กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: 24 ปี....ที่ครูจากไป....  (อ่าน 15481 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ลุงชัยนรา

  • ความเปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร์
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3715
  • กระทู้: 910
  • Thank You
  • -Given: 3245
  • -Receive: 3715
  • ชีวิตนี้ยอมพลี เพื่อแผ่นดิน
24 ปี....ที่ครูจากไป....
« เมื่อ: กันยายน 16, 2013, 11:00:16 PM »
....เนื่องจาก ในวันที่ 20 กันยายน ที่จะถึงนี้ เป็นวันครบรอบ 24 ปีการเสียชีวิต ของครูเพลง ผู้สร้างสรรค์ ทั้งงานเพลง และสร้างนักร้อง ให้ประดับวงการไว้มากมาย....นั่นคือ ครูมงคล อมาตยกุล ผมขอเชิดชู ครูเพลงท่านนี้ โดยการนำชีวประวัติ ของท่านมาเล่าสู่กันฟัง...โดยการ นำเรื่องราว จากหนังสือหลายเล่ม ในอินเตอร์เน็ตหลาย เวปไซด์..  เชิญติดตามมาครับ....
   มงคล อมาตยกุล เกิด 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2461 เสียชีวิต20 กันยายน พ.ศ. 2532 นักดนตรี นักแต่งเพลง ผู้ก่อตั้งวงดนตรีมงคล อมาตยกุล และวงดนตรีจุฬารัตน์  เกิดที่อำเภอพระนคร เป็นบุตรของอำมาตย์เอก พระยาวินิตวิทยาการ (กร อมาตยกุล) กับหม่อมหลวงผาด เสนีวงศ์ เริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดชนะสงคราม โรงเรียนหอวัง และโรงเรียนปทุมคงคา จนจบชันมัธยมปีที่ 6 จึงเข้าเรียนต่อชั้นมัธยมปีที่ 7 - 8 สายวิทยาศาสตร์ ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
            พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษได้เขียน "เพื่อรำลึกถึงมงคล" ไว้ในหนังสือที่ระลึกการแสดง "มหกรรมเพลง ครูมงคล อมาตยกุล" เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2543 ไว้ว่า
        "...เราเป็นนักเรีนสวนกุหลาบด้วยกันและสนิมสนมกันมาก เคยร่วมร้องเพลงด้วยกัน แต่หลังจากจบ ม.8 แล้ว ต่างก็แยกย้ายไปตามทางเดินของตน ไม่เจอกันหลายปีทีเดียว  ไม่รู้ว่า นาย "ช้าง" (ตามที่เพื่อนๆ เรียกกัน) ไปทำมาหากินอะไร  จู่ๆ คนก็เรียก นาย "ช้าง" ว่า "ครูมงคล" ตั้งแต่นั้นมาก็รู้ว่าเขาเป็นหัวหน้าวงดนตรีจุฬารัตน์ แต่งเพลงเก่ง มีคนติด(เพลง) กันเยอะ มีลูกศิษย์ลูกหา มีชื่อเสียงอย่างไรก็ตามเราก็ไม่ได้พบกันบ่อยนัก..."
       ในปี พ.ศ.2480 เมื่อเรียนจบม.8 จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนเดียวกันกับครูพรานบูรพ์ แล้ว ครูมงคล อมาตยกุล ก็เข้าศึกษาต่อที่คณะสัตว์แพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนเรียนมาถึงปีที่ 4 ก็เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้มหาวิทยาลัยต้องปิดลงชั่วคราว เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายจากการทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตร
       ในช่วงเวลานั้นเองครูมงคล อมาตยกุล ก็หันไปสนใจด้านดนตรีสากลที่ตนเองชอบและมีพื้นฐานอยู่แล้ว จนยึดเป็นอาชีพหลัก ไม่ยอมกลับเข้าไปเรียนต่ออีก  ตามประวัติ ด้านการดนตรีนั้น คงเคยเรียนดนตรีไทยอยู่บ้างจากบ้านตามความนิยมของข้าราชการ ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ตามยุคสมัยนั้นและได้เรียนดนตรีและโน้ตสากลตอนเรียนอยู่ที่โรงเรียนวัดปทุมคงคา จากครูสังข์ อสัตวาสี เพื่อนสนิทคนหนึ่งของครูเอื้อ สุนทรสนาน เพราะเป็นลูกศิษย์พระเจนดุริยางค์มาด้วยกัน
            เมื่อมาเรียนต่อ ม.7-8 ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ก็ได้เรียนเป่าแตร จนได้เข้าร่วมกับวงดนตรีของโรงเรียน แล้วยังเรียนพิเศษกับครูท่านอื่นๆ อีกเพิ่มเติม  ในปี พ.ศ.2479 ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ครูมงคล อมาตยกุล ก็ได้เรียนเปียโนกับ มร.เจ.เอ. เดย์เก้น ซึ่งเป็นครูสอนพิเศษด้านดนตรีชาวเดินมาร์ก จนมีความรู้ ความชำนาญ ด้านดนตรีคลาสสิกแต่ก็ยังชอบเล่นดนตรีป็อปมากกว่า จึงต้องแอบเล่นกับเพื่อนๆ อยู่บ่อยๆ การแสดงออกด้านการดนตรีของครูมงคล อมาตยกุลนั้นเริ่มปรากฎเห็นแววได้ชัดเจนเมื่อตอนที่เข้าไปเป็นนิสิตณะสัตว์แพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเข้าไปร่วมเล่นดนตรีสากลกับวงดนตรีสโมสรนิสิต ที่มีครูพิมพ์ พวงนาค เป็นครูผู้ฝึกสอน และมีครูพิบูล ทองธัช เป็นผู้เรียบเรียงเสียงประสานให้ ต่อมาครูมงคล เริ่มสนใจการเรียบเรียงเสียงประสาน จึงหัดเรียบเรียงเสียงประสานขึ้นบ้าง แต่ถูกครูพิบูล ทองธัชต่อว่าและมอบหนังสือตำราการเรียบเรียงเสียงประสานมาให้ เพื่อศึกษาเพิ่มเติมด้วยตนเอง จนมีความชำนาญมากขึ้น ในช่วงนั้นเองครูมงคล อมาตยกุลก็ตั้งคณะละครวิทยุแต่งบทละครและเพลงประกอบละคร ออกอากาศที่สถานีวิทยุ 7 พี.เจ ศาลาแดง อีกด้วย
          ปี พ.ศ.2485 ครูมงคล อมาตยกุล ได้เข้าทำงานในฐานะนักแต่งเพลงและเรียบเรียงเสียงประสานในวงดนตรีของเทศบาลนครกรุงเทพฯ จนได้เป็นหัวหน้าวงในเวลาต่อมาอีกไม่นาน เนื่องจากในช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่การแสดงดนตรีและละครเวทีกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะเป็นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงมีละครเวทีและสถานบันเทิงเกิดขึ้นมากมาย ครูมงคล ก็เป็นนักดนตรีคนหนึ่งที่ออกเล่นดนตรีตามสถาบันต่างๆ เช่นเดียวกันกับนักดนตรีคนอื่นๆ เพื่อเป็นการหารายได้และเพิ่มประสบการณ์ไปในตัว ครูมงคลได้แต่งเพลงประกอบละครหลายเรื่อง เช่น เพลง หลับหรือตื่น จากละครเรื่องสะมะลุม เพลงฟ้าสาง จากละครเรื่องศรีปราชญ์ เป็นต้น
           ในปี พ.ศ. 2489 ได้ร่วมวงดนตรีดุริยะโยธิน ก่อนจะลาออกมาตั้งวงดนตรีมงคล อมาตยกุล เป็นของตนเอง รับแสดงตามโรงภาพยนตร์ หรืองานลีลาศ ร่วมกับ ป. ชื่นประโยชน์ เนียน วิชิตนันท์ ร้อยแก้ว รักไทย ไพบูลย์ บุตรขัน มีนักร้องเช่น วงจันทร์ ไพโรจน์ นริศ อารีย์ ลัดดา ศรีวรนันท์ ปรีชา บุณยเกียรติ   ในปี พ.ศ. 2492 ครูมงคล ได้เป็นหัวหน้าห้องบันทึกแผ่นเสียงของห้างดี. คูเปอร์ จอห์นสัน และได้ช่วยสนับสนุนการบันทึกเสียงของครูเพลงหลายท่าน เช่น ครูไพบูลย์ บุตรขัน
      ในปี พ.ศ. 2500 ครูมงคล อมาตยกุล ได้ก่อตั้งวงดนตรีจุฬารัตน์ ซึ่งสร้างลูกศิษย์ลูกหาให้กับวงการเพลงลูกทุ่ง เป็นจำนวนมาก เช่น ชาย เมืองสิงห์ ทูล ทองใจ พร ภิรมย์ พนม นพพร ศรีไพร ใจพระ ประจวบ จำปาทอง ปอง ปรีดา สังข์ทอง สีใส หยาด นภาลัย บุปผา สายชล สุชาติ เทียนทอง นพดล ดวงพร

