สโมสรบ้านเพลงไทย > ห้องสันทนาการ

ขนมไทยชื่อไพเราะ

<< < (3/4) > >>

เผ่าพงษ์ ปัตตานี:
     ตลาดบองมาเช่ = ตลาดดี  มีของกินดีๆราคาเหมาะสมกับของเยอะแยะครับ โดยเฉพาะขนมไทยน่ากินทุกอย่างครับ สินค้าที่นี่มีการตรวจสอบคุณภาพอยู่กลายๆครับ อยากกินของที่ให้รางวัลกับชีวิตที่ดีๆควรลองไปครับ สำหรับผมนานๆทีถ้าผ่านจะแวะเดินชมครับ (เพื่ออยากรู้ว่าไฮโซเขามีวิถีชีวิตแบบไหนกัน)  บางครั้งเจอดาราหนังดังๆรุ่นเก่าก็เยอะครับ เช่น พิศมัย วิไลศักดิ์ แกจะมาเดินซื้อของบ่อยๆเหมือนกัน พูดถึงตลาดอยู่ดีๆแวะเข้าหาดารานักร้องเก่าๆจนได้

ลือ:
1.บอกชื่อร้าน"หวานดำรงค์"ไป...
      มาอ่านในกระทู้พันทิป... เห็นเขาพูดถึงข้าวเหนียวแก้วของร้าน"แม่อุดม" แถวๆ นั้น....
                       :85
              เอ ....หรือว่า จะเป็นร้านชื่อ "แม่อุดม" ซะละมั้งครับ?
       เพราะนึกได้ ว่าก็เคยซื้อข้าวเหนียวแก้วจากร้านนั้น

        และ เห็นว่าที่เกาะเกร็ด ก็มีขายขนมโบราณหลายเจ้าครับ
           ทองเอกกระจัง หรือดาราทองก็มีครับ

2. "บอง มาเช่" แปลว่า "ตลาดดี" เหรอครับคุณเผ่าพงษ์....
         ขอบคุณความหมายครับ
     ผมไม่เคยเรียนภาษาฝรั่งเศส.... จบ ม.ศ.3 ก็ต่อครู ป.กศ.
       ไม่เคยเรียน 4-5 ครับ

           พี่ชายคนโตผม (72) ที่เป็นพ่อของหลานสาว ถามผม ตอนผมไปเยี่ยม
    ว่าจะกิน ต้ม(ห่อใบพ้อ)ไหม ?  (หน้าตาคล้ายข้าวต้มลูกโยน)....
         พี่บอกว่า มีแม่ค้าคนใต้ นำมาขายที่ตลาดบอง มาเช่....

   รุ่งขึ้น พี่ชายก็ไปตลาดฝรั่งเศสกับลูกสาว ซื้อกลับมาฝากผม
           พวงละ 20 บาท/มี 4-5 ลูก.....ไม่แพงครับ
         และมีเต้าคั่ว ข้าวยำ ครบสรรพครับ... :01

ลุงชัยนรา:
....ขนมโบราณๆ ก็คงเหมาะกับคนรุ่นเก่าๆ ส่วนผมคนรุ่นใหม๋(เมือ่ 5 0 ปี กว่าๆ) ก็เหมาะกับขนมชนิดนี้



เข้ามาสร้างสีสันในการคุยนะครับทุกๆท่าน อย่าถือสาหาความ ในการไปธุดงค์ กันซะอีก 5 5 5

