กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์  (อ่าน 79287 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

แก้ว สาริกา

  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 256
  • กระทู้: 145
  • Thank You
  • -Given: 49
  • -Receive: 256
 :teentob:: ทางวัด ก็จัดให้นักร้อง นักดนตรีพักกันอยู่ ในเขตบริเวณวัด บนกุฏิบ้าง ที่ศาลาบ้าง บังเอิญ ผมไปพัก
และนอนห้องเดียวกันกับใครบ้างคน พร้อมเพื่อนนักร้องชายอีกหนึ่งคน เป็นนักร้อง อยู่ วงดนตรี ยงยุทธ เชี่ยวชาญชัย
ตอนนั้น ยังเป็นนักร้องเด็กๆ กันอยู่เลย ไม่รู้จักกัน วงจุฬาทิพย์ 2 คืน วงยงยุทธ 3 คืน สลับกัน ผมกับเพื่อนร่วมกุฏินอน ก็ได้คุยกัน ได้รู้จักกัน แต่ไม่รู้ชื่อ
   จนกระทั่งคืนที่ วงยงยุทธ แสดง ผมก็ไปยืนดู โฆษกหน้าเวที ประกาศว่า ต่อไปนี้ ท่านจะได้พบกับนักร้องดาวเสียง
ซึ่งจะเป็นคู่แข่ง ของ ชาย เมืองสิงห์ ในวันข้างหน้า เชิญ พบกับ ลูกหลานของท่านชาวเหนือ โดยกำเนิด   
ร้องเพลง "จ๊ะเอ๋"  พอแกออกมาร้องเพลง แกก็ร้องไปเต้นไป (เต้นแบบจังหวะม้าย่อง ลองนึกภาพดูนะครับ) ร้องเสียงก็เหมือน 
ชาย เมืองสิงห์ เสียด้วย ฮ่ะฮ้า.. โอ๊ะ สนุก ผมดูไปยิ้มไป เอ้า ๆ ๆ ..นี่มันเพื่อนนอนกุฏิเดียวกัน นี่หว่า...หากผมรู้หรือทายอนาคตได้
ว่าท่านผู้นี้ จะกลับกลาย มาเป็น นายห้าง และผู้กว้างขวาง ในระดับเจ้าพ่อวงการลูกทุ่งเมืองไทยแล้วละก้อ
ผมเกาะติดก้นแจ ไม่ยอมปล่อยให้หลุดมือไปหร๊อก เดินตามแจเลยแหล่ะ หิ้วกระเป๋า ถือเสื้อนอก ขัดรองเท้า ให้ด้วย.. ซิเอ้า
               
                                                      จริงๆ นะ
พี่ "มนต์" (มนต์ เมืองเหนือ) ... 
 


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 27, 2015, 05:50:50 PM โดย แก้ว สาริกา »
บันทึกการเข้า
... "แก้ว สาริกา" เป็นอดีตนักร้องลูกทุ่ง วงดนตรี "ฟ้าบางกอก" ของ ครูฉลอง วุฒิวัย - วงดนตรี "จุฬาทิพย์" ของ ชาย เมืองสิงห์ : ด้วยวัยอันสมควร ปัจจุบัน ใช้วิชาความรู้ที่มี "ทำขวัญนาค" รับงานโดยทั่วไป ครับ / โทร.- 086 - 1748709 ...

** กระทู้แรกที่ควรอ่านเมื่ออยู่บ้านเพลงไทย **

ยุทธชาติ เกรียงไกร

  • ประธาน
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 780
  • กระทู้: 84
  • Thank You
  • -Given: 216
  • -Receive: 780
ความจริงผมอ่านยังไม่จบ จะมารีบมาอ่านต่อแน่นอน ด้วยภารกิจที่มากมายเหลือเกิน แต่นาทีนี้ขอชื่นชมกระทู้นี้ด้วยความจริงใจ
ผมสารภาพว่าผมเล่นเว็บเพลงเก่ามาจนถึงทำเว็บ"บ้านเพลงไทย"เอง ผมถือว่ากระทู้นี้เป็นกระทู้ที่มีคุณค่าต่อวงการเพลงลูกทุ่งมากที่สุด
กราบขอบพระคุณอาจารย์แก้ว สาริกา,ลุงสมภพและผู้เกี่ยวข้องทุกท่านที่ทำให้เกิดกระทู้นี้ครับ


บันทึกการเข้า
อตฺตา สุทนฺโต ปุริสสฺ โชติ
ตนที่ฝึกดีแล้ว ย่อมเป็นแสงสว่างของบุรุษ

แก้ว สาริกา

  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 256
  • กระทู้: 145
  • Thank You
  • -Given: 49
  • -Receive: 256
 :42 : ความว่างเปล่า ความหว้าเหว่ ชีวิตที่ขาดเพื่อน จึงทำให้เราอยู่อย่างเดียวดาย จะด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม เมื่อคืนอยากที่จะนอนแต่หัวค่ำสักคืน ก่อนจะปิดเครื่อง ก็ลองแวะเข้าไปเปิดกระทู้ "บ้านเพลงไทย" สักหน่อยก่อน ก็เหลือบไปเห็น ข้อความที่ "บอสใหญ่" ได้แสดงไว้ อ่านวนไป วนมา อยู่ 2-3 เที่ยว เอ๊ะ!.. กระทู้ที่เรากำลังเขียนอยู่ มีความหมายมากกระนั้นเชียวหรือ ท่านจึงให้ความสนใจ สละเวลาที่จะมานั่งอ่าน ครั้งแรกผมเพียงแต่หวังว่า อยากให้ท่านที่เข้ามาพบมาอ่าน ได้รู้เรื่องราวข้อมูลที่ไม่มีใครบันทึกไว้ แม้แต่ตัวผมเอง เขียนจากความจำล้วนๆ : ก็จะบอกว่า ขอบคุณท่านมากจริงๆครับ
                                                   
                                                         ท่าน
"ยุทธชาติ เกรียงไกร" ...
     