สี่ทหารเสือของวงดนตรีจุฬารัตน์ จากซ้าย , ปอง ปรีดา,นคร ถนอมทรัพย์ ทูล ทองใจ, พร ภิรมย์

<a href="http://www.youtube-nocookie.com/v/ssS93m9apUg?version=3&amp;amp;hl=th_TH&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube-nocookie.com/v/ssS93m9apUg?version=3&amp;amp;hl=th_TH&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=</a> <a href="http://www.youtube-nocookie.com/v/Kiq0TNtRapU?hl=th_TH&amp;amp;version=3&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube-nocookie.com/v/Kiq0TNtRapU?hl=th_TH&amp;amp;version=3&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=</a>

<a href="http://www.youtube-nocookie.com/v/dCPJRGWUjYQ?hl=th_TH&amp;amp;version=3&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=&quot;" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube-nocookie.com/v/dCPJRGWUjYQ?hl=th_TH&amp;amp;version=3&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=&quot;</a><a href="http://www.youtube-nocookie.com/v/k7S0V4KCaJQ?version=3&amp;amp;hl=th_TH&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube-nocookie.com/v/k7S0V4KCaJQ?version=3&amp;amp;hl=th_TH&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=</a>

สี่ทหาร เสือจุฬารัตน์ นี่หมายถึงยอดนักร้องยุคบุกเบิก เรียกว่ารุ่นแรกของ วงดนตรีจุฬารัตน์ที่ได้พัฒนาต่อเนื่องตามลำดับจนกลายเป็นวงดนตรีลูกทุ่งที่ สมบูรณ์แบบที่สุดในอดีต
       นักร้องคนแรกของวง ทหารเสือคนแรก คือ ปอง ปรีดา นักร้องหมอแคนที่เป่าแคนเก่งเป็นบ้า ได้รับการส่งเสริมจาก ครูนคร ถนอมทรัพย์ จนได้เป็นคนจุฬารัตน์และได้ชื่อร้องเพลงว่า ปอง ปรีดา ร้องเองแต่งเองโด่งดังยิ่งใหญ่มาก
       นักร้องคนที่สอง หรือทหารเสือคนที่สองคือ นคร ถนอมทรัพย์ หรือ กุงกาดิน ซึ่งเป็นเสมือนลูกศิษย์ เหมือนน้องร่วมธุรกิจติดสอยห้อยตาม และเป็นรองหัวหน้าวงด้วย มีความสามารถหลากหลายร้องเพลงได้หลายแนว โดยเฉพาะเพลงแนวสากลเก่งมาก เพลงไทยก็แนวเพลงมาร์ชปลุกใจ หรือจะเป็นแนวสนุกสนานอย่าง แนวชิพมั้งค์ก็หาตัวจับยากเป็นคนแรกของเมืองไทยเลยที่ร้องเพลงแนวนี้
     นักร้องคนที่สาม หรือทหารเสือคนที่สามคือ ทูล ทองใจ มาจากสายของ ครูตุ้มทอง หรือ ครูเบญจมินทร์ พามาฝากครูมงคลจนกลายเป็นนักร้องแม่เหล็กหมายเลขหนึ่งของประเทศในที่สุด
     นักร้องคนที่สี่ หรือทหารเสือคนที่สี่ คือ พร ภิรมย์ พระเอกลิเกชื่อดังขจรขจายจนครูมงคลต้องเชื้อเชิญเข้าคณะเป็นนักร้องแล้วก็ดังสมใจ 
ทั้งหมดนี้คือ สี่ทหารเสือจุฬารัตน์ ที่ต้องกล่าวขวัญถึงเป็นตำนานที่ยิ่งใหญ่มากๆ ยากจะหาใครเทียบได้เลย ซึ่งตอนนี้สี่ทหารเสือจุฬารัตน์ ก็เหลือแค่คนเดียวเท่านั้นคือ กุงกาดิน
     ส่วน ชาย เมืองสิงห์ นั่นเข้ามาเป็น ทหารเสือคนที่ห้า ซึ่งได้สร้างประวัติศาสตร์เอาไว้อีกมากมาย
<a href="http://www.youtube-nocookie.com/v/LSKpCIzqZ0g?hl=th_TH&amp;amp;version=3&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=&quot;" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube-nocookie.com/v/LSKpCIzqZ0g?hl=th_TH&amp;amp;version=3&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=&quot;</a>

