ พระมงกุฎกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เสด็จประพาสหัวเมืองมณฑลพายัพ ขากลับกรุงเทพฯ เสด็จทางชลมารคถึงวัดไชโจได้เสด็จขึ้นนมัสการ ดังที่ทรงพระราชนิพนธ์เป็นโคลงไว้ดังนี้

ถึงไชโยหยุดยั้ง นาวา
พระเสด็จขี้นอุรา วาสนั้น
นมัสการปฏิมา กรเกตุ
คุณพระฉัตรกั้น เกศข้า ทั้งปวง

ในที่นี้จะกล่าวถึงอภินิหารพระโตวัดอินทรวิหาร เป็นนิทัศนุทาหรณ์ พระโตองค็นี้เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์มาก ว่าสามารถคุ้มกันสรรพภัยพิบัติและให้เกิดสุขสวัสดิ์ ลาภผลอย่างมหัสจรรย์ ดังพรรณนาไว้ในเรื่องประวัติ พิมพ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2490 คัดมาลงไว้ต่อไปนี้

อภินิหารของหลวงพ่อโตศักดิ์สิทธ์มาก ดังเป็นที่ประจักษ์อยู่แล้วโดยทั่วกัน สักขีพยานซึ่งได้เห็นกันอยู่ในเร็วๆ นี้ ในระหว่างที่บ้านเมืองกำลังอยู่ในระหว่างสงคราม (พ.ศ.2484-2487) หลวงพ่อโตหาได้กระทบเทือนอย่างใดไม่ คงอยู่เป็นมิ่งขวัญ เป็นที่สักการะของชาวเราอยู่ตลอดไป ได้มีผู้กล่าวสรรเสริญถึงอภินิหารความศักดิ์สิทธิ์ของท่านอยู่เสมอมิได้ขาด ในยามสงครามประชาชนในเขตอื่น ๆ อพยพกันเป็นจ้าระหวั่น แต่ในบริเวณเขตหลวงพ่อโต มิใคร่จะมีใครอพยพกัน

ซึ่งมีบางท่านกล่าวว่า จะไม่ยอมไปไกลจากองค์หลวงพ่อโตเป็นอันขาด แต่มีบางท่านจะต้องอพยพ ได้ไปลาสมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสสเทว) วัดสุทัศน์ มีรับสั่งว่าอย่าไปเลย ในบริเวณวัดอินทรวิหาร เหมาะและปลอดภัยแล้ว เพราะหลวงพ่อโตท่านก็คุ้มครองอยู่ คงจะปัดเป่าภยันตรายไปได้และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านเป็นผู้สร้างได้ทำไว้ดีแล้ว ประชาชนส่วนมากในวัดอินทรวิหารจึงไม่ใคร่อพยพจากไป นอกจากนั้น เมื่อมีภัยทางอากาศเกิดขึ้นในคราวใด ประชาชน ในเขตอื่น ๆ ยังพลอยหลบภัยเข้ามาอาศัยอยู่ในบริเวณหลวงพ่อโตเป็นจำนวนมาก ปรากฎว่ามีเครื่องบินมาทิ้งลูกระเบิด ที่บริเวณวัดอินทรวิหารเหมือนกัน เป็นลูกระเบิดเพลิงรวมด้วยกัน 11 ลูกแต่ไม่ระเบิด และไม่เกิดเพลิงอย่างใด ในครั้งต่อมา ได้มีเครื่องบินมาทึ้งระเบิดที่ตำบลเทเวศร์ โดยเฉพาะองค์หลวงพ่อโตวัดอินทรวิหาร ใกล้กับจุดอันตรายมาก แต่หาเป็นอันตรายแม้แต่น้อยไม่

ซึ่งประชาชนส่วนมากที่หลบภัย เข้ามาในบริเวณหน้าหลวงพ่อโต มองเห็นฝูงเครื่องบินมาทิ้งระเบิดบ่ายโฉมหน้า มุ่งตรงมายังหลวงพ่อโต ครั้นมาถึงในระยะใกล้เครื่องบินฝูงนั้น กลับวกมุ่งไปทางทิศอื่นเสีย ซึ่งดูประหนึ่งหลวงพ่อโต ท่านโบกหัตถ์ให้ไปทางทิศอื่นเสีย ประชาชนและบ้านเรือนในเขตบริเวณหน้าหลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร จึงหาเป็นอันตรายแต่ประการใดไม่

เรื่องที่กล่าวมานี้ นับว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์อยู่มิใช้น้อย นี้ก็แสดงให้เห็นอยู่แล้วว้า หลวงพ่อโตวัดอินทรวิหารท่านมีอภินิหารความศักดิ์สิทธ์มากเพียงใด จนกระทั่งในทุกวันนี้ประชาชนก็พากันมานมัสการ สักการะบูชามิได้ขาด ชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาชมพระนคร ก็ยังเลยมานมัสการหลวงพ่อโตเสมอ

"ตามปกติประชาชน นิยมน้ำมนต์ของท่านมาก มีผู้มาขอน้ำมนต์ของท่านไม่เว้นแต่ละวัน น้ำมนต์ของทานเมื่ออธิษฐานแล้วใช้ได้ตามความปรารถนา เป็นมหานิยมดีด้วย เวลาที่จะไปหาผู้ใด ผู้นั้นก็มีความเมตตากรุณา ก่อนที่จะใช้น้ำมนต์ของท่านให้ได้สมความปรารถนาแล้ว ควรจะทราบวิธีใช้ด้วย คือ เมื่อผู้ใดจะเอาน้ำมนต์ของหลวงพ่อไปใช้ ควรหาเครื่องสักการะบูชา เช่น ธูปเทียน ดอกไม้ บูชาเสียก่อน แล้วตั้งจิตให้แน่วแน่ น้อมระลึกถึงองค์หลวงพ่อโต ตลอดจนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ผู้สร้างให้ช่วยตามความปรารถนาแล้ว นำน้ำมนต์ไปให้รับประทาน และอาบตามความประสงค์ ผู้นั้นจะประสบแต่โชคชัย เคราะห์ร้ายก็อาจจะกลับกลายเป็นดีได้ ด้วยประการฉะนี้"

พระพิมพ์ของเจ้าประคุณสมเด็จฯ หรือเรียกกันตามสะดวกปากว่า "สมเด็จ" นั้น ได้กล่าวมาแล้วว่าเจ้าประคุณสมเด็จได้สร้างขึ้นไว้ด้วยมุ่งหมายจะให้เป็นการสืบต่ออายุพระศาสนาเป็นข้อสำคัญ แต่น่าประหลาดอยู่ ที่คนทั้งหลายต่างนับถือพรสมเด็จเป็นเครื่องรางที่ทรงคุณานุภาพเป็นอย่างวิเศษ ว่าในบรรดาพระเครื่องราง พระสมเด็จเด่นอยู่ในความนิยมของสังคม ในทุกยุคทุกสมัย และว่าจะหาซื้อได้ด้วยเงินตราในราคาแพงมาก อันเรื่องเกี่ยวกับอภินิหารพระสมเด็จนั้น ได้ฟังเล่ากันมากมายหลายเรื่อง จะเขียนลงไว้แต่เฉพาะบางเรื่อง ดังต่อไปนี้