บันทึกการเข้า
... "แก้ว สาริกา" เป็นอดีตนักร้องลูกทุ่ง วงดนตรี "ฟ้าบางกอก" ของ ครูฉลอง วุฒิวัย - วงดนตรี "จุฬาทิพย์" ของ ชาย เมืองสิงห์ : ด้วยวัยอันสมควร ปัจจุบัน ใช้วิชาความรู้ที่มี "ทำขวัญนาค" รับงานโดยทั่วไป ครับ / โทร.- 086 - 1748709 ...

แก้ว สาริกา

  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 256
  • กระทู้: 145
  • Thank You
  • -Given: 49
  • -Receive: 256
 :teentob: : ในเขตพื้นที่ จังหวัด อุทัยธานี วงดนตรี "จุฬาทิพย์" ก็เดินทาง ไปแสดงมาไม่ใช่น้อย  อ.เมือง บ้านไร่ หนองขาหย่าง ทับทัน หนองฉาง ไปมาหมด เมื่อก่อนจะไปแสดงแถบ จังหวัดอุทัยธานี ค่อนข้างจะลำบากสักหน่อย ต้องเอารถบัส นักร้อง -
นักดนตรี ไปลงเรือข้ามโป๊ะ ที่ อ.มโนรมย์ จังหวัด ชัยนาท แล้วนั่งเรือโยงข้ามฝาก ไปขึ้นที่ฝั่ง อำเภอ วัดสิงห์
ถึงจะเดินทางต่อไปได้ แต่ก็เพลินดีนะ เพราะต้องใช้เวลาอยู่ในเรือ นานนับชั่วโมง ได้เห็นวิถีชีวิต ของชาวบ้านในระแวกนั้น ปลูกส้มโอริมตลิ่ง ตามคลองร่องริมแม่น้ำ เกษตรกร เลี้ยงปลากระชัง ได้ดูได้เห็นแล้วก็เพลิดเพลินไปกับธรรมชาติ ซึ่งมันเป็นกลิ่นไอ ของชนบทแท้ๆ  (ตอนนี้คงจะหาได้ยากแล้วล่ะครับ)
    พอขึ้นฝั่งก็เดินทางต่อ ไปที่จังหวัดอุทัยได้ แต่กว่าจะดั้นด้นไปถึง ที่หนองฉางงี้ ที่บ้านไร่งี้ ที่ทับทันงี้  ตอนขาเดินทาง สองข้างทางมีแต่ก่อไผ่ป่าเต็มไปหมด ขณะรถวิ่ง ฝุ่นงี้ ตะลบอบอวน ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการ ปิดกระจกหน้าต่างรถกันหมด เท่านั้นแหล่ะครับ แป๊บเดียว ในรถมีแต่ขี้ฝุ่นเต็มไปหมด  นักร้อง ชาย-นักดนตรี  ปีนขึ้นหลังคารถนั่งกันเป็นแถว  นักร้องหญิง ขึ้นไม่ได้
คนไทยธรรมเนียมโบร่ำโบราณเขาถือกัน พอไปถึงงานวัด หรือสถานที่งานแสดง ฮา..กันไม่จืด เหมือนฝรั่งตกขี้เถ้ายังไงยังงั้นเชียว มองหน้าจำกันไม่ได้ และน้ำล่ะจะหาที่อาบชำระล้างก็แสนจะยากนะในสมัยนั้นน่ะ แต่ก็มีชาวบ้านใจดี บ้างก็ไปตักน้ำมาให้ พวกเราก็ช่วยกัน สนุกไปอีกแบบ น้ำที่ได้มารู้ไหมครับ ได้จากบ่อน้ำ หรือเรียกกันว่าสระน้ำ และก็บ่อโพรง (บ่อโยก) ที่ชาวบ้านเขาได้ขุดกักเก็บน้ำไว้กิน ไว้ใช้ 

                                                                                 
                               นี่แหล่ะ  น้ำใจของคนไทยเรา "ชาวบ้านนอก"  จังหวัดอุทัยธานี


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 28, 2015, 09:24:54 AM โดย แก้ว สาริกา »
บันทึกการเข้า
... "แก้ว สาริกา" เป็นอดีตนักร้องลูกทุ่ง วงดนตรี "ฟ้าบางกอก" ของ ครูฉลอง วุฒิวัย - วงดนตรี "จุฬาทิพย์" ของ ชาย เมืองสิงห์ : ด้วยวัยอันสมควร ปัจจุบัน ใช้วิชาความรู้ที่มี "ทำขวัญนาค" รับงานโดยทั่วไป ครับ / โทร.- 086 - 1748709 ...

