กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: สังเกต  (อ่าน 4166 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

มหาสุ

  • **แก้ไข**
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 749
  • กระทู้: 135
  • Thank You
  • -Given: 323
  • -Receive: 749
สังเกต
« เมื่อ: มิถุนายน 02, 2013, 10:02:44 PM »
สงฺเกต

 อ่านว่า สัง-เก-ตะ
 เขียนแบบไทยเป็น “สังเกต” อ่านว่า สัง-เกด

 “สงฺเกต” ในบาลี เป็นคำนาม แปลว่า การหมายไว้, การกำหนดไว้, ความตกลง, การนัดหมาย, สถานที่นัดหมาย, ที่นัดพบ
 “สังเกต” ในภาษาไทย (กรณีไม่มีคำนำหน้าหรือตามหลัง) ใช้เป็นคำกริยา มีความหมายว่า กําหนดไว้, หมายไว้, ตั้งใจดู, จับตาดู

 “สังเกต” ในภาษาไทยมักเขียนผิดเป็น “สังเกตุ” (มีสระ อุ ใต้ ต) ในภาษาบาลีไม่มีปัญหานี้เนื่องจากรูปศัพท์เป็น “สงฺเกต” และอ่านว่า สัง-เก-ตะ จึงไม่มีทางที่จะเขียนผิดเป็น “สงฺเกตุ” เหมือนในภาษาไทย

 ข้อสังเกตเหตุที่มักเขียน “สังเกต” เป็น “สังเกตุ”
 1 คำไทยที่มาจากบาลีสันสกฤตซึ่งมี ต เต่า เป็นตัวสะกด มักมีตัวตาม เช่น
 มิตร (คำว่า “นิมิต” มักจะเขียนผิดเป็น “นิมิตร”)
 เนตร (เทียบคำว่า “เขต” เคยเขียนเป็น “เขตร”)
 วิจิตร (คำว่า “จิตใจ” เคยเขียนเป็น “จิตรใจ”)
 ดังนั้น พอจะเขียน “สังเกต” ความรู้สึกจึงบอกว่าต้องมีพยัญชนะหรือสระตามมาอีก

 2 ต ที่มีสระและเป็นตัวสะกด ที่เราคุ้นกันมาก ก็เช่น ชาติ (ชาด) ธาตุ (ทาด) เหตุ (เหด) โดยเฉพาะ “เหตุ” โครงสร้างของรูปคำและระดับเสียงเข้ากับ “เกตุ” ได้พอดี พอเห็นคำว่า “สังเกต” (ไม่มีสระ อุ = ถูก) ใจก็สั่งให้เขียนเป็น “สังเกตุ” (มีสระ อุ = ผิด) ตามความเคยชินที่ซึมซับมาจากคำอื่นๆ

 3 ประกอบกับการที่คนทั่วไปมักไม่ระแวงหรือไม่ชอบสงสัยว่าคำในภาษาเดิมจะสะกดอย่างไร จึงพากันเขียนผิดเพลินไปโดยไม่รู้ตัว

 เชื่อหรือไม่ :
 เขียนผิดเพราะไม่รู้ – รู้แล้วก็ควรเลิกเขียน (ผิด)
 ทำผิดเพราะไม่รู้ - รู้แล้วก็ควรเลิกทำ