กำเนิด วงดนตรีจุฬารัตน์

          ในเวลานี้ ทุกคนทราบกันดีว่า วงดนตรีลูกทุ่งที่เป็นตำนาน วงที่สร้างนักร้องที่โด่งดังจนเป็นตำนานลูกทุ่ง เช่น ทูล ทองใจ, พนม นพพร, พร ภิรมย์ หรือแม้แต่ ชาย เมืองสิงห์  วงดนตรีวงนี้มีความพิเศษ และมีที่มาอย่างไร อาศัยผลงานของครูมงคลก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพลงช่างร้ายเหลือ (ขับร้องโดย วงจันทร์ ไพโรจน์)
<a href="http://www.youtube-nocookie.com/v/tlZP9tpSYQs?version=3&amp;amp;hl=th_TH&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=" target="_blank" class="new_win">http://www.youtube-nocookie.com/v/tlZP9tpSYQs?version=3&amp;amp;hl=th_TH&quot;&gt;&lt;/param&gt;&lt;param name=</a>
       ส่งผลให้ครูมงคลสามารถตั้งวงดนตรีจุฬารัตน์ขึ้นมาได้ในปีนี้ โดยมีสำนักงานอยู่ที่วัดโบสถ์สามเสน ที่มาของชื่อ “จุฬารัตน์” นั้นมีอยู่ 2 เหตุผล อย่างแรกคือ ครูมงคลเคยเป็นศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่อีกหนึ่งที่มา ลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดหลายคนยืนยันว่ามีที่มาจากการที่ครูมงคลเคารพศรัทธาหลวง พ่อจุฬ ที่จังหวัดลพบุรีเป็นอย่างมาก จึงทำชื่อของท่านมาตั้งเพื่อเป็นสิริมงคล และขอบารมีของท่านให้มาคุ้มครอง ในตอนแรกวงจุฬารัตน์ยังไม่มีนักร้องดังประจำวง ครูจึงต้องออกไปแสวงหาและชักชวนนักร้องที่มีชื่อเสียงให้เข้ามาร่วมงานกับวง ที่สำคัญก็คือ นคร ถนอมทรัพย์ ซึ่งตอนนั้นประจำอยู่ในกองดุริยางค์ทหารอากาศ ในช่วงแรกวงจุฬารัตน์จะเล่นบรรเลงสลับก่อนฉายภาพยนตร์ตามโรงแถบเยาวราช และราชวงศ์ และมีทำแผ่นเสียงในนาม “จุฬารัตน์” รวมทั้งรับงานเล่นดนตรีทั่วไป โดยเริ่มมีการออกไปรับงานตามต่างจังหวัดบ้างแล้ว แต่ยังไม่ออกไปไกลมากนัก ส่วนใหญ่จะเป็นแถบภาคกลางแถวเพชรบุรี ราชบุรี บ้านโป่ง อยุธยา เป็นการไปบรรเลงเป็นครั้งคราวตามโรงหนังตามที่ถูกจ้าง แล้วก็กลับโดยยังไม่ได้มีลักษณะของการเดินสายหรือเช่าโรงหนังเล่นเองอย่างใน ระยะหลัง  ต่อมา วงดนตรีจุฬารัตน์ ได้ทูล ทองใจ นักร้องที่มีชื่อเสียงโด่งดังเข้ามาสังกัดในวง เนื่องทีมงานเดิมที่ทูล ทองใจสังกัดอยู่ ซึ่งมี เบญจมินทร์ เป็นหัวหน้าวง กำลังอยู่ในสภาวะตกต่ำ ไม่มีงานและขาดเงิน ครูมงคลเกิดความสงสารจึงอนุเคราะห์ให้บันทึกแผ่นเสียง 4 เพลง คือ รำเต้ย (เบญจมินทร์), เสียงครวญจากเกาหลี (สมศรี ม่วงศรเขียว), รักแท้จากหนุ่มไทย (เบญจมินทร์) และเพลง โปรดเถิดดวงใจ (ทูล ทองใจ) ซึ่งอัดเป็นเพลงสุดท้ายเพราะมีเวลาเหลือ ปรากฏว่า ทั้ง 4 เพลงได้รับความนิยมมาก โดยเฉพาะเพลง โปรดเถิดดวงใจ ได้รับความนิยมอย่างสูงสุด แล้วกลายเป็นตำนานเพลงลูกทุ่งอีกเพลงหนึ่งไปเลยทีเดียว หลังจากนั้นทีมดังกล่าวก็มีสถานะดีขึ้นทันตา ต่อมาครูมงคลได้ขอให้ทีมนี้เข้ามาอยู่วงจุฬารัตน์ ทูล ทองใจ จึงได้เป็นนักร้องอันดับ 1 ของวงตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา หลังจากนั้นวงจุฬารัตน์ก็มีนักร้องชั้นนำคนอื่นๆ เข้ามาเพิ่มเติม เช่น ปอง ปรีดา, พร ภิรมย์ และ ชาย เมืองสิงห์ เป็นต้น
