.....สวัสดีครับ...กลับมารบกวนสายตาท่านๆกันอีกแล้วนะครับ ..วันนี้ก็ขอนำภาพและเรื่องราว ของ นกในสวน..(ของผมเอง) มาฝากให้ท่านอ่าน และดู แม้จะเป็นนกพื้นๆที่เรามักพบเห็นกันเป้นประจำแต่ มันก็ยังสร้างสีสันให้โลกนี้..มีชีวิต..และ..ชีวา...ตามมาครับ เราไปดูนกกัน......
ชนิดแรก
นกกางเขนบ้าน บินหลาบ้านนกกางเขนตัวผู้
กางเขนตัวเมีย
ลูกนกอายุ 4 วัน
ชื่อท้องถิ่น: นกกางเขนบ้าน บินหลาบ้าน
ชื่อสามัญ: oriental magpie-robin
ชื่อวิทยาศาสตร์: Copsychus saularis
ชื่อวงศ์: MUSCICAPIDAE
นกกางเขนบ้าน Copsychus saularis (oriental magpie-robin) เป็น นกที่มีขนาดตัวจากปลายปาก จรดปลายหางประมาณ 19-21 ซม. ตัวผู้มีสีดำเป็นมันเงาตั้งแต่หัว คอหน้าอก หลัง ปีก และหาง มีลำตัวด้านล่างสีขาวตัดกับสีลำตัวด้านบน มีแถบสีขาวตลอดความยาวของปีก ปากและขาสีดำ นกตัวเมียเหมือนตัวผู้ แต่แทนสีดำด้วยสีเทา และนกในวัยเด็กจะแทนที่สีดำด้วยสีเทาลายๆ
นก กางเขนบ้านเป็นนกที่พบได้ทั่วไปในประเทศไทย ตั้งแต่ป่าโปร่ง ป่าชายเลน พื้นที่เกษตรกรรม สวนผลไม้ สวนสาธารณะในเมือง และเมืองใหญ่ จากที่ราบถึงความสูง 1800เมตร แต่อย่างไรก็ตาม เรามักพบเค้าอยู่ใกล้กับบ้านคนมากกว่าในป่า
ด้วยเสียงร้องที่ไพเราะ และอยู่ใกล้ชิดกับมนุษย์ค่อนข้างมาก ทำให้นกกางเขนบ้านเป็นนกที่ค่อนข้างเป็นที่รู้จัก ประมาณว่าในบ้านที่พอจะมีเนื้อที่ปลูกต้นไม้อยู่บ้าง จะมีนกกางเขนประจำบ้าน บ้านละ 1 ตัว หรือ 1 คู่ ที่มีเพียงเท่านั้นเพราะเค้าค่อนข้างจะเป็นนกที่หวงถิ่น หากมีใครข้ามถิ่นเข้ามาก็จะมีการปกป้องถิ่นอย่างอาจหาญ นกกางเขนเป็นนกที่ขยันหากิน อาหารของเค้าคือ หนอน แมลง หรือผลไม้สุก พวกกล้วยสุก เมื่อกินอิ่มก็จะบินขึ้นไปเกาะที่โล่งๆสูงๆอย่างสายไฟ เสาอากาศบนบ้าน และส่งเสียงร้องเจื้อยแจ้ว และเมื่อหิวก็จะลงมาหากินใหม่ แต่ปรกติ มักได้ยินเค้าร้องตอนเช้าๆ ตอนที่ตื่นนอน และตอนเย็นๆ
หากใครต้องการจะเชิญชวนให้นกกางเขนบ้านเข้ามาพักผ่อนหย่อนใจในบ้านตัวเอง ก็อาจทำได้โดยการจัดสวนเพื่อเรียกนก โดยหาต้นไม้มาปลูก ไม่จำเป็นต้องเป็นต้นไม้ใหญ่ แต่ให้ดูมีร่มเงา มีความชุ่มชื้น มีอ่างน้ำตื้นๆ นกกางเขน และนกอื่นๆก็อาจมาใช้บริการ "อ็อนเซ็น" จนเปียกมะล่อกมะแล่กแบบนี้ให้ได้ชื่นชมถึงในบ้าน โดยปรกติแล้ว ถ้าไม่ใช่ฤดูผสมพันธุ์ ( เดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน ) เราอาจพบนกกางเขนบ้านอยู่เพียงตัวเดียว เพราะเค้าเป็นนกที่รักสันโดษ
แต่ถ้าเป็นช่วงจับคู่แล้ว นกกางเขนบ้านมักทำรังวางไข่ในบริเวณบ้านที่เค้าอาศัยอยู่นั่นเอง บางทีเราอาจพบเค้าทำรังในตู้ไปรษณีย์ โพรงต้นไม้ในบ้าน ศาลพระภูมิ แต่ถ้าเป็นนกที่อาศัยในสวนสาธารณะ โพรงไม้ตามธรรมชาติมักจะเป็นที่ที่เค้าเลือกใช้ทำรัง
นกทั้ง 2 เพศจะช่วยกันทำรัง แต่นกตัวเมียจะทำมากกว่า โดยใช้วัสดุจำพวกใบไม้แห้ง ใบหญ้าแห้ง รากไม้ หรือส่วนอื่นๆของพืชที่แห้งแล้ว เอามารองไว้ก้นรัง ดูเผินๆแล้วบางครั้งก็เหมือนไม่ใช่รังนก เพราะมันเพียงเอาวัสดุต่างๆ มายัดไว้ในโพรง หรือซอกใต้หลังคา หรือในศาลพระภูมิเท่านั้น
อันดับต่อไป
