กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: อิทธบาทสี่  (อ่าน 11650 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ลุงชัยนรา

  • ความเปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร์
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3715
  • กระทู้: 910
  • Thank You
  • -Given: 3245
  • -Receive: 3715
  • ชีวิตนี้ยอมพลี เพื่อแผ่นดิน
อิทธบาทสี่
« เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2013, 01:19:12 AM »
อิทธบาทสี่ ย่อมต้องประกอบด้วยธรรมะ 4 หัวข้อธรรมคือ
ฉันทะ - ความพอใจ
วิริยะ - ความเพียร
จิตตะ - ความเอาใจใส่
วิมังสสา - การไตร่ตรอง

ซึ่งอาจจะฟังดูแล้วเข้าใจยาก
ที่นี้เราลองมาแปลกันดูใหม่ให้ทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น
ดังนี้ (ลอกคำพระมาอีกแหละ)

ฉันทะ - เต็มใจทำ
วิริยะ - แข็งใจทำ
จิตตะ - ตั้งใจทำ
วิมังสสา - ตรองตามสิ่งที่ทำนั้น

ผิดพลาดประการใดขออภัยท่านมหาและผู้รู้มากกว่าไว้นะที่นี้ด้วยเนื่องจากเขียนจากความทรงจำ ไม่ได้พลิกตำรา
ว่ากันว่าจะประกอบกิจการงานใดก็ตามให้ประสบความสำเร็จ
เราต้องเต็มใจที่จะทำในสิ่งนั้น หรือมีความพอใจที่จะทำในสิ่งนั้นนั่นเอง
ที่นี้พอทำไปได้สักพัก เราอาจจะเกิดความเบื่อความเซ็งในระหว่างที่ยังประกอบกิจการงานนั้นไม่สำเร็จเราก็ต้อง แข็งใจทำสิ่งนั้นต่อไป เนื่องจากเห็นถึงประโยชน์ในภายภาคหน้าเมื่อกิจการงานนั้นๆ ประสบความสำเร็จซึ่งก็คือความเพียรพยายามนั่นเอง
.....ที่นี้ไอ้การจะทำให้สำเร็จอย่างดี ผลงานออกมาปราณีตได้อย่างใจ มันก็ต้องมีความตั้งใจที่จะทำในสิ่งนั้นอย่างเต็มที่นั่นคือเราต้องมีความเอาใจใส่ในงานที่ทำนั้น
       สุดท้ายเมื่อประกอบกิจการงานนั้นบรรลุผลสำเร็จก็ต้องหมั่นตรวจสอบด้วยความละเอียดรอบคอบด้วยการไตร่ตรอง และทบทวนว่าสิ่งที่ได้ทำนั้นดีสมบูรณ์อย่างที่ตั้งใจแล้วหรือยังเพียงแค่นี้ไม่ว่าคุณจะประกอบกิจการงานใดๆ
หากคุณได้นำหลักธรรมะในหัวข้อดังกล่าวมาใช้จริงในทางปฏิบัติงานนั้นก็จะประสบความสำเร็จสมดังที่ได้มุ่งหวังไว้อย่างแน่นอนเนื่องจากหัวข้อธรรมะไม่ได้มีไว้ให้ท่องจำ แต่มีไว้ให้นำมาใช้งานเค้าว่ากันว่าคุยธรรมะ ไม่ให้คุยนาน
เดี๋ยวจะพาลง่วงเหงาหาวนอนกันไปเสียก่อนถ้าอย่างนั้น วันนี้คงพอแค่นี้แล้วกันวันข้างนึกอะไรดีๆ ออกอีกก็จะแบ่งปันประสบการณ์ชีวิตมาบอกกันใหม่นะ


เผ่าพงษ์ ปัตตานี

  • ชาวบ้านเพลงไทยอาวุโส
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2009
  • กระทู้: 507
  • Thank You
  • -Given: 3223
  • -Receive: 2009
Re: อิทธบาทสี่
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2013, 07:26:01 AM »
ลุงชัยอธิบายความเปรียบเทียบเรื่องนี้ได้ดีเข้าใจง่ายได้ใจความ ขอให้ได้บุญกุศลมากมายช่วงเข้าพรรษานี้


บันทึกการเข้า

ลุงชัยนรา

  • ความเปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร์
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3715
  • กระทู้: 910
  • Thank You
  • -Given: 3245
  • -Receive: 3715
  • ชีวิตนี้ยอมพลี เพื่อแผ่นดิน
Re: อิทธบาทสี่
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2013, 08:35:20 AM »
...สา...ธุ..ครับท่านเผ่าพงษ์ด้วยบุญกุศลนี้เช่นกัน ขอให้ท่านทำงานด้วยความปลอดภัย และราบรื่นครับ


บันทึกการเข้า

พรหมนิมิต

  • ชาวบ้านเพลงไทยอาวุโส
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 1401
  • กระทู้: 385
  • Thank You
  • -Given: 3985
  • -Receive: 1401
Re: อิทธบาทสี่
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2013, 05:23:47 PM »
นี่ไง..ธรรมะฉบับชาวบ้าน ใช้ศัพท์แสงระดับชาวบ้าน ทั้งๆที่เป็นธรรมชั้นสูงแต่ถูกบรรยายโดยภาษาชาวบ้านๆ ทำให้ชาวบ้านธรรมดาๆได้เข้าใจแจ่มแจ้ง ขอสาธุชนทั้งหลายพึงสดับด้วยความตั้งใจแหละเข้าใจในเนื้อหาแห่งธรรม..เทอญ สาธุ


บันทึกการเข้า

มหาสุ

  • **แก้ไข**
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 749
  • กระทู้: 135
  • Thank You
  • -Given: 323
  • -Receive: 749
Re: อิทธบาทสี่
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2013, 10:31:23 PM »
ลุงชัย ตกลงเอากี่พรรษาครับ


บันทึกการเข้า

ลุงชัยนรา

  • ความเปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร์
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3715
  • กระทู้: 910
  • Thank You
  • -Given: 3245
  • -Receive: 3715
  • ชีวิตนี้ยอมพลี เพื่อแผ่นดิน
Re: อิทธบาทสี่
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 28, 2013, 07:37:34 AM »
..ที่ผ่านมา ก็บวชเณร 3 พรรษา พระอีก 1 พรรษา ครับท่าน...


บันทึกการเข้า

ลือ

  • ฟังดนตรีเถิด ชื่นใจ...
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 4069
  • กระทู้: 864
  • Thank You
  • -Given: 3919
  • -Receive: 4069
  • ชอบเพลงลูกกรุงเก่าๆครับ
Re: อิทธบาทสี่
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: สิงหาคม 01, 2013, 09:13:38 PM »
  สาธุ...
     สมแล้ว ที่นึกมาเสมอ
        ว่าทำไมพี่ชัยช่างเป็นคนรอบรู้...
           ที่แท้ ก็เพราะร่ำเรียนมาครบ
      ทั้งทางโลกย์ และทางธรรม นี่เอง...