       แนวเพลงของวงจุฬารัตน์ในยุคแรกๆ นั้นเป็นเพลงหวาน เรียบๆ นุ่มๆ และที่ได้รับความนิยมมากก็คือเพลงประเภท “หวานทางตลาด” ที่ทั้งคนชนบทและคนในเมืองสามารถฟังได้ โดยในช่วงเวลานั้นยังไม่มีการแบ่งประเภทเพลงที่ชัดเจนระหว่างเพลงลูกทุ่ง กับเพลงลูกกรุง หรือเพลงไทยสากล นอกจากนั้นการร้องเพลงสากลก็ยังเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงด้วย ต่อมาในยุคที่ พร ภิรมย์ โด่งดัง นักร้องในวงได้หันมานิยมร้องเพลงแหล่กันมาก พร้อมกับการอัดเสียงที่ทำให้เพลงประเภทนี้ติดหูติดปากผู้คน กลายเป็นกระแสนิยมอย่างกว้างขวาง   โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อถึงยุคของ ชาย เมืองสิงห์ ที่มีการนำเอา “เพลงพื้นบ้าน” มาประยุกต์ในหลายลีลา ทำให้จุฬารัตน์ กลายเป็นวงดนตรีประเภท ลูกทุ่ง วงแรกๆ และเป็นวงที่มีความสำคัญและมีชื่อเสียงยิ่งในเวลานั้น พร้อมๆ กับการเปลี่ยนแนวเพลงดังกล่าว ก็ยังได้มีการเปลี่ยนแปลงในแง่ของการรับงานและการแสดงด้วย กล่าวคือ เริ่มมีการเดินสายแสดงตามต่างจังหวัดโดยมี ชาย เมืองสิงห์ ซึ่งในเวลานั้นได้เข้าเป็นทหารในกองร้อยจังหวัดลพบุรีเป็นผู้บุกเบิก ได้ขอให้จ่ากองร้อยในค่ายติดต่อประสานงานและจองโรงหนังซึ่งเป็นสถานที่แสดง ดนตรีในท้องถิ่นแถบนั้น เช่น ลำนารายน์ โคกสำโรง และอื่นๆ ต่อมาจุฬารัตน์ก็มีการเปิดสายแสดงบ่อยขึ้น โดยมีสมาชิกในวงมากหน้าหลายตาเข้ามาเป็นผู้ติดต่อประสานงาน หรือจัดพาวงออกแสดงตามสถานที่ต่างๆ
        ในช่วงเวลานี้ วงจุฬารัตน์ได้มีนักร้อง ตลอดจนนักแสดงตลกหน้าใหม่ๆ เข้ามาสังกัดมากมาย ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่นักร้องรุ่นแรกดังที่กล่าวมาแล้ว เป็นผู้ชักชวนหรือฝากฝังกันมา เช่น สุชาติ เทียนทอง, โฆษิต นพคุณ, ฉลอง วุฒิชัย, ศรีไพร ใจพระ, อุรา สุภาพสอน, ญาณี ชุติมา, ประจวบ จำปาทอง, บุปผา สายชล, สังข์ทอง สีใส, นพดล ดวงพร, สรวง สันติ, พนม นพพร ซึ่งส่วนใหญ่ก็ได้กลายมาเป็นศิลปินนักร้องที่มีชื่อเสียงทั้งในเวลานั้นและ ในเวลาต่อมา   น่าสนใจที่ว่า วงดนตรีจุฬารัตน์ เป็นวงดนตรีที่มีความแตกต่างจากวงอื่นๆ ในช่วงนั้น คือ มีหัวหน้าวงเป็นนักดนตรี นักแต่งเพลง นักเรียบเรียงเสียงประสาน แต่ไม่ได้เป็นนักร้องที่โด่งดังเช่นวงดนตรีอื่นๆ เช่น วงสุรพล สมบัติเจริญ วงสมยศ ทัศนพันธ์ หรือวงมุกดาพันธ์ ของครูพยงค์ มุกดา เป็นต้น
       วงจุฬารัตน์ได้เปิดการแสดงเรื่อยมาจนกระทั่งยุบวงไปเมื่อราวปี พ.ศ.2516 เนื่องจากสุขภาพของครูไม่อำนวยที่จะนำวงไปแสดงตามต่างจังหวัดได้ และครูก็ได้หันมาทำหน้าที่เป็นผู้จัดการดูแลห้องอัดเสียงคิงส์ซาวน์ ของประจวบ จำปาทอง ซึ่งเป็นห้องบันทึกเสียงที่ใหญ่และมีชื่อเสียงมากของประเทศในขณะนั้น

