กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: แย้....  (อ่าน 4199 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ลุงชัยนรา

  • ความเปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร์
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3715
  • กระทู้: 910
  • Thank You
  • -Given: 3245
  • -Receive: 3715
  • ชีวิตนี้ยอมพลี เพื่อแผ่นดิน
แย้....
« เมื่อ: กรกฎาคม 06, 2013, 01:05:07 AM »
...ก่อนอื่นวันนี้ต้องขอโทษและขออนุญาตหลายๆท่าน ที่รังเกียจและขยักแขยงสัตว์เลื้อยคลานนะครับ เพราะแย้... ก็เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง ที่ผูกพันกับวิถีชีวิตของชาวบ้านนอก โดยเฉพาะผมเองตอนเด็กๆ ที่ต้องวิ่งไล่จับ ขุดและดักแย้มาเป็นอาหาร และหลายท่านคงคุ้นเคยกันมาบ้าง..จึงขอนำภาพและข้อมูลแห่งความทรงจำมาลงเพื่อให้บางท่านได้ระลึกถึงความทรงจำดีๆที่ผ่านมาในอดีต ท่านใดเคยมีประสพการณ์ก็เชิญเล่าสู่กันฟัง..บ้างนะครับ

        แย้ (อังกฤษ: Butterfly lizard, Small-scaled lizard, Ground lizard) เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่าประเภทหนึ่ง จัดเป็นสัตว์ที่อยู่ในสกุล Leiolepis ในวงศ์ Agamidae วงศ์ย่อย Leiolepidinae พบกระจายทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะภูมิภาคอินโดจีน พบทั้งหมด 8 ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบทั้งหมด 4 ชนิด มีลักษณะเด่นคือ มีสีสวยสด และลำตัวไม่มีปุ่มหนาม แย้ทุกชนิดเป็นสัตว์ที่หากินและอาศัยอยู่ในพื้นดิน ไม่ขึ้นต้นไม้อย่างสัตว์เลื้อยคลานชนิดอื่น โดยเฉพาะพื้นดินที่เป็นที่แห้งแล้งลักษณะดินปนทราย ที่อยู่ของแย้เป็นรู ลึกประมาณ 1 ฟุต เป็นโพรงข้างใน สามารถกลับตัวได้ ที่ปากรูจะมีรอยของหางแย้ เป็นรอยยาว ๆ และจะมีรูพิเศษอีกรูหนึ่ง ที่ใช้ป้องกันตัว เมื่อถูกศัตรูรุกรานเข้ารูด้านหนึ่ง แย้สามารถหลบรอดออกไปอีกรูหนึ่งได้อย่างแยบยล โดยรูนี้เรียกในภาษาไทยว่า "แปว" ภาษาใต้เรียก"รูเหย"
  แย้สามารถสืบพันธุ์ได้ทุกฤดูกาล กินแมลงต่าง ๆ เป็นอาหาร แย้ไม่สามารถที่จะว่ายน้ำได้  พบกระจายพันธุ์ทั่วไปตามพื้นดินที่เป็นที่ดอนแห้ง ไม่มีน้ำท่วมขัง หรือมีไม้พุ่มเตี้ย ๆ หรือหญ้าขึ้นแซม หรือป่าโปร่ง ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ยกเว้นสิงคโปร์ สำหรับในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค รวมถึงพบบนเกาะต่าง ๆ ด้วย โดยจะขุดรูลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร เรียกว่า "แปว"อาศัยอยู่ จัดแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย  เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่วิ่งได้เร็วมาก โดยจะอาศัยอยู่ในรูไม่โผล่หน้ามาให้เห็น พฤติกรรมในการเข้าออกรูสามารถนำไปพยากรณ์การตกของฝนได้ตามภูมิปัญญาท้องถิ่น เพราะเป็นสัตว์ที่จะอาศัยอยู่ในที่แห้ง จึงไวต่อสภาพอากาศ ออกหากินเวลากลางวันที่มีอากาศแจ่มใสแดดไม่จัด ในช่วงแดดจัดจะพักผ่อนอยู่ในรู อาหารหลัก ได้แก่ แมลงชนิดต่าง ๆ อาศัยอยู่รูละตัวอาจจะอยู่ใกล้ ๆ กัน มีการผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนจนถึงฤดูฝน และวางไข่หมกดินครั้งละ 6-8 ฟอง ไข่มีลักษณะยาวรี สีขาว เปลือกเหนียวนิ่ม และเริ่มวางไข่ระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน เมื่อไข่ฟักเป็นตัวอ่อนประมาณ 5-6 วัน ลูกวัยอ่อนต้องพึงพาอาศัยแม่ในการเลี้ยงดู