ทางเหนือ
    1. ถ้าเคยบวชเณรมาแล้ว... ก็เรียก "น้อย"นำหน้าชื่อ
          ถ้าชื่อจริง ไชยา
               ก็จะเรียกว่า  น้อยไจ๋ยา

        แต่ถ้าชื่อ ชัย สั้นๆ....
             แปลกครับ ทางเหนือ จะเรียกว่า ซัย นะ...ไม่ใช่ ชัย
              (เหมือนคำว่า ฉีกกิน จะออกเสียงว่า สีกกิน)

              งั้นพี่ชัย ก็ น้อยนเร.... น้อยซัย  นะครับ
                         ....อิ อิ

 2. ถ้าเคยบวชพระมาแล้ว....   จะเรียก "หนาน" นำหน้าชื่อ
       ถ้าชื่ิอจริง ทิพย์ช้าง
          ก็จะเรียก หนานติ๊บจ๊าง

              งั้นพี่ชัย ก็ หนานนเร...หนานซัย นะครับ

  ทางใต้
     ผมไม่แน่ใจนะ ลืมละครับ...
       1. "ต้น"    เช่น ต้นหริ่ง ...
              ก็คือ พระ  รูปที่ชื่อ หริ่ง...  ที่ยังบวชเป็นพระอยู่ ใช่ไหมครับ 
       2. แล้ว "บ่าว"ล่ะครับ ....เช่น บ่าวเคียง
              คือ คนหนุ่มธรรมดา ที่ชื่อ เคียง ......หรือว่าไงครับ?
        3. "เจ้า" ก็อีกคำ เช่น เจ้ากั้น เจ้าเลื่อน น้าเจ้า...
              ตอนอยู่ใต้ ผมก็เรียกๆไป โดยไม่ค่อยเข้าใจความหมายนะครับ...
                   แต่ ไม่รู้จะถามใคร   
 
      วานคนกรุงเตพฯ อย่างพี่ชัย/หรือคุณเผ่าพงษ์ .... ช่วยเฉลยหน่อย
            (ผมเป็นคนขี้สงสัยมาแต่เด็ก)
          ว่า คนใต้ ที่สึกมาจากเณร(หรือ ที่นิยมออกเสียงว่า "เดน"...อิ อิ)....จากพระ
                เราจะมีคำอะไร นำหน้าครับ
     

                      :76........คันหัวเลย อะครับ


บันทึกการเข้า

เผ่าพงษ์ ปัตตานี

  • ชาวบ้านเพลงไทยอาวุโส
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2009
  • กระทู้: 507
  • Thank You
  • -Given: 3223
  • -Receive: 2009
Re: อิทธบาทสี่
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: สิงหาคม 01, 2013, 11:37:16 PM »
     ขออนุญาตทำท่าว (ทำใหญ่) แทนพี่หลวงชัย เพื่อเฉลยครูลือ/หนานลือ ไว้สักนิดนะครับ ตามที่ท่านสงสัยคำเรียกขานภาษาใต้เท่าที่บ้านผมเขาพูดกันครับ
     ๑.ต้น : ใช้กับพระสงฆ์ที่ยังอยู่ในสมณะเพศ ส่วนใหญ่จะเป็นพระทั่วๆไปที่ยังไม่มียศฐาบรรดาศักดิ์ เช่น ต้นศักดิ์ (พระสงฆ์ที่ชื่อศักดิ์)
     ๒.บ่าว : ใช้เรียกผู้ชายตั้งแต่วัยเด็กๆจนถึงวัยผู้ใหญ่ที่ยังไม่ได้บวชเรียนมาก่อน (คนดิบ) เช่น บ่าวลือ บ่าววี เป็นต้น
     ๓.เจ้า : บางทีเห็นใช้กันสองแบบ กล่าวคือบางพื้นที่ทางใต้เขาใช้เรียกพระสงฆ์ก็ได้หรือใช้เรียกคนที่เคยบวชแล้วก็ได้ แต่ต้องคนที่อาวุโสสักหน่อย เปอร์เซ็นต์จะมาทางผู้ที่บวชแล้วสึกมาแล้วมากกว่าครับ เช่น เจ้าใกล้ (คนชื่อใกล้/พระสงฆ์ชื่อใกล้ก็ได้)
     ๔.หลวง : ใช้เรียกคนที่เคยบวชมาแล้ว เช่น หลวงแท่ก (นายแท่ก ผู้ที่เคยบวชมาแล้ว) หลวงไก่ หรืออาจเติมคำว่า พี่นำหน้าได้ถ้าผู้นั้นอาวุโสกว่าเรา เช่น พี่หลวงชัย เป็นต้น หรือบางครั้งใช้เรียกผู้ที่เคยบวชมาแล้วว่า "เณร" ก็มีเหมือนกัน ส่วนมากจะใช้กรณีผู้อาวุโส/ผู้เฒ่า ใช้เรียกลูกหลานที่ใกล้ชิด สำหรับบางคนที่เคยบวชเณรมาก่อนแล้วอั๊พเกรดเป็นพระต่อเมื่อถึงวัยบวชก็ได้. เช่น เณรคง คือ นายคงที่เคยบวชเณรมาก่อน ถึงแม้ตอนหลังมาบวชพระแล้วด้วย แต่เรียกกันติดปากกันมาตั้งแต่เป็นเณร เลยตามเลย อันนี้น่าจะผิดหลักการสักหน่อยครับ
       ยกเว้น กรณีที่คนๆนั้นยังเป็นพระสงฆ์อยู่ก็เรียกหลวงได้เหมือนกัน เช่น หลวงชัย หลวงตา เป็นต้น
       หมายเหตุ : ภาษาใต้บางพื้นที่อาจมีเพี้ยนกันได้บ้างในความหมายเดียวกันก็มี. อันนี้ต้องขอให้ผู้ที่รู้กว่าทั้งหลายช่วยกันเฉลยเพื่อเป็นวิทยาทานสำหรับสมาชิกได้กระจ่างด้วยครับ  โดยเฉพาะนักค้นคว้าอย่างลุงชัย เดี๋ยวท่านคงมีอะไรที่ดีๆมาแชร์กันอีกครับ  สำหรับผมคงเล่าสู่กันฟังในลักษณะเท่าที่รู้มาเท่านั้นครับ  ผิดพลาดประการใดขอให้ช่วยกันชี้แนะได้ครับไม่สงวนลิขสิทธิ์


บันทึกการเข้า

ลือ

  • ฟังดนตรีเถิด ชื่นใจ...
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 4069
  • กระทู้: 864
  • Thank You
  • -Given: 3919
  • -Receive: 4069
  • ชอบเพลงลูกกรุงเก่าๆครับ
Re: อิทธบาทสี่
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2013, 06:59:49 AM »
ขอบคุณครับ คุณเผ่าพงษ์
    คุณเผ่าพงษ์ไม่ได้ทำเฒ่า -ทำท่าว-ทำใหญ่ (ทำเป็นรู้ดี/เจ้ากี้เจ้าการ)เลยครับ...
        และผมขอขอบคุณที่ช่วยตอบ..
    เพราะนี่ก็กลัวเหมือนกัน กลัวจะหาว่า ผมทำนุ้ย-ทำเอียด (ทำเป็นเด็ก-ทำเป็นไม่รู้เดียงสา)
              ที่ถามมา...