สมาชิกวงดนตรี จุฬารัตน์
               
รายชื่อนักร้อง – นักดนตรี – โฆษก – ตลก
1.        มงคล อมาตยกุล   - นักแต่งเพลง – นักเรียบเรียงเสียงประสาน – หัวหน้าวง
2.        ไพบูลย์ บุตรขัน   - นักแต่งเพลง – เพื่อนสนิท
3.        สัมพันธ์ อุมากูล   - นักแต่งเพลง – โฆษก – ตลก
4.        พีระ ตรีบุปผา   - นักแต่งเพลง – นักดนตรี – นักเรียบเรียงเสียงประสาน
5.        ชาญชัย บัวบังศร   - นักแต่งเพลง – นักดนตรี – นักเรียบเรียงเสียงประสาน
6.        มนตรี แสงเอก   - นักแต่งเพลง – นักดนตรี – นักเรียบเรียงเสียงประสาน
7.        สมสกุล ยงประยูร   - นักร้อง (ร้องเพลง เย้ยฟ้าท้าดิน บันทึกเสียงคนแรก)
8.        ไชยยศ อมาตยกุล   - นักร้อง
9.        ทูล ทองใจ   - นักร้อง
10.        พร ภิรมย์   - นักร้อง – นักแต่งเพลง
11.        ปอง ปรีดา   - นักร้อง – นักแต่งเพลง
12.        นคร ถนอมทรัพย์   - นักร้อง – นักแต่งเพลง – นายกสมาคมนักแต่งเพลง – รองหัวหน้าวง
13.        วงจันทร์ ไพโรจน์   - นักร้อง – นักแต่งเพลง
14.        ชาย เมืองสิงห์   - นักร้อง – นักแต่งเพลง – ศิลปินแห่งชาติ
15.        ผ่องศรี วรนุช   - นักร้อง – ศิลปินแห่งชาติ
16.        พล พรภักดี   - นักร้อง – นักแต่งเพลง
17.        ประจวบ จำปาทอง   - นักร้อง – โฆษก – ตลก – เจ้าของบริษัทกวนอิม แห่งประเทศไทย
18.        สุชาติ เทียนทอง   - นักร้อง – นักแต่งเพลง
19.        บุปผา สายชล   - นักร้อง
20.        ลพ บุรีรัตน์   - นักร้อง – นักแต่งเพลง
21.        วัลลภ วิชชุกร   - นักร้อง – นักแต่งเพลง
22.        สรวง สันติ   - นักร้อง – นักแต่งเพลง
23.        พนม นพพร   - นักร้อง – เจ้าของบริษัทนพพรโปรโมชั่น
24.        สังข์ทอง สีใส   - นักร้อง – นักแต่งเพลง – โฆษก – ตลก
25.        ศรีไพร ใจพระ   - โฆษก – ตลก
26.        สีเผือก   - โฆษก – ตลก
27.        สีสุริยา   - โฆษก – ตลก
28.        สีหมึก   - โฆษก – ตลก
29.        แคหลอ   - โฆษก – ตลก
30.        สนั่น สโรภาต   - โฆษก – ตลก
31.        แป๊ะหงี   - โฆษก – ตลก
32.        ชัย อนุชิต   - นักร้อง
33.        โฆษิต นพคุณ   - นักร้อง
34.        วันทนา สังข์กังวล   - นักร้อง – โฆษก – ตลก
35.        ดวงรัตน์ แสงอุทัย   - นักร้อง
36.        ดวงใจ เมืองสิงห์   - นักร้อง
37.        เพทาย แสงเอก   - นักร้อง
38.        นิตยา วราพันธ์   - นักร้อง
39.        นที นพพร   - นักร้อง – โฆษก – นักจัดรายการวิทยุ
40.        สัญญา จุฬาพร   - นักร้อง – นักแต่งเพลง
41.        แมน เนรมิต   - นักร้อง (เพลงชวนชม, จองไว้ก่อน)
42.        เริง รัตนะ   - นักร้อง – นักแต่งเพลง (เมารัก)
43.        ณรงค์ นามชัย   - นักร้อง (เพลงมารักกันใหม่)
44.        อมร อมาตยกุล   - นักร้อง (เพลง รักข้ามโขง)
45.        ชนะ ชิตชนก   - นักร้อง (เพลง แอบรัก)
46.        จิต จำปาทอง   - โฆษก
47.        โปร่ง ปฏิคม   - โฆษก – ตลก
48.        ราเชนทร์ เรืองเนตร   - นักดนตรี – นักเรียบเรียงเสียงประสาน
49.        นพดล ดวงพร   - โฆษก – ตลก – เจ้าของวงเพชรพิณทอง
50.        ลุงแนบ หนิงหน่อง   - โฆษก – ตลก
51.        สุเทพ สีใส   - โฆษก – ตลก
52.        มิสเตอร์ฮ็อตด๊อก   - โฆษก – ตลก
53.        ยาว อยุธยา   - โฆษก – ตลก
54.        วัชระ มานะชัย   - โฆษก – ตลก
55.        เกษม สุวรรณเมณะ   - นักแต่งเพลง (ลาสาวแม่กลอง)
56.        ญาณี ชุติมา   - นักร้อง (เพลง น้องเมีย)
57.        เสียงทิพย์ ปทุมทอง   - นักร้อง (เพลง ด่วนจี๋ไปรษณีย์จ๋า)
58.        หฤทัย หิรัญญา   - นักร้อง (เพลง หนูไม่ยอม)
59.        เรณู เบญจวรรณ   - นักร้อง (เพลง คุณหมอคะ)
60.        นฤมล สมสมร   - นักร้อง (เพลง ป้อมพระจุลที่รัก)
61.        นันทวัน สมสมร   - นักร้อง (เพลง หนุ่มหมอแคน)
62.        วรรณภา บุปผาสุข   - นักร้อง (เพลง อย่ามาง้อ, อ้ายอาย)
63.        ชื่นใจ เตือนจิต   - นักร้อง (เพลง เฒ่าหัวงู, แต๊ะอั๋ง)
64.        เกษม โกสุม   - นักร้อง
65.        ลัดดาวัลย์ ฤดีมล   - นักร้อง
66.        ตันหยง นงค์รังสี   - นักร้อง
67.        เมฆขลา เยาวลักษณ์   - นักร้อง
68.        สายรุ้ง มุ่งดี   - นักร้อง
69.        มานะ เป็นสุข   - นักร้อง
70.        สุรัตน์ เงินประเสริฐ   - นักร้อง
71.        สุทัศน์ ทองแคล้ว   - นักร้อง


