กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องการซื้อขายเลี้ยงสุนัข  (อ่าน 9068 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

มหาสุ

  • **แก้ไข**
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 749
  • กระทู้: 135
  • Thank You
  • -Given: 323
  • -Receive: 749
เรื่องการซื้อขายเลี้ยงสุนัข
« เมื่อ: สิงหาคม 03, 2013, 06:11:39 AM »
                               คัดลอกจาก: กฏแห่งกรรม พระเทพวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ)
                                               องค์ประกอบของอกุศลกรรมบถ
             กรรมที่จะจัดว่าเป็นอกุศลกรรมบถได้นั้น ต้องมีองค์ประกอบในการกระทำนั้นครบถ้วน จึงจะจัดเป็นอกุศลกรรมบถได้
             เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้ จะชี้ให้เห็นว่า ในบรรดาอกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ นั้น อกุศลกรรมบถข้อใดมีองค์ประกอบเท่าไร เพราะถ้าการกระทำนั้นมีองค์ประกอบไม่ครบถ้วนแล้ว ก็ไม่อาจจัดเป็นอกุศลกรรมบถได้ เช่น ฆ่าสัตว์ตายโดยไม่เจตนา หรือฆ่าแล้ว แต่ไม่ตาย เป็นต้น การทำอกุศลที่มีองค์ประกอบครบถ้วนเท่านั้น จึงจะล่วงกรรมบถ หรือขาดศีลกรรมบถได้
ปาณาติบาต - การฆ่าสัตว์ มีองค์ ๕
 การฆ่าสัตว์จะเป็นกรรมบถได้ ต้องประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
 ๑. สัตว์มีชีวิต
 ๒. รู้อยู่ว่าสัตว์มีชีวิต
 ๓. จิตคิดจะฆ่า
 ๔. พยายามเพื่อจะฆ่า
 ๕. สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น
 ---------------------------------------
อานิสงส์ของการประพฤติกุศลกรรมบถ
          การรักษาศีลกรรมบถ หรือ การประพฤติกรรมบถ-ทางแห่งการทำความดี มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ซึ่งท่านกล่าวในคัมภีร์ต่าง ๆ ของพระพุทธศาสนาหลายแห่ง โดยเฉพาะในอรรถกถาขุททกปาฐะ แห่งคัมภีร์ขุททกนิกาย แสดงไว้ค่อนข้างละเอียดมาก
          แต่ในที่นี้จะรวบรวมอานิสงส์หรือประโยชน์ของการประพฤติตามกุศลกรรมบถมากล่าวไว้ เพื่อชี้ให้เห็นคุณค่าของการสั่งสมกรรมในขั้นกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ ดังนี้
๑. การเว้นจาการฆ่าสัตว์ มีอานิสงส์ ๙ ประการ คือ
 ๑) มีร่างกายสมบูรณ์
 ๒) มีรูปพรรณสัญฐานงดงาม
 ๓) มีกำลังกายดี
 ๔) มีกำลังปัญญาไว
 ๕) เป็นคนองอาจ
 ๖) ไม่ทำลายตนหรือถูกผู้อื่นทำลาย
 ๗) ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน
 ๘) มีบริวารมาก
 ๙) มีอายุยืน
       ...ส่วนโทษของการประพฤติล่วงกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ ประการ อันเป็นการทำอกุศลกรรมบถ ก็มีนัยตรงกันข้ามกับอานิสงส์ของการบำเพ็ญกุศลกรรมดังกล่าวมาข้างต้นนี้
         ตามที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ท่านสาธุชนทั้งหลายย่อมเห็นชัดแล้วว่า กุศลกรรม-ทางแห่งการทำความดี ทั้ง ๑๐ ประการเหล่านี้ ให้คุณค่าแก่ผู้ปฏิบัติตามเพียงไร จึงจัดเป็นกุศลกรรมที่ควรบำเพ็ญเป็นประจำตลอดไป เพราะก่อให้เกิดคุณประโยชน์แก่ตนเองและสังคมส่วนรวมเป็นอย่างมาก
            ดังนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสว่า
 "กตญฺจ สุกตํ เสยฺโย.
 การทำดีนั่นแล ดีกว่า."
 และตรัสว่า
 "ตฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ.
 บุคคลทำกรรมใดแล้วไม่เดือดร้อนในภายหลัง กรรมดีที่ทำนั่นแลดีกว่า."