      1. ผมว่าชัดเจนนะครับ..พอคุณเผ่าพงษ์บอกคำว่า "หลวง"มา
           ผมก็นึกถึงญาติฝั่งแม่ ที่บ่อสระ ขึ้นมาทันที
        น้องแม่ ก็น้าหลวงเชี่ยง...พี่แม่ ก็ ลุงหลวงพิณ
          (ซึ่งไม่กล้าถามใคร ว่าทำไมต้องมีคำว่าหลวงด้วย)

            ( ส่วนฝั่งพ่อ...ไม่เข้าข่าย พระ/เณร นี้เลย
       เพราะจะเรียกอย่าง ชิโน-(แต่ไม่โปรตุเกสนะครับ..555)
            คือจะ.... จีนอ (-จีน) ล้วนๆ    ท่าทางจะไหหลำ นะ บ้านผม...
       ก็ มีเรียกกัน ว่า โบ๊เด โกบ่าว ฉีนุช ฉีเคี้ยง เดหย่วน อี่(น้าหญิง) เกา(อาหญิง)...ฯลฯ )
 
      แล้วคำว่า หลวง ที่ใช้กับพระที่ยังครองสมณเพศ .....
            ผมก็นึกได้ ว่าสมัยโน้น เคยมี น้าหลวงดี ที่วัดสุวรรณากร
        ท่านเป็นพระที่ผมรักและนับถือ เพราะท่านใจดีมากๆ..เวลาไปขอใบไม้ ดอกไม้ เอามาทำช่อไหว้ครู
    กุฏิ(เตะ)ของท่าน อยู่ติดกับสนามฟุตบอลโรงเรียน ยกพื้นสูง มีบันไดปูนสวย
         ปลูกกล้วยไม้ เฟินบอสตัน เฟินข้าหลวง เต็มด้านหน้า และด้านข้างกุฎิ...
          (น้าหลวงดีมรณภาพด้วยโรคมะเร็งกระดูก...คิดว่าพ่อท่านรัน ก็ต้องเคยรู้จักครับ)
       
          แต่ เณร...สำหรับคนที่เคยบวชเณรมาก่อน....
             เหมือนว่า ผมจะไม่เคยมีโอกาสได้เรียกใครเลย...หรือว่า นึกไม่ออกซะเอง
                                   :60 :60
                จากบ้านเกิดปักษ์ใต้มา ตอน พ.ศ. 2526...
                        มาอยู่กรุงเทพฯ 11 ปี.... เชียงใหม่ 19 ปี..
             ตอนนี้ ก็ 30 ปีเต็มแล้วหรือ ....โอ้โห แป๊บๆ เองนะ สำหรับผม

                   มาเจอ พี่ชัย/คุณเผ่าพงษ์ คนใต้ด้วยกัน ในเว็บ...
           หน้าตาจริง ก็ไม่เคยเห็นกันเลย ..... แต่แถลง แข่งคุยภาษาใต้กัน สนั่นลั่นบ้าน
                เป็นที่หนวกหู ของเพื่อนๆบ้านเพลงไทย มาตลอด...รู้ตัวครับ
           
     ก็เพราะ ไม่ค่อยได้คุยใต้กับใครมานาน... ท่านที่ผ่านมาอ่านเจอ โปรดให้อภัย เถิดนะครับ
           30 ปีนี้ กลับไปเยี่ยมบ้าน แค่ 3 ครั้งเอง..1. แม่เสีย/2.หลานแต่งงาน/3.พี่สาวเสีย...
                    น่าจะรวมๆ ว่ากลับมาบ้าน .... 20 วัน ถึงไหมเนี่ย?
                       ผมก็ไม่ได้คิดอะไร เท่าไร....เรื่องนี้
             ตราบจน ครั้งล่าสุด เมื่อ 3ปีที่ผ่านมา กลับไปงานศพพี่สาวคนโต
         อนันต์ -เพื่อน(บ้านอยู่หลังเขา)ที่เคยเรียน ป.7ด้วยกัน-วัย 55 ณ ตอนนั้น...เป็นตำรวจ
     ก็มานั่งในงานของพี่ที่วัด ก่อนหน้าผม
            ผมเดินเข้าไป.. มีใครคนนึง วิ่งเข้ามากอดผมแน่น สะอื้นร้องไห้...น้ำตาอาบแก้ม
    เป็นอนันต์นี่แหละ ...เขาพูดว่า  "เพื่อนเหอ นึกว่าจะไม่ได้เห็นหน้ากันอีกแล้ว ชาตินี้..."
      เพื่อนเป็นคนแกร่ง เมื่อพูดมาอย่างนี้...ผมน้ำตาซึม จุกในหัวอกเลยครับ
        ....ซาบซึ้งคำพูดของเพื่อนมากๆ

           และเลยได้สำนึกว่า  ผมจากบ้านมา ...นานมาก เหมือนลับหาย
               ...เข้าขั้นสาปสูญ อย่างที่เขาว่ากัน... จริงๆแน่เลย
    เพราะ พอเจอเพื่อนอีกหลายคน เขาก็พากันต่อว่าผม
         ว่า ทำไมไม่เคยกลับมาเลย เหมือนหายไปจากโลกนี้ ...
                                  ...ประมาณนั้น
         " เฮ  ไส่ล่ะ....ไส่ไมห๊อนหล็อบม่ามัง
                        เหมื๊อนห๊ายไป๋เล่ย จากโหลกนี นิ..."
   
         ผมคงใช้อิทธิบาท 4 ...ในการจากบ้านเกิด จริงจังไปหน่อยครับ
             คือ เมื่อตกลงว่าจะไปละนะ  ก็ตั้งหน้าตั้งตา ไปข้างหน้าเต็มที่...ไม่หันหลังกลับ
           

                 

                           :61 :61 :61 :61


บันทึกการเข้า

อาคม ดอนเมือง

  • ชาวบ้านเพลงไทยอาวุโส
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2051
  • กระทู้: 398
  • Thank You
  • -Given: 3296
  • -Receive: 2051
Re: อิทธบาทสี่
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2013, 08:12:07 AM »

   ขอบคุณลุงชัยฯ ที่ทำให้ อิทธิบาทสี่ เป็นเรื่องที่เข้าใจง่าย ขอบคุณคุณเผ่าพงษ์ฯ
ที่ทำให้การใช้สรรพนามเกี่ยวกับพระได้ถูกต้อง ขอบคุณคุณลือ ที่มาช่วยเสริมเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
ให้กระทู้นี้มีสีสันและดูน่าอ่านยิ่งขึ้น ชีวิตผมก็คล้ายๆกับคุณลือ (อีกแระ) คือตั้งแต่จากบ้านเกิดมา
 (ตอนอายุ 17) ก็ไม่ได้กลับบ้านสักเท่าไหร่นอกจากมีงานสำคัญสุดๆอย่างที่คุณลือ ว่าไว้ นานๆ
กลับทีถ้าไปเจอเพื่อนฝูงที่เคยเรียนหนังสือมาด้วยกันก็จะดีมากๆรีบเข้าไปจับไม้จับมือและกอดกัน
อย่างมีความสุข บางคนก็เปลี่ยนไปจนจำแทบไม่ได้แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ไม่เห็นหน้าค่าตากันตั้ง
แต่จากมาจนบัดนี้ซึ่งเป็นไปได้สูงว่าชาตินี้อาจจะไม่พบเจอกันอีกเลยเหมือนตายจากกัน (ทั้งเป็น)
ประมาณนั้น ถ้าท่านใดมีแง่มุมชีวิตเป็นอย่างไรบ้างก็ช่วยกันมาขยายความต่อไปอีกนะครับเพื่อจะ
ได้สาระและความบันเทิงเริงใจไปพร้อมๆกัน อย่าถือว่าเป็นการปั่น (กระทู้) เลยนะครับ เราชาวบ้าน
เพลงไทยไปไหนไปกันอยู่แร้วว อิ อิ อิ ผมเขียนไม่ค่อยเก่ง ถ้าวกไปเวียนมาก็ทนๆเอาหน่อยนะครับ