โดยในวงจุฬารัตน์นั้น ประกอบด้วย นักแต่งเพลง นักดนตรี และนักร้องมากมาย  มื่อทางวงออกเดินสายเปิดการแสดงตามต่างจังหวัดก็ได้รับการตอบรับที่ดีจากแฟนเพลงอย่างดี ต่อมา เมื่อนักร้องที่มีชื่อเสียงของวงได้ลาออกไปเปิดวงดนตรีของตนเอง เช่น ชาย เมืองสิงห์ ครูมงคลก็อนุญาตและได้ตั้งชื่อวงดนตรีของศิษย์เอกว่า จุฬาทิพย์ และกระแสความนิยมของทางวงจุฬารัตน์ก็เริ่มแผ่วเบาลง ในที่สุดครูมงคลก็ประกาศยุบวงจุฬารัตน์เป็นอันปิดตำนานวงดนตรีลูกทุ่งที่ประสบความสำเร็จมายาวนานกว่า 16 ปี  เพลงที่มีชื่อเสียงที่สุดของครูมงคล คือเพลง "เย้ยฟ้าท้าดิน" ประพันธ์คำร้องโดย ชาลี อินทรวิจิตร และสัมพันธ์ อุมากูล ขับร้องโดยสุรสิทธิ์ สัตย์วงศ์ ประกอบละครเรื่อง เทพบุตรฮ่อ ของ ส. อาสนจินดา ในปี พ.ศ. 2497   ครูมงคล อมาตยกุล ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน สาขาการเรียบเรียงเสียงประสาน ในปี พ.ศ. 2522 จากเพลง "ความหลังฝังใจ" ซึ่งแต่งร่วมกับ ศักดิ์เกษม หุตาคม (อิงอร) ขับร้องโดย ทูล ทองใจ
       ช่วงบั้นปลายชีวิต ครูมงคลมีปัญหาด้านสุขภาพ จึงยุบวงดนตรีจุฬารัตน์ในปี พ.ศ. 2516 ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2532 สิริอายุ 71 ปี

ขอขอบคุณข้อมูล บางตอนจาก วิกิพีเดีย และwww.manager.co.th/Entertainmentโดย คีตา พญาไทย
ขอขอบคุณ เพลงจาก youtube

