บ้านเพลงไทย ความภูมิใจของคนไทยรักษ์เพลง

หอเกียรติยศ => ชาย เมืองสิงห์ => ข้อความที่เริ่มโดย: สมภพ ที่ สิงหาคม 14, 2015, 09:43:54 PM

หัวข้อ: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ สิงหาคม 14, 2015, 09:43:54 PM
          คนนิยมฟังเพลงเก่าสายลูกทุ่งใครๆ ก็ชื่นชอบเพลงของอาชาย เมืองสิงห์ วันนี้เราได้พี่แก้ว สาริกา อดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์ของอาชาย เมืองสิงห์ ที่ได้ให้เกียรติเข้ามาพูดคุยและเล่าเรื่องเบื้องหลังหลายสิ่งหลายอย่างในวงการเพลงลูกทุ่งให้เราได้รับทราบกัน ผมจะเริ่มกระทู้นี้ด้วยเพลงที่แทบจะเรียกว่าเป็นโลโก้ของอาชายได้เลยครับ

          พ่อลูกอ่อน - ชาย เมืองสิงห์  http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/eab64dd87e166828fbc955c265b3775e.swf

          ต้องกดฟังเองนะครับ เพื่อที่จะได้ไม่รบกวนกับเพลงอื่นๆ ที่จะนำเสนอในอันดับต่อไป
แล้วก็ต้องขอเรียนเชิญพี่แก้ว สาริกา เข้าประจำที่ได้เลยครับ 
           :51 :51


     ท่านที่เข้ามาอ่านทางสมาร์ทโฟน แล้วไม่สามารถฟังเพลงประกอบกระทู้ได้ ลองแก้ไขตามวิธีนี้นะครับ http://banplengthai.net/b/index.php/topic,3541.0.html (http://banplengthai.net/b/index.php/topic,3541.0.html)
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 15, 2015, 10:46:51 AM
 :42  :teentob:: สำเภาลอยใกล้จอดฝั่ง ยังมีค่า     ผ่านเวลามายาวไกล ใจยังสู้
                  ฝากไว้ชนคนรุ่นหลัง เฝ้านั่งดู          จะเรียกปู่ เรียกตา ไม่ว่ากัน
                  ขอแต่เพียงลูกหลานไทย มั่นใจว่า    มี ปู่ ย่า ตา ยาย ไว้เติมฝัน
                  เดินตามรอยลูกทุ่งเก่า เฒ่าโบราณ   ยิ่งนานวันยิ่งอยู่สูง ลูกทุ่งไทย
...
     
... สวัสดีครับ หนุ่ม สาว ชาวบ้านเพลงไทย และญาติเพลง "ลูกทุ่ง" ที่รักและเคารพทั้งหลาย นั่งคิด นอนคิดอยู่หลายเพลา ว่าจะทำอะไรดี ในยามที่เป็น ฒ. ผู้เฒ่า และว่างงานอย่างนี้ ก็บังเอิญได้ ผลุบๆ โผล่ๆ จน คุณสมภพ คงจะรำคาญลูกนัยตา เลยขึ้นตั้งกระทู้ ให้ผมขึ้นมาปีนป่ายเล่น ก็อยากจะบอกว่า ลูกหลานทั้งหลาย ญาติๆ และเพื่อนๆ นักนิยมเพลงลูกทุ่ง มากันเถิดครับ มาลับสมองกันยามที่เราเว้นว่างจากงาน (หากว่างนะครับ ขอบอกก่อน) แล้วเข้ามาคุย มาทัก มาทาย กันกับ  เอ.. จะให้เรียกไงดีแฮะ เอาเป็นว่าตามสะดวกก็แล้วกันนะครับ จะเรียก ปู่ เรียกตา เรียกอา ไม่ว่ากัน สำคัญตรงนี้ ครับ หัวใจ ๆ ๆ ๆ ...
                               
                                                     (http://www.mx7.com/t/a8a/FjWbgd.jpg) (http://www.mx7.com/view2/yAgSMGyL0Zu39SUV)
                   
                            กับกระทู้นี้ เรื่องราวย้อนอดีต  วงดนตรี "จุฬาทิพย์" ของ ชาย เมืองสิงห์ ...

                                     http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/5eef9ad93298fc6736e2e50f99856478.swf
                                   
                                    โดย; กระผมนี่แหล่ะครับ / แก้ว สาริกา   ศิษย์ "จุฬาทิพย์"
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 15, 2015, 11:08:05 AM
 :51   กระผมขอกราบเรียนท่านที่เคารพ อย่างหนึ่งว่า ผมไม่ใช่นักประดิษฐ์อักษร ไม่ใช่นักเขียน
หรือนักเรียงความ แต่ละตัวของอักษร ผมเขียนด้วยใจและความผูกพัน ไม่ใช่เขียนเพื่อสนุก หรือยกเมฆ ไม่เคยเขียนเป็นประวัติแล้วบันทึกเก็บไว้เลยแม้แต่น้อย เขียนบันทึกด้วยความจำ ที่ไม่อาจจะลืมเลือนได้ เพราะทุกเหตุการณ์ ยากที่จะลืม 
   แต่..ก็ยังมีที่อาจจะหลงไปบ้าง ตามอายุไข และกาลเวลาที่ยาวนาน
   
    : ก่อนจะมาเป็น วงดนตรีลูกทุ่งที่ยิ่งใหญ่ นามว่า วงดนตรี  "จุฬาทิพย์" ของ ชาย เมืองสิงห์ ในยุคของ วงดนตรีลูกทุ่งที่กำลังเฟื่องฟู สุดขีด วงดนตรี "จุฬารัตน์" ของ ครูมงคล อมาตยกุล ผู้สร้างนักร้องที่โดดเด่น และโด่งดัง  อย่าง  ทูล ทองใจ, พร ภิรมย์, ปอง ปรีดา, ครูเพลง นคร ถนอมทรัพย์ (กุง กาดิน) และได้สร้างนักร้องอย่างต่อเนื่อง โดย ไม่หยุดหย่อน จนกระทั่งได้พบเพชรเม็ดน้ำงาม เข้าสู่ประดับวงการเพลง ครู มงคล อมาตยกุล ได้สร้างนักร้องคนหนึ่งขึ้นมาจนโด่งดัง ...
           
                                                       (http://www.mx7.com/i/9e0/hXdqVO.jpg) (http://www.mx7.com/view2/yAoHXMFX4tg5fhfm)
             
                                       ไม่มีใคร ที่ไม่รู้จัก นามว่า   "ชาย เมืองสิงห์"

                                  http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/eab64dd87e166828fbc955c265b3775e.swf
                                    เพลงนี้ ที่ผูกพันธ์ชีวิต ชาย เมืองสิงห์ มากที่สุด

                                 
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ สิงหาคม 15, 2015, 11:29:24 AM


ถ้าเปรียบพี่แก้วเป็นสำเภาใหญ่
คงล่องเรือค้าขายมาแต่หน
ผ่านคลื่นลมใหญ่น้อยยังทานทน
ยังดั้นด้นยืนหยัดมานานปี

มาเทียบท่าบ้านนี้ของดีเพียบ
ค่อยๆ เลียบลำเลียงคงสุขศรี
เชิญพี่น้องเข้ามาชมอารมณ์ดี
พี่แก้วมีของดีมาให้ชม

ทั้งเรื่องราวกล่าวขานตำนานเก่า
ที่เหล่าพวกเราๆ ได้สุขสม
เรื่องลึกๆ แต่ไม่ลับให้ได้ชม
ที่เป็นปมชาวลูกทุ่งเรามุ่งมา

ผมขอกราบขอบพระคุณแทนทุกท่าน
ทุกสิ่งอันที่พีมอบให้ค้นหา
จะจำไว้ตราตรึงในอุรา
ที่พี่ยังเมตตา “บ้านเพลงไทย”

หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 15, 2015, 01:38:52 PM
 :teentob:: ทุกครั้งที่ "ชาย เมืองสิงห์" บันทึกเสียง ไม่ว่าจะแต่งเอง ในนาม สมเศียร พานทอง หรือจะเป็นนักแต่ง ท่านใด แต่งให้ร้องก็ตาม จะมีทางฝ่ายจัดการของห้างแผ่นเสียง สั่งจองล่วงหน้ากันอย่างไม่เว้นว่าง และอย่างว่านะครับ เมื่อเพลงออกมา ดังทุกเพลง ขายกันระเบิดเถิดเทิง จนจัดเทียบชั้น นักร้องรุ่นพี่ อย่าง  ทูล ทองใจ และ พร ภิรมย์  ตามท้องไร่ ท้องนา ในป่าในเขา ห้วย หนอง คลอง บึง ไม่ว่าเด็ก ผู้ใหญ่ ตอนนั้นเพิ่งจะมี วิทยุทรานซิสเตอร์เข้ามาใหม่ ๆ ต่างก็ซื้อไว้ฟังอยู่กับบ้าน บ้างก็ ออกจากบ้าน ไปเลี้ยงควายไถนา นำวิทยุ ใส่ผ้าขาวม้า สะพายไหล่ขี่หลังควาย เปิดฟังเพลง ชาย เมืองสิงห์
    - วัดเอ๋ย วัดโบสถ์ ปลูกข้าวโพดสาลี  ยามเมื่อผัวตกยาก เมียก็ตีจากเมินหน้าหนี โอ่ แม่ข้าวโพดสาลี ผัวอยู่ทางนี้ต้องโรยรา ...    เพลง พ่อลูกอ่อน
    - ขอบคุณแฟนๆ ที่ยังหนาแน่น เป็นแฟนพี่ชาย โดยมิมีแหนงหน่าย มีจดหมายถึงพี่ ถ้อยคำรำพันแฟนสรรค์จำนรรค์ถ้วนถี่ เพียรถามตอบไมตรี จงรักพี่เอ็นดู นะแฟนคนดี ฯ...     เพลง แฟนประจำ
    - นั่นอะไร นั่นอะไร เอ๊ะนั่นอะไร   จดหมายใคร ใครส่งถึงเธอ  หลอกซ้อนเร้นเห็นฉันเป็นคนเซ่อ รักเธอหลงเธอ จนไม่เจียมเหนียมอาย ยิ่งอ่านจดหมายใจหายระกำ สุดชอกช้ำเพราะผู้หญิงหลายใจ ฯ ... เพลง น้ำนิ่งไหลลึก 
หรือ  หอมมาลัย ที่ชายรับมาจากเจ้า  รับมาจากสาว เล่นเอาหัวใจชายสั่น   พวงมาลัยคล้องดวงใจผูกพัน ต่างพยานรักกัน ไม่ว่าคืนหรือวัน จิตตรำพันถึงเธอ หลับละเมอเพ้อไป แม่พวงมาลัย ขวัญใจอยู่ไหนเล่า ฯ... เพลง มาลัยดอกรัก
          ด้วยลูกคอที่ไหลลื่น  ท่วงทำนอง และสำเนียงเสนาะที่สดใสไพเราะยิ่งนัก ใครได้ฟัง เป็นต้องชอบ และชื่นชม
          ชาย เมืองสิงห์  จึงผงาด ได้รับฉายานามจากคนฟัง มิตรรัก และแฟนเพลง...  
                                                                                             
                                                         "เทพบุตร  เพลงลูกทุ่ง"   
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ สิงหาคม 15, 2015, 03:41:05 PM
     ขอบคุณแฟนๆ ที่ยังหนาแน่น เป็นแฟนพี่ชาย โดยมิมีแหนงหน่าย มีจดหมายถึงพี่ ถ้อยคำรำพันแฟนสรรค์
จำนรรค์ถ้วนถี่ เพียรถามตอบไมตรี จงรักพี่เอ็นดู นะแฟนคนดี ฯ.....

แฟนประจำ - ชาย เมืองสิงห์ (กดปุ่มเพื่อฟังเพลงนะครับ)

http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/4ff68d0e6b81c441b965b0ec2af40aa5.swf

 
:yenta4-emoticon-0102: :yenta4-emoticon-0102: :yenta4-emoticon-0102: :yenta4-emoticon-0102: :yenta4-emoticon-0102:

หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 16, 2015, 07:34:36 AM
 :51## สวัสดีครับ วันนี้มาแต่เช้าเลยผม มาคุยมาเล่าความกันต่อครับ เดี๋ยวก่อนจะเล่า ขอซดกาแฟสักถ้วยก่อน ##
 
  : จะมีนักร้องลูกทุ่งสักกี่คน ในสมัยนั้น ที่จะได้แสดงภาพยนตร์  ชาย เมืองสิงห์ โด่งดัง จนเจ้าของหนัง ต้องมาว่าจ้าง ให้ไปแสดงภาพยนตร์ (เรียกว่าเล่นหนังดีกว่า) ค่าตัวระดับพระเอกเลยเชียวล่ะ ชาย เมืองสิงห์ เล่นหนังอยู่ สองเรื่อง เรื่องแรก "เทพบุตรสิบสองคม" เรื่องที่สอง "โสนน้อยเรือนงาม" (ร้องเพลง"โสนน้อย" ประกอบด้วย)  แสดงร่วมกับ ไชยา สุริยันต์,  เพชรา เชาวราษฎ์  และน่าจะมีอีกสักเรื่อง "มันมือเสือ" รึไงเนี่ยะ ขอโทษ จำไม่ค่อยได้จริงๆ (ร้องเพลง "หวานตา") ประกอบหนังไว้ด้วย ..
   คลื่นลูกใหม่ก็มักจะถาโถมมาแทนที่คลื่นลูกเก่า โดยผลัดเปลี่ยนหมุ่นเวียนกันไป อยู่เสมอ  ตามวัฏจักร
   : ช่วงปลาย ปี พ.ศ. 2508  ตอนนั้นผมพักอยู่กับ ครูฉลอง วุฒิวัย ที่บ้านบางซื่อ (ขออ้างอิงถึง ครูฉลอง หน่อย)
ครูฉลอง กลับจากทำงาน ก็จะนำข่าวมาเล่าสู่กันฟัง มีข่าววงใน กระเซ็นกระสาย ออกมา ว่า ชาย เมืองสิงห์ จะออกจาก จุฬารัตน์  นอกจาก ครูมงคล อมาตยกุล แล้ว ก็ ครูฉลอง วุฒิวัย นี่แหละ ที่ ชาย เมืองสิงห์ ให้ความเคารพนับถือมาก อีกคนหนึ่ง หากแต่ ช่วงนั้น  ชาย เมืองสิงห์   ยังโด่งดังอย่างต่อเนื่อง  ด้วย เพลง  ทุกข์ร้อยแปด, บ้านใกล้เรือนเคียง,
   : ข่าวออกจาก วงดนตรี "จุฬารัตน์" ของ ชาย เมืองสิงห์ ก็ยังมีอยู่เรื่อยๆ ..
                จนในที่สุด ต้นปี 2509 ข่าวก็เป็นความจริง   ครูฉลอง บอกผมว่า ชาย ออกแล้ว :

                                    หมายถึง  "ชาย เมืองสิงห์" ออกจาก วงดนตรี "จุฬารัตน์" ...

หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: ทรงอาจ ที่ สิงหาคม 16, 2015, 09:33:30 AM
คุณลุงแก้ว พูดถึงเพลงโปรดของผม "ทุกข์ร้อยแปด" ผมเคยเขียนเกี่ยวกับเพลงนี้ไว้ ขออนุญาตวางลิงค์นะครับ
http://thaioldsonglist.blogspot.com/2015/08/thai-old-song_92.html (http://thaioldsonglist.blogspot.com/2015/08/thai-old-song_92.html)
(http://i1.ytimg.com/vi/7Uh-No2bP_0/mqdefault.jpg)
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ สิงหาคม 16, 2015, 10:00:30 AM
โอ้โสนน้อยเรือนงาม เพราะเวรบาปกรรมเก่าทำกล้ำเกิน..........

โสนน้อย - ชาย เมืองสิงห์ (กดปุ่มเพื่อฟังเพลงนะครับ) http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/0bedd355bd0b11d3f0f468393d50610e.swf
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 16, 2015, 02:02:57 PM
 :teentob:  :  " ชาย เมืองสิงห์ "  เข้าไปกราบลาครู ด้วยความห่วงหาและอาทร พี่ชาย เคารพครู เสมือนหนึ่งพ่ออีกคน ครูที่ทำให้
ชาย เมืองสิงห์ เป็นผู้เป็นคนขึ้นมาได้ หลังจากที่เรียนเพาะช่าง ได้เพียงปี 3 เท่านั้น ด้วยฐานะทางบ้านที่ย่ำแย่ นาล่ม สองปี ซ้อน ๆ ถ้าแม้นมิได้ครู ผู้มีจิตตเมตตาอารีย์แล้วไซร้ ก็คงไม่มี ชาย เมืองสิงห์ คงจะมีก็แต่ "ลิงแดง" นักร้องกองเชียร์ รำวงแห่งตลาดพลูเท่านั้น :
  : หลังจากที่ลาออกจาก จุฬารัตน์ ต้องบอกว่า พี่ชาย เป็นคนที่มีสัจจะเป็นเลิศ ไม่ยอมรับงานรับเชิญ หรือร้องเพลงใดๆ ที่ไหนทั้งสิ้น แต่มีข้อแม้  ยกเว้นอยู่วงเดียว คือ ฟ้าบางกอก พี่ชาย เป็นคนชอบอยู่กับบ้าน เป็นคนช่างคิด ช่างปัญญา ชอบเลี้ยงสัตว์ (โดยเฉพาะกระต่ายเป็น100ตัว) ชอบปลูกต้นไม้ (โดยเฉพาะ ต้นชวนชม) จึงเป็นที่มาของเพลง ชวนชม เลี้ยงปลาเงิน-ปลาทอง ในบ่อน้ำพานทอง หน้าบ้าน เขียนโน๊ตเพลง แต่งเพลง ทำงานศิลป วาดรูป เขียนรูป ไปตามเรื่องตามราว ใช้วิชาที่ได้ร่ำเรียนมา ให้เป็นประโยชน์ ยามว่างงาน ..
    ขอย้อน พูดถึงครูฉลอง หน่อย ขณะเดียวกัน มีครูเพลงท่านหนึ๋ง  ครู ประเทือง บุญญประพันธ์
ได้มาติดต่องานให้ วงดนตรี ฟ้าบางกอก ไปแสดง ที่ จังหวัดเชียงใหม่ ในมหาวิทยาลัยเกษตร แม่โจ้ งานแสดงคืนเดียว สมัยนั้นคิดคูเถอะ ปี 2509 หนทางขนาดใหน ต้องขึ้นเขาลี้ ที่ อ.เถิน จ.ตาก ( ขึ้นเขาสนุกอย่าบอกใครเชียวข้างทางบนภูเขา ดูสาวกะเหรี่ยง....แก้.....อาบน้ำ..โห )   ครูฉลอง ปรึกษากับ พี่ชาย ถึงงานที่จะไปแสดง ก็ตกลงกันว่า......
    ชาย เมืองสิงห์ จัดบุ๊ค เดินสายเหนือ หนึ่งเดือน  โดยเริ่มจาก อ.วังน้อย อยุธยา ที่ตลาดวังน้อยเนี่ยะ ชาย เมืองสิงห์ แสดงอยู่วิกหนึ่ง สุรพล แสดง อีกวิกหนึ่ง เรียกว่าวิกตลาดเหนือ กับ วิกตลาดใต้ เมื่อก่อนโรงหนัง เขาเรียกวิก ผมยังเห็น ครูฉลอง ยืนคุย กับ ครูสุรพล (ครูสุรพล ใส่เสื้อยืดสีแดง)  ถามถึงว่า พี่คำรณ มาด้วยเหรอ มี กังวาลไพร ลูกเพชร และ พนมไพร ลูกเพชร ยืนเคียงข้าง อยู่กับ ครู สุรพล  ไม่รู้จักผมกันหรอก เพราะตอนนั้น ผมยังเป็นคนขนเดรื่องเล็กๆอยู่เลย...                       
                                               
                                            วิกสังกะสี คนดูเยอะ วิกแทบแตกทั้งสองคณะ
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 16, 2015, 04:41:37 PM
:zxdrn:  : หลังจากเสร็จสิ้นการแสดงในคืนนั้นที่ วังน้อย ก็เดินทาง มุ่งสู่สายเหนือทันที เป็น เวลา หนึ่งเดือนเต็ม ทุกสถานที่เปิดการแสดง ทั้งรอบบ่าย และรอบค่ำ  รอบบ่าย คนดูจะน้อยสักหน่อย  ส่วนมากจะมีแต่แม่ยก ลูกยก เสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ รอบค่ำเต็มทุกที่  การโฆษณา ก็ไม่ได้ใช้คำว่า วงดนตรีคณะ ชาย เมืองสิงห์  
  : ใช้ถ้อยคำเป็นประโยคคำพูด " พบกับดนตรีลูกทุ่งมาตรฐาน วงใหญ่  ท่านจะได้พบกับ เสือแก่ เสือเก่า เสือเฒ่า ไม่ยอมถอย "คำรณ สัมปุณณานนท์" ปะทะ สิงห์หนุ่ม แห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา  "ชาย เมืองสิงห์ " 
    แม้แต่ สแตนด์ตั้งโชว์ สำหรับเป็นที่ใช้วางสมุดโน๊ตเพลง หน้าเวทีการแสดง ยังใช้ สแตนด์ ของ "ฟ้าบางกอก"   โฆษกประจำรถแห่โฆษณา ประชาสัมพันธ์
     บอกแล้วไม่อยากจะเชื่อ ครูศักดิ์ โกศล ครับ (ขณะพวกกระผมยังพูดกันไม่เป็น) ก็ได้ พี่ศัก โกศล นี่แหล่ะ
(ตอนนั้นพวกเรา เรียกพี่) ได้สอนวิธีการพูดโฆษณา ทั้งหน้าโรงภาพยนตร์ และโฆษณารถแห่ให้ มีผม ยอด ธงชัย ทศพร (ดาวไทย ยืนยง)

นักร้อง ชาย-หญิง ในการเดินสายเหนือครั้งนั้น ..
      นอกจาก ชาย เมืองสิงห์  ดวงใจ เมืองสิงห์  มี ครูคำรณ สัมปุณณานนท์, พล พรภักดี, ศักดิ์ โกศล, อารีย์วรรณ วัฒนารมย์, ศรีวรรณ เดือนสว่าง, รุ่งนภา ดารากุล, สุนันท์ กรองแก้ว, ทิวา ราเชนทร์, คม ศุภมิตร ( คม ราชสีมา ), ด.ญ.จันทนา อิศรางกูร ณ.อยุธยา, ยอด ธงชัย, เรไร ณ โคราช, รุ่งเรือง เมืองวิเศษ,   
      โฆษก ผู้ประกาศเพลง หน้าเวทีการแสดง   ฉลอง วุฒิวัย รับหน้าที่ และเป็น โฆษก ตัวปูให้ "แสง สุริยา" เป็นตัวดิ้น
      โฆษกตลก มีคนเดียว แต่สุดยอดของความ ฮา!    "ศรี สุริยา"  (ตอนนั้น ใช้ชื่อ แสง สุริยา ยังไม่เป็นทีม สี่สี)  ที่ผมได้ให้ความสำคัญ กับการเดินสายเหนือ  ก็เพื่อจะให้ได้รู้ว่า
                                               
                    นี่คือเป็นการ เตรียมการ เพื่อที่จะทำงานใหญ่ ในอนาคต ของ ชาย เมืองสิงห์ อย่างมีระบบ ...
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 17, 2015, 08:38:47 AM
 :90# เข้าสู่ยุค วงดนตรีฉบับกระเป๋า "หลังเขาประยุกต์" #
   
 : เริ่มต้นของการเป็นนักเพลง มืออาชีพ พี่ชายได้รวมกลุ่มสมัครพักพวก นักร้อง - นักดนตรี - โฆษก เป็นกลุ่มย่อยๆ สร้างเป็นวงดนตรีฉบับกระเป๋าขึ้นมา ชนิดไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน โดยใช้ชื่อว่า วงดนตรี "หลังเขาประยุกต์" คำว่า ของ "ชาย เมืองสิงห์" นั้น มาใส่กันเองในภายหลัง หากจะมีคำถามว่าทำไมต้องใช้ วงดนตรี "หลังเขาประยุกต์" มันมีที่มาและที่ไปครับ พี่ชายเป็นนักร้องดังมากๆ ในยุคอยู่กับ "จุฬารัตน์" การเดินสายแต่ละครั้ง ก็ชอบที่จะซื้อของแปลกๆ สวยๆ ติดไม้ติดมือ กลับมาตกแต่งที่บ้าน ที่สดุดตาและรักมาก ชอบมากของพี่ชาย คือ "ตุ๊กตา ชาวเขา" ที่นำมาตั้งโชว์สวยๆ ไว้ในตู้โชว์ที่บ้านเยอะ  คงพอจะนึกออกและเดาได้แล้วซิครับ ว่านี่คือทำไมพี่ชายใช้ชื่อ วงดนตรี "หลังเขาประยุกต์ ...
  :teentob:: หลังกลับจากการเดินสายเหนือคราวนั้น ช่วงปลายปี 2509 ชาย เมืองสิงห์ เริ่มก่อตั้ง วงดนตรีเล็กๆ รับงานแสดง ตามโรงภาพยนตร์ ชั้น1. ในกรุงเทพฯ ในชื่อ วงดนตรี "หลังเขาประยุกต์"  สลับกับการฉายภาพยนตร์ รอบปฐมทัศน์
   ครั้งแรก  ที่เปิดทำการแสดง คือ โรงภาพยนตร์ เอ็มไพร์ เชิงสะพานพุทธ ติดปากคลองตลาด แต่จำไม่ได้สลับการฉายหนัง เรื่องอะไร ใช้นักดนตรี 5 ชิ้น  ชาย เมืองสิงห์  ร้องเพลงด้วย ตีกลองด้วย คือร้องเองตีเอง จึงเกิดฉายาใหม่ขึ้นมาอีก " เขว่ว สันขวาน"  สำหรับ ฉายา "ลิงแดง" ที่หลายคนยังค้างคาใจ และไฝ่หาคำตอบ ใช้มาก่อนที่จะมาเป็นนักร้อง ใช้เรียกในตอนที่ พี่ชาย เป็นนักร้อง กองเชียร์ รำวง แต่ เมื่อมาเป็นนักร้องจริงๆ ก็ยังนำมาใช้ประกอบควบคู่กันไป เช่น ตราแผ่นเสียงของบางเพลง จะใช้ คำว่า วงดนตรี ลิงแดง ..
  : นักร้องหลักๆ ในช่วง วงหลังเขา   ชาย เมืองสิงห์, ดวงใจ เมืองสิงห์, ครู คำรณ สัมปุณณานนท์, บุปผา สายชล, ดวงรัตน์ แสงอุทัย, ยอด ธงชัย, เรไร ณ.โคราช,  กำพล เพชรกำแพง, รุ่งเรือง เมืองวิเศษ,  ควบคุม ดนตรี ครู ฉลอง วุฒิวัย, 
    โฆษก  ศรีไพร ใจพระ, สีหมึก รวงทอง, จากการแสดง ของนักดนตรีที่โดดเด่น มีการแสดงโชว์กายกรรมต่อตัว ครู ฉลอง เป่าขลุ่ย ทางจมูก โชว์การเป่าขลุ่ย สองอัน  ชาย เมืองสิงห์ โชว์ความสามารถการสะโล่ว์กลอง อย่างสนุกถึงใจ จึงทำให้ วงดนตรี หลังเขาประยุกต์ โดดเด่นและโด่งดัง มีงานเข้ามาหา จากปากต่อปาก ของผู้ที่ได้ไปนั่งชม การแสดง
    เป็นการแสดงสุดยอด ของการแสดงดนตรี มิใช่เพียงแต่ร้องเพลงเท่านั้น ...
                           
                            นี่คือ คุณภาพ ของการแสดงดนตรี   ของวงดนตรี "หลังเขาประยุกต์" 
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ สิงหาคม 17, 2015, 09:14:23 AM
พูดถึงยอด ธงชัย มีเพลงมาให้ฟังครับ

น้อยเนื้อต่ำใจ - ยอด ธงชัย http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/3695d690211023033533525f6b959c84.swf
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ สิงหาคม 17, 2015, 10:05:59 AM
อีกเพลงกับนักร้องที่ใช้ชื่อว่ารุ่งเรือง เมืองวิเศษ เดี๋ยวพี่แก้วคงมาเฉลยครับว่าชื่อนี้คือใคร  :tab_on: :tab_on:

http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/baab7dfd6f3e0c2bc2148c83a4c07648.swf
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 17, 2015, 10:24:58 AM
อีกเพลงกับนักร้องที่ใช้ชื่อว่ารุ่งเรือง เมืองวิเศษ เดี๋ยวพี่แก้วคงมาเฉลยครับว่าชื่อนี้คือใคร  :tab_on: :tab_on:

http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/baab7dfd6f3e0c2bc2148c83a4c07648.swf

     : ไม่ใช่ผมครับ คนละคนกัน / ผมขออนุญาต นอกรอบหน่อย ผมใช้ชื่อ รุ่งเรือง เมืองวิเศษ ร้องเพลงหน้าเวที โดย ครูฉลอง วุฒิวัย ตั้งให้ คราวที่ผมขึ้นร้องเพลงครั้งแรก บนเวทีการแสดงในงานบวชนาค ที่เขตพระโขนง (ตั้งกันบนเวทีนั่นแหล่ะต่อหน้าคนดูเลย) เมื่อปี 2508 ใช้ชื่อนี้มา
แค่ร้องเพลงหน้าเวทีเท่านั้น พอผมมาบันทึกเสียง เพลงแรก สุขี-สุขี เมื่อปลายปี 2509 พี่ชายก็ได้เปลี่ยน ให้เป็น "แก้ว สาริกา"...  
                                                              คนละคนกัน ครับ
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สามเค ที่ สิงหาคม 17, 2015, 12:40:11 PM
เป็นเรื่องราวในอดีตของวงดนตรีลูกทุ่งชื่อดังที่ไม่เคยพบในหนังสือหรือสื่อใดๆ  น่าติดตามครับ
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 17, 2015, 03:18:00 PM
 :21##  เข้าสู่ยุครอยเชื่อมต่อ วงดนตรีฉบับกระเป๋า "หลังเขาประยุกต์" -  วงดนตรีลูกทุ่งวงใหญ่ เปิดกรุ "จุฬาทิพย์" ของ ชาย เมืองสิงห์  ##
 
     : ย่างเข้าสู่ ปี 2510 เมื่อชื่อ วงดนตรีหลังเขาประยุกต์ ของ ชาย เมืองสิงห์ โดดเด่น โด่งดัง โจทย์ขานกันไปทั่ว ทั้งทางหนังสือพิมพ์ นิตยสาส์นการบันเทิง งานก็เข้าหามากมาย สมัยนั้น สื่อต่างๆ เขาเขียนให้ด้วยความเป็นสื่อ ไม่มีผลประโยชน์ ตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น เขียนด้วยความดัง และศรัทธา ในตัว ชาย เมืองสิงห์ จนพี่ชาย ต้องขยาย   สู่เป้าหมายที่วางไว้ อย่างรอบคอบ และรัดกุม เริ่มเช่าสถานีวิทยุจัดรายการ (สถานีวิทยุ กองพล ป.ต.อ. สีแยกเกียกกาย) เวลา 10.00 น-11.00 น. เป็นประจำทุกวัน (เว้น วันอาทิตย์)
 : ช่วงแรกๆ พี่ชาย จัดรายการเอง พูดเองก่อน งานล้นตัว เห็นท่าจะไม่ไหว ก็ปรึกษากับ ครูฉลอง วุฒิวัย (เจ้าประจำ) ครูฉลอง มอบให้ พี่ ดาวฤกษ์ เรวดี ซึ่งขณะนั้น พี่ ดาวฤกษ์ มาร้องเพลงอยู่กับ ฟ้าบางกอก เป็น ยอดนักพูดอีกคนหนึ่ง พี่ดาวฤกษ์ อยู่ กับ คณะ ลิเกมาก่อน ( คณะ แมน ลือนาม, จึงเป็นที่มาของเพลง เอกา ที่แต่งให้ ชาย เมืองสิงห์ ร้อง เป็น ทำนอง และจังหวะ ออกแขก ไปทาง ลิเก ) พี่ชาย ให้พี่ดาวฤกษ์ ประกาศทางสื่อวิทยุ ประกาศรับสมัครหานักร้อง ชาย-หญิง และนักเต้น หางเครื่อง เพียงไม่กี่วัน  โห.. มากันเพียบ  ทั้ง ชาย และ หญิง  คัดชุดแรก ไว้ได้หลายคน ผมจะค่อยๆไล่เรียงลำดับ
       ( ยกเว้นนักร้อง ที่เข้ามาโดย อัตโนมัติ  มีใครบ้าง แล้วจะบอก ใครเป็นใคร เข้ามาอย่างไร )         
        นักร้อง ชาย  # พร เทวา, เพชร มหาพนต์, น้ำมนต์ ศักดิ์สิทธิ์, ทุ่ง เศรษฐี, กุมาร มัทรี, ชาลี มหาราช, บุตร บุญธรรม,
        ทอง สัมฤทธิ์,โชติ ชัชวาลย์, อาทิตย์ อุทัย, เลิศ นพรัตน์, โชค ชวนชม (คนที่ 2)
                 รวมถึง   อาภรณ์ ฉิมพลี ( เข้ามา เป็นนักแต่งเพลง อัมพร สนธยา )
        นักร้อง หญิง # นารี สุจริต, มาลัย ดอกรัก, ลั่นทม ทานตะวัน (คนแรก), พิมพ์ โสภา, ดอกไม้ บ้านนา, ธิดา บ้านดอน,
        น้ำทิพย์ อรชร (คนแรก), นงนุช พุทธรักษา, มุกดา ดาวเรือง, ตุ๊กตา พรมจรรย์ (น้ำผึ้ง ภูธร),
        กิ่งแก้ว กาญจนา (คนแรก),  ดวงจิตร แจ่มจันทร์, ดวงจันทร์ วันเพ็ญ, ปวดหัวไหมครับ ทำไมมี คนแรก คนสอง 
        ผมยังมึนเลย  เก็บไว้เป็นคำถาม ทีหลังนะครับ ...
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ สิงหาคม 17, 2015, 03:31:16 PM
เป็นอันว่าเรื่องของรุ่งเรือง เมืองวิเศษ ชัดเจนครับ ขอบคุณครับพี่ เพื่อนๆ ที่ตามอ่านจะได้เข้าใจตรงกัันด้วยครับ
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 17, 2015, 03:46:29 PM
เป็นเรื่องราวในอดีตของวงดนตรีลูกทุ่งชื่อดังที่ไม่เคยพบในหนังสือหรือสื่อใดๆ  น่าติดตามครับ

    : ขอเรียน ให้เพื่อนพ้อง น้องพี่ และญาติเพลงลูกทุ่ง เพื่อทราบนะครับ ว่างานเนี้ยะ ยาวนะครับขอบอก ต้องทำใจ หรือจำใจอ่านก็แล้วแต่ "อ่านกันยาวๆ เบื่อก็พัก อยากรู้ก็อ่านต่อ"  เอ เอ๊ะ ๆ ๆ ท่าน.. สมภพ เอ้ย ๆ ๆ คุณก็ได้ ฮิ ฮิ เอากะเขาหน่อย ไม่ยอมให้เรียกท่าน สงสัยจะเขิน เปลี่ยนหัวข้อชื่อกระทู้ดีไหม ครับ คำว่า "จุฬาทิพย์" กะ "ชาย เมืองสิงห์" มันเกร่อจนเกลื่อน หน้าปัดแล้ว นะ นะ นะ ลองดูนะครับ รับรองอ่านกันข้ามปีแน่ๆ 55555 ...
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ สิงหาคม 17, 2015, 04:21:54 PM
ขอบคุณท่านนายกแบตเตอรี่ไฟแรง(สามเค) ที่เข้ามาเยี่ยมชมกระทู้นี้ด้วยครับ
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: ทรงอาจ ที่ สิงหาคม 17, 2015, 06:53:51 PM
เรื่องราวของวงดนตรีหลังเขาประยุกต์ คุณลุงแก้ว แย้มๆ มาว่าจะเกี่ยวข้องกับเพลงนี้ด้วย ขอนำมาให้ฟังก่อน เพลง เอกา ชาย เมืองสิงห์ ร้อง ดาวฤกษ์ เรวดี แต่ง ลุงแก้ว สาริกา จัดหาไฟล์เพลง ผมจัดทำคลิปครับ
http://www.youtube.com/v/TALJOB6ZgOI?fs=1&hl=en_US
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 18, 2015, 04:33:08 PM
 :zxdrn:  :  ครั้นพอได้จำนวน นักร้อง ทั้ง ชาย-หญิง ตามที่ต้องการ นักเต้นหางเครื่องไม่ต้องพูดถึง พี่ชายก็ให้ นักร้องทุกคน
นี่แหล่ะ ฝึกเต้น ซ้อมเต้น โดยมี พี่ติ๋ม (ดวงใจ เมืองสิงห์) เป็นผู้ฝึกสอน ฉนั้น นักร้อง ชาย-หญิง รุ่นแรกๆ จะเต้นได้ดีๆ กัน ทุกคน ผมเอง ก็เบาเสียเมื่อไหร่ ถึงตอนนี้ก็เหอะ พอได้โอกาสเหมาะโม้เลยเรา (โม้ทั้งปี ตาแก้ว 55555) พอจะเข้าที่เข้าทาง  พี่ชายก็พา บรรดา นักร้อง นักเต้น เดินทางมุ่งสู่ อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี  ไปกราบนมัสการ
หลวงพ่อ อภินันทจุฬ ( หลวงพ่อจุฬ หรือหลวงพ่อใหญ่ ) วัดถ้ำใหญ่คูหาสวรรค์ หาฤกษ์ หายาม ตรวจ ดวงชะตาราศรี
และตั้งชื่อ คณะวงดนตรี ...
    ขออนุญาต ขยายความ พระคุณหลวงพ่อท่านนี้แหล่ะ ที่ เป็นผู้ ตั้งชื่อ วงดนตรี จุฬารัตน์ เป็นที่เคารพ ของ ครูมงคง อมาตยกุล  และนักร้อง ทุกคน ของ จุฬารัตน์  ลูกศิษย์ ที่เป็นนักร้องดังๅ ก็มากมาย เช่น ไพรวัลย์ ลูกเพชร, วงดนตรี จุฬาภิรมย์,
วงดนตรี จุฬาโรจน์, ฯลฯ ...
     เอาล่ะ เข้าเรื่อง จุฬาทิพย์ ต่อนะครับ หลวงพ่อ  เอา วัน/เดือน /ปี เกิด ของผู้เป็นหัวหน้าวง ก็คือ ชาย เมืองสิงห์ ตรวจดู แล้วเขียนลงอักขระบรรจุ ลงในพระประจำวันเกิด คือพระปางพุทธไสยาส พระประจำวันอังคาร  จัดเก็บไว้ ในที่อันสมควร
     ที่ผมสังเกตุเห็น ก็คือ เป็นในช่องหินหลืบ ของถ้ำภูเขาในบริเวณวัด  จากนั้น ก็ให้ นักร้องทุกคน ที่มาอยู่ร่วม ในพิธี รับสัจจะ
      - ห้ามกินเนื้อสัตว์ใหญ่  ห้ามนำเนื้อสัตว์ใหญ่ขึ้นรถ คณะดนตรี ( ผมเองก็ไม่กินเนื้อตั้งแต่นั้นมา จนถึง เดี๋ยวนี้ ) 
        จะสังเกตุเห็นได้ว่า วงจุฬารัตน์,  วงจุฬาทิพย์, ไม่เคยมีปรากฏ เรื่องรถเกิดอุบัติเหตุเลยจริงๆ ...
        หลวงพ่อตั้งชื่อ คณะให้ นั่นก็คือ   " จุฬาทิพย์ "
             ปล. โปรดสังเกตุนะครับ คำว่า จุฬารัตน์  หรือ จุฬาทิพย์  ขยายความมาจาก ชื่อ ของหลวงพ่อ" จุฬ "
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 19, 2015, 07:58:16 AM
 :20 : ทีนี้ จะเล่า และกล่าวถึงนักร้อง ทั้ง ชาย และ หญิง ...
ที่ได้มาร่วมกับ วงจุฬาทิพย์ อย่างมีคุณค่าของความเป็นนักร้อง ที่ร้องเพลง ของ ชาย เมืองสิงห์ ได้แต่งให้ร้องไว้ จนเป็นขวัญใจ
ของนักนิยมเพลงลูกทุ่งอย่างกว้างขวาง เช่น โฆษิต นพคุณ เพลง ลั่นทม, บุปผา สายชล เพลง แก้มนวล, ดวงรัตน์ แสงอุทัย เพลง น้ำตาน้องติ๋ม และ ศรีไพร ใจพระ เพลง สาวซ้อมข้าว, ล้วนแต่เป็นนักร้องที่ได้ร้องเพลง ของ ชาย เมืองสิงห์ แต่งให้ร้อง จนมีชื่อเสียงโด่งดัง  แต่ก็ให้เป็นที่น่าเสียดาย นักร้องทุกท่าน ที่ได้กล่าวนามมานี้ ก็มีวิถีทางเป็นของตัวเอง จึงร่วมงาน กับ จุฬาทิพย์ ไม่นาน ก็ต้องแยกย้าย ไปตามวิถีทางของแต่ละคน -
    : นักร้องทีได้เข้าสู่ วงดนตรี จุฬาทิพย์ โดย แบบอัตโนมัติ อย่าง  ยอด ธงชัย, เรไร ณ.โคราช, ทศพร หิมพานต์, แก้ว สาริกา, นักร้องบางท่าน ก็เคยได้เขียนในกระทู้ ไว้ก่อน หน้านี้บ้างแล้ว ก็มาถึงที นักร้อง นามว่า มรกต เมืองกาญจน์, เป็นญาติผู้พี่ ของ แมน เนรมิตร ศิษย์รัก ของ ชาย เมืองสิงห์, ไม่ต้องสาธยาย ยังไง ก็แน่นอน, บุตร บุญธรรม ดูเหมือนว่า เคยกล่าวถึง ตอนมาเป็นนักร้อง แล้วเช่นกัน   ดวงมาลย์ มิ่งมิตร, (กลอย มิ่งขวัญ) ลาออกจาก ก้าน แก้วสุพรรณ มาพักอยู่ที่บ้าน แถวๆ บ้านโป่ง จ.ราชบุรี  ชาย เมืองสิงห์ ไปจัดสวนสนุก ที่สระโกสินารายณ์  กลอย มิ่งขวัญ เดินเข้ามาหา พี่ชาย สมัคร เป็นนักร้อง ด้วยความสามารถและหน้าตาที่สวยสดใส พี่ชายจึงรับไว้ เปลี่ยนชื่อ เป็น ดวงมาลย์ เนรมิตร, ต่อมาบันทึกเสียงเพลง ใจจืด, ชีวิตพยาบาล, เปลี่ยนชื่อเป็น  " ดวงมาลย์ มิ่งมิตร "   (ดวงมาลย์ มิ่งมิตร กะ เยาวมาลย์ มิ่งมิตร คนละคน กันนะครับ)    
    คราวนี้ก็ถึง นักร้องผู้มีความสำคัญอีกคนหนึ่ง ของ วงจุฬาทิพย์  บุญ บันดาล คนแรก (บรรพต สุกแสง)
ติดตาม ศรีไพร ใจพระ มาด้วย  ศรีไพร ก็เลย บอกฝากให้อยู่  วงจุฬาทิพย์ มีเหตุการณ์ ที่น่าจดจำ คืนที่ พี่ชาย จัดงานสวนสนุกที่สระโกสินารายณ์ บรรพต ก็ช่วยงานอยู่ตลอด กลางดึกของคืนวันนั้น บรรพต  ถูกงูแมวเซากัด เกือบตาย ชาย เมืองสิงห์ ให้ความเมตตา เป็นพิเศษ นำส่งโรงพยาบาล จ่ายค่ารักษาจนปลอดภัยเกื้อหนุน จุนเจือ เปลี่ยนชื่อ จาก บรรพต สุกแสง เป็น บุญ บันดาล ๆ แต่ง เพลง พ่อแก่แม่เฒ่า, ให้ ชาย เมืองสิงห์ ร้องบันทึกเสียง,  เพลง " พ่อแก่แม่เฒ่า"  โด่งดังเป็นอมตะ จนถึงทุกวันนี้ ...
                               
                                            เพลง  พ่อแก่แม่เฒ่า ชาย เมืองสิงห์  ขับร้อง
                                         
                                      http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/107fc8f040e36cbc14c6e711d81d47b5.swf   
             
             ผมเอ่ยชื่อมา เพื่อพอเข้าใจได้ ยังจะมีรายละเอียดประวัติของนักร้องแต่ละคนอีก เท่าที่ความจำจะอำนวย
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ สิงหาคม 19, 2015, 11:07:24 AM
มาแล้วครับ
 
เพลงแรก พ่อแก่แม่เฒ่า - ชาย เมืองสิงห์
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/107fc8f040e36cbc14c6e711d81d47b5.swf

เพลงที่สอง ชวนชม - แมน เนรมิต
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/214a5fbf530ea4132d6abe64afc6a5c4.swf

เพลงที่สาม แก้มนวล - บุปผา สายชล
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/244de88dea262c0a072fd3479dc47989.swf

เพลงที่สี่ สะบัดสะบิ้ง - มรกต เมืองกาญจน์
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/72f303cd5e0503c2733942c48af9daef.swf


 
:zxdrn: :yenta4-emoticon-0102: :yuri1:
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 19, 2015, 02:26:02 PM
 :teentob: :teentob:: แหม ๆ ไอ้ผมก็ชอบความสวยๆงามๆ ซ่ะด้วย เห็น คุณสมภพ วางเพลง หน้าปัต ทั้งเสียง สี แสง แสน สุดสวย เหมือนสายรุ้ง ยามเมื่อละอองสายฝนปรายโปรย โชยเมื่อต้องกับแสงแดด เลยนั่งพัก ฟังเพลงเพลิน หลับคาโต๊ะ เลยผม ...
         ก็มันง่วง อ่ะ ครับ 55555 ...
 
อ่านต่อ เน๊าะ : ทีมโฆษก ครู ฉลอง ยังรับหน้าที่ เป็นผู้ประกาศเพลงเช่นเดิม (แต่ก่อนเขาเรียกกันสั้นๆ ว่าอะเน้าเพลง) ยังนะครับ เดี๋ยวหลังๆ จะมีโฆษก อะเน้า ขึ้นมาอีกที่ละคน สองคน โปรดติดตาม  โฆษก ตลก มิสเตอร์เบ็นซิน, เยี่ยม ลูกยอด, (สองคนนี้มาจาก ฟ้าบางกอก)  และเด๋อ ดุกดิก,  ทีมตลกก็เช่นกัน เดี๋ยวมีอีก หลายคน
นักดนตรี หรือครับ นักดนตรี วงจุฬาทิพย์ จะมีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันอยู่ ตามเวลาอันจำเป็น แต่กาลสมัยไป ชุดแรก ที่มาร่วมงาน มือชั้นพระกาฬทั้งนั้นคนที่มานั่งชม ไม่รู้หรอกครับ ว่านั่นน่ะ มาจากทีมงาน จุฬารัตน์ เกือบทั้งทีม  ครูฉลอง  เป็นโฆษก และ เป่าทรัมเปท เป็นโฆษก มือถือ ทรัมเปท บางทีก็ถือขลุ่ย
มือกลองครู มนตรี แสงเอก , มือแซ๊กอัลโต้ พี่เชาวลิต, มือแซ๊กเทนเน่อร์ พี่แสวง (อดีต แฟนพี่ดวงรัตน์ แสงอุทัย), มือทรัมโบนล์ พี่จักกฤษ, มือเบสส์ พี่สมาน เบสส์สมัยนั้นตัวเบ่อเริ่ม ๆ  คือตัวใหญ่ ครูฉลอง ขึ้นไปยืนเป่าทรัมเปทโชว์ผู้ชม ได้สบายๆ ถ้านึกไม่ออกก็ให้ดู รูปร่าง ไวโอลิน เหมือนกันเด๊ะ  แต่ใหญ่กว่าหลายสิบเท่าตัว ..
                                 
                                            กีต้าคอร์ด กีต้าสโลว์ ออร์แกน ตอนนั้นยังไม่นิยมใช้ ...
 
 : พี่ชาย เริ่มบันทึกเสียงให้กับนักร้องหลายคน ทั้งนักร้องเก่า-ใหม่  ทั้งชาย และหญิง เป็นช่วงที่ "อัมพร สนธยา" เข้ามาพอดี จึงแต่งเพลงนำมาให้พี่ชาย
  พี่ชาย คัดเพลง หาเพลงที่เหมาะกับเสียงนักร้องของแต่ละคน รวมถึงเพลงที่ ดาวฤกษ์ เรวดี, บรรพต สุกแสง, ซึ่งก็มีทุนเดิมเป็นนักร้องที่มีพรสวรรค์ในการแต่งเพลง เมื่อได้เพลง ก็ทำดนตรี (แยกเสียงประสาน หรือเรียกว่า อะเร้น) มี มนตรี แสงเอก, ฉลอง วุฒิวัย ดูแลเรื่องนี้ พอครบเครื่องสมบูรณ์แบบ ก็นัดเช่าห้องอัด ที่ห้องอัดฉลอง ตลิ่งชัน นั่งเรือเหมาเรือที่ท่าน้ำท่าพระจันทร์ แล่นไปตามคลอง บางกอกน้อย เลี้ยวเข้าคลองชักพระ  อยู่ตรงข้ามวัดตลิ่งชัน เยื้องกันนิด ๆ ..   
        อัดเสียงเสร็จสรรพ ตัดแผ่น นำออกเปิดตามสถานีวิทยุต่างๆ จนนักร้อง " จุฬาทิพย์ "
เริ่มเป็นที่รู้จัก ของนักฟังเพลงลูกทุ่งมากขึ้น งานวิก งานวัด งานหา งานเสี่ยง ก็ประดังกันเข้ามา ..
   : ครั้งหนึ่ง ช่วง ปี พ.ศ. 2510 ชาย เมืองสิงห์ รับงานการแสดงที่ จ. สุราษฏร์ธานี งานประเพณีชักพระ เขาจัดงานกันหลายวันหลายคืนครับ เจ้าภาพจัดให้มีดนตรีแสดง สองคณะ สลับสับเปลียนกัน ระหว่าง วงจุฬาทิพย์ - กับวง สมัยศิลปิน (สมัย อ่อนวงษ์) ทีนี้ ก่อนจะถึงงานประเพณีชักพระ พี่ชาย ก็ถือโอกาส นำวงเปิดการแสดงตามทางผ่านเป็นระยะๆ ที่จะผ่านไปถึง จ.สุราษร์ธานี โอ้..โห.. สนุกครับสมัยนั้น ต้องเดินทางโดยรถไฟ (พวกผมเรียกกันว่า เดินสายรถไฟ) ขึ้นรถที่สถานีรถไฟบางกอกน้อย เริ่มต้นการแสดงที่ จ .ชุมพร ก่อนเป็นที่แรก ต่อไป ก็ หลังสวน, ปากน้ำหลังสวน, ( ตอนนี้นั่งเรือตังเก ไปปากน้ำหลังสวน เพลินกับการนั่งเรือชมธรรมชาติ ของสองฝั่งริมแม่น้ำ ก่อนจะออกปากน้ำลงไปสู่ทะเล สวยจริงๆ ให้ดิ้นตาย ) เสร็จสิ้นการแสดงที่ปากน้ำหลังสวน นอนค้างอยู่ในโรงหนัง ที่นั่นหนึ่งคืน เช้าเดินทางกลับโดยเรือตังเกเหมือนเดิม  มาขึ้นรถไฟไปงานต่อที่ หลังสวนคันธุลี,
  ( อันนี้เป็นงานฝังลูกนิมิตร ที่วัดคันธุลี ) แสดงกัน 7 คืน คณะเดียว คนก็อื้อฮือ.. เที่ยวกันยันสว่าง ทุกคืน  บางคืนต้องเปลี่ยนเวลาแสดง จาก ตีหนึ่งถึงสว่าง หัวค่ำมี โนราห์, หนังตะลุง ที่ว่าสนุกหรือ ครับ การเดินทางต้องอาศัยรถไฟ
ถึงที่จุดหมายการแสดงที ขนเครื่องดนตรีกัน ชุลมุนชุลเก จ้าละหวั่น ต้องแข่งขันกับเวลา ให้ทันกับที่รถไฟออก
ผู้โดยสาร พอรู้เป็นวงดนตรี ของ ชาย เมืองสิงห์ ที่นี้แหล่ะ ตึม ๆ ๆ ...
                           
                      แสดงเรื่อยๆไป ที่ท่าชนะ ที่ไชยา แล้วก็ งานชักพระ จ. สุราฏร์ธานี  เป้าหมายสุดท้าย ...

หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ สิงหาคม 19, 2015, 03:47:42 PM

ฟังกันเต็มๆ กับมโหรีประกอบการแสดงที่มีชื่อว่า  ที่มาของชาย เมืองสิงห์
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/384d79adb368f117b43099064301ef38.swf

หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 20, 2015, 09:09:37 AM
 :42 : ที่งานประเพณีชักพระ จ. สุราษฏร์ธานี ฝนตกเกือบจะทุกคืน พวกเราก็คิดว่าดนตรีแสดงไม่ได้แล้ว แต่อะไรได้ ผิดไปจากที่คาด นี่ถ้าเป็นแถวๆ ภาคกลาง เหนือ หรือ อีสาณ ไม่ต้องแสดงกัน แต่ที่นี่ คนแน่นทุกคืน มีคนที่รู้จักบอกว่าเป็นประเพณีเสียแล้วที่นี่ เพราะฝนจะตกอยู่ตลอด คนเที่ยวงานเขาก็ชินจะหาร่มมากาง แล้วก็นั่งดู แต่บางคน นั่งกันอย่างโหลงโจ่งยังงั้นแหละ เปียกก็เปียก ฉันจะดูใครจะทำไม เออ..เอากับเขาสิ / กลางวัน มีแห่เรือ และแข่งขันเรือยาว โอ้ ! สวยงามและก็สนุกมาก ๆ ๆ ...
       พอถึงคืนที่ วงสมัยศิลปินแสดง พวกเรา มีผม, ทศพร หิมพานต์, มรกต เมืองกาญจน์ และ อัมพร สนธยา, ไปนั่งชมอยู่ ก็ได้พบและนั่งฟัง โฆษกผู้ประกาศเพลงหน้าเวที เวลาแกพูดประกาศเพลง มีน้ำเสียงเสนาะ เสียงไพเราะนุ่มนวลชวนฟัง พูดมีจังหวะจะโคน นิ่ม ๆ ช้า ๆ ชวนให้น่าฟังไม่รู้เบื่อ แกจะมีวิธีการพูด ที่โน้มน้าวจิตตใจคนได้อย่างยอดเยี่ยม ยากที่จะหาที่ติ ...

 "แม่น้ำ.. สายน้ำแห่งลุ่มน้ำตาปีแห่งนี้ ไม่มีวันที่จะแห้ง เหือดหายฉันใด ฉันใดก็ตาม สายน้ำใจของท่าน พ่อแม่ พี่น้อง และท่านผู้ชม ที่มานั่งชมอยู่ที่นี่ ก็คงจะยังไม่แห้งเหือดหายไปฉันนั้น" ( ความจริงพูดยาวมากกว่านี้ ผมจำได้แค่เนี้ยะ ก็ยังดีเน๊าะ ) พวกผมงี้ นั่งเงียบฟังแกพูด และการพูดของแก แต่ละประโยค เป็นขั้นเป็นตอนดีแท้ พวกเราต้องยอมรับ และอดที่จะชื่นชมเสียมิได้ ผมและพวก ก็ปรึกษากัน และได้เข้าพบครูฉลอง เล่าเรื่องนี้ให้ครูฉลองฟัง ครูฉลอง บอกว่า   "ฉันก็นั่งดูและฟังอยู่"     
               พอเสร็จสิ้นงานการแสดงในงาน ชักพระ จ. สุราษฎร์ธานี  เดินทางกลับสู่กรุงเทพฯ  ...
  วันต่อๆมา วงดนตรี จุฬาทิพย์ มีงาน พวกเรา นักดนตรี-นักร้อง ก็ไปรวมกันที่ สำนักงานวงดนตรี  ซึ่งอยู่ในซอยตรอกวัดเซิงหวาย บางซ่อน ก็ไปพบท่านที่เป็นโฆษก วงสมัยศิลปิน มานั่งรออยู่ก่อนแล้ว เข้าไปสวัสดี และทักทายพูดและคุยกัน ตามประสาคนที่เราชื่นชมและชื่นชอบ ก็ได้ความว่า ครูฉลอง แนะนำมาให้พบ ชาย เมืองสิงห์ ผมก็นึกอยู่ในใจว่า อ้าว... นี่ครูฉลอง ตีท้ายครัว
สมัย อ่อนวงษ์ เข้าแล้ว ท่านผู้นั้นก็เลยได้มาเป็นโฆษกผู้ประกาศเพลง แทน ครูฉลอง วุฒิวัย บนเวทีของ จุฬาทิพย์ และเป็น นักจัดรายการวิทยุ คู่ กับ พี่ ดาวฤกษ์ เรวดี  นับเป็นนักจัดรายการคู่แรก ของ จุฬาทิพย์  ชื่อ  ศักด์ สุดา ... 
       
                                   ชื่อจริง " ศักดิ์สุดา ศรีเฟื่องฟุ้ง " เกิดที่ อ.  เสนา จ. พระนครศรีอยุธยา ... 
     
           ปล. พี่ศักดิ์ สุดา หลังร้างลาเลิกวงการ ก็ไปทำงานเป็นข้าราชการ ควบคุมรับผิดชอบ อยู่ที่ สถานีวิทยุ มก. หาดใหญ่
จ. สงขลา ถูกคุกคามเสรีภาพ ขอย้ายตัวเองพร้อมทั้งครอบครัว ไปอยู่ ทางภาคเหนือ จ. เพชรบูรณ์ มีโรคประจำตัว สุดท้ายย้ายกลับมาอยู่ที่ อ. ภาชี จ. อยุธยา ( หน้าบ้านป้าย "บ้านอินทิรา" ) ปัจจุบัน เสียชีวิตแล้ว ด้วยวัยเพียง 52 ปี ...
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 20, 2015, 10:11:35 AM
    :teentob: : กลางๆ ปี 2511 งานวัด งานสวนสนุก งานเดินสาย เหนือ, ใต้, อีสาน, ตะวันออกแถวภาคกลาง จุฬาทิพย์ แสดงไปทั่ว ก็ได้ โฆษกประกาศเพลง โฆษกตลก เพิ่มเข้ามาอีก  มิสเตอร์ โปสเตอร์, เอื้อ อารีย์, ที่จริง เอื้อ อารีย์ เข้ามาตั้งนานแล้ว แต่ตัวเองติดราชการ มามั่งไม่มามั่ง และ ศักดิ์ สุดา ก็ยังอยู่  พอ ศักดิ์ สุดา กับ ดาวฤกษ์ ลาออก  เอื้อ อารีย์, ก็เข้าเป็นโฆษกผู้ประกาศเพลง ต่อ   สำหรับการจัดรายการวิทยุ พี่ชาย ก็มอบให้ จอม จำปาศักดิ์, เป็นผู้ดำเนินรายการ
        ต่อมา จอม จำปาศักดิ์ ออกไป (เพราะต้องไปแสดงลิเก) เอื้อ อารีย์, ก็มาดำเนิน รายการวิทยุคู่กันกับ จ่าจำเนียร เจือสุวรรณ ซึ่งตอนนั้น จ่าจำเนียร เป็นเจ้าหน้าที่ วิทยุกองพล ปตอ. จึงไม่ยากที่จะสานต่อเรื่องนี้
                          ( จึงเป็นนักจัดรายการ เป็นคู่ที่สอง ของ จุฬาทิพย์ )
      ชื่อเสียง ของ วง "จุฬาทิพย์" เริ่มซาลง ไปแสดงที่ใหน ก็ไม่ค่อย จะมีคนดู  อย่างว่าครับ มีวันโด่ง ก็ย่อมจะมีวันดับ
ตกอับลงมา ความดังไม่คงที่ความดีซิคงทน ชาย เมืองสิงห์ ตัดสินใจ นำวงเดินสายอีสาน อีกครั้ง คราวนี้ ได้
เฮียหมง กับ เจ๊ พิศมัย เจ้าของห้องภาพ ธนูศิลป์ อยู่เชิงสะพานพุทธ ฝั่งพระนครเป็นผู้เหมาวงออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด
จัดบุ๊ค การแสดง เดือนกว่าๆ ยังไม่ทันจะจบสาย เฮียหมง เจ๊พิศมัย ขอยกเลิก ทุกสถานที่ ถูกตะเข้งับ
                              ( ศัพท์ลุกทุ่งไม่รู้ใครบัญญัติศัพท์นี้ขึ้นมา ) คือเล่นที่ใหน ก็ไม่มีคนดู
             
    เมื่อถูกยกเลิกเดินสายกระทันหัน ทุกอย่างก็จบ แต่..มันไม่จบ สำหรับเลือดนักสู้อย่างลูกผู้ชายที่ชื่อ  "ชาย เมืองสิงห์"
 
  :teentob: : ไหน ๆ ก็มาถึงขั้นนี้  พักทำใจอยู่ 2-3 วัน โดยไม่ยอมกลับกรุงเทพฯ นักร้องก็เริ่มท้องแห้ง เงินค่าตัวที่ได้มั่งไม่ได้มั่ง
ก็เริ่มหมด ข้าวเหนียว 1 บาท ลาบ 2 บาท คืออาหารหลัก ช่วงที่หยุดพัก
     พี่ชายให้ "บุตร บุญธรรม" ติดต่อ โรงหนัง เสี่ยงปิดวิกต่อ ...
     ได้โรงหนังหลายที่ จอดป้ายนครพนม ลอยลมไปท่ีอุบล ย้อนวนมาศรีเกษ ระเห็ดมามุกดาหาร วิ่งพล่านมาสกลนคร ยโสธร สว่างแดนดิน โบยบินแถวร้อยเอ็ด อีสาณใต้จรดอีสาณเหนือ ท่าบ่อ หนองคาย ศรีเชียงใหม่ อุดร ขอนแก่น กุมภวาปี วาปีปทุม
โรงหนังวิกเล็ก วิกใหญ่ เหมือนพี่ชายจะระบายความอัดอั้นอะไร ที่มันตันอยู่ในหัวใจ และอีกหลายๆที่
     เหมือนฟ้าบันดาลจริงๆ เช้าที่นครพนม ชาย เมืองสิงห์ สั่งนักร้อง นักดนตรี แต่งตัวเหมือนกับการแสดง ขึ้นรถ เป็นรถกระบะใหญ่ๆ 3-4 คัน รวมรถบัสส์ ของวงตอนนั้นยังเช่ารถเขาอยู่ เจ้าของรถ ชื่อ ถวิล ขับประจำอยู่ ( จำได้ไหมครับ ขนาดตาหวินยังใช้หนี้เขาไม่หมด คิดจะขายรถตั้งวงอีกราย ) วิ่งแห่ตระเวน โฆษณา ไปทั่วทั้งตลาด นครพนม นักร้องหญิง แต่งตัว สวยๆ นั่งรถโชว์ ให้คนเขาเห็น 
       ยอด ธงชัย, น้ำมนต์ ศักดิ์สิทธ์,
      รับหน้าที่เข้าเวรผู้ประกาศโฆษณาบนรถขยายเสียง ไม่น่าเชื่อ ก็ต้องเชื่อ รอบบ่ายโมง ของวันนั้น หน้าโรงหนัง นครพนม
คนแน่นขนัดล้นหลาม เต็มลานอันกว้างใหญ่ ขนาดรอบบ่าย ยังไม่มีที่จะยืน แล้วรอบค่ำละครับ วาดภาพก็คงนึกออก
นักร้อง นักดนตรี ตื่นเต้น ขนาด พี่ชาย ยกมือไหว้ พูดออกมาว่า หลวงพ่อ "ดวงชาย เมืองสิงห์ กลับมาแล้ว"


                    ขอบคุณแฟนๆ ที่ยังหนาแน่นเป็นแฟนพี่ชาย โดยมิมีแหนงหน่าย มีจดหมายถึงพี่
                               กับเพลง เพลงนี้ครับ "แฟนประจำ"  ชาย เมืองสิงห์  ขับร้อง

                                  http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/4ff68d0e6b81c441b965b0ec2af40aa5.swf
                                           
                                       แล้วทุกสถานที่ต่อจากนั้น คนก็ยังแน่นตลอด ...

        :13 : กลับจากเดินการสายอีสานครั้งนั้น ก็รับงานแสดง แถบแถวชานเมือง กรุงเทพฯ  และบริเวณใกล้เคียง
  มีงานบ้าง ไม่มีงานบ้าง อยู่รอบขอบเขตุภาคกลาง จะด้วยเหตุอะไรก็ไม่รู้ ใครๆ ก็ไม่รู้ นักร้อง ชาย-หญิง ออกกันเป็นทิวแถว ...

 :04 :04 : วัน และ แห่งกาลเวลา ได้หมุนเวียน ผลัดเปลี่ยนกันไป วงดนตรี จุฬาทิพย์ ที่เป็นเสมือน ต้นไม้ใหญ่ มีหมู่เหล่านกกา ถลาบินมาเกาะกิ่งจิกกินผลที่กำลังสุกงอม ไม่เว้นแต่ละฤดูกาล บ้างก็มาอาศัยร่มใบบุญ บ้างก็มากอบโกยผล หรือบ้างก็มา
พักพิงเพียงชั่วครั้งชั่วคราว ...
  "ระพิน ภูไท" กะ "เพทาย ไพทูลย์"  โผผินโบยบินมาอาศัยอยู่ชั่วระยะหนึ่ง ระพิน ก็เริ่มจะโด่งดัง ด้วยเพลง "ชายคลอง"
 แล้วก็สัญจรจากไป ...
            เพียงไม่นาน "ระพิน ภูไท"   ดังเปรี้ยงทะลุฟ้า สะเทือนบาดาล ...
         แต่..หัวหน้า วง "จุฬาทิพย์" ดวงกลับตกอับทับโชคชะตา เคราะห์ซ้ำ กรรมซัด เซจนแทบจะตั้งตัวไม่อยู่ ชีวิตเริ่มอับเฉาโรยรา ท้อแท้ ถดถอย คับแค้น ...
น้ำตาของลูกผู้ชาย มันน่าจะไหลออกมาบนใบหน้า แต่.. มันกลับ ไหลย้อนลงไปในอก " นี่คือคำพูด ทุกครั้ง
ที่ ชาย เมืองสิงห์ แสดงละครเพลงอยู่หน้าเวทีการแสดงทุกครั้ง "และเป็นที่มา ของ เพลง "มือที่สาม" บรรจุอยู่ในอัลบั้ม
           ชุด "อนุทินชีวิตรักสลายของ ชาย เมืองสิงห์" ลองหาฟังดูนะครับ ...                                                       
                                             

                           
               


:51 : ขออนุญาต พูดถึงตัวเองสักนิด ปลาย ปี 2511 ผมหนีออกมาจาก วง "จุฬาทิพย์" มาอยู่ กับ วงแมน เนรมิตร
   ได้สัก สี่เดือน ก็เข้ากองประจำการรับราชการทหาร ในปี 2512  ผมถูกเกณฑ์ทหาร ถูกผลัดที่สอง ก็เลยบวชอยู่ หนึ่งพรรษา ...
   เมื่อลาสิกขา สึกจากพระไปเป็นทหาร อยู่ที่จังหวัดทหารบกลพบุรี ไม่รู้ความเคลื่อนไหวใดๆ ในวงการเพลงลูกทุ่ง อีกเลย ...
         
                        ########################################
 
 : จวบจนกระทั่ง .. / ถึง เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๓ ที่จังหวัด ลพบรี
     
 : เข้าสู่ยุค วงดนตรี "พ่อหม้ายพัฒนา" ของ ชาย เมืองสิงห์  
      : ปลายปี พ.ศ. 2513 เดือน พฤศจิกายน  ที่หน้าโรงเรียนพิบูลย์วิทยาลัย จังหวัดลพบุรี จัดงานฤดูหนาวประจำปีทุกๆปี
ของจังหวัดลพบุรี มีงานหลายคืน ...
     คืนหนึ่ง ผมร่วมกับเพื่อนทหารจำนวนหลายคน ไปเที่ยวงาน ด้วยเหตุไฉนก็ไม่ทราบได้ หรืออาจเป็นเพราะดวง
ขณะเดินเที่ยวชมงาน ไปเห็น วงดนตรีลูกทุ่ง จัดเวทีไว้ เด่น กว่าเวทีอื่น ก็เกร่เข้าไปหน้าเวที ตอนนั้นผมยังไม่รู้ว่าคณะอะไร
สมัยก่อนการประชาสัมพันธ์งาน ก็ไม่ได้ประกาศมากมายอะไร เหมือนเดี๋ยวนี้ มีงานก็ไปเที่ยวกัน ทหารเสียครึ่งราคาอยู่แล้ว
เมื่อเข้าไปยืนใกล้ๆ หน้าเวที เห็นสแตนด์ ของคณะดนตรี ตั้งอยู่หน้าเวที ออกแบบสวยงามสดุดตามาก เป็น สี่เหลี่ยม สีชมภูอ่อนๆ
มีสัญญาลักษณ์ (โลโก้) เป็นฉลุลายเศียรหณุมาน ทาสีเงิน สลับทอง ด้านล่างของเศียร เขียนว่า " พ่อหม้ายพัฒนา " ผมกับพวกก็เดินไปที่หลังเวที ก็ถึงบางอ้อ.. พบ บุตร บุญธรรม, มรกต เมืองกาญจน์, โชติ ชัชวาลย์, ชื่นใจ เตือนจิตร, สายรุ้ง มุ่งดี, คนที่คุ้นเคยอีก สอง สามคน รวมทั้ง เพชร โพธิ์ทอง, คุยกันอยู่นาน ตามประสาเพื่อนที่เคยอยู่ด้วยกันมาก่อน ..
    จึงรู้ว่าเป็นดนตรีลูกทุ่ง"พ่อหม้ายพัฒนา" ของ ชาย เมืองสิงห์ ขณะที่ผมยืนคุยอยู่กับเพื่อนๆ  มรกต เมืองกาญจน์,
บุตร บุญธรรม, โชติ ชวาลย์, ไอ้ต้อย (ชื่นใจ เตือนจิตร), ไอ้หลาบ (สายรุ้ง มุ่งดี) สายตาทุกคู่ มองเลยด้านหลังผมไปแล้วยิ้ม ๆ ผมก็มองตาม ..   พี่ชายครับ "ชาย เมืองสิงห์" เดินมาจับที่ไหล่ผม แล้วบอกว่า ...   
                   
                  "แก้ว วันนี้ มาช่วยพี่ชายร้องเพลงหน่อยน่ะ แล้วช่วย พี่ชายตีกลองด้วย ไอ้ป้อม มือกลองไม่มา" ...
                                         
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: เผ่าพงษ์ ปัตตานี ที่ สิงหาคม 20, 2015, 11:18:20 AM
สวัสดีครับ ลุงสมภพและอาแก้ว สาริกา
              ขอบคุณท่านทั้งสองมากครับ ที่มาให้ความรู้ความสนุกที่มาเบื้องหลังความบันเทิงยุคแรกๆของวงการลูกทุ่งไทย ซึ่งสมัยนั้นผมเองก็ยังเด็กๆอยู่มากจำได้บ้างไม่ได้บ้างแต่ก็ชื่นชอบเพลงลูกทุ่งชนิดเข้าใส้ตามประสาคนบ้านนอก ชอบให้ผู้ใหญ่จูงมือเข้าวิกกั้นผ้าไปดู(ฟรี)วงลูกทุ่งดังๆบ่อยครั้ง  พอมาอ่านบทความของอาแก้วทำให้กระจ่างและคิดถึงความหลังยุคนั้นมากๆเลยครับ โดยเฉพาะอาชาย เมืองสิงห์ ผมก็ชื่นชอบทุกเพลงครับ ท่านมีความสามารถรอบด้านจึงได้เป็นศิลปินแห่งชาติอย่างสมภาคภูมิ ผมจะคอยติดตามทุกๆเรื่องที่เป็นเกร็ดเบื้องหลังที่ไม่มีใครเคยมาเปิดเผยกันครับ ขอให้เป็นทุกๆครูเพลงด้วยครับ โดยเฉพาะครูสุรพล สมบัติเจริญ ก็เป็นที่ชื่นชอบผมไม่แพ้กันครับ ขอขอบคุณและเป็นกำลังใจให้กับกูรูเพลงทั้งสองท่านครับ
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 20, 2015, 11:55:42 AM
 :teentob:: คืนนั้น ผมดีใจ และมีเรื่องตื่นเต้นมากมาย ได้รู้ในสิ่งที่เราห่างหายออกไปจากวง ผมดีใจที่ได้กลับคืนสู่รังเก่า เสมือนอันเป็นต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่ง และต้นไม้ต้นนี้ ที่เคยให้ร่มพักพิง และได้หนีออกไปโดยไม่ได้ร่ำลาหัวหน้าวงเลย ดีใจเห็นเพื่อนเก่าๆ ที่ออกไปแล้วกลับมา.. อย่าง มรกต เมืองกาญจน์ และได้รู้ว่า พี่ชาย เพิ่งจะเริ่มฟอร์มทีมงานขึ้นใหม่ หลังจากถูกมรสุมชีวิตเล่นงานเสียจนย่ำแย่ ที่ขาดหายไปก็ ทศพร หิมพานต์ ไม่กลับ รู้ว่าเขาไปอยู่วง "พิณศรีวิชัย" ...
   ดีใจคืนนี้เราต้องได้ ค่าตัวมากสักหน่อย ตีกลองร้องเพลง ..
( แหม..ก็เป็นทหาร ตอนนั้น เงินเดือน 45 บาท เบี้ยเลี้ยงวันละบาท คืนนี้ถ้าได้ สัก 120 โห..ดีใจตาย )   
      ชื่นใจ เตือนจิตร (อดีตคู่ชีวิต ณรงค์ นามชัย), สายรุ้ง มุ่งดี (ศรีภรรยา ชนะ ชิตชนก ปัจจุบัน), มาจาก วงจุฬารัตน์ ก็มาร่วมงานอยู่ด้วย  รู้ว่า เรไร ณ.โคราช ยังอยู่  รู้ว่า ยอด ธงชัย ได้เป็นทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ได้นักร้องใหม่ๆ เข้ามาเสริมวง
นักดนตรี ก็ ยังเป็นชุด ณรงค์ มะกล่ำ, มาช่วย "ณรงค์ มะกล่ำ" ซึ่งก็ ไปๆ มาๆ  เพราะเพิ่งเข้าสังกัด ดุริยางค์ทหารเรือ และรับงานดนตรี ประจำห้องอาหารด้วย ก็จะมาได้เป็นระยะๆ  พี่ชายก็ให้สิทธิพิเศษ ฝีมือเป่าแซ๊กอัลโต้แล้ว ใครได้ชมได้ฟังในชั่วโมงเวลานั้น
     ต้องยอมรับ และทึ่งในฝีมือ นอกจาก "วิชิต โห้ไทย" แล้ว ไม่มีใครเกิน "ณรงค์ มะกล่ำ" ...
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สามเค ที่ สิงหาคม 20, 2015, 12:14:42 PM
มาติดตามเรืองยาวๆของวงดนตรีลูกทุ่งที่ชื่นชอบในอดีต  อาแก้วเล่าได้เข้มข้นดีจริงๆ  อ่านแล้วสนุกตื่นเต้นไปด้วย ยาวๆเลยนะครับ   :zxdrn:
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 20, 2015, 12:57:25 PM
มาติดตามเรืองยาวๆของวงดนตรีลูกทุ่งที่ชื่นชอบในอดีต  อาแก้วเล่าได้เข้มข้นดีจริงๆ  อ่านแล้วสนุกตื่นเต้นไปด้วย ยาวๆเลยนะครับ   :zxdrn:
     :17: ขอบคุณ ครับ คุณ อื้อ อื้อ ๆ  อ๋อ ๆ คุณ "สามเค" ผมก็เขียนไปตามเรื่องที่พอจะนึกอะไรออก ผมกระโดดข้ามตัดตอนไปเยอะเลยนะครับ เกรงคนอ่านเค้าจะรำคาญ และก็เบื่อกัน เช่น เรื่องราวของการเดินสาย เหนือ สายอีสาณ
และอื่นๆอีก ๆ ๆ จริงๆแล้วสนุกมาก เหมือนพาท่านเที่ยวไปทั่วทุกภาคในตัว แต่ ... นั่นแหล่ะครับ เค้าจะเบื่อกัน นี่ก็คง จะเริ่มเบื่อแย่แล้ว เมื่อไหร่ หว่า ..
         "อีตาแก้ว จะโม้จบซะที" 55555 ...
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 20, 2015, 01:53:56 PM
สวัสดีครับ ลุงสมภพและอาแก้ว สาริกา
              ขอบคุณท่านทั้งสองมากครับ ที่มาให้ความรู้ความสนุกที่มาเบื้องหลังความบันเทิงยุคแรกๆของวงการลูกทุ่งไทย ซึ่งสมัยนั้นผมเองก็ยังเด็กๆอยู่มากจำได้บ้างไม่ได้บ้างแต่ก็ชื่นชอบเพลงลูกทุ่งชนิดเข้าใส้ตามประสาคนบ้านนอก ชอบให้ผู้ใหญ่จูงมือเข้าวิกกั้นผ้าไปดู(ฟรี)วงลูกทุ่งดังๆบ่อยครั้ง  พอมาอ่านบทความของอาแก้วทำให้กระจ่างและคิดถึงความหลังยุคนั้นมากๆเลยครับ โดยเฉพาะอาชาย เมืองสิงห์ ผมก็ชื่นชอบทุกเพลงครับ ท่านมีความสามารถรอบด้านจึงได้เป็นศิลปินแห่งชาติอย่างสมภาคภูมิ ผมจะคอยติดตามทุกๆเรื่องที่เป็นเกร็ดเบื้องหลังที่ไม่มีใครเคยมาเปิดเผยกันครับ ขอให้เป็นทุกๆครูเพลงด้วยครับ โดยเฉพาะครูสุรพล สมบัติเจริญ ก็เป็นที่ชื่นชอบผมไม่แพ้กันครับ ขอขอบคุณและเป็นกำลังใจให้กับกูรูเพลงทั้งสองท่านครับ
     
 :  พูดถึงวิก กั้นผ้าเนี่ยะ เค้าเอาผ้าใบมาล้อม มันก็จะมีคนมายืนออ อยู่ข้างหน้าวิกนั่นแหล่ะ พอตกดึกๆสักหน่อย พวกเขาเหล่านั้น เห็นท่าจะเข้าดูฟรีไม่ได้ เอาแล้วชักเริ่มมา ทีละลูก สองลูก แหล่ว ผมนะเข็ดจนตาย ... ไข่เน่า
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 20, 2015, 03:35:18 PM
 :teentob: :teentob:  : ครั้นเมื่อเวลา สองทุ่มครึ่ง ดนตรีดัง คืนนั้น รูปแบบการแสดง ของวง"พ่อหม้ายพัฒนา" ได้เปลี่ยนไป จากวง จุฬาทิพย์ อย่างสิ้นเชิง เอ..ผมจะเล่าอย่างไรดี ให้ท่านได้มองเห็นภาพ ของการแสดงในคืนนั้น เอา..อย่างนี้นะครับ
   ค่อยๆ คิดตามและวาดภาพกลายๆ เอาก็แล้วกัน ตามปกติวงดนตรีลูกทุ่งโดยทั่วไป เมื่อเริ่มการแสดง พอดนตรีดังเพลงไตเติ้ลประจำวงเริ่มขึ้น ก็จะมีการโชว์เพลง และมีหางเครื่องสาวๆ สวยบ้าง ไม่สวยบ้าง ออกมาเต้นโชว์ลีลาส์สเตปการเต้น "ชึ่ง ชึ่ง โป้ง โป้ง ชึ่ง ๆ ๆ" อะไรทำนองเนี้ยะ ซึ่งแน่ล่ะ เป็นเรื่องปกติที่วงลูกทุ่ง เขามีกัน แต่...วง"พ่อหม้ายพัฒนา" หาเป็นเช่นนั้นไม่  พอเพลงไตเติ้ลดัง ด้วยเพลง "บ้านใกล้เรือนเคียง" แบบสั้นๆ พอจบ"ณรงค์ มะกล่ำ" ก็เป่าแซ๊กอัลโต้ตัวเก่งของเขา ค่อยๆ บรรจงสโล่ว์เป่าแบบหวานจ๋อย จากด้านล่างของหลังเวที (อยากให้ท่านลองหาฟังในเพลง "ผะอืด ผะอม" นั่นแหล่ะ เขาล่ะ "ณรงค์ มะกล่ำ")
ด้วยลีลาส์ ลวดลาย ไหวพริ้ว นิ้วเร็ว ระดับขั้นเทพของนักดนตรีคนหนึ่ง เท่าที่ความสามารถ จะพึงมี และพรสวรรค์ที่ได้ประทานมาให้.. พอเสียงแซ๊กโซโฟร์น ค่อยๆ แผ่วจางหายไป  เสียงที่ค่อยๆ ร้องรับสอดแทรกเข้ามาแทนที่ อย่างระรื่นหู ...
  วัดเอ๋ย...วัดโบสถ์.....ปลูกข้าวโพด สาลี... เสียงอันสดใสลูกคอ ลูกเอื้อน ที่ไหลระรื่นจากด้านหลังเวทีเช่นกัน ที่ใครๆได้ฟัง ก็ต้องจำได้ จะมีใครอีกเล่าครับ นอกจาก " ชาย เมืองสิงห์"   
     
        : คนก็เดินกรู มาดูด้านหลังเวที เต็มไปหมด คงจะนึกว่า อะไรกันนี่หวา... (ผมนึกเอาเอง) 
     ... ยามเมื่อผัวตกยาก....เมียหรือก็มาตีจากเมินหน้าหนี....โอ้...แม่ข้าวโพด..สาลี...ผัวอยู่ทางนี้ ต้องโรย...รา...  พอสิ้นเสียงของ ชาย เมืองสิงห์ เสียงปรบมือ ดังกราว ๆ ๆ ใหญ่ เลยทีเดียวล่ะครับ คนดูก็ทยอยกลับไปด้านหน้าเวที ชาย เมืองสิงห์ ต้องไปนั่งตีกลอง ด้วยเหตุที่มือกลองไม่มา เสียงดนตรี "พ่อม่ายลูกติด" ก็ดังขึ้น " แก้ว สาริกา" ขึ้นร้องเพลง ครั้งแรก ในนามวง
"พ่อหม้ายพัฒนา" ในคืนงานฤดูหนาว หน้าโรงเรียน พิบูลย์วิทยาลัย จังหวัด ลพบุรี  พอเพลง พ่อม่ายลูกติด  จบ ... 
     การแสดงดนตรีก็เริ่มขึ้น โชว์สเต็ปการเต้นของนักเต้นหางเครื่อง และนักร้อง โฆษก ก็สลับการแสดงกันไป ตามที่หัวหน้าวง
     ได้วางลีดส์เพลงเอาไว้ ...
     โฆษก ประกาศเพลงหน้าเวที ยอด ธงชัย   โฆษก ตลก เพชร โพธิ์ทอง, มิสเตอร์ โปสเตอร์, มิสเตอร์ เบนซิน, เพลงที่นักร้อง ร้องในคืนนั้น จะเป็นด้วยอะไรก็ไม่รู้  "มิตร มนตรี (ทุ่ง เศรษฐี)"  ร้องเพลง "กล่อมลูก" ( หลับเถิดลูกจ๋า เดี๋ยวตุ๊กแกกินตับ ลูกนอนไม่หลับ เดี๋ยว..ตับจะไม่มี หลับเสียที พ่อนี้จะไกวเปล ฯ )
แล้ว "โชติ ชัชวาลย์" ร้องเพลง "เจ้าน้ำตา"  เนื้อหาท่อนแยกมีว่า "( ใครๆจะรัก ไม่รักเลยก็ชั่ง จงเกลียดจงชัง ก็อย่าตั้งหน้าทับถม  สงสารฉันเถิด เพราะชาตินี้เกิดมาระทม   น้ำตานั้นคือขนม จะขมหรือหวาน ก็ต้องทานประจำ ...) 
  :teentob: : แล้ว... เวลาที่ผู้ชมรอคอยอย่างใจจดใจจ่อก็มาถึง ประมาณ สี่ ทุ่มเศษๆ "ช่วงเวลานับต่อจากนี้ไป ท่านผู้ชมจะได้พบ และสัมผัส ละครเพลง ชุด "อนุทินชีวิตรักสลาย ของ ชาย เมืองสิงห์" นั่นเป็นเสียงพูดจาก ยอด ธงชัย ผู้ซึ่ง เป็นโฆษกประกาศเพลง อยู่หน้าเวที เสียงดังจากนักดนตรี ดังขึ้นอีกครั้งพร้อมๆกัน...พระเอกคนเดิม (ณรงค์ มะกล่ำ) เป่าสโลว์แซ๊ก
           หัวหน้าวง ( ชาย เมืองสิงห์) ร้องเพลง จากหลังเวที ...ด้วย เพลงนี้ครับ...   

 
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ สิงหาคม 20, 2015, 03:41:50 PM
เพลงมาเลยเชียว  :yenta4-emoticon-0102: :yenta4-emoticon-0102:

http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/bb0307903e04234830e6014fba482eec.swf
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 20, 2015, 04:28:25 PM
 :teentob: : นักแสดงในตัวละคร มิสเตอร์ โปสเตอร์, ชื่นใจ เตือนจิตร ( ที่ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "ไข่มุก เมทินี" ) ผู้ชมก็ได้มองเห็นความสามารถ ของเด็กชายคนหนึ่ง ซึ่งแสดงบท เป็นตัวลูกได้อย่างยอดเยี่ยม เรียกน้ำตาคนดู ให้ไหลซึมโดยไม่รู้ตัวเลยทีเดียว  "ไข่มุก เมทินี" ก็เยี่ยม พี่โปส(มิสเตอร์โปสเตอร์) ก็ยอด เรียกว่า เล่นเอาคนดู อิน ไปตามๆกัน เด็กชายคนนั้นได้รับเสียงปรบมือ และรางวัลก็ได้รับมากโขอยู่ไม่น้อยทีเดียว   "บุญมั่น ขวัญยืน"       
"ชาย เมืองสิงห์" ค่อยๆ ย่างก้าวเดินขึ้นออกสู่ด้านหน้าเวทีอย่างช้าๆ ในมือถือไมค์ ปากก็ร้องเพลง เป็นลีลาส์ท่าทางใส่อารมย์ที่เห็นแล้วประทับใจไม่รู้ลืมเลย เสียงปรบมือดังสนั่นกึกก้องขึ้นอีกครั้ง เมื่อ ชาย เมืองสิงห์ ไปยืนเด่น ...
เล่นบทละครเพลง อยู่กลางเวที ...
     " น้ำหยดที่น้อย น้ำย้อยทีละหยด  จะไหลมากหรือไหลน้อย ไหลบ่อยๆ เดียวมันก็หมด วันหนึ่งกว่าเขาจะรู้ว่าเรานั้นมีค่า
ก็ต่อเมื่อน้ำตาเขาหยด เมื่อเราเกิดมาเป็นลูกผู้ชาย จะร้องไห้ไปทำไม ร้องบ่อยๆ คนเขาจะหาว่า "เจ้าน้ำตา" รู้ไหม เจ้าจงเก็บน้ำตาหยดสุดท้าย เอาไว้กับตนเอง ตอนที่ไม่มีปัญญาหาเลี้ยงตัวเองให้รอดเสียก่อนเถิดลูกรัก 
" คำพูดที่ ชาย เมืองสิงห์ กลั่นกรองออกมา จากส่วนลึกของหัวใจ น้ำตาของลูกผู้ชาย แทนที่มันจะไหลออกมาข้างนอก มันกลับไหลย้อนลึก ลงไปสู้ก้นลึกของหัวใจ "ในชุดละครเพลงนั้น" เล่นเอาคนดูที่ว่าเยอะแล้ว เงียบกริบ ...
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ สิงหาคม 20, 2015, 06:19:11 PM
น้ำมันลงทีละน้อย น้ำมันก็ต้องย้อยไปทีละหยด .....
ลูกไม่มีแม่ - บุญมั่น ขวัญยืน  ขอบคุณไฟล์เพลงจากคุณวินัย คนลำนารายณ์ ด้วยครับ

http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/ca2a25017a5fb4330e6275052b640859.swf

หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ สิงหาคม 20, 2015, 06:21:54 PM
ไม่เป็นไรลืมเสียเถิด - ชาย เมืองสิงห์
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/ae534eaf110585d92c6e5d62fb29cbd5.swf

เมียพี่มีชู้ - ชาย เมืองสิงห์
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/30e88eca60cde6597a07a141ab8257e3.swf

บัลลังก์รัก - ชาย เมืองสิงห์
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/02c2bbf2f2d8cb72d692254c115bbc59.swf

โมทนาสาธุ - ชาย เมืองสิงห์
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/3e316e35ae4fe6b0cf6ce45a1b5c7148.swf

หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 21, 2015, 07:59:04 AM
  :59: ดังแล้วดับ ดับแล้วกลับมาดัง" 
 
   : หลังจากนั้นมา
ชื่อเสียง ของ ชาย เมืองสิงห์ ก็ ดูเหมือนจะดีขึ้นมาบ้าง แต่ก็ยังลุ่มๆ ดอนๆ มีงานแสดง ก็พอประคับประคองกันไปได้ แวะเวียนแสดงอยู่แถบแถว ภาคกลาง เป็นส่วนใหญ่ พี่ชายมักจะพาชาวคณะ มานอนพักที  บ้าน ต. บางมัญ จ. สิงห์บุรี 
พี่ปิ่น (พี่สาว ชาย เมืองสิงห์) ก็รับหน้าที่หากับข้าวกับปลา เลี้ยงดูนักร้อง ใครที่มีภาระกิจที่กรุงเทพฯ ก็กลับกรุงเทพฯ มีงานแสดง ก็ขึ้นมาพบกัน เป็นอยู่อย่างนี้ แวะไป เวียนมา ...
  จวบจนย่างเข้าสู่ ปี 2514 เพลง "เมียพี่มีชู้" ดังเปรี้ยง ติดหูคน แล้วติดตาม ด้วย เพลง "มาลัยน้ำใจ"  "พ่อแก่แม่เฒ่า"  จ้ำม่ำ,  ชะทิงนองนอย, พี่ไปหลายวัน, และอีก ฯลฯ...ที่นี่แหละ คนมันจะดัง จะเอาช้างมาฉุดก็ไม่อยู่ จนปลายปี 2514 ต่อเนื่อง
ถึงปี  2515  "ชาย เมืองสิงห์" ดังไม่เลิก  พี่ชาย ตัดสินใจครั้งสำคัญอีกครั้ง เดินเข้าพบ "ครูมงคล อมาตยกุล"
                   
          ขออนุญาตครู ขอใช้ ชื่อ วงดนตรี "ชาย เมืองสิงห์" หลังจากที่ป้วนเปี้ยน ๆ ใช้ชื่ออื่นๆ มาซ่ะนาน ...
     
      :teentob:: วงดนตรี คณะ "ชาย เมืองสิงห์"  วงดนตรีลูกทุ่งขนานแท้ 1,000 เปอร์เซ็น ...
       
       เมื่อได้รับ อนุญาต จากครู ก็ เปลี่ยน ชื่อที่ หน้าสแตนด์ เป็น "ชาย เมืองสิงห์" เต็มความภาคภูมิ สมบูรณ์แบบ
ของ ความเป็นศิษย์ ที่ยึดมั่นถือมั่นในสัจจะ จึงได้ร่วมกับ พี่ "สุชาติ เทียนทอง" จัดงานแสดงดนตรีที่สนามมวย "ลุมพินี" 
เพื่อหารายได้ มอบให้กับครูจำนวนหนึ่ง พร้อมจัดซื้อ "เปียนโน" ซึ่งเป็นเครื่องดนตรี ที่ครูโปรดปราน ให้เป็นของขวัญ
         จากศิษย์ที่ควรพึงมี ...
มอบ แด่คุณครูด้วยดวงใจ อีกหนึ่งตัว  ชาย เมืองสิงห์ จึงกลายเป็นอีกหนึ่ง ฉายา "นักร้องลูกทุ่งสามสมัย"
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ สิงหาคม 21, 2015, 11:51:44 AM

(http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/9b0a0c9ddfae65136e397410e3e8c932.jpg)

http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/4df77087b2ee070cb6dd8eee4936405a.swf

เพลงออกใหม่ไม่นานนี้ของพี่แก้ว
เสียงเจื้อยแจ้วเล่าขานตำนานเสียง
ของเพื่อนรักที่เคยอยู่ข้างเคียง
เคยส่งเสียงเจรจาจัดรายการ

สถานีวิทยุอันยิ่งใหญ่
ไม่ห่างไกลกรุงเทพเคยกล่าวขาน
ชื่อนั้นคือไพโรจน์แต่ก่อนกาล
นามสกุลภูชาญท่านทราบดี

เคยเป็นเพื่อนร่วมบ้านเคยอาศัย
เคยอยู่บ้านเพลงไทยเป็นรุ่นพี่
ใช้ชื่อ”หนุ่มเมืองสิงห์”อยู่นานปี
มาบัดนี้ท่านดับลาลับกาย

เสียงพี่แก้วร้องส่งด้วยซาบซึ้ง
ด้วยใจยังคิดถึงมิรู้หาย
ยังคิดถึงไพโรจน์ไม่รู้คลาย
แม้จากไปยังอาลัยมิรู้ลืม


หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สายัณห์ ที่ สิงหาคม 21, 2015, 04:59:57 PM
ดีใจจังที่ได้เห็นอาแก้ว มาเล่าตำนานเพลงอีกครั้งที่นี่ อ่านในเฟสอาแก้วก็ไม่จุใจ เน็ตกากๆจะเก็บจะเซฟไว้ก็ลำบาก เก็บข้อเขียนอาแก้วรอพิมพ์เป็นเล่มไว้อ่านทบทวน คงต้องตามเก็บไปเรื่อยๆเพราะความสนุกเหมือนเพิ่งเริ่ม ขอบคุณมากๆสำหรับข้อเขียนเชิงเล่าสู่กันฟังจากคนวงใน (ในวง) ตัวจริง
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 21, 2015, 05:51:04 PM
 :zxdrn: : สวัสดีครับ คุณสายัณห์ ผมอุตส่าเอิ้น ถึงคุณสายัณห์ ตั้งแต่เริ่มเขียนกระทู้ ก็รออยู่ เพิ่งจะเข้ามาเห็นเหรอ ดีใจนะครับ 55555 ยังหัวเราะเสียงดังฟังชัดเหมือนเดิม คิดว่าพายเรือเที่ยวนี้คงจะไม่ล่มกลางแม่น็ำ ซะก่อนนะ คนโดยสารน้อย ไม่เหมือนเที่ยวที่แล้ว คนโดยสารเยอะ เรือเลยล่ม เที่ยวนี้ ได้นายท้ายดี ตัวใหญ่เบ่อเริ่ม.. แอะ แอะ ๆ ๆ คุณสมภพ อย่ามองค้อน ผมเสียว 555555555 เอิ๊ก ก ก ๆ ...
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: ลมโชย ที่ สิงหาคม 21, 2015, 06:49:35 PM
เห็นบ่นเล่าขานตำนานวงดนตรีกันมาตั้งแต่ต้นเลยนำภาพมาให้ชมสัก 2 ภาพ
ไหนๆเอ่ยชื่อและวางเพลงแล้วเดี๋ยวจะไม่เห็นบรรยายเลยเก็บตกภาพมาฝาก
ให้เหมาะสมกับยุคสมัยก่อน อิอิอิ

(http://image.free.in.th/v/2013/ic/150821065345.jpg) (http://picture.in.th/id/16110255efd71284c517d6c8b557d60a)
1.ชาย เมืองสิงห์  / 2.ชนะ ชิดชนก และ สายรุ้ง มุ่งดี
(ภาพสมัยร่วมวงจุฬารัตน์ยุคแรกๆ)

 :38 :38 :38 :38
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 22, 2015, 09:14:58 AM
 :42 : บางที ผมอยากจะชวนเพื่อนๆ ที่ยังพอจะหลงเหลืออยู่บ้าง พอติดต่อกันได้ มาช่วยกันรื้อฟื้นความหลัง
แต่ก็อยู่ไกลกัน สุดจะยากหา สุดจะแลเหลียว ไอ้ผมเอง ก็ มีแต่มอเตอร์ไซด์เก่าๆ   "มรกต เมืองกาญจน์"  ก็ทำเป็น "สะบัดสะบิ้ง" ขายหวยรวยไม่รู้เรื่อง ไอ้เพื่อนผม  "บุญ บันดาล" อีกคน ก็เอาแต่ เร่ร่อน อยู่นั่นแหละ โน่น ตอนนี้ไปเปิดสำนัก เป็นอาจารย์ดัง อยู่หน้าวัดพระแท่นดงรัง จ. กาญจนบุรี ให้เจอเหมาะๆหน่อยเห่อะ หลังแหวน ผมเองน่ะอยากจะเขียนให้จบเร็วๆ แต๋..โอ้..โห  กว่าจะพิมพ์ได้แต่ละตัว เนี่ยะ 3 วินาที แก๊ก 5 วินาแก๊ก ไอ้ตัวไหนทียากหน่อย ก็นั่งคลำ บางที่เอาหลังพิงเก้าอี้ หลับบ่อยๆไปก็มี บางที พิมพ์เพลินๆ เอ้า..แขกมาหางาน ก็ต้องเอางานไว้ก่อน บางทีพิมพ์เสร็จแล้ว กำลังจะกดดูตัวอย่าง หายจ้อย ไอ้ครั้นจะกด เซฟ
หรือ ก๊อปปี้ ก็ไม่รู้จะกดตรงไหน โง่จัง ...        
  ว่าที่จริง มันก็ยากอยู่เหมือนกันเน๊าะ ห้า-หก บรรทัด กว่าจะเสร็จ เล่นเป็นชั่วโมง ๆ ทนกันหน่อยก็แล้วกันครับ นึกว่าเมตตา
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ สิงหาคม 22, 2015, 10:21:03 AM
มีคนรอลุ้นอยู่เยอะครับ ช้าเร็วไม่ว่ากันเพราะนี่คือการถ่ายทอดตำนานจากคนในครับพี่  :52 :52
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 22, 2015, 11:33:59 AM
 :teentob:: ท่านที่เคารพครับ... ( แหม...ขอเดาะภาษาลูกทุ่งกับเขาหน่อย ) เคยดูดนตรีลูกทุ่งชนิดแบบงูกินหางไหมครับ งง ๆ งงล่ะซี้ 555 ผมจะเหล่าให้ฟังนะ ไม่ต้องมาค้อน อย่างนั้นหรอก ...
    งานประจำปีที่ วัดพระนอนจักรสีห์ จังหวัดสิงห์บุรี ของทุกปี นอกเหนือจากมโหสพอื่นๆแล้ว  ทางวัดจะให้มี วงดนดนตรีลูกทุ่ง คณะดังๆ แสดงประชันกันทุกคืน คืนละ  2 คณะ  งานก็มีหลายคืน แบบงานวัดดังๆที่เขานิยมจัดกันทั่วไปนั่นแหล่ะ  มีอยู่ คืนหนึ่ง  "ชาย เมืองสิงห์" ประชัน กับ "ระพิน ภูไท" ไม่น่าเชื่อ คนเทไปดู วง ระพิน กันแน่นขนัด  ชาย เมืองสิงห์ สู้ไม่ได้ ...
   พอคืน ต่อๆมา ระพิน ภูไท ประชันกับ คณะ แดง แดนทอง ซึ่งตอนนั้น
ก็กำลังดังมากๆ เหมือนกัน  แดง แดนทอง คนแน่นปึก ระพิน ภูไท แพ้ราบพนาสูญ ...
   แล้ว คืน ต่อมาอีก ชาย เมืองห์สิงห์  ประชันกับ  แดง แดนทอง  ตอนนี้ซึ่งพวกเราก็คิดว่า ยังไงๆ ก็คงแพ้ แดง แดนทอง อีก ขนาด ระพิน ที่ว่าดังสุดๆ ยังแพ้เรียบ พี่ชายคิดว่าความดังของคลื่นลูกเก่า ที่ย่อมจะโรยราย่อมที่จะสู้ คลื่นลูกใหม่ไม่ได้แน่... 
   สู้ได้ไม่ได้ ขอวัดกันด้วยผลงานด้านหน้าเวทีการแสดง ด้วยมันสมองของนักเพลง ที่ชื่อ "ชาย เมืองสิงห์" เมื่ือคิดได้ดังนั้น จึงคิดนำรีวิวหางเครื่องประกอบเพลง "หน้าชื่นตาบาน"เป็น ชุดสาวจีนรำพัด ปกติก็มีอยู่แล้ว แต่วันนี้พี่ชาย บอกต้องพิเศษกว่า นักร้อง ชาย หญิง จัดเป็นชุด มีหาบขนมจีนน้ำยาจริงๆ ดำเนินเรื่อง มีรีวิวประกอบเป็นละครเพลง ชุด เจ้าบ่าว เดินทาง ไปแต่งงาน กับ
เจ้าสาว ผิดไปจากรูปแบบ ที่เคยแสดงมา ชุดสวยงาม ดูแล้วตระการตาจริงๆ ครับ ...
     นักร้อง ชาย - หญิง หาบ แห่ ขบวนขันหมาก ขนมจีน-น้ำยา ต้นกล้วย ต้นอ้อย จากด้านล่างของเวทีการแสดง มีกลองยาว
โห่ ร้องรำ นำเป็นขบวน (ลองวาดภาพตาม เหมือนจริงมาก ๆ ครับ) ท่านเชื่อไหมครับ คนดูนึกสนุก ก็เข้าร่วมขบวนแห่ด้วย
โห่ ๆ ๆ ! (เงียบ) "อ้าว ๆ ฮิ้ว ซิเว้ย เฮ้ย เสียงพี่ชายตะโกน"  สนุก ตื่นเต้น คนตึม ๆ ส่วนบนเวที มีชุดหางเครื่องสาวจีนรำพัด
รำคอยต้อนรับขบวนขันหมาก
ชาย เมืองสิงห์ ร้องเพลง "หน้าชื่นตาบาน" กับเพลง "แต่ช้าแต่"
     พี่ชาย สร้างผลงานที่ยิ่งใหญ่อีกครา ไร้เทียมทานจริงๆ ที่บ้านเกิดเมืองนอนของตัวเอง งาน "วัดพระนอนจักสีห์" ...
     คืนนั้น "ชาย เมืองสิงห์" ได้กำหัวใจของคนดูไว้ได้ อย่างล้นหลาม พวงมาลัยดอกไม้สด, พวงมาลัยขนมปัง ซึ่งตอนนั้นเป็นที่นิยมและฮิตมาก  สำหรับมาลัยขนมปัง  ...
           
                        นับเป็นความสำเร็จอีกครั้งหนึ่ง ของยอดนักเพลง เทพบุตรลููกทุ่ง     ชาย เมืองสิงห์        
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ สิงหาคม 22, 2015, 11:43:00 AM
          ได้อรรถรสงานวัดแท้ๆ เลยครับ มาลัยขนมปัง สมัยก่อนเที่ยวานวัดต้องซื้อคล้องคอไว้
เดินไปกินไปเดี๋ยวก็หมด

(http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/f46222a627b65609d92a6a3aa0e2d88f.jpg)

          เห็นด้านล่างเป็นขนมถังแตก นั่นยาแก้หิวชั้นดีเลยครับ
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ สิงหาคม 22, 2015, 02:19:33 PM
มาพร้อมกับเพลงนี้ครับ

หน้าชื่นตาบาน - ชาย เมืองสิงห์
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/2b6699ce9c058d20916f538c401afeb7.swf

แต่ช้าแต่ - ชาย เมืองสิงห์
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/d8f9ff8cba6e5ad4b2096c45fbbd5f44.swf

หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 22, 2015, 08:48:51 PM
 :21: ถ้าผมจะพูดว่า ชาย เมืองสิงห์ ดัง แล้วดับ, ดับ แล้วกลับ มาดัง, ก็คงไม่ผิดนัก ...
   
    : ขอย้อนกลับไปในคืนงานฤดูหนาว ที่ จ.ลพบุรี ดนตรีเลิก คนดูบางส่วนไม่ยอมกลับ มายืนรอสอบถาม พูดคุย กับ พี่ชาย บางคนเข้าไปกอด บางคนยังอิน ไปกับละคร คิดว่า "บุญมั่น ขวัญยืน" เป็นลูกชาย ของ ชาย เมืองสิงห์ จริงๆ
  พี่โปสร์ (มิสเตอร์โปสเตอร์) โดนคนดูต่อว่า (แกก็บ่น งึม งำ ๆ ๆ ๆ ตามประสาของแกไป ว่าเป็นการแสดง) บ้างก็ชม คุยกันอยู่นานทีเดียว พี่ชายก็ไม่รีบร้อน เพราะมีเป้าหมายจะไปนอนที่บ้าน สิงห์บุรี  ระยะทางห่างกันแค่ สามสิบกิโล พี่ชายเรียกผมเข้าไปหาพูดอยู่ สอง สาม คำ ("แก้ว"ไปร้องเพลงด้วยกัน ผมก็รับปาก) แล้วยื่น แบ๊งค์สีแดง ให้ผมหนึ่งใบ ผมยกมือไหว้พี่ชาย และขอบคุณ ต่อหน้าคนที่มายืนมุงนั่นแหละ แล้วก็ลาพักพวกเก่าๆ กลับกองร้อย พร้อมๆ เพื่อนที่เป็นทหารด้วยกัน  เงินค่าตัว 100 บาท ที่ได้มา เกลี้ยง เลี้ยงข้าวต้มเพื่อนๆทหารที่ไปด้วยกันหมด กลับถึงกองร้อยด้วยความสุข คิดไปต่างๆ นาๆ พูดดังก็ไม่ได้ ดึกแล้ว พักพวกเขาจะนอน ทหารเวร (ที่อยู่เวร) ก็เพื่อนกัน ก็มานั่งเป็นเพื่อน นอนรำพึง "นี่เรากลับมาเป็นนักร้องอีกแล้วหรือนี่"
     ตื่นเต้นดีใจ ปนเปไปกับรอยยิ้มอยู่คนเดียว ...
     คืนนั้นเลยนอนไม่หลับ ตีห้าครึ่งเสียงนกหวีดดัง  ปรี๊ด ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ...
                         