บันทึกการเข้า

เผ่าพงษ์ ปัตตานี

  • ชาวบ้านเพลงไทยอาวุโส
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2009
  • กระทู้: 507
  • Thank You
  • -Given: 3223
  • -Receive: 2009
Re: อิทธบาทสี่
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2013, 04:41:35 PM »
     ที่ผมใช้คำว่า "ทำท่าว" นั้น จริงๆผมแกล้งแซวไปยังลุงชัยด้วยครับ เพราะเห็นแกชอบใช้คำนี้บ่อยๆ เผื่อแกแวะผ่านมาทางนี้จะได้โต้ตอบเสริมเพิ่มเติมมาในฐานะถูกพาดพิงครับ
     ส่วนการเรียกขานญาติพี่น้องเชื้อสายจีนก็น่าสนใจครับ ผมไม่ค่อยเข้าใจลึกซึ้งนัก อยากรู้เหมือนกัน
     "งานทำบุญเดือนห้า" (วันว่าง) ประเพณีภาคใต้
     ที่บ้านผมโบราณประเพณีเขามีกุศโลบายในการให้ลูกหลานมารวมญาติกันปีละครั้ง โดยมีประเพณีทำบุญเดือนห้าที่ยิ่งใหญ่ ถือว่าสำคัญมากครับ ในวันนี้จะตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๕ ลูกหลานทุกคนจะต้องไปขัดถูบัว (เจดีย์เล็กๆที่บรรจุกระดูกคนตาย มียอดสูงแหลม) ของบรรพบุรุษพ่อแม่ปู่ย่าตายายที่เสียชีวิตไปแล้วให้สะอาดเกลี้ยงเกลา แล้วทาสีใหม่ ถากหญ้า ตัดแต่งต้นไม้ที่ขึ้นรกร้างให้เตียน ขึงสายสิญห์เชื่อมโยงจากบริเวณพิธีมายังบัวเราให้ทั่วถึงกัน พอตกกลางคืนประมาณ ๑ ทุ่ม ลูกหลานก็จะมาจุดเทียนธูปพร้อมวางช่อดอกไม้แลดูสว่างไสวไปทั่วป่าช้าแทบไม่ต้องใช้ไฟฟ้าส่อง บางรายก็มีการจุดประทัดบวงสรวงปู่ย่าตายายก็สุดแท้จะทำกัน เมื่อถึงเวลาพระสวดห้ามมีเสียงดังรบกวน
     ในช่วงตอนกลางวันที่บ้านญาติพี่น้องฝ่ายผู้หญิงก็จะทำต้มสามเหลี่ยมห่อใบกะพ้อ ข้าวต้มมัดเสริม ขนมเจาะรู/เจาะหู (คล้ายๆโดนัด) ทอดด้วยน้ำมันมะพร้าวที่พวกผู้ชายเคี่ยวเอาไว้แล้วตั้งแต่วันวาน บางครั้งอาจมีขนมลาด้วยก็ได้ พวกผู้หญิงน่าสงสารหน้าดำคร่ำเครียดอยู่แต่ในครัวขลุกกันทั้งวัน แต่ก็สนุกสนานเพราะว่าทำไปแล้วได้คุยกันไปตามประสาพี่น้องไม่ได้เจอกัน ๑ ปีเต็มๆ ถ้าใครไม่กลับมาบ้านเกิดก็จะสงสัยถามหากันเสียงขรม พวกเด็กๆคอยตอดกินของที่เริ่มสุก แล้วเตรียมอาบน้ำแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าใหม่ที่แม่ซื้อให้จากตลาดนัด เสร็จแล้วแม่ครัวก็จะคัดของดีๆสวยๆเอาไปถวายพระที่วัดในวันสำคัญเป็นสิริมงคล
     พวกผู้ชายที่เป็นคนหนุ่มและผู้ใหญ่ตั้งวงเหล้า,น้ำตาลเมา กันเพื่อฉลองกันหลังจากทึ่ได้แยกย้ายกันไปทำงานคนละทิศละทางในห้วงหนึ่งปีเช่นกัน ทุกคนคอยฟังเสียงแม่ครัวบนบ้านเรียกให้ช่วยทำโน่นทำนี่ที่เป็นหน้าที่ของฝ่ายชาย เมื่อกับแกล้มหมดหรือพร่องไปก็จะตะโกนเรียกหาจากบรรดาแม่ครัวนั่นเอง บางทีก็ถูกด่าเล่นๆสวนมาเพื่อให้ได้เฮฮากันในหมู่พี่น้อง ผมจะรู้สึกสุขใจทุกครั้งที่ได้ไปร่วมแจมกับพวกเขาเหล่านั้นเกือบทุกปี 
     ในตอนเย็นจนถึงคืนค่ำวันนั้น จะมีการชักเรือพระมุ่งสู่ป่าช้าเพื่อทำพิธีสวดทำบุญกระดูกบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว หลังพระสวดจบจะมีมหรสพละเล่นหลายอย่าง เช่น หนังตะลุง หนังฉายกลางแปลง วงดนตรี ออกร้านขายของมากมาย ตกเย็นวันรุ่งขึ้นทุกคนจะมาร่วมกันชักเรือพระกลับวัดเป็นอันเสร็จพิธี วันต่อมาต่างคนก็ร่ำลากันไปตามวิถีทางของตน รอปีหน้าวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๕ เจอกันอีกที
     ทุกคนจะใช้โอกาสนี้เป็นวันพบปะสังสรรค์กันกับพี่น้องและเพื่อนเก่าๆ ที่ไม่ได้เจอกันแรมปี ถ้าปีที่แล้วไม่ได้มาญาติพี่น้องหรือเพื่อนๆจะรุมกันซักถามอย่างเอาจริงเอาจัง หรืออาจน้อยใจที่ไม่ได้เจอเราก็มี  นี่คือกุศโลบายที่บรรพบุรุษโบร่ำโบราณท่านได้สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันที่บ้านผมครับ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 02, 2013, 08:15:05 PM โดย เผ่าพงษ์ ปัตตานี »
บันทึกการเข้า

ลือ

  • ฟังดนตรีเถิด ชื่นใจ...
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 4069
  • กระทู้: 864
  • Thank You
  • -Given: 3919
  • -Receive: 4069
  • ชอบเพลงลูกกรุงเก่าๆครับ
Re: อิทธบาทสี่
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: สิงหาคม 03, 2013, 12:07:14 PM »
  อ่านแล้ว ประทับใจในกิจกรรมของวิถีชีวิตครับ...
        ถ้ำบุ๋ญโดก(ทำบุญกระดูก)....และ ชักพระ คือการเรียกรวมญาติ
            สมานความสัมพันธ์ของคนในสกุล

       คนวัยเรา คุยกัน...ชีวิตมาถึงนี้ได้ เพราะรู้จักใช้ อิทธิบาท 4 ในการดำรงตน
  เริ่มจาก ครูสอน..เราจด ท่องจำ และนำมาใช้จริง
     ....รักงาน 
            อดทนกับมัน
          เหนื่อย ก็มานะ ฮึดสู้
               มีปัญหาก็ตั้งสติ ใส่ใจ ใฝ่ตรอง หาทางแก้
                         :05 :05

           เยาวชนรุ่นล่าสุด เขาจะตระหนักไหมหนอ เรื่องนี้
    เพราะครูออกคำสั่ง ให้ค้นคว้าเอง
           เรื่องอิทธิบาท 4 ....แล้วทำรายงานมาส่ง
        เด็กจำนวนไม่น้อย บอก ง่ายจะตาย แค่ให้กูเกิ้ลหาให้
             นี่ไง เจอแล้ว....
      จดก็ไม่จด....อ่านก็ไม่อ่าน
         สั่งคอมปริ๊นท์....แล้วถ่ายเอกสาร เผื่อเพื่อนด้วย
             เข้าเล่ม ....จ่ายตังค์ให้ที่ร้าน
               ไม่เคยคิดจะเปิดดู....
                     ส่งครู....จบ
           เหมือนจะเป็นเช่นนี้ ณ สมัยนี้