กล่าวกันว่า ภายหลังแต่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ถึงมรณภาพ พระสมเด็จที่ใส่บาตร สัด และกระบุงตั้งไว้ที่หอสวดมนต์นั้น ได้ขนย้ายเอาไปไว้ที่ในพระวิหารวัดระฆัง (ว่าเอาไว้ที่บนเพดานพระวิหารก็มี) โดยมิได้มีการพิทักษ์รักษากันอย่างไร เป็นต้นว่าประตูวิหารก็ไม่ได้ใส่กุญแจ ในปีหนึ่งเป็นเทศกาลตรุษสงกรานต์ มีทหารเรือหลายคนมาเล่นการพนันที่หน้าวัด เช่นหยอดหลุม ทอยกอง เป็นต้น จะเนื่องด้วยเหตุใดไม่ปรากฏ ทหารเรือเหล่านั้นได้เกิดวิวาทถึงชกต่อยตีรันกันเป็นโกลาหล ทหารเรือคนหนึ่งได้เข้าไปเอาพระสมเด็จใสพระวิหารมาอมไว้องค์หนึ่ง แล้วกลับมาชกต่อยตีรันประหัตประหารกันต่อไป ที่สุดปรากฎว่าทหารเรือคนนี้น ไม่ได้รับบาดเจ็บอย่างไร แม้รอยฟกช้ำก็ไม่มี ส่วนทหารเรือคนอื่น ๆ ต่างได้รับบาดเจ็บ ที่ร่างกายมีบาดแผลมากบ้างน้อยบ้างทุกคน อีกเรื่องหนึ่งว่า คราวหนึ่งมีชายคนหนึ่ง อยู่บ้านตำบลไชโย จังหวัดอ่างทอง ป่วยเป็นโรคอหิวาต์ คือวันหนึ่งฝันว่า เจ้าประคุณสมเด็จฯมาบอกว่า "ยังไม่ตายให้ไปเอาพระสมเด็จที่บนเพดานพระวิหารวัดระฆัง มาทำน้ำมนต์กินเถิด" พวกญาติได้พยายามแจวเรือกันมา เอาพระสมเด็จไปอธิษฐานทำน้ำมนต์ให้กิน ก็หายจากโรคนั้น ทั้ง 2 เรื่องที่เล่ามานี้ ว่าเป็นมูลให้เกิดคำเล่าลือถึงอภินิหารพระสมเด็จเป็นประถม

พระอาจารย์ขวัญ วิสิฎโฐ เล่าว่า มาหญิงคนหนึ่ง ชื่อจัน ภูมิลำเนาเดิมอยู่จังหวัดอ่างทอง คุ้นเคยสนิทสนมกับเจ้าประคุณสมเด็จฯ แต่ยังเยาว์วัย ต่อมานางจันได้ย้ายมาประกอบอาชิพตั้งร้านค้าอยู่ทางแขวงจังหวัดนนทบุรี ภายหลังยากจนลง เพราะการค้าขาดทุน นางจันได้ยินกิตติศัพท์เลื่องลือ ถึงคุณวิเศษของเจ้าประคุณสมเด็จฯ วันหนึ่งจึงเข้าไปหาท่าน สนทนากันในตอนหนึ่ง นางจันกล่าวว่า "เวลานี้ดิฉันยากจนมาก" ท่านว่า "มาที่นี่ไม่จนหรอกแม่จัน" แล้วท่านหยิบพระประจำวันให้นางจันองค์หนึ่ง (จะเป็นพระประจำวันอะไรหาทราบไม่) บอกให้อาราธนาทำน้ำมนต์อธิษฐานตามปรารถนา และว่า "ถ้าแม่จันรวยแล้ว อย่ามาหาฉันอีกนะจ๊ะ" นางจันกราบเรียนถามว่า "เป็นยังไงล่ะเจ้าคะ?" ท่านตอบว่า "ฉันไม่ชอบคนรวย ฉันชอบคนจนจ้ะ" ว่านางจันได้พระมาแล้วทำตามที่ท่านบอก แต่นั้นการค้าก็เจริญขี้นโดยลำดับ ที่สุดนางจันก็ตั้งตัวได้เป็นหลักฐาน ผู้หนึ่งในถิ่นนั้น นางจันทีอายุอ่อนกว่าเจ้าประคุณสมเด็จฯ เรียกเจ้าประคุณสมเด็จฯ ว่า "หลวงพี่" มีคนถามนางจันว่า "รวยแล้วทำไมจึงไม่ไปหาสมเด็จฯ อีกเล่า" นางจันตอบว่า "เพราะหลวงพี่โตสั่งไว้ว่า ถ้ารวยแล้วห้ามไม่ให้ไปหา หลวงพี่โตนี่แหละศักดิ์สิทธิ์นัก พูดคำไหนต้องเป็นคำนั้น"

ร้อยเอกหลวงวิจารณ์พลฉกรรจ์ (แสวง ผลวัฒนะ) สัสดีจังหวัดกาญจนบุรี ว่า คราวหนึ่งไปราชการทหารที่ตำบลพนมทวนในจังหวัดนั้น กถูกคนร้ายลอบยิงหลายนัด แต่ไม่เป็นอันตราย ว่าเพราะมีพระสมเด็จที่บิดา ( นาย อาญาราช อิ่ม ซึ่งเมื่อบวชเป็นต้นกุฏิเจ้าประคุณสมเด็จฯ ให้ไว้)

นายเปลื้อง แจ่มใส ว่าเมื่อยังรับราชการในกรมรถไฟ แผนกช่างเวลานั้นอายุราว 25 ปี คราวหนึ่งได้ขึ้นไปตรวจทางรถไฟสายเหนือซึ่งเพิ่งสร้างเสร็จขณะยืนตรวจการอยู่ท้ายรถถึงที่แห่งหนึ่ง (ตำบลบ้านแม่ปิน จังหวัดแพร่) รถแล่นเข้าโค้ง พอนายเปลื้องประมาทตัวนายเปลื้องได้พลัดตกจากรถลงไปนอนอยู่ข้างทาง (เวลาตกนั้นรู้สึกตัวเบามาก) แต่ไม่ได้รับบาดเจ็บอย่างใด เป็นเพียงเท้าขัดยอกบ้างเล็กน้อยเท่านั้น นายเปลื้องว่าที่ตัวไม่มีอะไรนอกจากพระสมเด็จ จึงเชื่อมั่นว่าที่ไม่เป็นอันตรายนั้นเป็นเพราะอานุภาพพระสมเด็จแน่นอน