                               ต้องตื่นขึ้นมาเข้าแถว แล้วออกวิ่งทุกวัน แต่เช้านี้ผมวิ่งไม่ไหว ต้องขอทุเลา

หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: เผ่าพงษ์ ปัตตานี ที่ สิงหาคม 23, 2015, 11:51:29 PM
สนุกดีครับ ขอเป็นกำลังใจให้กับอาแก้ว สาริกา อดีตทหารเก่าครับ
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 24, 2015, 08:23:25 AM
 :teentob: : เมื่อวันวาน วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม 2558 ผมไม่ได้เข้ากระทู้เลย เพียงแต่เรียบเคียงเมียงๆ มองๆ แอบดูอยู่บ้างเหมือนกัน ก็เพราะว่า รับปาก กะเพื่อนไว้ (บรรพต สุกแสง) ว่าจะไปงานไหว้ครู
ที่สำนักงานอาจารย์ ลือชา สุกแสง หรือ พนม สุกแสง (หรือ บรรพต สุกแสง และหรือ บุญ บันดาล)
โน่นครับ ทีหน้าวัดพระแท่นดงรัง จ. กาญจนบุรี คนไม่มีรถ อ่ะครับจะไปไหนแต่ละทีลำบากจัง ฝนก็ทำท่าจะตก เลยสุดท้ายไม่ได้ไป หยิบโทรศัพท์ รุ่นเก่า เก๊า เก่า โทรหาไอ้แพรว (มรกต เมืองกาญจน์) เสียงเหน่อออกมาเลย แหม ๆ ๆ
เปิดเพลงรอสาย เพลง เหลือทน ของไพรวัล ซ่ะด้วย พ่อเจ้าประคุณเอ้ย  คุยกันเป็นชั่วโมง สับเพเหระ เรื่องเก่าๆ ทั้ง น้ า น ๆ
พอวางสายจากเจ้าแพรว เปิดคอมส์ กด เฟส คุย กะ เรไร ณ โคราช คุยกะแม่หญิง เรไร ก็นานอีกแหล่ะ ไอ้ผมมันคนมากเรื่อง 555 ไม่ใช่เรื่องมาก นะ ขอบอก เดี๋ยวจะมาว่ากัน ก็เรื่องเก่าๆ แบบคนใกล้แก่เค้าคุยกัน (เอาแค่ใกล้แก่ก็พอ 55555)  ไม่ใช่ว่าจะพูดคุยกันเล่นๆ ซะทีเดียว มีเรื่องที่ผมรู้ แต่ท่านไม่รู้ จะมาบอกกล่าวเล่าขานกัน เกี่ยวกับ เรื่อง แม่หญิงเรไร โดยจำเพาะที่ใช้ชื่อร้องเพลง ในแผ่นเสียง เพลง "ไกวเปล" เรไร ณโคราช, คมคาย คมขำ, และ ใช้ชื่อ พลับพลึง สถาพร อีก
        คนเค้า งงๆ กัน มากๆ ถึงมากที่สุด ... 
                                         
                                                             ขอพักไว้ก่อน / ซดกาแฟก่อน
  อ้าวๆ.. กาแฟหมด อดอีก
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ สิงหาคม 24, 2015, 08:58:08 AM
มาแล้วครับ ไกวเปล - เรไร ณ โคราช (คมคาย คมขำ)

http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/8050f84840f312144e36d81a423ddb97.swf

หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 24, 2015, 09:17:16 AM
 :teentob:: การดำเนินเรื่อง ก็ต้องมีตัวปูทาง เรื่องถึงจะดำเนินไปได้ เพราะฉนั้น ต้องขออภัยท่าน หากว่าจะมีใครมาบ่นว่า นี่อีตาแก้ว จะมาเล่าเรื่อง "จุฬาทิพย์" หรือจะมา เล่าประวัติตัวเองกันแน่ ...
 
  : คืนสุดท้าย วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ 2514  ที่ค่ายจังหวัดทหารบก ลพบุรี ( ค่าย จทบ.ลบ ) เป็นคืนเลี้ยงอำลา ของชีวิตของการเป็นทหาร พวกเหล่าทหาร ก็มารวมตัวกัน ที่ค่ายกองร้อย บ้างก็บอก ว่า เฮ้ย..(ขออนุญาต พูดตามความจริงนะครับ คำอาจจะไม่เพราะหู)  มึงจะไปไหนต่อ บ้างก็ว่า "กูไปกองพลเสือดำ" ( ไปรบเวียตนาม ) บ้างก็ว่า "กูไปทหารพราน รับจ้างรบในลาว)
บ้างบอก กูกลับไปหาลูกหาเมีย ไปทำนา ทำไร่ แยกทางกันไปตามวิถีชีวิตของแต่ละคน
          รุ่งเช้า ของ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2514 ปลดประจำการ ต่างคนก็ต่างกลับภูมิลำเนาของตน
ผมกลับไปอยู่บ้าน ที่ อ.วิเศษฯ  อยู่นานวันเข้าไม่มีอะไรทำ
ได้แต่ กินๆ นอนๆ กำลังเป็นฤดูหน้าน้ำหลากพอดี ไปไหนมาไหนก็ลำบาก ต้องใช้เรือพาย สมัยนั้นไฟฟ้าก็ยังไม่มีจะใช้ ชาวบ้านใช้ตะเกียงน้ำมันก๊าซ โทรทัศน์ พัดลม ไม่ต้องห่วง ค่ำมืดก็นอน ...
    ตัดสินใจเข้ากรุงเทพฯ ไปหา พี่ "ดาวฤกษ์ เรวดี" ตอนนั้น พี่ดาวฤกษ์ เช่าบ้านอยู่แถวๆ ศรีย่าน ใกล้ๆ ราชวัตร ไปอาศัยอยู่กับแก ดีใจหาย พี่ดาวฤกษ์ (ช่วงตอนที่ผมเป็นทหาร ลงมากรุงเทพฯ นั่งรถไฟจากลพบุรีมาลง สถานีสามเสน แล้วเดินด้วยเท้ามาพักนอนกับพี่แก ประจำ ตอนนั้น พี่เค้ากำลังแต่งเพลง "ไปไม่กลับ" แล้วก็ร้องให้ผมฟัง ผมก็นั่งขนลุก "นี่พี่แกแช่งเรา รึ เปล่าว่ะเนี้ยะ)
  วันต่อมา ผมตั้งใจจะไปหา "หนุ่ม เมืองไพร" ให้ฝาก วงพิณศรีวิชัย ให้  "ณรงค์ มะกล่ำ" ก็มาอยู่กับ พิณศรีวิชัย แล้ว ผมไปยื่นคอยรถเมล์อยู่ที่ป้าย ตรงสี่แยก ศรีย่าน เห็นรถเมล์ สีน้ำตาล ของศิริมิตร สาย 65 วิ่งจากสนามหลวง ไปบางซ่อน
         เอ..เราจะไป พิณศรีวิชัย ก็ไกล อยู่ถึง นครปฐม เลยตัดสินใจ รถเมล์มาเที่ยวหลังอีกคัน ขึ้นนั่งเลย ไปบางซ่อน
ผ่านหน้าวัดเซิงหวาย ค่ารถเมล์ 75 สตางค์  กะว่าจะ ไปเยี่ยมหาคนที่เคารพอีกคน คือ พี่เบนซิน (มิสเตอร์เบนซิน)   
พอถึงปากทางวัดเซิงหวาย บางซ่อน  ลงจากรถ เจอ พี่เบนซิน ที่ปากซอยวัดเซิงหวาย พอดี กำลังนั่งรวมตัว จะเดินทาง
ไปแสดงดนตรี ได้คุยกัน พูดถึงว่าผมจะไปอยู่ พิณศรีวิชัย   พี่เบนซิน ก็บอกว่า
  เขาจะเอาเหรอ..  ไอ้ยม, ไอ้พต, ไอ้กล่ำ, ก็ไป กระจุกกันอยู่ที่นั่น ถ้าไปแล้วเขาไม่รับ เขาไม่เอา จะหน้าแตกเอา ก็เลยลังเล 
วันนั้น วงชาย เมืองสิงห์ ยังใช้ ("พ่อหม้ายพัฒนา") อยู่ จะเดินทางไปแสดงที่ อ. ตากฟ้า จ. นครสวรรค์  พี่เบนซิน ก็ชวนและดึงมือขึ้นรถดนตรีของวง พี่เบนซินบอกไอ้เจ้าแพรว (มรกต เมืองกาญน์) "ไอ้แพรว ให้ไอ้แก้วไปด้วย"
               
                        ผมก็ขึ้นไปนั่งอยู่ที่เบาะท้ายสุด เงินก็ไม่มีจะติดตัว แล้วผมจะไปทำไมก็ยังไม่รู้ ? ? ? 
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ สิงหาคม 24, 2015, 09:36:23 AM
          ผมเคยฟังจากนักดนตรีที่ตกงานมาว่า ตอนไม่รู้จะไปไหนก็ไปเตร็ดเตร่แถวซอยบุปผาสวรรค์ เดี๋ยวก็เจอคนรู้จักลากขึ้นรถดนตรีไปด้วยกัน จะได้เท่าไหร่ไม่รู้แต่ว่าอย่างน้อยก็ไม่อด การันตีเลยว่าสมัยก่อนนั้นอาชีพนี้ต้องทรหดจริงๆ ครับ
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 24, 2015, 10:16:35 AM
มาแล้วครับ ไกวเปล - เรไร ณ โคราช (คมคาย คมขำ)

http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/8050f84840f312144e36d81a423ddb97.swf
:teentob:: เดี๋ยวขอพักทำใจสัก แป๊บ ๆ ๆ นึงก่อน ก่อนจะเขียน ถึง "เรไร ณ.โคราช" ศิษย์รัก หนึ่งเดียวตัวจริงเสียงจริง
    ของ ชาย เมืองสิงห์ ก็เข้ามาเป็นเพื่อนในเฟส แหล่ะ ช่วงที่ผมเขียนถึงตัวเธอ ท่านอยากรู้อะไรเพิ่มเติ่ม ก็ตรวจสอบ
    หรือ  ไต่ถามได้เลย น้องคงไม่รังเกียจที่จะตอบและคุยกับทุกท่านแน่นอน หรือสมัคร เขัาไปเป็นเพื่อนกับเธอก็ได้
    ยินดีต้อนรับ เช่นกัน ครับ "แก้ว สาริกา" การันตี ...

: เรไร ณ. โคราช หวัดดีค่ะพี่แก้ว ไม่ได้คุยกับพี่ซะหลายวัน มัวยุ่งๆอยู่ก็เรื่องจัดคิว เดินทางไปเยี่ยมผู้เฒ่าผู้แก่ค่ะ เพราะท่านอยู่กันคนละที่ ตอนนี้หมดภาระกิจ ก็หันมาจับโทรศัพย์ว่ามีใครเข้ามาคุยกับเราบ้างหรือเป่ลา ก็มีพี่แก้วนี่แหละค่ะ ที่พูดถึงเรไรอยู่บ่อยๆ ขอบคุณจากใจจริงนะค๊ะพี่แก้ว ที่ไม่ลืมน้องคนนี้ แล้วกรุณาสรรหาเพลงเก่าๆมาฝาก มาให้ฟังอีก ไม่มีใครฟัง เรไรก็ฟังเองไงค๊ะ
พี่แก้วฟังทุกเพลง ที่พี่หามาให้ฟัง แถมภาพประกอบก็สุดยอดไปเลยค่ะ
: เรไร ณ. โคราช ถูกต้องค่ะพี่แก้ว เรไรยินดีที่จะเป็นเพื่อนกับ ทุกคนที่อยากจะคุยกับเรไรค่ะ ยินดีต้อนรับทุกคนนะค๊ะ
  คิดถึงพี่แก้วนะค๊ะ
แก้ว สาริกา:  สวัสดี จร้า แม่หญิง เรไร 555 เมื่อวันที่ 16 เม.ย. ที่ผ่านมาพี่ไปร้องเพลง ที่วัดเสาธงทอง บางมัญ สิงห์บุรี เลยบ้านพี่ชายไปสักประมาณ กิโลกว่าๆ กระมัง คิดถึง วันที่เราไปนอน ไปกิน ที่บ้านพี่ชายนิ พี่ปิ่นหาข้าวหาน้ำให้กิน พอพี่ขึ้นเวที ได้ร้องเพลงของตัวเอง และเพลงพี่ชายด้วย ได้รางวัลมากโขอยู่ นี่ถ้าเราอยู่ใกล้ๆกัน เปิดตัวทั้งสองคน บนเวที คนคงชอบกัน นิ
น่าเสียดาย จัง คนเค้าถามหา เรไร กัน เค้าจะถามพี่กันตลอด ก็เพราะ รายการ "ลูกทุ่งธรรมศาสตร์"
แก้ว สาริกา จึงได้ย้อนรอยกลับมาร้องเพลงอีกครั้ง หลังจากเลิกลาไปนานมากกว่า 45 ปี ...
: เรไร ณ. โคราช สักวันหนึ่ง ถ้าโอกาสมาถึงได้ร้องเพลงร่วมกับพี่แก้วอีก เรไรก็จะนุ่งจุงกระเบนอุ้มตุ๊กตาให้ดู
  เพื่อย้อนถึงอดีตเก่าๆ จริงๆ ค่ะพี่แก้ว
: แก้ว สาริกา ... ถ้า เรไร นั่งอยู่ใกล้ๆพี่แก้วขณะนี้ จะเห็นรอยแดงๆที่ดวงตา เหมือนน้ำตาจะไหล ...
: เรไร ณ. โคราช ผงเข้าตาเหรอ ล้อเล่นจ้า เอางี้นะถ้าพี่แก้วมีงานจัดงานอะไรก็บอกมานะคะเรไรจะได้ไปเจอกับพี่แก้วไงค๊ะ
  ไปจริงๆค่ะ
: วันเพ็ญ ยิ้มเยื้อน อยากได้ยินคุณพี่ทั้งสองร้องเพลงโต้ตอบกันจริงๆ น้ำเสียงยังหล่อและสวยด้วยกันทั้งสองท่านเลย.
   ยังไม่มี โอกาสได้ฟังพร้อมๆ กันสักทีเลยค่ะ
: เรไร ณ. โคราช เห็นไม๊พี่แก้ว มีแฟนๆ อยากเห็นเราร้องเพลงด้วยกันแล้วนะ อย่างน้อยก็มีคุณวันเพ็ญนี่แหละค่ะ
   ขอบคุณมากๆค่ะ คุณวันเพ็ญ
: แก้ว สาริกา ... ไม่รู้ว่า น้องเรไร ฟังรายเพลงลูกทุ่งธรรมศาสตร์ รึ เปล่า น้องก๊อฟ ผู้ดำเนินรายการ
     เค้าจะกรุณา เปิดเพลงให้เสมอ ทั้ง ไกวเปล ที่พี่ร้อง และ ไกวเปล ที่ น้อง เรไร ร้อง ญาติเพลง เค้าก็สนใจอยู่
     เหมือน คุณวันเพ็ญ นั่นแหล่ะ คุณวันเพ็ญก็เป็นหนึ่งของญาติเพลง "ลูกทุ่งธรรมศาสตร์"
: วันเพ็ญ ยิ้มเยื้อน แก้ว สาริกา ร้องเพลง พ่อหม้ายลูกติด. เรไร ณ โคราช ก็ร้องแก้ แม่หม้ายทรงเครื่อง.
  สายัณห์ สัญญา รักเธอเท่าฟ้า เรไร ณ.โคราช ร้องแก้ ตอบว่า รักเธอคนเดียว ใช่รึป่าวคะ ขอเอ่ยถึงเพลงดัง ที่หลายๆคน
  ชอบหน่อยนะคะ
: เรไร ณ. โคราช ไช่ค่ะคุณวันเพ็ญ เรไรร้อง รักฉันคนเดียว และเพลง ลูกเขยผู้การ แก้คุณสายัณห์ อีกเพลงหนึ่งค่ะ

 :74 :74ฟัง แม่หญิง เรไร ณ โคราช พูดคุุย กับ แก้ว สาริกา ทางเฟสบุ๊คต่อนะครับ
    :teentob:: เรไร ณ. โคราช ขอบคุณค่ะพี่แก้ว ที่นำบทเพลงเก่ามาให้ฟังค่ะ เรไรยังไม่เคยมีฟังเลยค่ะพี่แก้ว
                 : เรไร ณ. โคราช นึกว่าไชยา สุริยัน นะเนี่ย  555555
                 : แก้ว สาริกา ... แหม ไชยา สุริยัน เลยเหรอ ...แค่ ตาแก้ว นี่แหล่ะ ดีแล้วยังอยู่ ไชยา ไปแหล่ว .       
                 : เรไร ณ. โคราช พี่แก้วนี่ เป็นพี่ที่น่าเลื่อมใสจริงๆ อยู่ที่ไหนก็สรรหามาให้ฟังจนได้ ไม่รู้ว่าตอนนี้พี่โชคอยู่ที่ไหนคะ
                   พี่แก้วลึกๆแล้วสงสารพี่โชคมากไม่เคยลืมสายเหนือนะพี่แก้ว
                 : แก้ว สาริกา ... พี่นึกว่า เรไร จะลืมแล้ว ซ่ะอีก ณ.โรงภาพยนตร์ สมอญเธียเตอร์ แม่ต๋ำ อ. พะเยาว์
                   (ตอนนั้นยังเป็นอำเภอ) จ. เชียงราย มันเจ็บปวด
: เรไร ณ. โคราช ฟังเพลง "หน้าชื่นอกตรม" แล้วนํ้าตาจะไหล เนื้อหาสาระชัดถ้อยชัดคำ เศร้าทั้งเพลง เศ้ราทั้งคิดถึงคนร้อง
  พี่สวยเป็นคนปากเกล็ด เป็นสาวมอญที่สวยสมชื่อฟังเพลงไป ก็นึกถึงใบหน้าอย่างชัดเจน ดวงตาหวานเศ้รา รูปร่างผอมบาง
  ผิวสีนํ้าผึ้ง จัดได้ว่าสวยหวาน เรียกว่าแข่งความสวยกันมาเลยกับ พี่กลอย (ดวงมาลย์ เนรมิตร)และลั่นทมทานตะวัน คนแรก
  ที่อยู่ พระประแดง จุฬาทิพย์ ก็มีสามสาวนี่แหละ สวยชูโรงเนาะพี่แก้ว
: แก้ว สาริกา ... น้องสาวเจ้าเอย แม่หญิงเรไร คนสวย ลืมใครในรุ่นเดียวกันอีกสองคน รึ เปล่า " มาลัย ดอกรัก
  "เจ้าของร้านพวงมาลัย พระโขนง " อดีตขวัญใจ ยอด ธงชัย " ไง อีกคน " ดอกไม้ บ้านนา " น้องเปีย 555..
   (ปนัดดา สาว อ. ชุมพวง คน ณ โคราช) ร้องเพลงอัดเสียงไว้ 1 เพลง " ดูแต่ตามืออย่าต้อง" นึกออกยัง จ๊ะ
   อีกคน "น้องเอ้ก ฉะเวิ้บฉะว้าบ" คนนี้ ออกไปไม่นาน ขับรถเก๋ง มาบ้านพี่ชาย ๆ หัวเราะ 555 ชอบใจ ลืมแล้ว เหรอ ...
: เรไร ณ. โคราช ไม่ลืมหรอกจ้ะ พี่มาลัยก็สวย ถ้าเป็นยุคนี้ก็คงเสริมจมูกไปแล้วหละน้อ ยิ่งพี่เปียแม่นเปะเลย ขัวญใจของใคร 
  หนอ55555
: แก้ว สาริกา ... ขวัญใจ แดงน้อย กะ มิสเตอร์เบนซ์ซิน แก้ว สาริกา ไม่เกี่ยว 55555
: เรไร ณ. โคราช ไช่จ้ะพี่แก้ว พี่เปีย สาวชุมพวง หนุ่มๆจีบเยอะ พูดถึงพี่หมัก(มิสเตอร์เบนซิน) ตอนนี้อยู่ที่ไหนคะ
  พี่แก้ว หนูไม่เคยรู้ข่าวคราวของพี่หมักเลย หรือว่ากลับไปอยู่อ่างทองแล้วถ้าเจอ เรไรฝากความระลึกถึงด้วยนะคะ

 :teentob:: แก้ว สาริกา : ผมเปิดเพลง "กล่อมลูก" ให้น้อง เรไร ฟัง ...
: เรไร ณ. โคราช เพลง กล่อมลูก เพราะมากฟังแล้วคิดถึงพี่ทุ่งเน๊าะ แต่ยังไม่ไปหาหรอกนะพี่แก้ว
: แก้ว สาริกา  อย่าเพิ่งไปยุ่งกะเขา เราอยู่ของเราอย่างงี้ก่อน หลานอนุกูล ให้เพลง น้องเรไร มาอยู่ที่พี่อีก 3 เพลง   
  เพลง พี่จ๋ารักน้องไหม เพลง ลูกนอกกฏหมาย และเพลง เมียเก็บ น้องมี รึ ยัง มีแล้วก็แล้วไป ถ้ายังไม่มี จะหาทางส่งให้
  เป็นไฟล์เพลงนะ ไม่ใช่แผ่นเสียง ...
: อนุกูล คนเดิม .. เพลงหวานจัง ครับ
: แก้ว สาริกา ...  คนร้องไม่หวาน แหล่ะ 55555 ...
: อนุกูล คนเดิม พ่อหม้ายลูกติด - ไกวเปล - กล่อมลูก...เปิด 3 เพลงนี้อารมณ์ไปด้วยกันเลยครับ
: แก้ว สาริกา ... ก็ยังเสียดาย อาร้องต่อให้เค้าเองด้วย แต่เค้ากลับร้องดีกว่าเราอีก ...
: อนุกูล คนเดิม เสียงดีครับ ละม้ายคล้าย ชาย เมืองสิงห์
: เรไร ณ. โคราช ยังไม่มีซักเพลงเลยพี่แก้ว. ขอบคุณมากค่ะ อยากฟังเพลง "แค่นรัก" พี่พอจะหาได้ไม๊คะ
: แก้ว สาริกา ... เนี่ยะ พี่ถาม หลานอนุกูล อยู่ เมื่อวานนี้ ว่าเพลง " แค่นรัก " ของ เรไร มีไหม เพลงนี้ เรไร
  ร้องดีที่สุด เพราะที่สุด โชว์เสียงและลีลาเลยว่างั้นเถอะ หลานอนุกูลบอกไม่มี ก็กำลังจะถามน้องเรไร ตอบยังงี้ ก็คงไม่มี นิ
  พี่ตาม หาเพลงนี้มา หกปีแล้ว (ก็นั่งหาอยู่กับบ้าน จะไปได้ที่ไหน๊ ) พูดเอง เออเอง / ...อดฟังเลย
: อนุกูล คนเดิม อัดเป็นแผ่น สปีด 45 หรือ 78 ครับ คุณอา
: แก้ว สาริกา ... แผ่น 78 ครับ
: อนุกูล คนเดิม โห ถึงว่าหายากครับ ไม่ทราบว่าประกบเพลงอะไรครับ
: แก้ว สาริกา ... เนื้อหายังงี้นะครับ "ฉันแค่นรักคุณ" ฮือ ฮื้อ ๆ ๆ ๆ....... (ลูกคอเอื้อนสุดๆ) รักคุณไปแกนๆ
  รักคุณ ก็เพียงชั่วแล่น แต่มันสุดแสนจะทารุณ... ให้เจ้าของเค้าร้องต่อดีไหม 55555 ...
: แก้ว สาริกา ... นี่แหล่ะ ตอนประกบนี่แหล่ะ น้อง เรไร บอก หลานอนุกูล เค้าหน่อยน่านะ จะได้มีไว้ฟัง
    นักเก็บแผ่นเพลงตัวพ่อสนใจอย่างนี้ ไม่ธรรมดานะ จะบอกให้ แม่หญิงเรไรเอย ไม่แน่ เผลอๆ ก็อยู่ในยุ้ง
    หลังบ้านหลานอนุกูล เองนั่นแหล่ะ ค้นๆ ดูเหอะ 55555...
: แก้ว สาริกา ... หลานอนุกูลก้อ เก็บๆไว้ในใจบ้างก็ได้ จำชื่อเพลง กะ ชื่อคนร้อง แม่นๆ เท่านั้น เดี๋ยวก็ได้แพงหูฉี่
    เพลงไหนถ้า ลงได้อนุกูลถามหา มีหวังวิ่งกันหูกาง ตับแลบ แน่ / ดูอย่างเพลง ลูกเลี้ยง จรกา ผิวผ่อง อ.พิณไพร
    ห่วงยิ่งกว่า ไข่ในหิน ไม่ยอมปล่อยไปไหนเลย ทั้งๆ แก้ว สาริกา ชี้บอกให้ แม้แต่ไฟล์เพลงยังไม่ให้ งกฉิบฯ ..เลย 555 ...
: เรไร ณ. โคราช อย่าว่าแต่ประกบกับเพลงอะไรเล้ยพี่แก้ว เนื้อเพลงก็ยังจับต้นชนปลายไม่ได้เล้ยพี่
     แต่ถ้าได้ฟังสักรอบ สองรอบ รับรองร้องได้แน่จ้ะ ก็ตอนอัดแผ่นอายุ ก็แค่สิบกว่าขวบเอง เลยจำไม่ได้จ้า
: อนุกูล คนเดิม  คุณป้าเรไร เสียงดีมากๆ ครับ...วันนี้เพิ่งฟังเพลง ไปดีมาดี กับ   ดอกไม้ของน้อง ไปครับ

                     เพลง ไปดี มาดี  เรไร  ณ โคราช  ขับร้อง

                 http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/177422fed53b3818013036270ea999c9.swf

                     เพลง  ดอกไม้ของน้อง  เรไร  ณ โคราช  ขับร้อง

                 http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/ec4af17444b5c3ef86ff2fed9f3d348a.swf

: ดาวเรือง ส้ม   ชอบคำที่เรียกจังค่ะ แม่หญิงเรไร ติดตามอ่านข้อเขียนของคุณอาตลอดแต่ไม่อยากแสดงตัว
                    แต่คิดอีกทีไม่ชอบ แอบอ่านโดยที่เจ้าของเฟซไม่ทราบ ต้องขออนุญาติก่อนค่ะ
: แก้ว สาริกา ... แม่หญิง เรไร เค้าดัง ออก ทีวีบ่อย รับเชิญบ่อย " แก้ว สาริกา " แม้แต่คนจะถามหายังไม่มีี เล้ย จริงๆ ...
: เรไร ณ. โคราช   พี่แก้วก็ว่าไป้ เดี๋ยวนี้พี่แก้ว ดังกว่าใครๆอีกหลายคนในรุ่นเดียวกันอีกรู้ไม๊ ที่จริงแล้วพี่แก้ว
      เป็นคนมีความ สามารถเฉพาะตัวต้้งหลายอย่าง ตีกลอง เป่าขลุ่ยก็เก่ง ร้องเพลงเองสโล่ว์ขลุ่ยเองเรไรจำได้นะคะ
      แต่งเพลง ก็เก่งเพียง แต่โอกาส ไม่อำนวย ในยุคนั้นพี่แก้วคงไม่มีเวลาเป็นของตัวเอง ไหนจะเป็นทหารอีก
      พี่แก้วก็ทำหน้าที่ลูกผู้ชายได้สมบูรณ์แบบทุกอย่าง พี่แก้วเป็นบุคคลที่สมควรยกย่องที่สุดเลย ยังไงน้องก็ขอให้กำลัฃใจ
      พี่แก้วนะจ้ะ ให้พี่แก้วและครอบครัวของพี่แก้วทุกคน จงได้รับแต่สิ่งดีดี มีความสุขมากๆนะค๊ะ
: แก้ว สาริกา ... นั่นไง คุณดาวเรือง เห็นไหม มาแว้ววววววว แม่หญิง เรไร ของโผ้ม เอ้ย ๆ ๆ ขอโทษ
      ของพ่อเสมา ขุนศึกเค้า 55555 ... น้องเรไร คุยต่อให้พี่หน่อย พี่เขียนตรงไหนผิด หรือไร ช่วยแจ้งแก้ไขหน่อย
      เพื่อความถูกต้อง จร้า
 : เรไร ณ. โคราช จะแก้ตรงไหนดีล่ะพี่หมดไส้ไปแล้วชื่อเสียงเรียงนามก็ชัดเจนอยู่แล้ว อ่อๆๆๆขอนีดเดียวนะจ๊ะพี่แก้วบุคคล ท่านนี้จะลืมไม่ได้เลยก็คือ คุณอาศักดิ์โกศล ท่านเป็นนักจัดรายการทำละครวิทยุ ขอ อณุญาตเล่านิดนึงนะคะพี่แก้ว เรไรเป็นเด็กไปประกวดร้องเพลงที่ ป ช ส ๗ ใต้สพานพุธ คุณอาศักดิ์ และคณอาไฉนกลิ่นขาวเป็นกรรมการ เรไรได้ที่๑นะพี่แก้วคุณอาศักดิ์โกศลก็เลยพาเรไร(เด็กหญิงหอมหวล)ไปอยู่ในบ้านก็ได้รับความเมตตาจากคุณอาศรีวรรณเดือนสว่างด้วยซึ่งท่านเป็นภรรยาของคุณอาศักดิ์ค่ะ หนูก็ได้ยินคุณอาทั้งสองคุยกันว่าต้องเอาเด็กคนนี้ไปฝากไว้กับนักร้องจะดีก่วาถึงจะมีอนาคตเพราะท่านทั้งสองทำลครวิทยุมันคนละเรื่องกัน พี่แก้วเบื่อหรือยังคะเนี่ย ยังไงก็ขออีกนีดๆๆนะพี่ไม่งั้นไม่ถึงบางอ้อ อีกสองวันคุณอากับพี่ราเชน พี่ราเชนก็เป็นลูกหลานคุณอาศักดิ์ค่ะสองคนบอกให้หนูแต่งตัว ในใจก็คิดเขาจะเอาเราไปไว้ที่ไหนกับใครหนอเสียใจนะพี่แก้วร้องไห้เลยละพี่แก้วถึงจะอยู่บ้านนั้นไม่นานนักแต่ได้รับควาวมเมตตาจากคนในครอบครัวของท่านมากมายโดยเฉพาะคุณย่าเรไรคิดถึงท่านมาก ก็ลํ่าลากันแป๊บหนึ่ง จำได้ว่าที่เดินออกมาจากบ้านหลังนั้นอยู่ในซอยไสวสุวรรณค่ะ ก็ใกล้กับวัดเซิงหวายนั่นแหละค่ะ คุณอาศักดิ์พาหนูไปฝากให้อยู่กับพี่ ชาย เมืองสิงห์ นี่คือที่มาที่ไปในตอนเริ่มแรก
กว่าจะมาเป็น เรไร ณ.โคราช เบื่อหรือยังค่ะจบตอนนี้ก่อนนะพี่ ไว้ตอนสองก็ฟังใหม่เมื่อมีโอกาสนะค๊ะพี่
: แก้ว สาริกา ... เดี๋ยว ๆ ๆ อย่าเพิ่งไปไหน ขอต่ออีกนิด นะนะ น่านะ.. นี่แหล่ะ น้องเรไร สิ่งที่ทุกคนอยากรู้ และก็รอคอย
แม้กระทั่งเรื่อง ที่น้องประกวดร้องเพลง ที่ื ป.ช.ส. 7 พี่ก็เพิ่งจะรู้ วันนี้เอง อ้าว... งั้นจำได้ ป่ะ ที่เราเดินสายเหนือกันครั้งแรก
มี่พี่ศักดิ์ โกศล, พี่ศรีวรรณ เดือนสว่าง, และ พี่ อารีวรรณ วัฒนารมย์, รับเชิญ น้องเรไร ก็รู้จักท่านๆ มาก่อนแล้ว น่ะซี ..   
       แล้วที่น้องเอ่ยถึง คุณราเชน น่าจะ เป็นคุณ "ทิวา ราเชน" นะ ไม่ใช่ ราเชนเฉยๆ เพื่อนๆกันทั้งนั้น ...
: เรไร ณ. โคราช  ไช่จ้ะพี่แก้วพี่ทิวา ราเชน  แต่หนูตั้งแต่เด็กไม่รู้เป็นไงเรียกพี่ราเชนๆๆอยู่จนบางครั้ง พี่ทิวาก็คอยติงอยู่เรื่อย เห็นไหม๊ล่ะพี่แก้วเยี่ยมจริง ขอบคุณค่ะพี่แก้ว ที่ช่วยเตือนความจำค่ะ  รู้จ้ะพี่แก้วก็เดินสายครั้งแรกก็สายเหนือ แหล่ะก็หนูอายุแค่ 11 ขวบเอง พี่แก้วคงไม่ได้สนใจ ไปเดินสายหนูก็มีหน้าที่เก็บเสื้อชุดหางเครื่องเรื่อยไป ถึงเวลาเลิกงานขึ้นรถก็หลับลูกเดียว มาอยู่วัดเชิงหวายก็ไม่เงียบเหงาเสียทีเดียวหรอกเพราะว่าพี่ราเชนพี่ชายที่แสนดีคอยมาเยี่ยมเยือนอยู่เป็นประจำช่วงแรกๆที่พี่ชายตั้งวง คุณอาทั้งสามที่พี่แก้วกล่าวนามมายังมารับเชิญอยู่บ่อยๆ เรไรก็อยู่ตลอดค่ะพี่แก้ว
: แก้ว สาริกา ... เอ แล้วไอ้เรื่องเพลง "ไกวเปล" ทำไม ไปใช้ชื่อ "คมคาย คมขำ" ก็พี่จำได้ว่า คมคาย คมขำ ก็ คือ อีปลิว 
  (เรียกตามพี่ชายนะ) เมีย พี่รัสเค้าน่ะ (มิสเตอร์โปสเตอร์) คนฟัง และ นักเล่นแผ่นเสียง เขาก็ยัง งง สงสัยกันอยู่ ...
 
    :teentob:: ต่อไปนี้ เป็นคำตอบของ เรไร ณ.โคราช ครับ จะได้เข้าใจและหาย งง กันซะที หรือไม่ก็ มึนหนักกว่าเก่า :

: เรไร ณ. โคราช อย่าว่าแต่พี่แก้วงงนะ เรไรก็งง ว่า เอ..ทำไมเราหลายชื่อจัง เอ้าทำไปทำมาแต่ละชื่อก็มีตัวตน คมคาย คมขำ บ้าง พลับพลึง สถาพร บ้าง เรไรบ้าง แต่พอออกหน้าเวทีพี่ปลิวเมียน้าโป๊ด ก็ใช้ชื่อ คมคาย คมขำ พอถึงพี่จา เมียพี่บุตรไง พี่แก้วจำได้ไม๊ พี่จาออกหน้าเวทีใช้ชื่อ พลับพลึง สถาพร เอ้างงกันใหญ่ ก็เก็บไว้ในใจใครจะกล้าถามล่ะพี่แก้ว แต่ต่อมาพี่ชายกลัวจะน้อยใจเสียใจมั้ง พี่ชายมีเหตุผลว่า อยากให้นักร้อง ชื่อนี้ ชื่อนี้ เวลาออกหน้าเวทีให้มีชื่ออยู่ในใจแฟนเพลงเกือบจะทุกคน เพลงที่พี่ชายแต่งเสร็จ (เพลงผู้หญิง) พี่ชายจะเรียก เรไรไปต่อเก็บเอาไว้ เมื่อถึงเวลาจะให้ใครร้องหน้าเวที พี่ชายก็จะบอกให้ไปต่อเพลงที่ไอ้ไรโน่น เพราะว่าพี่ชายมีงานต้องทำหลายอย่างไม่มีเวลามานั่งต่อเพลงใคร ให้ไอ้ไรมันรับหน้าที่นี้ไป. มันก็เลยเกี่ยวเนื่องไปถึงการอัดแผ่น ให้ไอ้ไรมันร้องนั่นแหละง่ายดีมันจำเพลงได้หมดแล้ว ก็ทำไมจะจำไม่ได้ล่ะพี่แก้ว หนูก็ทำกับข้าวบ้างรีดผ้าบ้าง เลี้ยงน้องบ้าง ( ตี๋กับ แหม่มไง) ก็ได้ยินทุกครั้งพี่ชายแต่งไปเคาะจังหว่ะไปมันก็จำอยู่ในสมอง พี่ชายชอบชมอยู่เสมอๆ ไอ้ไรมันหัวดีต่อเพลงได้เร็วมาก ไอ้เราก็บ้ายอเสียด้วย 555 ความจริงแล้วเรามีโอกาสได้รู้ได้เห็นและได้ฟังมากกว่าคนอื่น ก็นี่แหล่ะพี่
    เหตุที่กลายเป็นแม่นางหลายชื่อ  ความจริงแล้วมีตัวตนทั้งนั้น อ๋อพี่แก้ว พี่ปลิว (คมคาย คมขำ) เสียชีวิตหลายปีแล้วค่ะ
                                เรไรก็ไปงานศพพี่ปลิวอยู่ค่ะ ที่ อ. ด่านขุนทดค่ะ ..
                                           
                                                แป๊ปนึงนะพี่แก้ว เอาตังค์ก่อนแขกเช็คบิล ค่ะ

                         ###################################################
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สุรชัย ที่ สิงหาคม 24, 2015, 11:25:20 AM
ขอสนับสนุน ลุงแก้ว สาริกา  ที่มาบันทึกประวัติศาสตร์เรื่องราวชีวิตคนลูกทุ่ง เพื่อเป็นวิทยาทานแก่คนรุ่นหลังครับ โดยเฉพาะ เรื่องเกี่ยวกับวงดนตรี จุฬารัตน์ จุฬาทิพย์ วงหลังเขาประยุกต์ และ วงดนตรี ชาย เมืองสิงห์ อย่างละเอียดเลยครับ ขอบคุณมากครับ
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 25, 2015, 09:27:11 AM
:teentob:: เรื่อง แม่หญิง เรไร ณ.โคราช ก็ผ่านไป ความจริงยังมีอีกมากมายหลายเรื่อง ที่ได้คุยกัน ขอแค่นี้ก็แล้วกัน :
 
        : กลับมาว่าเรื่อง "จุฬาทิพย์" ของเราต่อดีกว่า เลยลืมเลย ว่าเขียนไปถึงไหนแล้ว :

 :42: ผมเดินขึ้นรถ ด้านประตูหลัง ไปนั่งที่เบาะท้ายรถสุด ไม่บังอาจที่จะไปนั่งกับ "มรกต เมืองกาญจน์" ที่ก่อนเราเคยนั่งด้วยกัน ผมนั่งแถวเดียวกับ เพทาย ไพฑูรย์, โชค ชวนชม (คนที่4), ไกรทอง, นักร้องชายอีกคน ซึ่งขณะนั้น
ผมยังไม่รู้จัก ว่าใครเป็นใคร บ่ายโมงเศษๆ รถออกจากหน้าวัดเซิงหวาย  ตอนเย็น ๆ ก็ถึงบริเวณงาน ที่ทางวัด จัดเป็นสวนสนุก
เรามันคนติดรถ เที่ยวเดินดูงานสักพัก ก็เดินเตร่ ขึ้นไปบนกุฎิพระ ที่มีด้านหนึ่ง เขาจัดให้เป็นโรงครัว
ไอ้เราก็เด็กวัดเก่าชินชากับการที่ได้อยู่บ้านนอก เดชะบุญได้เจอเพื่อนที่เคยเป็นทหารกองร้อยเดียวกัน อยู่บนวัดพอดี
ก็ได้รู้ว่าเพื่อนมาช่วยงานวัด สักพักอิ่มแปร้ ๆ ๆ 55555 ฟลุ๊ค ๆ ...
    : เทพเจ้าแห่งโชคเข้าข้างผม "ยอด ธงชัย" ไม่ได้มาติดราชการ "เอื้อ อารีย์" ไม่มาติดราชการ พี่เบนซิน ไปบอกพี่ชาย ว่า 

สองคนนี้ไม่มา พี่ชายก็อึ้งอยู่พัก แล้วบอกกับพี่เบนซิน ว่า "คุณนั่นแหล่ะ ทำหน้าที่แทน หมอเอื้อที" พี่เบนซิน ก็บอกว่า ผมต้องเล่นตลกคู่กับ "ลูกอ๊อด" และก็ไม่ถนัด (ความจริงพี่เบนซิน เขามองทางไว้ให้ผม)  แกมาเล่าเรื่องนี้ให้ผมฟังภายหลัง
 (ลูกอ๊อด ก็เพิ่งจะมาอยู่ไหม่ๆ มาจาก วง "ฟ้าบางกอก" ตอนอยู่ ฟ้าบางกอก ใช้ชื่อนักร้อง "รังษี รุ่งเพชร" ออกจาก จุฬาทิพย์ 
ไปอยู่ วงเพลิน พรหมแดน และออกจากวงเพลิน ไปเป็น ดู๋ ดอกกระโดน จนโด่งดัง)  
    เอ้า..กลับมาต่อครับ  พี่เบนซิน บอกพี่ชาย "ไอ้แก้วมา" พี่ชายถาม"มันมายังไง ก็สั่งไปแล้วไม่ให้มา แล้วมันมาทำไมอีก"
พี่เบนซินบอก "ไอ้แก้ว" มันออกจากทหาร แล้วไม่รู้จะไปไหน ก็เลยชวนมาเที่ยว
     พี่เบนซิน เดินเข้ามาบอกผม "ไอ้แก้ว พี่ชายเรียก" (ใจผมก็ไม่สู้ดีนัก คิดอยู่ในใจ ก็เราผิดเองมาตลอด) ผมเดินเข้าไปหาพี่ชาย
ยกมือไหว้  พี่ชายพูดยังไงรู้ไหมครับ"  "แก้ว ไปซื้อบุหรี สายฝนให้พี่ชายซอง" 
     (ชาย เมืองสิงห์ เวลาแกพูดกับลูกน้องจะใช้แทนคำตัวเอง ว่า พี่ชาย เสมอกับทุกคน)   
             คำพูด ที่พี่ชายพูดคุย กับ มิสเตอร์ เบนซิน ผมได้รับการถ่ายทอดภายหลัง เมื่อผมเข้าถาม พี่สมัคร เพ็งประดิษฐ์ ๆ
                                                            
                                                ชื่อจริง ของ  มิสเตอร์เบนซิน คนวิเศษ ฯ ด้วยกันครับ...
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สายัณห์ ที่ สิงหาคม 25, 2015, 11:26:55 AM
กำลังสนุกๆเลย อาแก้วกับอาเรไร สนทนากันออกรสชาติ แขกโต๊ะไหนหนามาขัดจังหวะ รอสักหน่อยก็ไม่ได้...555
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ สิงหาคม 25, 2015, 02:28:49 PM

(http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/408e88ab9c5c49162fb321cad0f84f91.jpg)

พี่แก้วเล่าโยงไปถึงเพลง ดอกไม้ของน้อง ต้องฟังกันสะหน่อยแล้วครับ
ดอกไม้ของน้อง - เรไร ณ โคราช

http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/ec4af17444b5c3ef86ff2fed9f3d348a.swf


มีหลายไฟล์ แต่ไฟล์นี้น่าจะดีที่สุดเท่าที่มีอยู่ครับ

หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ สิงหาคม 25, 2015, 03:31:43 PM
เอ๊ะยังไงกัน วางแต่เพลงของนักร้องร่วมวง แล้วเพลงของคนเล่าเรื่องหายไปไหน

จัดไปครับ  :tab_on: :tab_on: มาเป็นคู่เลย

สามวันจากนารีเป็นอื่น - ชัชวาลย์ ขวัญวิเศษ
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/06fe949e2e0b25ee05257d59b6041067.swf

หน้าชื่นอกตรม - นารี สุจริต
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/212bdd03a82ed4bc8b1561e5b88ba3ee.swf

หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 26, 2015, 07:32:16 AM
 :79: ฟ้ายังเมตตา เทวดายังปราณี ฤาษียังคุ้มครอง :
 
  :  ผมเดินเอาบุหรี่ และเงินทอน 80 บาท ไปให้พี่ชาย (ตอนนั้นบุหรี่สายฝน ซอง 20 บาท) พี่ชาย ยื่นเงิน 80 บาท
มาให้ผม  แล้วบอกให้ไปอ่านลีดส์เพลง ที่แขวนอยู่หลังฉากเวที
(พี่ชายเอาเงินให้ผม พี่ชายเคยเป็นทหารมาก่อน คงหยั่งรู้ถึงชีวิตของการเป็นทหาร ออกจากทหารเกณฑ์ ไม่มีเงินติดตัว)
ผมไปอ่านลีดส์เพลง ก็เดินกลับมาขอบคุณพี่ชาย ...
                                   
                              ผมได้เป็นโฆษก ผู้ประกาศเพลง ในคืนนั้น  และได้ร้องเพลง "ไกวเปล" ด้วยครับ...
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ สิงหาคม 26, 2015, 07:53:34 AM

(http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/0d7eb515c7211aa22e4ee81d0e85ddd2.jpg)

พูดถึงไกวเปล เปลก็มาเลยครับ

ไกวเปล - แก้ว สาริกา
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/017b47c98b3682233436a84475d3f7d8.swf

ลูกใครไม่รู้แหละ ผมชอบจัง
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 26, 2015, 08:00:40 AM
   
              : คำขอบคุณ ที่คนไทยพึงมีต่อกัน ที่ใช้กัน คงน้อยเกินไปสำหรับผมในคืนนั้น :

 :79: ก่อนที่ผมจะออกปรากฏตัว ก็ฉุกระหุกสิ้นดี ทั้งตื่นเต้น ทั้งดีใจ เสื้อนอกไม่มีใส่ รองเท้า กางเกง ดูอีรุงตุงนังไปหมด ก็ได้นั่นแหล่ะ พี่เบนซิน เขาเล่นตลกแต่งยังไงก็ได้ ก็เลยขอยืมเขา
   (นี่ถ้า ยอด ธงชัย - หมอเอื้อ อารีย์ มา ไอ้เราก็คงเป็นได้แค่ คนติดรถไปเที่ยว) ...
         หลังจากเลิกงานแสดง รถคณะดนตรี เดินทางกลับ มาถึงปั้มน้ำมัน แถว อำเภอ อินท์บุรี มีร้านข้าวต้มขายกันสว่าง
ปกติถ้าไปแสดงทางเหนือ ขากลับผ่านมาก็มักจะแวะกันประจำ จนรู้จักคุ้นเคยกันดี แต่ที่ยิ่งไปกว่านั้น เจ้าของปั้ม อดีตเคย
เรียนหนังสือมารุ่นๆเดียวกันกับพี่ชาย และเป็นเพื่อนสาวที่รู้ใจ คนหนึ่ง (แฮ่ม ๆ ๆ พี่ชายได้อ่านคงตาเหล่ ไอ้แก้ว เอากูเข้าแล้ว) ทานข้าวต้มกันไป รับค่าตัวกันไป "ภู่ ภิญโญ" เพื่อนนักร้องด้วยกันอีกคน เดินมาบอก ที่รถ (ผมนั่งอยู่บนรถ)
"แก้ว พี่ชายเรียก"  ผมเดินเข้าไปหา พี่ชายยื่นค่าตัวมาให้ ผมยกมือไหว้หยิบเงินใส่กระเป๋า โดยไม่นับ พี่ชาย ดูเหมือนจะตึงเบียร์ไปหน่อยๆ พี่ชายเอ่ยปากถาม หลังงานที่ลพบุรี (เมื่องานฤดูหนาว) พี่ชายให้ช่วยมาร้องเพลงทำไมไม่มา หวังที่จะเอาเพลง
"พ่อม่ายลูกติด" นำร่องละครเพลงสักหน่อย (ถึงกับเคยเอ่ยปากไม่ต้องให้มันมาอีก)    /
   ก็นานหลายเดือน ไอ้เรานึกว่าพี่ชายจะลืมไปแล้ว  ผมก็หัวเราะ ตอบ และเล่าให้พี่ชายฟัง ว่าหลังจากนั้น จริงๆแล้วผมก็มา
หวังจะไปกับพี่ชายตามที่รับปากนั่นแหละ แต่ออกจากค่ายทหารแต่งชุดทหาร นั่งรถเมล์เล็กจากค่าย มาถึงที่ท่ารถ บ.ข.ส ท่าโพธิ์
ในเมืองลพบุรี  ก็เปลี่ยนรถต่อจะไปสิงห์บุรี ขึ้นนั่งบนรถแล้วไม่ได้ใส่หมวก มีสารวัตรทหารมาขอตรวจ ขอดูใบลา ผมไม่มี เลยถูกสารวัตรนำตัวส่งกองร้อย โดน กล.4 ถูกขังเจ็ดวัน พี่ชายหัวเราะ  เอ้า...ก็แค่นั้น
                       
      นี่ผมจะ ย้อนอดีตเล่าเรื่อง "จุฬาทิพย์" หรือว่าจะมาสัมภาษณ์ประวัติ "แก้ว สาริกา"  ตามที่บอกไว้ก็ไม่รู้  อโหสินะ ...
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 26, 2015, 09:06:54 AM
 :teentob:: วันถัดๆมา หลังจากที่ขออนุญาตครู เข้าสู่ยุค วงดนตรี  "ชาย เมืองสิงห์" :

: สองวันที่ ปากน้ำโพ นครสวรรค์ "ชาย เมืองสิงห์" ออกรถใหม่ 2 คัน คันแรก เป็นรถเก๋ง สีเขียวเข้ม ยี่ห้อ"โฮลเด้น พรีเมี่ย" เป็นรถประจำตัว มีพี่ฉายเป็นคนขับ พี่ฉายเป็นญาติผู้พี่ ของ"แมน เนรมิตร" กับ "มรกต เมืองกาญจน์" คันที่สอง เป็นรถบัส ขนาดใหญ่ สีเขียวสด สำหรับใช้กับคณะ นักร้อง-นักดนตรี และโฆษก มีพี่น้อย เป็นคนขับ เด็กประจำรถ เรียกกันว่า เจ้าเป๊กโก้ รถบัสได้นำไปให้ช่างเขียน ที่ปากน้ำโพ เขียนชือ " ชาย เมืองสิงห์" ที่ข้างรถเป็นตัวหนังสือ สีเหลือง สวยงามทีเดียว
  "เรไร ณ.โคราช" กำลังดังเพลง"ไปดีมาดี" ช่วงนี้ "นิยม มารยาท"และ"แมน เนรมิตร" ก็มาร้องอยู่ด้วย 
 
ที่ปากน้ำโพ มีโรงภาพยนตร์ชั้นนำอยู่ สองโรง อยู่ติดตรงข้ามเยื้องๆกันเล็กน้อย มองเห็นกัน เรียกว่าเดินข้ามฝั่งถนนก็ถึง
ฝั่งถนนฝากตะวันตก โรงภาพยนตร์ "เฉลิมชาติ" ฝั่งถนนฝากตะวันออก โรงภาพยนต์ "ประชาบดี"
    วันแรก ชาย เมืองสิงห์ แสดงที่ "เฉลิมชาติ" ท่านครับ ทั้งรอบบ่าย และรอบค่ำ คนแน่นไปหมด ยังกับมีงานวัด
โดยเฉพาะ รอบค่ำ ไม่มีที่จะยืน พอดนตรีเล่นไปสักพัก พี่ชาย บอกให้ทางโรงหนังเปิดประตูด้านข้าง ทั้งหมด สงสารคนดูครับ
ร้อนสุดแสนจะร้อน เปิดประตู พออากาศถ่ายเท ก็ได้บรรเทาความร้อนลงได้เยอะ  ขณะนั้น ก็มีทางโรงหนัง "ประชาบดี"
มาติดต่อ ให้เปิดแสดงที่โรงหนังของตน จะวันไหนก็ได้ พี่ชาย บอกมีวันว่างพรุ่งนี้วันเดียว ทางโรงหนังก็บอก
จะงดฉายหนังให้หนึ่งวัน ที่แรกๆ ก็ยังลังเลอยู่บอกว่าจะมีคนดูเหรอ ก็คืนนี้เล่นนี่ แล้วพรุ่งนี้เล่นตรงนี้ "ทางโรงหนังบอกมี"

              ประจวบเหมาะ ที่จะต้องรอคอยรถใหญ่ ที่ให้ช่างกำลังเขียนหนังสืออยู่ยังไม่แล้วเสร็จ ก็ตกลงรับงานแสดง  
                       
                            คืนนั้น โฆษก( เอื้อ อารีย์ มาทำหน้าที่บนเวที) ก็ประกาศ พรุ่งนี้ "ชาย เมืองสิงห์"
                     
                                      จะทำการแสดง ที่โรงภาพยนต์ "ประชาบดี" สองรอบ บ่าย/ค่ำ  

หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ สิงหาคม 26, 2015, 10:12:03 AM
ไปเถิดนะพ่อไป ไปเพื่อคนไทยทั้งชาติ เราเป็นไทยมิใช่คนขลาด...............

