กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: ประโยชน์ของการระลึกถึงความตาย  (อ่าน 4534 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ภิรมย์

  • รักเมืองไทย
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2320
  • กระทู้: 480
  • Thank You
  • -Given: 2121
  • -Receive: 2320
  • คุณลูกกับคุณแม่
ประโยชน์ของการระลึกถึงความตาย
« เมื่อ: เมษายน 19, 2013, 08:15:36 AM »
     คนโบราณนั้นท่านบอกว่า การระลึกถึงความตายเป็นสิ่งดี ความตายนี้หาก
เรารู้จักทำจิตทำใจให้ถูกต้องก็จะได้ประโยชน์มากดังที่ท่านประพันธ์ไว้ว่า
                      “ระลึกถึงความตายสบายนัก
                        มันหักรักหักหลงในสงสาร
                        บรรเทามืดโมหันธ์ในสันดาน
                        ทำให้หาญหายสะดุ้งไม่ยุ่งใจ”
        คงเป็นเรื่องแปลกประหลาดเหลือเกิน  ที่นึกถึงความตายแล้วจะมีอานุภาพ
แก่จิตใจของเรามากถึงเพียงนั้น  เราลองพิจารณาดูก็เห็นจริง หากเรารู้ว่าวันพรุ่ง
นี้เป็นวันตายของเรา จิตใจเราจะเปลี่ยนไป  เราจะไม่ใช้ชีวิตอย่างเหลวไหลไร้ค่า
เราคงตั้งใจทำสิ่งที่ดีที่สุด
               ช่วยบรรเทาราคะหรือความกำหนัด
        การระลึกถึงความตายนี้ช่วยเปลี่ยนจิตเปลี่ยนใจของเรา  เปลี่ยนได้อย่างไร
ท่านบอกว่า ประการแรก  หากเรามีราคะ  มีความกำหนัดอยู่ในจิตใจ  เมื่อเราระ
ลึกถึงความตายนั้น    เราจะเห็นร่างกายเรานั้นไม่สวยไม่งามอีกต่อไป  ถึงเวลาก็
จะเปลี่ยนไปกลายเป็นของเน่าเหม็น เมื่อเห็นความจริงในข้อนี้   ราคะ  ความกำ
หนัดหลงใหลในรูป รส กลิ่น  เสียง  สัมผัส ในร่างกายเราหรือคนอื่นก็ตาม   ก็จะ
บรรเทาเบาบางลงไปได้
               ช่วยบรรเทาโลภะหรือความโลภ
        การระลึกถึงความตาย ช่วยบรรเทาโลภะได้เช่นกัน    เพราะเมื่อเราลืมตาย
ไม่นึกถึงความตาย  เราก็จะเผลอไป  ตั้งหน้าตั้งตากอบโกยเข้าตัวเราตลอดเวลา
ความโลภก็พอกพูนขึ้น  จนบางครั้งเราลืมตระหนักถึงคุณค่าที่แท้จริงของชีวิตไป
แต่เมื่อเราระลึกถึงความตายได้  เราจะรู้จริงว่าเมื่อเราตายไป ข้าวของเงินทองที่
เรามีอยู่นั้น เราไม่สามารถเอาไปได้เลย  ความโลภของเราก็จะบรรเทาน้อยลงไป
หันไปทำความดีเพิ่มขึ้น
               ช่วยบรรเทาโทสะหรือความโกรธ เมื่อระลึกถึงความตายได้   เราจะได้
คิด ว่าเราจะโกรธกันทำไม เพื่ออะไร โกรธมีแต่จะบั่นทอนจิตใจ ทำร้ายตัวเองไม่
ประโยชน์อันใด เพราะสุดท้ายเราก็ต้องตายเช่นกัน  ทำไมไม่ให้อภัยกัน รักกันไว้
เพื่อชีวิตที่เหลือจะได้มีความสุข
               ช่วยบรรเทาโมหะ คือความหลง  มีคำโบราณกล่าวว่า  “คนเราหลงตัว
ก็ลืมตาย  หลงกายก็ลืมแก่  หลงเมียก็ลืมพ่อแม่”  แต่ถ้าเราคิดถึงความตายเราก็
จะไม่หลงลืมตัว  ถ้าเราคิดถึงความแก่เราก็จะไม่หลงในร่างกาย  ถ้าเราคิดถึงพ่อ
แม่เราก็จะไม่หลงเมีย  ดังนั้นถ้าเราระลึกถึงความตายอยู่เสมอ เราก็จะไม่ไปหลง
ยึดติดกับสิ่งที่บรรทอนจิตใจของเรา
               ความตายเป็นสิ่งไม่น่ากลัว เพราะเราทุกคนมีความตายเป็นสิ่งติดตัว
มาตั้งแต่เกิด
               ที่เรากลัวความตายแท้จริงไม่ใช้กลัวตาย   หากแต่ว่าเรากลัวที่จะต้อง
พรากจากสิ่งที่เรายึดติดอยู่ทั้งหลายแหล่ ชื่อเสียง เงินทอง ความสุขทางโลก สิ่ง
เหล่านี้ล้วนทำให้เรากลัวตายทั้งสิ้น...


