กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: อิจฉา-ริษยา  (อ่าน 3330 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

มหาสุ

  • **แก้ไข**
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 749
  • กระทู้: 135
  • Thank You
  • -Given: 323
  • -Receive: 749
อิจฉา-ริษยา
« เมื่อ: มิถุนายน 03, 2013, 09:41:45 PM »
อิจฉา-ริษยา

 อิจฉา บาลีเขียน “อิจฺฉา” (มีจุดใต้ จ) รากศัพท์คือ อิสฺ (ธาตุ = ปรารถนา, อยาก) + ณฺย (ปัจจัย = ความ-, การ-)
 กระบวนการทางไวยากรณ์คือ ลบ ณ คง ย ไว้ แปลง ย กับ สฺ ที่สุดธาตุเป็น จฺฉ = อิจฺฉ + “อา” (เครื่องหมายอิตถีลิงค์) = อิจฺฉา
 “อิจฺฉา” ความหมายเดิมในบาลีแปลว่า ความปรารถนา, ความประสงค์, ความอยากได้
 ในภาษาไทย ความหมายเพี้ยนไป พจน.42 บอกว่า
 “อิจฉา : เห็นเขาได้ดีแล้วไม่พอใจ อยากจะมีหรือเป็นอย่างเขาบ้าง (มีความหมายเบากว่า ริษยา)”

 อิจฉา ตามความหมายในภาษาไทยตรงกับบาลีว่า “อิสฺสา” (อิด-สา) แปลว่า ความโกรธเคือง, ความริษยา, ความชิงชัง, เจตนาร้าย
 “อิสฺสา” สันสกฤตเป็น “อีรฺษา” และ “อีรฺษฺยา” เราเอามาเขียนเป็น “ริษยา” (ริด-สะ-หฺยา) มีความหมายว่า อาการที่ไม่อยากให้คนอื่นได้ดี, เห็นเขาได้ดีแล้วทนนิ่งอยู่ไม่ได้, เห็นคนอื่นได้ดีแล้วไม่สบายใจ

 ไทยเราก็คงรู้ว่า เราใช้ “อิจฉา” ในความหมายของ “ริษยา” ดังนั้นจึงมักพูดควบกันไป เช่น “จะไปอิจฉาริษยาเขาทำไม”

 คติ :
 เป็นไปไม่ได้เลยที่การอิจฉาริษยาเขาจะทำให้เขาแย่ลง หรือช่วยให้เราดีขึ้น
แต่เป็นไปได้อย่างยิ่งที่จะเกิดผลในทางกลับกัน

เขียนโดย   นาวาเอกทองย้อย  แสงสินชัย