พระอาหรภัตรพิสิฐ (เล็ก อุณหนันท์) เล่าหลายเรื่อง เรื่องหนึ่งว่า คราวหนึ่งหญิงลูกจ้างคนหนึ่งชื่อรูป เกิดโรคท้องเดินจงตัวซีด (เข้าใจว่าเป็นโรคอหิวาต์) ในเวลานั้นดึกมากราว 1.00 น. ไม่ทราบว่าจะไปหายาที่ไหน นึกขึ้นถึงพระสมเด็จที่มีอยู่ (เป็นพระชนิดปรกโพธิ์ใบ) คุณพระจึงอาราธนาทำน้ำมนต์ให้กินบ้าน เอาตบศีรษะบ้าง สักครู่หนึ่งก็นอนหลับ เมื่อตื่นขึ้นหญิงนั้นบอกว่า ได้ฝันว่า มีพระสงฆ์แก่องค์หนึ่งมาบอกว่า "ยังไม่ตาย" ว่าได้กินน้ำมนต์นั้นเรื่อย ๆ มา จนอาการโรคคลายหายเป้ปกติดี เรื่องหนึ่งว่าเมื่อภรรยาจะคลอดบุตรคนสุดท้อง เจ็บครรภ์อยู่จนถึง 3 วันก็ยังไม่คลอด คุรพระจึงจะธูปเทียนบูชาสักการะ อาราธนาพระสมเด็จลงแช่ในน้ำ ตั้งจิตอธิษฐานตามประสงค์ แล้วเอาน้ำนั้นให้กินบ้าง ตบศีรษะบ้าง ว่าไม่ช้านักก็คลอดอย่างง่ายตาย เรื่องหนึ่งว่า แขกที่พาหุรัดคนหนึ่ง ซึ่งชอบพอคุ้นเคยกับคุณพระบอกว่า ที่เขาได้ภรรยา 3 คนที่อยู่ด้วยกันในเวลานี้นั้น เพราะเขาเอาพระสมเด็จฝนให้กินทุกคน (ว่าพระนั้นเป็นพระสมเด็จกรุวัดใหม่บางขุนพรหม)

อีกเรื่องหนึ่งว่า พระสมเด็จงูไม่ข้าม คราวหนึ่งมีงูเลื้อยมา คุณพระได้เอาพระเครื่องเหล่านั้น ทำดังนี้หลายครั้ง ปรากฏว่างูมิได้เลื่อยข้ามพระสมเด็จ แม้แต่เลื้อยเข้ามาใกล้ก็ไม่มี ส่วนพระเครื่องชนิดอื่น ๆ งูได้เลื้อยข้ามบ้าง เลื้อยเฉียดไปบ้าง คุณพระอาทรฯ เล่าต่อไปว่า ตัวคุณพระเองได้เคยฝ่าอันตรายมาหลายครั้ง แต่ก็ปลอดภัยทุกคราว และว่าน่าประหลาดอย่างหนึ่ง ที่คนกำลังทะเลาะวิวาทถึงจะทำร้ายกัน ถ้าเรามีพระสมเด็จอยู่กับตัวเข้าไปห้ามปราม คนเหล่านั้นจะเลิกทะเลาะต่างแยกย้ายกันไปทันที

ได้ฟังเล่ากันอึกเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับพระสมเด็จแก้โรคอหิวาต์ จะเขียนแทรกลงไว้ตรงนี้ เมื่อปีระกา พ.ศ.2416 เกิดโรคอหิวาต์(โรคป่วง) ครั้งใหญ่ ผู้คนล้มตายกันมาก กล่าวในจดหมายเหตุบัญชีน้ำฝนของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (เล่ม3) ดังนี้

"ระกาความไข้ คนตายนับได้ เกือบใกล้สี่พัน เบาน้อยกว่าเก่า หาเท่าลดกันมะโรงก่อนนั้น แสนหนึ่งบัญชี เขาจดหมายไว้ในสมุดปูนมีมากกว่าดังนี้เป็นไป

(เดือน 8 ข้างขึ้น)
เกิดไข้ในวัดม้วย วันละคน
ตั้งแต่สองค่ำดล หกเว้น
ศิษย์พระวอดวายชนม์ ถึงสี่ เทียวนา
บางพวกไกลโรคเร้น ชีพตั้ง ยังเหลือ
จบเสร็จเผด็จสิ้น ปีระกา
โรคป่วงเกิดมีมา ทั่วดาน
น้ำน้อยไม่เข้านา เสียมาก เทียวแฮ
ในทุ่งรวงข้าวม้าน ไค่กล้า นาเสีย"

กล่าวกันว่า ในคราวนั้นสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงพระราชทานแจกสมเด็จ (ชนิดปรกเมล็ดโพธิ์ ที่เรียกกันว่า "สมเด็จเขียว") ว่าคนเป็นอันมากได้รอดตายเพราะพระสมเด็จนั้น จึงเกิดกิตติศัพท์เลื่องลือกันแพร่หลายสืบมา


บันทึกการเข้า

มหาสุ

  • **แก้ไข**
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 749
  • กระทู้: 135
  • Thank You
  • -Given: 323
  • -Receive: 749
Re: ประเภทของพระสงฆ์
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มีนาคม 26, 2013, 08:16:02 PM »
พระครูวิมลคุณากร (หลวงปู่ศุข)
พ.ศ. ๒๓๙๐ - พ.ศ. ๒๔๖๖
วัดปากคลองมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท

คาถาหลวงปู่ :
นะเมตตา โมกรุณา พุทธปราณี ธายินดี ยะเอ็นดู

พระครูวิมลคุณากร (หลวงปู่ศุข)
พ.ศ. ๒๓๙๐ - พ.ศ. ๒๔๖๖
วัดปากคลองมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท
--------------------
นามเดิม : ศุข นามสกุล : เกษเวช (ต่อมาลูกหลานได้ใช้ เกษเวชสุริยา ก็มี) เกิดเมื่อ : วันจันทร์ เดือน ๔ ขึ้น ๘ ค่ำ ปีวอก พ.ศ. ๒๓๙๐ ที่บ้านมะขามเฒ่า ( เรียกกันในสมัยนั้น ปัจจุบันเรียก บ้านปากคลอง ) ตำบลมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท โยมบิดา : ชื่อ นายน่วม โยมมารดา : ชื่อ นางทองดี ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลมะขามเฒ่า

