สโมสรบ้านเพลงไทย > ห้องพระ

อิทธบาทสี่

(1/3) > >>

ลุงชัยนรา:
อิทธบาทสี่ ย่อมต้องประกอบด้วยธรรมะ 4 หัวข้อธรรมคือ
ฉันทะ - ความพอใจ
วิริยะ - ความเพียร
จิตตะ - ความเอาใจใส่
วิมังสสา - การไตร่ตรอง

ซึ่งอาจจะฟังดูแล้วเข้าใจยาก
ที่นี้เราลองมาแปลกันดูใหม่ให้ทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น
ดังนี้ (ลอกคำพระมาอีกแหละ)

ฉันทะ - เต็มใจทำ
วิริยะ - แข็งใจทำ
จิตตะ - ตั้งใจทำ
วิมังสสา - ตรองตามสิ่งที่ทำนั้น

ผิดพลาดประการใดขออภัยท่านมหาและผู้รู้มากกว่าไว้นะที่นี้ด้วยเนื่องจากเขียนจากความทรงจำ ไม่ได้พลิกตำรา
ว่ากันว่าจะประกอบกิจการงานใดก็ตามให้ประสบความสำเร็จ
เราต้องเต็มใจที่จะทำในสิ่งนั้น หรือมีความพอใจที่จะทำในสิ่งนั้นนั่นเอง
ที่นี้พอทำไปได้สักพัก เราอาจจะเกิดความเบื่อความเซ็งในระหว่างที่ยังประกอบกิจการงานนั้นไม่สำเร็จเราก็ต้อง แข็งใจทำสิ่งนั้นต่อไป เนื่องจากเห็นถึงประโยชน์ในภายภาคหน้าเมื่อกิจการงานนั้นๆ ประสบความสำเร็จซึ่งก็คือความเพียรพยายามนั่นเอง
.....ที่นี้ไอ้การจะทำให้สำเร็จอย่างดี ผลงานออกมาปราณีตได้อย่างใจ มันก็ต้องมีความตั้งใจที่จะทำในสิ่งนั้นอย่างเต็มที่นั่นคือเราต้องมีความเอาใจใส่ในงานที่ทำนั้น
       สุดท้ายเมื่อประกอบกิจการงานนั้นบรรลุผลสำเร็จก็ต้องหมั่นตรวจสอบด้วยความละเอียดรอบคอบด้วยการไตร่ตรอง และทบทวนว่าสิ่งที่ได้ทำนั้นดีสมบูรณ์อย่างที่ตั้งใจแล้วหรือยังเพียงแค่นี้ไม่ว่าคุณจะประกอบกิจการงานใดๆ
หากคุณได้นำหลักธรรมะในหัวข้อดังกล่าวมาใช้จริงในทางปฏิบัติงานนั้นก็จะประสบความสำเร็จสมดังที่ได้มุ่งหวังไว้อย่างแน่นอนเนื่องจากหัวข้อธรรมะไม่ได้มีไว้ให้ท่องจำ แต่มีไว้ให้นำมาใช้งานเค้าว่ากันว่าคุยธรรมะ ไม่ให้คุยนาน
เดี๋ยวจะพาลง่วงเหงาหาวนอนกันไปเสียก่อนถ้าอย่างนั้น วันนี้คงพอแค่นี้แล้วกันวันข้างนึกอะไรดีๆ ออกอีกก็จะแบ่งปันประสบการณ์ชีวิตมาบอกกันใหม่นะ

เผ่าพงษ์ ปัตตานี:
ลุงชัยอธิบายความเปรียบเทียบเรื่องนี้ได้ดีเข้าใจง่ายได้ใจความ ขอให้ได้บุญกุศลมากมายช่วงเข้าพรรษานี้

ลุงชัยนรา:
...สา...ธุ..ครับท่านเผ่าพงษ์ด้วยบุญกุศลนี้เช่นกัน ขอให้ท่านทำงานด้วยความปลอดภัย และราบรื่นครับ

พรหมนิมิต:
นี่ไง..ธรรมะฉบับชาวบ้าน ใช้ศัพท์แสงระดับชาวบ้าน ทั้งๆที่เป็นธรรมชั้นสูงแต่ถูกบรรยายโดยภาษาชาวบ้านๆ ทำให้ชาวบ้านธรรมดาๆได้เข้าใจแจ่มแจ้ง ขอสาธุชนทั้งหลายพึงสดับด้วยความตั้งใจแหละเข้าใจในเนื้อหาแห่งธรรม..เทอญ สาธุ

มหาสุ:
ลุงชัย ตกลงเอากี่พรรษาครับ

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

Go to full version