แย้เส้น หรือแย้ธรรมดา เป็นแย้ชนิดที่พบได้ทั่วไปและเป็นที่รู้จักกันดีที่สุด เป็นสัตว์ที่มีการบริโภคกันในท้องถิ่นในบางพื้นที่ เช่น ภาคอีสาน โดยนำไปปรุง เช่น ย่าง หรือผัดเผ็ด
หลังจากถอดเสื้อ(ถลกหนังแล้ว)
ชื่อไทย   :   แย้ใต้
ชื่อสามัญ   :   Butterfly Lizard or Small-scaled Lizard
ชื่อวิทยาศาสตร์   :   Leiolepis belliana (Gray, 1827)
ลักษณะ   :   ลักษณะ คล้ายกิ้งก่า แต่ไม่มีแผงหนามบนหลัง หลังมีลายจุดสีสัมขอบดำเรียงเป็นแถว สีข้างมีลายแถบในแนวตั้งสีดำสลับส้มจากซอกขาหน้าถึงซอกขาหลัง ขาสีน้ำตาลมีลายจุดสีจาง หางอวบใหญ่ ด้านบนหางสีน้ำตาลมีลายจุดสีครีม ท้องสีขาวครีมออกเหลือง ลูกแย้ใต้มีลายบนหลังเป็นแถบสีส้ม หางสีออกแดง
สถานภาพ   :   ไม่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
ถิ่นอาศัย   :   มักพบหากินแมลง ตัวอ่อนเล็ก และยอดอ่อนของพืช ตามพื้น และสร้างรูตามพื้นที่เป็นดินทราย
การแพร่กระจาย   :   พบทางภาคตะวันออก ตะวันตก และภาคใต้ และแพร่กระจายในเทือกเขาตะนาวศรี มาเลเซีย สุมาตรา และอาจพบในสิงคโปร์
    แย้จัดเป็นอาหารดั้งเดิมของมนุษย์มาช้านานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในถิ่นอีสานของไทย ชาวอีสานจะนิยมจับแย้กินเป็นอาหาร โดยมีรสชาติคล้ายเนื้อไก่ นิยมนำไปทำเป็นเมนูได้หลากหลาย เช่น ปิ้ง  ลาบ หรือผัดเผ็ด
ปัจจุบัน สถานะของแย้เมื่อเทียบกับสัตว์เลื้อยคลานชนิดอื่น ๆ แล้ว นับว่าใกล้สูญพันธุ์จากถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ ในบางพื้นที่จึงมีการส่งเสริมการเลี้ยงแย้ให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจและอนุรักษ์ ไว้ด้วย เช่นที่ สวนสัตว์เปิดเขาเขียวและในโรงเรียนที่มุกดาหาร และบุรีรัมย์ เป็นต้น
คลุกเกลือขมิ้นย่าง
ย่างอีกภาพ
วิธีการหาแย้
ได้มาแล้วก็ถอดเสื้ออย่างนี้
แล้วนำมาสับหยาบๆอย่างนี้
ตำเครื่องแกงแล้วลงกระทะผัดอย่างนี้
ใส่จานยกเสิร์ฟ
ผักแนม(เหนาะ)คู่กัน
***ขอส่งท้ายด้วยการนำเพลง ไปไล่แย้ โดย จ่าส่ง ร็อคออนซอน มาประกอบเพื่อความสมบูรณ์ครับ***
<a href="http://www.youtube.com/v/Qqet7Scl5hM?version=3&amp;amp;hl=th_TH&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=&quot;" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube.com/v/Qqet7Scl5hM?version=3&amp;amp;hl=th_TH&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=&quot;</a>
ขอขอบคุณภาพจาก บ้านมหา.คอมและhttp://www.oknation.net/
ขอขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย
ขอขอบคุณเพลงจาก youtube โดยoDiavoLOo10
ขอขอบคุณ อ.ลือ ผู้ฝึกสอนการวางภาพและเพลง


ลือ

  • ฟังดนตรีเถิด ชื่นใจ...
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 4066
  • กระทู้: 864
  • Thank You
  • -Given: 3919
  • -Receive: 4066
  • ชอบเพลงลูกกรุงเก่าๆครับ
Re: แย้....
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 06, 2013, 08:45:17 AM »
1. :52
2.อิ อิ...ผมเคยมีประสบการณ์ล่าแย้ที่ลานดินทราย ข้างๆสนามบินใกล้ๆบ้าน ที่บ้านเกิดครับ
     เคยเล่าไว้แล้วเหมือนกัน...แต่ตอนนี้ ข้อมูลทุกเรื่องหายไปหมดตอนเว็บล่ม
3.อ่านแล้วเพลินดีครับ  ชอบชื่อสากลของแย้ ที่พี่ชัยเอามาบอกกัน
    คัดลอกมาถกกันนิด...
     "  แย้ (อังกฤษ: Butterfly lizard, Small-scaled lizard, Ground lizard)"

