เชื่อว่าทุกท่านทราบดีว่า "ระบบสุริยะ" คืออะไร แล้วเคยสงสัยมั๊ยครับว่ามันใหญ่
โตมโหฬารขนาดไหน เรารู้แต่ว่ามันกว้างใหญ่มาก สุดจินตนาการ
เราอาจเคยเห็นแบบจำลองระบบสุริยะตามที่ต่าง โรงเรียน ห้องสมุด ในภาพยนตร์
มีดวงอาทิตย์อยู่ตรงกลาง มีดาวต่างๆ ที่เป็นบริวารโคจรอยู่รอบๆ เคยสงสัยมั๊ย ว่าแบบ
จำลองที่เห็น มันถูกต้องตามความเป็นจริงหรือเปล่า
ลำดับที่ของดาวถูกครับ แต่สัดส่วนผิด ผิดมากๆด้วย!
แต่มันจำเป็น อย่างมากด้วย ที่ต้องผิด เพราะอะไร ? มาดูกัน
เราจะย่อส่วนระบบสุริยะลง ในอัตรา ๑:๑ พันล้านเท่า
เราจะได้ดวงอาทิตย์ (แทนด้วยลูกบอล) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๔๐ เซนติเมตร
วางในสนามที่กว้างมากๆๆ ขนาดไหน ?
ตามอัตราส่วนที่เป็นจริง ดวงแรก ดาวพุธจะมีขนาด ๐.๕ เซนติเมตร ที่ห่างออกไป
๕๘ เมตร
ได้ดาวศุกร์ขนาด ๑.๒ เซนติเมตรที่ห่างไป ๑๐๘ เมตร
ได้โลกขนาด ๑.๓ เซนติเมตรห่างไป ๑๕๐ เมตร
ดาวอังคารขนาด ๐.๘ เซนติเมตรห่างไป ๒๒๘ เมตร
ดาวพฤหัสขนาด ๑๔ เซนติเมตรห่างออกไป ๗๗๙ เมตร
ดาวเสาร์ขนาด ๑๑.๖๕ เซนติเมตรห่างออกไป ๑.๔ กิโลเมตร
ดาวยูเรนัสขนาด ๕.๐๗ เซนติเมตรในที่ห่างออกไป ๒.๙ กิโลเมตร
ดาวเนปจูนขนาด ๔.๙๒ เซนติเมตรห่างออกไป ๔.๕ กิโลเมตร
และสุดท้ายพลูโตจะมีขนาดแค่ ๐.๒๔ เซนติเมตรห่างออกไป ๕.๙ กิโลเมตร
และถ้าเราจะเพิ่มดาวฤกษ์แบบดวงอาทิตย์ของเราอีกสักดวง ดวงที่อยู่ใกล้สุดๆ
ต้องเอาไปวางไว้ห่างไปอีกแค่ ๓๙๙๕ กิโลเมตรเอง
ที่นี้คงทราบว่าทำไมจึงสร้างแบบจำลอง ระบบสุริยะจักรวาล ตามอัตราส่วนที่
เป็นจริงไม่ได้
สุดท้ายคิดเล่นๆ ถ้าสมมุติให้โลกเรามีขนาดเท่าลูกเทนนิส ตอนนี้ประชากรโลก
มีเท่าไหร่ เราจะใช้อะไรแทนคนบนโลก แล้วไปวางบนลูกเทนนิสให้ครบ ลูกเทนนิส
เล็กไป ลูกบอลดีกว่าใหญ่หน่อย อย่าลืมโลกเราจริงๆไม่ได้อยู่ได้ทั้งใบ
ขอบคุณที่สนใจครับ