กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: การเล่นแชร์ กับ ข้อควรระวัง  (อ่าน 3936 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ชญาดา

  • กรรมการบ้านเพลงไทย
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3031
  • กระทู้: 959
  • Thank You
  • -Given: 2112
  • -Receive: 3031
การเล่นแชร์ กับ ข้อควรระวัง
« เมื่อ: มิถุนายน 29, 2013, 09:39:15 AM »
   การเล่นแชร์ดูเหมือนจะเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนไทยมาช้านาน นิยมเล่นกันในกลุ่มคนใกล้ชิดกัน โดยอาศัยความไว้วางใจกันเป็นหลัก เพื่อระดมเงินทุนนอกระบบจากผู้เล่นให้ได้เงินก้อนจำนวนหนึ่ง โดยมีผลตอบแทนสูงกว่าที่ได้รับจากสถาบันการเงิน

 คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า “การเล่นแชร์เป็นสิ่งผิดกฎหมาย” ซึ่งความเข้าใจนี้ถูกต้องเพียงครึ่งเดียวครับ แต่เดิมการเล่นแชร์ไม่มีกฎหมายควบคุมจนกระทั่งได้มีการออกพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 เพื่อควบคุม กำกับและดูแลการเล่นแชร์ อย่างไรก็ตามการเล่นแชร์ของประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้ดำเนินการเป็นธุรกิจ ยังคงสามารถทำได้และไม่ถือว่าเป็นความผิดทางกฎหมายเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 มีดังนี้

             กรณีประชาชนทั่วไป ห้ามไม่ให้เป็นท้าวแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์รวมกันมากกว่า 3 วง หรือมีสมาชิกรวมกันทุกวงมากกว่า 30 คน หรือมีทุนต่อกองกลาง 1 งวดรวมกันทุกวงมากกว่า 300,000 บาท หรือจัดให้มีการเล่นแชร์โดยท้าวแชร์ได้รับประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นไม่ได้นอกจากเปียเงินกองกลางไปใช้โดยไม่เสียดอกเบี้ย ดังนั้นหากมีการจัดให้มีการเล่นแชร์ที่ผิดไปจากนี้ถือได้ว่าเป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 นอกจากนี้ยังห้ามมิให้นิติบุคคล เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัดและนิติบุคคลประเภทอื่นๆ เป็นท้าวแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์โดยเด็ดขาด

             กรณีอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดอย่างอื่นๆ เกี่ยวกับการเล่นแชร์ เช่น ห้ามไม่ให้ทำการโฆษณาชี้ชวนให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมในการเล่นแชร์ และห้ามมิให้ผู้ใดใช้ชื่อหรือคำแสดงชื่อในธุรกิจที่มีคำว่า “แชร์”

       มาถึงประเด็นสำคัญ ถ้า “ท้าวแชร์หนี ลูกแชร์จะต้องทำอย่างไร?” หรือ “ถ้าลูกแชร์เบี้ยว ท้าวแชร์ต้องทำอย่างไร?” ทั้งนี้การดำเนินการเมื่อท้าวแชร์หนีแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี ได้แก่

             ►กรณีที่ท้าวแชร์มีเจตนาทำวงแชร์จริงๆ แต่มีเหตุให้ไม่สามารถฟ้องร้องบังคับได้ในทางแพ่ง โดยสามารถนำสมาชิกในวงแชร์เข้าพิสูจน์ถึงการเล่นแชร์ได้ ตามปกติคดีแพ่งไม่สามารถแจ้งความร้องทุกข์ได้ต้องฟ้องร้องต่อศาลเพื่อดำเนินคดีเองครับ ส่วนใหญ่เป็นเงินจำนวนไม่น้อยไม่คุ้มค่าทนายจึงไม่ค่อยมีการฟ้องร้องกัน

             ►ส่วนอีกกรณีหนึ่งคือ ท้าวแชร์ไม่มีเจตนาทำวงแชร์ตั้งแต่ต้น แต่ใช้เรื่องการทำวงแชร์หลอกลวงให้ประชาชนนำเงินมาลงแล้วเชิดเงินหนี กรณีนี้ถือว่าท้าวแชร์ได้กระทำความผิดอาญาฐานฉ้อโกง ในทางกลับกันหากสมาชิกวงแชร์หนี วงแชร์นั้นก็ยังจะต้องดำเนินการต่อไป โดยท้าวแชร์จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบไปก่อนและก็สามารถใช้สิทธิฟ้องร้องทางแพ่งต่อศาลบังคับเอากับสมาชิกวงแชร์ที่หนีไปฐานผิดสัญญา รวมถึงสามารถแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อให้ดำเนินคดีทางอาณาฐานยักยอกทรัพย์ได้ด้วย