                    :26 :26


บันทึกการเข้า

ลุงชัยนรา

  • ความเปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร์
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3715
  • กระทู้: 910
  • Thank You
  • -Given: 3245
  • -Receive: 3715
  • ชีวิตนี้ยอมพลี เพื่อแผ่นดิน
Re: อิทธบาทสี่
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: สิงหาคม 05, 2013, 04:16:13 PM »
..ผมซาบซึ้งมาก..จนน้ำตาคลอเบ้าเลยครับ(จริงๆ ไม่ได้โม้)...ที่กระทู้นี้ของ ผม ทำให้ความหลังกลั่นตัวออกมา..จากหัวใจ ของหลายๆท่านที่เข้ามาเสริม.....
..คนเราก็เท่านี้แหละท่าน...เกิดมา คงอยู่ เปลี่ยนแปลง..และดับสลาย
1. ถ้าเิกิดมา และยังคงอยู่ ก็ต้อง
2. เปลี่ยนแปลง...สุดท้าย ก็
3. ดับสลาย
.....เป็นธรรมดา ของสัตว์โลกทุกชนิด ทุกเผ่าพันธ์ ไม่มียกเว้น แม้แต่สิ่งไม่มีชีวิต... แต่สร้างชีวา คือ ทะเล ภูเขา สายน้ำ...ถ้าไม่มีการจ้ดการบริหาร อย่างดี ก็ไม่มีข้อยกเว้น(เรื่องธรรมมะกับชีวิต เอาแค่นี้ก่อนนะครับ เดี๋ยวท่านมหาสุนันท์ จะว่าเอา ว่าแย่งงาน(เทศน์) ของท่าน)
....ส่วนเรื่องการเรียก กันแถวๆตากใบ(บ้านเมีย) นี่ก็มีข้อแตกต่างนิดหน่อย
1.ผู้ชายถ้ายังเด็กๆ จนโตใกล้บวช จะเรียก "ตา" เช่น ตาลือ ตาชัย ตานันท์
ตาภพ ตาธง ฯลฯ  ถ้าเล็กมากๆไม่รู้จักชื่อเรียกด้วยความเอ็นดู ก็จะเรียกว่า"ตานุ้ย" เหมือน"บักหำหน่อย" หรือ"อ้ายบ่าว" นั่นแหละส่วนเด็กผู้หญิง ก็จะเรียกว่า"กือนุ้ย"
2.ถ้าบวชแล้ว สึกมาก็เรียก"เจ้า" เช่น เจ้า(เณร)คำ เจ้าดำ เจ้าแดง เจ้าชัย เจ้าเผ่า ฯลฯ และคนที่สึกมาแล้ว จะเรียก พ่อ แม่ตนเอง ว่า "บิดา" มารดา"
3.ส่่วนผู้หญิง นื่ไม่ว่าเล็ก ใหญ่ มีครอบครัวแล้ว ก็จะเรียกว่า"แอ" หรือ "กือ" นำหน้า เช่น กือนา แอนา กือน้อย แอน้อย กือพร แอพร  แต่ถ้า สนิทสนมกันมาก หรือในหมู่ญาติ มิตร ก็จะมี"อี" หรือ"โต๊ะ" นำหน้า คำว่า"โต๊ะ" นี่มักจะเรียกประชดเด็กๆ ที่ทำตัวแก่แดดเกินวัย เพราะ "โต๊ะ" นี่หมายถึง  ทวด
4.การเรียกญาติผู้ใหญ่ ก็จะมีคำว่า"พ่อ" กับ"แม่"นำหน้่า เช่น
น้าผู้ชาย = พ่อน้า
น้าผู้หญิง= แม่น้า
ลุง = พ่อลุง
ป้า = แม่ป้า

3.คำว่า"กือ" นี่ใช้เรียก ผลไม้ ทุกชนิด เช่น โลกกือเรียน = ทุเรียน โลกกือไต๋ =สะตอ โลกกือไต๋เบ๋า(สะตอเบา) =กระถิน
น่าว่าจะพอก่อนเนาะ เรื่อง ภาษา เจ๊ะเห
....แต่ยังมีข้อของใจ อยากเรียนถามท่านเผ่าพงษ์ว่า...การทำบุญเดือนห้า และการชักพระ ในเดือนนี้ที่ท่านเล่าให้ฟังนั้น นั้นคล้ายๆ แถวทุ่งเมรุ นาม่วงซะเหลือเกิน ครับท่าน


บันทึกการเข้า

มหาสุ

  • **แก้ไข**
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 749
  • กระทู้: 135
  • Thank You
  • -Given: 323
  • -Receive: 749
Re: อิทธบาทสี่
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: สิงหาคม 16, 2013, 04:34:30 PM »
      ตอนนี้หลายๆท่านก็ อทฺธํโสโต เป็นผู้มีกระแสในเบื้องบน(บรรลุโสดาบัน) กันแล้ว จากธรรมะที่มีหัวข้อธรรมที่ชื่อว่าธรรมที่ทำให้สำเร็จความประสงค์ทุกอย่าง(อิทธิบาท ๔ ประการ)
     มีเรื่องประกอบในสมัยพุทธกาล คือการเจริญอิทธิบาท4ทำให้อายุยืน อยู่ได้เป็นกัป
โพชฌังคปริตร(ย่อ):
“…ครั้งหนึ่ง พระมหาโมคคัลานะและพระมหากัสสปะป่วย พระพุทธเจ้าเสด็จไปเยี่ยม และแสดงโพชฌงคธรรม7ประการ คือ ธรรมแห่งความตรัสรู้ อันได้แก่ สติ ธรรมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา ให้ท่านทั้งสองฟัง เมื่อท่านทั้งสองได้ฟังก็หายจากโรคที่เป็นโดยพลัน แม้ยามพระพุทธเจ้าเอง ท่านประชวร ก็รับสั่งให้พระจุนทะสวดให้ฟัง แล้วพระพุทธเจ้าเองก็ทรงหายจากโรค เช่นเดียวกัน”
      จากพระปริตรที่ว่ามา   ถ้าพิจารณาดีๆ จะเห็นว่า พระองค์ให้พิจารณาธรรม นั่นเอง คือ เมื่อน้อมไปตั้งสติ พิจารณาธรรม ด้วยความพยายาม จนเกิดความปีติในธรรม ก็จะเกิดความสงบผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ
จิตก็ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว จนปล่อยวางสละคืนทุกอย่างสู่ความเป็นกลางได้ แสดงว่า การพิจารณาธรรม หรือวิปัสสนา มีผลอย่างยิ่ง ต่อร่างกาย และจิตใจ เมื่อเทียบกับตัวอย่างทางโลก คือ เอนดรอฟิน
ที่ร่างกายจะผลิตมา ทำให้มีความสุข เหมือนมอร์ฟีน  มีผลทำให้ร่างกายผ่อนคลาย สร้างภูมิต้านทางโรค
ตลอดจนช่วยรักษาอาการโรคต่างๆได้ โดยเกิดจาก การกระทำซ้ำๆ อย่างต่อเนื่อง ด้วยความไม่คิดอะไร สบายๆ
         ถ้าจะเปรียบกับทางพุทธ ก็คือ ความสุข ที่เกิดจาก การมีสติต่อเนื่อง จนร่างกายสงบผ่อนคลาย จิตเป็นสมาธิ เกิดปีติ สุข นั่นเอง แสดงว่า จิตใจมีผลต่อร่างกายจริงๆ
      ดังนั้นเมื่อเทียบกันกับที่ พระพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์ว่า พระองค์ปรารถนาจะอยู่เป็นกัป หรือ เกินกว่าก็ได้ ด้วยการเจริญอิทธิบาท4นั้น การเจริญอิทธิบาท4 อันได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ด้วยการพอใจ พยายาม เอาใจใส่ ในการพิจารณาหาเหตุผลในธรรม ก็เป็นการพิจารณาธรรมเช่นกัน
      แสดงว่า การพิจารณาธรรม สามารถทำให้หายจากโรคได้ และทำให้อายุยืนได้จริงๆ