แก้ว สาริกา

  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 256
  • กระทู้: 145
  • Thank You
  • -Given: 49
  • -Receive: 256
 :80 :80: ผมยังนำพาท่านทัวร์ท่องเที่ยว ย้อนอดีต ไปกับ วงดนตรี "ชาย เมืองสิงห์" "ป้วนเปี้ยน อยู่ใกล้ๆรอยเชื่อมต่อ ระหว่าง ภาคกลาง - ภาคเหนือตอนบล่างอยู่ จึงจะขอย้อนอดีตไปยัง จังหวัดพิษณุโลกอีกสักครั้ง ความจริงผมไม่ได้ลืม ความทรงจำตรงนี้เลย แม้แต่สักนิดเดียว แต่ทว่าหากผมเล่าย้อนไปถึงแล้ว เกรงว่าท่านจะว่า ผมเพ้อฝัน หรือเพ้อเจ้อ หรือไม่ก็อาจจะคิดว่าผมปั้นเรื่องมดเท็จ นำมาเล่าให้ท่านฟัง แต่ผมจะบอกกับท่านว่าผมคิดแล้วคิดอีก จึงตัดสินใจว่าเล่าเถอะ เล่าสู่กันฟัง คงไม่เป็นไร ใครเขาคิดว่าเราโกหก ก็คงไม่เป็นไรอีกนั่นแหล่ะ เพราะเราเองก็ไม่ได้อะไร เพียงแต่อาจจะเสียความมั่นใจไปบ้าง
   คราวที่ "ชาย เมืองสิงห์" ไปแสดงที่ ในเขตอำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย เป็นรอยเชื่อมต่อ
ระหว่าง อ. กงไกรลาศ กับ จ. พิษณุโลก ผมจำชื่อวัดไม่ได้ แต่ที่วัดดังกล่าวนี้นะครับ พี่ชาย รับที่จะหารายได้ มาสร้างอุโบสถให้แล้วเสร็จเสียที เพราะสร้างค้างคามานานแล้ว ย่อมเป็นไปไม่ได้ถ้าจะหาเงินเพียงคืนเดียวได้พอกับการสร้างโบสถ์สักหลัง เอาล่ะครับเรื่องนี้ขอผ่านไป เพราะต่อมา พี่ชาย ก็ได้หาเงินสร้างจนสำเร็จ เรื่องที่ผมจะกล่าวถึงก็คือ หลังจากที่พวกเราเลิกการแสดงในคืนนั้นแล้ว เก็บข้าวเก็บของเดินทางออกจากสถานที่วัดราวๆตีหนึ่งกว่าๆ เดินทางเข้าสู่ตัวเมือง หวังจะมานอนที่พิษณุโลก เพราะมีงานต่อที่ อำเภอวังทอง 
     ในสมัยนั้นถนนหนทางก็เป็นทางสองเลนไม่กว้างขวางนัก สองฟากทางที่ห่างจากถนนจะเป็นดงกอไผ่ตลอดเส้นทาง ระหว่าง แนวถนนกับดงไผ่ ทั้งสองฟาก ชาวบ้านก็จะทำไร่แตงโม นักร้องนักดนตรี ก็นอนหลับกันมาในรถ  มาสะดุ้งตื่น เกือบจะพร้อมกัน เมื่อรถได้จอดสนิทนิ่งอยู่กับที เสียงพี่น้อยโชเฟอร์คนขับรถ ปลุกทุกคนให้ตื่นขึ้น
      แล้วบอกให้ทุกคนลงจากรถยามดึกสงัด บอกพวกเราให้ได้ดู งูครับ งูหลาม ตัวใหญ่มาก ๆ นอนขวางถนนอยู่ ...



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 28, 2015, 11:16:05 AM โดย แก้ว สาริกา »
บันทึกการเข้า
... "แก้ว สาริกา" เป็นอดีตนักร้องลูกทุ่ง วงดนตรี "ฟ้าบางกอก" ของ ครูฉลอง วุฒิวัย - วงดนตรี "จุฬาทิพย์" ของ ชาย เมืองสิงห์ : ด้วยวัยอันสมควร ปัจจุบัน ใช้วิชาความรู้ที่มี "ทำขวัญนาค" รับงานโดยทั่วไป ครับ / โทร.- 086 - 1748709 ...

สมภพ

  • เก็บคนที่ไม่หวังดีไว้ใกล้ๆ จะได้ตบกบาลมันได้สะดวก
  • ผู้ดูแลระบบ
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 22120
  • กระทู้: 5078
  • Thank You
  • -Given: 13547
  • -Receive: 22120
อยากจะรักอยากจะหลงแม่สาวสักคน แต่ว่าพี่มันจนกลัวหน้ามนน้องจะไม่แล

บ้านนอกบอกรัก - ชาย เมืองสิงห์ คำร้อง - เอื้อ อารีย์ เสียงปี่พาทย์ "โชคดี พักภู่" เสียงแซคต์อัลโต้ "ณรงค์ มะกล่ำ"  สโลว์ ทำนองเพลง ไทยเดิม ชื่อ "ลาวแพน" .. ผมไม่ได้รู้เองนะ พี่แก้วบอกมา  :tab_off:

<a href="http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/c379515acb26482b3771ccd4416d5b62.swf" target="_blank" class="new_win">http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/c379515acb26482b3771ccd4416d5b62.swf</a>