ไปดีมาดี - เรไร ณ โคราช
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/177422fed53b3818013036270ea999c9.swf
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 26, 2015, 11:09:32 AM
 :teentob:: รุ่งขึ้นของวันใหม่ "โรงภาพยนต์ประชาบดี"

     : ตามที่ประกาศ ดนตรีจะเริ่มการแสดง บ่ายโมงตรง  เวลา เพิ่งจะ 10 โมงเช้ากว่า ๆ ผู้คนก็เริ่มทะยอยกันมาจองบัตร
กันแล้ว  แต่ส่วนใหญ่ จะมาขอจองรอบค่ำ ปรากฎว่า รอบบ่าย คนน้อยบางตา พี่ชายก็พูดแบบบ่นนิดหน่อย "ว่าแล้ว"
     พอตกเย็น ยังไม่ทันจะมืด ผู้คนไม่รู้มาจากไหน ลานตาไปหมด คล้ายๆ กันกับที่โรงหนัง เฉลิมชาติ ไม่ผิดเพี้ยน ในโรงภาพยนตร์ แน่นขนัดเต็มทุกที่นั่ง แม้แต่เก้าอี้เสริมก็ยังไม่เพียงพอ สุดท้ายต้องสั่งเปิดประตูด้านข้างทั้งหมด ไม่งั้นร้อนตาย 

พัดลมในโรงภาพยนตร์ เท่าที่มีอยู่ก็คงไม่พอ นับว่าเป็นคืนแห่งความทรงจำของพวกเราทุกคน ที่อยู่ร่วมวงกัน ในช่วงยุคหนึ่ง
ของ  วงดนตรีลูกทุ่งขนานแท้พันเปอร์เซ็น " ชาย เมืองสิงห์ " คืนนั้นก็นอน กันที่โรงแรม แห่งหนึ่ง ใกล้ ๆ โรงภาพยนตร์นั่นแหล่ะ รถที่นำไปให้ช่างเขียนข้างรถ ก็เสร็จสมบูรณ์ สวยงาม ตามเจตนารมย์ ของคนออกแบบดีไซด์ จะใครเสียอีก ก็ ชาย เมืองสิงห์ นั่นเอง เรื่องออกแบบ เขียนแบบ พี่ชายก็นับว่าฝีมือเป็นเลิศ ไม่แพ้งานร้องเพลง (ศิษย์ วิทยาลัยเพาะช่าง ลูกท่านพ่อพิฆเนศร์)
    เช้าของวันรุ่งขึ้น ชาวคณะต้องเดินทาง ไปแสดงต่อ ที่ ตาคลี จ.นครสวรรค์ ผมจำไม่ได้ ว่าชื่อโรงภาพยนตร์อะไร
    อ๋อ ๆ ๆ จำได้แล้ว ชื่อโรงภาพยนตร์ "รุ่งนภา" อยู่ในตลาดตาคลี คนสวยๆเยอะ 55555 ผมชอบ ...

รอบบ่าย คนมีไม่มากนัก ส่วนมาก ก็จะเป็น แม่ยก ลูกยก เป็นส่วนใหญ่  พอรอบค่ำ คนก็เต็มทุกที่นั่ง ดูเหมือนว่าจะมากกว่าที่ ปากน้ำโพ เสียอีก อีกสิ่งหนึ่งต้องจดจำ มีแฟนเพลงได้มอบพวงมาลัย ให้พี่ชายมากจนต้อง ขออนุญาต แฟนเพลงถอดมาลัยออกจากคอ กี่รอบไม่รู้ต่อกี่รอบ แต่มีพิเศษ อยู่พวงหนึ่ง เป็นพวงมาลัยดอกดาวเรืองล้วนๆเหลืองอร่าม ขนาดยาวมากนับเป็นสิบเมตร
ใช้คนถือนำมาคล้องถึงสามคน ตอนคล้องคอให้พี่ชาย ใช้วนคอไม่รู้กี่รอบ จนพี่ชายต้องขออนุญาตแฟนเพลงอีกครั้ง  แล้วถอด พวงมาลัยออก พูดกล่าว ขอบคุณ แฟนเพลงอยู่นานพอสมควร แต่ผมจำได้เพียง ประโยคสั้นๆ  "หากแม้นว่า หัวใจน้อยๆ
ของ ชาย เมืองสิงห์ ถอดได้ดั่งใจ ก็จะขอถอดร้อยเป็นพวงมาลัย คล้องไว้ที่หัวใจ ของแฟนเพลง คนละพวง คนละพวง
หวังว่าคงไม่ลืม  ชาย เมืองสิงห์ ตลอดชาตินี้ และก็ชาติหน้า" 
                                                         
                                                        เสียงปรบมือจากผู้ชม ดังกราวใหญ่...
                                                 
                                                  เสียงดนตรี ก็เริ่มดังขึ้น ด้วย เพลงนี้ครับ " มาลัยดอกรัก "
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ สิงหาคม 26, 2015, 11:34:39 AM
หอมมาลัยที่ชายรับมาจากเข้า รับมาจากสาว...........

(http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/4aedce9ba72ceb1086b8d31200a61f97.jpg)

มาลัยดอกรัก - ชาย เมืองสิงห์

http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/5eef9ad93298fc6736e2e50f99856478.swf
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สายัณห์ ที่ สิงหาคม 26, 2015, 12:55:49 PM
สองแรงแข็งขันสองหนุ่มสองวัย คนหนึ่งเล่า คนหนึ่งทำเพลงประกอบ เป็นการเล่าที่สมบูรณ์จริงๆ ชอบใจมากๆครับ
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 26, 2015, 01:08:38 PM
สองแรงแข็งขันสองหนุ่มสองวัย คนหนึ่งเล่า คนหนึ่งทำเพลงประกอบ เป็นการเล่าที่สมบูรณ์จริงๆ ชอบใจมากๆครับ

       :teentob:  : คนเล่าอยู่อ่างทอง  คนวางของอยู่กรุงเทพฯ  คนเสพอยู่เมืองชล  คนนั่งบ่นอยู่สงขลา : 555
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 26, 2015, 08:30:17 PM
    :79: พวกเรา เคยมาแสดงที่ตาคลี นี่หลายครั้ง และก็อีกหลายๆครั้ง ไม่เคยมีครั้งใดประทับใจเท่าครั้งนี้ 
นักร้อง ชาย-หญิง โฆษก ตลก นักดนตรี ได้พวงมาลัย กันถ้วนทั่วทุกคน ผมยังนึกย้อนไปถึงแต่ครั้งในอดีต ที่เคยมาครั้งก่อน ๆ 
คนดูแทบจะนับคนได้ ก็มีแต่ แม่ยก-ลูกยก ที่ยังเป็นกำลังใจที่ดีต่อกันตลอดมาทุกยุค ทุกสมัย
     จนครั้งหนึ่ง ครูฉลอง วุฒิวัย ได้เคยประพันธ์บทเพลง ขึ้นมาชุดหนึ่ง โดย ชื่นชมความดี และความงาม ของ คุณๆ เธอๆ
เหล่านี้ไว้ เป็นบทเพลงที่สะท้อนให้เห็นว่า เธอผู้เป็นสาวผีเสื้อราตรี ก็เป็นบุคคลที่เหมือนกับคนอื่นๆ และได้อยู่ร่วมสังคมกับเขาได้ โดยไม่เคยคิดที่จะเบียดบัง หรือ เบียดเบียนใคร มีแต่จะให้ความสุข ที่ดำรงค์ไว้ด้วยซึ่งความดีงาม ...
                                             
                                ด้วยคุณ ค่า ของเพลง  "พาร์ทเนอร์ที่รัก"  ชาย เมืองสิงห์  ขับร้อง   
                                     และ อีกเพลง "อกพาร์ทเนอร์"  ดวงใจ เมืองสิงห์  ขับร้อง
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: ชัยยุทธ ที่ สิงหาคม 27, 2015, 08:10:40 AM
วันที่แสดงที่โรงหนังเฉลิมชาติผมไเข้าไปดูด้วย แต่กว่าจะได้ดูต้องเก็บเงินไว้เป็นดือนในสมัยนั้น แตวันนั้นคุ้มค่ามาก คนเยอะจริงๆและ ชาย เมืองสิงห์ก็เล่นได้สะใจจริงๆตรับ
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ สิงหาคม 27, 2015, 10:28:03 AM
บรรยากาศดีๆ ฟังเพลงกันหน่อยครับ

พาทเนอร์ที่รัก - ชาย เมืองสิงห์
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/874121c4fd751cceb708e2194bc61d41.swf

อกพาร์ทเนอร์ - ดวงใจ เมืองสิงห์
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/54fa7e75ae1f47ea8ecaf7d22992de10.swf

หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 27, 2015, 11:10:44 AM
 :13 :13:  ผมอยากจะบอกว่า ช่วง ปี 2514-2515  ตลอดเส้นทางจาก อยุธยา วังน้อย ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท อุทัยธานี นครสวรรค์ ไปจนถึง เขต ภาคเหนือ "ชาย เมืองสิงห์" ดังมากที่สุด แม้แต่พื้นที่ในเขต รอบนอก จ.นครสวรรค์ พยุหะคีรี ท่าตะโก หนองโพธิ์ ชุมแสง ยันไปถึง จ.กำแพงเพชร
    ผมเคย แวะเวียนไปนอนแถวถิ่นนั้นบ่อยๆ  ภรรยาของ พี่ พล พรภักดี  บ้านแกอยู่ใกล้ กับ  วัดเกาะหงษ์   ใต้สะพานเดชาลงมาหน่อย พวกเรา (ผมหมายถึงชาวคณะ) เคยไปแสดง ที่วัดอยู่ บนภูเขา จ. นครสวรรค์ แต่ ผมจำชื่อ วัดไม่ได้ จะเป็น วัดเขากบ หรือไรเนี่ยะแหล่ะ ทางตัดเป็นเขาขาด เส้นทางออกสู่ จ. กำแพงเพชร สมัยก่อนผมยังไปกราบพระสงฆ์รูปหนึ่งเลย ท่านเป็นพระให้เลขเด็ดด้วย แม่นไม่แม่นไม่รู้ ผมจำได้จริงๆ ท่านให้เลข 302 ปกติผมก็ไม่เคยซื้อหรอกล๊อตเตอรี่ อะไรนั่นน่ะ
   วันถัดมา ผมก็ลองซื้อดู ตอนนั้น ล๊อตเตอรี่ ขายเป็นใบ ๆ ใบละ 10 บาท วันหวยออก
                           
                               ผมถูกเลขท้าย 3 ตัว  302 ออกจริงๆ ไปรับเงินได้มา 500 บาท ครับ..
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 27, 2015, 11:43:18 AM
 :80 :80 : วันและเวลา ที่ได้ผ่านล่วงเลยมา จากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็นปี จากปี เป็นสิบปี :

 และนี่อายุ อานามของผม ก็เลยกึ่งหนึ่งของศตวรรตเข้าไปแล้ว ด้วยกาลเวลาที่นาน และยาวไกล ทำให้ผมพลั้งเผลอ ลืมขั้นตอน ของแต่ละช่วงไป บางครั้งเวลาเข้าห้องอาบน้ำ มโนภาพต่างๆ ก็จะเข้ามาในจิตต์ใต้สำนึก ให้หวนนึกไปถึงอดีตที่ผ่านมา แล้วก็คิดว่าไอ้ตรงนี้น่าจะเขียนบอกเล่า ไอ้ตรงนี้มันอันตรายต่อสังคม ไม่เอา ไม่เล่า ไม่เขียน แต่เรื่องราวน่ะจำได้แน่นอน ครับ
ถ้าเราอยู่ในเหตุการณ์ นั้นๆ
   มีเหตุครั้งสำคัญๆ ที่น่าจะนำมาเล่าสู่กันฟัง ให้คนที่รัก และชื่นชอบในบทเพลงลูกทุ่งได้รู้กัน ในอีกหลายแง่หลายมุม อาจจะเป็นในเรื่อง ของวงดนตรีลูกทุ่ง หรือ เพื่อนๆนักร้องร่วมวงการเดียวกัน
   อย่างเรื่องนี้ครับ เมื่อ ต้นๆปีของ ปี พ.ศ. 2510 ตอนนั้นวงดนตรี "จุฬาทิพย์" ยังก่อตั้งได้ไม่นานเท่าไหร่ พี่ชาย ได้มีโอกาส นำวงไปแสดงที่งาน วัดบางระกำ อ. บางระกำ จ. พิษณุโลก เป็นงานวัดที่จัดกันแบบโดยทั่วไปในสมัยนั้น  มีงาน 5 วัน 5 คืน
มีวงดนตรีลูกทุ่ง  2 คณะ ไม่ได้ประชันกันนะครับอย่าเข้าใจผิด แสดงสลับกัน คืนละคณะ ระหว่าง วงดนตรี "จุฬาทิพย์"
 ของ "ชาย เมืองสิงห์" กับ วงดนตรี "ยงยุทธ เชี่ยวชาญชัย"   (เป็นที่รู้ในวงการลูกทุ่ง ว่า พี่ชาย เมืองสิงห์ กับ พี่ยงยุทธ เชี่ยวชาญชัย เขาเป็นเพื่อนกันมาก่อนที่จะเข้าวงการเพลง อาศัยอยู่ วัดเดียวกัน แถวๆตลาดพลู ) กลางวันก็มีเทศน์มหาชาติ มีพระ-เณร นักแหล่ มากัน พระ 2 องค์ สามเณร 1 องค์ เป็นที่นิยมกันมาก สำหรับ "ชาวเมืองพิษณุโลก" สามเณร แหล่เสียงใสแจ๋ว
                                       
                                                       ชื่อ สามเณร "สมบูรณ์ ดาวชาดก"
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ สิงหาคม 27, 2015, 12:00:31 PM
 :90 :90 เฌรนักเทศน์คนดังมาแล้ว
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 27, 2015, 02:09:11 PM
 :teentob:: ทางวัด ก็จัดให้นักร้อง นักดนตรีพักกันอยู่ ในเขตบริเวณวัด บนกุฏิบ้าง ที่ศาลาบ้าง บังเอิญ ผมไปพัก
และนอนห้องเดียวกันกับใครบ้างคน พร้อมเพื่อนนักร้องชายอีกหนึ่งคน เป็นนักร้อง อยู่ วงดนตรี ยงยุทธ เชี่ยวชาญชัย
ตอนนั้น ยังเป็นนักร้องเด็กๆ กันอยู่เลย ไม่รู้จักกัน วงจุฬาทิพย์ 2 คืน วงยงยุทธ 3 คืน สลับกัน ผมกับเพื่อนร่วมกุฏินอน ก็ได้คุยกัน ได้รู้จักกัน แต่ไม่รู้ชื่อ
   จนกระทั่งคืนที่ วงยงยุทธ แสดง ผมก็ไปยืนดู โฆษกหน้าเวที ประกาศว่า ต่อไปนี้ ท่านจะได้พบกับนักร้องดาวเสียง
ซึ่งจะเป็นคู่แข่ง ของ ชาย เมืองสิงห์ ในวันข้างหน้า เชิญ พบกับ ลูกหลานของท่านชาวเหนือ โดยกำเนิด   
ร้องเพลง "จ๊ะเอ๋"  พอแกออกมาร้องเพลง แกก็ร้องไปเต้นไป (เต้นแบบจังหวะม้าย่อง ลองนึกภาพดูนะครับ) ร้องเสียงก็เหมือน 
ชาย เมืองสิงห์ เสียด้วย ฮ่ะฮ้า.. โอ๊ะ สนุก ผมดูไปยิ้มไป เอ้า ๆ ๆ ..นี่มันเพื่อนนอนกุฏิเดียวกัน นี่หว่า...หากผมรู้หรือทายอนาคตได้
ว่าท่านผู้นี้ จะกลับกลาย มาเป็น นายห้าง และผู้กว้างขวาง ในระดับเจ้าพ่อวงการลูกทุ่งเมืองไทยแล้วละก้อ
ผมเกาะติดก้นแจ ไม่ยอมปล่อยให้หลุดมือไปหร๊อก เดินตามแจเลยแหล่ะ หิ้วกระเป๋า ถือเสื้อนอก ขัดรองเท้า ให้ด้วย.. ซิเอ้า
               
                                                      จริงๆ นะ   พี่ "มนต์" (มนต์ เมืองเหนือ) ... 
 
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: ยุทธชาติ เกรียงไกร ที่ สิงหาคม 27, 2015, 06:59:35 PM
ความจริงผมอ่านยังไม่จบ จะมารีบมาอ่านต่อแน่นอน ด้วยภารกิจที่มากมายเหลือเกิน แต่นาทีนี้ขอชื่นชมกระทู้นี้ด้วยความจริงใจ
ผมสารภาพว่าผมเล่นเว็บเพลงเก่ามาจนถึงทำเว็บ"บ้านเพลงไทย"เอง ผมถือว่ากระทู้นี้เป็นกระทู้ที่มีคุณค่าต่อวงการเพลงลูกทุ่งมากที่สุด
กราบขอบพระคุณอาจารย์แก้ว สาริกา,ลุงสมภพและผู้เกี่ยวข้องทุกท่านที่ทำให้เกิดกระทู้นี้ครับ
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 28, 2015, 08:40:16 AM
 :42 : ความว่างเปล่า ความหว้าเหว่ ชีวิตที่ขาดเพื่อน จึงทำให้เราอยู่อย่างเดียวดาย จะด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม เมื่อคืนอยากที่จะนอนแต่หัวค่ำสักคืน ก่อนจะปิดเครื่อง ก็ลองแวะเข้าไปเปิดกระทู้ "บ้านเพลงไทย" สักหน่อยก่อน ก็เหลือบไปเห็น ข้อความที่ "บอสใหญ่" ได้แสดงไว้ อ่านวนไป วนมา อยู่ 2-3 เที่ยว เอ๊ะ!.. กระทู้ที่เรากำลังเขียนอยู่ มีความหมายมากกระนั้นเชียวหรือ ท่านจึงให้ความสนใจ สละเวลาที่จะมานั่งอ่าน ครั้งแรกผมเพียงแต่หวังว่า อยากให้ท่านที่เข้ามาพบมาอ่าน ได้รู้เรื่องราวข้อมูลที่ไม่มีใครบันทึกไว้ แม้แต่ตัวผมเอง เขียนจากความจำล้วนๆ : ก็จะบอกว่า ขอบคุณท่านมากจริงๆครับ
                                                   
                                                         ท่าน "ยุทธชาติ เกรียงไกร" ...
     
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 28, 2015, 09:09:46 AM
 :teentob: : ในเขตพื้นที่ จังหวัด อุทัยธานี วงดนตรี "จุฬาทิพย์" ก็เดินทาง ไปแสดงมาไม่ใช่น้อย  อ.เมือง บ้านไร่ หนองขาหย่าง ทับทัน หนองฉาง ไปมาหมด เมื่อก่อนจะไปแสดงแถบ จังหวัดอุทัยธานี ค่อนข้างจะลำบากสักหน่อย ต้องเอารถบัส นักร้อง -
นักดนตรี ไปลงเรือข้ามโป๊ะ ที่ อ.มโนรมย์ จังหวัด ชัยนาท แล้วนั่งเรือโยงข้ามฝาก ไปขึ้นที่ฝั่ง อำเภอ วัดสิงห์
ถึงจะเดินทางต่อไปได้ แต่ก็เพลินดีนะ เพราะต้องใช้เวลาอยู่ในเรือ นานนับชั่วโมง ได้เห็นวิถีชีวิต ของชาวบ้านในระแวกนั้น ปลูกส้มโอริมตลิ่ง ตามคลองร่องริมแม่น้ำ เกษตรกร เลี้ยงปลากระชัง ได้ดูได้เห็นแล้วก็เพลิดเพลินไปกับธรรมชาติ ซึ่งมันเป็นกลิ่นไอ ของชนบทแท้ๆ  (ตอนนี้คงจะหาได้ยากแล้วล่ะครับ)
    พอขึ้นฝั่งก็เดินทางต่อ ไปที่จังหวัดอุทัยได้ แต่กว่าจะดั้นด้นไปถึง ที่หนองฉางงี้ ที่บ้านไร่งี้ ที่ทับทันงี้  ตอนขาเดินทาง สองข้างทางมีแต่ก่อไผ่ป่าเต็มไปหมด ขณะรถวิ่ง ฝุ่นงี้ ตะลบอบอวน ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการ ปิดกระจกหน้าต่างรถกันหมด เท่านั้นแหล่ะครับ แป๊บเดียว ในรถมีแต่ขี้ฝุ่นเต็มไปหมด  นักร้อง ชาย-นักดนตรี  ปีนขึ้นหลังคารถนั่งกันเป็นแถว  นักร้องหญิง ขึ้นไม่ได้
คนไทยธรรมเนียมโบร่ำโบราณเขาถือกัน พอไปถึงงานวัด หรือสถานที่งานแสดง ฮา..กันไม่จืด เหมือนฝรั่งตกขี้เถ้ายังไงยังงั้นเชียว มองหน้าจำกันไม่ได้ และน้ำล่ะจะหาที่อาบชำระล้างก็แสนจะยากนะในสมัยนั้นน่ะ แต่ก็มีชาวบ้านใจดี บ้างก็ไปตักน้ำมาให้ พวกเราก็ช่วยกัน สนุกไปอีกแบบ น้ำที่ได้มารู้ไหมครับ ได้จากบ่อน้ำ หรือเรียกกันว่าสระน้ำ และก็บ่อโพรง (บ่อโยก) ที่ชาวบ้านเขาได้ขุดกักเก็บน้ำไว้กิน ไว้ใช้ 
                                                                                 
                               นี่แหล่ะ  น้ำใจของคนไทยเรา "ชาวบ้านนอก"  จังหวัดอุทัยธานี
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 28, 2015, 09:32:48 AM
 :80 :80: ผมยังนำพาท่านทัวร์ท่องเที่ยว ย้อนอดีต ไปกับ วงดนตรี "ชาย เมืองสิงห์" "ป้วนเปี้ยน อยู่ใกล้ๆรอยเชื่อมต่อ ระหว่าง ภาคกลาง - ภาคเหนือตอนบล่างอยู่ จึงจะขอย้อนอดีตไปยัง จังหวัดพิษณุโลกอีกสักครั้ง ความจริงผมไม่ได้ลืม ความทรงจำตรงนี้เลย แม้แต่สักนิดเดียว แต่ทว่าหากผมเล่าย้อนไปถึงแล้ว เกรงว่าท่านจะว่า ผมเพ้อฝัน หรือเพ้อเจ้อ หรือไม่ก็อาจจะคิดว่าผมปั้นเรื่องมดเท็จ นำมาเล่าให้ท่านฟัง แต่ผมจะบอกกับท่านว่าผมคิดแล้วคิดอีก จึงตัดสินใจว่าเล่าเถอะ เล่าสู่กันฟัง คงไม่เป็นไร ใครเขาคิดว่าเราโกหก ก็คงไม่เป็นไรอีกนั่นแหล่ะ เพราะเราเองก็ไม่ได้อะไร เพียงแต่อาจจะเสียความมั่นใจไปบ้าง
   คราวที่ "ชาย เมืองสิงห์" ไปแสดงที่ ในเขตอำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย เป็นรอยเชื่อมต่อ
ระหว่าง อ. กงไกรลาศ กับ จ. พิษณุโลก ผมจำชื่อวัดไม่ได้ แต่ที่วัดดังกล่าวนี้นะครับ พี่ชาย รับที่จะหารายได้ มาสร้างอุโบสถให้แล้วเสร็จเสียที เพราะสร้างค้างคามานานแล้ว ย่อมเป็นไปไม่ได้ถ้าจะหาเงินเพียงคืนเดียวได้พอกับการสร้างโบสถ์สักหลัง เอาล่ะครับเรื่องนี้ขอผ่านไป เพราะต่อมา พี่ชาย ก็ได้หาเงินสร้างจนสำเร็จ เรื่องที่ผมจะกล่าวถึงก็คือ หลังจากที่พวกเราเลิกการแสดงในคืนนั้นแล้ว เก็บข้าวเก็บของเดินทางออกจากสถานที่วัดราวๆตีหนึ่งกว่าๆ เดินทางเข้าสู่ตัวเมือง หวังจะมานอนที่พิษณุโลก เพราะมีงานต่อที่ อำเภอวังทอง 
     ในสมัยนั้นถนนหนทางก็เป็นทางสองเลนไม่กว้างขวางนัก สองฟากทางที่ห่างจากถนนจะเป็นดงกอไผ่ตลอดเส้นทาง ระหว่าง แนวถนนกับดงไผ่ ทั้งสองฟาก ชาวบ้านก็จะทำไร่แตงโม นักร้องนักดนตรี ก็นอนหลับกันมาในรถ  มาสะดุ้งตื่น เกือบจะพร้อมกัน เมื่อรถได้จอดสนิทนิ่งอยู่กับที เสียงพี่น้อยโชเฟอร์คนขับรถ ปลุกทุกคนให้ตื่นขึ้น
      แล้วบอกให้ทุกคนลงจากรถยามดึกสงัด บอกพวกเราให้ได้ดู งูครับ งูหลาม ตัวใหญ่มาก ๆ นอนขวางถนนอยู่ ...
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ สิงหาคม 28, 2015, 10:02:28 AM
อยากจะรักอยากจะหลงแม่สาวสักคน แต่ว่าพี่มันจนกลัวหน้ามนน้องจะไม่แล

บ้านนอกบอกรัก - ชาย เมืองสิงห์ คำร้อง - เอื้อ อารีย์ เสียงปี่พาทย์ "โชคดี พักภู่" เสียงแซคต์อัลโต้ "ณรงค์ มะกล่ำ"  สโลว์ ทำนองเพลง ไทยเดิม ชื่อ "ลาวแพน" .. ผมไม่ได้รู้เองนะ พี่แก้วบอกมา  :tab_off:

http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/c379515acb26482b3771ccd4416d5b62.swf

หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 28, 2015, 09:58:49 PM
 :teentob: : ในชีวิตผม อยู่บ้านนอกจนเคยชินกับท้องทุ่ง พบเห็นงู จับงู มาก็เยอะแต่ไม่เคยฆ่างู งูเหลือม จะพบเจอบ่อยกว่า งูหลาม ใหญ่-เล็ก เจอมาไม่รู้เท่าไหร่ แต่เจ้าตัวนี้ ใหญ่จริงๆครับ เด็กรถวิ่งขึ้นไปเอากระสอบป่าน มาหวังจะลองเอาหัวงูตัวดังกล่าวใส่ดู ยกไม่ไหว ใส่ไม่ได้ หัวใหญ่กว่ากระสอบป่าน หัวไปอยู่ยังถนนอีกฝั่ง แต่หางยังอยู่ถนนอีกฟากหนึ่งเลย ลำตัวใหญ่ เท่าๆฝาไม้กระดานที่ปูพื้นเรือนสมัยเก่า เลื้อยคลาน ไปได้ที่ละนิด ที่ละนิดเท่านั้น ใช้ไฟรถ และไฟฉายที่มีอยู่ ส่องตลอดลำตัว จะว่ากินอะไรเข้าไป ก็ไม่พบว่าจะมีสิ่งผิดปกติ ถ้าหากงูได้กินอะไรใหญ่ๆ เข้าไป เช่น แมว สุนัข หรือ สัตว์อะไรก็ได้ที่ใหญ่กว่านั้น ก็จะมองเห็นได้ชัด คือจะป่องกลางที่ลำตัว หรือถ้าขยอกกลืนเข้าไปใหม่ๆ ก็จะคาอยู่แถบแถวกระพุ้งแก้มลำคอของงู หรืออีกอย่างถ้าได้กินสัตว์จนอิ่ม ก็จะนอนนิ่งอยู่กับที่ในที่ ที่ลับตาผู้คน ไม่มีสิ่งกวนใจ แต่นี่มาเลื้อยคลานอยู่กลางถนน พี่ "นิยม มารยาท" แกบอกกับทุกคนอย่าไปทำอะไรเขานะให้ดูเฉื่อยๆ เดี๋ยวเขาก็ไปเอง ขอให้เชื่อผม นี่เป็นคำพูดของพี่ "นิยม มารยาท" แล้วบอก "แก้ว" ไปหาธูปมาให้พี่
16 ดอก ปกติเราก็จะมีธูปประจำกันอยู่แล้ว เพราะใช้ไหว้ ครูอาจารย์ ก่อนการแสดงทุกครั้ง พอได้ธูปมา พี่นิยมก็จุดธูป บอกเล่า พึมพัม ตามแต่เรื่องของแกเป็นการบอกเล่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แล้วปักธูปไปยังพื้นดิน จนท้องฟ้าเริ่มสาง
เห็นบรรยากาศรำไร รำไร ชาวบ้านระแวกใกล้เคียง เริ่มออกไปทำไร่ทำนา มีรถที่กำลังจะวิ่งไปไหนต่อไหน ก็จอดนิ่งสงบดูกันอยู่ พอควร สมัยนั้น รถก็มีไม่มาก
ยิ่งกลางคืนแล้ว จะหาสักคันก็แสนจะยาก ผู้เฒ่าผู้แก่ ชาวบ้านก็เริ่มมามุงดูกันเยอะขึ้นเรื่อยๆ บ้างก็ยกมือท่วมหัว สาธุไหว้สากัน แม้แต่ผมก็ไหว้กับเขาด้วย เพราะโดยส่วนตัวแล้ว ถือเรื่องโชคลางมากอยู่เหมือนกัน ที่นี้พองู เลื้อยผ่านลงจากถนน ลงดินไปได้เท่านั้นแหล่ะ เลื้อยปราด ปราด เร็วมากขึ้น ไร่แตงโม ราบไปเลยก็แล้วกัน พวกเราชาวคณะดนตรี ก็เดินทางต่อ ผ่านค่ายทหาร
"ค่ายสมเด็จพระนเรศวร" และเข้าไปพัก ในตัวเมือง พิษณุโลก  
                                                                                   
                                                                          จึงนำมาเล่าสู่กันฟังครับ ...
   
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 29, 2015, 04:33:15 PM
 :42 :42 : ก่อนที่กระผมจะเขียน ย้อนอดึตเรื่องราว ของ วงดนตรี "จุฬาทิพย์" ของ "ชาย เมืองสิงห์" :

ต่อไปอีกสักหน่อย ยังเดาใจท่านไม่ถูก ว่าจะอ่านต่อ หรือเบื่อแล้ว  กระผมก็พยายาม ที่จะติดตามเพื่อนๆ เพื่อนำมาปะติดปะต่อ ให้เรื่อง ที่จะถ่ายทอดออกไปให้ได้สิ่งที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น จากเพื่อน ร่วม ชายคา "จุฬาทิพย์" มาด้วยกัน ที่ยากสักหน่อย ก็ด้วย อายุไข วัยและสังขาร ที่ร่วงโรยไปตามกาล และเวลา ที่อาศัยอยู่ในโลกใบนี้มายาวนาน  ลูกศิษย์ ของ "จุฬาทิพย์" นั้นมีไม่มาก แต่หากว่าถ้าได้รวม จาก "หลังเขาประยุกต์ / จุฬาทิพย์ / พ่อหม้ายพัฒนา / ลูกทุ่งขนานแท้ 1000 เปอร์เซ็น ชาย เมืองสิงห์ /
ลูกทุ่งพันทาง ชาย เมืองสิงห์ /  รวมกันแล้ว มีไม่ไช่น้อยเลยทีเดียว...
       จากรุ่น สู่รุ่น และอีก หลายๆ รุ่น ท่านคงได้รับรู้ บ้างแล้ว จาก บทความที่ได้เรียบเรียงมาตั้งแต่ต้น ... 
วงดนตรีฉบับกระเป๋า "หลังเขาประยุกต์ จนมาถึงเปิดกรุ "จุฬาทิพย์" ช่วงแรก ๆ ทั้งชื่อ นักร้อง นักดนตรี และโฆษก-ดาวตลก  ขอเรียนท่านว่า ผมได้พบ นักร้องรุ่นน้อง ซึ่งเป็นตัวละครอันสำคัญ ในชุดละครเพลง "อนุทินชีวิตรักสลายของ ชาย เมืองสิงห์" แต่ด้วยยังไม่สะดวกในการเดินทางไปพบ จึงเรียนกับท่านว่า ขอเวลาอีกสักนิดนะครับ คงไม่นานนัก   เจ้าของ เสียงเพลง " ลูกไม่มีแม่ "
(น้ำหยดทีละน้อย น้ำย้อยทีละหยด จะไหลมากหรือไหลน้อย ไหลบ่อยๆ เดี๋ยวมันก็หมด วันหนึ่งกว่าเขาจะรู้ว่าเรานั้นมีค่า ก็ต่อเมื่อน้ำตาเขาหยด เมื่อเราเกิดมาเป็นลูกผู้ชาย จะร้องไห้ไปทำไม ร้องบ่อยๆ คนเขาจะหาว่า "เจ้าน้ำตา" รู้ไหม เจ้าจงเก็บน้ำตาหยดสุดท้ายเอาไว้ให้กับตนเอง ตอนที่ไม่มีปัญญา จะหาเลี้ยงตัวเอง ให้รอดเสียก่อน เถิดลูกรัก)               
เป็นบทความคำพูด ที่ ชาย เมืองสิงห์  ได้สร้าง หยาดรอยน้ำตา ไว้บนใบหน้าของท่านผู้ชม ยากที่จะรู้ลืม                                                                                                                             

                                            ผู้แสดงตัวลูก อย่าง "บุญมั่น ขวัญยืน"
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 29, 2015, 04:50:59 PM
 :teentob: : กระผมเอง อยากจะขอเรียนเชิญท่านที่เคารพ มาฟื้นฟูความจำกันกับ "แก้ว สาริกา" ย้อนรอยอดีต นับจากอดีตที่ผ่านมา แสนที่จะยาวนานแสน...นาน มาช่วยกันต่อเติมเสริมสร้าง ให้กับชนรุ่นหลัง ที่สนใจได้รับรู้กับเรื่องเก่าๆ สิ่งเก่าๆ ที่เกิดขึ้น
โดยเฉพาะ นิยาม กับคำว่า "เพลงลูกทุ่ง"  เสียก่อน ก่อนที่ผมจะเขียน ย้อนรอยอดีตเรื่องราว "จุฬาทิพย์" วงดนตรีลูกทุ่งที่โดดเด่น และโด่งดัง มา สามยุค สามสมัย    
ผมพยายามนึก และทบทวนถึงเหตุการณ์ วันและเวลา ที่ล่วงเลยมาสุดแสนจะยาวไกล จากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็นปี
จากปีเป็นสิบปี และจนถึงปัจจุบันกว่าหกสิบปีแล้ว ที่ผมได้สัมผัส ยืนอยู่บนโลกใบนี้ ถึงแม้จะรู้ได้ว่ามันช่างแสนยุ่งเหยิงสับสน
แต่ก็ยังอยากที่จะอยู่ดูไปเรื่อยๆ แต่นี่ก็เต้มที แหล่ะ กะว่าครบ 108 ปี เมื่อไหร่ ก็จะลาแล้ว ค ร๊ า บ  :yuri1:...
   จากยุคหนึ่ง มาสู่อีกยุคหนึ่ง และอีกหลายๆยุคต่อมา วงการเพลงลูกทุ่งได้เปลี่ยนแปลงสถานะภาพไปมาก จนเกือบจะลืมไปว่า
เอ..นี่เราอดีตก็เป็นนักร้องลูกทุ่งกับเขาเหมือนกันนะเนี้ยะ  แต่ก็ได้แต่มองดูอยู่ห่างๆ  เห็นเพื่อนๆ หลายคนได้ดิบได้ดี บ้างเป็นนายทุน บ้างเป็นนายห้าง บ้างเป็นนักจัดรายการ ทั้งวิทยุ-โทรทัศน์โด่งดัง บางคนก็เป็นนักแต่งนักประพันธ์เพลง คนก็นิยมยกย่องเรียกขานว่าท่านเป็นครูเพลง ไอ้บ้างก็เลี้ยงลูกเลี้ยงหลานอยู่กับบ้าน ไปไหนไม่ไหวแล้ว ที่เห็นดีก็มีอยู่หลายท่าน ได้อาศัยพึ่งใบบุญอยู่ภายใต้ร่มเงาของพระศาสนา อยู่ภายใต้ร่มผ้ากาสาวพัสตร์ ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นธงชัยของพระอรหันต์ทุกพระองค์ บวชจำพรรษาอยู่ในสมณเพศ จนได้เป็น ท่านเจ้าคณะตำบล เป็นพระอุปัฌชาย์จารย์ ก็หลายท่าน
   และ หรืออีกหลายคน ขี้เกียจอยู่ดูโลกอันแสนจะสับสนวุ่นวายของบนโลกใบนี้ ลาโลกขี้เกียจหายใจ เสียชีวิตไปเสียก็มาก
           
          ผมจึงเรียนกับท่านว่ามาเถอะครับ มีเรื่องที่ อีกหลายๆแง่มุม ที่ยังไม่รู้ และเรื่องราวอีกมากมาย ที่อยากจะรู้

			
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ สิงหาคม 29, 2015, 06:32:04 PM
 พี่แก้วกลับาต่อกระทู้แล้ว หลังจากไปเที่ยวสารทจีนมาหนึ่งวัน :52 :52
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 30, 2015, 08:23:33 AM
 :42    : หากจะย้อนรอยอดีต ไปเมื่อครั้งแต่ก่อน ปี 2507  คำว่า "เพลงลูกกรุง" "เพลงลูกทุ่ง, นักร้องลูกทุ่ง, นักร้องลูกกรุง, วงดนตรีลูกทุ่ง, วงดนตรีลูกกรุง" ยังไม่มีใครนำคำเหล่านี้มาจำกัดใช้
   
     จะมีก็แต่เพียง คำที่เรียกกันติดปากว่า "เพลงตลาด" จนมีคำเปรียบเปรยเกิดขึ้น "เพลงตลาด กับ เพลงมาตรฐาน"   
ต่อเมื่อจากนั้น พอมีคนนำคำว่า "ลูกทุ่ง"  "ลูกกรุง" มาใช้กัน ก็ได้เกิดมีการโต้แย้งเกิดขึ้น แม้แต่ครูเพลง
อย่าง ครู "มงคล อมาตยกุล" ที่มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ยังพูดอยู่บ่อยครั้ง ว่าเพลงไหนลูกทุ่ง และเพลงไหนลูกกรุง 
ต้องอย่าง สุเทพ วงศ์กำแหง, ชรินทร์ นันทนาคร, สวลี ผกาพันธ์, จินตนา สุขสถิตย์, หรือ ที่เรียกว่าลูกกรุง 
    และ อย่าง ทูล ทองใจ, สมยศ ทัศนพันธ์, ผ่องศรี วรนุช, วงจันทร์ ไพโรจน์, เรียกว่าลูกทุ่งกระนั้นหรือ  ใครเอาอะไรมาวัด
ค่านิยมของเพลงก็ไม่เห็นว่าจะแตกต่างกันตรงไหน ทูล, สมยศ, ผ่องศรี, วงจันทร์, หรือ แม้แต่ ชาย เมืองสิงห์ ก็โด่งดัง แพ้ใครเสียที่ไหน คนฟังกันทั้งประเทศ ...
       
    นี่คือคำพูดของ ครูยอดนักประพันธ์เพลง ครูของนักดนตรี ครูผู้ให้สำเนียงเรียบเรียงเสียงประสานดนตรี ที่สุดแสนจะไพเราะ
และเป็นอมตะ ยากที่จะหาใครมาเทียบเคียง จนถึงยุคปัจจุบัน ครูเพลง ที่แต่งเพลง "รักแท้" ให้ ชรินทร์ นันทนาคร  ให้  ทูล ทองใจ
ให้ สุรพล สมบัติเจริญ ขับร้อง และอีกมากมาย ที่ "ฝากไว้ให้อนุชนคนรุ่นหลัง" ครู ที่ทุกคนให้ความเคารพเทิดทูนและยกย่อง
      ครู ผู้ซึ่งเป็นเพื่อนรัก ของ  ครู "ไพบูลย์ บุตรขัน"
                                                           
     ครู ผู้ซึ่งเป็นครูของนักร้อง-นักแต่งเพลง อย่าง ครู นคร ถนอมทรัพย์ , พระหลวงพ่อ พร ภิรมย์, ครู ลพ บุรีรัตน์,
ครู ชาย เมืองสิงห์, และเป็น ครู ของนักแต่งเพลง  ที่ แต่งบทเพลง"ส่วนเกิน" ให้ "ดาวใจ ไพจิตร" ได้ขับร้อง จนดังคับฟ้า
เป็นอมตะแห่งเสียงเพลง ครูเพลง อย่าง จำนงค์ เป็นสุข หรือ สรวง สันติ 
                                   
                                  เป็นครู ที่ ครูไพบูลย์ บุตรขัน เรียกอย่างเต็มปาก "ครูมงคล อมาตยกุล"
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ สิงหาคม 30, 2015, 09:31:35 AM
เรียกเพลงตลาดกับมาตรฐานวัดกันยังไง .............

น้่อยเนื้อต่ำใจ - ยอด ธงชัย
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/3695d690211023033533525f6b959c84.swf
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 30, 2015, 10:21:42 AM
 :teentob:  :  คำว่า "เพลงลูกทุ่ง" เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2507
โดยผู้ใช้คำนี้คนแรกอย่างเป็นทางการคือ อาจารย์"จำนงค์ รังสิกุล"
เผยแพร่ ออกอากาศครั้งแรกทางโทรทัศน์ ช่อง 4  บางขุนพรหม ยุค ทีวี ขาว-ดำ

ก่อนหน้านั้น ไม่ว่าจะเป็น ทูล ทองใจ, สุรพล สมบัติเจริญ, ปอง ปรีดา,  และนักร้องดังท่านอื่น ๆ
ที่บันทึกเสียงไว้ก่อนปี พ.ศ. 2507 จะถูกเรียกว่า "เพลงตลาด" หากเนื้อหามีแนวเสียดสีสังคมอย่างเพลงของ  เสน่ห์ โกมารชุน, คำรณ สัมบุนณานนท์ จะถูกเรียกว่า "เพลงชีวิต"

ผมไม่รู้ว่า ช่วงนั้น อาจารย์จำนงค์ รังสิกุล ใช้หลักเกณฑ์อะไร ในการแบ่งคั่ว แยกชั้น คำว่า "ลูกทุ่ง" กับ "ลูกกรุง" กันชัดเจน 
จนทำให้เกิด มีการสั่งห้าม ไม่ให้เพลงลูกทุ่งสมัยนั้น เปิดทางสถานีวิทยุ คลื่น เอฟ เอ็ม ...
   
ถ้าจะให้เดากัน ร้องเสียงหวานๆ นุ่มๆ ทุ้มๆ ลึกๆ เรียกว่าลูกกรุง : หากเสียงเล็กๆ แบนๆ แบๆ โอ้บรรยายยากส์ เรียกว่าลูกทุ่ง งั้นรึ
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ สิงหาคม 30, 2015, 11:09:21 AM
          ผมคนบ้านนอก ไม่เคยรู้จักวิทยุเอฟเอ็ม วันๆ ฟังแต่วิทยุใส่ถ่านสี่ก้อน เช้ามืดก็ข่าวนายหนหวย ถัดมาหน่อยก็รายการลุงขาวไขอาชีพ ของลุงไฉน กลิ่นขาว พอสว่างก็รายการคุยโขมงหกโมงเช้า จัดโดยคุณดุ่ย ณ บางน้อย (อำนาจ สอนอิ่มศาสตร์) พอสายหน่อยออกทุ่งออกสวนก็ตั้งหน้าตั้งตาฟังละครกับรายการเพลง วิทยุเครื่องเล็กๆ สะพายข้างเอวขุดดินดายหญ้าเก็บพริกเก็บมะเขือกันไป มารู้จักวิทยุเอฟเอ็มก็ตอนที่ได้เข้ามาเรียนที่อำเภอ ถึงได้รู้ว่าในโลกนี้มันยังมีเพลงที่เรียกว่าลูกกรุงกับวงดนตรีสุนทราภรณ์(ที่เราไม่เคยรู้จัก)  พอดีกับคุณครูที่โรงเรียนท่านชื่อว่าครูกาญจนา สุขสถิตย์ หน้าตาก็พิมพ์เดียวกับคุณจินตนาเป๊ะเลย แต่ผมก็ไม่เคยทราบว่าท่านเกี่ยวข้องอะไรกัน คุณครูท่านนี้แหละท่านฟังเพลงลูกกรุงกับเพลงสุนทราภรณ์แล้วท่านก็มีเครื่องเล่นแผ่นเสียงเอามาไว้ที่โรงเรียนด้วย มันช่างเป็นเรื่องแปลกใหม่สำหรับคนบ้านนอก(อย่างผม) เสียจริงครับ
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ สิงหาคม 30, 2015, 11:15:51 AM
          เพลงลูกทุ่งในยุคนั้น อย่าได้บังอาจเสนอหน้ามาทางิทยุเอฟเอ็มเป็นอันขาด เอฟเอ็ม (ซึ่งเสียงดังฟังเพราะ) ในสมัยนั้นต้องเพลงสากล เพลงลูกกรุง แล้วรุ่นต่อมาก็ต้องเพลงสตริงเริ่มจากดิอิมฯ พวกลำตัดลิเกอะไรนี่ อย่าได้เสนอหน้าเข้าไปเป็นอันขาด จนมาถึงสมัยหลังๆ นี่แหละ (ผมว่าก่อนปี 30 ไม่กี่ปีนะ) ที่เพลงลูกทุ่งได้มีโอกาสได้ไปโก่งคอเจื้อยแจ้วอยู่บนคลื่นเอฟเอ็ม แต่ในยุคนี้ ถ้าจะให้ฟังเอฟเอ็มบางสถานีต้องขอผ่านครับ เดี๋ยวนี้สถานีชุมชนมันเยอะแล้วความถี่ที่ออกอากาศนี่มันเบียดกันเสียจนฟังไม่รู้เรื่องเลยครับ
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 30, 2015, 11:23:22 AM
 :teentob: :teentob: : สมัยก่อนนั้น การรับฟังเพลงจากเครื่องรับวิทยุนั้น ค่อนข้างจะลำบากยากสักหน่อย ยิ่งตามบ้านนอกด้วยแล้วแทบจะไม่มีเอาเสียเลย หรือบางบ้านที่มี ก็ต้องมีฐานะดีพอสมควร ที่พอจะมีสตางค์ ซื้อเครื่องรับวิทยุไว้ฟังกัน
ต้องใช้ถ่านไฟฉายเป็นลังๆ สำหรับใส่กระบะถ่าน (เรียกว่าถ่านกระบะ) เปลี่ยนถ่านทีหนึ่ง ใช้เป็นโหลๆ แล้วก็หาง่ายเสียที่ไหน
(เห็นมีอยู่ ถ่านตราแมวลอดบ่วง ตรากบ ยังที่หลัง) มีแล้วก็ต้องต่อสายอากาศ ให้ขึ้นไปในที่สูงๆ บนหลังคาบ้าน
เพื่อรับสัญญาณคลื่นที่ชัดเจน เผลอก็หาย ไฟฟ้าหรือก็ไม่มีใช้ นี่ผมพูดถึงบ้านนอก ที่เรียกกันแบบเจ็บปวด "บ้านนอกคอกนา" จริงๆ อยากจะฟังเพลงสักเพลง แต่ละครั้ง ก็ต้องรอให้เขามีงานบุญ เช่น งานบวชนาค, งานแต่งงาน, หรือไม่ ก็มีงานประจำปี ที่วัดใกล้ๆบ้าน มีลิเก มีเครื่องไฟขยายเสียง เขาก็เปิดจานเสียง (บ้านนอกเขาเรียกจานเสียง) เราก็คอยฟังเอา
ไม่รู้จักชื่อเพลง ไม่รู้จักชื่อนักร้อง เปิดเพลงอะไรมาเราก็ฟังได้ทั้ง น้ า น...
เปิดไปเพลง สองเพลง หรือ สักสามหรือสี่เพลง ก็ต้องเปลี่ยนเข็มเสียทีนึง (ปลายเข็มมันทู้) กว่าจะเสร็จงาน เข็มที่ใช้แล้วเป็นกล่อง ไอ้เจ้าของเครื่องไฟ ที่ขี้เหนียวหน่อย ก็เก็บเอามาฝนใหม่ ฝนๆ ๆ ให้ปลายเข็มแหลมเล็ก แล้วนำกลับมาใช้อีก ผลปรากฏ จานเสียงเจ๊ง ๆ ๆ...
     มีเพลงเปิดกันก็ไม่มาก จะเปิดเป็นลิเก กันเสียมากกว่า " แผ่นเสียงตรากระต่าย  ขอเสนอ นาฏะดนตรี คณะเกศนานารถ เสนอ เรื่อง ชาละวันกุมภี " อย่างงี้เป็นต้น ก็ฟังเห็นมีอยู่ไม่กี่เรื่อง เรื่อง พระอภัยมณี, เรื่อง ปลาบู่ทอง, เรื่อง ขุนช้างขุนแผน โห... ฟังมาตั้งแต่เด็ก มีเครื่องไฟงานที่ไหน เขาก็เปิด เปิด และเปิด ๆ ๆ ๆ แต่ อย่างงี้ ๆ ๆ แหล่ะ  แล้วก็ไม่เบื่อเสียด้วย
       ถึงคราวที่จะเปิดเพลง ก็เปิดเพลง ไม่รู้ว่าใครร้อง เปิดกันจนจำเนื้อได้ และจำมาจนเดี๋ยวนี้...
 "สาริกานกน้อย หน่อล่ะน้อย หน่อละน้อย นวลเอย   ช่ะเออเอ๋ย เจ้าบินจร เที่ยวโฉบฉินบินว่อน เออเอ่อเอย ลงตรงไหนเล่านี่เอ่ย หน่อละนอย ๆ ช่ะนอย นอย นอย  บินคู่อยู่เคียง หวังเคียงชิดชมเชย อกเอย มิเคยจากจร คิดไปให้แสนอาวรณ์  จะหลับจะนอน คิดถึงงามงอน แม่ขนอ่อน สาริกา "...
                     ผมจำได้จบเพลง  แต่จนกระทั่งเดี๋ยวนี้ ยังไม่รู้ว่า ชื่อเพลงอะไร และ ใครเป็นคนร้อง...
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ สิงหาคม 30, 2015, 11:26:36 AM

บินโฉบลงมาเกาะหลังคาบ้านเลยครับ สาริกานกน้อย - เบญจมินทร์

http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/c95fe261550b6f915f843ef10a5cc0ee.swf
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 30, 2015, 11:44:52 AM
บินโฉบลงมาเกาะหลังคาบ้านเลยครับ สาริกานกน้อย - เบญจมินทร์

http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/c95fe261550b6f915f843ef10a5cc0ee.swf

 :teentob: : 55555 ฟลุ๊ค ๆ ๆ เพิ่งจะรู้นะเนี้ยะว่าคุณสมภพ มีเพลงนี้ด้วย  แต่ก่อนผมเด็กๆไปช่วยแม่ขายของ ข้าวโพดคั่ว อ้อยควั้น
พุดซาเชื่อม แถวหน้าวิกลิเก เค้าก็จะเปิดแต่เพลงนี้ แล้วก็เพิ่งจะมารู้ ว่า ครูเบญจมินทร์ ร้องไว้ นอนหลับตาสนิทแล้ว ฟังมาตั้งแต่ 7-8 ขวบ จำเนื้อได้หมดสบายมาก มีอีกเพลงไหมล่ะ คุณสมภพ  " ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยเตี๋ยวบ่ะหมี แกงกะหรี่ใส่มัน อีกทั้งหมูมัน อีกทั้งหมูมัน เนื้อสะเตะสะตู อีกทั้งแกงหมูแกงไก่ ใส่กัญชา เอ้อเฮอ / ถ้ามี สุดยอด ๆ ๆ ...
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ สิงหาคม 30, 2015, 11:54:43 AM
กินอะไรไม่อร่อย กินอะไรไม่อร่อย เหมือนดังกินหอยชื่นใจ..... :09 :09

ก๋วยเตี๋ยวบะหมี่ - สุริยา แสวงธรรม
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/ab4c346a3a07e51654052edd83276e20.swf
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 30, 2015, 12:05:44 PM
กินอะไรไม่อร่อย กินอะไรไม่อร่อย เหมือนดังกินหอยชื่นใจ..... :09 :09

ก๋วยเตี๋ยวบะหมี่ - สุริยา แสวงธรรม
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/ab4c346a3a07e51654052edd83276e20.swf

   : อันนี้ นำมาร้องใหม่ สงสัย ของเก่าจริงๆหายาก ก็หยังดี ที่มีให้ฟัง
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 30, 2015, 04:54:12 PM
 :78 :78 : ต่อมา การพัฒนาสื่อสารของบ้านเมืองเริ่มดีขึ้น :
   
     เครื่องรับวิทยุก็ปรับระบบมาใช้ ทรานซิสเตอร์ขนาด ใช้ถ่านหกก้อนบ้าง สี่ก้อนบ้าง มีจัดรายการเพลง
เปิดเพลงทางสถานีวิทยุกระจายเสียง กันมากขึ้น และมากขึ้นเรื่อยๆ ที่มีบทบาทการเปิดเพลง และมีชาวบ้านชาวช่อง ติดตามฟังกันงอมแงม ยิ่งเสียกว่าคนแก่ติดหมาก ที่พอจะจำได้ ก็ "สถานีวิทยุยานเกราะ ขวัญใจประชาชน"  มี "จำรัส วิภาตวัต" คอยควบคุมดูแล และ ท่านจำรัส ก็ดังมากๆ เสียด้วย ดังถึงขนาด ตั้งเป็นวงดนตรี คณะ "ชุมนุมศิลปิน"  สร้าง เพลิน พรหมแดน,
นิตยา เปิดปัญญา, สุริยา แสวงธรรม, สมศักดิ์ ศรีบางช้าง, ชวนชัย ฉิมพะวงค์, อัญชุลี ฉัตรวิไล และ อีกมากมาย
จำรัส วิภาตวัต ใช้จังหวะเวลาช่วงนั้น รับงานถ่ายทอดสดตามงานวัด ออกอากาศทางวิทยุยานเกราะ โด่งดังไปทั่วทั้งประเทศ ที่ไหน วัดไหนมีงาน ก็จะถ่ายทอดสดออกอากาศ ชาวบ้านนอกอย่างเราๆ ก็ตื่นเต้น ไปยืนเกาะแผงลำแพน ที่เขาล้อมเครื่องส่ง
 ยืนดูกันทั้งวัน ข้าวปลาก็ไม่อยากจะกิน ไม่อยากจะหิว อดทน หรือทนอด หรือไม่มีจะกิน (ก็ไม่รู้) 555 ...
    ตามสถานีวิทยุอื่นๆ ก็มีเรื่องเปิดเพลงให้ชาวบ้านฟัง ไม่อยากเล่าเดี๋ยวจะเลอะกันไปใหญ่  แหล่งที่เปิดเพลงก็นี่แหล่ะ
สถานีวิทยุยานเกราะ, สทร. ปชส.7 เป็นที่รวมแหล่ง แห่งความบันเทิงของชาวบ้าน ที่พักใจในการฟังเพลงโดยแท้
    เมื่อมีการเปิดเพลง ก็จะมีโฆษก นักจัดรายการ มาพูดคั่นโฆษณาขายยาขายสินค้า สลับกับการเปิดเพลง เอ้อ..อีตาคนนี้พูดเพราะดี แฮะ..ก็อยากเห็นหน้า เห็นตัวจริง ต้องยอมรับความจริงอย่างหนึ่งว่า "คนเรายังโง่อยู่"  ชะโงกหน้าเข้าไปดูในเครื่องวิทยุ มองไม่ยักกะเห็นตัวแฮะ..  เลยใช้วิธีเขียนจดหมาย ส่งทางไปรษณีย์ ไปขอรูปถ่ายนักจัดรายการ กว่าจดหมายจะถึงมือผู้จัด ใช้เวลาเป็นเดือน เขียนผิด เขียนตก ขอรูปถ่าย เขียนเป็น "ขอรู ถ่าย 1 รู  เพื่อไว้ดูต่างหน้ายามฟังรายการ โฆษก ผู้จัดรายการ ก็อ่านตามนั้นจริงๆ ฟังแล้วก็ขำกลิ้ง .. / ตลกรุ่นหลังๆ มักจะนำเอามาเล่นมุกตลกกัน ก็เอามาจากตรงนี้ แหล่ะ ...
           