เผ่าพงษ์ ปัตตานี:
ตอบคุณลือครับ
     อันที่จริงผมเองก็ไม่ค่อยมีความรู้ภาษาฝรั่งเศสมากมายหรอกครับ อาศัยครูพักลักจำเขามาเหมือนกัน เอาเท่าที่พอจะจำได้นะครับ เพราะเรียนมานิดเดียวตอนที่วัยเท่าๆกับท่านนั่นแหละครับ พอแก่ขึ้นสมองชักเลอะเลือนไปหมดแล้ว  อย่างคำที่เป็นชื่อตลาด "บอง มาเช่" มาจากศัพท์ภาษาฝรั่งเศสคือ bon =  ดี, marche'r = ตลาด (market) ครับ  รวมๆความแล้วก็จะเป็นตลาด(ที่)ดี คงจะประมาณนี้ครับ  ภาษาฝรั่งเศสเขาถือกันว่าเป็นภาษาที่มีสำเนียงที่ไพเราะมากระดับต้นๆของโลกครับ (ไม่ทราบเอาเกณฑ์อะไรมาวัด) แต่เป็นภาษาที่มีกฎเกณฑ์ที่ยุ่งยากพอสมควร เช่น มีการแบ่งแยกบรรดาสรรพสิ่งออกเป็นเพศหญิง,ชาย ด้วย ถ้าแยกผิด ความหมายเพี้ยนไปคนละเรื่องเลยครับ ปวดหัวพอควรยกเว้นคนที่ชอบจะไม่ผลใดๆทั้งสิ้น  แม้แต่ภาษาขะแมร์ที่ว่า "บอง สะลันโอน" ก็ไม่รู้ว่ามาจากรากศัพท์ฝรั่งเศสด้วยหรือเปล่าก็ไม่รู้เหมือนกัน
     ส่วนที่มาของตลาดนี้ก็เป็นที่ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (พี่สาวของในหลวงเรานั่นเอง) เนื่องจากพระองค์ทรงมีความเชี่ยวชาญด้านภาษาฝรั่งเศสมาก และพระองค์เคยเป็นอาจารย์สอนภาษาฝรั่งเศสในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีมาก่อนในสมัยก่อตั้งแรกๆ จึงน่าจะมีความผูกพันกับภาษานี้มากพอสมควร ส่วนในหลวงของเราเองก็ทรงชำนาญด้านภาษาต่างประเทศ แถบยุโรป อเมริกา ประมาณ 4-5 ภาษา รวมทั้งภาษายาวี (มลายูถิ่น) ด้วยนะครับ น่าภูมิใจจริงๆ
     ผมชอบเรียนรู้ภาษาที่ไม่เป็นภาษาไทยครับ เพราะภาษาคือหน้าต่างของหัวใจ อย่างเช่นภาษามลายูถิ่นหรือที่เรามักจะเรียกติดปากกันว่าภาษายาวีนั้นก็เหมือนกัน เวลาเราผ่านหมู่บ้านต่างๆที่มีชื่อมลายูถ้าแปลเป็นภาษาไทยได้ก็จะทราบถึงสภาพสังคมชุมชนแห่งนั้นในอดีตได้พอสมควรครับ บางแห่งแทบไม่ต้องบอกว่าคนแถวนี้เมื่อก่อนอยู่กันอย่างไร มาตั้งถิ่นฐานบ้านเมืองแล้วทำมาหากินกันอย่างไรครับ เช่น บ้านบาโงสะโต = บ้านโคกสะตอ(บาโง=โคก,สะโต=สะตอ), บ้านปาเซปูเต๊ะ = บ้านทรายขาว (ปาเซ=ทราย,ปูเต๊ะ=ขาว)เป็นต้น ก็สนุกดีสำหรับส่วนตัวของผมนะครับ คนอื่นๆผมไม่ทราบว่าจะชอบอย่างผมไหมครับ เหมือนกับที่เขากล่าวว่าว่า ชื่อนั้นสำคัญไฉน? นั่นเอง
     เห็นครูลือชำนาญภาษาอังกฤษเพราะเป็นครูสอนมาก่อน ผมจึงเข้ามาแจมเยอะหน่อย ต้องขออภัยสมาชิกท่านผู้อื่นด้วยนะครับที่ไม่ค่อยเกี่ยวกับเพลงไทยเท่าไร. แต่ก็เอาความรู้ไว้แปลเพลงสากลที่ครูลือได้โพสต์เอาไว้ในกระทู้เพลงสากลเก่าได้นะครับ เพื่อนๆสมาชิกลองแปลความหมายดูครับ เพลงทุกเพลงมีความหมายที่ลึกซึ้งกินใจเหมือนเพลงไทยเราไม่แพ้กัน
     อ้อ! มีเกร็ดเล็กๆจากผู้รู้บางท่านเขาบอกว่าภาษาฝรั่งเศสเกิดก่อนภาษาอังกฤษนะครับ จะเห็นว่าศัพท์หลายๆคำคล้ายกันมาก เท็จจริงอย่างไรผมเองก็ยังไม่กล้ายืนยันครับ

