สโมสรบ้านเพลงไทย > ห้องสันทนาการ

โชว์ของสะสมที่ผมชอบครับ....

<< < (6/8) > >>

ลือ:
1.ขอบคุณครับ
2.คงเพราะ เป็นคนขี้เสียดายมากกว่าครับ...

      ซื้อดอกไม้แห้ง(ชุบยางพารา)ที่เขาเซลส์ตามงาน ...เชียงใหม่มีจัดบ่อย
   เป็นของที่หลุดออเด้อร์ ไม่ได้สเป็คตามสั่ง เขาต้องคัดทิ้ง.... 
      เลยเอามาเลหลัง ขายเราราคาถูกๆได้....
            เจออีก ก็ซื้ออีก.....อันเก่าก็ไม่อยากทิ้ง
      เลยกวางได้พวง ละองก็ได้พวง ตามที่เห็นครับ....

         

                         :49 :49 :49

ลือ:
7. ตุ๊กตาเสียกบาล
       
            ซื้อจากสุโขทัย ที่วนอุทยานกรุงเก่า(เรียกถูกไหมเนี่ย)..ปี 2531ครับ
       ตอนนั้น เรียนที่จุฬาฯ 
      อาจารย์ที่คณะ พาน้องๆ ป.ตรีไปดูงานศิลปะภาคเหนือ
           เลยให้พวกเราแท็กทีมไปด้วย ไปกับรถบัสของจุฬาฯ ...คันเก๋ากึ๊ก  อิ อิ

                   ที่จริง ปี 2523...ผมก็เคยมาที่กรุงเก่า สุโขทัยนี้แล้วครั้งนึง..
          ตอนนั้นเรียน ป.ตรี ที่ มศว บางแสน....อาจารย์ก็พาคณะเรา มาดูงาน.... ยังเป็นป่ารกนะครับ
              ต้องลุย บุกป่าหญ้าคา หญ้าสาบเสือ ...ไปดูลายปูนปั้นของแต่ละวัด
                     
                     มาเที่ยวหลัง กับจุฬาฯนี้ เขากำลังเริ่มพัฒนา มีการตัดหญ้าเรียบ เป็นสนามกว้าง....
   พอลงรถ ตาผมก็สอดส่าย เล็งหาเพิงขายของที่ระลึกก่อนทันที
                 ชิงซื้อของก่อน...เดี๋ยวค่อยตามไปฟังอาจารย์เลกเช่อร์

          เจอเพิงนึง ...มีโต๊ะตัวเดียว วางของขาย
             เป็นตุ๊กตาแปลกๆ ไม่เคยเห็น ทำด้วยดินเผา เคลือบสีน้ำตาล...
                 เคลือบแบบ จุ่มหัวตุ๊กตาลงในน้ำยาเคลือบ...แล้ววางตั้งทันที
      ปล่อยให้น้ำยาเคลือบย้อยลงมาเอง...
                บางส่วนของตุ๊กตา ก็เลยไม่โดนเคลือบ...เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ
         พี่ผู้หญิงคนขาย บอกด้วยสำเนียงสุโขทัย น่าฟังมาก...
                   "อันนี้ คือ "ตุ๊กตาเสียกบาล" จ้า.....
                           ทำเลียนแบบที่คนสุโขทัยสมัยโบราณเขาทำเลยนะจ๊ะ"...
               โห...แค่ชื่อ และความแปลก ก็โดนใจผมเต็มๆ  รีบซื้อเลยครับ....
 
                 
                         

                            ที่จริง ให้ใครไปชิ้นนึง ก็จำไม่ได้แล้วครับ....
                          ราคาตอนซื้อ....ไม่แพงนะ เพราะมีน้องๆ ป.ตรีที่ไปด้วย
                     รุมกันออดอ้อนแม่ค้า ว่าอย่าขายแพง ....พวกหนูยังเรียนอยู่เลย...
                           ผมก็เลยได้ในราคานั้นด้วยครับ....

                                    ส่วนอันนี้...มีอันเดียวเองครับ
                    เป็นโถใบเล็กๆ.....พ่อลูกศิษย์ ม.1 ที่ผมประจำชั้นพบเจอ...
             เก็บมาจากท้องทรายของแม่น้ำปิง...ยามแม่น้ำตื้นเขิน
                            แกก็เอามาให้ผม....

                         

                 เอ-ท่าทางจะเป็นเพราะผมเอง ชอบบอกนักเรียนว่า
                     " นักเรียน  บ้านใครมี ของเก่าๆ....แบบฯลฯ...
                   บ้างมั้ย...ครูชอบมาก  จะขอซื้อ.."
                                     ซะละมั้ง....
                             

                       
       

อาคม ดอนเมือง:

 อ่านบทสนทนากันจากทั้งสามท่าน(คุณลือ คุณลุงชัยฯ คุณเผ่าพงษ์ฯ) แล้ว รู้สึก
มีความสุขจริงๆยิ่งดูรูปประกอบไปด้วย โห ! สุขใดใครจะเหมือน เห็นครูลือ จัดห้องหับ
ได้สวยงามวางของเป็นระเบียบเรียบร้อยแล้วทำให้นึกกระดากใจอยู่ครามครัน ที่บ้านผม
อย่าว่าแต่จะจัดของให้สวยงามเลยครับแม้แต่การเดินสายไฟก็ยังระโยงระยางอยู่จน ณ
บัดนี้ เคยคิดจะเชิญเพื่อนฝูงไปเยี่ยมบ้านแต่ก็ไม่กล้าซักทีเพราะผมเองจนป่านนี้ยังไม่
แน่ใจเลยว่าถ้าเรามีเพียงน้ำใจและไมตรีจะทำให้ญาติมิตรตลอดจนเพื่อนพ้องของเรา
เขาจะยินดีปรีดาไปกับเราด้วยหรือเปล่า?ตอนนี้เลยหากินทางฝันอาศัยการพูดคุยกันกับ
เพื่อนๆในเน็ตพอเป็นที่ปลอบปโลมใจได้บ้าง ว่างๆเชิญทุกท่านมาต่อเติมกระทู้นี้ให้มีสี
สันยิ่งๆขึ้นนะครับ อิ อิ อิ ผมขอจบแค่นี้ก่อนนะครับเพราะรู้สึกจะเริ่มวนไปวนมาซะแร้วว...