         คนอะไร้.. จะขนาด น้ า น.. ขออะไรไม่ขอ มาขอรูถ่าย 1 รู เอาไปแล้ว โฆษก เค้าจะเอาที่ไหนถ่าย ล่ะครับ
 
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ สิงหาคม 30, 2015, 05:08:23 PM
           ประมาณปี 2508 พ่อพาผมมาปากคลองตลาด ตอนนั้นรถเมล์สายใต้ยังจอดข้างวัดเลียบ แล้วก็สถานีวิทยุ ปชส.7 เทศบาลนครกรุงเทพ ยังอยู่แถวเชิงสะพานพุทธ จำได้ว่าได้ขึ้นรถรางด้วย หลังจากนั้นอีก 7 ปี ถึงได้เข้ามาอยู่กรุงเทพฯ อย่างจริงๆ  :tab_on: :tab_on:
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 30, 2015, 07:03:12 PM
 :74  : คนจัดรายการ เปิดเพลง ประกาศชื่อเพลง บอกชื่อนักร้อง ผู้ร้องเพลง เอาล่ะ ทีนี้เริ่มรู้แล้ว ว่าเพลงนั้นเพลงนี้ ๆ ๆ ๆ ใครร้อง เพลงของ ครูคำรณ สัมปุณณานนท์ เปิดบ่อยและมากที่สุดในยุคหนึ่ง ต่อๆ มา  เบญจมินทร์, สมยศ ทัศนพันธ์,
ชาญ เย็นแข, อุดม ผ.เมฆเจริญ, มีศักดิ์ นาครัตน์, ทูล ทองใจ, สุรล สมบัติเจริญ, ก้าน แก้วสุพรรณ, ชัยชนะ บุญนะโชติ,
ยงยุทธ เชี่ยวชาญชัย, วงจันทร์ ไพโรจน์, พร ภิมย์, ศิริจันทร์ อิศรางกูล ณ อยุธยา,     
     ไอ้เราจะฟังเพลง แม่จะฟังลิเก  แม่เผลอ ออกไปไร่ ผมแอบโขมยเอาวิทยุซ่อน  แม่กลับจากไร่
     หาวิทยุไม่เจอ บ่นน้ำหมากกระจาย...
                                          ( แกล้งแม่ อย่าเอาอย่างนะครับ บาป )
   
  ผมชอบฟังเพลง แม่ชอบฟังลิเก แกฟังของแกทุกคณะ ฟังจนอ้าปากน้ำหมากไหลไม่รู้ตัว พอรู้ตัว หยิบผ้าเหน็บอยู่ที่พุง
ขึ้นมาเช็ดน้ำหมาก ฟังต่อ ฟังของแกทั้งวัน คณะโน้นจบ ก็ย้ายหาคณะนี้ หมุนหาคลื่นฟังไม่ชัด เคาะ โป๊ก ๆ ๆ ๆ 
เออ.. ก็มีเหมือนกันเน๊าะ รุ่นกระเทาะดัง แล้วจำแม่นจัง คณะนี้เล่นสถานีไหน เวลาเท่าไร จำได้หมด   ฟังทุกคณะ เชน เมืองทอง, ก้อง ลือไกล, ทองใบ รุ่งเรือง, เสนาะน้อย เสียงทอง, จำลอง ณ.วังน้อย, จำลอง นาฏศิลป์, ช. เทพประสิทธิ์,
ขุนแผน ลูกปราจีณ, บุญเชิด ท่วงศิริ, เอื้อน คล่องอาษา, แมน ลือนาม, ทุเรียนเล็ก, ฯ

                                                    แม่ผมเล่น ยึดวิทยุเลยแหล่ะ...  
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 30, 2015, 07:58:22 PM
 :teentob: : พอมาปี พ.ศ. 2504  "ไพรวัลย์ ลูกเพชร"  เริ่มดัง เพลง คำเตือนของพี่, แม่ผักบุ้งบ้านดอน, ดาวจำลอง, เพลง เสียงจากไพรวัลย์ ก็ดังกระหึ่มตามมา ไอ้เราก็ชอบฟังเป็นชีวิตจิตตใจ เพลงไพรวัลย์ร้องเนี่ยะ ฟังทีไรมันเกิดอารมณ์ อันรัญจวนใจเสียยิ่งนัก ฟังแล้วเกิดความสุข เกิดภาพเหมือนจินตนาการณ์ โดยเฉพาะเพลงที่ผมโปรดมาก  " เพชรบุรีแห่งความหลัง "         
 "เห็นยอดตาล พริ้วไกวลมลู่  ยืนทะมึนเป็นหมู่  ดังซู่เหมือนใครกู่หา ฟังดั่งเหมือนเสียงน้องข้า ครวญฝากลมแผ่วมา ให้ข้าหวลคืนถิ่นหลัง" ฟังเนื้อหาของเพลง ท่วงทำนองการร้อง การหยอดเสียง ชวนให้น่าหลงไหลยิ่งนัก ใครคิดอย่างไรผมไม่รู้
    แต่ผมคนหนึ่งล่ะ ที่จะบอกว่า ตลอดชีวิตนี้ ไม่ต้องหาอีกแล้ว นักร้องเสียงอย่างนี้   
    อีกเพลง "อยู่กับตายเท่ากัน" หากจะฟังแต่ชื่อของเพลง อาจจะพูดว่า "เพลงอะไรว่ะ"  ชื่อน่ากลัวจัง ฟังให้ดีๆ เถิดครับเพลงนี้ ชวนให้หลงไหล ชวนให้เสน่หา ในบทเพลง บ่งบอกถึงความหมายที่ลึกซึ้ง เกินคำบรรยาย ผมเองก็ยังบรรยายยากจัง แต่เนื้อหานี่ซิ บอกถึงความสวยงามของท้องฟ้า ยามฟ้าสางใกล้สว่าง ท้องฟ้าจับเป็นแสงสีทองอร่ามงามตายิ่งนัก เปรียบเสมือนคนเราเกิดมา แรกเริ่มสดใส สมหวัง ผิดหวัง คงอยู่ และดับไป มองเห็นภาพเลยจากเนื้อเพลง บทเพลงที่ ครู "แฉล้ม โกยทา" บรรจงและเรียบเรียงรังสรรค์ เนื้อหาของเพลงไว้อย่างงดงาม กินใจเหลือเกิน 
  "ฟ้างามเมื่อจวนจะสาง รุ่งรางมองแสงทองส่องร่าง ปัจจุสมัยอรุโณทัยจะเยี่ยมขอบฟ้า รุ่งสางเหลืองงามอร่ามตา
   ฟ้าช่างงาม งามกระไร"...
                                           
                                        ... ฟังแล้วเคลื้ม ชวนให้นอนฝัน เสียเหลือเกิน ...    
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 31, 2015, 08:38:54 AM
 :teentob:  : กะว่าปีนี้  ขายข้าวได้ จะขอแม่ซื้อวิทยุสักเครื่องไว้ฟังเพลงอวดสาว สมัยก่อนจีบสาวไม่เป็น ก็ใช้วิธีเปิดเพลงที่เนื้อเพลงบ่งบอกถึงความรักความในใจ ส่วนใหญ่เนื้อหาของเพลงก็จะเป็นแนวเกี่ยวกับความรักแทบจะทุกเพลงอยู่แล้ว เราก็เปิดให้สาวได้ยิน สาวชอบ สาวก็ยิ้มให้ สาวไม่ชอบ สาวก็ไม่กล้าด่า เพราะเราฟังเพลง จริงป่ะ ..
    เช้าออกไร่ เย็นออกไร่ รดน้ำเก็บผักพรวนดิน เช้าของทุกวัน ช่วยแม่หาบผักไปส่งที่ตลาดศาลเจ้าฯ ขึ้นชื่อแม่เชื้อ คนรู้จักกันทั้งตลาด ส่งแม่แล้ว เดินกลับบ้าน สายๆ ไปโรงเรียน สามโมงเย็นโรงเรียนเลิกกลับบ้าน นำควายออกไปเลี้ยงกลางทุ่ง ปล่อยควาย แล้วรดน้ำผักที่ไร่ต่อ จวนมืดตะวันโพล้เพล้ ไล่ต้อนควาย หาบผักกลับบ้าน ทำอยู่อย่างนี้ทุกวันจนเป็นกิจวัตร สมัยที่ผมเรียน โรงเรียนเขาหยุด วันโกนกับวันพระ ไม่ได้หยุด เสาร์-อาทิตย์ อย่างเดี๋ยวนี้ เสียเมื่อไหร่ วันหยุดช่วยแม่โขลกข้าวเกรียบ
(แม่เค้าทำข้าวเกรียบว่าวขายด้วย)
    น่าฤดูเก็บเกี่ยว เสร็จจากงานนา จะขายข้าว สมัยนั้น ข้าวเปลือกขายเกวียนละ 600 กว่าบาท วิทยุทรานซิสเตอร์ "เนชั่นแนล" เครื่องละ 800 บาท อดอีกไม่ได้กันวิทยุวิทเยอะ ชวดกินแห้วตามเคย
    ปลายปี พ.ศ. 2504 ต่อเนื่อง ปี 2505 "ชาย เมืองสิงห์" ดังระเบิดเทิดเทิง ทุกเพลงของ ชาย เมืองสิงห์ ที่ออกมาดังหมด
ดังไม่หยุด... เอาแล้วเราแทบคลั่ง  ไหนจะ ไพรวัลย์เอย  ชาย เมืองสิงห์เอย ทำไงวุ้ยเรา ...
                                   
                                         แม่เล่นติดลิเก ครองเลยวิทยุ อกแทบแตกเลยเรา ทำไงดี...
   
      : มุมานะทำงาน หวังเอาใจแม่ ช่วยงานทุกอย่าง เท่าที่กำลังเด็กอย่างเราพึงทำได้ ช่วยแม่ขายของงานวัด
แม่ปิ้งข้าวเกรียบขาย, พุดซาเชื่อม, อ้อยควั้น, ข้าวโพดคั่ว, สับปะรดแช่อิ่ม, มันแกวแช่อิ่ม, มีงานที่ไหนไปที่นั่น งานวัด งานวิก หนังขายยากลางแปลง แม่สงสาร ตัดใจ ยกวิทยุเครื่องที่แม่ฟังอยู่ ให้เราเป็นของขวัญ รางวัล ที่ขยันช่วยแม่มาตลอด  ดีใจแทบตาย แต่ก็คิดอยู่ว่า เอ๊ะ...แม่เอาวิทยุให้เรา แล้วแม่จะเอาที่ไหนฟังลิเก แกติดของแกจะตาย
       อดกินหมาก อดฟังลิเก ให้อดข้าวดีกว่า ว่างั้นเถอะ แต่อะไรที่ไหนได้ พอแกเอาเครื่องเก่าให้เรา
       แกก็งัดหยิบเครื่องใหม่ออกมา เปิดฟังเฉยเลย        
                                       
                            เอ๊ะ...นี่ แม่เชื้อ แกแอบซื้อวิทยุเครื่องใหม่ ไว้ตั้งแต่เมื่อไหร่วุ้ย..แม่เนี่ยะ
 
   :teentob: : ได้รับของขวัญ เป็นวิทยุจากมือแม่ ถึงจะเก่าไปสักหน่อย แต๋ก็ไม่ได้เสียหายอะไร  เปิดเพลง ฟังเพลงทั้งวัน กำลังเห่ออะไรจะมีความสุขเท่า เมื่อได้ยินเสียงเพลง
   แม่ฟังลิเกอยู่บนเรือน เราได้ที่เหมาะ อะไรจะเหมาะเท่าที่ริมกองฟางใต้ต้นมะขามเทศ ลมพัดโชยเอื่อยๆ ผ้ากะโถงผืนหนึ่งปูนอนเอกขะเนก ปลายเท้ากระดิกไปตามจังหวะของเพลง
                        "ก่อนจะอำลา น้องนางบ้านนาของพี่  น้องเอ๋ยโปรดฟังให้ดี คำเตือนของพี่นี้มาจากใจ
                         พี่ห่างเพียงตัว หัวใจพี่นี้อยู่ใกล้   ถึงแม้นพี่จะห่างไกล มิใช่ว่าใจพี่จะห่างตาม
                              ก่อนจะอำลา น้ำตาพี่รินไหลร่วง  แสนรักแสนห่วงพุ่มพวง จนทรวงนี้ยอกเหมือนเหน็บด้วยหนาม
                         เจ็บแปลบแสบใจ เหลือทนจนมิอาจห้าม  ก่อนลาน้องแม่โฉมงาม  พี่ขอห้ามเตือนสักนิดเถิดกลอย ".....
                                             ด้วยน้ำเสียงที่โหยไห้ยิ่งความไพเราะ จนนอนเพลิน
                             
              เผลอไผลหลับไหลและฝันไปพร้อมกับเสียงเพลงที่ได้ยินเพียงกระแส เสียงแผ่วๆอยู่ ข้างๆริมหู                                     
                                         
                ******************************************************                          
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ สิงหาคม 31, 2015, 09:20:13 AM
         ช่างเหน็บแนมแกมประชด อรุณเอ๋ยแบบบดของแม่ช่างหยดช่างย้อย..............  :yenta4-emoticon-0102: :yenta4-emoticon-0102:

         ตอนเพลงนี้ดังระเบิดเถิดเทิง ผมเรียนประถม 1 นั่งเรียนกับศาลาวัด มีโต๊ะที่เหมือนกับที่นั่งซักผ้านั่นแหละแต่ว่ายาวพอที่จะนั่งได้สองคน ทีนี้พอเพื่อนที่นั่งด้วยมันขยับโต๊ะแล้วเราไม่ทันระวังมันก็หนีบขาเราซิ เดี๋ยวก็ได้ลุกขึ้นมาต่อยกัน ปีนั้นยังใช้กระดานชนวนกับดินสอหินอยู่เลย

          คำเตือนของพี่ - ไพรวัลย์ ลูกเพชร
          http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/74d61cda71accf04a79c2450d1261184.swf

หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 31, 2015, 09:33:34 AM
 :74 :74 : ไอ้แก้ว ๆ ๆ  ตื่น ๆ  ฮึ้ย... พี่หลอง  ให้ไปขนของ ที่บ้านพี่พล (พล พรภักดี)   เสียงมีคน มาปลุกให้ตื่น                          
- ใครปลุกว๊ะ กำลังนอนฝันเพลินๆ (ผมบ่นเบาๆ) พอลืมตา ผมเงยหน้าไปดู เอ้าไอ้กล่ำ มาเมื่อไหร่ (ณรงค์ มะกล่ำ)   
- เพิ่งมาถึง เห็นมึงนอนก็เลยปลุก ไปบ้านพี่พลกันหน่อย กูไปไม่ถูก พรุ่งนี้ พ่อ "จำรูญ หนวดจิ๋ม" เขารับงานแสดงดนตรี
  ที่สวนสัตว์เขาดิน พ่อจำรูญให้กูมาหาเครื่องดนตรี กูไม่รู้จะไปเอาที่ไหน เลยไปหาพี่หลอง พี่หลองให้มาหามึง ช่วยกูหน่อย                         
- ได้ รอแป๊บนะ  ไอ้กล่ำ เฮ้ย..นี่อยู่กรุงเทพฯ เหรอะเนี่ยะ นึกว่านอนฟังวิทยุ อยู่ที่บ้านนอกเสียอีก
      อ้าว.. นี่ฝันไปเหรอเนี่ยะ เวร แท้ๆ
-  เค้าเอานักร้องด้วยเปล่า เราก็ว่างอยู่นะ
-  ไม่เอา นักร้องเขามีเยอะ แต่มึงต้องไปด้วยนา เวลาเลิกคอยขนของกลับ                                                   
               
                 - บ้า คนผีอะไรว๊ะ นอนฝันกลางวัน (ไอ้กล่ำบ่น).....

  :23 : งานตรุษจีน ที่สวนสัตว์ดุสิต เขาดินวนา เขาจัดมีการแสดงดนตรี 3 วัน ติดต่อกัน ผมก็ไปช่วยเขาจัดของขนเครื่อง แล้วก็อยากจะรู้ด้วยว่า เมื่อดาราตลกอย่าง จำรูญ หนวดจิ๋ม ดาราตลกจากภาพยนตร์ไทย ที่ใครๆรู้จัก มาแสดงดนตรีลูกทุ่ง เขาจะแสดงกันอย่างไร เราก็สนใจ ไปยืนเกาะรั้วเหล็กกั้น ยืนดู
    ดูไป ๆ ก็ไม่เห็นจะมีอะไรแปลก ดูอยู่สามวัน (จำเป็นต้องอยู่ดู เพราะได้ตังค์) ก็เห็นแสดงกัน จำอวดตลก ที่ยังพอจำได้ 
มี ยรรยง จมูกแดง นั่งตีปี่พาทย์ ไอ้เราก็ว่า เอ.. คนอะไร จมูกแดง เข้าหลังเวที เพื่อไปดูชัดๆ (เรามีสิทธิ์เข้าไปอยู่แล้ว)
ปัทโธ่... ก็แค่เอาริปสติกสีแดง มาทาให้แดง ก็ เป็น ยรรยง จมูกแดง แล้ว ก็แค่นี้แหล่ะ มีอีก ตลก จ๋อง หน้าจ๋อย, แจ่ม หน้าจืด,
โข่ง หน้าขาว, แล้วก็มา ห้วหน้าวง "จำรูญ หนวดจิ๋ม" ที่เด่นหน่อย ก็ ดาราละคร จาก ช่อง 4 บางขุนพรหม สมัยนั้นดัง มากๆ
จากละคร เรื่อง "แก้วหน้าม้า"  คุณ"จำลักษณ์ ชำนาญประดิษย์" ผู้แสดงเป็นตัวนางแก้วหน้าม้า เป็นผู้ชายนะครับ แต่แสดงเป็นนางเอก คู่ กับ "สุรินทร์ แสงขำ"  และก็มีดาราระดับพระเอกอีกคน  คุณ "นุกูล ศิลปกันต์" ที่มาร่วมโชว์ตัว  ในงานนี้ด้วย 
        นักร้องหญิง ก็เห็นมี  "วาสนา ระวังงาน"  โอ้.. คนนี้ร้องเพลงเพราะมากๆครับ ..   
        นักร้องชายแต่ละคน ก็งั้นๆแหล่ะ ร้องล่มหน้าเวทีก็มี ผมไม่ได้ว่าใครนา มันเรื่องจริง ..
         
    นี่ผมไม่ได้โม้ นา ๆ... สุดท้าย ไอ้กล่ำ ทนอยู่ไม่ไหว บอกให้พี่โข่ง (โข่ง หน้าขาว) ผู้เป็นโฆษกประกาศเพลง
      เรียก แก้ว สาริกา ขึ้นเวที ร้องเพลง
      ผมขึ้นไปร้องเพลง สามเพลง ทีแรกกะจะร้องแค่เพลงเดียว คือเพลงพี่ไวพจน์ เพลง "ห่วงลูก" แก้ว สาริกา แหล่
      ณรงค์ มะกล่ำ เป่าแซคอัลโต้ ร้องจบ พ่อจำรูญ บอกไอ้นี่แหล่ดี ร้องดี ให้มันร้องอีก ผมเลยฟาด ซ่ะ สามเพลง
      เลยงานนี้ได้ร้อง ทั้งสามวันตลอดงานเลย เลิกงาน ได้ค่าตัวเพิ่ม 30 บาท ดีใจแทบตาย
      ต่อมา ครู จ๋อง หน้าจ๋อย ชื่อจริงของท่าน "วสันต์ วาสนมานิตย์" แต่งเพลงให้
                                               
                                                      ชวนไปอัดเสียง เพลง "น้ำตาชาย"

http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/cb8aecc0b3e93c03331f3a0a70f94ee2.swf

:yenta4-emoticon-0102: :yenta4-emoticon-0102: :yenta4-emoticon-0102:

หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 31, 2015, 04:50:12 PM
 :42  : หลังจากงานที่เขาดินฯ เพียงไม่กี่วัน  ชาย เมืองสิงห์ รับจัดงาน สวนสนุกที่สระโกสินารายณ์ อ.บ้านโป่ง   
              จ. ราชบุรี :
   

   ปลายปี พ.ศ. 2509 ต่อเนื่อง พ.ศ 2510 ข่าวใหญ่  หนังสือพิมพ์ทุกฉบับลงข่าว พบบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์  เกิดขึ้นกลางทุ่งนา
ในเขต อ. บ้านโป่ง จ. ราชบุรี มีประชาชนจากหลากหลายทั่วทุกสาระทิศสถานที่ แห่กันไปอย่างมืดฟ้ามัวดิน ตามข่าวว่า
หากใครนำน้ำ มาใช้ มาอาบมากิน จะเป็นการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ต่างๆให้หายได้ ตามกระแสข่าวออกมาอย่างนั้น บ้างก็ไปหาบ
ไปตักอาบกันที่นั่น อยู่ค้างอ้างแรมกันเลยทีเดียว บ้างก็เตรียมขวดน้ำถังน้ำ มาตักไปฝากคนทางบ้าน
  พี่ชาย เป็นคนชอบเสี่ยง กล้าได้กล้าเสียอยู่แล้ว ไปจัดงานเป็นสวนสนุกขึ้นที่บริเวณใกล้ๆกับสระน้ำศักดิ์สิทธิ์นั้นใช้ผ้าใบล้อมรอบ
จัดงาน 3 คืน 3 วัน กลางวันมีการเล่นต่างๆ กลางคืนมี ลิเก ภาพยนตร์ วงดนตรี และประกวดร้องเพลง มีถ่ายทอดสด ออกอากาศสถานีวิทยุยานเกราะ ทั้งกลางวัน และกลางคืน ตลอดงาน       
     คืนแรก วงดนตรี หลังเขาประยุกต์ ร่วมด้วย ฟ้าบางกอก ประชาชนสนใจกันมาก เพราะเหตุอยากรู้ที่ว่า ชาย เมืองสิงห์ 
ออกจาก วงจุฬารัตน์  ตอนนั้นข่าวยังสับสน จริงไม่จริง คนก็มาเที่ยวกันเยอะ เก็บค่าผ่านประตู ได้เป็นกอบเป็นกำเลยที่เดียว
นี่เพียงคืนแรกนะครับ
   พอถึงกลางวันของอีกวัน ชาย เมืองสิงห์,  ศรีไพร ใจพระ, บุปผา สายชล, ดวงใจ เมืองสิงห์, และโฆสิต นพคุณ
รวมพลแสดงลิเก  โดยใช้ชื่อเดิมที่เคยร่วมเล่นกัน สมัยเมื่อครั้ง อยู่ วงจุฬารัตน์ คณะ "กระดิ่งทอง" ถ่ายทอดสดออกอากาศ 
ผู้คนก็แห่มาดูกันเยอะ ทั้งลูกเด็กเล็กแดง ดูฟรีนะครับ ไม่เก็บเงิน ...
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 31, 2015, 05:55:21 PM
 :74 : คืนที่สองของงาน วงดนตรีลูกทุ่งวงใหญ่ "คณะ สุรพล สมบัติเจริญ" :  ความดังพร้อมความยิ่งใหญ่ ไม่ต้องพูดถึง
พอตกตอนเย็นๆ คนก็เริ่มทะยอยกันมา เต็มลานงานแสดงไปหมด สุดยอดความดัง ของ สุรพล โดยเฉพาะในย่านแถบแถวถิ่น ราชบุรี, เพชรบุรี, กาญจน์บุรี, นครปฐม, สุพรรณบุรี, ด้วยแล้ว ต้องนี่แหล่ะ "สุรพล สมบัติเจริญ"     
       คืนนั้นหลังจาก งานยุติแล้ว พวกผมที่ทุกคนต้องมีหน้าที่ ดูแลรอบรั้วบ้าง ยืนเก็บตั๋ว หน้างานบ้าง เดินดูแลงานทั่วไปในงานบ้าง ก็เข้าที่พักผ่อนหลับนอนกันตามมุมต่างๆตามที่เหมาะที่ควร ผมและเพื่อน ๆ อีกหลายคน มี "บรรพต สุกแสง" อยู่ด้วย นอนกันใต้ถุน เวทีดนตรีนั่นแหล่ะ ดึกๆเข้าเวลาประมาณสักตีสองกว่าๆ ก็มีงูเจ้ากรรมไม่รู้ว่าจะนอนเป็นเจ้าที่อยู่ที่นั่น หรือเรื้อยมาจากที่อื่นกันแน่ กัดเข้าที่เอ็นร้อยหวายของ บรรพต สุกแสง ร้องลั่น  พวกเราสะดุ้งตื่น ตีงูจนตาย แล้วก็ช่วยกันพา บรรพต สุกแสง ส่งโรงพยาบาลบ้านโป่ง ในคืนนั้น กลับย้อนมาเอาไฟฉายส่องดูซากงูที่ถูกตีตาย เป็นงูแมวเซาตัวเขื่องทีเดียวใหญ่น้องๆข้อมือ
    รุ่งเช้า ของอีกวัน พี่ชาย (ชาย เมืองสิงห์) ให้ไปรับ บรรพต กลับจากโรงพยาบาล พอเจอหน้ากัน ระหว่าง ชาย เมืองสิงห์
กับ บรรพต  สุกแสง พี่ชาย เข้าไปถามอาการ  พี่ชาย เลยขออนุญาต ศรีไพร ใจพระ ขอ บรรพต สุกแสง มาอยู่ด้วย แล้วเปลี่ยนชื่อให้ใหม่ เป็น "บุญ บรรดาล"           
    ชะรอยว่าจะเป็นเสมือน บุญบรรดาล ให้ ชาย เมืองสิงห์ ได้พบ กับศิษย์คนใหม่ ที่ชื่อ บรรพต สุกแสง
          และ บรรพต หรือ บุญ บรรดาล คนนี้แหล่ะ
                                      ที่แต่งเพลง   "พ่อแก่แม่เฒ่า"
                             
                                       ให้ ชาย เมืองสิงห์ ร้อง บันทึกเสียง เมื่อปี 2514 โด่งดังจนถึงทุกวันนี้
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ สิงหาคม 31, 2015, 06:13:33 PM
 :teentob:   : กลางวัน ของวันเดียวกันกับ ที่รับบรรพต กลับจากโรงพยาบาล :
     
    ลิเก คณะ "กระดิ่งทอง" ก็เล่นออกอากาศ ตามปกติ เรื่อง พระอภัยมณี ตอน สินสมุทรพาพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ
(จะให้เล่าไหมล่ะสนุกนา ว่าใครแสดงเป็นตัวอะไร แต่เอ..ไม่เล่าดีกว่า)  ขณะที่ ที่ลิเกแสดงอยู่อย่างออกรสชาด
ก็มีสาวสวยนางหนึ่ง อวบ อึ๋ม ขาว สวย หมวย หุ่นดี ผมสั้นจู๋ เหมือนคนเพิ่งสึกจากพระหรือชีใหม่ๆ เดินเขามาหา พี่ติ๋ม
(ดวงใจ เมืองสิงห์) จนกระทั่งหมดเวลาของการแสดงลิเก
ก็ได้พูดคุยกัน สาวแนะนำตัวเอง พูดอย่างไรกันผมไม่รู้ แอบดูความสวยอยู่ห่างๆ ขืนเข้าไปสุ่มสี่สุ่มห้า เดี๋ยวโดนพี่ติ๋มตบตายชัก
สักพักใหญ่ สาวสวยผู้น่ารัก ก็ลากลับไป       
    เสียงดังไล่หลังผมมา "อีแก้ว" แอบดูอะไรกัน  เข้ามานี่ หันกลับไปดู เสียงพี่ติ๋มร้องเรียก
    "เห็นคนสวยไม่ได้เชียวนะพวกเราเนี่ยะ"  พี่ติ๋มว่า 
            ตามปกติวิสัย พี่ติ๋มเป็นคนใจดี มีเมตตา รักลูกน้อง ทุกคน         
    พี่ติ๋มเอ่ยถาม - บรรพตเป็นไงบ้าง                 
                    - มันหายแล้วพี่ติ๋ม เห็นเดินตัวดำ ยืนจีบแม่ค้าสาวอยู่ด้านโน้นแน่ะ                 
                    - อยากรู้ใช่ไหม ว่าผู้หญิงคนเมื่อกี้เขามาทำไม ?                  
                    - ครับ สวยครับ น่ารักครับ                 
                    - นั่นน่ะ "กลอย มิ่งขวัญ" นักร้องหญิง ของ ก้าน แก้วสุพรรณ บวชชีเพิ่งสึกมา เขามาขออยู่ด้วย เดี๋ยวเราเสร็จงานที่นี่ พี่ชายจะทำสวนสนุกต่อ ที่ วัดราษฎ์โพธิ์ทอง ปากน้ำ สมุทรปราการ อีกสามคืน เหมือนที่นี่ เสร็จแล้วต่อไปที่ ปากน้ำโพ นครสวรรค์  "วัดเกาะหงส์" บ้านแฟน พี่พล (พล พรภักดี) อีกสามวันสามคืน จากที่ วัดเกาะหงส์ แล้ว ไปงานสวนสนุก
ของ พี่หลอง (ฉลอง วุฒิวัย) ที่ อ.ชะอำ เพชรบุรี สามคืนเหมือนกัน
        เสร็จงาน ที่พี่หลองแล้ว พี่ชาย จะเปิดทำวงใหม่ เป็นลูกทุ่งวงใหญ่ ก็เลยรับปาก รับ "กลอย มิ่งขวัญ" ไว้ร่วมงานด้วย                                 
                                 พี่ติ๋มเล่าให้ผมและเพื่อนๆ ฟังกันแค่นี้   เฮ้อ.. โล่งอก นึกว่าโดนจัดหนัก
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ สิงหาคม 31, 2015, 06:59:52 PM
สองเพลงตามประกบ เริ่มจากเพลงแรก แม่ช่อชะบา - ชาย เมืองสิงห์  :tab_on:
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/a1af5c5e4bedb01a436f4c878997219b.swf

เพลงที่สอง พ่อแก่แม่เฒ่า - ชาย เมืองสิงห์ อย่าบอกนะว่าไม่รู้จักเพลงนี้ โกรธกันยันลูกได้บวชเลยเชียว
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/5cc1bb9d7e32113ca8e2fc99984e6184.swf

:61 :61 :61 :61 :61
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ กันยายน 01, 2015, 08:46:22 AM
 :teentob: :teentob: : พวกเราแอบดีใจกันอยู่เงียบๆ ที่รู้ว่า พี่ชาย จะทำวงใหม่ จะได้อยู่เป็นที่เป็นทางกันเสียที ไม่ต้องไปรับจ้างร้องวงโน้นทีวงนี้ที :

   : คืนที่สาม ซึ่งเป็นคืนสุดท้ายของงาน วงดนตรี จุฬารัตน์ ของ ครูมงคล อมาตยกุล ที่มี สังข์ทอง สีใส, พนม นพพร, แมน เนรมิต, เสียงทิพย์ ปทุมทอง, ที่กำลังโด่งดังมากๆ ในวงการเพลงลูกทุ่งขณะนั้น คนหลามไหลเขามาชมกันอย่างเนืองแน่น ผู้คนเบียดเสียดแน่นขนัด  ที่สร้างจุดสนใจไม่แพ้วงดนตรีลูกทุ่ง ก็คือ เป็นคืนตัดสินนักร้องประกวดเพลงลูกทุ่ง ในคืนสุดท้ายนี้ด้วย ต่างคน ต่างพากันมาเชียร์ รอลุ้นคนของตัวเอง กรรมการตัดสินการประกวดร้องเพลงรอบชิงชนะเลิศ
       ฉลอง วุฒิวัย, ศรีไพร ใจพระ, โฆสิต นพคุณ,  ผลปรากฏ เด็กชาย เยี่ยม ( จำนามสกุลไม่ได้ )
ได้รับรางวัลชนะเลิศ รับถ้วยเกียรติยศไปครอง
  ฉลอง วุฒิวัย ก็ติดต่อผู้ปกครอง เพื่อขออนุญาตนำ เด็กชายเยี่ยม มาอุปการะ ให้อยู่กับวงดนตรี ฟ้าบางกอก ตั้งชื่อให้ใหม่
เป็น "เยี่ยม ลูกยอด"  ต่อมากลายเป็นตลกเด็กที่โด่งดังในยุคหนึ่ง ร้องเพลงบันทึกเสียงไว้ เพลง "เด็กดอง" สร้างฐานะตัวเองจากการเป็นตลก และนักร้อง จนร่ำรวย มีรถให้เช่า และ รับ-ส่ง อยู่แถวย่านบ้านเกิดตัวเอง อำเภอ บ้านโป่ง จังหวัด ราชบุรี
                                   
                           ตอนนี้ เยี่ยม ลูกยอด เสียชีวิตแล้ว ด้วยอายุขัย ในวัย เพียง 50  ปี ...

       : ถ้าจะมีคำถามว่า "เยียม ลูกยอด"  ร้องเพลงเล่นตลก กับ คณะไหนบ้าง  ก็จะบอกว่า เยอะ หลายวงมากๆ
เริ่ม จาก วงฟ้าบางกอก ของครู ฉลอง วุฒิวัย เล่นคู่ กับ มิสเตอร์ เบ็นซิน, สังวาลย์ ทองภิรมย์,  มาอยู่ " จุฬาทิพย์ " เปลี่ยนชื่อ
เป็น เยี่ยม หยำฉ่า ( พี่ชายตั้งให้ใหม่ ) เล่นคู่กับ มิสเตอร์ เบ็นซิน, เด๋อ ดุกดิก
      สุดท้ายเท่าที่ผมได้สำผัส และจำได้ วง เสกศักดิ์ ภู่กันทอง+ประกายเพชร สรหงษ์  จากนั้นผมไม่ได้เจอกันอีกเลย
      จนกระทั่ง ผมเลิกลาจากวงการเพลง
                   
                                      และสุดท้ายจริงๆ ของการ เสียชีวิต ของ "เยี่ยม ลูกยอด"
 
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ กันยายน 01, 2015, 09:09:10 AM
 :74 :74 : ในช่วงที่พี่ชาย กำลังเพลิดเพลินอยู่กับการจัดงานสวนสนุก พวกเรายอมรับครับว่า เหนื่อยมากๆ
           
     แต่มีอยู่ งานหนึ่งที่ประทับใจ หากว่าสมัยนั้น การสื่อสารดีอย่างปัจจุบันก็คงจะบันทึกภาพสวยๆ งามๆ
เก็บความประทับใจนั้นไว้ คืนหนึ่งที่งานสวนสนุก วัดราษฎร์โพธิ์ทอง  ตรงโค้งถนนสายลวด (ปัจจุบัน) ตัดแยกถนนสุขุมวิท อ.เมือง ปากน้ำ จ.สมุทรปราการ วงดนตรี หลังเขาประยุกต์ ของ ชาย เมืองสิงห์ รับหน้าที่แสดง และได้ เชิญ "ไวพจน์ เพชรสุพรรณ" 
ที่กำลังดัง มาแรงแซงทางโค้ง นักร้องลูกทุ่งทุกคนในเวลานั้น เป็นนักร้องรับเชิญ ไวพจน์ ขึ้นร้องเพลง หลายเพลง
มีพี่ "จักรแก้ว ราชบดินทร์" นักดนตรี มือ แอคคอร์เดี่ยน ประจำวง ไวพจน์ มาร่วมสร้างความสุขให้กับแฟนๆ ที่มาคอยชม
กันอย่างเนืองแน่น สนุกสุดเหวี่ยง ของยอดฝีมือระดับเหนือชั้นที่เรียกว่าชั้นครู  ที่เหนือความคาดหมาย เหนือคำว่ามหาอัศจรรย์   
           "ไวพจน์ นักแหล่มหากาฬ ร้องเพลง / ชาย เมืองสิงห์ นักร้องมหากาพย์ ตีกลอง
เมื่อ "เสือ พบ สิงห์" อะไรจะเกิดขึ้น ผู้ชมคนดูได้กำไร คุ้มค้าเงิน ที่เสียเงินซื้อบัตรเข้ามาชม เด็ก 3 บาท ผู้ใหญ่ 5 บาท
  "ไวพจน์ ร้อง ชาย เมืองสิงห์ ตีกลอง" พอถึงคราว ชาย เมืองสิงห์ ร้อง ไวพจน์ เดินไปคว้า แอคคอร์เดี่ยน จากมือพี่ จักรแก้ว 

ขึ้นสะพาย ทำท่าทางกำลังดีดเล่นอยู่ สักพัก ก็ส่งคืนให้พี่จักรแก้ว แล้วส่ายหัว บอกกับคนดูว่า "ผมเล่นไม่เป็น" คนดูขำหัวเราะ  ...
           นั่น ไวพจน์ นักร้องยอดนักแหล่ ปล่อยมุข สร้างรอยยิ้มให้คนได้หัวเราะ ผู้ชมปรบมือชอบใจ ...                   
       ทั้ง ไวพจน์ เพชรสุพรรณ - ชาย เมืองสิงห์  2 ยอดนักร้องลูกทุ่ง ได้มายืนพูดคุย กับแฟนเพลง หน้าเวที
           และเพลงสุดท้าย ก่อนที่จะลงจากเวที ไวพจน์ ร้องเพลง ที่ ชาย เมืองสิงห์ แต่งและร้องบันทึกเสียงไว้ 
          "เพลง ข้าวใหม่ปลามัน"                                                                      
                          สร้างความสุข ความประทับใจ
                                                             
                            ..ไว้ ณ. ที่ วัดราษฎร์โพธิ์ทอง จ. สมุทรปราการ อย่างยากที่จะรู้ลืม ..
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ กันยายน 01, 2015, 10:24:03 AM
ลองฟังดูครับ ผมว่าเพลงนี้มีส่วนคล้ายๆ กับเพลง "สุกก่อนห่าม" นะครับ

ข้าวใหม่ปลามัน - ไวพจน์ เพชรสุพรรณ

http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/123d963c618e5d2835385d7f53478df8.swf

หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ กันยายน 01, 2015, 06:24:22 PM
                       
            :78 :78  :teentob:(http://www.mx7.com/t/d84/2kLJCu.jpg) (http://www.mx7.com/view2/yAOqcrljV9qup8TP) :teentob: :78 :78
                                                     ด้วยรักจากใจ  แก้ว สาริกา

 :42: ท่านที่เคารพ ครับ กระผมได้เล่าความเรื่องราวย้อนอดีต วงดนตรี "จุฬาทิพย์" ของ "ชาย เมืองสิงห์" มาตั้งแต่ต้น ผมเชื่อว่าท่านคงจะรู้เรื่องประวัติ ชาย เมืองสิงห์ จากสื่อต่างๆ ที่ผู้รู้ได้เขียนกันไว้เยอะแยะมากมายก่ายกอง มีให้อ่านกันทั่วไป ผมเองก็ได้อ่าน ...
        ชาย เมืองสิงห์ เรื่องราวของท่านนั้น หาอ่านและรับรู้เรื่องราวได้ไม่ยาก แต่มีที่สับสน เรื่องของการเริ่มก่อตั้งวง "จุฬาทิพย์" แม้กระทั่งพี่ชายเอง ก็เคยให้สัมภาษณ์สื่อวิทยุลูกทุ่งธรรมศาสตร์ ที่ผม และ มรกต เมืองกาญจน์ ก็ฟังอยู่ ท่านบอกว่า ก่อตั้ง ขี้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 ผม กะ ไอ้เจ้าแพรว (มรกต) ก็เอะใจ ว่าพี่ชาย คงจะเผลอไปแน่ๆ  แก้ว สาริกา, มรกต เมืองกาญจน์, อยู่ จุฬาทืพย์ มาก่อน ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งวง "จุฬาทิพย์" ตัวผมเองอยู่ขนของร้องเพลง มาตั้งแต่ วงหลังเขาประยุกต์ แล้วก็มาเป็นวง จุฬาทิพย์ แล้วก็ออกกันมา อยู่ วงแมน เนรมิตร เมื่อปลายปี พ.ศ. 2511 ... 
     ต่อมา วันที่ 5 เมษายน 2512  แก้ว สาริกา เกณฑ์ทหาร ถูก ทบ. ผลัดที่ 2 ก็เลยถือโอกาส บวช
     เมื่อ วันที่ 23 กรกฎาคม 2512 ครบ 1 พรรษา ลาสิกขา วันที่ 29 ตุลาคม 2512
     วันที่ 1 พฤศกายน 2512 เข้ากองประจำการ ที่จังหวัดทหารบก ลพบุร๊ ซึ่งเป็นค่ายกองร้อยทหาร ที่ พลฯ สมเศียร พานทอง" อยู่ประจำการมาก่อน รูปภาพที่สวยงาม โดย ฝีมือวาด ของ พลฯ สมเศียร พานทอง ติดปิดอยู่ที่ฝาผนังด้านหนึ่งของกองร้อย
ไว้เป็นที่ระลึก ก่อนที่จะย้ายไปประจำอยู่เหล่าเสนารักษ์ ...
                (แต่ ณ ปัจจุบัน ได้เปลี่ยนแปลงไป เป็นมณฑลทหารบก ที่ 13 ไปเรียบร้อยแล้ว) ครับ
           
                      ผมมิได้ที่จะมาโต้แย้งข้อเขียนของใครหรือกับใคร แต่ผมจำของผมได้อย่างนี้จริงๆ
                                            วงดนตรี "จุฬาทิพย์" ก่อตั้งวง ปีพ.ศ. 2510
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ กันยายน 01, 2015, 06:58:06 PM
  :teentob::teentob: : เอาล่ะครับ ขอพักเรื่องการจัดงานสวนสนุก ของ  ชาย เมืองสิงห์ ไว้ตรงนี้ นะครับ :      
 
   จะกล่าวและพูดถึง นักร้องแต่ละคน ที่มาอยู่ วงจุฬาทิพย์ นั้น มีที่มากันอย่างไร ตามที่ผมเกริ่นไว้ตั้งแต่ตอนต้นกระทู้
แต่จะขอเรียนให้ทราบก่อนนะครับว่า จำไม่หมดหรอก เหตุก็เพราะ แต่เดิมผมเคยบันทึกไว้ทำเป็นสมุดอัลบั้มเล่มใหญ่ที่เดียว
มีประวัติ มีรูป ของเพื่อนๆนักร้องทุกคน ที่มาอยู่ วงดนตรี "จุฬาทิพย์" ใครชื่ออะไร นามสกุลอะไร บ้านอยู่ที่ไหน มาอยู่วันไหน
อัดเสียงเพลงอะไร รวบรวมไว้หมด พอนานปีเข้า ย้ายที่อยู่บ่อย สมุดอัลบั้ม ทีจัดทำไว้ ไม่รู้หายไปตั้งแต่เมื่อไร แม้แต่แผ่นเสียงเพลงของตัวเองที่ร้องไว้ เก็บไว้ ยังหาย จะนับประสาอะไรกับสมุดที่เป็นกระดาษอ่อนๆ ก็ยังนึกเสียดายอยู่จนทุกวันนี้ ...

                      นี่ถ้ายังอยู่ คงได้มีโอกาสนำมาเผยแผ่ ในโลกออนไลด์ได้เยอะที่เดียว   เสียดายจริงๆ ...   
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ กันยายน 01, 2015, 09:57:59 PM
   
                                   :42  :teentob:(http://www.mx7.com/t/d6b/3jLnJ9.jpg) (http://www.mx7.com/view2/yAgvqzoOEPPbEA8D) :teentob:
                       
                : ขอนำมาก่อน เป็นคนแรกเลยนะ ครับ :


   : ยอด ธงชัย..        
    ชื่อจริง  อนันต์ (จำนามสกุลไม่ได้) บ้านเกิดที่ อำเภอ องค์รักษ์ จังหวัด นครนายก  ยอด ธงชัย เป็นเพื่อนรักกับ
กาเหว่า เสียงทอง มีเส้นทางเดินชีวิต เกือบจะคล้ายๆกัน แต่ยอด ธงชัย เริ่มต้นจากเป็นลูกมือ ช่างก่อสร้าง
     คืองี้ น้าของ ยอด ธงชัย (คุณน้าเกษม) เป็นช่างผู้รับเหมาสร้างบ้าน ให้ ครูมงคล อมาตยกุล โดยมี อนันต์ เป็นคนงานก่อสร้างร่วมด้วย ช่วงจังหวะนั้น น้าของ อนันต์ ซึ่งก็คุ้นเคยรู้จักกับครูดีอยู่ก่อนแล้ว เอ่ยปากฝากเจ้าหลานชาย ให้เป็นนักร้องอยู่ วงจุฬารัตน์ ด้วย เมื่อครูได้ฟังเสียงก็พอใจ รับไว้ขนของแบกกลอง อยู่มาก็หลายเดือนไม่ได้ร้องเพลงสักที ก็หันไปทำงานก่อสร้างกับน้าไปพลางๆก่อน ก็พอดี น้าชายรับสร้างบ้าน ให้ ชาย เมืองสิงห์ ซึ่งก็อยู่ใกล้ๆกับบ้านครูมงคล นั่นแหล่ะ (ตรอกวัดเซิงหวาย บางซื่อ) อนันต์ ขึ้น หลังคาได้ ก็ร้องเพลงไป ทำงานไป เมื่อพี่ชาย ได้ยินเสียงทุกวันบ่อยๆเข้า ก็เลยเอ่ยปากชมว่าร้องเพลงดี ทำไมไม่ไปเป็นนักร้องล่ะ ...
    ครั้นเมื่อบ้านพี่ชาย ได้สร้างเสร็จแล้ว ก็ได้ให้ แมน เนรมิตร, เรไร ณ.โคราช, เข้ามาอยู่ที่บ้านด้วย แมน เนรมิตร เริ่มดังเพลง ชวนชม แต่ เรไร ยังเด็ก จนกระทั่ง พี่ชายลาออกจาก จุฬารัตน์ มาทำวงดนตรีเล็กๆ ฉบับกระเป๋า วงหลังเขาประยุกต์ ก็ได้เอ่ยปากชวน อนันต์ มาอยู่ด้วย 
   พี่ชาย ตั้งชื่อให้ "ยอด ธงชัย"  บันทึกเสียงเพลงแรก ชื่อ เพลง "ตลาด" เป็นเพลงสะท้อนถึงความเป็น ลูกทุ่ง ที่ดูจะด้อยค่ากว่า
ความเป็นลูกกรุง พอแผ่นเสียงจะออกวางตลาด 
         พี่ชายจึงตัดสินใจ เปลี่ยนชื่อ จากเพลง  "ตลาด"  เป็น ชื่อเพลง "น้อยเนื้อต่ำใจ" 

  : ยอด ธงชัย  เป็นบุคคลากรที่มีคุณภาพ บุคสาย วางตารางการเดินสายของ วงจุฬาทิพย์ เป็นโฆษกผู้ประกาศเพลงหน้าเวที
ได้อย่างสง่างาม เป็นคนที่มีวาทะศิลป์ในการใช้คำพูด บางทีก็เล่นตลกร่วมกับตลกได้เมื่อคราวจำเป็น มีสำเนียงในการร้องเพลง 
ใช้อักขระภาษาได้อย่างถูกต้อง และชัดเจน
    เพลง น้อยเนื้อต่ำใจ,  บานเย็น,  เฮ้! ละเชิญ,  ปากหวานไม่เป็น,  และ เพลง น้ำตาอาสาสมัคร, นี่คือผลงานที่ ยอด ธงชัย
ได้ร้องบันทึกแผ่นเสียงไว้ ยอด  ธงชัย ไม่เคย ย้ายตัวเองไปอยู่วงไหน นอกจาก วงจุฬาทิพย์ ของชาย เมืองสิงห์ เท่านั้น
ยอด ธงชัย ยังรับราชการ เป็นทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ยามสวมเครื่องแบบ สง่างามอย่างไร้ที่ติ เป็นคนรูปร่างสมส่วนสูงใหญ่ สมชายชาติทหาร
     อยู่กับวงจุฬาทิพย์ จวบจนกระทั่ง ชาย เมืองสิงห์ ยุบวง  จึงผันตัวเองเข้าสู่กลุ่มยุทธจักร นักจัดรายการเพลง
ให้กับวง "สายัณห์ สัญญา" จัดเวทีการแสดง ให้กับสายัณห์ มีรถบรรทุกเครื่องอุปกรณ์การแสดง ทำเพลงลงทุนเอง
ให้ สายัณห์ สัญญา ร้อง  เพลง "เสียความรู้สึก" เพลงดังทะลุฟ้า สร้างตัวเงินให้กับ ยอด ธงชัย จนร่ำรวย มีที่ดิน มีบ้าน
มีสมบัติไว้มากโขอยู่
                               ระยะหลังๆ ยอด ธงชัย ดำเนินชีวิต อย่างประมาท และผิดพลาด                                 
                   มิฉนั้นแล้วชีวิตของ ยอด ธงชัย  ก็คงจะมีความสุข และรับใช้สังคมลูกทุ่งอีกยาวนาน                                                                                                               

                                   ด้วยการตัดสินใจ สุดที่เพื่อนๆจะช่วยเหลือได้และแก้ไขทัน
                   
                                          ยอด ธงชัย จึงจบชีวิต ด้วยน้ำมือของตัวเอง  




   

หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ กันยายน 02, 2015, 09:28:28 AM
เสนอเพลงของยอด ธงชัย หนึ่งเพลง ขอบคุณพี่แก้ว สาริกา ผู้เอื้อเฟื้อไฟล์เพลงนี้ครับ

บานเย็น - ยอด ธงชัย
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/70876c2d56498ee680690685be44ccb8.swf
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ กันยายน 02, 2015, 09:51:11 AM
เสนอเพลงของยอด ธงชัย หนึ่งเพลง ขอบคุณพี่แก้ว สาริกา ผู้เอื้อเฟื้อไฟล์เพลงนี้ครับ

บานเย็น - ยอด ธงชัย
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/70876c2d56498ee680690685be44ccb8.swf

 : ส่งคำขอบคุณนี้ มอบ คุณอนุกูล หยดย้อย ด้วยครับ ให้ผมมาอีกที :
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ กันยายน 02, 2015, 11:16:08 AM
                                 
                                   :teentob::teentob:(http://www.mx7.com/t/98f/jXwL2Z.jpg) (http://www.mx7.com/view2/yAQC6O2idS28PCHF) :teentob: :teentob:

:teentob: : ทศพร หิมพานต์..             
   