ขอขอบคุณ อ.ลือ ผู้ฝึกสอนการวางเพลงและภาพ


ลือ

  • ฟังดนตรีเถิด ชื่นใจ...
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 4069
  • กระทู้: 864
  • Thank You
  • -Given: 3919
  • -Receive: 4069
  • ชอบเพลงลูกกรุงเก่าๆครับ
Re: 24 ปี....ที่ครูจากไป....
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 16, 2013, 11:15:23 PM »
 :90 :90
       กระทู้นี้...
           สุดยอดสาระ และเทคนิคเลยครับพี่ชัย.... :52


บันทึกการเข้า

สมพร เกาะยอ

  • กรรมการบ้านเพลงไทย
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3944
  • กระทู้: 564
  • Thank You
  • -Given: 849
  • -Receive: 3944
Re: 24 ปี....ที่ครูจากไป....
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 17, 2013, 08:32:12 AM »

      เป็นการรวบรวมที่ใช้ได้เลยครับ คุณลุงชัยนรา น่าจะเป็นนักเขียนได้แล้วนี่
   ขอบคุณมาก ๆ ที่เตือนความจำผ่านกระทู้ จะได้เป็นข้อมูลที่ดียิ่ง เหมาะสำหรับนักจัดรายการเพลงลูกทุ่ง
  และนักสะสมข้อมูล ที่ไม่ต้องหาเอง เสร็จสรรพ อยู่ที่นี่แล้ว 



บันทึกการเข้า

ชัยยุทธ

  • กรรมการบ้านเพลงไทย
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 833
  • กระทู้: 236
  • Thank You
  • -Given: 2202
  • -Receive: 833
Re: 24 ปี....ที่ครูจากไป....
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กันยายน 17, 2013, 11:30:06 AM »
สุดยอดมากๆครับ ครูมงคลเป็นบุคคลที่ได้รับการยกย่องอย่างด้านการดนตรี เรียบเรียงเสียงประสานหาคนที่เสมอเหมือนได้ ผมมีโอกาสได้ดูวงดนตรีจุใรตน์หลายครั้ง ขอบอกว่าสุดยอดจริงๆ ดนตรีที่บันทึกแผ่นเสียงอย่างไร เพลงที่บรรเลงหน้าเวทีก็เหมือนอย่างในแผ่นทุกเพลง ได้เห็นการควบคุมวงของครูมงคล ตอนซ้อมก่อนมีการแสดง ครูเข้มงวดกับนักร้องและนักดนตรีอย่างมาก ต้องขอบคุณที่นำสิ่งดีๆมาให้ได้ทราบครับ


บันทึกการเข้า

อาคม ดอนเมือง

  • ชาวบ้านเพลงไทยอาวุโส
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2051
  • กระทู้: 398
  • Thank You
  • -Given: 3296
  • -Receive: 2051
Re: 24 ปี....ที่ครูจากไป....
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กันยายน 17, 2013, 12:25:31 PM »
  อ่านประวัติของ ครูมงคล อมาตยกุล พร้อมกับวงดนตรี จุฬารัตน์  จากการเรียบ
เรียงข้อมูลของคุณลุงชัยนรา แล้ว ช่างมีความสุขเสียนี่กระไร จำได้ว่าเมื่อประมาณปี
2509 ผมมีโอกาสได้ชมวงดนตรี จุฬารัตน์ เพราะไปเปิดการแสดงที่โรงหนังใกล้ๆบ้าน
 จำได้ว่าชัย อนุชิต กับ ประจวบ จำปาทอง ร่วมกันเป็นโฆษก พนม นพพร ร้องเพลง
หนุนขอนต่างแขน แมน เนรมิตร ร้องเพลง ชวนชม สังข์ทอง สีใส ร้องเพลง หนิง หน่อง
 ประจวบ จำปาทอง ร้องเพลง คอแห้งเป็นผง เสียงทิพย์ ปทุมทอง ร้องเพลง ด่วนจี๋ไปรษ
ณีย์จ๋า ญาณี ชุติมา ร้องเพลง น้องเมีย หฤทัย หิรัญญา ร้องเพลง หนูไม่ยอม ส่วนนักร้องคน
อื่นๆผมจำไม่ได้แล้วเพราะนี่ก็ล่วงเลยมาสี่สิบกว่าปีแล้วกระมัง อิ อิ ขอบคุณคุณลุงชัยนรา มาก
นะครับ สำหรับตำนานอันยิ่งใหญ่ของวงดนตรี จุฬารัตน์ พร้อมประวัติของ ครูมงคล อมาตยกุล


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 17, 2013, 12:27:17 PM โดย อาคม ดอนเมือง »
บันทึกการเข้า

น้องนางบ้านนา

  • การศึกษาของไทยคือ-อะไรก็ได้ที่ง่ายๆ แล้วได้ปริญญา
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2617
  • กระทู้: 546
  • Thank You
  • -Given: 2027
  • -Receive: 2617
Re: 24 ปี....ที่ครูจากไป....
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กันยายน 17, 2013, 03:56:43 PM »
ตามสันดานเก่าของผม....ขอก๊อปไปเก็บไว้อ่านเล่นครับ...และถ้ากู้ข้อมูลคอมเครื่องเก่าได้จะเอารูปมาลงประกอบด้วย..
...แต่จะไม่ครบคนน่ะ...เพราะอย่างน้อยของเรณู เบญจวรรณก็หาไม่มีเลย(ใครพอจะหาภาพเรณู เบญจวรรณมาได้บ้างครับ...หามาหลายปีแล้ว)