จากหนังสือ วาระแห่งกรรม วงจรชีวิตที่ทุกคนต้องรู้จัก
สำนักพิมพ์ ธรรมสภา 
ข้อธรรมโดย พระดุษฎี เมธังกุโร


บันทึกการเข้า
 :42ดนตรีคือ สื่อภาษาสากล :42

** กระทู้แรกที่ควรอ่านเมื่ออยู่บ้านเพลงไทย **

มหาสุ

  • **แก้ไข**
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 749
  • กระทู้: 135
  • Thank You
  • -Given: 323
  • -Receive: 749
Re: ประโยชน์ของการระลึกถึงความตาย
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 22, 2013, 03:12:05 PM »
            การระลึกถึงความตายในพระไตรปิฎก3
                                                      มรณัสสติ   
                                     พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๒๒
        มรณัสสติ หรือมรณสติ เป็นพระสูตรที่กล่าวถึงการมีสติระลึกถึงความตาย อันจะต้องมีมาถึงตนเป็นธรรมดา พิจารณาเพื่อให้ใจสงบจากอกุศลธรรม และเกิดความไม่ประมาท และไม่หวาดกลัว แต่คิดเร่งขวนขวายบำเพ็ญกิจ และทำความดี (ข้อ ๗ ในอนุสติ ๑๐)   มรณัสสติสูตรที่ ๑ เป็นการมีสติ ไม่ประมาท ระลึกถึงความตายอยู่เสมอๆ เพื่อให้เกิดนิพพิทา   ส่วนในมรณัสสติ สูตรที่๒ นั้น เป็นการสอนให้มีสติระลึกถึงความตายว่าไม่เที่ยง เกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้ทุกขณะ จึงควรมีความเพียรเร่งปฏิบัติ
              มรณัสสติสูตรที่ ๑
        [๒๙๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทสร้างด้วยอิฐใกล้บ้านนาทิกคาม
        ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
       ดูกรภิกษุทั้งหลาย  มรณัสสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
      ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายย่อมเจริญมรณัสสติหรือ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้
      ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  แม้ข้าพระองค์ก็เจริญมรณัสสติ ฯ
        พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอเจริญมรณัสสติอย่างไร ฯ
        ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์คิดอย่างนี้ว่า  โอหนอเราพึงเป็นอยู่ได้ตลอดคืนหนึ่งวันหนึ่ง เราพึงมนสิการคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค  เราพึงกระทำกิจให้มากหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติอย่างนี้แล ฯ
        ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  แม้ข้าพระองค์ก็เจริญมรณัสสติ ฯ
        พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอย่อมเจริญมรณัสสติอย่างไร ฯ
        ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์คิดอย่างนี้ว่า โอหนอเราพึงเป็นอยู่ได้ตลอดวันหนึ่ง
เราพึงมนสิการคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค  เราพึงกระทำกิจให้มากหนอ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติอย่างนี้แล ฯ
        ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  แม้ข้าพระองค์ก็เจริญมรณัสสติ ฯ
        พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอย่อมเจริญมรณัสสติอย่างไร ฯ
        ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์คิดอย่างนี้ว่า โอหนอเราพึงเป็นอยู่ชั่วขณะที่ฉันบิณฑบาตมื้อหนึ่ง เราพึงมนสิการคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค  เราพึงกระทำกิจให้มากหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติอย่างนี้แล ฯ
        ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  แม้ข้าพระองค์ก็เจริญมรณัสสติ ฯ
        พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอย่อมเจริญมรณัสสติอย่างไร ฯ
        ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์คิดอย่างนี้ว่า โอหนอเราพึงเป็นอยู่ชั่วขณะที่เคี้ยวคำข้าวสี่คำกลืนกิน เราพึงมนสิการคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค  เราพึงกระทำกิจให้มากหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติอย่างนี้แล ฯ
        ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  แม้ข้าพระองค์ก็เจริญมรณัสสติ ฯ
        พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอย่อมเจริญมรณัสสติอย่างไร ฯ
        ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์คิดอย่างนี้ว่า โอหนอเราพึงเป็นอยู่ชั่วขณะที่เคี้ยวข้าวคำหนึ่งกลืนกิน เราพึงมนสิการคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค  เราพึงกระทำกิจให้มากหนอ  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติอย่างนี้แล ฯ
        ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  แม้ข้าพระองค์ก็เจริญมรณัสสติ ฯ
        พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอย่อมเจริญมรณัสสติอย่างไร ฯ
        ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์คิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้ชั่วขณะที่หายใจเข้าแล้วหายใจออก  หรือหายใจออกแล้วหายใจเข้า เราพึงมนสิการคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค  เราพึงกระทำกิจให้มากหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติอย่างนี้แล ฯ
        เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ภิกษุใดย่อมเจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า โอหนอ  เราพึงเป็นอยู่ได้ตลอดคืนหนึ่งวันหนึ่ง
เราพึงมนสิการคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค  เราพึงกระทำกิจให้มากหนอ
        ก็ภิกษุใดย่อมเจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้ตลอดวันหนึ่ง
เราพึงมนสิการคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค  เราพึงกระทำกิจให้มากหนอ
        ก็ภิกษุใดย่อมเจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่าโอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้ชั่วขณะที่ฉันบิณฑบาตมื้อหนึ่ง
เราพึงมนสิการคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค  เราพึงกระทำกิจให้มากหนอ
        และภิกษุใดย่อมเจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า โอหนอเราพึงเป็นอยู่ได้ชั่วขณะที่เคี้ยวคำข้าวสี่คำกลืนกิน
เราพึงมนสิการคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงกระทำกิจให้มากหนอ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ประมาท เจริญมรณัสสติเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายช้า
          ส่วนภิกษุใดย่อมเจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้ชั่วขณะที่เคี้ยวข้าวคำหนึ่งกลืนกิน เราพึงมนสิการคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค  เราพึงกระทำกิจให้มากหนอ และภิกษุใดย่อมเจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้ชั่วขณะที่หายใจเข้าแล้วหายใจออก หรือหายใจออกแล้วหายใจเข้า
เราพึงมนสิการคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงกระทำกิจให้มากหนอ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้ เรากล่าวว่าเป็นผู้ไม่ประมาท ย่อมเจริญมรณัสสติเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายแรงกล้า
       ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลาย จักเป็นผู้ไม่ประมาท จักเจริญมรณัสสติเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายอย่างแรงกล้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย   เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ

                                                      จบสูตรที่ ๙

-------------------------


บันทึกการเข้า