                  และอีกที่หนึ่งกล่าวไว้ว่า
      ๑.    ความในพระสูตร “ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้ … ดูกรอานน ผู้หนึ่งผู้ใดเจริญอิทธิบาทสี่ ทำให้มาก ทำให้เป็นประหนึ่งยาน ทำให้เป็นประหนึ่งวัตถุที่ตั้งไว้เนือง ๆ อบรมไว้ ปรารภด้วยดีโดยชอบแล้ว ผู้นั้นเมื่อปรารถนาก็พึงดำรงชีวิตได้ตลอดกัปหรือเกินกว่ากัป”
    ๒.    ความหมายของความในพระสูตร
    “ทำให้มาก” หมายถึงการเจริญอิทธิบาทสี่ โดยอาศัยสมาธิให้มากให้ต่อเนื่อง
    “ทำให้เป็นประหนึ่งยาน” คือการอาศัยอิทธิบาทในสมาธิเป็นตัวขับเคลื่อนเพื่อทำให้ความ “ปรารถนา” ปรากฏเป็นจริง
    “ทำให้เป็นประหนึ่งวัตถุ” คือการเจริญอิทธิบาทโดยกำลังสมาธิจนจิตมีความตั้งมั่นสูงสุด ไม่มีโทมนัส โสมนัส มีแต่ความเป็นอุเบกขาและสติมั่นคง
    “อบรมไว้” คือการเจริญอิทธิบาทโดยอาศัยกำลังสมาธิให้มีความก้าวหน้ามั่นคงเป็นลำดับไป
    “ปรารภด้วยดีโดยชอบ” คือการพิจารณาเห็นความจริงตามธรรมชาติว่าอายุ สังขารนั้นมีปกติยืนยาวได้ถึงกัปหรือกว่ากัป และอิทธิบาทธรรมคือยานหรือเครื่องมือในการทำให้อายุ สังขารเป็นธรรมชาติ คือยืนยาวถึงกัปหรือกว่ากัป แล้วมีความปรารถนาที่จะมีอายุถึงกัปหรือกว่ากัป
    “เมื่อปรารถนา” คือการตั้งอธิษฐานหรือกระทำอธิษฐานฤทธิ์ ปรารถนาให้อายุ สังขารยืนยาวตลอดกัปหรือเกินกว่ากัป (คำว่าปรารถนาโดยทั่วไปอาจมีความหมายโน้มไปในลักษณะที่มีกิเลสเจือปน แต่ปรารถนาในที่นี้มีความหมายในลักษณะที่ใกล้เคียงกับคำที่ว่าเจตนา นั่นคือเมื่อปรารภด้วยดีโดยชอบแล้วจิตก็น้อมไปตั้งอธิษฐานโดยมีเจตนาให้อายุ สังขารเจริญตลอดกัปหรือกว่ากัป : นี่คือปัญหาของภาษาที่อาจทำให้ความเข้าใจไขว้เขวห่างไกลออกไปจากพุทธธรรม)
    ๓.    ตัวอย่างในระยะใกล้ของการเจริญอิทธิบาทสี่
    ในโพธิกาลและอดีตกาลโพ้นมีแบบอย่างมากมาย แต่เฉพาะในระยะใกล้นี้ก็มีตัวอย่างให้เห็นถึงการเจริญอิทธิบาทสี่ เช่น
    ๓.๑    กรณีสมเด็จพระสังฆราชเจ้าองค์พระอุปัชฌาย์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอุปสมบท ครั้งนั้นสมเด็จพระสังฆราชเจ้าทรงประชวรหนัก มีอาการมาก ไม่อาจทรงพระวรกายตั้งอยู่ให้เป็นปกติได้นาน ๆ ถึงขนาดที่ทรงวิตกว่าเมื่อถึงกาลพิธีอุปสมบทอาจจะไม่สามารถลงพระอุโบสถได้ แต่ในที่สุดก็ทรงรำลึกถึงความในพระสูตรข้างต้น ดังนั้นเมื่อถึงเวลาจะลงพระอุโบสถเพื่อทำพิธีอุปสมบทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระสังฆราชเจ้าก็ได้เข้าสมาธิเจริญอิทธิบาท แต่ทรงตั้งปรารถนาเพียงแค่ให้สามารถดำรงพระวรกายเพื่อทำพิธีอุปสมบทให้เสร็จสิ้นเท่านั้น และตลอดเวลาดังกล่าวก็ทรงปฏิบัติหน้าที่พระอุปัชฌาย์ได้บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดพิธีด้วยกำลังอำนาจสมาธิและอิทธิบาทนั้น
    ๓.๒    เมื่อครั้งที่ท่านเจ้าคุณพุทธทาสอาพาธหนัก มีอาการมาก มีอาการหัวใจวาย เส้นเลือดหัวใจตีบ น้ำท่วมปอด และความดันโลหิตสูงมาก คณะแพทย์หลวงลงไปที่ไชยา แล้วอัญเชิญกระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปถวายท่านเจ้าคุณถึงเตียงผู้ป่วย เมื่อท่านเจ้าคุณพยุงกายในท่านั่งสมาธิบนเตียงผู้ป่วยแล้ว แพทย์หลวงได้อัญเชิญพระราชกระแสว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขออาราธนาว่าอย่าเพิ่งดับขันธ์ ขอให้อยู่ช่วยจรรโลงพระพุทธศาสนาก่อน ครั้งนั้นท่านเจ้าคุณอึ้งอยู่ครู่หนึ่งแล้วพยักหน้า และกล่าวว่าอาตมารับอาราธนาแต่จะอยู่เพียงเท่าที่เหตุปัจจัยจะอำนวยให้เท่านั้น
    คืนวันนั้นท่านเจ้าคุณได้เข้าสมาธิ เจริญอิทธิบาทสี่ตามที่รับอาราธนา ในวันรุ่งขึ้นอาการเส้นเลือดหัวใจตีบหายไป อาการน้ำท่วมปอดลดลงเกือบหมด ความดันโลหิตสูงลดลงเป็นปกติ หลังจากพักฟื้นระยะหนึ่งท่านเจ้าคุณก็หายเป็นปกติและปฏิบัติศาสนกิจต่อมาอีกหลายปี จนถึงปลายปีก่อนดับขันธ์เป็นเดือนธันวาคม ท่านเจ้าคุณได้ปลงอายุสังขารท่ามกลางพุทธบริษัทจำนวนมากว่าได้รับอาราธนาพระเจ้าอยู่หัวไว้ และได้อยู่ต่อมาเป็นเวลาสมควรแล้ว ภาระหน้าที่หมดแล้ว เหตุปัจจัยที่จะอยู่ไม่มีแล้ว จึงขอลาท่านทั้งหลาย
    เหตุการณ์ในวันนั้นในพลันที่ท่านเจ้าคุณปลงอายุสังขารเสร็จ สายลมกรรโชกแรง ใบไม้ร่วงกราวทั้งสวนโมกข์ พุทธบริษัทร่ำไห้ทั่วทั้งลานธรรม และมีการแจ้งข่าวเรื่องท่านเจ้าคุณปลงอายุสังขารไปยังสานุศิษย์โดยถ้วนหน้ากัน   
    ๓.๓    เมื่อครั้งที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงประชวรหนัก มีอาการมาก มีข่าวลือไปถึงเขมรว่าทรงสิ้นพระชนม์แล้ว แต่ปรากฏว่าไม่เป็นความจริง
    ในครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จเยี่ยมสมเด็จพระสังฆราชถึงเตียงที่ประทับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตรัสว่าพระอาจารย์ พระอาจารย์ หม่อมฉันและพระราชินีมาเยี่ยม ยาที่ไหนดี หมอที่ไหนดี ก็หามาช่วยรักษาพระอาจารย์หมดแล้ว ต่อไปนี้พระอาจารย์ต้องช่วยพระองค์เองแล้ว จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินกลับ
    สมเด็จพระสังฆราชทรงเล่าให้ผู้ใกล้ชิดฟังว่า ในเวลานั้นพระองค์เข้าอยู่ในภวังค์ (โคม่า) แล้ว ครั้นได้ยินพระสุรเสียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สติก็ฟื้นกลับมา ทรงได้ยินกระแสพระราชดำรัสชัดเจน ทรงรู้สึกพระองค์ว่าทรงพยักหน้า และทรงรำลึกถึงความในพระสูตรข้างต้นนี้ พระสติก็ตั้งมั่น และทรงเจริญอิทธิบาทสี่ ทำให้พระองค์สร่างคลายจากพระอาการประชวร
    ๔.    อิทธิบาทสี่คืออะไร? 
    อิทธิบาทสี่เป็นวิหารธรรมชนิดหนึ่ง คือเป็นที่ตั้ง ที่อาศัยของจิต เนื่องจากร่างกายต้องมีอาคารเป็นที่พักที่อาศัย หลบร้อนหลบหนาวให้ปลอดภัยจากอันตราย จิตก็มีอาคารเป็นที่พักอาศัย คือวิหารธรรม หากไม่มีวิหารธรรมจิตก็จะเปลี่ยวเปล่าล่อนจ้อนร้อนรุ่มและเป็นอันตรายได้โดยง่าย วิหารธรรมใดจิตเข้าไปตั้งไปอาศัยก็ได้ชื่อว่าจิตสถิตในวิหารธรรมนั้น เช่น พรหมวิหาร อานาปานสติวิหาร อิทธิบาทวิหาร อริยวิหาร ตถาคตวิหาร เป็นต้น อริยวิหารและตถาคตวิหารนั้นเป็นวิหารธรรมขั้นสูง ตั้งแต่การบรรลุถึงอรูปฌานจนถึงภูมิพระอรหันต์ ส่วนพรหมวิหาร อานาปานสติวิหาร อิทธิบาทวิหารเป็นวิหารธรรมที่คนธรรมดาทั่วไปเข้าถึงได้ และเมื่อเจริญธรรมเหล่านั้นแล้วก็สามารถตั้งจิตไว้ในวิหารธรรมเหล่านั้นได้ และสามารถยกระดับที่สูงขึ้นไปได้ ดังที่พระตถาคตเจ้าทรงตรัสว่าพระองค์มีปกติอยู่ในอานาปานสติวิหาร
    อิทธิบาทสี่เป็นองค์ธรรมแห่งความสำเร็จ ประกอบด้วยฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา ความสำเร็จทั้งปวงไม่ว่าในทางโลกหรือทางธรรมจักสำเร็จได้ด้วยอิทธิบาททั้งนั้น หากขาดอิทธิบาทแล้วก็ยากที่จะประสพความสำเร็จ การฝึกฝนอบรมจิตและการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาพระตถาคตเจ้าจึงทรงเน้น ทรงย้ำเป็นอันมากว่าต้องอาศัยอิทธิบาท
    อิทธิบาทเป็นรากฐานหรือบาทฐานของอิทธิปาฏิหาริย์ นั่นคือการกระทำความสำเร็จอย่างอัศจรรย์ต้องอาศัยอิทธิบาท เหตุนี้อิทธิบาทธรรมสี่ประการคือฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา จึงได้ชื่อว่าอิทธิบาท ซึ่งแปลตรงตัวได้ว่าเท้าหรือรากฐานของการกระทำความสำเร็จที่อัศจรรย์ ถ้าไม่มีเท้าก็เดินไม่ได้ฉันใด ไม่มีอิทธิบาทก็กระทำอิทธิปาฏิหาริย์ไม่ได้ฉันนั้น
    เพราะการกระทำอิทธิปาฏิหาริย์นั้นต้องอาศัยกำลังสี่อย่าง คือ กำลังสมาธิ กำลังฌาน กำลังอิทธิบาท และกำลังอธิษฐาน กำลังทั้งหมดนี้กำลังอิทธิบาทก็คือกำลังเท้าหรือรากฐานของการทำความสำเร็จที่อัศจรรย์นั่นเอง
    ในอดีตกาลโพ้น การมีอายุตลอดกัปเป็นเรื่องปกติ เป็นเรื่องธรรมดา ดังที่พระตถาคตเจ้าทรงตรัสไว้ในหลายที่ว่าในกัปก่อน ๆ อายุมนุษย์เกินกว่าหมื่นปีก็มี และค่อยๆลดลงโดยลำดับ เพราะมนุษย์ทำเหตุปัจจัยให้อายุลดลงเอง และทรงตรัสว่าในปัจจุบันกัปนี้มนุษย์มีอายุแค่ ๑๐๐ ปี มากน้อยไปกว่านี้ก็ไม่มาก แต่ความหมายของคำว่ากัปในปัจจุบันกัปคือ ๑๒๐ ปี ดังนั้นจึงทรงแสดงไว้ในมหาปรินิพพานสูตรว่าผู้ที่เจริญอิทธิบาทสี่สามารถปรารถนาให้มีอายุตลอดกัปหรือกว่ากัปได้ คือ มีอายุถึง ๑๒๐ ปีหรือเกินกว่า ๑๒๐ ปีได้
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้มีพระคุณอันประเสริฐ ทรงเลิศในธรรม ทรงแจ้งในคำตรัสสอนของพระบรมศาสดาในประการนี้อย่างดีเป็นแน่ ดังที่ทรงตรัสในกาลมหามงคลสมัยวันเฉลิมพระชนมพรรษาปีหนึ่งว่าพระองค์จะมีพระชนมายุ ๑๒๐ ปี
    ๕.    วิธีเจริญอิทธิบาทสี่ตามความในพระสูตร
    โดยที่วิธีฝึกฝนอบรมจิตเพื่อบรรลุถึงวิมุตตะมิตินั้นมีอยู่สามหนทาง คือหนทาง วชิรวิมุต ปัญญาวิมุต และเจโตวิมุต ดังนั้นผู้ที่ฝึกฝนอบรมจิตไม่ว่าหนทางไหนก็มีวิสัยและสามารถเจริญอิทธิบาทได้ทั้งสิ้น ยกเว้นก็แต่ผู้ที่เดินหนทางวชิรวิมุตในขั้นต้น กำลังของจิตและสมาธิอาจจะห่างไกลและไม่เป็นระบบที่จะมีกำลังพอเพียง ในขณะที่ผู้ที่ฝึกฝนอบรมในหนทางปัญญาวิมุตและเจโตวิมุตกำลังจิต กำลังสมาธิจะก่อตัวเกิดขึ้นเป็นลำดับ ๆ ไป
    การเจริญอิทธิบาทสี่เพื่อการเจริญอายุนั้นเป็นอธิษฐานฤทธิ์ชนิดหนึ่ง ดังนั้นจึงง่ายและสะดวกสำหรับผู้ปฏิบัติในหนทางเจโตวิมุต คือตั้งแต่เริ่มเข้าสู่ปฐมฌานไปจนถึงจตุตถฌานก็อยู่ในวิสัยที่จะเจริญอิทธิบาทสี่เพื่อปรารภความมีอายุยืนตลอดกัปได้ทั้งนั้น
    สำหรับผู้ปฏิบัติในหนทางปัญญาวิมุตในขั้นต้นของกายานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้นกำลังจิตและกำลังสมาธิยังอ่อนอยู่ ไม่อยู่ในขีดขั้นที่จะเจริญอิทธิบาทสี่ให้เป็นผลได้ แต่เมื่อใดที่กายสงบรำงับ เวทนาสงบรำงับ คือปฏิบัติถึงขั้นที่สี่ของเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานแล้วก็เริ่มตั้งต้นอยู่ในวิสัยที่จะเจริญอิทธิบาทสี่ให้เป็นผลได้