   ทศพร หิมพานต์ ชื่อนี้ พี่ชาย ตั้งให้ นับว่าเป็นชื่อที่ออกจะแปลกสักหน่อย สำหรับนักร้องสมัยก่อนๆ ฟังแล้ว คล้ายๆ ชื่อในเรื่องของ เทศน์มหาชาติ 13 กัณฑ์ 
   ทศพร หิมพานต์ บ้านเดิม อยู่จังหวัดกำแพงเพชร อำเภอขุขันธ์ หรือตำบลขุขันธ์ ผมจำไม่ได้แน่ (ผู้รู้ช่วยต่อเติมให้หน่อยครับ)
นามกรจริง "นิยม ขุขันธ์ทิน" รูปร่างสูง หน้าตาก็งั้นๆแหล่ะ แพ้ผมนิดหน่อย เดินทางเข้าพบ ท่าน "ประจวบ จำปาทอง" ตอนนั้นยังเป็น นักร้อง-โฆษก วงจุฬารัตน์ ยังไม่เป็นนายห้าง ไปร้องเพลงให้ ท่าน"ประจวบ" ฟัง และขอให้ ประจวบ ฝากให้เป็นนักร้อง
วงดนตรี จุฬารัตน์ ให้หน่อย ประจวบตอบ เฮ้ย.. เอาขนาดนั้นเชียวเหร่อะ !
    ประจวบ บอก ไม่กล้าไปฝากครู เพราะนักร้องจุฬารัตน์ มีเยอะ ดังๆ ทั้งนั้น อย่างนายเนี่ยะ ยังหรอก เอางี้.. เดี๋ยวจะไปฝาก
ฉลอง อยู่กับ วงฟ้าบางกอก ก็แล้วกัน แล้ว เจ้านิยม ก็ได้มาอยู่กับ ครูฉลอง วุฒิวัย ที่บ้านบางซื่อ เป็นนักร้องขนของร้องเพลง
มีแนวเสียง ร่องเสียงเหมือนและคล้าย ชาย เมืองสิงห์ เอามากๆ  ครูฉลอง วุฒิวัย ตั้งชื่อให้ใช้ในการร้องเพลง
"กำพล เพชรกำแพง"  ในน้ำเสียงและลีลา ที่เหมือน ชาย เมืองสิงห์  ครูฉลอง จึงแต่งเพลง "เชียงใหม่เจ๊า" ให้บันทึกเสียง
ที่ห้องอัด ฉลอง ตลิ่งชัน ในคลองบางกอกน้อย เป็นการ บันทึกเสียงเพลงแรก  พอแผ่นเสียงออกวางตลาด กลับกลายเป็นชื่อ
  "ทศพร หิมพานต์" เจ้าตัวก็ยังงง แต่ก็ดีใจชอบใจ เพราะ ชาย เมืองสิงห์ เป็นคนเปลี่ยนให้

      ตื่นเช้าของทุกๆวัน ไอ้เจ้ายม (ขอโทษครับ จริงๆผมเรียกไอ้ยม) จะต้องออกจากบ้านทุกวัน ผมถามไปไหน
   ไอ้ยมตอบผม ไปบ้านพี่เสียน ผมก็งง เพราะไม่รู้จัก แต่ก็คุ้นๆหูอยู่
                         
                         หลายวัน บ่อยๆเข้า                     
                            ผมถาม เสียนไหนว่ะ                       
                                ตอบ  ก็  ชาย เมืองสิงห์ ไง                         
               อ๋อ!... เลยหายงง เล่นตีสนิท เรียกพี่เสียน เราก็งงนะซี้ ถ้าบอก ชาย เมืองสิงห์ ตั้งแต่แรก เราจะได้ขอไปด้วย
                              ตกลง มึงไปคนเดียว ขอไปด้วยคนไม่ได้เหรอ กูอยากรู้จัก ชาย เมืองสิงห์                                                   
                              อยู่บ้านเหอะ เดี๋ยวให้กูสนิทมากๆก่อน ไม่ต้องอะไร ได้เพลงแกแต่งให้สักเพลง แล้วจะพาไป             
      จนแล้ว จนรอด มันก็ไม่ยอมพาไปสักที
                จนกระทั่งวันหนึ่ง ไอ้ยมก็ไปบ้าน ชาย เมืองสิงห์ ตามปกติวิสัย ของมัน จะชวนเราสักคำก็ไม่มี
ตอนเย็นๆ  เดินยิ้มแป้นกลับมาถึงบ้าน  นอนเอกเขนกไขว่ห้างปลายเท้ากระดิกยิกๆ ฮำเพลง ท่องเพลงของมันไปเรื่อย 
ผมได้ยินได้ฟังมันร้อง จนพอจะจำได้ 
                         "เกี่ยวเถิดนะแม่เกี่ยว เกี่ยวเถิดนะแม่เกี่ยว อย่ามัวชะแง้แลเหลียว เดี๋ยวเคียวจะบาดก้อยน้อย
                                           อย่าทำเหม่อเมอใจลอย พี่ชายมาคอยเกี่ยวก้อยเอย"
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ กันยายน 02, 2015, 02:23:58 PM
  :73: จนกระทั่ง ครูฉลอง กลับมาจากทำงาน  ได้ยินเพลงที่ไอ้ยมร้อง ก็ถามว่าไปเอาเพลงที่ไหนมา
                    เพราะนี่หว่า ทำนอง เพลงเกี่ยวข้าว           
                   ไอ้ยม -   พี่เสียนให้มา           
                ครูฉลอง -   แกจะไปอยู่กับไอ้ชายเหรอ ข้าวของไม่เห็นช่วยไอ้หลองเล็กมันขน มันขนของมันคนเดียวเวลามีงาน
                               ค่าตัวแกก็ได้มากกว่ามัน (ครูฉลอง แกก็บ่นไปงั้นๆแหล่ะ)
               ไอ้ยม มันตอบว่ายังไงรู้ไหมครับ ใจมันถึง ถ้าเป็นผม ผมคงไม่กล้าตอบอย่างไอ้ยมแน่ เพราะผมคนขี้ขลาด
               เกรงใจกับคำพูดที่จะพูดออกไป           
               ไอ้ยม -  ครับ ชาย เมืองสิงห์ แต่งเพลง "เกี่ยวรัก" นี่กำลังท่องเนื้อ-ทำนองอยู่ จะให้ผมอัดแผ่นเสียงเร็วๆนี้
                          และเปลี่ยนชื่อให้ผมใหม่ด้วยแล้ว "ทศพร หิมพานต์"             
          ดูมันตอบ ไม่เกรงใจครูมันเลย         
          ครูฉลอง -  เออ นับว่าเป็นโชคและดวงของแก ที่ไอ้ชาย แต่งเพลงให้  ไอ้ชายดวงส่งคนมันเฮง
                        แต่งเพลงให้ใครร้องก็ ดังทุกคน  แกเตรียมตัวเป็นนักร้องดังได้แล้ว       
          อื้อฮือ..ผมงี้หูร้อนฉา ไปด้วยความอิจฉา ริษยามัน จริงนะครับ (อิจฉามันจริงๆ ให้ดิ้นตาย ตอนนั้นน่ะ)         
                   
                             ไม่กี่วันถัดไป  ไอ้ยมก็หายไปจากบ้านครูฉลอง  ทิ้งให้ผมอยู่คนเดียว                           
           
           ไอ้ยม หรือ "กำพล เพชรกำแพง"  ก็กลายไปเป็น "ทศพร หิมพานต์" เป็นคนที่ ชาย เมืองสิงห์ โปรดอีกคน

     :teentob: : ยัง ยังไม่จบครับ สำหรับเพื่อนผม คนมันจะดัง :
             
        ครั้งหนึ่ง เป็นช่วงฤดูหนาว ปีนั้นหนาวมาก  วงจุฬาทิพย์ ยกวงไปแสดงที่จังหวัดฉะเชิงเทรา
           ชาย เมืองสิงห์ ไม่สบายมาก หนาวสั่น คางสั่น ร้องเพลงก็จะไม่ไหว ถึงคิวหัวหน้าวงออกร้อง
   พี่ชายแข็งใจ ออกร้องเพลง ยืนสู่อยู่หน้าเวที ได้ 3 เพลง ก็หยุดร้องแล้วก็บอกกับแฟนเพลง ผม ชาย เมืองสิงห์
   ไม่สบายจริงๆ  อยากจะร้องเพลงให้เยอะๆให้แฟนฟังกันจุใจ แต่สังขารฝืนไม่ไหวจริงๆ ขออนุญาตให้ลูกศิษย์
   ออกมาร้องแทน ผม ชาย เมืองสิงห์ ก็จะนั่งอยู่กับแฟนเพลงตรงนี้ไม่หนีไปไหน             
       แล้วพี่ชาย ก็ประกาศแนะนำนักร้องที่เป็นลูกศิษย์"ทศพร หิมพานต์" ร้องเพลง ของ ชาย เมืองสิงห์ 
   ทุกเพลง ตามที่แฟนๆขอมา       
   ทศพร หิมพานต์  ร้องเพลงของ ชาย เมืองสิงห์ ได้ทุกเพลง เสียงก็เหมือน คนดูชอบสงสาร ชาย เมืองสิงห์
   จึงร้องบอกขอพี่ชาย ให้ไปพักผ่อนด้านหลังเวที หน้าเวทีมอบให้ "ทศพร หิมพานต์"
   
   ทำหน้าที่เป็น ชาย เมืองสิงห์ แทน จนกระทั่งเวลาการแสดงได้สิ้นสุด ...
   โดยเฉพาะ เพลงสุดท้าย "ทุกข์ร้อยแปด" ร้องเอง ตีกลองเอง ลีลา ชาย เมืองสิงห์ ยังไงก็ยังงั้น
          เหมือนยังกับคน คนเดียวกันเลย             
                               
                            "ทศพร หิมพานต์"  ทำหน้าที่ได้ยอดเยี่ยม อย่างไม่มีข้อกังขา ... 

 :teentob: : ทศพร หิมพานต์.. 
ครั้งอยู่ จุฬาทิพย์ บันทึกเสียงเพลงลงแผ่นเสียงไว้ มี เพลง เชียงใหม่เจ๊า, เกี่ยวรัก, แม่งูดินกินลึก, กำพร้าเมีย,
สามวันจากนารีเป็นอื่น,       
     แล้วผันตัวเองไปอยู่ วงดนตรี "พิณศรีวิชัย"  ใช้ชื่อ "ภูมิ เพชรกำแพง" บันทึกเสียงเพลงไว้เยอะ
ถึงคราว ดวงมันจะดัง เปลี่ยนชื่ออีกที ตามที่ ฉลอง ภู่สว่าง ร้องขอ เป็น  "ดาวไทย ยืนยง"  ประเดิมด้วยเพลง "แผลเป็น" ก็พอดังได้ไม่อายใคร (เป็นต้นฉบับ)
                 
                   คนอะไรไม่รู้ มาดังตอนเสียชีวิตแล้ว ด้วย เพลงที่แต่งทิ้งไว้  เพลง "กลับมาทำไม"
                                             ให้พาไปรู้จักกับ ชาย เมืองสิงห์ ก็ไม่ยอมพาไป 
     
                     ตายแล้วกลับมาดัง ก็ยังงก ไม่ยอมแบ่งความดังให้กันบ้างเลย ทีนี้อย่ามาพาไปไหนเชียวนะมึง เพื่อนหนอเพื่อน                                       
                                                   
                                                         ขอเพื่อนจงไปสู่สุขคติภพเถิด
           

หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ กันยายน 02, 2015, 06:39:48 PM
นำเสนอสี่เพลงเรียงตามความเก่า เริ่มจาก

เกี่ยวรัก - ทศพร หิมพานต์
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/2267eed0bb76859d5401db0e07aadf5e.swf

แม่งูดินกินลึก - ทศพร หิมพานต์
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/1b0253f28ed63865894f328beaa85c23.swf

หน้าไม่เหมือนเก่า - ภูมิ เพชรกำแพง
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/79163eac621d523791a8adad1d93e5c8.swf

แผลเป็น - ดาวไทย ยืนยง
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/eae2f51426afbee7acbbc0522d993f45.swf

ขอบคุณพี่แก้ว สาริกา ผู้เอื้อเฟื้อไฟล์เพลงครับ
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ กันยายน 03, 2015, 09:47:04 AM
             
                     :74  :teentob::74(http://www.mx7.com/t/d3b/4qmFOv.jpg) (http://www.mx7.com/view2/yAODieF5hxd89KpN) :74 :teentob: :74
                                                                  เรไร ณ.โคราช

:42 : คิดอยู่ว่าจะหยิบเรื่อง แม่หญิง "เรไร ณ.โคราช" มาเล่าด้วยไหม เพราะได้เคยคุยและลงไปเมื่อเร็วๆ นี้เอง 
            นั่งใคร่ครวญอยู่ ก็เลยตัดสินใจเอาซ่ะหน่อย จะได้ประกอบเรื่องเข้าหากันได้ :


  : เรไร ณ. โคราช..             
    เมื่อครั้งแรกที่ผมย่างก่าวเข้าสู่ประตูบ้าน ของ "ชาย เมืองสิงห์" 17/12 ตรอกวัดเซิงหวาย บางซ่อน อ. ดุสิต พระนคร
ผมก็ได้เห็นเด็กผู้หญิงตัวอวบๆ กะปุ๊กลุก เหมือนกระปูกตั้งฉ่าย  อายุ ก็ราวๆ 11-12 ขวบ ได้กระมัง
ไว้ผมสั้น ช่างพูด ช่างคุย วาจาสัมมาคารวะต่อผู้หลักผู้ใหญ่ พบเจอใครที่อายุมากกว่า รู้จักไม่รู้จัก ยกมือไหว้ทุกคน
นี่กระมังครับที่เขาเรียกว่า เด็กที่ได้รับการอบรมมาดีจากผู้ให้กำเนิด ก็คงไม่ผิดไปนัก
    พบปะเจอะเจอกันบ่อยเข้า ก็รู้ได้ว่าเด็กคนนี้เป็นเด็กดี และได้รับรู้ไปอีกว่า พ่อ แม่ ได้นำมาจากบ้านนอกที่ราบสูง
จาก ตำบลบ้านบัว อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา  นำมาฝากไว้ให้อยู่กับ ชาย เมืองสิงห์ เป็นผู้อุปการะ พี่ชาย พี่ติ๋ม ก็รัก
เหมือนลูก และเด็กคนนี้ก็ร้องเพลงดีเสียด้วย เสียงใสในวัยเด็ก ยามได้ฟังตอนต่อเพลงร้องสดๆ มีน้ำเสียงใสกังวาล
ใสดั่งน้ำค้างที่ตกมาพรมบนยอดหญ้า ยามใกล้รุ่งอรุณ ฟังแล้วชื่นใจ
      พี่ชาย ตั้งชื่อเมื่อครั้งร้องเพลงใหม่ๆว่า "เรไร ราชสีมา" ไม่นานนัก พี่ชาย ก็ได้เปลี่ยนให้ใหม่ เป็น "เรไร ณ.โคราช"     
เรไร ณ.โคราช มีชื่อจริง "หอมหวล ช่างเรือนกลาง" เป็นชาวอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสี ถือว่าเป็นลูกหลานย่าโมโดยกำเนิด
เกิดเมื่อ วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2496 นับได้ว่าเป็นนักร้องหญิงคนแรก ที่เข้ามาอยู่ วงหลังเขาประยุกต์ / วงจุฬาทิพย์  

  : เรไร ณ.โคราช      
เริ่มมาอยู่ บ้าน ชาย เมืองสิงห์ ก่อนใครๆ ก่อนที่พี่ชาย จะเริ่มก่อตั้ง วงหลังเขาประยุกต์ มาอยู่ที่บ้านเฉยๆก่อน ร้องเพลงบ้างยามว่างมิให้เหงา ก่อนที่พี่ชายจะมีวงหลังเขาประยุกต์ ก็ได้บันทึกเสียงไว้เป็นระยะ ๆ พี่ชาย บันทึกเสียง เพลง "เมียสองต้องห้าม"  เรไร ร้องแก้ เพลง "เมียสามเมียสี่" เป็นเพลงที่ เรไร บันทึกเสียงไว้เป็นเพลงแรก ต่อมาก็มีเพลง "แค่นรัก"  อีกหลายๆเพลงต่อมา มีทั้งร้องเดี่ยว และร้องเป็นเพลงแก้ อย่างเพลง "ดอกไม้ของน้อง" ร้องแก้ เพลง "กุหลาบในมือเธอ" เพลง "แม่ม่ายทรงเครื่อง" ร้องแก้ เพลง "พ่อม่ายลูกติด" และก็ยังมีเพลงที่ร้องคู่กันกับ ชาย เมืองสิงห์ อย่างเพลง "ชะทิงนองนอย" เพลง "ก้างขวางคอ" เฉพาะเพลงนี้ ร้อง 3 คน มี ชาย เมืองสิงห์, เรไร ณ.โคราช, น้ำผึ้ง ภูธร, (เรไร ใช้ชื่อ "พลับพลึง สถาพร")
               เรไร โด่งดัง จากเพลง "ไปดีมาดี"  มีเพลงที่บันทึกเสียงไว้มากทีเดียว ผมเองก็จำมิค่อยได้
ปัจจุบัน เรไร ณ.โคราช นับว่าเป็นนักร้องหญิง ในสายจุฬาทิพย์ ที่ประสพความสำเร็จมากคนหนึ่ง มีบ้านพักให้เช่า มีร้านอาหาร
               
                ชื่อ ร้านอาหาร "เรไร ณ.โคราช" ที่สี่แยกปักธงชัย อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
   
  : ย้อนกลับไปอ่านต้นๆกระทู้ ประวัติ แม่หญิง เรไร ณ.โคราช ที่กระผมได้คุยกันทางเฟส เมื่อเร็วๆนี้ โดยละเอียด ครับ :

ผมตัดต่อมาเพื่อรับทราบเพียงช่วงหนึ่ง

:เรไร ณ. โคราช จะแก้ตรงไหนดีล่ะพี่หมดไส้ไปแล้วชื่อเสียงเรียงนามก็ชัดเจนอยู่แล้ว อ่อๆๆๆขอนีดเดียวนะจ๊ะพี่แก้วบุคคล 
ท่านนี้จะลืมไม่ได้เลยก็คือ คุณอาศักดิ์โกศล ท่านเป็นนักจัดรายการทำละครวิทยุ ขอ อณุญาตเล่านิดนึงนะคะพี่แก้ว เรไรเป็นเด็กไปประกวดร้องเพลงที่ ป ช ส ๗ ใต้สพานพุธ คุณอาศักดิ์ และคณอาไฉนกลิ่นขาวเป็นกรรมการ เรไรได้ที่๑นะพี่แก้วคุณอาศักดิ์โกศลก็เลยพาเรไร(เด็กหญิงหอมหวล)ไปอยู่ในบ้านก็ได้รับความเมตตาจากคุณอาศรีวรรณเดือนสว่างด้วยซึ่งท่านเป็นภรรยาของคุณอาศักดิ์ค่ะ หนูก็ได้ยินคุณอาทั้งสองคุยกันว่าต้องเอาเด็กคนนี้ไปฝากไว้กับนักร้องจะดีก่วาถึงจะมีอนาคตเพราะท่านทั้งสองทำลครวิทยุมันคนละเรื่องกัน พี่แก้วเบื่อหรือยังคะเนี่ย ยังไงก็ขออีกนีดๆๆนะพี่ไม่งั้นไม่ถึงบางอ้อ อีกสองวันคุณอากับพี่ราเชน พี่ราเชนก็เป็นลูกหลานคุณอาศักดิ์ค่ะสองคนบอกให้หนูแต่งตัว ในใจก็คิดเขาจะเอาเราไปไว้ที่ไหนกับใครหนอเสียใจนะพี่แก้วร้องไห้เลยละพี่แก้วถึงจะอยู่บ้านนั้นไม่นานนักแต่ได้รับควาวมเมตตาจากคนในครอบครัวของท่านมากมายโดยเฉพาะคุณย่าเรไรคิดถึงท่านมาก ก็ลํ่าลากันแป๊บหนึ่ง จำได้ว่าที่เดินออกมาจากบ้านหลังนั้นอยู่ในซอยไสวสุวรรณค่ะ ก็ใกล้กับวัดเซิงหวายนั่นแหละค่ะ คุณอาศักดิ์พาหนูไปฝากให้อยู่กับพี่ ชาย เมืองสิงห์ นี่คือที่มาที่ไปในตอนเริ่มแรก ค่ะ /...

หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ กันยายน 03, 2015, 12:35:03 PM
แม่หญิงเรไรมาาแล้วจ๊ะ

เมียสามเมียสี่ - เรไร ณ โคราช
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/68b74eb0474a11ebbc0acf7233b8215e.swf

ระทม - เรไร ณ โคราช
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/dcc0f45cc649e941d3b03b169cc5fcfd.swf

ก้างขวางคอ - ชาย เมืองสิงห์ เรไร ณ โคราช น้ำผึ้ง สถาพร
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/d3f28e2a71ee04d942fe6a66e3349609.swf


หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ กันยายน 03, 2015, 06:09:31 PM
                                :42  :teentob:(http://www.mx7.com/t/bcb/xmu74Y.jpg) (http://www.mx7.com/view2/yAgrJz8ftHP4tHDo) :teentob:
           
         : พร เทวา
  นักร้องเสียงคุณภาพ จากวง "จุฬาทิพย์" เจ้าของเสียงเพลง "บานชื่น"
                               ก่อนที่จะมาเป็น "ไมตรี สีทอง" เจ้าของเสียงเพลง "รักแรกพบ" :


 : ขอเรียนมาเพื่อทราบก่อนนะครับว่า ชื่อ พร เทวา มี สองคน คนแรก อยู่วงดนตรี "ฟ้าบางกอก"  ร้องเพลง "ยิ้มหน่อย"
  ไม่ได้อยู่ วง จุฬาทิพย์    แต่.. ชาย เมืองสิงห์ ตั้งชื่อให้ ไปเป็นปลัดอำเภอ อยู่ อ. องครักษ์ จ. นครนายก ก็เลิกร้องเพลง
  จึงมี พร เทวา คนที่ สอง อย่า งง และก็ห้าม งง ด้วย เดี๋ยวผม งงตาม 55555...

 : ผมจะนำเกล็ดประวัติ เล็กๆ น้อยๆ ของ พร เทวา คนที่สอง มาเล่าขานสู่กันฟัง ก่อนที่จะมาเป็น ไมตรี สีทอง ตกลงนะ
  รับทราบทั่วกัน นะ ครับ :
   
   พร เทวา เป็นนักร้องที่มีเสียงคุณภาพ เขาเป็นหนึ่งไม่เป็นสองรองใคร ในลูกทีมจุฬาทิพย์ ทั้งหมด ทั้งน้ำเสียงการใช้อักษรภาษาอักขระ ท่วงทำนองท่าทีลีลาในการขับขานร้อง การต่อเพลงหัวไวจำแม่น แต่นั่นแหล่ะครับ การเป็นนักร้องเสียงดีอย่างเดียว
มันไม่พอ ต้องมีองค์ประกอบอีกหลายๆอย่าง พร้อมทั้งมีดวงเข้ามาหนุนช่วย
     พร เทวา หนุ่มจากที่ราบสูง จากอำเภอ เนินสูง หรือ สูงเนิน จำไม่ได้แน่ จังหวัด นครราชสีมา ชื่อจริง "สมพร"
(นามสกุลก็จำไม่ได้อีกนั่นแหล่ะครับ) นำตัวเองเข้าเป็นนักร้องประกวดที่ "วัดโพธิ์ข้าวผอก"  ต. บางมัญ อ. เมือง จ. สิงห์บุรี
ในงานทอดกฐินสามัคคี  ปี พ.ศ. 2509 ที่ ชาย เมืองสิงห์ เป็นเจ้าภาพในปีนั้น "สมพร" ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ
โดยร้องเพลง ของ ทูล ทองใจ ที่ใครๆว่าร้องยาก แต่เขาคนนี้ สมพร ทำได้ และทำได้ดีเสียด้วย
(นี่วันนั้นถ้าผมเป็นกรรมการนะ ที่ 1 ไปเลย ผ่าซิ)
"พล พรภักดี" จึงนำ สมพร ติดรถเข้าสู่กรุงเทพฯ มาพักอาศัยอยู่ที่บ้านด้วย ในซอยระนอง ใกล้ๆสะพานแดง บางซื่อ ฝากให้เป็น
นักร้อง วง จุฬาทิพย์ พี่ชาย ได้ตั้งชื่อให้ครั้งแรก "เทพ เทวา" ไม่นาน พี่ชาย ก็มีเพลง ให้ร้องและบันทึกแผ่นเสียงในเวลาต่อมา ด้วยเพลง "บานชื่น" เป็นเพลงแรก วันที่บันทึกเสียง พี่ชายเห็นว่า ชื่อจะสูงเกินไป จึงเปลี่ยนให้เสียใหม่ เป็น "พร เทวา" และบันทึกเสียงอีกเพลง เพลง "น้ำพริกปลาทู" ร้องเพลงไม่นานนัก ก็ผันตัวเองมาเป็นนักดนตรี มือกีต้าเบส
(คงจะเห็นว่านักร้องค่าตัวน้อย)  เล่นดนตรีก็อยู่ไม่นานอีก จู่ๆ ก็มาหายหน้าไปจาก วง จุฬาทิพย์
    กาลเวลา ต่อมาก็ได้มี นายทุน (สู่ยุคนายทุน) เห็นว่า พร เทวา ร้องเพลงได้ดี น่าจะมีโอกาสดังได้ จึงให้กลับมาร้องเพลงอัดแผ่นเสียงอีกครั้ง ในชื่อใหม่ "ไมตรี สีทอง" เพลงแรกของชื่อใหม่ เพลง "รักแรกพบ" และ เพลง "วาสนารัก" อีกหลายเพลง
เข็นยังไงๆ ก็ไม่ดังเปรี้ยง เพียงแต่แค่มีคนรู้จัก แต่ก็ยังมีอาชีพรองรับอยู่
คือ การเป็นนักดนตรี ความเป็นอยู่ จึงไม่ฝืดเคืองเท่าใดนัก ชีวิตของการเป็นนักดนตรี ก็ต้องสิ้นสุดสะดุดลง เพราะการเวลาที่เปลี่ยน ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย นักดนตรีหลายชีวิตก็ต้องตกงาน เป็นไปตามอายุไขและการเวลา ที่ถูกกำหนด
แล้วชื่อของ " ไมตรี สีทอง" ก็เงียบหายไปจากวงการเพลง ทิ้งเหลือไว้ เพียงเสียงเพลงแห่งความไพเราะ และแสนสุดประทับใจ
   
        ที่ยังพอมีหลงเหลือให้เราได้ฟังกัน แล้วก็คิดถึงเท่านั้น / ด้วยความที่คิดถึงเพี่อน ครับ แก้ว สาริกา ...
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ กันยายน 03, 2015, 08:10:15 PM
มีเพลงมาให้ฟังสามเพลงครับ
 
เพลงที่ 1 บานชื่น - พร เทวา (ไมตรี สีทอง)
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/c8a24c99d49769ed061d5d4d5b85f7ca.swf

เพลงที่ 2 ยิ้มหน่อย - พร เทวา (คนแรก) วงดนตรีฟ้าบางกอก
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/71fa105ac24f596721b67c02aa79e3da.swf

เพลงที่ 3 รักแรกพบ - ไมตรี สีทอง คำร้อง/ทำนอง - อภิชาติ ชาตรี แผ่นเสียงสปีด 45 ตรากุมารทอง

http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/a05ee8bc9837a547d3d35cac6e5aebdb.swf

ขอบคุณพี่แก้ว สาริกา ผู้เอื้อเฟื้อไฟล์เพลงบานชื่น และเพลง ยิ้มหน่อย ครับ  :tab_on: :tab_on:

หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ กันยายน 04, 2015, 08:33:18 AM
 :teentob: : ดวงมาลย์ มิ่งมิตร..       
            เคยอยู่ วงดนตรี " ก้าน แก้วสุพรรณ " มาก่อน ชื่อ "กลอย มิ่งขวัญ" เป็นนักร้องคู่ขวัญ กันกับ "ขวัญ เอื้อเฟื้อ"
            สมัยอยู่ วงดนตรีก้าน แก้วสุพรรณ
ชื่อจริง "เกษร โตล้อม"  เป็นคนอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เป็นคนรูปร่างสวย น่าตาดี  มาอยู่ จุฬาทิพย์ เริ่มแรก ใช่ชื่อ
"ดวงมาลย์ เนรมิตร" แต่เมื่อถึงคราวบันทึกแผ่นเสียง ได้เปลี่ยนใหม่ เป็น "ดวงมาลย์ มิ่งมิตร" บันทึกเสียงไว้ มีเพลง "ใจจืด"
เพลง "ชีวิตพยาบาล"  สำหรับเพลง ชีวิตพยาบาล "ดวงใจ เมืองสิงห์" ก็ได้บันทึกเสียงไว้ด้วย ในคราวเดียวกัน
"ดวงมาลย์ มิ่งมิตร" เป็นคนที่ พี่ติ๋ม ให้ความรัก เป็นคนใกล้ชิดและไว้วางใจมากที่สุดคนหนึ่ง
                      ต่อมาก็มาอยู่ วงดนตรี แมน เนรมิตร และ เป็นนักจัดรายการหญิงที่โดดเด่น และโด่งดังในยุคหนึ่ง
                                             นามของเธอ  "กลอยใจ เกษแก้ว"  
        ลงทุนทำเพลง ให้ "สายัณห์ สัญญา" ร้อง ได้ทั้งตัวเงิน ชื่อเสียง และส่วนแบ่งมิใช่น้อย จนจัดว่ามีฐานะดีคนหนึ่ง                         
                     
                 ปัจจุบันใช้ชีวิตครอบครัว กับ  "แมน เนรมิตร"  ที่บ้านโป่งกูป    อ. พนมทวน จ. กาญจนบุรี

ดวงมาลย์ มิ่งมิตร ครับ เพลง ใจจืด
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/902a677cd6cb5cc9396335e3b2c839bb.swf


ชื่อนี้ กลอย มิ่งขวัญ กับเพลง ลูกขอทาน ครับ

http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/5f2c8c46991417103b0ecea8755b5659.swf

หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ กันยายน 04, 2015, 09:00:07 AM
มีเพลงมาให้ฟังสามเพลงครับ
 
เพลงที่ 1 บานชื่น - พร เทวา (ไมตรี สีทอง)
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/c8a24c99d49769ed061d5d4d5b85f7ca.swf

เพลงที่ 2 ยิ้มหน่อย - พร เทวา (คนแรก) วงดนตรีฟ้าบางกอก
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/71fa105ac24f596721b67c02aa79e3da.swf

เพลงที่ 3 รักแรกพบ - ไมตรี สีทอง คำร้อง/ทำนอง - อภิชาติ ชาตรี แผ่นเสียงสปีด 45 ตรากุมารทอง

http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/a05ee8bc9837a547d3d35cac6e5aebdb.swf

ขอบคุณพี่แก้ว สาริกา ผู้เอื้อเฟื้อไฟล์เพลงบานชื่น และเพลง ยิ้มหน่อย ครับ  :tab_on: :tab_on:
       ต้องขออภัยท่านครับ สำหรับเพลง "บานชื่น" ที่ช่วงท้ายหายไป เนื่องจากเป็นแผ่น 78 ที่ค่อนข้างชำรุด
                     แต่อยากจะให้ท่านฟัง ระหว่าง เป็น พร เทวา ก่อนจะมาเป็น ไมตรี สีทอง
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: ลมโชย ที่ กันยายน 04, 2015, 09:08:09 AM
(http://image.goosiam.com/imgupload/i/N2UoQkvR0pyN.jpg) (http://image.goosiam.com/view.asp?uid=80705&s=N2UoQkvR0pyN)

นำภาพของ ดาวไทย ยืนยง มาฝาก 1 ภาพ
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ กันยายน 04, 2015, 09:11:49 AM
 :teentob: :teentob: : ผมเกือบจะลืม  นักร้องท่านนี้ไปเสียแล้วล่ะครับ  เศรษฐี ภูธร/ ทุ่ง เศรษฐี/ มิตร มนตรี

    ไอ้แหลม เป็นชื่อเล่น ที่พวกเพื่อนๆ เรียกกันจนติดปาก เลยลืมไปเลยว่า ชื่อจริง นามสกุลจริง มีว่าอย่างไร
ไอ้เจ้าแหลม มีนิวาสถาน อยู่ในซอยวัดแหลมฟ้าผ่า อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ปัจจุบันเป็นอำเภอพระสมุทรเจดีย์ไปแล้ว 
เป็นนักร้องที่จัดว่ามีฐานะดีคนหนึ่ง มีที่บ้าน มีสวนมะพร้าว ที่ดินมากกว่าเจ็ดสิบไร่ ซึ่งตอนนี้บ้านเมืองเจริญมาก ที่ดินมีราคา หลับตาคิด เห็นแต่ก้อนเงินมากองอยู่เต็มไปหมด
    ไอ้เจ้าแหลม นี่แหล่ะ ทำให้ผมเป็นคนขี้อิจฉาไปอีกคนเป็นคนที่สอง ต่อจาก ทศพร หิมพานต์ อย่าเพิ่งเหล่ผมนะครับ
จะเล่าให้ฟังเพลินๆ ในวงการก็อย่างงี้แหล่ะ  ขี้อิจฉาตาร้อน มีโกรธ มีเกลียด มีโลภ มีรัก มีหลง
    วันหนึ่ง ขณะผมนั่งตีกลอง ซ้อมนักเต้นหางเครื่อง มีรถเก๋งคันสีขาววิ่งมาจอดที่หน้าสำนักงาน บ้าน ชาย เมืองสิงห์ มี ชาย-หญิง สองคน ลักษณะท่าทางภูมิฐานวัยกลางคน พร้อมหนุ่มหล่อตาตี่ อีกหนึ่งคน รวมเป็นสาม มาขอพบ ชาย เมืองสิงห์  ไอ้เราก็คิดว่าเจ้าภาพมาหางาน ทุกคนหยุดเต้นหยุดซ้อมกันหมด ผมจัดเตรียมปากกากับหนังสือสัญญาพร้อมตามหน้าที่ ที่ไหนได้ ที่แท้ ท่านทั้งสองพาลูกชายมาสมัครนักร้อง พี่ชาย บอกไหนร้องเพลงให้ฟังซิ
เอ้า..ไอ้แก้ว ตีกลองให้หน่อย (พี่ชายบอก) เจ้าหนุ่มนั่น ลุกขึ้นร้องเพลง "เดือนเอ๋ยข้างแรมเดือนมืด  น้ำค้างเย็นชืดเหน็บหนาวให้ร้าวใจ ตัวพี่นี้ไร้กานดา (ซ้ำ) หนาวในวิญญาจะหันหน้าไปหาใคร"
          ร้องเพลง "เดือนมืด"  โอ้โฮ..ร้องเสียงดีเป็นบ้าเลย เสียงที่ร้องก็เหมือน ชาย เมืองสิงห์ เปี๊ยบเลยเชียว 
       พี่ชายก็พูดเปรยขึ้นมาว่า "ไอ้ยม ไอ้แก้ว" เจอคู่แข่งแล้วมึง แล้วพี่ชายก็รับไว้เป็นนักร้อง ประจำวง จุฬาทิพย์           
                               
                              ไม่รู้เป็นไร ใครมาร้องเสียงเหมือน ชาย เมืองสิงห์  พี่ชาย รับหมด

   ไอ้เจ้าแหลม ก็ได้เป็นนักร้องประจำ วง จุฬาทิพย์ พี่ชาย ก็ตั้งชื่อให้ใช้ในการร้องเพลงหน้าเวที "เศรษฐี ภูธร"  
ร้องเพลงตามสไตล์ ชาย เมืองสิงห์
เพลง เดือนมืด เพลง แก่นแก้ว พี่ชาย เห็นเสียงดีมีแววดัง ก็เลยหาเพลงแต่งเพลงให้ร้อง บันทึกเสียงเพลงแรก "ลักยิ้ม"  ไอ้เจ้าแหลมนำมาร้อง แล้วก็บันทึกแผ่นเสียงในเวลาต่อมา ก่อนที่แผ่นเสียงจะออกสู่ท้องตลาด พี่ชายก็ เปลี่ยนชื่อให้ใหม่ "ทุ่ง เศรษฐี"
เพลง "ลักยิ้ม" ใช้ชื่อ "ทุ่ง เศรษฐี" ขับร้อง ออกแผ่นมาแล้ว ก็ยังไม่ดังไม่ติดหูคนฟัง
      ทีนี้ มาถึงตอนที่ผมต้องอิจฉามัน (เอาอีกแล้ว ตาแก้ว) มันมีเรื่องอย่างนี้ครับ อย่าเกลียดหรือโกรธจนชังน้ำหน้าผมเลยนะ  เพียงจะเล่าสู่กันฟังเพื่อประกอบการรับรู้
      ในช่วงปลายปี 2510 ถึงต้นปี 2511 เพลง "พ่อม่ายลูกติด" เพลง "ชาวนา"  และ เพลง "ไกวเปล" ที่ แก้ว สาริกา ร้องไว้ กำลังโลดแล่นติดอันดับเข้าชิงแผ่นเสียงทองคำถึง 3 เพลง ทางสถานีวิทยุกองพลที่ 1. โดย ครู ป.วรานนท์ พี่ชายก็ได้แต่งเพลงให้ผมร้อง ชื่อเพลง "กล่อมลูก" ซึ่งเป็นเพลง นับต่อเนื่อง จากเพลง "ไกวเปล" หวังจะกระทุ้งให้ดังให้ได้ ผมต่อเพลงร้องจนขึ้นใจ เป็นเพลงทำนองออกจะไทยเดิม  ซึ่งเป็นแนวที่ผมถนัดอยู่แล้ว เพลงหวานๆ เศร้าๆ โศกๆ แนว แก้ว สาริกา ชอบเลยเชียวล่ะ
     ลองอ่านดูเนื้อหาสักหน่อยเป็นไรมี  
                                               "หลับเถิดลูกจ๋า เดี๋ยวตุ๊กแกกินตับ ลูกนอนไม่หลับ เดี๋ยวตับจะไม่มี
                                                                  หลับเสียที พ่อนี้จะไกวเปล                                               
                                         ลูกเอย เมื่อโตแล้วอย่าลืมตัว      หลงระเริงความชั่วปล่อยตัวเป็นคนเสเพล
                                         เมื่อลูกเจริญวัย จงจำคำพ่อไว้    ใครหนอเฝ้ากล่อม เห่  ทนุถนอมกล่อมลูกน้อยนอนเปล
                                                                  เห่ เฮ เฮ เฮ  ไกวเปล ให้เจ้านอน" ........
         
                  : ต่อเพลงแล้ว ทำดนตรีเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว โดย ครูมนตรี แสงเอก นัดห้องอัดแล้ว
                       วันฝันสลาย ก็เป็นของผม แก้ว สาริกา ไม่ได้ร้องบันทึกเสียงเพลง "กล่อมลูก" เพลงนี้ 
                    นักร้องที่ได้ร้องบันทึกเสียง เพลงนี้จริงๆ คือ "ทุ่ง เศรษฐี"  ที่พี่ชาย เปลี่ยนชื่อให้ใหม่อีกหน
                                    จาก "ทุ่ง เศรษฐี" มาเป็น "มิตร มนตรี" 
          แล้วความน้อยเนื้อต่ำใจก็เกิดขึ้น เมื่อคราว ที่ วงจุฬาทิพย์ ไปแสดงในงาน ทอดกฐินสามัคคี ประจำปี พ.ศ. 2511
          ของพระเอก "มิตร ชัยบัญชา" ที่วัดสุนทรธรรมทาน (วัดแคนางเลิ้ง)  "ทุ่ง เศรษฐี"  ร้องเพลงกล่อมลูก หน้าเวที
          ทุกครั้งที่ผมได้ยิน ผมต้องนั่งสะท้อนถอนใจ นั่งคิดยืนคิดตัดสินใจอยู่นาน เอ..นี่เราทำอะไรผิด 
          น้ำใสๆมันไหลออกมาโดยไม่รู้ตัว
                  คืนนั้นหลังจากแสดงที่ วัดแคนางเลิ้ง ก็จะต้องเดินสายเหนือต่อกันในคืนนั้นเลย

                 ตัดสินใจครั้งสุดท้าย
                       
                 ไม่ขึ้นรถคณะดนตรี หิ้วกระเป๋า กลับบ้านที่บางซื่อ ไปนอน กับ พี่ "ศักดิ์ สุดา"  คนที่เราเคารพ
                                   นี่แหล่ะครับ สาเหตุที่ แก้ว สาริกา หนีออก จากวงจุฬาทิพย์
       

          กล่อมลูก - มิตร มนตรี
          http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/eed1a8a3010683095933926a2166baac.swf


                         
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ กันยายน 04, 2015, 07:52:50 PM
          เพลงลูกทุ่งในยุคนั้น อย่าได้บังอาจเสนอหน้ามาทางิทยุเอฟเอ็มเป็นอันขาด เอฟเอ็ม (ซึ่งเสียงดังฟังเพราะ) ในสมัยนั้นต้องเพลงสากล เพลงลูกกรุง แล้วรุ่นต่อมาก็ต้องเพลงสตริงเริ่มจากดิอิมฯ พวกลำตัดลิเกอะไรนี่ อย่าได้เสนอหน้าเข้าไปเป็นอันขาด จนมาถึงสมัยหลังๆ นี่แหละ (ผมว่าก่อนปี 30 ไม่กี่ปีนะ) ที่เพลงลูกทุ่งได้มีโอกาสได้ไปโก่งคอเจื้อยแจ้วอยู่บนคลื่นเอฟเอ็ม แต่ในยุคนี้ ถ้าจะให้ฟังเอฟเอ็มบางสถานีต้องขอผ่านครับ เดี๋ยวนี้สถานีชุมชนมันเยอะแล้วความถี่ที่ออกอากาศนี่มันเบียดกันเสียจนฟังไม่รู้เรื่องเลยครับ
      : ผู้ที่นำเพลง "ลูกทุ่ง" บุกคลื่น เอฟ เอ็ม อย่างชัดเจน ไม่แอบๆ ปิดๆ บังๆ ครู "ไพบูลย์ ศุภวารี" :
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ กันยายน 06, 2015, 09:43:38 AM
:teentob: :74: "นารี สุจริต" นักร้องหญิงอีกท่าน ของ วง "จุฬาทิพย์" :

    นารี สุจริต ต้องขอโทษจริงๆนะครับ จำชื่อจริงไม่ได้เลย แต่เพื่อนๆเรียกกันว่า สวย (ไอ้สวย) เธอเป็นสาวมอญ บ้านปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เป็นนักร้องรุ่นแรกๆ ของ วงจุฬาทิพย์ ไอ้เจ้าสวยคนนี้ ร้องเพลงดี เสียงดี มีน้ำใจ บันทึกเสียงเพลงไว้ เพียง 1 เพลง เท่านั้น คือ เพลง "หน้าชื่นอกตรม" เป็นเพลงที่มีเนื้อหา และท่วงทำนองเพลง ทรงไว้ซึ่งความไพเราะ ที่นักร้องหญิงคนหนึ่งของ วงจุฬาทิพย์ ร้องไว้อย่างน่าฟังเหลือเกิน ทั้งรูปร่างน่าตามารยาทน่ารัก งามไปเสียทุกสิ่งอย่าง ในวัยสาวพราวสพรั่ง มีหนุ่มๆหมายปองกันมาก ในที่สุดเธอก็ได้แต่งงาน กับนักดนตรีกองดุรยางค์ทหารบก และเป็นนักดนตรี ประจำวงจุฬาทิพย์ มือทรัมเปท เธอร้องเพลงแนวสไตล์ทั้งลูกทุ่ง และลูกกรุงได้ไพเราะในเวลาเดียวกัน พอแต่งงานก็ลาออกจาก วงจุฬาทิพย์ ผันตัวเองไปเป็นนักร้อง
ร้องเพลงตามใน๊ท์คลับ ในบาร์ และห้องอาหาร นั่นหมายถึงว่าสร้างรายได้ให้กับตัวเองและครอบครัว จนมีฐานะเป็นอยู่สบาย มีบ้าน
รถเก๋งคันงาม  ต่อมาด้วยความสามารถ ประกอบกับรูปร่างหน้าตาทีสะสวย ก็ได้มีเศรษฐี สถานบันเทิง จากแดนใต้ จ. ภูเก็ต ให้เธอไปร้องเพลงประจำห้องอาหาร ด้วยจำนวนเงินที่ใครๆ ก็ไม่อยากปฏิเสธ สุดท้าย ด้วยอิทธิพลที่มากมายของพื้นที่

             "นารี สุจริต" ต้องมาจบชีวิต ณ ที่แห่งนี้ แดนนี้ ด้วยวัยเพียงแค่ 23 ปี อย่างไม่มีวันกลับ ( เมื่อปี 2515 )

 หมายเหตุ : ผมได้รับข้อมูล จาก คุณสามเค ว่าเคยได้เห็นแผ่นเสียง ตราจุฬาทิพย์ ที่ นารี สุจริต ร้องบันทึกเสียงไว้อีกเพลง
                 ชื่อเพลง "ห่วงพี่" / ขอบคุณ คุณสามเค มากครับ ...
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ กันยายน 06, 2015, 02:18:51 PM
มีเพลงของคุณนารี สุจริต มาให้ฟังครับ มีเพลงเดียวนี่แหละ

หน้าชื่นอกตรม - นารี สุจริต
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/31dc42a28ccb80a01af648801047dc60.swf
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ กันยายน 06, 2015, 08:09:04 PM
                         
                             :teentob: :teentob: (http://www.mx7.com/t/bdc/h42rjQ.jpg) (http://www.mx7.com/view2/yBkXYnjjJnb4E34a) :teentob: :teentob:
                                     เพลง เลิกแล้วเจ้าชู้  น้ำมนต์ ศักดิ์สิทธิ์ ขับร้อง

:teentob::zxdrn: : "น้ำมนต์ ศักดิ์สิทธิ์" อีกหนึ่งนักร้องชาย ของวง "จุฬาทิพย์" :
       
:  อีกหนึ่ง นักร้องชาย ของ วงจุฬาทิพย์ ที่ท่านแทบจะไม่ได้ยินชื่อ หรือรู้จักกันเลย "น้ำมนต์ ศักดิ์สิทธิ์" ครับ ชื่อจริง ว่า สำราญ (นามสกุลไม่ค่อยจะได้จำ) เป็นชาวจังหวัด ชัยนาท เมืองสวนนก มาอยู่ จุฬาทิพย์ รุ่นแรกๆ ไม่ใช่ยุค วงหลังเขานะครับ รูปหล่อ
ร้องเพลงดี ไม่มีดวง ก็เลยไม่ดัง ร้องเพลงบันทึกแผ่นเสียงไว้ สองเพลง เพลงแรกที่อัดเสียงไว้ "ไม่เป็นไร"
 แต่งเนื้อร้อง โดย อัมพร สนธยา และก็ เพลง "เลิกแล้วเจ้าชู้" อัมพร ก็แต่งด้วย เยอะ อีตาคนนี้ แต่งเพลงให้ จุฬาทิพย์ ไว้เยอะแยะตาแป๊ะฉายหนัง "น้ำมนต์ ศักดิ์สิทธิ์" ร้องเพลงอยู่สักพัก เห็นถ้าจะไปไม่ไหว ก็เลยหันไปเรียนดนตรี จะเอาดีทางด้านดนตรีว่างั้นเถอะ เป่าแซ๊กเทนเนอร์ ซ่ะด้วย ตัวเบอเริ่ม แล้วก็ไม่รู้ ผมก็ไม่รู้ จับพลัดจับผลู มาเสียชีวิตไปตั้งแต่ ยังไม่มีลูกมีมีย เสียดายจัง น่าจะเอาความหล่อหลงเหลือไว้ให้ เรามั่ง ทรงผมก็ยังดี เอ้า.. ฟังเพลงของ "น้ำมนต์ ศักดิ์" กันครับ ผมมีมาให้เพลงเดียวเท่านั้นแหล่ะ เดี๋ยวมาดังตอนเสียชีวิตแล้ว เหมือนไอ้ยม เรื่องมันจะยุ่ง ..