บันทึกการเข้า
รับไม่ได้กับเพลงไทยสไตล์ฝรั่ง จนต้องมาวิ่งหาต้นฉบับไว้ฟังอยู่นี่ไง

แก้ว สาริกา

  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 256
  • กระทู้: 145
  • Thank You
  • -Given: 49
  • -Receive: 256
 :teentob: : ในชีวิตผม อยู่บ้านนอกจนเคยชินกับท้องทุ่ง พบเห็นงู จับงู มาก็เยอะแต่ไม่เคยฆ่างู งูเหลือม จะพบเจอบ่อยกว่า งูหลาม ใหญ่-เล็ก เจอมาไม่รู้เท่าไหร่ แต่เจ้าตัวนี้ ใหญ่จริงๆครับ เด็กรถวิ่งขึ้นไปเอากระสอบป่าน มาหวังจะลองเอาหัวงูตัวดังกล่าวใส่ดู ยกไม่ไหว ใส่ไม่ได้ หัวใหญ่กว่ากระสอบป่าน หัวไปอยู่ยังถนนอีกฝั่ง แต่หางยังอยู่ถนนอีกฟากหนึ่งเลย ลำตัวใหญ่ เท่าๆฝาไม้กระดานที่ปูพื้นเรือนสมัยเก่า เลื้อยคลาน ไปได้ที่ละนิด ที่ละนิดเท่านั้น ใช้ไฟรถ และไฟฉายที่มีอยู่ ส่องตลอดลำตัว จะว่ากินอะไรเข้าไป ก็ไม่พบว่าจะมีสิ่งผิดปกติ ถ้าหากงูได้กินอะไรใหญ่ๆ เข้าไป เช่น แมว สุนัข หรือ สัตว์อะไรก็ได้ที่ใหญ่กว่านั้น ก็จะมองเห็นได้ชัด คือจะป่องกลางที่ลำตัว หรือถ้าขยอกกลืนเข้าไปใหม่ๆ ก็จะคาอยู่แถบแถวกระพุ้งแก้มลำคอของงู หรืออีกอย่างถ้าได้กินสัตว์จนอิ่ม ก็จะนอนนิ่งอยู่กับที่ในที่ ที่ลับตาผู้คน ไม่มีสิ่งกวนใจ แต่นี่มาเลื้อยคลานอยู่กลางถนน พี่ "นิยม มารยาท" แกบอกกับทุกคนอย่าไปทำอะไรเขานะให้ดูเฉื่อยๆ เดี๋ยวเขาก็ไปเอง ขอให้เชื่อผม นี่เป็นคำพูดของพี่ "นิยม มารยาท" แล้วบอก "แก้ว" ไปหาธูปมาให้พี่
16 ดอก ปกติเราก็จะมีธูปประจำกันอยู่แล้ว เพราะใช้ไหว้ ครูอาจารย์ ก่อนการแสดงทุกครั้ง พอได้ธูปมา พี่นิยมก็จุดธูป บอกเล่า พึมพัม ตามแต่เรื่องของแกเป็นการบอกเล่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แล้วปักธูปไปยังพื้นดิน จนท้องฟ้าเริ่มสาง
เห็นบรรยากาศรำไร รำไร ชาวบ้านระแวกใกล้เคียง เริ่มออกไปทำไร่ทำนา มีรถที่กำลังจะวิ่งไปไหนต่อไหน ก็จอดนิ่งสงบดูกันอยู่ พอควร สมัยนั้น รถก็มีไม่มาก
ยิ่งกลางคืนแล้ว จะหาสักคันก็แสนจะยาก ผู้เฒ่าผู้แก่ ชาวบ้านก็เริ่มมามุงดูกันเยอะขึ้นเรื่อยๆ บ้างก็ยกมือท่วมหัว สาธุไหว้สากัน แม้แต่ผมก็ไหว้กับเขาด้วย เพราะโดยส่วนตัวแล้ว ถือเรื่องโชคลางมากอยู่เหมือนกัน ที่นี้พองู เลื้อยผ่านลงจากถนน ลงดินไปได้เท่านั้นแหล่ะ เลื้อยปราด ปราด เร็วมากขึ้น ไร่แตงโม ราบไปเลยก็แล้วกัน พวกเราชาวคณะดนตรี ก็เดินทางต่อ ผ่านค่ายทหาร
"ค่ายสมเด็จพระนเรศวร"
และเข้าไปพัก ในตัวเมือง พิษณุโลก

                                                                                   
                                                                          จึงนำมาเล่าสู่กันฟังครับ ...
   


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 28, 2015, 10:04:24 PM โดย แก้ว สาริกา »
บันทึกการเข้า
... "แก้ว สาริกา" เป็นอดีตนักร้องลูกทุ่ง วงดนตรี "ฟ้าบางกอก" ของ ครูฉลอง วุฒิวัย - วงดนตรี "จุฬาทิพย์" ของ ชาย เมืองสิงห์ : ด้วยวัยอันสมควร ปัจจุบัน ใช้วิชาความรู้ที่มี "ทำขวัญนาค" รับงานโดยทั่วไป ครับ / โทร.- 086 - 1748709 ...