มีบุตรและธิดา ด้วยกัน ๙ คน
๑. หลวงปู่ศุข ๒. นางอ่ำ ๓. นายรุ่ง ๔. นางไข่ ๕. นายสิน ๖ .นายมี ๗. นางขำ ๘. นายพลอย ๙ .หลวงพ่อปลื้ม

ปัจจุบัน ยังมีลูกหลานของท่าน อยู่ที่บ้านใต้วัดมะขามเฒ่าอีกหลายคน หรือแม้แต่ร้านค้าขายภายในบริเวณวัดเองก็ยังมี หลวงปู่นั้น ท่านมีลุงคนหนึ่งชื่อ แฟง ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลบางเขน จังหวัดพระนคร ( ในสมัยนั้น ) มีอาชีพ ทำสวน ไม่มีบุตรหรือธิดา จึงได้มาขอหลานจากโยมบิดามารดาหลวงปู่ศุขไปเลี้ยง โยมท่านก็อนุญาตให้เลือกเอา ลุงแฟงก็เลือกเอาคนโต หรือ เรียกว่าคนหัวปี คือ หลวงปูศุข เข้าใจว่าขณะนั้นอายุประมาณ ๑๐ ขวบ เมื่อหลวงปู่ศุขไปอยู่กับลุงแฟง เจริญเติบโตที่ตำบลบางเขน

เมื่อหลวงปู่ฯ อยู่ในวัยฉกรรจ์ ท่านได้เดินทางเข้ามากรุงเทพฯ ทำมาหากินค้าขายเล็กๆ น้อยๆ โดยยึดลำคลองบางเขน ซึ่งมีปากคลองเชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยา ตอนใต้จังหวัดนนทบุรีลงมา ปัจจุบันอยู่ข้างทางเข้าวัดทางหลวง เป็นที่ทำมาหากิน คลองบางเขนนี้ทอดขึ้นไปเชื่อมกับคลองรังสิต เมื่อก่อนนี้เป็นเส้นทางหลักในการคมนาคมทางน้ำที่สำคัญและกว้างขวางเป็นอย่างมาก เมื่อการคมนาคมทางบกเจริญขึ้น การสัญจรทางน้ำก็หมดความสำคัญลง ปัจจุบันคงจะตื้นเขินไปแล้วก็ได้ เพราะขาดการทะนุบำรุงเท่าที่ควร หลวงปู่ฯ ท่านทำมาหากินอยู่ในคลองบางเขนอยู่ระยะหนึ่ง จนอายุได้ ๑๘ ปี ได้ภรรยาชื่อ นางสมบูรณ์ และเกิดบุตรชายคนหนึ่งชื่อ สอน เกศเวชสุริยา

หลวงปู่ฯ ท่านครองเพศฆราวาสอยู่ไม่นาน พออายุท่านครบ ๒๒ ปี ท่านได้ลาไปอุปสมบท ณ วัดโพธิ์บางเขนหรือปัจจุบันชื่อว่า วัดโพธิ์ทองล่าง ซึ่งอยู่ปากคลองบางเขนตอนล่าง ส่วนวัดโพธิ์ทองบน อยู่ตอนเหนือของปากคลองบางเขน ตอนบนบริเวณจังหวัดปทุมธานี

อุปสมบท
การอุปสมบทของหลวงปู่ศุขนั้น ท่านได้อุปสมบทเมื่ออายุได้ ๒๒ ปี ที่วัดโพธิ์บางเขน ( ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดโพธิ์ทองล่าง ) โดยมี พระครูเชย จนฺทสิริ วัดโพธิ์บางเขน เป็น พระอุปัชฌาย์ พระถายมเป็นพระคู่สวด การอุปสมบทนี้มีลุงแฟงเป็นผู้อุปการะทั้งสิ้น ส่วนโยมบิดามารดาไม่ได้มาร่วมพิธีด้วย เพราะการเดินทางสมัยนั้นลำบากมาก จากชัยนาทถึงกรุงเทพฯ ก็กินเวลาอย่างน้อย ๒ ถึง ๓ วัน จึงจะถึง

พระอุปัชฌาย์ของท่านชื่อ หลวงพ่อเชย จันทสิริ อดีตท่านเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ทองล่าง ซึ่งเป็นพระสงฆ์ฝ่ายรามัญที่ถือเคร่งในวัตรปฏิบัติและพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลวงพ่อเชย ท่านยังเป็นอาจารย์ทางฝ่ายวิปัสสนาธุระ มีความรู้และความชำนาญรู้แจ้งแทงตลอด อีกทั้งทางด้านวิทยาคมก็แก่กล้าเป็นยิ่งนัก หลวงปู่ฯ ท่านได้รับถ่ายทอดวิชาความรู้ จากอุปัชฌาย์ของท่าน มาพร้อมกับอาจารย์เปิง วัดชินวนาราม และหลวงปู่เฒ่า วัดหงษ์ จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นศิษย์ในสายหลวงพ่อเชย วัดโพธิ์ทองล่างเหมือนกัน

เมื่อได้อุปสมบทแล้วอยู่กับพระอุปัชฌาย์ เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยพอสมควรแล้ว ท่านก็ได้ออกเดินธุดงค์หาที่สงบฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐาน และวิชาอาคมต่าง ๆ จากสำนักที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ในสมัยนั้น จนชำนาญดีแล้ว จึงกราบลาอาจารย์กลับบ้านเกิดของท่าน โดยมาพักอยู่ที่วัดร้างแห่งหนึ่งข้างหมู่บ้านของท่าน ชื่อวัดอู่ทอง ปัจจุบันนี้เรียกว่า วัดปากคลอง ชาวบ้านแถวนั้น มีความศรัทธาเลื่อมใส จึงนิมนต์ให้ท่านจำพรรษาอยู่ที่นั้น เพื่อที่ว่าจะได้สร้างวัดขึ้นมาใหม่ ดังนั้นท่านจึงได้อยู่ ณ ที่นั้นมาจนท่านมรณภาพ ในระหว่างที่ท่านมีชีวิตอยู่นั้น ได้เริ่มพัฒนาในท้องถิ่นให้เจริญรุ่งเรือง ด้วยจากวัดร้าง ที่ไม่มีอะไรเลย จนถึง พุทธาวาส ธรรมาวาส และสังฆาวาส เป็นวัดที่สมบูรณ์แบบจนถึงทุกวันนี้ ยังมีพระอุโบสถและมณฑป ปรากฏให้เห็นอยู่ ส่วนการอบรมสั่งสอนนั้นท่านได้แนะแนวการประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ให้เห็นคุณและโทษ ของผลการปฏิบัติตนในทางที่ดี หรือไม่ดีอย่างไร จนประชาชนแถวนั้นมีความประพฤติดีมีศีลธรรมเป็นส่วนมาก