เลิกแล้วเจ้าชู้ - น้ำมนต์ ศักดิ์สิทธิ์
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/1eee17de1d04ba277db9675e47cf7d6b.swf
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ กันยายน 07, 2015, 11:22:08 AM
 
                                 :42 :teentob:(http://www.mx7.com/t/c36/N7oTQC.jpg) (http://www.mx7.com/view2/yBl9tCxugdeBFSLT) :teentob: :teentob:                                 

  :teentob:    : "บุตร บุญธรรม"
   
      : เมื่อช่วงหลังสงกรานต์ ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเดินทางไป ยังตลาดโคกสำโรง จ. ลพบุรี ด้วยรถมอร์เตอร์ไซด์เก่าๆคู่ชีพ
ขับไปเรื่อยๆ จากบ้านศาลาดิน วิเศษชัยชาญ ผ่านไชโย วิ่งบนถนนสายเอเซีย เลาะลัดเข้าทางบางงา มุ่งหน้าเข้าท่าโขลง บางขาม พักใหญ่ๆ ก็ถึง อ. บ้านหมี่ เรื่อยไปจนถึง แยกรถจอดสนิทติดไฟแดง อ.โคกสำโรง หน้าโรงเรียนจารึกล้อม เวลา 11.10 น.
ใช้เวลาเกือบสองชั่วโมง นั่งนึกอยู่บนรถ ท้องก็ชักจะหิว พอไฟเขียว ก็ขับรถหลงเลยไปหน่อย เจอร้านก๋วยเตี๋ยวข้างทาง ได้เวลาแล้ว ขอพักเอาท้องใส่ก๋วยเตี๋ยวสักสองชามก่อน ช่วงขณะกำลังกินก๋วยเตี๋ยว ตาก็มองเลยไปเห็น โรงภาพยนตร์เก่าๆรกร้างอยู่
  ย้อนคิดถึงความหลังเก่าๆ ก็เริ่มวาดภาพมโนนึกจำได้ว่า ครั้งหนึ่ง เมื่อเกือบจะห้าสิบปี เราได้เคยมาร้องเพลง
ณ.โรงภาพยนตร์แห่งนี้ มีโรงแรมไม้หลังเล็กๆ ได้เป็นที่เช่าพักพิงชั่วคราว ตั้งอยู่ฝังตรงข้าม ขณะที่พวกเรานั่งเล่นกันบ้าง ทำอะไรต่อมิอะไรกันบ้างตามประสา ก็มีชายหนุ่มเดินขากอมเข้ามา แล้วถามพวกเราว่า "ผมมาขอพบ ชาย เมืองสิงห์ พัก อยู่ห้องไหนครับ" / ก็นึกในใจว่าไอ้หมอนี่ใครว่ะ มาแปลกมาขอพบพี่ชาย ปกติ ใครก็ตามที่จะมาขอพบพี่ชายนะ ไม่ใช่ง่ายๆ สักครู่พี่ชายก็เดินมาคงจะด้วยเหตุบังเอิญซ่ะมากกว่า ชายหนุ่มพอเจอะเจอพี่ชาย ก็เดินเข้าไปหา แล้วเอ่ยวจี เสียงดังฟังชัดใครๆก็ได้ยิน "ผมชื่อสมาน ครับ มาจากบางมะยม ผมจะมาสมัครนักร้องครับ" งง งง พี่ชาย ก็งง คุยกันอยู่พักนึง พี่ชายก็บอกให้ร้องเพลงให้ฟัง (ผมก็พอนึกออกว่า เค้าร้องเพลงของ เพลิน พรหมแดน ไม่ได้จำว่า เพลงอะไร) ร้องดังเสียงลั่น พี่ชายนั่งก็อมยิ้ม ก็คงชอบนั่นแหล่ะ แล้วตอบง่ายๆ เออเอา อยากเป็นนักร้องก็จะรับไว้ .. เริ่มงานแรก ไม่ได้ร้องเพลงหรอกนะครับ พี่ชายบอก โน่นหลังจากนี้ ออกบุ๊คสายงานการแสดงของวง หลังจากที่ตกร่องปล่องชิ้นรับศิษย์คนใหม่แล้ว พวกเราๆทั้งหลายมารับรู้จากพี่ชายว่า ไอ้เจ้าคนนี้มันขับรถเป็น จะให้คอยขับรถ เพื่อวิ่งต่างจังหวัดออกบุ๊คสายตามโรงหนังต่างๆ เพราะ ในวงทุกคนสมัยนั้นหาคนขับรถเป็นไม่มีเลย ก็เห็นมี มิสเตอร์โปสเตอร์ คนเดียวที่ขับรถได้ ต่อจากนั้น นับจากวันเป็นเดือน และเพียงไม่กี่เดือน นักร้องใหม่ นามว่า "สมาน"  ชาวบ้านบางมะยม ท่าวุ้ง ลพบุรี เมื่อทำงานเป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจ เหมือนจะเป็นคนโปรดของ ชาย เมืองสิงห์ ซ่ะด้วย พี่ชาย ให้ใช้ชื่อ "บุตร บุญธรรม" ก็ได้ร้องเพลงบันทึกเสียงลงแผ่นไว้สองเพลง เพลงแรก "ดีใจด้วย" เนื้อร้อง/ทำนองเพลง นักแต่งเจ้าเดิมเจ้าเก่า "อัมพร สนธยา" อีกเพลง "ผมล้อเล่น" เนื้อร้อง/ทำนอง วัฒนา ศรีเฟื้องฟุ้ง  (นักแต่งเพลงท่านนี้ เป็นพี่ชายแท้ๆ ของ พี่ "ศักดิ์ สุดา" โฆษก นักจัดรายการวง จุฬาทิพย์ คู่กับ พี่ "ดาวฤกษ์ เรวดี") แต่งเพลงเล่นๆ กลับดีเพราะซ่ะด้วย ผมเรียกง่ายๆสั้นๆ ว่าพี่ วนา
                                                 
                       สุดท้ายที่ผมเจอ พี่วนา บวชเป็นพระอยู่ที่ จ. สุพรรณบุรี แล้วก็ไม่ได้ข่าวอีกเลย ...
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ กันยายน 07, 2015, 12:13:50 PM

มาแล้วครับ บุตร บุญธรรม กับเพลง ดีใจด้วย
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/5a02aecf34120865c7b1a09f4ea19776.swf
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ กันยายน 07, 2015, 07:59:45 PM
                                                     
                                         :teentob::teentob:(http://www.mx7.com/t/111/85pmGu.png) (http://www.mx7.com/view2/yAjZADIf3FQtkaIB)  :teentob: :teentob:

                                    อิหัน.. เอาผัวมาจำนำ ค่ะ ค่า ๆ : ตุ๊กตา พรหมจรรย์ + น้ำผึ้ง ภูธร
                 
                         นักร้องหญิง วงจุฬาทิพย์ ผมรึ อื้อฮือ สงสารคนอ่านจัง กลัวอ่านแล้วลมจับซ่ะก่อน :

   : ตุ๊กตา พรหมจรรย์   เป็นนักร้องหญิง วง จุฬาทิพย์ ที่จู่ๆไม่มีปี่มีขลุ่ยก็ได้ร้องเพลงเลย เริ่มแรกติดตามสามี ที่เล่นตลก ที่ชื่อยอดชายนาย เด๋อ ดุกดิก ไอ้ผัวเค้าก็เป็นคนบ้าจี้เอามากๆ ตามผัวไปตามผัวมา ไม่รู้อีท่าไร ตาเด๋อ เลยบอกพี่ชาย ช่วยให้เมียผมร้องที พี่ชายถามร้องอะไร ตาเด๋อ ร้อง ๆ ๆ เพลง ๆ ครับ (พูดติดอ่าง) พี่ชายคงนึกรำคาญ เลยจับให้ร้องเพลงซะเลย
แล้วก็ร้องดีซ่ะด้วย เข้าท่าๆแฮ่ะ ต่อมาไม่นานนัก ตอนนั้นเพลง เดือนมืด ของ ชาย เมืองสิงห์ กำลังดัง
พี่ชายเลยให้ร้องบันทึกเสียง เพลง "เดือนหงาย" ร้องแก้เพลง "เดือนมืด" แล้วก็ต่อด้วยเพลงที่สอง เพลง "จำนำผัว" ร้องแก้ กับเพลง "จำนำเมีย" ที่ไอ้เจ้ากรอก (กุมาร มัทรี) ร้องไว้.. กุมาร มัทรี เดี๋ยวมีมาเล่าต่ออีกนะครับ
และเพลงที่สาม ร้องคู่ด้วยกันสามคน คือเพลง
      "ก้างขวางคอ" มี ชาย เมืองสิงห์, เรไร ณ.โคราช (ใช้ชื่อ "พลับพลึง สถาพร",) ตุ๊กตา พรหมจรรย์ (ใช้ชื่อ "น้ำผึ้ง ภูธร")
                                                           
                                               ปวดหัว ชิบ..  / ขออนุญาต กินยาก่อน ...
                                                             
                                                        (http://www.mx7.com/t/961/Dk3Xqt.jpg) (http://www.mx7.com/view2/wcDyXRD1OXRCZuQy)
                                                       ผัวหนูตัวจริง หล่อ ป่ะ ค่ะ ค่า

       กะว่าจำนำแล้วไม่ส่งดอก ปล่อยขาดเลย จำนำผัว - ตุ๊กตา พรหมจรรย์
       http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/2f51506a69beebd5341865718c81d8f9.swf
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ กันยายน 08, 2015, 02:39:32 PM
 
 :0untitled13:    : กุมาร มัทรี + ศร กามเทพ  เป็นนักร้อง วงจุฬาทิพย์ อีกท่านหนึ่ง หากแม้นว่าผมไม่โดดลงมาเขียน
                แล้วท่านจะรู้ได้ไง ว่านักร้องสองชื่อนี้ คือ คนๆเดียวกัน :
โดยเฉพาะพี่ชาย เมินซะเถอะ เรื่องจิ๊บๆ ..
 
     พี่น้อง ครับ ผมเองต้องยอมรับกับท่านนะครับว่า ชื่อจริง - นามสกุลจริง ของนักร้อง ผมไม่มีโอกาสได้จรดจำ เพราะเหตุที่
เรียกชื่อนักร้องกันซะจนชินปาก ไม่ได้สนใจว่าใครต่อไปจะเป็นนักร้องดังหรือไม่ บังเอิญไอ้ตัวกระผมเองก็ไม่ใช่นักค้นคว้า ก็เลยจำมาเล่าสู่ให้กันฟังได้ไม่เต็มรูปแบบ ก็อย่าว่ากันเลยนะครับ เอาเป็นว่าเล่าพอที่ขยายความได้ เช่น "กุมาร มัทรี" นักร้องท่านนี้
    แล้วใครจะไปรู้กาลครั้งหน้า ว่ามันจะมีอินเทอร์เน็ต อินเทอร์แน๊ต เล่นเว็ปโน้น เว็ปนี้ เล่นเฟส อีกตั่งหาก
       
     กุมาร มัทรี เป็นักร้องมาจากที่ราบสูง เมืองโคราช หลานชายย่าโม อดีตเป็นนักพากย์ภาพยนตร์กลางแปลง ตัวเตี้ยๆ
หัวล้านเถิกหน่อยๆ ผมหรือก็หยิกอีกต่างหาก ตัวก็พอจะดำ เอาแค่พอนะครับ ไม่ถึงกับดำ แต่ร้องเพลงเสียงงี้ ใสปิ๊ง ๆ ๆ
(555... ลองนึกวาดภาพดูเองก็แหล่วกัน) พาตัวเองเข้ามาอยู่ร่มชายคา จุฬาทิพย์ ด้วยน้ำเสียงของเขาที่ร้องเพลงได้ละม้ายเหมือน ชาย เมืองสิงห์ ก็เพราะเป็นคนที่มีร่างกายที่เล็ก พี่ชาย จึงตั้งชื่อให้ "กุมาร มัทรี" แต่พวกเพื่อนๆ ไม่ยอมเรียกกุมาร
เรียกแล้วมันทะแม้งๆ หูยังไงชอบกล เลยพร้อมใจพากันเรียก ไอ้ลูกกรอก หรือเรียกสั้นๆ ว่าไอ้กรอก จะเรียกกรอกเฉย ก็คงจะ
ไม่สมบูรณ์แบบ เรียกมัน ไอ้กรอก ซ่ะเลย เท่ดี เข้าๆ ออกๆ เป็นว่าเล่น กับ วงจุฬาทิพย์ เหมือนคนเล่าเรื่องเป๊ะ
ร้องบันทึกเสียงเพลง "ชาวนาหน้าดำ" และเพลง "จำนำเมีย" ไว้ รวม สองเพลง แล้วก็ออกจากวงไป ไม่นานนัก ย้อนกลับมาอีก กลับมาคราวนี้ไม่ธรรมดา มีดีกรีมาเล่นเป็นตลกประจำวงจุฬาทิพย์ เล่นคนขำดีซ่ะด้วย จู่ๆ ก็หายไป แล้วจู่ๆ ก็โผล่เข้ามา
กลับมาอีกครั้ง พี่ชายได้นำเอาเพลง "จำนำเมีย" ที่ร้องไว้แต่ปางก่อน แผ่นเสียง 78 ในนามนักร้อง กุมาร มัทรี มาออกแผ่นใหม่
ใช้ สปีด 45 ตามยุค ตามเหตุการณ์ เปลี่ยนชื่อนักร้องเสียใหม่ว่า "ศร กามเทพ" แบบชนิดที่ว่า ไม่มีตัวตน
   
                                                 พี่ชายก็ว่า ทีนี้มึงจะไปไหนก็ไปเรื่องของมึง
                           
                                 แล้วไอ้กรอก ก็หายไปจริงๆ ไม่ย้อนกลับมาให้เห็นอีกเลย จวบจนบัดนี้ ...
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ กันยายน 08, 2015, 04:38:23 PM
ชาวนาหน้าดำ - กุมารื มัทรี
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/8646ea54022645e59d2c2aafd92b1313.swf

จำนำเมีย - ศร กามเทพ ขอบคุณพี่แก้ว สาริกา ผู้เอื้อเฟื้อไฟล์เพลงนี้ครับ
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/2f4645fddd0dedbcd1882f67d33b7da9.swf
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ กันยายน 08, 2015, 06:08:34 PM
 :teentob: : ผมก็ไปปะเหล่าะ ขอคุณสายัณห์ เค้ามา คุณสายัณห์ อยากรู้เรื่อง "ศร กามเทพ"  เป็นใคร ก็เลยแลกกัน
ผมมี "ชาวนาหน้าดำ" คุณสายัณห์ มี "จำนำเมีย" คงจะกลัวเมียรู้ เลยรีบให้ผมมา โดยไม่ปริปากบ่นเลยสักคำ
                       
                            เพียงแต่บอกว่า "อาแก้วๆ รีบๆ เอาไปเร็วๆ เลย 55555 ... 
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ กันยายน 09, 2015, 07:34:09 PM
                                               
                                :teentob: :teentob:(http://www.mx7.com/t/858/M0Oqer.jpg) (http://www.mx7.com/view2/yAzQN2co3jOQwX3U) :teentob: :teentob:
                                                       มรกต เมืองกาญจน์

                                   http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/72f303cd5e0503c2733942c48af9daef.swf
                                      เพลง สะบัดสะบิ้ง  มรกต เมืองกาญจน์ ขับร้อง
 
   :78 : ถึงคิวซะที  กับ  มรกต เมืองกาญจน์ นักร้องหนุ่มหน้ามน คนขี้อาย จาก เมืองกาญจนบุรี : :78
 
     มรกต เมืองกาญจน์ เป็นคนกาญจนบุรีโดยกำเนิด ชื่อจริง-นามสกุลจริง แพรว เสมแก้ว เกิดที่บ้านพังตรุ อ. พนมทวน
จ. กาญจนบุรี เข้าสู่วงการเพลง โดยการชักนำพา ของญาติผู้น้อง แมน เนรมิตร ฝากให้มาอยู่ วงจุฬาทิพย์ เมื่อ ชาย เมืองสิงห์
ก่อตั้งวงใหม่ๆ ปี พ.ศ. 2510 นับว่าเป็นนักร้องที่ พี่ชายโปรดและไว้วางใจในด้านการเงิน จึงมอบหมายให้เป็นผู้มีหน้าที่จำหน่ายบัตรผ่านประตูทุกครั้งที่จัดงาน หรือ เช่าสถานที่ทำการแสดง เก็บเงิน-เก็บทอง ขนเครื่อง-ขนของ ร้องเพลง อยู่มาไม่นานพี่ชายก็หาเพลงให้ร้องบันทึกแผ่นเสียง โดยได้ เพลง "สะบัดสะบิ้ง" แต่งโดย พนม สุกแสง (บรรพต สุกแสง) และเพลง "รักถลำ"
แต่งโดย "มนต์ เมืองสิงห์" บันทึกเสียงไว้สองเพลง กาลต่อมา  แมน เนรมิตร ออกจากจุฬารัตน์ มาทำวงช่วงปลายปี พ.ศ. 2511
มรกต เมืองกาญน์ เข้าไปกราบลา พี่ชายก็ให้ออกมาช่วยศิษย์รัก แมน เนรมิตร แล้วบอกว่า อยากจะกลับมาเมื่อไหร่ ก็ให้กลับมา เมื่อครั้นมาอยู่ กับ แมน เนรมิตร ญาติผู้น้อง เจ้าแพรว (มรกต) ได้บันทึกเสียงไว้อีกหนึ่งเพลง คือ เพลง "พี่ขอจอง" ด้วยฝีมือการแต่ง ของ "ราเชนทร์ เรืองเนตร" แล้ว มรกต เมืองกาญน์ ก็ยังได้โชว์ฝีมือการแต่งเพลงให้ แมน เนรมิตร ขับร้องบันทึกเสียงไว้
อีกสองเพลง เพลง "ก่ายหน้าผาก" กับ เพลง "กลับบ้านดีกว่า"
     หลังจาก แมน เนรมิตร เลิกวง มรกต เมืองกาญจน์ ก็มาโผล่ให้ผมเห็นที่งานฤดูหนาว เมืองลพบุรี วงดนตรี "พ่อหม้ายพัฒนา" ของ ชาย เมืองสิงห์ พร้อมๆ กับผมผู้เล่าเรื่อง นี่แหล่ะ ครับ..
    ณ. ปัจจุบัน ไอ้เจ้าแพรว หรือ มรกต เมืองกาญจน์ ด้วยวัย 70 กว่านิดๆ ใช้ชืวิตอยู่อย่างมีความสุข พร้อมครอบครัว
และลูกหลาน พำนักพักกาย อยู่แถวๆ โพรงมะเดื่อ จ. นครปฐม ด้วยฐานะที่มั่นคง ...
   
   / ปล. ไอ้แก้ว เฮ้ยๆ.. นี่มึงจะเอาประวัติกูเขียนลง "บ้านเพลงไทย" เล่าดีๆ นะมึง มึงต้องเอารูปตอนกูหนุ่มๆ หล่อๆลงนะโว้ย
ไอ้ฉิบหาย ตอนเอาเพลงกูลงใน ยูทูป เอารูปกูลงซ่ะแก่เลย แล้วใครเค้าจะฟัง บ้านเพลงไทย กูก็ชอบพอ กะ คุณชัยยุทธ เขียนดีๆ เขียนไม่ดี กูจะตามมาเตะมึง ถึงวิเศษเลยคอยดู /
     55555... ฟังสอง ฒ. ผู้เฒ่า เค้าคุยกัน มึงๆ กูๆ ตามประสา คนบ้านนอก เอ๊ะ ๆ ๆ.. ไม่ใช่ซิ คนต่างจังหวัด เน๊อะ
                     555 เหน่อเมืองกาญจน์ กับ เหน่ออ่างทอง มันส์ ๆ ๆ พะยะค่ะ ...

  หมายเหตุ: โปรดสังเกตุ ตัวหนังสือ ที่เขียนเป็นตัวหวัดแกมบรรจง บนรูป มกรต เมืองกาญจน์ เป็นลายมือ ของ ชาย เมืองสิงห์

พี่ขอจอง - มรกต เมืองกาญจน์
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/37fc76f3c042b0fca2393fd7cf223af5.swf
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ กันยายน 10, 2015, 02:55:24 PM
                                    :teentob:(http://www.mx7.com/t/b40/mxV1yf.jpg) (http://www.mx7.com/view2/yAGb9Xntj9ue6SEE) :teentob:
                                                    ดาวฤกษ์ เรวดี

                               http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/d1dfa89be1c166212d26685573abd809.swf
                                    เพลง  ตาหวาน  ดาวฤกษ์ เรวดี  ขับร้อง
   
           :42 : ดาวฤกษ์ เรวดี น้องร้อง นักจัดรายการ นักประพันธ์เพลง ผู้มากฝีมือ : :42

     ดาวฤกษ์ เรวดี มีขื่อจริง-นามสกุลจริง "อภิรัตน์ เพ็งพูนสุข" เกิดเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2485 ที่บ้าน ต. บางลี่ อ. อัมพวา จ. สมุทรสงคราม เดินเข้าสู่วงการเพลงก็ด้วยฝีมือ ของ ครูฉลอง วุฒิวัย ไปดึงมาจากคณะ ลิเก แมน ลือนาม
ที่รักใคร่ชอบพอกัน จากสถานีวิทยุ ป.ช.ส.7 อยู่ใต้ถุนสภานพุทธ
  ดาวฤกษ์ เรวดี เป็นทั้ง นักร้อง นักแต่งเพลง โฆษกนักจัดรายการ ผู้มากความสามารถ ที่ผ่านเวทีมาโชกโชนทุกยุทธภพ เริ่มจากเป็นสามเณร สอบได้จนกระทั่งได้เป็นนักธรรมเอก เป็นสามเณรนักเทศน์ฝีปากเอก แล้ว บวชพระ เป็นพระนักเทศน์ นักปาฐกถาธรรม โด่งดังไปทั่วทั่ง อ. อัมผวา ในเขตรย่าน น่านน้ำแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม ก็นามกระฉ่อนกระเดื่องเรืองนาม เป็นคนชาว
อ. อัมพวา สมุทรสงคราม โดยกำเนิด ชรอยคงจะหมดบุญที่จะอยู่ครองผ้ากาสาวภัตร์ จึงสึกออกมา ร่อนเร่ ไปรับจ้างเป็นโฆษกนักโฆษณาขายสินค้า ตามคูหาห้างร้านบินกะแด (แบกะดิน) งานกีฬาเล่นว่าวท้องสนามหลวง งานวังสราญรมย์ ได้ค่าจ้าง 20 บาทบ้าง 30 บาทบ้าง 50 บาท ก็เคยมีได้เหมือนกัน พูดเก่งเสียงดี พูดไป ร้องเพลงไป เผลอๆ เทศน์ให้เค้าฟังกันซ่ะอีก พอนึกได้
ก็หัวเราะ แล้วก็โฆษณา ขายของต่อ หมดฤดูงาน ก็ไปเป็นโฆษก เก็บฉากลิเก ให้คณะ "แมน ลือนาม" ที่สถานีวิทยุ ป.ช.ส.7
ใต้สพานพุทธ วงดนตรี ฟ้าบางกอก ไปแสดงที่นั่น ก็เลยตามขึ้นไปร้องเพลงด้วย แล้วมาอยู่ กับครูฉลอง ซะเลย  ร้องบันทึกเสียง เพลงแรก "สัจจะรักของลูกทุ่ง" ที่ห้องบันทึกเสียง "อัศวิน" แผ่นเสียง 78 ตรา "ฟ้าบางกอก" ยัง.. ยังไม่เท่านั้น ช่วงพี่ชาย
ตั้งวง จุฬาทิพย์ พี่ชาย จัดรายการเอง หนักๆ เข้าไม่ไหว บอกพี่หลอง หาโฆษกจัดรายการให้หน่อย นั่นแหล่ะครับ
  ครูฉลอง จึงส่ง ดาวฤกษ์ มาเป็นใส้ศึก เอ้ย ๆ ๆ 555.. มาเป็นนักจัดรายการวิทยุที่ สถานีวิทยุกองพล ป.ต.อ. สี่แยกเกียกกาย (สมัยนั้น) และก็ได้เพื่อนโฆษกคู่ใจเพิ่มมาอีกคนเลยจัดรายการคู่กัน กับ พี่ "ศักดิ์ สุดา"  และได้มีโอกาสขึ้นร้องเพลงหน้าเวทีบ้างเป็นครั้งคราว คราใดที่วงดนตรี แสดงแถวแทบใกล้เคียง ที่พอจะเดินทางตามไปได้ แต่ส่วนมาก ก็จะอยู่จัดรายการวิทยุ ซ่ะมากกว่า 
    พี่ดาวฤกษ์ มีพรสวรรค์ ของการเป็นนักประพันธ์เพลง แต่งเพลง "เอกา" กับ เพลง "ใบสมัครรัก" ให้ ชาย เมืองสิงห์ ร้องบันทึกแผ่นเสียง ในยุคแผ่นคลั่ง สปีด 78
     ในช่วงยุคสมัยก่อนๆ เวลาบันทึกเสียงเพลง นักร้อง - นักดนตรี จะต้องบันทึกเสียงลงใน มาสเตอร์เทป พร้อมๆกัน ก่อนที่จะมาตัดเป็นแผ่นเสียง จะมีนักร้องสักกี่ท่านล่ะครับ ที่จะร้องเพลงได้เที่ยวเดียวแล้วติด หรือใช้ได้เลย ค่อนข้างยากมากๆ แต่.. นักร้องท่านนี้ครับ "ดาวฤกษ์ เรวดี" ร้องอัดเสียง เพลง "ตาหวาน" เที่ยวเดียวติด ใช้ได้เลย แต่พี่ชาย อยากจะให้ได้ดีกว่านี้ จึงให้ร้องอีกเที่ยว เผื่อจะดีกว่าเที่ยวแรก ให้เก็บที่ร้องเที่ยวแรกไว้ก่อน พี่ "ดาวฤกษ์" ร้องเที่ยวที่สอง ปรากฏร้องมาแล้ว ฟังๆดู สู้เที่ยวแรกไม่ได้ เลยนำที่ร้องเที่ยวแรกมาตัดแผ่นเสียง นั่นถือว่าร้องเที่ยวเดียวติด ครับ
   ที่แรก พี่ชาย จะให้ชื่อ "ฤกษ์ เรวดี" พี่ดาวฤกษ์ เถียงหัวชนฝา ผมจะเป็นดาว ต้องดาวฤกษ์ ถ้าเป็นฤกษ์ คนจะเรียกกันว่า เลิก
มันก็จะเป็น เลิก ด้วยเหตุผล พี่ชายจึงยอมให้เป็น "ดาวฤกษ์ เรวดี" เหมือนเดิม
   ดาวฤกษ์ เรวดี บันทึกเสียงเพลง ครั้งอยู่วงจุฬาทิพย์ ไว้ สองเพลง"ตาหวาน" กับ เพลง "ตาคม" โดยร้องเอง แต่งเอง เพลงที่สร้างชื่อจนกระฉ่อนเมือง คือ เพลง "บ้านเช่าข้าวซื้อ"
                   
                  นะ ปัจจุบัน พี่ดาวฤกษ์ ก็ยังจัดรายการเพลงลูกทุ่งเก่าๆ อยู่บ้างครัย ภายใต้ชื่อ "ดาว ฤกษ์ดี"

อีกสองเพลง ครับ


เพลงที่สอง - บ้านเช่าข้าวซื้อ เพลงดังสร้างชื่อ ของ ดาวฤกษ์ เรวดี
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/1137ae0f2916439664f8ee1471f777b0.swf

เพลงที่สาม ใบสมัครรัก - ชาย เมืองสิงห์  คำร้อง/ทำนอง ดาวฤกษ์ เรวดี
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/d1c9310e1a311c65b7d60a0d3545c07a.swf
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ กันยายน 12, 2015, 11:16:12 AM
 :teentob: :51  :teentob:: การที่จะเป็นครูคน หรือให้คนเรียกคำว่าครูนั้น มันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ "ครูต้องปราชณ์เปรื่องเรื่องความรู้ ความสามารถ ครูต้องเป็นผู้ให้ อย่าได้นึกถึงผลประโยชน์ส่วนตน ยึดถือคุณธรรมเป็นที่ตั้ง มีความจริงใจด้วยสุจริตใจ ไม่มีเลศนัยเจือปนหรือแอบแฝง"
    ยังมีอีกเยอะ ที่จะเรียก คำว่าครูได้เต็มปาก แต่ผม "แก้ว สาริกา" ขอเรียนว่า ผมไม่มีภูมิปัญญาพอ ถึงขั้นนั้นหรอกครับ แม้แต่ คำว่าอาจารย์ ที่เขาเรียกใครต่อใคร กันจนฮิตติดปากกับ คำว่าอาจารย์ ผมยังมิบังอาจเอื้อม ที่จะให้ใครมาเรียกได้ ขอบคุณท่านผู้ใช้นามว่า "คนเมืองลพ" ก็น่าจะเป็นคนลพบุรี หากเป็นไปได้ อยากให้ใช้คำอื่นเรียกแทน ครับ / เรื่องตั้งกระทู้นั้น เรา ผมหมายถึงคุณสมภพ กับผมได้คุยกันว่า ผมเข้ามาเป็นสมาชิกบ้านเพลงไทย สามปีจวบสี่ปีเข้าไปแล้ว ไม่ได้ทำอะไรให้เป็นประโยชน์ไว้เลย จะวางเพลงก็ยังวางไม่เป็น เรียนรู้อะไรก็ยาก แก่เกิน ถึงได้เกิดกระทู้นี้ขึ้นมา ขอเรียนว่า เพียง วงจุฬาทิพย์ - วงฟ้าบางกอก เท่านั้น
วงอื่นๆ ผมจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว ใครก็ได้ที่เก็บรายละเอียดข้อมูลเก่งๆ โปรดเก็บเกี่ยวไว้เถิดครับ ผมเชื่อของผมอย่างนี้นะครับ จะไม่มีใครที่จะมาเขียนมาเล่าอีก (รึไง) เพียงเก็บข้อมูลไว้ และเมื่อสักวันหนึ่งผมไม่อยู่แล้ว จะได้ไม่ต้องคิดว่า
   "กล้วยตานี ปลายหวีเหี่ยว หิ้วหวีไป หิ้วหวีมา" พอเข้าใจกับคำๆนี้ นะครับ  กล้วยตานี ฯ ความจริงเรื่องของนักเพลง - นักร้อง เกล็ดเล็ก เกล็ดน้อย หรือจะเกล็ดใหญ่ ไล่ตีกัน ฟันแทง นักเลงไล่กระทืบ กระทืบนักเลง วิ่งหนีช้างป่า ถูกตามล่า ถูกล้อมวิก 
จิ๊กโก๋เบ่งเข้าฟรี จิ๊กกี๋ปล้ำนักร้อง คนท้องตามหาผัว มั่วกันอยู่กับคณะดนตรี..
    โอ้ย.. สารพัดที่จะมี เล่นดนตรี ร้องเพลงอยู่ดีๆ ดนตรีเลิก มีคนสั่งห้ามออกจากโรงหนัง
    มีคนนอนตายเพราะถูกยิง อยู่ข้างหน้าโรงหนัง เยอะ ๆ ๆ ไปถามนักร้อง-นักดนตรีเก่าๆ ที่ชอบเดินสายต่างจังหวัด ดูเห่อะ ...
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ กันยายน 12, 2015, 11:25:29 PM
                                             
                         :teentob:  :teentob:(http://www.mx7.com/t/bd4/FyC1K1.jpg) (http://www.mx7.com/view2/yAYWLp7Rirr0p8vn) :teentob: :teentob:
                                        บรรพต สุกแสง - บุญ บรรดาล
   
  :74: เกิดหนองหญ้าไทร อ. สามชุก จ. สุรรณบุรี บวชเณรวัดสามชุก อยู่วัดเดียวกับ พระมงคล หอมระรื่น ๆ
 ศึกจากพระ ไปเป็นนักร้องดัง คือ ก้าน แก้วสุพรรณ ๆ ศึกจากพระไปดัง เราก็สึกจากเณร ให้พ่อพาไปสมัครวงดนตรีจุฬารัตน์ 
นที นพพร  บอกครูมงคล ครูไม่รับเพราะไม่รู้ใครรับลิงไว้ตัว 1 เมียครูเห็นตกใจล้มแขนหักกำลังโกรธมาก คือเจ้าสังข์ทอง สีใส  เลยพยายามมาสมัคร วงดนตรี ศรีไพร ใจพระ  อยู่ ป.ช.ส.7 สพานพุทธ อยู่บ้านเลี่ยงลูกให้ พี่ศรีไพร สองคน สองปี เราไปใหนไม่ถูกขอกลับสุพรรณ ศรีไพรบอก มาเป็นนักร้องจะกลับทำใม เดือนหน้าจะอัดแผ่น ดีใจเอาเพลง "ติ๊งโหน่ง" ที่แต่งไว้มาซ้อม 
ครูนคร ถนอมทรัพย์ ฟั่งแล้วบอกว่าเพลงดังแน่ สรวง เลยขอเราแลกกับ เพลง "นอนเถิดนะน้องนะ" แนวแหล่ให้แลกเพลงกัน
พอเราอัดเสียงกันแล้ว  เพลง "หนิ่งหน่อง" เปิดตามสถานี ไม่รู้ว่าเขาเอาเพลงไปแปลงได้อย่างไร เรียกมีการขโมย ศรีไพรบอกเลย เพลงเราคงเดี๊ยง  สรวง สันติ น้อยใจเลยไปสมัครจุฬารัตน์ ไปกับนาย พนาวัลย์ ลูกเมืองชล ก็คือ พนม  นพพร เพลง สุขีเถิดที่รัก สรวงแต่งครูมงคลรับ เราอยู่กับศรีไพร ต่อมาสถานีวิทยุห้ามโฆษณา เลยยุบวงไปอยู่พี่ชาย แต่งเพลงไปเยอะ พี่ชายรับ อัดเพลง "ร่อนเร่"  "เมียเช่า"  พี่ชายอัดเพลง "แม่ช่อชะบา" เราแต่งไม่รู้อยู่ใหน  เพลงเหมือน ยอด ธงชัย ร้องเพลงเรา เพลง "ฉันไม่วอรี่"  เพลง "ไม่ต้องหรอกพี่" พี่ติ๋มร้อง เพลง "สะบักสะบอม" พี่ชายร้อง เราแต่งเองอีกหลายเพลง อัดเสร็จ แม่ให้คนตามไปบวช พี่ชายเป็นเจ้าภาพไปหลายคนหนองหญ้าไทร รถเข้าไม่ได้ จอดรถไว้ดอนเจเดีย์ ขี่มอเตอร์ไปสองเที่ยว  ห้าเทียวมี ดวงใจ  ณรงค์  เปี๊ยกทรัมเปท  บวชแล้วติดทหารสึกไปทหาร 2 ปี อยู่ จ. น่าน อีก 1 ปี อยู่ลาวกลับมาเพลง "พ่อแก่แม่เฒ่า" ดัง ถ้าเราอยู่เมืองไทยเพลงเราคงได้อัดตามอีกเยอะ มีอะไรถามมานะเพื่อนคิดถึง ...
                     
                       แก้ว  :  จำปี พ.ศ. ได้ รึ เปล่า ตอนมาอยู่ ศรีไพร ใจพระ
                    บรรพต  :  ปี พ.ศ.2506 ปี 08  อัดแผ่น อายุ 18-19 ปี
   
    : ท่านผู้อ่านที่เคารพ ครับ ผมได้พูดคุย กันกับ บรรพต สุกแสง เมื่อวันวาน (ที่ 13 กันยายน 2558) เพื่อถามถึงข้อมูลเบื้องต้น ก่อนที่จะเข้ามาอยู่ วงจุฬาทิพย์ ผมได้นำมาเปิดเผย เพื่อประกอบไว้ในบทความนี้ครับ แบบสดๆ ร้อนๆ
เลยทีเดียว :

 
  บรรพต สุกแสง - บุญ บรรดาล หรือชื่อจริง "พนม สุกแสง"
         นักร้อง/นักประพันธ์เพลง ผู้มีความสำคัญ ของ วงจุฬาทิพย์   
ติดตาม ศรีไพร ใจพระ มาด้วย  ศรีไพร ก็เลย บอกฝากให้อยู่  วงจุฬาทิพย์ มีเหตุการณ์ ที่น่าจดจำ คืนที่ พี่ชาย จัดงานสวนสนุกที่สระโกสินารายณ์ บรรพต ก็ช่วยงานอยู่ตลอด กลางดึกของคืนวันนั้น บรรพต  ถูกงูแมวเซากัด เกือบตาย ชาย เมืองสิงห์ ให้ความเมตตา เป็นพิเศษ นำส่งโรงพยาบาล จ่ายค่ารักษาจนปลอดภัยเกื้อหนุน จุนเจือ เปลี่ยนชื่อ จาก บรรพต สุกแสง เป็น บุญ บรรดาล ๆ แต่ง เพลง พ่อแก่แม่เฒ่า, สะบักสะบอม, แม่ช่อชบา, ให้ ชาย เมืองสิงห์ ร้องบันทึกเสียง, เพลง " พ่อแก่แม่เฒ่า"  
                   
สุดท้ายก่อนที่จะยุติวงการเพลง ไปประจำอยู่ วงดนตรี "พิณศรีวิชัย" ด้วยความรู้ความสามารถ ตามอายุขัยอันสมควร
          ปัจจุบันเปิดสำนักงาน อาจารย์ "ลือชา สุกแสง" อยู่หน้าวัด "พระแท่นดงรัง" จังหวัด กาญจน์บุรี



สองเพลงครับ
 
เพลงแรก เมียเช่า - บุญ บรรดาล
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/0f7e795894e7607036a726c0a17f7c1b.swf

เพลงที่สอง ร่อนเร่ - บุญ บรรดาล
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/6c5a245eb044ed40e4433e2cd2dba1e3.swf



                               
                               
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สามเค ที่ กันยายน 15, 2015, 10:17:29 AM
มาติดตามอ่านตลอดครับอาแก้ว   ขออนุญาติเพิ่มเติมเพลงที่เคยเห็นจากแผ่นเสียงของนักร้องหญิง นารี สุจริต อีกเพลงคือ ห่วงพี่  แผ่นตราจุฬาทิพย์ครับ
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ กันยายน 15, 2015, 11:21:08 AM
มาติดตามอ่านตลอดครับอาแก้ว   ขออนุญาติเพิ่มเติมเพลงที่เคยเห็นจากแผ่นเสียงของนักร้องหญิง นารี สุจริต อีกเพลงคือ ห่วงพี่  แผ่นตราจุฬาทิพย์ครับ
   
    ขอบคุณ ครับ คุณสามเค นี่แสดงว่ามีอีกเพลง ผมยังนึกว่ามีเพลงเดียว ก่อนที่จะเขียนถึง "นารี สุจริต" ผมก็ยังคุย กับเจ้าเปี๊ยก อดีตสามี ของเค้า เค้าก็ยังไม่รู้ก็ยังคิดว่ามีเพลงเดียว แล้วยังขอไฟล์เพลง "หน้าชื่นอกตรม" ผมเลย ผมก็ฝากเพื่อน ร.ต.ต สุชาติ สายประดิษฐ์ อดีตก็เป็นนักดนตรี จุฬาทิพย์ และเป็นนักดนตรีมาจาก ร.ร. หนองแขมด้วยกัน ที่เล่นเฟสด้วยกันกับผม ผมก็นำฝากเอาไปให้เรียบร้อยแล้ว / คุณสามเค ครับ เพลง "ห่วงพี่" นะมีแน่นอนครับ นารี สุจริต เคยร้องหน้าเวที แต่ผมนึกว่าไม่ได้อัดเสียง ถ้าจะกรุณา นำไฟล์เพลง มาลงโชว์หน่อยได้ไหม ครับ ฝากผ่าน คุณสมภพ ก็ได้ ถ้าคุณสามเค มีเพลงห่วงพี่ น่าจะมีเพลง
"แค่นรัก" ของ เรไร ด้วย ขอบคุณ คุณสามเค ที่ให้ข้อมูล ผมหลงไปจริงๆ ทีนี่จะเรียนทุกท่านนะครับ มีข้อมูลอะไร โปรดนำเสนอได้เลยในกระทู้นี้นะครับ อย่าได้เกรงใจ ข้อมูลจะได้ถูกต้อง และแบ่งปันกัน ครับ ...
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ กันยายน 15, 2015, 11:26:52 AM
                               
                               :teentob: :teentob:(http://www.mx7.com/t/426/qWBs82.jpg) (http://www.mx7.com/view2/yBiVhslIxd868ihW) :teentob: :teentob:
                                                โชค ชวนชม / แก้ว สาริกา
   
      โชค ชวนชม นักร้อง หนุ่มหน้าตาคมสันต์ ร่างกายกำยำสูงใหญ่ ชื่อจริง "บุญสม พรหมจันทรา" จาก จ.นครสวรรค์ ร่วม วง "จุฬาทิพย์" เพื่อนผมคนนี้ เป็นนักร้องที่โชคไม่อำนวย ถูกมรสุมชีวิตเล่นตลก โดนคดีที่ตัวเองไม่ได้เป็นคนก่อเลยแม้แต่น้อย จนต้องเลิกร้องเพลงและหายสาบสูญไปจากวงการเพลง จึงขอนำเพลง ที่เค้าร้องบันทึกเสียงไว้ เป็นเพลงแรก และเพลงเดียว มาให้ได้ฟังกัน
โดย คุณสมภพ จะมอบเพลง "งามงอน" โชค ชวนชม  ขับร้อง ให้ฟังครับ ... 
   รูปถ่ายที่ ชายหาดสุรินทร์ จ. ภูเก็ต  เมื่อคราว จุฬาทิพย์ ไปแสดงที่โรงภาพยนต์ "เริงจิตร" บนเกาะภูเก็ต ปี พ.ศ. 2511  

เรไร ณ.โคราช : พี่แก้วนี่ เป็นพี่ที่น่าเลื่อมใสจริงๆอยู่ที่ไหนก็สรรหามาให้ฟังจนได้ ไม่รู้ว่าตอนนี้พี่โชคอยู่ที่ไหนคะพี่แก้วลึกๆแล้วสงสารพี่โชคมากไม่เคยลืมสายเหนือนะพี่แก้ว

แก้ว สาริกา.. พี่นึกว่า เรไร จะลืมแล้ว ซ่ะอีก ณ.โรงภาพยนตร์ สมอญเธียเตอร์ แม่ต๋ำ อ. พะเยาว์ (ตอนนั้นยังเป็นอำเภอ)
จ. เชียงราย มันเจ็บปวด ...

งามงอน - โชค ชวนชม
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/011d36ea36ee74df017126b81bd5d23d.swf

หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ กันยายน 16, 2015, 09:55:15 AM
 :74 : ดอกไม้ บ้านนา (น้องเปีย)  สาวน้อยน้องนางบ้านนา จากถิ่นที่ราบสูง อ. ชุมพวง จ. นครราชสีมา
มีชื่อจริง "ปนัดดา" เดินเข้าสู่ประตูบ้าน ชาย เมืองสิงห์ พร้อมๆกันวันเดียวกัน นารี สุจริต, ดอกไม้ บ้านนา, มาลัย ดอกรัก,
ลั่นทม ทานตะวัน, / นารี สุจริต สาวมอญจากปากเกร็ด, ดอกไม้ บ้านนา สาวอีสาณจากโคราช, มาลัย ดอกรัก จากพระโขนง
สาวคนนี้เป็นแม่ค้าสาวสวยขายพวงมาลัย อยู่ตลาดเชิงสะพานพระโขนง พี่ชายเลยให้ชื่อ "มาลัย ดอกรัก", ลั่นทม ทานตะวัน
 สาวมอญจากอำเภอ พระประแดง สมุทรปราการ
     นี่พูดตามเนื้อผ้านะ "ดอกไม้ บ้านนา" ร้องเพลงก็งั้นๆแหล่ะ เสียงนะใช้ได้อยู่ แต่เวลาร้องชอบก๊ล ฟังเค้าร้อง เพลงเดือนหงาย นะครับ เดียนหงายพระพายโบยโบก ฟังแล้วมันทะแม่ง ๆ เดือนหงาย ร้องเป็น เดียนหงาย ฟังกี่หน ๆ ก็ เดียนหงาย ไม่เดือนหงายสักที แต่พี่ชาย ก็รับไว้ประดับวงเป็นคนเล่นเต้นหางเครื่อง หน้าตาดีเอาไว้ก่อน คนสวยๆ มันหายากส์แกว่า อยู่มา ๆ ก็เลยพลอย
ได้ผสมผเสอัดเสียงกะเขาบ้าง เพลง "ดูแต่ตามืออย่าต้อง" ที่แรกพี่ชายจะให้อัดเพลง เดือนหงาย นั่นแหล่ะครับ แต่มันแก้
เดียนหงาย ไม่หลุด เลยเพลงเดือนหงาย ไปหยุดอยู่ที่ ตุ๊กตา พรหมจรรย์ / นามนักร้องที่ผมกล่าวมาหลังๆนี้ ท่านไม่ค่อยรู้จักกันหรอกนะครับ
ดอกไม้ บ้านนา ร้องเพลงก็ไม่ยาวนาน คงไม่ต้องบอกนะครับเพราะอะไร ก็คนสวย อ่ะ จะไปเหลือเหรอะ
ผมเห็นมีเพลงที่บันทึกเสียงไว้ ก็นำมาเล่าสู่กันฟัง จะถือว่าเป็นดอกไม้ประดับวงการ ก็ได้นะครับ สวยดี ...
 
   มีเพลง "ดูแต่ตามืออย่าต้อง"  ดอกไม้ บ้านนา ขับร้อง  มาให้ฟังกันครับ / เอ้า.. ดีเจ สมภพ จัดให้หน่อย ...
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ กันยายน 16, 2015, 10:09:52 AM
จัดไปอย่างไว ดูอย่างเดียว ห้ามแตะแต่อย่าลืมกดปุ่มฟังนะครับ  :tab_on: :tab_on:

http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/e34a8097056280fe21528fffd813cc71.swf
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ กันยายน 16, 2015, 04:01:24 PM
                           
                          :61 :61 :teentob:(http://www.mx7.com/t/b95/odfORv.jpg) (http://www.mx7.com/view2/yBsmFrTwjYcQlLPn) :teentob: :61 :61
                                                      ลำทางสั้น - ลำทางยาว

 :71: ตามขบวนกันมาเป็นทิวแถว ลูกสาวย่าโม ลูกชายย่าโม่ นับจาก เรไร ณ.โคราช, พร เทวา, กุมาร มัทรี,     
                  ดอกไม้ บ้านา, เรื่อยมา ตอนนี้ก็อีกคน

   "เพชร มหาพล"   ผมมีเพื่อนร่วมทีมงานอีกคน ช่วงที่ผมออกโฆษณา เชิญชวนท่านเข้าชมวงดนตรี จุฬาทิพย์ ทั้งบนรถแห่ หรือที่หน้าโรงภาพยบต์ก็ตาม พูดเป็นช่วงตอนนึงว่า "วงดนตรี จุฬาทิพย์ พบ ชาย เมืองสิงห์, ดวงใจ เมืองสิงห์, ยอด ธงชัย,
เรไร ณ.โคราช, แก้ว สาริกา, ทศพร หิมพานต์, กุมาร มัทรี, ชาลี มหาราช, เพชร มหาพนต์, น้ำมนต์ ศักดิ์สิทธิ์, ทอง สัมฤทธิ์, อาทิตย์ อุทัย, เลิศ นพรัตน์, พอมาถึงตรงนี้ ผมสดุดใจ พิศวงศ์ พี่ชายแกช่างเสกสรรค์ปั้นหาชื่อ จากตำนานมหาชาดก นำมาตั้งให้เป็นชื่อนักร้อง แต่ก็เพราะดี ดูเข้าท่าดี ผมก็เลยนึกขึ้นมาได้ว่า ยังมี "เพชร มหาพล" อีกคนที่ต้องพูดถึง ...       
   "เพชร มหาพล" มีนามกรจริงๆ ว่า "บุญมา ด่านขุนทด" เป็นคนโคราช อำเภอ คงไม่ต้องบอก เน๊าะ นามสกุล บ่งบอกลงตัวอยู่แล้ว บ้านจังหวัดเดียว กับ แม่หญิง เรไร ณ.โคราช น้องสาวผมนั่นแหล่ะ (พอเค้าเข้ามาคุยด้วยหน่อย แหม ๆ อ้างเป็นน้องเลย อีตาแก้วเอ้ย) เพชร มหาพล มาอยู่วงจุฬาทิพย์ ก็พี่ แสวง (อดีตสามี พี่ดวงรัตน์ แสงอุทัย) มือเป่าแซ๊กต์ เทนเนอร์ ของวงจุฬารัตน์
นำมาฝาก มาอยู่วงไม่ทันได้ถึงเดือน พี่ชาย ก็ให้บันทีกเสียง พี่ชาย กำลังมองหานักร้องหน้าสองพอดี (สงสัยไหมครับ นักร้องหน้าสองคืออะไร คิดเองปล่อยให้ งง ๆ ๆ ) แล้วก็นี่แหล่ะ ได้ เพชร มหาพล มาร้องเพลง "ลำทางสั้น" ร้องเอง แล้ว แต่งเอง ซ่ะด้วย
มีเพลงมาให้ฟัง ครับ ว่า จะลำทางสั้น หรือ ลำทางยาว แต่ผมชอบ ลำพอดี ๆ ครับ...

         : จะฟังรู้กันไหมครับ มันแปลว่าจังได๋ หัวหน้าวง "จุฬาภิรมย์" บอกพี่ชายว่า "ชาย เพลงนี้อัดเสียงมาได้ไงเนี่ยะ
    คำร้องแปลมาแล้ว มันมั่ว" พี่ชาย เมืองสิงห์" ตอบ ผมก็ไม่รู้ เด็กมันแต่ง ผมก็ฟังไม่ออก เห็น มันร้องดี ก็เลยให้อัดเสียง
         โธ่ถัง แล้วก็ไม่บอก หันหน้ามาหัวเราะพร้อมกัน ก็เลยไม่รู้ว่า ทั้งสองท่านหัวเราะเรื่องอะไร 55555 ...
                       