แก้ว สาริกา

  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 256
  • กระทู้: 145
  • Thank You
  • -Given: 49
  • -Receive: 256
 :42 :42 : ก่อนที่กระผมจะเขียน ย้อนอดึตเรื่องราว ของ วงดนตรี "จุฬาทิพย์" ของ "ชาย เมืองสิงห์" :

ต่อไปอีกสักหน่อย ยังเดาใจท่านไม่ถูก ว่าจะอ่านต่อ หรือเบื่อแล้ว  กระผมก็พยายาม ที่จะติดตามเพื่อนๆ เพื่อนำมาปะติดปะต่อ ให้เรื่อง ที่จะถ่ายทอดออกไปให้ได้สิ่งที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น จากเพื่อน ร่วม ชายคา "จุฬาทิพย์" มาด้วยกัน ที่ยากสักหน่อย ก็ด้วย อายุไข วัยและสังขาร ที่ร่วงโรยไปตามกาล และเวลา ที่อาศัยอยู่ในโลกใบนี้มายาวนาน  ลูกศิษย์ ของ "จุฬาทิพย์" นั้นมีไม่มาก แต่หากว่าถ้าได้รวม จาก "หลังเขาประยุกต์ / จุฬาทิพย์ / พ่อหม้ายพัฒนา / ลูกทุ่งขนานแท้ 1000 เปอร์เซ็น ชาย เมืองสิงห์ /
ลูกทุ่งพันทาง ชาย เมืองสิงห์ /  รวมกันแล้ว มีไม่ไช่น้อยเลยทีเดียว...
       จากรุ่น สู่รุ่น และอีก หลายๆ รุ่น ท่านคงได้รับรู้ บ้างแล้ว จาก บทความที่ได้เรียบเรียงมาตั้งแต่ต้น ... 
วงดนตรีฉบับกระเป๋า "หลังเขาประยุกต์ จนมาถึงเปิดกรุ "จุฬาทิพย์" ช่วงแรก ๆ ทั้งชื่อ นักร้อง นักดนตรี และโฆษก-ดาวตลก  ขอเรียนท่านว่า ผมได้พบ นักร้องรุ่นน้อง ซึ่งเป็นตัวละครอันสำคัญ ในชุดละครเพลง "อนุทินชีวิตรักสลายของ ชาย เมืองสิงห์" แต่ด้วยยังไม่สะดวกในการเดินทางไปพบ จึงเรียนกับท่านว่า ขอเวลาอีกสักนิดนะครับ คงไม่นานนัก   เจ้าของ เสียงเพลง " ลูกไม่มีแม่ "
(น้ำหยดทีละน้อย น้ำย้อยทีละหยด จะไหลมากหรือไหลน้อย ไหลบ่อยๆ เดี๋ยวมันก็หมด วันหนึ่งกว่าเขาจะรู้ว่าเรานั้นมีค่า ก็ต่อเมื่อน้ำตาเขาหยด เมื่อเราเกิดมาเป็นลูกผู้ชาย จะร้องไห้ไปทำไม ร้องบ่อยๆ คนเขาจะหาว่า "เจ้าน้ำตา" รู้ไหม เจ้าจงเก็บน้ำตาหยดสุดท้ายเอาไว้ให้กับตนเอง ตอนที่ไม่มีปัญญา จะหาเลี้ยงตัวเอง ให้รอดเสียก่อน เถิดลูกรัก)               
เป็นบทความคำพูด ที่ ชาย เมืองสิงห์  ได้สร้าง หยาดรอยน้ำตา ไว้บนใบหน้าของท่านผู้ชม ยากที่จะรู้ลืม                                                                                                                             

                                            ผู้แสดงตัวลูก อย่าง "บุญมั่น ขวัญยืน"



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 14, 2016, 04:02:16 PM โดย แก้ว สาริกา »
บันทึกการเข้า
... "แก้ว สาริกา" เป็นอดีตนักร้องลูกทุ่ง วงดนตรี "ฟ้าบางกอก" ของ ครูฉลอง วุฒิวัย - วงดนตรี "จุฬาทิพย์" ของ ชาย เมืองสิงห์ : ด้วยวัยอันสมควร ปัจจุบัน ใช้วิชาความรู้ที่มี "ทำขวัญนาค" รับงานโดยทั่วไป ครับ / โทร.- 086 - 1748709 ...