ลุงชัยนรา:
..ผมชื่นชมและดีใจมาก ครับที่เพื่อน สมาชิก เข้ามาสานต่อกระทู้ต่างๆ ให้หลากหลายความคิด หลากหลาย แนวทาง ทำให้บ้านเรา ไม่เงียบเหงา โดยเฉพาะ ครูลือ ชอบ"หาเรื่อง" แนวต่างๆมาฝากให้เพื่อนๆ ได้ร่วมสานต่อเสมอๆ
                         บรรทัดต่อจากนั้ไปผมขอกราบขออภัยท่านเผ่าพงษ์โดยเฉพาะนะครับที่เข้ามาท้วงติงเรื่องชื่อหมู่บ้าน บาโงสะโต เพราะผมอาศัยในนราธิวาส มา 40 ปี และภาษามลายูถิ่น คือภาษาที่  3 รองจาก ไทย และ อีสานครับ จนเพื่อนๆ ทักว่า"เดาะแปและ" แปลว่าไม่เพี้ยนเลย
บาโง  = โคก-เนิน-ดอน
สะโต = กระท้อน - สะท้อน(ภาษามลายูถิ่น ใน 3 จ.ว.ใต้)
..ถ้าสะตอ ภาษา มลายูถิ่น เรียก - บือตาและ สะตา = มังคุด
...เพือความหนักแน่นในข้อมูล ผมขอลอกบทความบางตอนจาก*** Trip นี้มีเรื่องเล่า... นครสโตยมำบังสการา จากเวป http://www.trf.or.th/index.php?option=com*** โดย เวธนี ตั้งสินมั่นคง
เจ้าหน้าที่บริหารโครงการฝ่ายอุตสาหกรรม สกว.weatanee@trf.or.th
****หลายท่านคงสงสัยว่า “นครสโตยมำบังสการา (Negeri Setoi Mumbang Segara)” คืออะไร? ฟังดูคล้ายภาษามลายู...ถูกต้องแล้วค่ะ คำว่า “นครสโตยมำบังสการา” เป็นภาษามลายู ซึ่ง “สโตย” แปลว่า กระท้อน ส่วน “มำบังสการา” แปลว่า เมืองพิมาน หรือสถานที่อันเป็นที่สิงสถิตของเทพยดา ซึ่งนครสโตยมำบังสการา เป็นชื่อเดิมของเมืองสตูล หรือ จังหวัดสตูลในปัจจุบันนั่นเอง
เมืองสตูลในสมัยก่อนปลูกกระท้อนเป็นจำนวนมาก  เริ่มเรื่องจากชื่อเดิมของจังหวัดสตูลแล้ว ทำให้ฉันเห็นว่าภาษามลายูหรือภาษาถิ่นน่าสนใจทีเดียว เพราะสามารถสืบไปถึงประวัติความเป็นมาของพื้นที่นั้นๆได้****
.....ที่ท้วงติงมาเพื่อความถูกต้องนะครับท่านเผ่าพงษ์ ผมไม่โทษใครหรอกครับ แต่โทษหน่วยงานรัฐบางหน่วย ที่ไม่อนุรักษ์ชื่อเดิม แถม บางแห่ง ยังไปเปลี่ยนแปลง ชื่อดั้งเดิม จนความหมายเพี้ยนไปเลย ซึ่งเรื่องนี้พวกเรา(พวกชอบใส่เกือกให้เสือ)เคยคุยกัน และเข้าไปพูดกับหน่วยนี้แล้ว เขาแค่ตอบสั้นๆ แต่มีความหมายว่า"นายสั่งมาอย่างนี้" ก็จบ ครับ... ในนราธิวาสก็มีหลายๆ หมู่บ้าน เช่นกัน ที่มีเรื่องเช่นนี้และ บางหมู่บ้านเขาก็เปลี่ยนของเขาเองไปแล้ว เช่น บ้านโคกกระดูกหมู เป็นต้น....ด้วยความเคารพ ในความคิดดีๆของท่านนะครับ ท่านเผ่าพงษ์ อย่าโกรธผมนะครับท่าน

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

Go to full version