ลือ:
ขอบคุณครับคุณอาคม...
     บ้านผมธรรมดาๆที่สุดครับ... จะวางอะไร เลยต้องชิดฝาหมดไว้ก่อน
       จะได้พอมีที่เดิน....
           อีกอย่าง.... ของจริง ฝุ่นเยอะครับ

    เอ้อ...พอพูดถึงคุณเผ่าพงษ์ นึกได้ว่า ที่จริง...
          ผมก็พยายามหาซื้อของที่เป็นฝีมือจากพม่าอยู่เหมือนกัน...
     มี 2 ชิ้นครับ
           ที่คาดว่า คนไทยเอาจากฝั่งพม่ามาขาย
             
               
             
                 
                ผมซื้อมาจาก "กาดโบราณ" แถวข้างๆโลตัส กาดคำเที่ยง
                 (เดี๋ยวนี้ สลายตัวไปแล้ว แยกไปขายใคร ขายมัน)
                   เป็นไม้แกะสลักรูปเทพธิดาของพม่า มีหัววัวบนศีรษะ
                สูง 36 เซ็นติเมตร....แขนหักไปข้างนึงอีกตัว
                      ตอนไปแม่สาย ข้ามไปตลาดท่าขี้เหล็กของฝั่งพม่า  เห็นมีขายกันครับ
                                            :61 :61
                 ส่วนอันนี้ เป็นหงส์เหิร    ....กนก(กระหนก)จะหนาเป็นปื้นแบบพม่า หรือล้านนาโบราณ
         แกะจากไม้อะไร ไม่แน่ใจ....
                ผมซื้อที่จตุจักรครับ ตอนนั้นผมยังอยู่กรุงเทพฯ..(คงประมาณ 2528)
             คนขายเขามาจากเชียงใหม่เลย   
                     ความจริงขายเป็นเซ็ท มี 5 ตัว...
              ผมขอแบ่งซื้อ แค่ 2 ตัวนี้....เขาก็ยอมขายให้ แบบมึนๆ...
                 
                   
                   

                        คงมองเห็นหยากไย่เกาะที่หงส์ทั้งสองตัว
                  แล้วลากโยงคู่กันอีก  ....อิ อิ
                        เสริมบรรยากาศของเก่าได้เยอะครับ ......5555

               


               
       

เผ่าพงษ์ ปัตตานี:
      ศิลปะของเก่าแก่โบราณทุกแขนง ยิ่งมองก็ยิ่งทำให้เราจินตนาการไปได้มากมายไม่สิ้นสุดครับ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบชิ้นงาน ความคิดสร้างสรรค์ วัสดุที่ใช้ทำ เครื่องมือที่ทำ คนที่นั่งทำ กองเชียร์เพื่อนบ้านที่ขยันมานั่งดูได้ทุกวันคอยติชม หลายเพลากว่าจะแล้วเสร็จ และที่สำคัญมีไม่กี่คนที่ทำได้อย่างเขา
      ผมชอบแนวนี้มาตั้งแต่เด็กแล้วครับ  เพราะพ่อผมชอบสะสมพระเครื่องแล้ววางใส่ในพานทองเหลืองใบใหญ่ไว้บนหิ้งพระหัวนอนพ่อ แกจะมีฝีมือเก่งในการใช้ลวดเส้นเล็กๆถักองค์พระกริ่งเนื้อทองเหลืองให้เราห้อยคอ เพราะสมัยก่อนไม่มีร้านเลี่ยมพระเหมือนปัจจุบัน
      ตอนไปเที่ยวเขมรล่าสุดชอบใจเกวียนเทียมโคคู่ทำด้วยไม้มะค่า มีวางขายทั่วไป (ของใหม่) ไซด์ขนาดกลางสวยดีบ้านเราไม่มี เอามาวางเค้าท์เตอร์ในครัวครับ บนเกวียนผมวางแจกันดอกกุหลาบแห้งสีขาวที่มีอยู่แล้วเกะกะบ้าน เลยได้ที่ลงตัวพอดี
      ผมปลิ้นท์ขั้นตอนการวางภาพที่ครูลือให้มานานแล้ว 9 หน้ามาเพื่อศึกษาทดลองทำดูแล้วครับ คาดว่าคงสำเร็จขั้นประถมในไม่ช้านี้ จะได้โพสต์ภาพน่าสนใจมาแชร์กันได้บ้างครับ ตามที่โอกาสจะอำนวยครับ(จะสังเกตุว่าถ้ามีเวลา ผมจะพูดยาวเหมือนกันครับ ต้องขออภัยเพื่อนๆสมาชิกที่จำใจต้องอ่านบทความของผม)
      ส่วนบ้านพี่อาคม ดอนเมือง ก็น่าจะคล้ายๆกับที่บ้านผมครับ ขอให้คิดเสียว่า"กองขยะดูให้ดีก็มีศิลป์"ครับ

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

Go to full version