แก้ว สาริกา

  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 256
  • กระทู้: 145
  • Thank You
  • -Given: 49
  • -Receive: 256
 :teentob: : กระผมเอง อยากจะขอเรียนเชิญท่านที่เคารพ มาฟื้นฟูความจำกันกับ "แก้ว สาริกา" ย้อนรอยอดีต นับจากอดีตที่ผ่านมา แสนที่จะยาวนานแสน...นาน มาช่วยกันต่อเติมเสริมสร้าง ให้กับชนรุ่นหลัง ที่สนใจได้รับรู้กับเรื่องเก่าๆ สิ่งเก่าๆ ที่เกิดขึ้น
โดยเฉพาะ นิยาม กับคำว่า "เพลงลูกทุ่ง"  เสียก่อน ก่อนที่ผมจะเขียน ย้อนรอยอดีตเรื่องราว "จุฬาทิพย์" วงดนตรีลูกทุ่งที่โดดเด่น และโด่งดัง มา สามยุค สามสมัย    
ผมพยายามนึก และทบทวนถึงเหตุการณ์ วันและเวลา ที่ล่วงเลยมาสุดแสนจะยาวไกล จากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็นปี
จากปีเป็นสิบปี และจนถึงปัจจุบันกว่าหกสิบปีแล้ว ที่ผมได้สัมผัส ยืนอยู่บนโลกใบนี้ ถึงแม้จะรู้ได้ว่ามันช่างแสนยุ่งเหยิงสับสน
แต่ก็ยังอยากที่จะอยู่ดูไปเรื่อยๆ แต่นี่ก็เต้มที แหล่ะ กะว่าครบ 108 ปี เมื่อไหร่ ก็จะลาแล้ว ค ร๊ า บ  :yuri1:...
   จากยุคหนึ่ง มาสู่อีกยุคหนึ่ง และอีกหลายๆยุคต่อมา วงการเพลงลูกทุ่งได้เปลี่ยนแปลงสถานะภาพไปมาก จนเกือบจะลืมไปว่า
เอ..นี่เราอดีตก็เป็นนักร้องลูกทุ่งกับเขาเหมือนกันนะเนี้ยะ  แต่ก็ได้แต่มองดูอยู่ห่างๆ  เห็นเพื่อนๆ หลายคนได้ดิบได้ดี บ้างเป็นนายทุน บ้างเป็นนายห้าง บ้างเป็นนักจัดรายการ ทั้งวิทยุ-โทรทัศน์โด่งดัง บางคนก็เป็นนักแต่งนักประพันธ์เพลง คนก็นิยมยกย่องเรียกขานว่าท่านเป็นครูเพลง ไอ้บ้างก็เลี้ยงลูกเลี้ยงหลานอยู่กับบ้าน ไปไหนไม่ไหวแล้ว ที่เห็นดีก็มีอยู่หลายท่าน ได้อาศัยพึ่งใบบุญอยู่ภายใต้ร่มเงาของพระศาสนา อยู่ภายใต้ร่มผ้ากาสาวพัสตร์ ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นธงชัยของพระอรหันต์ทุกพระองค์ บวชจำพรรษาอยู่ในสมณเพศ จนได้เป็น ท่านเจ้าคณะตำบล เป็นพระอุปัฌชาย์จารย์ ก็หลายท่าน
   และ หรืออีกหลายคน ขี้เกียจอยู่ดูโลกอันแสนจะสับสนวุ่นวายของบนโลกใบนี้ ลาโลกขี้เกียจหายใจ เสียชีวิตไปเสียก็มาก
           
          ผมจึงเรียนกับท่านว่ามาเถอะครับ มีเรื่องที่ อีกหลายๆแง่มุม ที่ยังไม่รู้ และเรื่องราวอีกมากมาย ที่อยากจะรู้


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 04, 2015, 07:21:01 PM โดย แก้ว สาริกา »
บันทึกการเข้า
... "แก้ว สาริกา" เป็นอดีตนักร้องลูกทุ่ง วงดนตรี "ฟ้าบางกอก" ของ ครูฉลอง วุฒิวัย - วงดนตรี "จุฬาทิพย์" ของ ชาย เมืองสิงห์ : ด้วยวัยอันสมควร ปัจจุบัน ใช้วิชาความรู้ที่มี "ทำขวัญนาค" รับงานโดยทั่วไป ครับ / โทร.- 086 - 1748709 ...

สมภพ

  • เก็บคนที่ไม่หวังดีไว้ใกล้ๆ จะได้ตบกบาลมันได้สะดวก
  • ผู้ดูแลระบบ
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 22120
  • กระทู้: 5078
  • Thank You
  • -Given: 13547
  • -Receive: 22120
 พี่แก้วกลับาต่อกระทู้แล้ว หลังจากไปเที่ยวสารทจีนมาหนึ่งวัน :52 :52


บันทึกการเข้า
รับไม่ได้กับเพลงไทยสไตล์ฝรั่ง จนต้องมาวิ่งหาต้นฉบับไว้ฟังอยู่นี่ไง

แก้ว สาริกา

  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 256
  • กระทู้: 145
  • Thank You
  • -Given: 49
  • -Receive: 256
 :42    : หากจะย้อนรอยอดีต ไปเมื่อครั้งแต่ก่อน ปี 2507  คำว่า "เพลงลูกกรุง" "เพลงลูกทุ่ง, นักร้องลูกทุ่ง, นักร้องลูกกรุง, วงดนตรีลูกทุ่ง, วงดนตรีลูกกรุง" ยังไม่มีใครนำคำเหล่านี้มาจำกัดใช้
   
     จะมีก็แต่เพียง คำที่เรียกกันติดปากว่า "เพลงตลาด" จนมีคำเปรียบเปรยเกิดขึ้น "เพลงตลาด กับ เพลงมาตรฐาน"   
ต่อเมื่อจากนั้น พอมีคนนำคำว่า "ลูกทุ่ง"  "ลูกกรุง" มาใช้กัน ก็ได้เกิดมีการโต้แย้งเกิดขึ้น แม้แต่ครูเพลง
อย่าง ครู "มงคล อมาตยกุล" ที่มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ยังพูดอยู่บ่อยครั้ง ว่าเพลงไหนลูกทุ่ง และเพลงไหนลูกกรุง 
ต้องอย่าง สุเทพ วงศ์กำแหง, ชรินทร์ นันทนาคร, สวลี ผกาพันธ์, จินตนา สุขสถิตย์, หรือ ที่เรียกว่าลูกกรุง 
    และ อย่าง ทูล ทองใจ, สมยศ ทัศนพันธ์, ผ่องศรี วรนุช, วงจันทร์ ไพโรจน์, เรียกว่าลูกทุ่งกระนั้นหรือ  ใครเอาอะไรมาวัด
ค่านิยมของเพลงก็ไม่เห็นว่าจะแตกต่างกันตรงไหน ทูล, สมยศ, ผ่องศรี, วงจันทร์, หรือ แม้แต่ ชาย เมืองสิงห์ ก็โด่งดัง แพ้ใครเสียที่ไหน คนฟังกันทั้งประเทศ ...
       