                        ใครแปลออก โปรดช่วยเคลียร์ ให้หน่อยครับ เก็บความมึนตึ๊บ มานานนักหนาแล้ว

ลำทางสั้น - เพชร มหาพล
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/9aaaab482b345c3d4512b5906689d4b4.swf



หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ กันยายน 21, 2015, 04:42:12 PM
                   
                :78 :teentob: :teentob: (http://www.mx7.com/t/e24/5t9f7p.jpg) (http://www.mx7.com/view2/yC6pYN0495tSFVXi)  :teentob::teentob:  :78
                                            อัมพร สนธยา - อ. สถิตย์พงษ์ สถาพร
 
     : แด่กาลก่อน เป็นระยะเวลาที่วงดนตรีลูกทุ่งกำลังเฟื่องฟู ทำให้เกิดวงดนตรี วงเล็กวงน้อย เกิดขึ้นมากมายเป็นดอกเห็ด ใครที่พอจะมีชื่อเสียงหน่อย ทางจัดรายการวิทยุ ก็มักจะตั้งเป็นวงเฉพาะกิจขึ้นมาร้องเพลงเป็นบ้างไม่เป็นบ้าง รับงานวัดงานวา งานหาเท่านั้น พอหมดฤดูหน้างาน ก็พับวงเก็บเข้าตู้ไว้ก่อน พอเริ่มย่างเข้าฤดูหน้างาน ก็เปิดตู้ งัดวงขึ้นมาโชว์กันอีกครา ผลุบๆ โผล่ๆ อยู่อย่างนี้
    ท่านที่ติดตามอ่านข้อเขียนนี้ คงเคยได้ยินชื่อ วงดนตรีลูกทุ่ง คณะ "ศักดิ์ สนธยา" กันบ้างนะครับ หรือไม่เคยเลย แต่นั้นไม่ใช่มูลเหตุที่ผมจะนำมาเขียน แต่บุคคลที่ผมจะนำมาบันทึกและเขียนไว้ในหัวข้อกระทู้นี้ คือ ครูเพลงมือทอง  ปัจจุบันท่านรู้จักกันดีในนาม ครูผู้นักประพันธ์เพลง "ส่งแอ๋วเรียนราม" "รักนี้มีกรรม" และชุดเพลงหวานที่กำลังท๊อปฮิตดังไม่หยุดชุดไม่อยู่ ในเวลานี้
ชุด "ที่สุดแห่งรัก" ที่ครูเพลงท่านนี้ได้บรรจงแต่ง และ "สันติ ดวงสว่าง" บรรจงร้อง ไว้อย่างไพเราะเหลือเกิน
        อัมพร สนธนยา หรือ อาจารย์ "สถิตย์พงษ์ สถาพร"

   : กว่าจะได้มาเป็น "สถิตย์พงษ์ สถาพร" เดินตามหาชื่อตัวเอง อยู่นับสิบๆปี จาก ดอกรัก แดนพระร่วง, ผ่อน บังใบ,
      อาภรณ์ ฉิมพลี, อัมพร สนธยา, จนถึง สถิตย์พงษ์ สถาพร ...
      หนุ่มน้อยหน้าตาดี จากจังหวัดสุโขทัย มีนามกรจริงๆ อันระโหฐาน ว่า "อัครพล บังใบเจริญ"
      เดินทางจากสุโขทัย มุ่งเข้ากรุงเทพฯ มาทำงาน ไปรษย์ณี-โทรเลข ได้สักระยะ ก็หันเหมาใช้ชีวิตรับราชการเป็นข้าราชการตัวเล็กๆ เงินเดือนไม่กี่ร้อยบาท ก็พยามขวนขวายหาอาชีพอื่นเพื่อมารองรับ จึงใช้เวลาที่ว่างจากงาน ไปขึ้นเวทีร้องเพลง ของวงดนตรี "ศักดิ์ สนธยา" ใช้ชื่อการเป็นนักร้อง "ดอกรัก แดนพระร่วง"  มีพรสวรรค์ฉายแวว ของการเป็นนักแต่งเพลง ชื่อ "ผ่อน บังใบ"
เมื่อ ปี พ.ศ. 2510 เกิดวงดนตรีขึ้นมาใหม่อีกวง วงดนตรี "จุฬาทิพย์" ของ ชาย เมืองสิงห์ จึงเดินทางนำตัวเองเข้าพบ
ชาย เมืองสิงห์ โดยในมือถือสมุดมาด้วยหนึ่งเล่ม มาขอสมัครเป็นนักร้อง ได้เสนอตัวเองเป็นนักแต่งเพลงอย่างเปิดเผย พี่ชายก็รำพึงออกมาเบาๆ "นานๆถึงจะมีคนมาสมัครเป็นรัอง-นักแต่งเพลงสักคน คุยกันอยู่ครู่ใหญ่  พี่ชายขอดูเพลงในสมุดที่นำมา พี่ชายไปสดุดใจอยู่หลายเพลง หนึ่งในจำนวนนั้น มีเพลง "พ่อม่ายลูกติด" กับ เพลง "ไกวเปล" รวมอยู่ด้วย พี่ชายบอกเมื่อกลับไปแล้ว ให้แต่งเพลงเพิ่มและขอเพลงผู้หญิงหลายๆเพลงหน่อย เขียนเพลงร้องแก้กันมาด้วยยิ่งดี เกิดแรงบรรดาลใจ มีที่หมายและเป้าหมาย พร้อมโอกาสอำนวย กอปรกับ ตัวเองที่มีพรสวรรค์ จึงแต่งเพลงออกมาอีกนับหลายสิบเพลง เพียงสองวัน ก็นำเพลงมาให้พี่ชาย เท่าที่จำได้ ก็นับเป็นสิบเพลง มีเพลง  แม่หม้ายทรงเครื่อง, หน้าเนื้อใจเสือ, หน้าไหว้หลังหลอก, ดีใจด้วย, ไม่เป็นไร, ไม่สำคัญ,
เลิกแล้วเจ้าชู้, และอีก ฯ
   พี่ชาย เปิดทางผ่านให้ กับ "อัครพล"อย่างเต็มที่ ใช้นามแฝงของการเป็นนักแต่งเพลง "อัมพร สนธยา" แต่งเพลง ป้อนเพลงให้นักร้องใหม่ๆ ของ จุฬาทิพย์ ให้ได้เกิด รวมถึงกระผมผู้เขียนด้วย พี่ชายก็เปิดโอกาส ให้ "อัมพร สนธยา" เป็นนักร้องประจำวง
โดยใช้ชื่อในการร้องเพลง "อาภรณ์ ฉิมพลี" อยู่วงจุฬาทิพย์ ได้สักสองปีกว่าๆ ก็ลาจากไป กลายเป็นนักจัดรายวิทยุ
ที่สถานีวิทยุ ว ป ถ 8  กระทุ่มแบน สมุทรสาคร และอีกหลายที โดยมีสปอนร์เซอร์ "โรงเรียนแสงทองวิทยุ-โทรทััศน์ ของ
อ. สญชัย อึ้งสมรรถโกษา, ห้างศรีไพบูลย์ บางแค ของ คุณมาลิณี-คุณแดง เจ้าของแผ่นเสียง-เทป ตรามะลิวัลย์ เป็นหัวเรือใหญ่ ใช้ชื่อการจัดรายการ "สถิตย์พงษ์ สถาพร" จัดรายการ-แต่งเพลงให้นักร้องมานานนัก ไม่เคยประสพผลสำเร็จสักที
ิ  จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2522
 คนเราพอชะตาขึ้นดวงเปิด แต่งเพลง "ส่งแอ๋วเรียบราม" เพลงออกวางตลาด ดังเปรี้ยง แผ่นเสียงตรามะลิวัลย์ แวกตลาดวงการเพลง แทรก แผ่นเสียงตรา "เอื้อ อารีย์" ที่เป็นเจ้าพ่อวงการแผ่นเสียง-เทป ที่ยึดถือครองระบบนายทุนอยู่ มีนายทุนใหญ่ๆหลายคน ได้อย่างเหลือเชื่อ
ชื่อ "สถิตย์ สถาพร" จึงถูกยอมรับและเป็นที่กล่าวขานกันมาก จนถึงปัจจุบัน...
     ร้องบันทึกเสียงเพลงลงแผ่นไว้หลายเพลง มีเพลง น้ำท่วมหลังเป็ด,  วาสนาเหมือนไม้โสน, ดวงใจที่รัก, นิราศรักซากูระ,
บอกฉันสักคำ, ระวังกรุงเทพฯ,  ใช้ชื่อการร้อง "ดอกรัก แดนพระร่วง" ชื่อนักแต่ง "ผ่อน บังใบ"
    แต่งเพลงที่สร้างชื่อเสียง "ส่งแอ๋วเรียนราม"  ศรเทพ ศรทอง ร้อง  "รักนี้มีกรรม"  สันติ ดวงสว่าง ร้อง
             
              และที่กำลังโด่งดังขณะนี้รวมเพลงชุด "ที่สุดแห่งรัก" นักร้องเพลงหวาน "สันติ ดวงสว่าง"


                                  :teentob: :teentob: (http://www.mx7.com/t/a6d/nb76hA.JPG) (http://www.mx7.com/view2/yCd1wglaWqg1Mlzs) :teentob: :teentob:

                                                  ครูเพลง อ. สถิตย์พงษ์ สถาพร
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ กันยายน 24, 2015, 06:53:55 AM
                                 
                                    :teentob: :teentob:(http://www.mx7.com/t/b0f/Xo0LQX.jpg) (http://www.mx7.com/view2/yCr5pkGhwzgPY54b) :teentob: :teentob:

   : นักร้องหญิงอีกท่าน ของ วงดนตรี "จุฬาทิพย์" นามเธอ "เยาวมาลย์ มิ่งมิตร" นักร้องท่านนี้ เป็นชาวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก จังหวัด จันทบุรี ครับ มีชื่อจริง "ปราณี" นามสกุล ไม่เคยจำใครได้สักคนผมอ่ะ หน้าตาสวยเลิด ร้องเพลงก็โอเคนะจัดว่าเยี่ยมยอดทีเดียว มาอยู่ร่วมวง ปี 2515 ช่วง พี่ชาย ใช้ชื่อวง "ชาย เมืองสิงห์" บางท่านหรือหลายท่าน ยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ว่าเป็นบุคคลคนเดียวกัน กับ "ดวงมาลย์ มิ่งมิตร" หรือ "ดวงมาลย์ เนรมิตร" และหรือ "กลอย มิ่งขวัญ" ไม่ใช่ครับ ขอเรียนว่า "เยาวมาลย์ มิ่งมิตร" เป็นนักร้องหญิง อีกคนหนึ่งครับ ของวง ง่ายๆนะครับเป็นที่เข้าใจกันได้ ว่า "เยาวมาลย์" เป็นนักร้องสาวคู่ใจ (คนสนิท) ของ "เอื้อ อารีย์" เลยทีเดียว ผมใคร่ขอนำเพลงของเธอที่ดูเหมือนจะมีเพลงเดียวที่ร้องบันทึกเสียงไว้ ลองๆดูนะครับ
ไม่ค่อยแน่ใจสักเท่าไร เพราะผมเผ่นออกมาเสียก่อนอีกรอบ ...
                   เพลง "ฉันกลัวคุณจัง" "เยาวมาลย์ มิ่งมิตร" ขับร้อง คำร้อง/ทำนอง วิรวด ปานเจริญ (เอื้อ อารีย์) ....

http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/adc5063bff2bcfbdd3fbd241deb7b02e.swf

หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สามเค ที่ กันยายน 24, 2015, 08:44:38 AM
เพิ่มเติมข้อมูลสำหรับนักเพลงท่านนี้ครับ
รักเธอยิ่งกว่าใคร   อัมพร สนธยา  คำร้องทำทองดอกรัก แดนพระร่วง   วงจุฬาทิพย์
หนุ่มน้อยคอยรัก ดอกรัก แดนพระร่วง  คำร้องทำนอง สมานเกตุวิไล   วงไวพจน์ เพชรสุพรรณ
เธอลืมฉันเร็วเกินไป  ดอกรัก แดนพระร่วง คำร้องทำนองสมาน เกตุวิไล วงไวพจน์ เพชรสุพรรณ
ไปเสียแหละดี ดอกรัก แดนพระร่วง

หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สามเค ที่ กันยายน 24, 2015, 09:26:48 AM
เรียนอาแก้ว สาริกาที่นับถือ ผมติดตามอ่านข้อเขียนเกี่ยวกับนักร้องวงจุฬาทิพย์มานานพอสมควร นับว่ามีสาระและประโยชน์อย่างยิ่ง จากการสะสมเเละเล่นแผ่นเสียงของผมมานับสิบปีทำให้พบและเห็นแผ่นเสียงตราจุฬาทิพย์เป็นจำนวนพอสมควรมีทั้งนักร้องดังๆและไม่ดังมากมายดังที่อาแก้ว สาริกาได้หยิบยกมาเล่ามากล่าว และอีกมากมายที่ยังไม่ได้กล่าวถึงก็คงต้องติดตามกันต่อๆไป แต่อย่างที่อาแก้วได้บอกไว้แต่ต้นว่า ไม่ได้จดบันทึกเป็นรูปเล่มเอาไว้ แต่ใช้ความทรงจำ มาเขียนเล่าให้ฟังแต่ด้วยเวลาที่ผ่านมามากขนาดนั้นผมว่าสุดยอดแล้วหละครับ ความหลังบางเรื่องที่มันผ่านไปนานๆมันก็จำกันไม่ค่อยได้ หากไม่มีการกระตุ้นเตือนความจำหรือพูดคุยในเชิงสนทนาถาม-ตอบ  กันบ้างเพื่อเป็นการต่อเติมความทรงจำในอดีตให้ลุกโชนขึ้นมา อาแก้ว คลุกคลีอยู่กับวงการมานานย่อมมีประสพการณ์เกี่ยวกับวงดนตรีการทำเพลงในยุคนั้นเขาทำอย่างไร ยกตัวอย่างเช่นการแต่งเพลงให้นักร้องนำไปบันทึกเสียงมีค่าตอบแทนเพลงละเท่าไหร่ เขาจ่ายกันยังไงเป็นต้นครับ 
ด้วยความนับถือ
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ กันยายน 24, 2015, 09:46:25 AM
ขอบคุณท่านนายกฯ (สามเค) ที่ได้เข้ามาช่วยเพิ่มเติมข้อมูลครับ
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ กันยายน 24, 2015, 02:09:15 PM
  :77  ขอบคุณครับ คุณสามเค ชื่อเท่ เน๊าะ เรื่องบางเรื่องที่ผมเขียนหรือนักร้องที่ผมเอ่ย มันมาจากอดีตที่ยาวนาน น่าจะเกือบ 50 ปี ตั้งแต่ วัยละอ่อน ด. เด็ก 18-19 ขวบ ณ ปัจจุบัน ฒ. ผู้เฒ่า อีก ปีสองปี ก็ขึ้นเลข 7 ถ้าหากได้มีใครมากระตุ้นถามอย่างคุณสามเค มันก็เออ ปลุกความจำขึ้นมาได้ เพราะในความจำลึกๆ มันยังมีซ่อนอยู่อีก เหมือนอยู่ในที่มืด พอมีใครสักคนมาจุดเทียนส่องแสงสว่างให้ ไอ้ที่ว่ามันมืดก็เริ่มสว่างให้เห็นโดยฉับพลัน
   ผมจะพักเรื่องราวของนักร้อง วงจุฬาทิพย์ ไว้สักนิดก่อน ยังมีอีกเยอะ  ธิดา บ้านดอน, โชติ ชัชวาลย์, อาทิตย์ อุทัย,
เลิศ นพรัตน์, ภู่ ภิญโญ,  รุ่นแรกๆ / รุ่นหลังๆ ก็ มิ่ง มงคล, บุญมั่น ขวัญยืน, พร พิฆเณศร์, เที่ยง ทรงธรรม, อนุสรณ์ ณ เมืองสิงห์, หอม มหาหิงค์, ปัญญา เปี่ยมโชติ, ทรงยศ ยรรยง, กุสุมา กัลยาณี, ราตรี คีรีมาศ, แล้วผมหรือใครจะมานั่งจำกันหวัดไหว
ถ้าไม่ดัง อย่าง หนุ่ม เมืองไพร, ดาวไทย ยืนยง, หรือ เรไร ณ โคราช, ยอด ธงชัย, ไปถาม ชาย เมืองสิงห์ พี่ชายยังสั่นหน้า
กูก็ยังจำไม่ได้ ...
    เรื่องที่จะนำมาเขียน เล่าสู่กันฟังขัดตาทัพ ก็จากข้อความที่เขียนถามมาของ "คุณสามเค" ต้องขออนุญาต ขยายความเป็นขั้นเป็นตอนนะครับ ตามความเป็นจริงของแต่ระยุค บางทีอาจจะต้องร่ายยาวกันสักหน่อย หากมีการพลั้งเผลอ หรืออาจจะช้าไปบ้าง ก็อย่าว่ากันนะครับ ...
     
     เมื่อคืน กำลังจะเริ่มพิมพ์ ขอใช้คำว่าพิมพ์นะครับ ตั้งแต่เริ่มเล่นเป็นคอมส์มา ผมไม่เคยจับดินสอ หรือปากกาเลย ทั้งๆที่ลายมือผมออกจะสวย จริงๆไม่ได้โม้ 55555.. มันสะดวก แม้แต่แต่งเพลง แต่งกลอน ก็ว่ากันสดๆ ไม่ชอบก็แก้ใหม่ง่ายจะตาย
ไอ้ที่จะมานั่ง จรดๆจ้องๆปากอมปากกา มันหมดสมัย ประกอบกับ ขี้เกียจจะมานั่งเขียน เขียนข้อความในกระทู้นี่ก็เหมือนกัน ไม่ได้เขียนแล้วนำมาพิมพ์ เปล่า พิมส์เลย  ทีนี้พอจะพิมส์ เข้าเรื่องเข้าราว ก็มีพักพวกโทรมาทักทายและคุยกันถามผมถึงเรื่อง ไอ้เพลงที่เค้ามีปัญหากัน ผมก็บอกไม่รู้เรื่อง เพื่อนบอกอะไรว่ะไม่รู้ ผมก็ลองเข้าไปดูใน ยูทูป โอ้โฮเฮะ ด่ากันไฟแลบ ผมก็เลยสรุปให้ฟังง่ายๆว่า เดี๋ยวนี้คนมันหมดสมองที่จะแต่งเพลงใหม่ๆออกมามันฝืดเคือง หากินกับเพลงเก่าดีกว่าง่ายดี ถึงได้เกิดเรื่องยุ่งๆ เดี๋ยวเถอะมึงเอ้ย พระที่หันเหชีวิตไม่ยอมเป็นพระ มาเป็นหมอทำขวัญ เผลอร้องเพลง จิ่ว พิจิตร ล่ะก็เป็นเรื่อง
   หรือ บริษัท ลูกหลาน จิ๋ว พิจิตร ฮิตไปฟ้อง พี่ไวพจน์ เพชรสุพรรณ เข้า ทีนี้แหล่ะมึงเอ้ย ฮาไม่จืด
ก็เลยหยุดเลิกดู ไปดู "พระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก" ทีนี้เลยติดงอมแงม ไม่ได้เขียนกระทู้ความมาสองสามวัน ไม่รู้จะมีใคร
ถามหามั้งหรือเปล่า กะว่าไม่มีใครสนใจ ก็จะจบเลยลงสวยๆหน่อย ก็เห็นคุณสามเค กระตุ้นขึ้นมา ก็เลยยังจบไม่ลงอีก ...

                                                                                                             จากผม สี่คิงส์
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ กันยายน 24, 2015, 02:41:07 PM
ราตรี คีรีมาศ มีให้ฟังหนึ่งเพลงครับ รับประกันคุณภาพ  :yenta4-emoticon-0102: :yenta4-emoticon-0102:

พี่ไม่ต้องน้องทำเอง - ราตรี คีรีมาศ คำร้อง/ทำนอง - มนัสชัย ใจบุศย์ แผ่นเสียงสปีด 45 ตราจุฬาทิพย์
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/4c2e2793494f7eb2e9be1d6785b6f443.swf

แถมมาให้ฟังกันแบบใจเย็นๆ อีกเพลงครับ
เจ้าน้ำตา - โชติ ชัชวาลย์
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/0cfcd2a84a1cf2ddc0d8b9df648b8a7c.swf

หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: เผ่าพงษ์ ปัตตานี ที่ กันยายน 25, 2015, 01:06:11 PM
เรียน อาแก้ว สาริกา ครับ
        ผมคนหนึ่งที่ติดเรื่องเล่าวงดนตรี อาชาย เมืองสิงห์ ของคุณอามากๆครับ เห็นหายไปหลายวันนึกว่ามีธุระหรือไม่สบายก็เป็นห่วงอยู่ครับ กำลังสนุกกับบทบาทหลายๆคนทั้งที่รู้จักและไม่รู้จัก พอทราบว่าติดตามซี่รี่ "พระพุทธเจ้า มหาศาสดาโลก" ก็เลยเข้าใจครับเพราะผมเองก็ติดงอมเหมือนกันครับ. อิอิ
         ผมอยากทราบเรื่องราวเกี่ยวกับเพลง "เมียพี่มีชู้" ที่โด่งดัง แท้จริงมันมีเบื้องหน้าเบื้องหลังเกี่ยวกับชีวิตจริงอาชาย มากน้อยแค่ไหนครับ รวมทั้งเพลงอื่นๆในทำนองเดียวกัน เช่น อกพ่อหม้าย กล่อมลูก ฯลฯ
        ผมคนหนึ่งขอเป็นกำลังใจอาแก้วให้มีพลังใจเล่าเรื่องเบื้องหลังสนุกๆให้สมาชิกอ่านกันเพลินๆต่อไปเรื่อยๆนะครับ
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ กันยายน 25, 2015, 02:45:02 PM
เรียน อาแก้ว สาริกา ครับ
        ผมคนหนึ่งที่ติดเรื่องเล่าวงดนตรี อาชาย เมืองสิงห์ ของคุณอามากๆครับ เห็นหายไปหลายวันนึกว่ามีธุระหรือไม่สบายก็เป็นห่วงอยู่ครับ กำลังสนุกกับบทบาทหลายๆคนทั้งที่รู้จักและไม่รู้จัก พอทราบว่าติดตามซี่รี่ "พระพุทธเจ้า มหาศาสดาโลก" ก็เลยเข้าใจครับเพราะผมเองก็ติดงอมเหมือนกันครับ. อิอิ
         ผมอยากทราบเรื่องราวเกี่ยวกับเพลง "เมียพี่มีชู้" ที่โด่งดัง แท้จริงมันมีเบื้องหน้าเบื้องหลังเกี่ยวกับชีวิตจริงอาชาย มากน้อยแค่ไหนครับ รวมทั้งเพลงอื่นๆในทำนองเดียวกัน เช่น อกพ่อหม้าย กล่อมลูก ฯลฯ
        ผมคนหนึ่งขอเป็นกำลังใจอาแก้วให้มีพลังใจเล่าเรื่องเบื้องหลังสนุกๆให้สมาชิกอ่านกันเพลินๆต่อไปเรื่อยๆนะครับ

เรียน คุณเผ่าพงษ์ เพื่อทราบครับ

        ที่ถามผมมา ขอเรียนว่า ให้พลิกหน้าย้อนกลับไปอ่าน หน้าสอง กับหน้าสาม ค่อยๆอ่าน อ่านหลายๆเที่ยว แล้วคุณจะรู้ได้เอง เพลงประกอบ คุณสมภพวางเพลงไว้ให้ฟังกันด้วยอย่างเหมาะสมและลงตัว เพื่อให้เกิดอรรถรสในการอ่านและฟัง
"องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ท่านยังไม่ตอบในปริศนาธรรม ในคำถามตรงๆเลย ให้ผู้ที่ฟัง ฟังแล้วรับรู้แปลความได้เอง ก็จะบรรลุมรรคผล"
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ กันยายน 25, 2015, 07:28:37 PM
 :teentob: : คุยกันกับกระทู้ถาม ของ คุณสามเค
          : เรื่องสลับซับซ้อนของวงการเพลง มันขมวดด้วยปมอยู่เยอะ ถ้าเกิดว่าจะให้เป็นเรื่องที่มีสาระ มันก็มี หรือว่าจะไม่มีสาระ มันก็ใช่ มันมีอะไรที่มากมาย อย่างสมัยก่อนๆ ถือว่าธรรมดา เพราะไม่มีกฎหมงกฎหมาย เรื่องลิขสิทธิ์เพลง อยู่กันด้วยความอะลุ้มอะล่วย ถ้อยทีถ้อยอาศัย และมีมารยาทซึ่งกันและกัน พอพูดถึงเพลงว่าใครเป็นคนแต่ง ก็ยังเฉยๆ แต่พอบอกว่าใครร้อง แผ่นเสียงตราอะไรใครทำ นี่ซิ ถ้านักร้องดัง อย่าง ทูล ทองใจ, พร ภิรมย์, สุรพล สมบัติเจริญ, ไพรวัลย์ ลูกเพชร, ชาย เมืองสิงห์,
ไวพจน์ เพชรสุพรรณ, เพลิน พรหมแดน, สมานมิตร เกิดกำแพง, ผ่องศรี วรนุช,
 พวกบรรดาห้างร้านแผ่นเสียงนั่งหูผึ่ง ตาเป็นมัน ดีดลูกคิดล่วงหน้า นายห้างแถว เวิ้งนครเกษม, สะพานเหล็กบน ย่านเจริญกรุง,
         นั่งรอเมื่อไหร่รื้อ จะมาหาอั้วว่ะ ...

เรื่องแผ่นเสียง : เดินแผ่นเสียง หรือคนส่งแผ่นเสียงให้ตามห้าง คณะวงดนตรี ก็จะมีบุคลากรโดยเฉพาะจัดสรรค์จัดส่ง เป็นของแต่ละวงแต่ละคณะ ผมยกตัวอย่างที่ใกล้ๆตัวหน่อย
     : วงดนตรีจุฬารัตน์ ครูท่านจะใช้สัญญลักษณ์ตราแผ่นเสียง "ตราเพชร" เป็นหลัก บุคคลที่เดินแผ่นเสียง พี่ "เฟื่อง เมืองนนท์" พอพูดถึงพี่เฟื่อง ขอเส่าสู่กันฟังนิดนึง เป็นคนที่ทำให้ ครูรวย เป็นคนสำคัญของครูเลยล่ะว่างั้นเถอะ บ้านแกอยู่เมืองนนทบุรี
เลยข้ามทางรถไฟบางซ่อน (ที่จะขึ้นสะพานพระรามหก) เลยบางซ่อนไปหน่อย ไม่ไกลจากวัดเซิงหวายสักเท่าไร ไม่มีตังค์ ขยันเดินก็เดินถึงกันได้ พี่เฟื่องจะมาที่สำนักงานบ้านครูทุกวัน กิจวัตรก็ นวดให้ครู คอยรับคำสั่งครูแล้วแต่จะเรียกใช้ เดินแผ่นเสียง แกไม่มีรถหรอกครับสมัยนั้นรถเมล์ล้วนๆ ประหยัดดี ครูให้ค่ารถแท๊กซี่ สมัยนั้นก็ 20 - 30 บาท ขาไปให้นั่งแท๊กซี่ไป ขากลับนั่งรถเมล์ก็ได้ตัวเปล่าๆ เดินออกหน้าวัดเซิงหวาย ขึ้นรถเมล์ป้ายหน้าที่ทำการไปรษณีษ์บางซ่อน ตังค์ค่าแท๊กซี่ เก็บเงียบ ครูท่านรักของท่าน นานๆจะติดรถไปกับวงสักที กลับมาโม้ไฟแลบ น้ำลายกระเซ็น จริ๊งๆให้ดิ้นตาย ก็ฟันหน้าแกหลอ 555 ครูแกนึกรักและสงสารในความขยันและซื่อสัตย์ ก็เลยหาเพลงให้ร้องอัดแผ่นเสียงไว้ น่าจะสัก สองเพลง  เพลง "คนแก่อยากมีเมียสาว" อีกเพลง ดูเหมือนจะชื่อ เพลง "กำนันมือปราบ"

 ด้วยความเมตตาของครู ทั้งสองเพลงดนตรี เล่นบายฮาร์ท ไม่ได้เรียบเรียงเสียงประสานหรือมีโน๊ต ใช้นัด อย่านึกนะครับว่า
จุฬารัตน์ จะเรียบเรียงเสียงประสานอย่างเดียว ดนตรีสดๆ ก็มีบ้างเหมือนกันหลายเพลงด้วย
   เรื่องร้องเพลงหน้าเวที พี่เฟื่อง เมืองนนท์ ไม่หมาย หรือหวังที่จะได้ร้อง นักร้อง จุฬารัตน์ มีนักร้องดัง แทบจะชนกันตาย
 
    : อีกหน้าที่ ของนักเดินแผ่นเสียงของทุกคนนะครับ ไม่ใช่เฉพาะพี่เฟื่อง คือการนำแผ่นเสียงที่นักร้องออกแผ่นมาใหม่ๆ เที่ยวเดินแจก ตามสถานีวิทยุ และนักจัดรายการวิทยุโดยทั่วไป หากเป็นนักจัดรายการของคณะวงดนตรีเองก็ไม่เป็นไร อย่าง วงจุฬารัตน์ ก็มี ประจวบ จำปาทอง, ศรีไพร ใจพระ, ชัย อนุชิต, หรือ นที นพพร เป็นต้น จัดสรรค์ให้กับตัวเอง :
       
    :หากจะมีคำถามเรื่องราคาแผ่นเสียง:
             
      มาตรฐานของราคาแผ่นเสียง สปีด 78 นำไปส่งให้ห้าง แผ่นละ 7 บาท ทางห้างขายออกไป ในอัตราแผ่นละ 11-12 บาท
ถ้าแผ่น 45 ก็จะแพงขึ้นไปนิด ไปส่งห้างแผ่นละ 14 บาท ห้างขายออก อยู่ในราคาแผ่นละ 17-18 บาท ผมอยู่ในยุุคนั้นนะครับ หลังๆมาก็มีการปรับขึ้นราคากันตามกาลสมัย
          หน้า 1 ก็จะเป็นนักร้อง ดัง  หน้า 2 ที่ประกบ ก็จะเป็นนักร้อง ที่เปิดตัวใหม่ ๆ

        แล้วแผ่นเสียงที่นักสะสมแผ่นเสียงเค้าเล่นกันอยู่เนี่ยะ ผมเชื่อว่าน่าจะหาซื้อมาได้ จากตามห้าง บินกะแด
แล้วพ่อค้าฯ เหล่าๆ ท่านๆ ก็คงจะไปเซาะหามาจาก นักจัดรายการเก่าๆ ที่เลิกลาวงการไปแล้ว นำมาเหมาขายกันอีกที
         ตามที่ผมเข้าใจเอาเองนะครับ อาจจะผิดก็ได้ ...

เพลงของ "เฟื่อง เมืองนนท์" ชื่อเพลง รักคนแก่ดีกว่า
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/6ea4d50e14494f39f5e8cc53d1abeccb.swf

ของแถมจากนักร้องวงดนตรี จุฬารัตน์ อีกสองเพลง
แอบรัก - ชนะ ชิดชนก ขับร้อง
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/b224689868556428d4ed13adfed67e49.swf

ฉันไม่สน - ณรงค์ นามชัย ขับร้อง
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/72812d0ba56dfc4e3d3b893d47d81481.swf
                           
           


                                       
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ ตุลาคม 08, 2015, 07:07:39 PM
                             
                              :teentob: :teentob:(http://www.mx7.com/t/656/C9pCqr.jpg) (http://www.mx7.com/view2/yEiFpNDvOkcdcKiv) :teentob: :teentob:
                   
                        เพลง "นักเพลงคนโปรด ไพโรจน์ ภูชาญ"  แก้ว สาริกา  ขับร้อง

                              http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/4df77087b2ee070cb6dd8eee4936405a.swf

  : ถ้าจะพูดถึงนักร้องที่ผลิตแผ่นเสียง ออกมาสู่ท้องตลาด "ชาย เมืองสิงห์" เป็นหนี่ง ที่บุกเบิกตลาดแผ่นเสียง มาตั้งแต่อยู่ประจำวงดนตรี "จุฬารัตน์" ด้วยความเชื่อมั่นกล้าลงทุน กล้าได้กล้าเสีย ประกอบกับความโด่งดัง ใครๆก็อยากแต่งเพลงให้
"ชาย เมืองสิงห์" ร้อง และพี่ชายแต่งเพลงเอง โดยไม่จำเป็นต้องไปหาซื้อเพลงจากใคร พรสวรรค์มีอยู่ในสมอง มีพลังเต็มเปี่ยม เริ่มจาก แผ่นเสียง ตรา "นักร้อง"  ที่ใช้รูปของตัวเองเป็นโลโก้ แต่มีน้อยมากที่ใช้ตรานักร้อง ต่อมา ก็ ตรา "ตุ๊กตาจ๋า" ตราที่กล่าวนี้ใช้เมื่อครั้งอยู่ "จุฬารัตน์" ครั้นได้มีวง จุฬาทิพย์ จะใช้ตรา "พานทอง" ตรา "จุฬาทิพย์" เป็นหลัก
ตรา "พานทอง" สำหรับตราพานทองนี้ มีเยอะมาก และหลายรูปแบบ พี่ชายใช้นามสกุลของตัวเองมาเป็นโลโก้ พี่ชายเก่งเรื่องการออกแบบ และเขียนลวดลายของตัวอักษรหนังสือ เมื่อทำเป็นหรือออกแบบมาแต่ละตรา ก็สุดสวยแสนสดุดตา ตรา "จุฬาทิพย์"
ก็ออกแบบมาหลายแบบ แต่ละแบบ ก็สวยๆทั้งนั้น ท่านที่เป็นนักเล่นแผ่นเสียง สะสมแผ่นเสียง ก็จะรับรู้ได้
      ถึงความเป็นนักร้อง นักแต่งเพลง และนักออกแบบ ของ " ชาย เมืองสิงห์" ...
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ ตุลาคม 09, 2015, 12:09:51 PM
 
   : ถ้าหากบังเอิญ จะมีใครสักคนถามผมว่า ในแวดวงของตราแผ่นเสียง มีตราอะไรบ้าง ผมก็จะตอบง่ายๆว่า ผมม่ายรู้ มันเยอะแยะมากมายเหลือเกิน นับจำนวนไม่ถูก ไม่รู้กี่ร้อยกี่พันตรา เอาจำเพาะตราที่ดังๆติดตลาดการค้าขายแผ่นเสียงก็จำกันไม่หวาดไม่ไหวแล้ว แต่ถ้าเป็นตราแผ่นเสียงยุคแรกๆ ที่ผมเกิดทันและจำความได้ ก็ แผ่นเสียง "ตรากระต่าย" ของห้าง ต. เง็กชวน มีทั้ง ลิเก ลำตัด เพลงไทยเดิม เพลงตลาดยุคโบราณ ...
  ห้องบันทึกเสียง ยุคต้นๆ "ห้องบันทึกเสียงกมลสุโกศล" เยื้อง สวนลุมพินี ปากซอยสวนพลู, ห้องบันทึกเสียงศรีกรุง
ซอยอโศก เอกมัย,
ห้องบันทึกเสียง อ้ศวิน(อัศวินภาพยนตร์), ห้องบันทึกเสียงฉลอง ติ่งชัน ในคลองบางกอกน้อย,
ผมก็เห็นมีเพียงแค่นั้น
    บริษัท ผู้รับทำแผ่นเสียง ก็เห็นมีอยู่ไม่มาก จำได้ "บริษัท วิรุฬหัตถกิจ" อยู่ใกล้ๆ โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง
ยุคต่อมาก็เกิดห้องบันทึกเสียง ตามมาอีกมาก ทั้งในรูปแบบบริษัท และส่วนบุคคล ที่โดดเด่น  ห้องบันทึกเสียง ครูไพบูลย์ ศุภวารี บางโพธิ์, ห้องบันทึกเสียงบริษัทโรต้า, ห้องบันทึกเสียง คิงส์ซาวด์, ห้องบันทึกเสียง จาตุรงค์, ฯลฯ และที่เลิกกิจการไปแล้วก็เยอะ
จนปัจจุบัน ล่วงเวลาสู่ยุคนายทุน "ห้องบันทึกเสียง ประจำบริษัทค่ายเพลง" ของแต่ละค่าย
               คงไม่จำเป็นต้องบอกนะครับ ว่ามีค่ายใดบ้าง ...
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ ตุลาคม 09, 2015, 12:40:39 PM
       

      : ค่านิยม - ค่าตอบแทน ของผู้ประพันธ์เพลง ผู้สร้างสรรค์งานเพลง หรือเรียกง่ายๆ นักแต่งเพลง :
     นักฟังเพลง คนเก่าๆแต่ปางก่อน เค้าฟังเพลงกันจริงๆ จะฟังว่าเพลงนั้นใครร้อง เพลงนี้เสียงใคร แล้วเพลงนั้นล่ะ เป็นเสียงของนักร้องชื่ออะไร เพลงโน้นล่ะใครร้อง น้อยนักไอ้เรื่องที่จะถามหาว่า เพลงโน้น เพลงนี้ เพลงนั้น ใครแต่งใครประพันธ์ หรือแม้แต่ เป็นผู้เรียบเรียงเสียงประสานดนตรี ให้กำเนิดเสียงดนตรี ยิ่งคนเล่นเครื่องดนตรี กว่าจะเล่นกว่าจะเป่าออกมาเป็นเพลงได้แต่ละเพลงก็แสนจะเหน็ดเหนื่อย แต่ไม่เคยเลยสักครั้งที่จะมีคนถามหา จนมาหลังๆนี้แหล่ะจึงมีคนค้นหา ถามหาเห็นคุณค่าขึ้นมากัน แต่ท่านเหล่านั้นก็หารับรู้ไม่แล้ว แถมยังมั่วๆ จับชื่อ คนโน้นมาใส่เพลงนี้ จับชื่อคนนี้ไปใส่เพลงนั้น ผมมองอยู่ห่างๆ พอทักเข้าไปบ้าง
ด้วยความหวังที่ว่าจะได้มีข้อมูลที่ถูกต้อง และเข้าใจตรงกัน เลยโดนจัด... เรียกว่าอยู่ดีไม่ว่าดี (เสือก 55555) ผมก็เลยนิ่ง ...
      ครูไพบูลย์ บุตรขันธ์,  ครูเบญจมินทร์,  ครู ป. ชื่นประโยชน์,  ครู ก. แก้วประเสริฐ์, ครูพิพัฒน์ บริบูรณ์,  บรมครูผู้ประพันธ์เพลง ยุคแรกๆ เพลงไทยสากล เพลงตลาด ซึ่งต่อมา ปี 2507 เพลงไทยสากล เปลี่ยนสรรพนามใหม่ คือเพลงลูกกรุง เพลงตลาดเรียกว่าเพลงลูกทุ่งจนถึงทุกวันนี้ ท่านเหล่านี้ท่านได้อะไรนอกจากความภูมิใจ ท่านเขียนเพลง แต่งเพลง รังสรรค์งานเพลงจากมันสมองอัจฉริยะ โดยคิดว่าเป็นงานศิลปของงานเขียนเป็นค่านิยม ไม่ใช่กำหนดออกมาเป็นค่าสินจ้างตอบแทนแต่อย่างใด สร้างนักร้องดังมากี่ยุคกี่สมัย จากรุ่นสู่รุ่น และอีกหลายๆรุ่น หากแม้นว่าครูเพลงท่าน คิดเป็นค่าจ้างเม็ดเงิน ผมเชื่อว่าแต่ละท่านต้องมีเงิน
นับเป็น ร้อยล้าน
    ห้างแผ่นเสียงแต่ละห้าง ร่ำรวยเพราะเพลงของครูผู้ประพันธ์สร้างงานเพลง เป็นจำนวนเงินมากมายมหาศาล แล้วบริษัทท่านเหล่านี้ได้ให้อะไรกับครูเพลงบ้าง ลูกหลานทายาทครูเพลง อดอยากปากแห้ง แต่ลูกหลาน บริษัท ห้างร้าน ร่ำรวยจากมรดกที่กอบโกยและเอารัดเอาเปรียบ ท่านสุขสบายอยู่บนกองเงินกองทอง แต่ครูเพลง อย่างดีก็ได้แค่รับผลบุญ จากท่านที่กรวดน้ำอุทิศส่งไปให้ ก็เท่านั้นเอง ...
      ครู "สนิท มโนรัตน์" ครูเพลงที่บางคนอาจจะลืมชื่อนี้ไปแล้ว ท่านเขียนเพลงไว้เยอะ โด่งดังไม่แพ้นักแต่งเพลงท่านใดๆ
อย่างเพลง "พี่ไปหลายวัน" ชาย เมืองสิงห์ เพลง "หนุ่มนารอนาง" ไวพจน์ เพชรสุพรรณ เพลง "ทหารเรือมาแล้ว" ยอดรัก สลักใจ ฯลฯ   บั้นปลายของชีวิตครู ท่านสิ้นใจ แทบจะไร้คนเหลียวแล จริง ๆ ...

                             : ศิลปินอย่าดูหมิ่น ศิลปะ  กองขยะดูให้ดี ก็มีศิลป์
                               หากสาวใส้ออกมา ให้กากิน   ศิลปินก็ถูกมอง ของเหลือเดน :
:yenta4-emoticon-0043:
 
     
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ ตุลาคม 09, 2015, 03:46:36 PM
เสียดายที่ห้องนี้ไม่มีปุ่มกดขอบคุณ ไม่งั้นพี่แก้วน่าจะต้องเอาสิบล้อมาขนกลับบ้าน
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ ตุลาคม 15, 2015, 08:46:58 PM
   :teentob:  ครูผู้มีแต่จะให้ ให้ ให้ แล้วก็ให้ ครูผู้มีแต่เสียสระ ครูผู้ที่จะไม่เอาเปรียบ ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นใคร ถ้าเข้ามาหาครู
ผมเคยสัมผัสครูเพลงมาก็หลายคน เมื่อท่านจะแต่งเพลงให้นักร้องคนหนึ่งคนใดสักเพลงสองเพลง ท่านจะฟังเนื้อเสียง
ของนักร้องแต่ละคนก่อน หากเป็นนักร้องดังที่คุ้นชื่อคุ้นเสียงก็ไม่กระไร แต่ถ้านักร้องที่ไม่คุ้นเสียงแล้ว ไม่ใช่ใครนึกจะร้อง
ก็เอาไปร้องได้ง่าย ๆ ซึ่งแตกต่างกว่าปัจจุบัน ...

    ทูล ทองใจ เป็นหนึ่งที่ยากมากๆ ถ้าจะร้องเพลงของใครสักคน ถ้านักแต่งเพลงผู้นั้น
ไม่ใช่ ครูมงคล อมาตยกุล, ครูไพบูลย์ บุตรขัน, ครูเบญจมินทร์, หรือ ครูพิพัฒน์ บริบูรณ์, เมินซะเถอะ
ที่ "พี่น้อยจะร้องให้ใครง่ายๆ ซ่ะเมื่อไหร่"
เมื่อนึกถึงตรงนี้ผมนึกได้ว่า
     ครั้งหนึ่ง พี่หนก ผมหมายถึง ครู ลพ บุรีรัตน์ เมื่อท่านครั้งอยู่ วงดนตรี "จุฬารัตน์" ใช้นามนักร้องว่า "กนก เกตุกาญจน์" ในนามนักแต่งเพลง "หงิม คำเจริญ" และหรือ "วิเชียร คำเจริญ" ท่านเคยคุยเล่าสู่กันฟังว่า ครั้งแรกที่ท่านจะเข้า จุฬารัตน์ ได้มาหา ครู "มงคล อมาตยกุล" ขอสมัครเป็นนักร้อง แต่ ครูมงคล ปฏิเสธไม่รับ ด้วยความผิดหวัง ก็กลับไป ด้วยความพยายาม และใจรักการแต่งเพลง จึงแต่งเพลงขึ้นมาเพลงหนึ่งเป็นเพลงแรกในชีวิต แล้วนำไปให้ ครู "ไพบูลย์ บุตรขันธ์" เมื่อครูไพบูลย์ ได้อ่านทบทวน ก็บอกไป เพลงนี้ดี เนื้อหาก็ดีเยี่ยม จึงเขียนจดหมาย ฝากนำไปให้ครูมงคล ใจความง่ายๆ "ครูมงคล ช่วยรับเด็กคนนี้ให้อยู่วงด้วย แต่งเพลงดี" นั่นแหล่ะ ครูมงคล จึงรับ แล้วขอดูเพลงที่แต่งมา ด้วยเวลาที่ไม่นาน ครูมงคล อมาตยกุล ก็นำเพลงนี้ ที่นักแต่งหน้าใหม่ และเพิ่งจะแต่งเพลงเป็นเพลงแรก มอบให้ "ทูล ทองใจ" ร้องบันทึกเสียง  เพลง "กอดหมอนนอนเพ้อ" หงิม คำเจริญ หรือ วิเชียร คำเจริญ ให้คำร้อง และทำนอง ครูให้ใช้ชื่อนักร้อง "กนก เกตุกาญจน์"  
      แต่งเพลง "หยาดฟ้ามาดิน" โฆสิต นพคุณ  ร้อง,  เพลง "บ้านใกล้เรือนเคียง"  เพลง "แม่ผักปอดเดือนแปด"  ชาย เมืองสิงห์ ร้อง ดังถึงขนาดไหน หลับตานึกภาพเอาเองเถิดครับ .....

ฟังเพลงกันครับ กอดหมอนนอนเพ้อ - ทูล ทองใจ
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/5f79444000fb77b6e32f0ea4c100d561.swf

อัีกเพลงที่เป็นผลงานการประพันธ์ของวิเชียร คำเจริญ หยาดฟ้ามาดิน - โฆษิต นพคุณ
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/6fe4a692d3df949850222521c13279b5.swf

หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ ตุลาคม 16, 2015, 08:16:25 PM
 
   :42 :  พาท่านเดินเล่นจนเพลิน แถวๆ วัดเซิงหวาย จนมาถึงบ้านครูแล้ว เลยถือโอกาสแวะเยี่ยมเยือนทักทาย พี่ๆ เพื่อนๆ วงจุฬารัตน์ กันสักหน่อย ตอนนี้ก็หนีหาย ขี้เกียจหายใจไปก็มิใช่น้อย หรือไม่ก็ใกล้ๆจะหมดแล้ว สักหน่อยนะครับ คนสองคนก็ยังดี ว่าไหม รึไง ...
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ ตุลาคม 16, 2015, 08:34:38 PM
แวะจับเข่าคุยกันเลยพี่ ผมขอลุ้นข้างๆ ครับ
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ ตุลาคม 23, 2015, 12:29:35 PM
                                       
                                         :teentob:   (http://www.mx7.com/t/40d/rbxUOZ.jpg) (http://www.mx7.com/view2/yGcEiD4twgQOEcoV)    :teentob:
                                                             พล  พรภักดี 
                                                   
                                             เพลง  "ดาวลืมฟ้า"  พล พรภักดี  ขับร้อง

                                    http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/1ddc8a86aca8e4981b7ce8bbc7ed0ba1.swf               

 :80 :  พล พรภักดี หรือ ชื่อจริง สุรพล พรภักดี นักร้อง-นักประพันธ์เพลงท่านนี้ ไม่ค่อยจะมีใครกล่าวถึง หรือพูดถึงกันสักเท่าไหร่ ผมเองก็ไม่ได้รู้ประวัติของท่านมากมายอะไร แต่อยากจะบอกท่าน ว่า นักร้อง-นักแต่งเพลงท่านนี้ แหล่ะ
ที่ ชาย เมืองสิงห์ รัก เกรงใจ และนับถือน้ำใจนัก /
   และก่อนที่จะมาใช้ชื่อเป็น พล พรภักดี ตามชื่อจริง เคยใช้ ชื่อนักร้องว่า "ชาย เมืองสิงห์" มาก่อน ...
   และเป็นอีกคนหนึ่ง นอกจาก ครูนคร ถนอมทัพย์ (กุง กาดิน) ที่คอยช่วยลุ้น และบอก ครูมงคล ว่า
ให้รับ "สมเศียร พานทอง" หรือ "ลิงแดง" เข้าอยู่ร่วม วง "จุฬารัตน์"

         พล พรภักดี เป็นคนถือกำเนิด เกิดที่จังหวัดสิงห์บุรี บ้านอยู่ใกล้ๆ บางงา เขตติดต่อ อ. ท่าวุ้ง จ. ลพบุรี ครูเพลงท่านนี้เป็นผู้อาภัพมาแต่กำเนิด ดวงตาพิการทั้งสองข้าง ตอนกำลังหนุ่มรุ่นๆ เที่ยวตระเวณร้องเพลงเชียร์รำวง ตีกลองเชียร์รำวง หาตัวจับยากส์ อยู่แถบแถว สิงห์บุรี ลพบุรี อยุธยา อ่างทอง รำวงนิยมกันมากสมัยนั้น มีรำวงที่ไหน ตีกันที่นั่น จับพลัดจับผลู ได้มาเจอครู เลยได้อยู่ กับจุฬารัตน์ นับว่าเป็นนักร้องรุ่นบุกเบิกยุคเริ่มต้นของ วงดนตรี จุฬารัตน์ ครูมงคล ให้ใช้ชื่อ ครั้งแรก "ชาย เมืองสิงห์" 
       เมื่อเริ่มครูรับ "สมเศียร พานทอง" เข้ามาใหม่ คิดอยู่ไม่รู้จะให้ชื่ออะไรดี  "พี่พล" (ขออนุญาต เรียกพี่พลนะครับ ถนัดปากดี เหมือนได้ย้อนอดีต) เอ่ยบอกครู ว่าให้เอา ชื่อ ชาย เมืองสิงห์ ที่ใช้อยู่ ไปให้ สมเศียร ใช้ เหมาะสมกับเนื้อเสียง ด้วยประการทั้งปวง แล้วตนเองขอกลับมาใช้ชื่อจริง "สุรพล พรภักดี" ครูบอกให้เอา "สุ" ออก เหมือนจะไปคล้อง "สุรพล สมบัติเจริญ" เสียง ก็คล้ายจะเหมือนๆกัน คนจะเข้าใจผิดเอาได้ จึงมาเป็น "พล พรภักดี"
       สุรพล พรภักดี หรือ พล พรภักดี แต่งเพลง ร้องเพลง บันทึกแผ่นเสียง ไว้มากหลายเพลง  เพลง "รักพี่ดีกว่า"
เพลง "หัวใจผมว่าง"  ชัย อนุชิต  ขับร้อง  เพลง "สาวเมืองสิงห์"  เพลง "ฉันรักเธอ"  ชาย เมืองสิงห์  ขับร้อง อีก และอีก
    เพลงที่ร้องบันทึกเสียงไว้ ก็มี คงไม่มากนัก เพลง ร้องเอง แต่งเอง เพลง "ดาวลืมฟ้า" "มนต์รักจากอิสาน"
เพลง "พี่เขย"
/ เป็นมือกลองทอม กลองรำวง ที่ พี่ชาย เมืองสิงห์ ยกให้เป็นเลิศ เพลงยากส์ ต้องนี่เลย "พี่พล" ตัวอย่าง เช่น เพลง "เบื่อแล้วผู้หญิง" เพลง "มาลัยน้ำใจ" และอีกหลายต่อหลายเพลง ที่ "พล พรภักดี" ขยับมือตีกลองไว้ ...
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ ตุลาคม 23, 2015, 02:37:39 PM
ผมตามเอาเพลงมาวางให้ฟังกันเลยครับ
เพลงแรก ดาวลืมฟ้า - สุรพล พรภักดี
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/1ddc8a86aca8e4981b7ce8bbc7ed0ba1.swf

อีกเพลงของนักร้องระดับหัวแถวจากวงดนตรีจุฬารัตน์
รักพี่ดีกว่า - ชัย อนุชิต
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/1cdd4d6d0e19a6480da357444f212754.swf

อีกเพลงครับ สุรพล พรภักดี แต่งให้ชาย เมืองสิงห์ ร้องในชื่อเพลง "สาวเมืองสิงห์"
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/6a7359778432979490bb4f5bfeaa47b0.swf

หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว สาริกา ที่ ตุลาคม 25, 2015, 07:26:01 PM
       
       :90  : ** เมื่อมั่งมี มิตรมากมาย มิตรหมายมอง
                                เมื่อมัวหมอง มิตรมอง เหมือนหมูหมา
                                เมื่อไม่มี หมดมิตร มุ่งมองมา
                                แม้นมอดม้วย แม้หมูหมา ไม่มามอง
**   
       
     บทกลอนบทนี้ เขียนด้วยสีน้ำมัน สีขาว อยู่ที่บานกระจกประตู ก่อนจะเปิดเข้าบ้าน "ชาย เมืองสิงห์" เป็นฝีมือการเขียน ของ "เวช วรรณกร" ซึ่งเป็นเพื่อน กับพี่ชาย สมัยเรียนที่วิทยาลัยเพาะช่าง
   ช่วงที่พี่ชายตกอับ นักร้องหนี นักดนตรีหน่าย คู่ชีวิตหาย แล้วจะยังเหลืออะไรอีกเล่า นอกจากความขมขื่น ร้าวราญ
   ทรมานใจสุดเหลือจะประมาณ
   พี่ชาย อยู่อย่างโดดเดี่ยว ผมเองก็ยังมีภาระกิจที่ต้องทำเป็นประจำเกือบทุกวัน ที่บ้านพี่ชาย คือต้อง เขียนโน๊ต
ลอกโน๊ต  ตามที่ภูมิปัญญาจะพอพึงมี ได้เรียนรู้มาบ้างจากการที่เคยอยู่กับ ครูฉลอง วุฒิวัย พี่ชาย ก็ได้ "เวช วรรณกร" มาอยู่เป็นเพื่อน โดยนำนักดนตรีมาจาก จังหวัดร้อยเอ็ด สามคน เอามาเสริม สิ่งที่ขาดหายไป "เวช วรรณกร" เป็นชาวร้อยเอ็ด ช่วงที่พี่ชายขาดเพื่อน ขาดมิตร ขาดแม้จนกระทั่งคนที่เคยรู้ใจ ก็ต้องอยู่ อย่างเดียวดาย ผมไม่เคยเห็นพี่ชายท้อถอย แต่ท้อแท้นั้นมีบ้าง พี่ชาย เป็นนักต่อสู้ ระยะหลังๆ ดื่มหนัก แต่ก็ไม่ถึงขนาดเสียงาน มีอยู่วัน รับงาน วัดสุทัศน์ฯ เสาชิงช้า กทม. พี่ชายไม่สบายมาก เรียกว่าหนักเอาการอยู่ ลุกก็จะไม่ไหว พี่ชายพยามที่จะไปงานให้ได้ ห่วงงานจะเสีย จังหวะของชีวิตยังไม่ถึงขนาด ต้องผีซ้ำด้ามพลอย "สังข์ทอง สีใส" ไม่รู้ว่า รู้ข่าวได้ยังไง มาเยี่ยมพี่ชาย เสร็จแล้วพาพี่ชาย แทนที่จะไปหาหมอ กลับพาไปที่งาน วัดสุทัศน์ฯ ขณะที่ดนตรีกำลังแสดงอยู่ นักร้องที่ไม่ได้รับเชิญ เดินขึ้นสู่หน้าเวที คว้าไมค์ แล้วประกาศเสียงดัง สไตล์ สังทอง ว่า ขณะนี้
  "ชาย เมืองสิงห์" ป่วยหนัก นอนซมห่มผ้าอยู่หลังเวที ไม่สามารถที่จะออกมาร้องเพลงให้ท่านฟังได้ ท่านอยากฟังเพลงอะไร
ของ ชาย เมืองสิงห์ "ผม สังข์ทอง สีใส" จะร้องแทนให้ฟังจนหมดสิ้น นั่นคือน้ำใจของศิษย์ อีกคน ที่ร้องเพลง ของ ชาย เมืองสิงห์ แต่ง จนโด่งดังเป็นพลุ ด้วย เพลง "อกอุ่น" .....  

http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/83055e6c6a30d02695aa69373a3ee2f3.swf

               : เหนือสิ่งอื่นใดก็ตาม หากพี่ชาย บังเอิญได้อ่าน และรับรู้ได้ หรือได้รับรู้จากสิ่งที่กระผมได้เขียน
                                         และได้พิมพ์บทความ ลงใน "บ้านเพลงไทย" 
ขอได้โปรดรับทราบเถิดครับว่า ศิษย์คนนี้ที่พี่ชาย มองผ่านเลย เพลง ที่ "สมเศียร พานทอง" แต่งให้นักร้องอื่นร้องจนโด่งดังมา
จนนับไม่ถ้วน แต่ "แก้ว สาริกา" ไม่เคยได้สัมผัส หรือร้องเพลงของพี่ชายได้แต่ง เลยแม้แต่ สักเพลงเดียว
ยังเคารพ เทิดทูนบูชาครู อยู่เสมอ แม้จะไม่ใช่ด้วยกาย แต่ใจไม่เคยลืมสิ่งดีๆ ที่ครู ได้มอบให้
                                            ผมดีใจ และ ภูมิใจ  ที่ผมได้เป็น ลูกศิษย์
                    "ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง นักร้อง-นักแต่งเพลงลูกทุ่ง" ปี 2538
                                                       
                                                          " ชาย เมืองสิงห์"  
                         
                                                                                    สวัสดีครับ :51
                                                                                   แก้ว สาริกา
                                                                     
                                                                                   
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ ตุลาคม 26, 2015, 08:18:07 PM

          ผมตามอ่านมาตลอดตั้งแต่ต้นจนถึงบรรทัดสุดท้ายนี้ ผมว่าผมเข้าใจความรู้สึกของพี่แก้ว สาริกา ที่ได้ถ่ายทอดออกมาเป็นตัวอักษรให้เราได้อ่านกันอย่างได้รสชาติเป็นอย่างยิ่งครับ ถึงแม้ว่าจะไม่เคยได้รับสิ่งของอะไรจากครูโดยตรง แต่วิชาความรู้และประสบการณ์ในการใช้ชีวิตที่ได้ร่วมงานกับครูมาหลายปีเป็นสิ่งของที่มีค่าอย่างยิ่งครับ

          สุดท้ายนี้ผมในนามของตัวแทนสมาชิกบ้านเพลงไทยขอกราบขอบพระคุณพี่แก้วที่ได้มอบสิ่งดีๆ ให้กับเพื่อนสมาชิกบ้านเพลงไทย และบุคคลทั่วไปที่ได้เข้ามาอ่านกระทู้นี้ครับ

:51
หัวข้อ: Re: เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ มกราคม 23, 2017, 10:04:41 PM
ท่านที่เข้ามาอ่านทางสมาร์ทโฟน แล้วไม่สามารถฟังเพลงประกอบกระทู้ได้ ลองแก้ไขตามวิธีนี้นะครับ http://banplengthai.net/b/index.php/topic,3541.0.html (http://banplengthai.net/b/index.php/topic,3541.0.html)