นกคุ่ม วงศ์นกคุ่มอืด หรือ วงศ์นกคุ่ม[1] (วงศ์: Turnicidae) เป็นวงศ์นกในอันดับนกนางนวล (Charadriiformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Turnicidae จัดเป็นนกขนาดย่อม มีลักษณะคล้ายกับนกกระทาที่อยู่ในวงศ์ Phasianidae หรือวงศ์ไก่ แต่ทว่าแตกต่างกันที่ นกคุ่มอืดนั้นจะมีนิ้วเท้า 3 นิ้ว และไม่มีเดือยที่ข้อเท้า มีลักษณะโดยรวม คือ มีขนาดย่อม ปีกมีขนาดเล็ก ไม่สามารถบินได้ นอกจากในระยะใกล้ ๆ เช่น บินขึ้นไปบนต้นไม้ จึงหากินบนพื้นดินเช่นเดียวกันเป็นหลัก สีขนตามลำตัวมีลายประสีต่าง ๆ เพื่อแฝงตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม ตัวเมียมีขนาดตัวใหญ่กว่าตัวผู้ มีสีสดใสกว่า และเป็นฝ่ายเกี้ยวพาราสี ขณะที่ตัวผู้จะทำหน้าที่กกไข่และเลี้ยงดูลูก ไข่ใช้เวลาฟักประมาณ 12-13 วัน ลูกอ่อนใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ จึงสามารถอกนอกรังได้ มี 16 ชนิดทั่วโลก พบกระจายพันธุ์ทั้งในทวีปเอเชีย, แอฟริกา และออสเตรเลีย แบ่งออกเป็น 2 สกุล (ดูในตาราง) สำหรับในประเทศไทยพบ 3 ชนิด คือ
นกคุ่มอืดเล็ก (Turnix sylvatica),
นกคุ่มอืดใหญ่ (T. tanki) และ
นกคุ่มอกลาย (T. suscitator)
นกคุ่มอืดเล็ก
นกคุ่มอืดใหญ่
นกคุ่มอกลาย
ขออีกสักชนิดครับ
นกโพระดก นกโพระดก (อังกฤษ: Asian barbet) เป็นนกขนาดกลาง อยู่ในวงศ์ Megalaimidae (บางข้อมูลจัดให้อยู่ในวงศ์ Ramphastidae หรือนกทูแคน ที่พบในอเมริกาใต้ โดยจัดให้เป็นวงศ์ย่อย Megalaiminae จัดอยู่ในอันดับนกหัวขวานและนกโพระดก (Piciformes) มีลักษณะจะงอยปากหนาใหญ่ และมีขนที่โคนปาก ร้องเสียงดัง ได้ยินไปไกล ลำตัวอ้วนป้อม ส่วนหัวมีขนาดใหญ่ มีสีสันสวยงาม มีทั้งหมด 26 ชนิด พบทั่วไปในทวีปเอเชียตั้งแต่ทิเบต จนถึงอินโดนีเซีย พบมากในคาบสมุทรมาเลย์ และเกาะสุมาตรา ทำรังในโพรงไม้ ด้วยการเจาะไม้ให้เป็นรูเหมือนกับนกหัวขวาน ซึ่งเป็นนกในอันดับเดียวกัน แต่โพรงของนกโพระดกจะมีขนาดพอดีตัวทำให้การเข้าออกรังบางทีทำได้ไม่คล่องเท่านกหัวขวาน วางไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 13-15 วัน เป็นนกที่กินผลไม้เช่น ลูกโพ, ลูกมะเดื่อฝรั่ง และแมลง เป็นอาหาร
สำหรับนกในวงศ์นี้ที่พบในประเทศไทยมีทั้งหมด 15 ชนิด
ชื่อ ชื่อวิทยาศาสตร์ สถานะ
1.นกโพระดกหนวดแดง Psilopogon pyrolophus นกพลัดหลง
2.นกตั้งล้อ Megalaima virens
3.นกโพระดกธรรมดา Megalaima lineata
4.นกโพระดกหูเขียว Megalaima faiostricta
5.นกโพระดกเคราเหลือง Megalaima chrysopogon
6.นกโพระดกหลากสี Megalaima rafflesii หายาก ถูกคุกคามทั่วโลก[4]
7.นกโพระดกคางแดง Megalaima mystacophanos
8.นกโพระดกคางเหลือง Megalaima franklinii
9.นกโพระดกคิ้วดำ Megalaima oorti นกพลัดหลง
10.นกโพระดกคอสีฟ้า Megalaima asiatica
11.นกโพระดกคอสีฟ้าเคราดำ Megalaima incognita
12.นกโพระดกหัวเหลือง Megalaima henricii
13.นกโพระดกหน้าผากดำ Megalaima australis
14.นกตีทอง Megalaima haemacephala
15.นกจอกป่าหัวโต Caloramphus fuliginosus
แต่วันนี้ขอนำภาพที่มีจริงในสวนมาฝากครับ..
โพระดกคางเหลือง
โพระดกหน้าผากดำ
โพระดกคอสีฟ้า
...วันนี้ขอรบกวนเวลาท่านเพียงเท่านี้ก่อนนะครับ มีโอกาศและข้อมูล พร้อมภาพ เมื่อไหร่ จะมารบกวนท่านอีก ขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามอ่านมาจนบรรทัดสุดท้าย...
ขอบคุณข้อมูล จากวิกิพีเดีย
ขอบคุณภาพจากบางเวป ในอินเตอร์เน็ต
ขอบคุณนกน้อยในสวนที่มาเป็นดาราหน้ากล้อง(บางภาพ)
ขอขอบคุณ
อ.ชาติ.... ผู้กลับมาที่สอนการวางภาพ
ภาพนี้ไม่เกี่ยวกับข้อมูลเห็นสวยดีเลยเอามาฝากจาก http://www.kaweeclub.com ครับ