  ดังนั้นหากคิดจะเล่นแชร์กันแล้วต้องพิจารณาให้ดีว่า ท้าวแชร์หรือลูกแชร์เป็นกลุ่มคนที่ไว้ใจได้จริงๆ จะได้ไม่เสียทรัพย์หรือผิดใจกันจนเป็นเรื่องเป็นราวนะครับ


ลุงชัยนรา

  • ความเปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร์
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3715
  • กระทู้: 910
  • Thank You
  • -Given: 3245
  • -Receive: 3715
  • ชีวิตนี้ยอมพลี เพื่อแผ่นดิน
Re: การเล่นแชร์ กับ ข้อควรระวัง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 29, 2013, 08:25:33 PM »
..ไม่ชอบเล่นแชร์...แต่....ชอบกด...แชร้..จ้า


บันทึกการเข้า

ภิรมย์

  • รักเมืองไทย
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2320
  • กระทู้: 480
  • Thank You
  • -Given: 2121
  • -Receive: 2320
  • คุณลูกกับคุณแม่
Re: การเล่นแชร์ กับ ข้อควรระวัง
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 30, 2013, 06:37:46 AM »
     แถวบ้านผม มือละ ๕๐๐ เปีย ๖-๗๐๐
ตอนนี้ ท้าวแชร์หนีไปแล้ว
     หลายวง ที่เป็นเช่นนี้ ไม่เข็ดกันเลย


บันทึกการเข้า
 :42ดนตรีคือ สื่อภาษาสากล :42

ลือ

  • ฟังดนตรีเถิด ชื่นใจ...
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 4066
  • กระทู้: 864
  • Thank You
  • -Given: 3919
  • -Receive: 4066
  • ชอบเพลงลูกกรุงเก่าๆครับ
Re: การเล่นแชร์ กับ ข้อควรระวัง
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มิถุนายน 30, 2013, 11:32:39 AM »
1.สมัยยังทำงาน หนุ่มๆ ผมก็เคยเล่นแชร์ครับ...(น่าจะมือละ 1000)
     ตามกติกา งวดที่1.(เดือนแรก)... ท้าวแชร์ก็เอาเงินงวดของทุกคนไปก่อนได้เลย
          ไม่ต้องเปีย(หรือ ก็คือการเสนอดอกเบี้ย)...
        แต่ท้าวต้องเป็นธุระ ดำเนินการ และรับผิดชอบ ให้ลูกวงทุกคน จนกว่าแชร์วงนั้นจะจบ
  ไม่ว่าจะเป็น การเปียด้วยวิธีส่งโพย... การแจ้งสรุปผล ว่าใครเป็นผู้เปียได้ (=เสนอให้ผลประโยชน์สูงสุด)...
      ตลอดจน การตามเก็บเงินจากลูกวง...และการส่งมอบเงินให้แก่ผู้ที่เปียได้ ฯลฯ....
            แต่ละวง สังเกตว่า... ครูชายหนุ่มๆ มักจะแย่งเปียให้ได้ก่อน...จะได้เอาเงินไปเที่ยว....
                    ...แล้วผ่อนชำระให้รายเดือน
                 ส่วนครูอาวุโสแล้ว ก็มักจะไม่เปีย...หวังออมเงิน +กินดอกครับ

2.บางวง.... แค่เริ่มเปียกันในงวดที่ 2   ก็เสนอดอกสูงมากๆ... คนร้องอู้หูกัน
         ดอกแพงมาก.. จนน่ากลัวว่า คนเปียได้ อาจหนีแชร์ตายนั้นในสักวัน
     เพราะจะต้องส่งเงินงวด+ดอกสูง อีกหลายงวด ตามจำนวนลูกวง....

3.แต่บางวง ที่เจอมานะครับ...ไม่มีใครยอมเปียเลย
         จะขอรอเป็นมือบ๊วยกันทั้งนั้น....
     ท้าวแชร์ต้องจัดการเชิงบังคับ โดยกำหนดดอกเอง-ที่ทุกคนเห็นว่า ถูกที่สุดแล้ว
           ไม่รู้ละ....จัดทำเป็นสลาก...บังคับให้ผู้ที่ยังไม่เปียเสี่ยงจับ

    ผมเห็นเพื่อนครูสตรีวัยใกล้เกษียณ ที่ไม่เคยเปียมาตลอด ...
          จนแม้ แชร์เหลืออีกไม่กี่งวด ก็ยังยืนกราน ไม่ยอมเปียอยู่นั่น
        และพอจับสลากได้ ว่าต้องเปีย...พี่เค้าก็นั่งหน้างอ
                ถักโครเชต์ไป  บ่นอุบเลย...
           ท้าวก็ปลอบ อย่างขำๆ กึ่งหมั่นไส้...ว่าแหม พี่...ยังจะมาบ่นอีกนะ
     หาได้ที่ไหน ได้เงินใช้ สามหมื่น...ส่งดอกเดือนละ 100 ...แค่ 2 เดือนก็จบ...