   (จากพจนานุกรม  lizard (ลิซ'เซิร์ด) n. สัตว์เลื้อยคลานจำพวก Lacertilia (Sauria) ได้แก่ จิ้งจก, ตุ๊กแก,จิ้งเหลน, กิ้งก่า, เหี้ย, แย้
     ในที่นี้ ผมขอเลือกคำว่า เหี้ย มานะครับ เพื่อให้เหมาะกับความรู้สึกที่คนมีต่อแย้
     ว่ามันไม่ใช่พวกจิ้งจก หรือ จิ้งเหลน... แต่มันคือ เหี้ย หรือ แลน ชนิดหนึ่ง ซะมากกว่า...
           ซึ่งภาษาถิ่นใต้บ้านผม เราก็เรียกเหี้ย ว่า แลน เหมือนทางอีสาน และทางเหนือครับ)

  ดังนั้น แปลตามตัว ก็น่าจะประมาณว่า
    - Butterfly lizard - แลนผีเสื้อ (คงเพราะ แย้มีแผ่นท้องที่แบนมาก และสามารถแผ่ออกได้กว้าง คล้ายอย่างปีกผีเสื้อ)
    -Small-scaled lizard -แลนที่ตัวมีขนาดเล็ก.....
    -Ground lizard-แลนที่อยู่ตามพื้นดิน(ไม่ปีนต้นไม้อย่างแลนทั่วไป)...ชื่อนี้ ช่างสอดคล้อง กับคำเรียกแย้ในภาษามลายูท้องถิ่นใต้ครับ เพราัะเขาจะเรียกแย้ ว่า "แยเวาะปาเซ" ซึ่งแปลว่า แลนทราย
             (แยเวาะ = แลน / ปาเซ = ทราย)
         ส่วนภาษาใต้ จะออกเสียงเรียกแย้ ว่า "แหย่"-(ออกเสียงสั้นๆ... อย่ายืดเสียงครับ)

                        :08 :08 :08 :  ขอตัว ผัดเผ็ดกะเพราแย้ต่อ....


บันทึกการเข้า

ลุงชัยนรา

  • ความเปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร์
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3715
  • กระทู้: 910
  • Thank You
  • -Given: 3245
  • -Receive: 3715
  • ชีวิตนี้ยอมพลี เพื่อแผ่นดิน
Re: แย้....
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 06, 2013, 10:06:13 AM »
..ขอบคุณมากครับครู..ที่มาเสริมต่อ... ผมนึกถึงเรื่องเล่าของครู ขึ้นมาได้ เลยมา ค้นคว้า หาเรื่อง หาภาพ มาฝากกัน เพื่อให้หลายๆท่าน ที่มีประสพการณ์ในวัยเด็ก มาเล่าสู่กันฟัง...ใส่ใบรา(ยี่หร่า) เยอะๆนะครู ถ้ามีพริกไทยอ่อนด้วยก็ดี..ตอนนี้ผมเลิกไล่แย้ ดักแย้ แล้ว(แต่ยังไม่เลิกกิน) เพียงแต่อนุรักษ์ไว้ในสวน ส่วนที่เป็นดินทราย เพื่อเก็บไว้ให้ลูกหลานได้ดู..แต่บางครั้งก็ยังถูกขโมย..โดย ไอ้แต้ม กับไอ้หนู หมาพันธ์บางแก้ว ไปไล่ขุดมา บางวัน ได้ตั้ง 3 - 4 ตัว ผมเลยต้อง"พลอยหมากิน" โดยขอมัน มา"จัดการ" และแบ่งให้ผู้ล่าบ้าง(ทอดกระเทียม) ให้กินเชียวนะ


บันทึกการเข้า

เผ่าพงษ์ ปัตตานี

  • ชาวบ้านเพลงไทยอาวุโส
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2008
  • กระทู้: 507
  • Thank You
  • -Given: 3223
  • -Receive: 2008
Re: แย้....
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 06, 2013, 12:29:37 PM »
แถวบ้านผมถ้าใครที่มีบุคลิกหลำๆหน่อย (เด๋อด๋าหน้าเซ่อ) เขาเรียกบ่าวนี้อยู่เหมือน "แลนควน" (แยเวาะห์บูเก๊ะ) จังครับ