หลวงปู่ฯ ท่านเพลินอยู่ในธรรมเสียหลายปี จนกระทั่งมารดาท่านที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ได้ชราภาพลงตามอายุขัย และความเจ็บไข้มาเยือนอยู่บ่อยครั้ง ด้วยความเป็นห่วงเป็นใยในบิดามารดาของท่าน จึงได้เดินทางกลับสู่ภูมิลำเนาเดิม และได้อยู่จำพรรษาปีแรกๆ ที่วัดอู่ทองปากคลองมะขามเฒ่า ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่โบราณที่อยู่ลึกเข้าไปในคลองมะขามเฒ่า หรือบริเวณต้นแม่น้ำท่าจีนในปัจจุบัน แต่ทว่าสภาพของวัดอู่ทองขณะนั้น ได้เกิดการชำรุดทรุดโทรมลงตามสภาพ เกินกว่าที่จะบูรณปฏิสังขรณ์ให้กลับคืนมาสู่สภาพที่ดีได้ต่อไป ท่านจึงได้ขยับขยายออกมา ที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และได้สร้างกุฏิขึ้นครั้งแรกหนึ่งหลัง พอเป็นที่อยู่อาศัยไปพลางก่อน

สืบต่อมามารดาของหลวงปู่ๆ ได้ถึงแก่กรรมและได้จัดการฌาปนกิจศพ และในงานนี้เอง หลวงปู่ฯ ท่านได้สร้างวัตถุมงคลในรูปพระพิมพ์สี่เหลี่ยม ซุ้มรัศมีออกแจกเป็นของที่ระลึกเป็นครั้งแรก เมื่อผู้ที่ได้รับแจกพระเครื่องจากท่านไป ได้ปรากฏอภินิหารทางอยู่ยงคงกระพัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องกันเขี้ยวงา คือสุนัขกันไม่เข้า ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่บังเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เพราะบ้านนอก อย่างในชนบทสมัยก่อนนั้น ไม่ค่อยจะมีรั้วรอบขอบชิดเสียเป็นส่วนใหญ่ ก็ได้อาศัยสุนัขที่เลี้ยงไว้เป็นยามเฝ้าบ้าน ฉะนั้นการที่จะแวะเวียนไปบ้านหนึ่งบ้านใดนั้น จะต้องระวังเรื่องสุนัขลอบกัดให้ดี มิฉะนั้นท่านจะถูกสุนัขกัดเอาง่ายๆ พระของหลวงปู่ฯ จึงมีชื่อเรื่องสุนัขกันไม่เข้า เป็นปฐมเหตุก่อน จึงบังเกิดความนิยมไปขอท่านมาแขวนคอบุตรหลานเพื่อกันเขี้ยวงาและภยันตรายต่างๆ สมัยก่อนพระวัดปากคลอง เนื้อตะกั่ว จะมีแขวนอยู่ในคอเด็กในท้องถิ่นเกือบจะทุกคน แล้วถ้าจะไปขอพรหลวงปู่ศุข ท่านมักจะถามว่า “เอ็งมีลูกกี่คน?” ท่านจะให้ครบทุกคน

กิตติศัพท์ในความขลัง ประสิทธิในพระพิมพ์สี่เหลี่ยมของท่าน จึงค่อยๆ เผยแพร่จากปากหนึ่งไปสู่อีกปากหนึ่ง ในเวลาไม่ช้าไม่นาน คุณวิเศษของท่านจึงค่อยๆ โด่งดังขจรขจายไปทั่ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วัดปากคลองมะขามเฒ่า ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา อันเป็นเส้นทางคมนาคมสายหลัก การขนส่งสินค้า ตลอดจาการทำมาค้าขาย จะขึ้นล่องจะต้องอาศัยสายน้ำเจ้าพระยาเพียงแห่งเดี่ยวเท่านั้น เพราะในสมัยนั้น ถนนหนทางทางบกยังทุรกันดาร พอตกเพลาพลบค่ำพ่อค้าแม่ขายเรือเล็กเรือใหญ่ จะมาอาศัยนอนค้างแรมที่แพหน้าวัดของท่าน เพื่ออาศัยบารมีของท่าน ช่วยป้องกันขโมยขโจรที่จะมาประทุษร้าย ต่อเลือดเนื้อชีวิตและทรัพย์สิน ถ้าจะเปรียบไปแล้วหน้าวัดของท่าน จึงเป็นเสมือนหนึ่งเป็นชุมทางที่สำคัญ นี่ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่ช่วยเสริมส่งให้เกียรติคุณของท่านแผ่ขยายไปทั่วทุกภาคของประเทศ ชื่อเสียงของท่านจึงเป็นที่รู้จักกันดี “หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า”

เสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ ฝากตัวเป็นศิษย์
อนึ่ง มีผู้กล่าวว่าท่านมีวิชาอาคมเวทย์มนต์เก่งมาก สามารถเสกใบไม้ให้เป็นตัวต่อ ตัวแตน เสกหัวปลีให้เป็นกระต่าย เสกก้านกล้วยให้เป็นงูได้ และเรื่องอภินิหารของขลัง คงกระพันชาตรี มีอีกมากมาย อาจจะเป็นด้วย บุญกุศลของหลวงปู่ศุข กับ เสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระบิดาแห่งราชนาวี ซึ่งเป็นพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ นับลำดับราชสกุลวงศ์ เป็นพระองค์ที่ ๒๘ และเป็นพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาโหมด ธิดาพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ได้สร้างสมกันมาแต่ชาติปางก่อน ดลบันดาลให้เสด็จในกรมฯ ซึ่งทรงศรัทธาเลื่อมใส ในทางมหาพุทธาคมอยู่แล้ว ได้เสด็จประพาสไปในภาคเหนือ จึงเป็นเหตุให้หลวงปู่ศุข และพระองค์ท่านได้พบกัน และเป็นที่ต้องอัธยาศัยซึ่งกันและกัน จึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์ – อาจารย์ เพื่อจักได้ศึกษาทางมหาพุทธาคม และปรากฏว่า พระองค์เป็นศิษย์ที่มีความรู้ความสามารถ ได้ศึกษาแตกฉาน จนกระทั่งหลวงพ่อเองก็หมดความรู้ จึงได้ให้เสด็จในกรมฯ ไปศึกษาเคล็ดวิชากับหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จังหวัดพิจิตรต่อ ดังเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วนั้น และได้วาดภาพพุทธประวัติด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง ที่อุโบสถด้านในหน้าอุโบสถ ซึ่งปรากฏจนทุกวันนี้ หลวงปู่ศุข ท่านมีเมตตามาก จึงมีศิษย์เป็นอันมากที่มาเรียนวิชาเหล่านี้ ท่านได้รับสมณศักดิ์ เป็นพระครูวิมลคุณากร และเป็นเจ้าคณะแขวง ( ปัจจุบันเรียกว่าเจ้าคณะอำเภอ ) เป็นองค์แรกของอำเภอวัดสิงห์ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเมื่อใด