         อิ อิ  ก็พี่เค้าจะเอาบ๊วยอะ...
                 อยากรับเงินงวด+ดอกเบี้ย ของมือเปียต่างๆ เต็มๆ ไงครับ...
              ...สลากบังคับเปีย ดันมาขัดลาภแก...

                   :61 :61 :61 :61
   


บันทึกการเข้า

น้องนางบ้านนา

  • การศึกษาของไทยคือ-อะไรก็ได้ที่ง่ายๆ แล้วได้ปริญญา
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2617
  • กระทู้: 546
  • Thank You
  • -Given: 2027
  • -Receive: 2617
Re: การเล่นแชร์ กับ ข้อควรระวัง
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มิถุนายน 30, 2013, 01:41:49 PM »
ยุคสมัยราว2520...เล่นแชร์ในวงตึ่งนั้งด้วยกัน...จะถือกันที่ศักดิ์ศรีของผู้ร่วมทุกคน....
...ครั้งแรกสุดที่สัมผ้สเตี่ยเอาใบแชร์ภาษาจีนมาให้แล้วบอก..ลื้อเอาใบนี้ไปให้อาเจ็กอาแปะตามชื่อนี้...แล้วเขาจะบอกวาต้องทำอย่างไร....พอเอาไปให้เขาก็พูดถามแล้วมีใครมั่ง....ผมก็เอาใบที่เหลือให้ดูถ้าเขาเห็นชื่อตั่วอาเสี่ยบางคนเขาก็ร่วมด้วยก็จะว่า...อ้าว-เสี่ยถอยตง-เอาตั้งสามเชียวเรอะงกจิงๆๆ....ถ้าผมส่งใบเกือบหมดคนท้ายๆเขาก็จะถามเอออาตี๋ลื้อเอาไปให้ใครบ้าง..เราก็บอกเขาไป(จริงแล้วเขารู้หมดแล้วแต่เขาก็จะถามเรา-ไม่รู้ทดสอบเชาว์คนวิ่งแชร์หรือเปล่า)....สรุปทั้งหมดนี้เหมือนกันอย่างคือเขาจะนับตังให้ผมเอามาให้เตี่ย(สมัยนั้นในวงการที่เตี่ยทำแชร์จะไม่ต้องมีคนคํ้าประกันเลย...แต่ถ้าเจอลูกขาไม่แน่ใจในคนบางคนเขาก็จะเจาะจงว่าให้เฮีย.ก.หาคนคํ้าประกันด้วย....)......แต่ก็จะเล่นแค่ในแวดวงพ่อค้าตึ่งนั้งในชุมชนหรืออำเภอใกล้เคียง...มือล่ะ3000-5000..ส่วนใหญ่จะ15-20คน...
.....ผมก้เคยเขียนใบแชร์ภาษาจีนให้เตี่ย...เวลาเอาไปเก็บเงินก็จะไปคนที่สนิทกันก่อนแล้วค่อยเอาไปให้คนที่ไม่รู้จักผม(เพราะบางคนเขาเห็นเป็นลายมืออักษรจีนของเด็ก-เขาจะถามว่าเอาไปให้ใครมามั่งแล้วเราก็บอกไปว่าเอาไปให้ใครมามั่ง...ส่วนใหญ่เขาถามแล้วก็จะให้เงินเลย....แต่บางคน(ระดับตั่วอาเสี่ย)จะบอกเอออาตี๋กลับไปก่อนเด๋วอั้วจะไปเที่ยวที่บ้านลื้อ...หลังจากที่เขาถามๆแล้วก็จะเอาเงินมาให้ที่บ้าน....)....เราก็จะถูกหวยโดนเตื่ยชยัญโต......ว่า-ว่างๆลื้อต้องออกสังคมตึ่งนั้งและไปงานศาจเจ้ามั่งคนเขาจะรู้จักลื้อ...

.ป.ล.ในยุคนั้นเขาจะดูเครดิต-หวยเถ้า-เท่านั้น..ลูกแชร์จะเป็นใครบางทีเขาไม่สนใจหรอก...ยกเว้นบางคนที่มีความบาดหมางถึงขั้นไม่อยากเห็นหน้ากัน...พอเขารู้ว่าคู่อริเขาเข้าร่วมแชร์..เขาก็จะยกยอดไปครั้งหน้า....เหอๆๆมาเล่าสู่กันฟังเฉยๆครับ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 30, 2013, 06:00:06 PM โดย น้องนางบ้านนา »
บันทึกการเข้า
โชคอยู่ที่การแสวงหา วาสนาอยู่ที่การกระทำ
จงโง่บางโอกาส จงฉลาดบางเวลา
-