    การเจริญอิทธิบาทสี่ให้เป็นผลได้อย่างสมบูรณ์แน่นอนก็คือการเจริญอิทธิบาทสี่ในขณะที่ได้จตุตถฌานแล้ว นามกายแปรสภาพเป็นทิพยกายแล้ว กำลังสมาธิ กำลังฌานและกำลังอิทธิบาทอยู่ในขั้นสูง และกำลังอธิษฐานก็อยู่ในขั้นสูง จึงกระทำอธิษฐานฤทธิ์ด้วยอิทธิบาทได้อย่างสมบูรณ์
    แต่ลำดับของการได้ผลตั้งแต่ขั้นต้น ๆ ก็มีอยู่ นั่นคือเริ่มตั้งแต่จิตเป็นสมาหิโตคือตั้งมั่นเป็นปาริสุทโธคือมีความบริสุทธิ์ เป็นกัมมนิโยคือมีกำลังควรแก่การทำงานของจิตตามฐานะและลำดับภูมิ ก็อยู่ในวิสัยที่จะเจริญอิทธิบาทสี่ได้ ต่างกันก็ตรงระดับของภูมิธรรม ถ้าภูมิธรรมต่ำก็ได้ผลน้อยไม่เต็มที่ ภูมิธรรมสูงก็ได้ผลมาก ที่ได้ผลน้อยคือได้ผลไม่ถึง ๑๒๐ ปี หรือยังมีโรคร้ายกลุ้มรุมบ้าง ถ้าได้ผลสมบูรณ์ก็ได้ผลถึงกัป และมีสุขภาพกายใจดีด้วย
    โดยสรุป เมื่อจะเจริญอิทธิบาทสี่ก็ต้องทำจิตให้เป็นสมาธิและมีอารมณ์ปีติ สุข เกิดขึ้น คือตั้งแต่ปีติ สุข ที่เกิดแต่วิเวกเป็นลำดับไป เป็นปีติ สุข เกิดแต่สมาธิ และละ ปีติ สุข จนเป็นอุเบกขาในที่สุด
     สำหรับผู้ที่บรรลุถึงจตุตถฌานหรือบรรลุถึงจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานแล้ว เมื่อจะเจริญอิทธิบาทสี่ก็ต้องถอนอารมณ์ออกจากอุเบกขา ออกจากอัปปนาสมาธิสู่อุปจารสมาธิ และกำหนดอารมณ์ปีติ สุข ที่ปราศจากอามิสให้เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ในอารมณ์นี้คืออารมณ์ที่จะเจริญอิทธิบาท เพราะในอารมณ์อุเบกขานั้นตั้งอธิษฐานไม่ได้
    ระดับของสมาธิในอัปปนาสมาธิก็ตั้งอธิษฐานไม่ได้ การเจริญอิทธิบาทจึงต้องถอนกำลังสมาธิออกมาจากอัปปนาสมาธิมาอยู่ที่อุปจารสมาธิก่อนเสมอ
    แม้อิทธิบาทจะประกอบด้วยองค์สี่ แต่แท้จริงก็เป็นองค์เดียว ดุจดังเชือกที่มีด้ายร้อยรวมกันถึง ๔ เส้น ด้ายทั้ง ๔ เส้นก็คือเชือกเส้นเดียวคืออิทธิบาท
    โดยสรุป ลำดับและขั้นตอนในการเจริญอิทธิบาทสี่เพื่อการเจริญอายุจึงเป็นดังต่อไปนี้
    ขั้นที่หนึ่ง เข้าสมาธิ เจริญสมาธิจนจิตเป็นสมาหิโต ปาริสุทโธ และกัมมนิโย เข้าสู่ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน (หรือเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานสู่เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน เข้าถึงจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน) ถ้าภูมิธรรมไม่ถึงขั้นที่สุดก็เจริญเอาเท่าที่เข้าถึง และดำรงจิตอยู่ในอุเบกขา (ชนิดเดียวกับอุเบกขาสัมโพชฌงค์) ในภาวะเช่นนี้กำลังสมาธิเข้าถึงอัปปนาสมาธิ กำลังฌานเข้าถึงภูมิธรรมแห่งฌานที่เข้าถึง
    ขั้นที่สอง ถอนสมาธิออกจากอัปปนาสมาธิ สู่อุปจารสมาธิ และถอนกำลังฌานออกจากอุเบกขามาอยู่ที่ปีติและสุขที่ปราศจากอามิส และอาศัยกำลังสมาธิในอุปจารสมาธิ
    ขั้นที่สาม เจริญอิทธิบาทสี่ในอุปจารสมาธิ และในอารมณ์ฌานปีติสุขที่ปราศจากอามิส ในเอกคตารมณ์นั้น กำหนดจิตให้มีฉันทะในการมีอายุตลอดกัปหรือกว่ากัป เพ่งกำลังจิตด้วยความเพียรหรือกำลังแห่งวิริยะ เพื่อจะมีอายุตลอดกัปหรือกว่ากัป พิจารณาด้วยปัญญาเห็นเหตุแห่งการมีอายุยืนตลอดกัป และเห็นเหตุที่ทำให้อายุไม่ยืนตลอดกัป ใส่ใจที่ความมีอายุยืนตลอดกัป และกำหนดในจิตละวางหรือดับเหตุที่ทำให้อายุไม่ยืนตลอดกัป เจริญเหตุปัจจัยที่ทำให้อายุยืนตลอดกัป
    ในสภาวะธรรมเช่นนี้จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว เคลียเคล้าอยู่ด้วยปีติและสุขที่ปราศจากอามิสในกำลังอุปจารสมาธิ โดยกำลังอิทธิบาทเจริญขึ้นในระดับที่ผสมผสานเป็นหนึ่งเดียวกัน
    ขั้นที่สี่ เป็นขั้นกระทำอธิษฐานฤทธิ์ คือตั้งความปรารถนาด้วยกำลังอธิษฐานของจิต ปรารภความปรารถนาที่จะมีอายุยืนตลอดกัปหรือกว่ากัป โดยมีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่ดีสมบูรณ์ เจริญอยู่เช่นนั้นตามความในพระสูตร เป็นที่พอใจแล้วจึงถอนจิตออกจากฌาน จากสมาธิ สู่ความเป็นปกติ กระทำเช่นนี้เนือง ๆ คือกระทำให้มาก อำนาจแห่งอธิษฐานฤทธิ์ก็จะทำให้มีอายุยืนตลอดกัปหรือกว่ากัป ดังคำตรัสของพระตถาคตเจ้านั้น
    นั่นเป็นการเจริญอิทธิบาทสี่ประกอบกับการทำอธิษฐานฤทธิ์ ซึ่งเป็นปกติของสามัญชนที่มีวิสัยเข้าถึงและทำได้ สำหรับผู้เป็นพระเจ้าแผ่นดินนั้นมีฤทธิ์พิเศษโดยธรรมชาติ เหมือนกับธรรมชาติของนกที่บินไปในอากาศได้ เรียกว่า “บุญฤทธิ์” ดังนั้นผู้เป็นพระเจ้าแผ่นดินซึ่งมีบุญฤทธิ์โดยธรรมชาติ จึงอยู่ในวิสัยที่จะเจริญอิทธิบาทให้ได้ผลมากและสมบูรณ์มากกว่าคนทั่วไป.

                                                 ---------------------------------------


บันทึกการเข้า