เมื่อหลวงปู่ศุข ท่านมีลูกศิษย์อย่างเสด็จในกรมฯ จึงเป็นกำลังสำคัญให้ท่าน สามารถที่สร้างวัดปากคลองมะขามเฒ่าให้เสร็จสมบูรณ์ ถาวรวัตถุทางพุทธศาสนา ที่คงเหลือเป็นประจักษ์พยานในปัจจุบันนี้ก็คือ ภาพเขียนฝีมือเสด็จในกรมฯ บนฝาผนังพระอุโบสถ วัดปากคลองมะขามเฒ่า ที่ยังรักษาไว้ได้อย่างสมบูรณ์ และเป็นภาพเขียนฝีมือเสด็จในกรมฯ บนฝาผนังพระอุโบสถ วัดปากคลองมะขามเฒ่า ที่ยังรักษาไว้ได้อย่างสมบูรณ์ และเป็นภาพเขียนสีน้ำ ที่ทางกรมศิลป์ยกย่องว่าเสด็จในกรมฯ ทรงฝีมือในการเขียนภาพเป็นอย่างมาก และทรงสอดแทรกอารมณ์ขัน ในภาพพระพุทธเจ้าชนะมาร ในกระแสน้ำที่พระแม่ธรณีบีบมวยผม ทำให้เกิดอุทกธาราหลากไหล พัดพาเอาทัพพระยามารไปนั้น พระองค์ท่านเขียนเป็นภาพลิงใส่นาฬิกา และหนีบขวดวิสกี้กำลังเดินตุปัดตุเป๋ไปเลย และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฤาษีปัญจวัคคี เมื่อเห็นเจ้าชายสิทธัตถะเลิกทรมานกาย หันมากินอาหาร ก็นึกว่าพระองค์คงจะถ้อถอยละความเพียรแล้ว จึงพากันผละหนีพระองค์ไปนั้น เสด็จในกรมฯ ท่านเขียนใบหน้าของฤาษีปัญจวัคคี โดยสอดอารมณ์ที่ยิ้มเยาะเย้ยหยัน อย่างไม่อะไรไยดีต่อพระองค์ เน้นความรู้สึกได้เด่นชัดมาก

ฝีมือของเสด็จในกรมฯ อีกชิ้นหนึ่งก็คือภาพเขียนสีน้ำมัน เป็นรูปหลวงปู่ศุขยืนเต็มตัวและถือไม้เท้า ภาพนี้เขียนขึ้นในขณะที่หลวงปู่มีอายุมากแล้ว จึงต้องเดินสามขา ศิลปวัตถุในพุทธศาสนา ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า นอกจากพระอุโบสถแล้วยังมีมณฑปจตุรมุข ประดิษฐ์บานรอยพระพุทธบาท ประตูทั้ง ๔ บานนั้นแกะด้วยไม้สัก แกะลวดลายลึกถึงสามชั้น เคยมีคนสมคบกัน เอาบานประตูมณฑปจตุรมุขออกขาย เอาลงมากรุงเทพฯ เตรียมใส่เรือกระแชงในคลองมหานาค เพื่อออกต่างประเทศ ด้วยดวงวิญญาณในหลวงปู่ศุข ท่านผูกพันอยู่กับศาสนาวัตถุที่ท่านสร้างเอาไว้ ในบวรพุทธศาสนา ท่านจึงเข้าประทับทรงจากหิ้งบูชา จังหวัดนครสวรรค์ รับเอาท่านแม่ทัพที่นครสวรรค์ (ขออภัยผู้เขียนจำชื่อท่านไม่ได้) และมารับเอาท่านนายอำเภอ ประจำจังหวัดชัยนาทในขณะนั้น คือ คุณสุธี โอบอ้อม แล้วนั่งรถเข้ากรุงเทพฯ ร่างทรงหลวงปู่ฯ ได้พาคณะลดเลี้ยวเข้าครอกเข้าซอย จนมาถึงเรือกระแชงที่บรรทุกบานประตูมณฑป เตรียมขนออกนอกได้อย่างทันท่วงที ยึดเอาบานประตูทั้ง ๔ บาน คืนกลับไป ขณะนั้นยังคงเก็บรักษาไว้ที่วัดป่าพานิชวนาราม อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท และยังไม่ได้ส่งคืนวัดปากคลองมะขามเฒ่า เพราะเหตุอะไรนั้น ชาวจังหวัดชัยนาทเขาทราบกันดี


บันทึกการเข้า

มหาสุ

  • **แก้ไข**
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 749
  • กระทู้: 135
  • Thank You
  • -Given: 323
  • -Receive: 749
Re: ประเภทของพระสงฆ์
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มีนาคม 26, 2013, 08:24:39 PM »
ปัจจุบันชาวจังหวัดชัยนาทผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส ได้ร่วมกันสร้างรูปหุ่นขี้ผึ้งไว้ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า เพื่อจะได้ทำการสักการบูชาโดยทั่วกัน กรมทหารเรือเห็นความสำคัญ จึงได้ทำการบูรณะซ่อมแซมมณฑป เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕ ทำให้ประชาชนทั้งใกล้และไกลต่างจังหวัด หลั่งไหลมาสักการะบูชาทุก ๆ วันมิได้ขาด วัดปากคลองมะขามเฒ่า จึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของจังหวัดชัยนาทต่อไป

เรื่องทรงเจ้าเข้าผีนี้ จะไม่เชื่อก็ไม่ได้ แต่ที่ทรงจริงๆ นั้นมันมีน้อย อย่างในกรณีดวงวิญญาณหลวงปู่ศุขประทับทรง แล้วซอกแซกลงมาจากนครสวรรค์ถึงกรุงเทพฯ เกือบ ๓๐๐ กม. แล้วยังพาคณะเข้าครอกตรอกซอย จนถึงเรือกระแชงที่จอดลอยลำอยู่ในคลองมหานาคนั้น มันเป็นการเดินทางที่สลับวับซ้อนและวกวนน่าดู แต่ร่างทรงก็พาคณะไปจนพบ และยึดบานประตูกลับคืนมาได้นั้น มันเป็นเหตุการณ์อันมหัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง และบานประตูมณฑปทั้ง ๔ บานดังกล่าวแล้วนั้น ทั้งเสด็จในกรมฯ และหลวงปู่ศุขได้ช่วยกันสร้างเป็นชิ้นสุดท้าย ระบุปี พ.ศ. ๒๔๖๕ อยู่ที่ซุ้มหน้ามณฑปอีกด้วย

ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับลูกศิษย์ นอกจากจะถูกอัธยาศัยกันเป็นยิ่งนัก จักเดินทางไปมาหาสู่กันเสมอแล้ว ถ้าเสด็จในกรมฯ ติดราชการงานเมือง หลวงปู่ก็จะลงมาหา โดยเสด็จในกรมฯ ได้สร้างกุฏิอาจารย์ไว้กลางสระ ที่วังนางเลิ้ง ซึ่งเต็มไปด้วยดอกบัววิคตอเรีย มีใบกลมใหญ่ขนาดถาด และรู้สึกว่ากลางใบจะมีหนามคมด้วย อันนี้ได้รับคำบอกเล่าจากลุงผล ท่าแร่ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ติดสอยห้อยตามหลวงปู่ฯ มาแต่เล็ก ท่านเป็นชาวอุตรดิตถ์ หรือพิษณุโลกจำได้ไม่ถนัดนัก หลวงปู่ศุขท่านขอพ่อแม่มาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม เมื่อสิ้นบุญหลวงปู่ฯ ท่านก็เลยลงหลักปักฐาน ได้ภริยาอยู่ที่ตำบลท่าแร่ อำเภอวัดสิงห์ ชัยนาท เลยเรียกกันติดปากว่า ลุงผล ท่าแร่

แต่อย่างไรก็ตาม ภายในกำหนด ๑ ปี หลวงปู่ศุขท่านจะต้องลงมากรุงเทพฯ ๑ ครั้งเป็นอย่างน้อย เพราะเสด็จในกรมท่านจะกระทำพิธีไหว้ครูราวๆ เดือนเมษายน งานจะจัดเป็น ๓ วัน วันแรกไหว้ครูกระบี่กระบอง วันที่สองไหว้ครูหมอยาแผนโบราณ และวันที่สามจะไหว้ครูทางวิทยายุทธ์พุทธาคมและไสยศาสตร์ จัดเป็นงานใหญ่มีมหรสพสมโภชทุกคืน กับมีการแจกพระเครื่องรางของขลังจากหลวงปู่ศุขอีกด้วย แต่ในระยะหลังๆ หลวงปู่ศุขท่านมีอายุมากแล้ว สุขภาพไม่ค่อยจะสมบูรณ์เท่าใดนัก ท่านจึงไม่ค่อยจะได้ลงมา

จากการที่ผู้เขียนได้เคยศึกษาตำราอักขระ เลขยันต์จากอาจารย์ท่านมหาโพธิ์ วัดคลองมอญ อำเภอวัดสิงห์ ชัยนาท ผู้สืบสายมาจากท่านใบฎีกายัง วัดหนองน้อย อำเภอวัดสิงห์ ชัยนาท ซึ่งเป็นฐานาในหลวงปู่ศุข และเป็นลูกศิษย์เอกของหลวงปู่ศุขรูปหนึ่ง ตำราอักขระเลขยันต์ซึ่งคุณหมอสำนวน ปาลวัฒน์วิไชย แห่งโรงพยาบาลประจำจังหวัดชัยนาท ซึ่งท่านได้ใช้เวลาค้นคว้าและรวบรวมพระเครื่องในหลวงปู่ศุข ตลอดจนประวัติ และเรื่องราวของท่านตลอดมาเป็นเวลาหลายสิบปี ได้นำออกมาตีพิมพ์เผยแพร่เป็นหนังสือรวมเล่มขนาดหนานั้น ได้ตีพิมพ์ตำราอักขระ เลขยันต์ของหลวงปู่ศุข ที่สอนให้กับลูกศิษย์ของท่านลงไปด้วย และบางตอนบางหน้า ยังเป็นลายมือของหลวงปู่อีกด้วย นับว่าเป็นการเปิดหูเปิดตาสำหรับผู้ที่สนใจจริงๆ แต่ทว่าในตำราอักขระ เลขยันต์ของท่านนั้น เป็นความรู้ขั้นพื้นฐานทั่วๆ ไป ซึ่งมีอยู่ในตำรามหาพุทธาคม ที่เราได้ร่ำเรียนกันอยู่ในปัจจุบันนี้ อย่างเช่นการเรียนสูตรสนธ์จากคัมภีร์รัตนมาลา ในพระอิติปิโส ๕๖ พระคาถาห้องพระพุทธคุณ ลงเป็นยันต์เกราะเพชรหรือตาข่ายเพชร ยันต์พระไตรสรณาคมน์ตลอดจนคัมภีร์นะ ๑๐๘ และ นะพินธุ หรือ นะปฐมกัลป์ หรือ นะโมพุทธายะใหญ่ และยันต์ประจำตัวของท่านที่ท่านใช้อยู่เป็นประจำก็คือ ตัวพุทธมวันโลก ที่ท่านใช้จารลง ที่หลังพระพิมพ์สี่เหลี่ยมของท่าน นอกจากนั้นยังลงด้วยยันต์สามลง มะ อะ อุ ที่ขมวดยันต์ลงหลังรูปถ่ายของท่าน เรียกว่า ยันต์เพชรหลีกน้อย นอกจากนั้น ท่านจะนิยมหนุนหรือล้อมด้วยธาตุทั้ง ๔ คือ นะ มะ พะ ทะ

อนึ่ง การที่ท่านทำพระเครื่องรางของขลัง ได้ประสิทธิมีฤทธิ์มีเดชทั้งๆ ที่ใช้อักษรเลขยันต์พื้นๆ นั้น เป็นเพราะอำนาจจิต ที่ท่านได้ฝึกฝนมานั้นกล้าแกร่งยิ่งนัก โดยเฉพาะกสิณธาตุทั้ง ๔ มี ดิน น้ำ ไฟ ลม นั้นเป็นพื้นฐานที่สำคัญ เป็นบ่อเกิดแห่งอำนาจอิทธิฤทธิ์ทางใจเลยทีเดียว สำหรับการสำเร็จวิชาชั้นสูง เรียกว่า มายาการ คือความเชื่อถือ และการปฏิบัติ ที่มุ่งหมายให้เกิดผล ด้วยการใช้พลัง หรืออำนาจเหนือธรรมชาติ เช่น ของขลัง พิธีกรรม หรือหลีกลี้ลับ บังคับให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ เช่น ท่านเสกใบมะขามให้เป็นตัวต่อตัวแตน เสกหัวปลีให้เป็นกระต่าย ตลอดจน การผูกหุ่นพยนต์ด้วยฟางข้าว เสกคนให้เป็นจระเข้ เป็นต้น มันเป็นมายาการชั้นสูง คือการบังคับให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ แท้ที่จริงแล้วใบมะขามก็คงเป็นใบมะขาม หัวปลีก็คงเป็นหัวปลี และหุ่นฟางก็คงเป็นหุ่นฟางเหมือนเดิม เว้นแต่ด้วยอำนาจจิตของท่าน ทำให้เราเห็นไปเอง