บันทึกการเข้า
โชคอยู่ที่การแสวงหา วาสนาอยู่ที่การกระทำ
จงโง่บางโอกาส จงฉลาดบางเวลา
-

ลุงชัยนรา

  • ความเปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร์
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3715
  • กระทู้: 910
  • Thank You
  • -Given: 3245
  • -Receive: 3715
  • ชีวิตนี้ยอมพลี เพื่อแผ่นดิน
Re: 24 ปี....ที่ครูจากไป....
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กันยายน 17, 2013, 04:34:59 PM »
...ผมเคยมี..เป็นปกเทปครับ  ตอนนี้ยังไม่ได้ค้นครับ....


บันทึกการเข้า

น้องนางบ้านนา

  • การศึกษาของไทยคือ-อะไรก็ได้ที่ง่ายๆ แล้วได้ปริญญา
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2617
  • กระทู้: 546
  • Thank You
  • -Given: 2027
  • -Receive: 2617
Re: 24 ปี....ที่ครูจากไป....
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กันยายน 17, 2013, 04:46:42 PM »
...ผมเคยมี..เป็นปกเทปครับ  ตอนนี้ยังไม่ได้ค้นครับ....

ปูเสื่อเอาเหล้า285และแกล้ม...มาวางรอเลยครับ


บันทึกการเข้า
โชคอยู่ที่การแสวงหา วาสนาอยู่ที่การกระทำ
จงโง่บางโอกาส จงฉลาดบางเวลา
-

ลมโชย

  • ชาวบ้านเพลงไทยอาวุโส
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 1844
  • กระทู้: 483
  • Thank You
  • -Given: 2348
  • -Receive: 1844
Re: 24 ปี....ที่ครูจากไป....
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กันยายน 17, 2013, 05:50:52 PM »
ขอร่วมรำลึกและขอบคุณทุกท่านที่ยังไม่ลืมวันเวลาการจากไปของครูมงคล อมาตยกุล
นักร้องในวงดนตรีจุฬารัตน์ เพลงและนักร้องหรือภาพบางท่านหาดูยากมากครับ


ในภาพที่ผมวางมีอยู่สามท่าน...
คนที่   1.วัชระ มานะชัย " ที่ร้องเพลง พลทหารโข่ง "
 2.ประจวบ จำปาทอง " ที่ร้องเพลง คอแห้งเป็นผง " ( ยืนคนกลาง )
3.ชนะ ชิดชนก " ที่ร้องเพลง จำใจจำลา "




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 17, 2013, 05:53:01 PM โดย ชานมเย็น »
บันทึกการเข้า
คนปัตตานี แหลงยาวีภาษาถิ่น

ลือ

  • ฟังดนตรีเถิด ชื่นใจ...
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 4069
  • กระทู้: 864
  • Thank You
  • -Given: 3919
  • -Receive: 4069
  • ชอบเพลงลูกกรุงเก่าๆครับ
Re: 24 ปี....ที่ครูจากไป....
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: กันยายน 19, 2013, 02:01:54 PM »
    อยากช่วยคุณน้องนางบ้านนาค้น...
             ค้นหมวดรูปภาพ " เรณู เญจวรรณ"
                 ไม่เจอเลยครับ...

             ลอง "เรณู" อย่างเดียวดู
         เจอแต่รูป เด็ก "เร่ณู่ "....อ้วนๆ ไว้เปีย
                 ที่เล่นเรื่อง "เร่ณู่ ปั๋ญญ่า " อะครับ...

                                  หายากจริงๆ...


บันทึกการเข้า

ลุงชัยนรา

  • ความเปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร์
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3715
  • กระทู้: 910
  • Thank You
  • -Given: 3245
  • -Receive: 3715
  • ชีวิตนี้ยอมพลี เพื่อแผ่นดิน
Re: 24 ปี....ที่ครูจากไป....
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: กันยายน 20, 2013, 12:48:24 PM »
...คุณน้องนางบ้านนา ครับ ผมไม่ดื่มเหล้า...ขอเป็น สาโท..ยาดอง หรือ หวาก (น้ำตาลเมา - ภาษา เจ๊ะเห) ก็ได้ครับ กับแกล้ม ไม่ต้อง เป็นของสิ้นเปลือง 5 5 5
สาโท พร้อม เอาจอกตักดื่ม

ยาดองเพื่อสุขภาพ(เสื่อมโทรม)
การมึกหวากกับพรก
(การดื่มน้ำตาลเมากับกะลา)


บันทึกการเข้า

ชบาบาน

  • ชาวบ้านเพลงไทยอาวุโส
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 382
  • กระทู้: 95
  • Thank You
  • -Given: 412
  • -Receive: 382
Re: 24 ปี....ที่ครูจากไป....
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: กันยายน 21, 2013, 09:09:35 PM »
ท่านลุงชัยเยี่ยมมากได้รายละเอียดดีทีเดียว  เลยได้รู้ความเป็นมาความเป็นไปของครูเพลงที่ชื่นชอบ
เพลงครูมงคลเป็นเพลงอมตะแทบทุกเพลง  ขอบคุณลุงชัยเป็นอย่างยิ่งขอรับกระผม.


บันทึกการเข้า