    นี่คือคำพูดของ ครูยอดนักประพันธ์เพลง ครูของนักดนตรี ครูผู้ให้สำเนียงเรียบเรียงเสียงประสานดนตรี ที่สุดแสนจะไพเราะ
และเป็นอมตะ ยากที่จะหาใครมาเทียบเคียง จนถึงยุคปัจจุบัน ครูเพลง ที่แต่งเพลง "รักแท้" ให้ ชรินทร์ นันทนาคร ให้  ทูล ทองใจ
ให้
สุรพล สมบัติเจริญ
ขับร้อง และอีกมากมาย ที่ "ฝากไว้ให้อนุชนคนรุ่นหลัง" ครู ที่ทุกคนให้ความเคารพเทิดทูนและยกย่อง
      ครู ผู้ซึ่งเป็นเพื่อนรัก ของ
ครู "ไพบูลย์ บุตรขัน"
                                                           
     ครู ผู้ซึ่งเป็นครูของนักร้อง-นักแต่งเพลง อย่าง ครู นคร ถนอมทรัพย์ , พระหลวงพ่อ พร ภิรมย์, ครู ลพ บุรีรัตน์,
ครู ชาย เมืองสิงห์, และเป็น ครู ของนักแต่งเพลง  ที่ แต่งบทเพลง"ส่วนเกิน" ให้ "ดาวใจ ไพจิตร" ได้ขับร้อง จนดังคับฟ้า
เป็นอมตะแห่งเสียงเพลง ครูเพลง อย่าง จำนงค์ เป็นสุข หรือ สรวง สันติ
 
                                   
                                  เป็นครู ที่ ครูไพบูลย์ บุตรขัน เรียกอย่างเต็มปาก "ครูมงคล อมาตยกุล"


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 30, 2015, 09:41:18 AM โดย แก้ว สาริกา »
บันทึกการเข้า
... "แก้ว สาริกา" เป็นอดีตนักร้องลูกทุ่ง วงดนตรี "ฟ้าบางกอก" ของ ครูฉลอง วุฒิวัย - วงดนตรี "จุฬาทิพย์" ของ ชาย เมืองสิงห์ : ด้วยวัยอันสมควร ปัจจุบัน ใช้วิชาความรู้ที่มี "ทำขวัญนาค" รับงานโดยทั่วไป ครับ / โทร.- 086 - 1748709 ...

สมภพ

  • เก็บคนที่ไม่หวังดีไว้ใกล้ๆ จะได้ตบกบาลมันได้สะดวก
  • ผู้ดูแลระบบ
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 22120
  • กระทู้: 5078
  • Thank You
  • -Given: 13547
  • -Receive: 22120
เรียกเพลงตลาดกับมาตรฐานวัดกันยังไง .............

น้่อยเนื้อต่ำใจ - ยอด ธงชัย
<a href="http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/3695d690211023033533525f6b959c84.swf" target="_blank" class="new_win">http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/3695d690211023033533525f6b959c84.swf</a>


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 30, 2015, 10:54:59 AM โดย สมภพ »
บันทึกการเข้า
รับไม่ได้กับเพลงไทยสไตล์ฝรั่ง จนต้องมาวิ่งหาต้นฉบับไว้ฟังอยู่นี่ไง

แก้ว สาริกา

  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 256
  • กระทู้: 145
  • Thank You
  • -Given: 49
  • -Receive: 256
 :teentob: :  คำว่า "เพลงลูกทุ่ง" เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2507
โดยผู้ใช้คำนี้คนแรกอย่างเป็นทางการคือ อาจารย์"จำนงค์ รังสิกุล"
เผยแพร่ ออกอากาศครั้งแรกทางโทรทัศน์ ช่อง 4  บางขุนพรหม ยุค ทีวี ขาว-ดำ

ก่อนหน้านั้น ไม่ว่าจะเป็น ทูล ทองใจ, สุรพล สมบัติเจริญ, ปอง ปรีดา,  และนักร้องดังท่านอื่น ๆ
ที่บันทึกเสียงไว้ก่อนปี พ.ศ. 2507 จะถูกเรียกว่า "เพลงตลาด" หากเนื้อหามีแนวเสียดสีสังคมอย่างเพลงของ  เสน่ห์ โกมารชุน, คำรณ สัมบุนณานนท์ จะถูกเรียกว่า "เพลงชีวิต"

ผมไม่รู้ว่า ช่วงนั้น อาจารย์จำนงค์ รังสิกุล ใช้หลักเกณฑ์อะไร ในการแบ่งคั่ว แยกชั้น คำว่า "ลูกทุ่ง" กับ "ลูกกรุง" กันชัดเจน 
จนทำให้เกิด มีการสั่งห้าม ไม่ให้เพลงลูกทุ่งสมัยนั้น เปิดทางสถานีวิทยุ คลื่น เอฟ เอ็ม ...