จากหนังสือ “พระกฐินพระราชทาน สมาคมศิษย์อนงคาราม ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ เรื่องพระใบมะขาม” ท่านผู้เขียนอดีตเป็นพระมหา มีหน้าที่ไปอุปัฏฐากหลวงปู่ศุข ขณะที่อาราธนาท่านมาปลุกเสกพระชัยวัฒน์ และพระปรกใบมะขาม (พ.ศ. ๒๔๕๙) ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า

“เมื่อข้าพเจ้าไปอุปัฏฐากหลวงพ่อแล้ว มีชาวบ้านชาววัดมาขอให้หลวงพ่อลงกระหม่อมบ้าง ลงตะกรุดพิสมรบ้าง โดยยื่นแผ่นเงิน ทอง นาก ให้ลงคาถา บางคนขอเมตตา บางคนขอการค้าขาย หลวงพ่อให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ลง

ข้าพเจ้าถามว่าการค้าขาย จะให้ลงว่ากระไร?
หลวงพ่อบอกว่า “นะชาลิติ”
บางคนขอเมตตา ข้าพเจ้าถามว่า จะให้ลงว่ากระไร?
หลวงพ่อพูดติดตลกว่า “เมตยายไม่เอาหรือ เอาแต่เมตตาเท่านั้นหรือ?”
คนขอจึงบอกขอเมตตาอย่างเดียว ข้าพเจ้าถามว่า จะให้ลงว่ากระไร?
ท่านบอกว่า “นะเมตตา โมกรุณา พุทธปราณี ธายินดี ยะเอ็นดู”
ข้าพเจ้าจึงบอกว่า “หลวงพ่อครับ ผมไม่มีความขลัง ลงไปก็จะไม่ได้ประโยชน์อะไร”
หลวงพ่อบอกว่า “มันอยู่ที่ผมเสกเป่านะคุณมหา”

ข้อนี้ยืนยันว่าเป็นความจริง เพราะระหว่างนั่นข้าพเจ้าให้หลวงพ่อลงกระหม่อม แล้วท่านเสกเป่าไปที่ศีรษะตั้งหลายครั้ง เมื่อท่านเป่าที่กระหม่อมที่ไร ข้าพเจ้าขนลุกชันทั่วทั้งตัวทุกครั้ง ทั้งที่ข้าพเจ้าฝืนใจไม่ให้ขนลุกก็ลุกซู่ทุกครั้งที่ท่านเป่า ข้อนี้เป็นมหัศจรรย์จริงๆ ข้าพเจ้าคิดว่าจะเป็นแต่ข้าพเจ้าคนเดียว ไปสอบถามภิกษุอุปัฏฐากรูปอื่นๆ ก็ได้รับคำตอบเช่นเดียวกัน ข้อนี้ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า “ท่านสำเร็จสมถะภาวนาแน่ๆ”

อนึ่ง ท่านเป็นพระที่น่าเคารพนับถือ สำรวมในศีลเป็นอย่างดี ไม่ใคร่พูดจา นั่งสงบอารมณ์เฉยๆ ไม่ถามอะไร ท่านก็ไม่ตอบไม่พูด บางอย่างข้าพเจ้าถามหลวงพ่อ หลวงพ่อก็ตอบเลี่ยงไปทางอื่น เช่น “เขาว่าหลวงพ่อเสกใบไม้เป็นต่อ และเสกผ้าเช็ดหน้าเป็นกระต่ายได้ และแสดงให้กรมหลวงชุมพรฯ เห็นจนยอมเป็นศิษย์” หลวงพ่อตอบข้าพเจ้าว่า “ลวงโลก” แล้วท่านก็นิ่งไม่ตอบว่าอะไรอีก

หลวงพ่อพูดต่อไปว่า “เวลานี้กรมหลวงชุมพรฯ ไปต่างประเทศ (เข้าใจว่าไปรับเรือพระร่วง) ถ้าอยู่ก็ต้องมาหาท่าน และปรนนิบัติท่านจนท่านกลับวัด และว่ากรมหลวงชุมพรฯนี้ตกทะเลไม่ตาย แม้จะมีสัตว์ร้ายก็ไม่ทำอันตรายได้”

หลวงพ่ออยู่ที่กุฏิสมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) พุทธสรมหาเถรเป็นเวลาสิบวันเศษ ได้ทราบว่าสมเด็จเรียนวิทยาคมกับหลวงพ่ออีกด้วย

มรณภาพ
ท่านมรณภาพเมื่อ เดือน ๑ ปีกุน พ.ศ. ๒๔๖๖ ไม่ปรากฏวันที่ที่แน่นอน คำนวณอายุได้ ๗๖ ปี วันสวดพระพุทธมนต์ทำศพอยู่ ๗ วัน ๗ คืน จึงประชุมเพลิง

อนึ่ง การที่เราคนรุ่นหลัง จักเขียนเรื่องราวและวัตรปฏิบัติของหลวงปู่ศุข ซึ่งท่านมรณภาพล่วงไปแล้วกว่าครึ่งศตวรรษ ให้ได้ใกล้เคียงกับความจริงนั้น นับว่าเป็นเรื่องที่ยากมากๆ อาศัยหลักฐานทางเอกสารที่หลงเหลืออยู่บ้าง จากการไต่ถามบรรดาลูกศิษย์ลูกหาของท่าน ซึ่งส่วนมากจักล้มหายตายจากกันไปเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น การที่ท่านได้รับรู้จากการเขียนของ “ท่านมหา” ซึ่งเคยอุปัฏฐากหลวงปู่ ดังกล่าวแล้วนั้น คงจักทำให้ท่านมองเห็นสภาพของหลวงปู่ศุข ได้ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด


บันทึกการเข้า

โชค

  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 1000
  • กระทู้: 496
  • Thank You
  • -Given: 1046
  • -Receive: 1000
Re: ประเภทของพระสงฆ์
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มีนาคม 29, 2013, 09:51:50 PM »
ผมนับถือศาสนาพุทธ แต่ความลึกซึ้งในศาสนาของตนเองนั้นหาไม่ ฉะนั้น การที่ท่านมหาสุ ได้นำสิ่งเหล่านี้มาให้อ่านนับว่าเป็นประโยชน์ต่อชีวิตผมมากมาย ได้รู้ ได้เห็น ศาสนาของตนเองมากขึ้น
อีกทั้งข้อแนะนำเกจิอาจรย์ชื่อดัง ที่ชาวพุทธทุกคนรู้จักและไม่เคยลืม พร้อมประวัติละเอียดยิบ
ขอบคุณครับ ...


บันทึกการเข้า