บันทึกการเข้า

ลุงชัยนรา

  • ความเปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร์
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3715
  • กระทู้: 910
  • Thank You
  • -Given: 3245
  • -Receive: 3715
  • ชีวิตนี้ยอมพลี เพื่อแผ่นดิน
Re: แย้....
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 06, 2013, 01:06:47 PM »
ขอบคุณครับท่านเผ่าพงษ์..... ที่เข้ามาแจม งานคงยุ่งนะหายไปนาน..แลนควน นี้ถ้าคั่วกลิ้ง ใส่ใบรามากๆ พริกไทยอ่อนเยอะๆ..ข้าวชามเฒ่าๆ สัก 2 ชาม...(ม่ายบอกใครพึ๊ด นอกจากน้องเมียหญิงเท่โสดๆเท่านั้น)


บันทึกการเข้า

ชบาบาน

  • ชาวบ้านเพลงไทยอาวุโส
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 382
  • กระทู้: 95
  • Thank You
  • -Given: 412
  • -Receive: 382
Re: แย้....
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2013, 09:16:30 PM »
มีคำบอกเล่าของคนโบราณแถวบ้านเกิดกระผม(ไชยา,สุราษฎร์) เขาเล่ากันว่าเวลาพ่อหนุ่มไปขอลูกสาว  ตาพ่อตาจะถามว่า
ไอ้เณรไข่(เหมือนไอ้ทิดภาคกลาง)เอ็งพันธ์อะไรวะ คงจะหมายถึงเผ่าพันธ์ของตัวเอง  ถ้าตอบซึ้ซั้วหรือไม่รู้อาจจะชวดได้เมีย  ไอ้หนุ่มผู้รู้จะต้องต้องตอบว่า"พันธ์แย้"  ความหมายคือแย้มันไม่เข้ารูเพื่อน  ตกใจหมามันก็ยังวิ่งไปหารูของมันเอง
จะจริงหรือไม่จริงเรื่องไม่เข้ารูอื่น  เห็นจะต้องสอบถามท่านลุงชัยอีกน่ะแหละ....แฮ่ะ...แฮ่ะ...


บันทึกการเข้า

ลือ

  • ฟังดนตรีเถิด ชื่นใจ...
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 4066
  • กระทู้: 864
  • Thank You
  • -Given: 3919
  • -Receive: 4066
  • ชอบเพลงลูกกรุงเก่าๆครับ
Re: แย้....
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2013, 11:37:49 PM »
  ถามพี่ชัยเหมือนกันครับ...
      ตอนเด็กๆ  ...เคยเล่นถามปัญหาภาษาใต้ แบบนี้กันไหมครับ
           " แย้ลงรู..
                  หนูขึ้นต้นไม้...
                         อะไรมิด?

     
                แต่ต้องอ่านเป็นใต้แท้นะครับ....
                        อย่างคำว่า"มิด" ก็ออกเสียงว่า "แหม็ด"(แปลว่า มิดชิด..หาไม่เจอตัว)

         ถ้าตอบ "หนูมิด" ก็แล้วไป....
                      แต่ถ้าตอบ "แย้มิด"...ก็จะ ทวนคำตอบ แล้วผวน...
                               จากนั้นก็ได้ขำ หัวเราะ ...ไล่เตะกัน สนุกๆครับ   
                           :77 :77 :77


บันทึกการเข้า

เผ่าพงษ์ ปัตตานี

  • ชาวบ้านเพลงไทยอาวุโส
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2008
  • กระทู้: 507
  • Thank You
  • -Given: 3223
  • -Receive: 2008
Re: แย้....
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2013, 01:53:07 PM »
 :09 จริงครับคำทายแบบนี้ ทำให้คนตอบเสียหน้าเสียฟอร์มมากแถมถูกเพื่อนรุมโห่อีกต่างหาก แต่วัยเด็กเราไม่เคยโกรธกันนานเกินครึ่งวัน เดี๋ยวดีกันเล่นกันใหม่ตลอดวัน อยากให้บรรยากาศสังคมเพื่อนฟูงตอนที่เราแก่กันแล้วเป็นอย่างนี้จัง


บันทึกการเข้า

ลุงชัยนรา

  • ความเปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร์
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3715
  • กระทู้: 910
  • Thank You
  • -Given: 3245
  • -Receive: 3715
  • ชีวิตนี้ยอมพลี เพื่อแผ่นดิน
Re: แย้....
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 14, 2013, 10:15:22 AM »
ขอบคุณครับ..ทุกท่านที่เข้ามาร่วมเสวนาด้วย..ทุกคนต่างมีอดีต และความทรงจำ..ผมจึงระลึกถึงข้อนี้ได้ดี เลยพยายาม ค้นคว้าหา"เรื่อง" ต่างๆ ที่เชื่อว่าเคยผูกพัน เคยจะเจอ มาเล่าสู่กันฟัง ให้ท่านได้นึกถึงความหลัง ที่เราต่างโหยหากัน..เช่นเดียวกับที่เราโหยหาอยากฟังเพลงเก่าๆกัน นี่ไงครับ....


บันทึกการเข้า