มหาสุ

  • **แก้ไข**
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 749
  • กระทู้: 135
  • Thank You
  • -Given: 323
  • -Receive: 749
Re: เรื่องการซื้อขายเลี้ยงสุนัข
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 03, 2013, 06:27:12 AM »
                        วณิชชสูตร
            ว่าด้วยการค้าขายที่อุบาสกไม่ควรประกอบ
        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   การค้าขาย  ๕  ประการนี้  อันอุบาสกไม่พึงกระทำ  ๕  ประการเป็นไฉน ?  คือ การค้าขายศัสตรา  ๑  การค้าขายสัตว์  ๑ การค้าขายเนื้อสัตว์  ๑      การค้าขายน้ำเมา ๑    การค้าขายยาพิษ   ๑   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   การค้าขาย  ๕  ประการนี้แล   อันอุบาสกไม่พึงกระทำ.
   


บันทึกการเข้า

มหาสุ

  • **แก้ไข**
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 749
  • กระทู้: 135
  • Thank You
  • -Given: 323
  • -Receive: 749
Re: เรื่องการซื้อขายเลี้ยงสุนัข
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 03, 2013, 06:41:06 AM »
....ถามว่าผิดศีลไหม  ไม่ผิด
....ถามว่าบาปไหม  ก็คงมีกรรมติดตัวไปครับ คือพรากลูกพรากแม่ ถึงคราวกรรมส่งผลก็ได้รับผลกรรมคล้ายๆกัน
....บาปอย่าเห็นว่าเล็กน้อยแล้วทำ..
....( กรรมพระพุทธองค์ )
    หลังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยพระกระยาหารที่บ้านนายจุนทะแล้ว  ทรงเสด็จดำเนินไปเมืองกุสินาราเพื่อต้องการปรินิพพานที่นั่น
    ระหว่างทางทรงบังเกิดกระหายน้ำเป็นกำลัง  ทรงมีพระดำรัสให้พระอานนท์ไปตักน้ำมา  พระอานนท์กราบทูลว่าแม่น้ำสายนี้ยังขุ่นอยู่เพราะเกวียน ๕๐๐ เล่มเพิ่งผ่านไป  และข้างหน้าไม่ไกลจากนี้  มีแม่น้ำชื่อ กุกกุฎนที  มีน้ำใสบริสุทธิ์เหมาะควรแก่พระพุทธองค์

    พระพุทธเจ้าจึงตรัสสั่วซ้ำกับพระอานนท์ถึงสองครั้งสามครั้งว่า  ท่านจงไปตักน้ำในนทีนี้มา  ตถาคตกระหายน้ำนัก  พระอานนท์จึงถือบาตรไปตักน้ำ  เห็นกระแสน้ำใสบริสุทธิ์ไม่ขุ่นมัวเป็นพุทธานุภาพอันอัศจรรย์
....( กรรมในอดีต )
    ในอดีตพระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นนายโคบาล ( คนเลี้ยงโค )  ต้อนแม่โคไปสู่ที่หากิน  เห็นแม่โค ( ซึ่งกระหายน้ำมาก ) ดื่มน้ำขุ่น จึงห้ามโคไม่ให้ดื่มน้ำ  ด้วยวิบากกรรมนั้น จึงส่งผลให้พระพุทธองค์กระหายน้ำแล้วไม่ได้น้ำตามต้องการ
....บาปแม้เพียงนิดอย่าคิดทำ

....บุญแม้เพียงน้อยหมั่นสั่งสมเข้าเถิดประเสริฐนัก


บันทึกการเข้า

ลุงชัยนรา

  • ความเปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร์
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3715
  • กระทู้: 910
  • Thank You
  • -Given: 3245
  • -Receive: 3715
  • ชีวิตนี้ยอมพลี เพื่อแผ่นดิน
Re: เรื่องการซื้อขายเลี้ยงสุนัข
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 12, 2013, 11:28:57 AM »
สา....ธุ...ด้วยบุญกุศลแห่งการ นำสิ่งดีๆ มาให้สาธุชน ได้รับรู้..จงเป็นแนวทางให้ท่าน จบด็อกเตอร์..เร็วๆ...ด้วย..เถิ๊ด


บันทึกการเข้า