   
ถ้าจะให้เดากัน ร้องเสียงหวานๆ นุ่มๆ ทุ้มๆ ลึกๆ เรียกว่าลูกกรุง : หากเสียงเล็กๆ แบนๆ แบๆ โอ้บรรยายยากส์ เรียกว่าลูกทุ่ง งั้นรึ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 04, 2015, 07:30:58 PM โดย แก้ว สาริกา »
บันทึกการเข้า
... "แก้ว สาริกา" เป็นอดีตนักร้องลูกทุ่ง วงดนตรี "ฟ้าบางกอก" ของ ครูฉลอง วุฒิวัย - วงดนตรี "จุฬาทิพย์" ของ ชาย เมืองสิงห์ : ด้วยวัยอันสมควร ปัจจุบัน ใช้วิชาความรู้ที่มี "ทำขวัญนาค" รับงานโดยทั่วไป ครับ / โทร.- 086 - 1748709 ...

สมภพ

  • เก็บคนที่ไม่หวังดีไว้ใกล้ๆ จะได้ตบกบาลมันได้สะดวก
  • ผู้ดูแลระบบ
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 22120
  • กระทู้: 5078
  • Thank You
  • -Given: 13547
  • -Receive: 22120
          ผมคนบ้านนอก ไม่เคยรู้จักวิทยุเอฟเอ็ม วันๆ ฟังแต่วิทยุใส่ถ่านสี่ก้อน เช้ามืดก็ข่าวนายหนหวย ถัดมาหน่อยก็รายการลุงขาวไขอาชีพ ของลุงไฉน กลิ่นขาว พอสว่างก็รายการคุยโขมงหกโมงเช้า จัดโดยคุณดุ่ย ณ บางน้อย (อำนาจ สอนอิ่มศาสตร์) พอสายหน่อยออกทุ่งออกสวนก็ตั้งหน้าตั้งตาฟังละครกับรายการเพลง วิทยุเครื่องเล็กๆ สะพายข้างเอวขุดดินดายหญ้าเก็บพริกเก็บมะเขือกันไป มารู้จักวิทยุเอฟเอ็มก็ตอนที่ได้เข้ามาเรียนที่อำเภอ ถึงได้รู้ว่าในโลกนี้มันยังมีเพลงที่เรียกว่าลูกกรุงกับวงดนตรีสุนทราภรณ์(ที่เราไม่เคยรู้จัก)  พอดีกับคุณครูที่โรงเรียนท่านชื่อว่าครูกาญจนา สุขสถิตย์ หน้าตาก็พิมพ์เดียวกับคุณจินตนาเป๊ะเลย แต่ผมก็ไม่เคยทราบว่าท่านเกี่ยวข้องอะไรกัน คุณครูท่านนี้แหละท่านฟังเพลงลูกกรุงกับเพลงสุนทราภรณ์แล้วท่านก็มีเครื่องเล่นแผ่นเสียงเอามาไว้ที่โรงเรียนด้วย มันช่างเป็นเรื่องแปลกใหม่สำหรับคนบ้านนอก(อย่างผม) เสียจริงครับ


บันทึกการเข้า
รับไม่ได้กับเพลงไทยสไตล์ฝรั่ง จนต้องมาวิ่งหาต้นฉบับไว้ฟังอยู่นี่ไง

สมภพ

  • เก็บคนที่ไม่หวังดีไว้ใกล้ๆ จะได้ตบกบาลมันได้สะดวก
  • ผู้ดูแลระบบ
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 22120
  • กระทู้: 5078
  • Thank You
  • -Given: 13547
  • -Receive: 22120
          เพลงลูกทุ่งในยุคนั้น อย่าได้บังอาจเสนอหน้ามาทางิทยุเอฟเอ็มเป็นอันขาด เอฟเอ็ม (ซึ่งเสียงดังฟังเพราะ) ในสมัยนั้นต้องเพลงสากล เพลงลูกกรุง แล้วรุ่นต่อมาก็ต้องเพลงสตริงเริ่มจากดิอิมฯ พวกลำตัดลิเกอะไรนี่ อย่าได้เสนอหน้าเข้าไปเป็นอันขาด จนมาถึงสมัยหลังๆ นี่แหละ (ผมว่าก่อนปี 30 ไม่กี่ปีนะ) ที่เพลงลูกทุ่งได้มีโอกาสได้ไปโก่งคอเจื้อยแจ้วอยู่บนคลื่นเอฟเอ็ม แต่ในยุคนี้ ถ้าจะให้ฟังเอฟเอ็มบางสถานีต้องขอผ่านครับ เดี๋ยวนี้สถานีชุมชนมันเยอะแล้วความถี่ที่ออกอากาศนี่มันเบียดกันเสียจนฟังไม่รู้เรื่องเลยครับ


บันทึกการเข้า
รับไม่ได้กับเพลงไทยสไตล์ฝรั่ง จนต้องมาวิ่งหาต้นฉบับไว้ฟังอยู่นี่ไง