สโมสรบ้านเพลงไทย > ห้องสันทนาการ

น้ำตกปาโจ

(1/1)

ลุงชัยนรา:
                                        น้ำตกปาโจ

น้ำตกปาโจ ตั้งอยู่ที่บ้านปาโจ ตำบลบาเจาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาสเป็นน้ำตกใหญ่ที่มีน้ำตลอดปี มีความสูงประมาณ 60 เมตร เป็นส่วนหนึ่งของอุทยาน แห่งชาติบูโด - สุไหงปาดี มีพื้นที่คลอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอบาเจาะ อำเภอยี่งอ อำเภอระแง อำเภอรือเสาะ อำเภอสุไหงปาดี อำเภอจะแนะ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส อำเภอรามัน จังหวัดยะลา และอำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี
                             

มีสภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีพันธุ์ไม้ที่มีค่านานาชนิด น้ำตกปาโจก็เป็นน้ำตกแหล่งหนึ่งของอุทยานแห่งชาติ บูโด - สุไหงปาดี แห่งนี้ที่มีความสวยงามตามธรรมชาติมากที่สุดแห่งหนึ่ง
การคมนาคมในการเดินทางถึงน้ำตกปาโจ เดินทางโดยรถยนต์เป็นทางลาดยาง ห่างจากตัวเมืองก่อนถึงอำเภอบาเจาะ ประมาณ 28 กิโลเมตร ตามเส้นทางสาย นราธิวาส - ปัตตานี และแยกเข้าน้ำตกประมาณ 2 กิโลเมตร

สมัยก่อนเทือกเขา เป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาสันกาลาคีรีที่แบ่งเขตแดนไทย-มาเลเซีย เคยเป็นที่ซ่องสุมของผู้ก่อการร้าย จึงไม่ค่อยมีผู้ใดเข้ามาสัมผัสความมหัศจรรย์ของผืนป่าดงดิบแห่งนี้ เมื่อสถานการณ์คลี่คลายลง ในปี พ.ศ. 2517 (แต่ปัจจุบันเหตุการณ์ก็กลับมารุนแรงอีกครั้ง ) ในขณะนั้นกรมป่าไม้จึงจัดตั้งวนอุทยานน้ำตกปาโจ และกลายมาเป็นอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 294 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของนราธิวาส ยะลา และปัตตานีเทือกเขาบูโดนี้จัดเป็นส่วนหนึ่งของป่าดิบร้อนแบบอินโด-มาลายัน ป่าดิบชื้นเขตร้อนซึ่งมีความชื้นสูงเพราะมีน้ำฝนตกตลอดปี และเป็นป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุด เมื่อเทียบกับป่าประเภทอื่นในพื้นที่ พันธุ์ไม้เด่นของที่นี่คือ ?ใบไม้สีทอง? หรือ ?ย่านดาโอ๊ะ? เมื่อปี พ.ศ. 2531 พันธุ์ไม้ชนิดนี้ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในโลก ใบไม้สีทองเป็นไม้เลื้อย มีลักษณะใบคล้ายใบชงโคหรือใบเสี้ยว แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก บางใบใหญ่กว่าฝ่ามือเสียอีก มีขอบหยักเว้าเข้าทั้งที่โคนใบ และปลายใบ ลักษณะคล้ายวงรีสองอันอยู่ติดกัน ทุกส่วนของใบจะปกคลุมด้วยขนกำมะหยี่เนียนนุ่ม มีสีทองหรือสีทองแดงเหลือบรุ้งเป็นประกายงดงามยามต้องแสงอาทิตย์ สามารถมองเห็นได้จากระยะไกลหากขึ้นในที่ที่มีความชื้นสูงลักษณะของใบจะยิ่งนุ่มหนาตามไปด้วย เมื่อใบใหญ่เต็มที่ จึงเริ่มเปลี่ยนเป็นสีบรอนซ์เงิน หรือเขียวในที่สุด ช่อดอกสีขาวของย่านดาโอ๊ะก็เตะตาไม่แพ้กัน

                                          
 
ใกล้ๆ สำนักงานอุทยานฯ ก็มีอยู่ต้นหนึ่งให้ชื่นชม และยังมีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ หายาก มีราคาแพง และกำลังจะสูญพันธุ์ คือ ?หวายตะค้าทอง? สัตว์ป่าหายากที่เคยพบในบริเวณนี้คือ แรด ชะนีมือดำ สมเสร็จ และเลียงผา และที่สำคัญ คือ ค่างแว่นถิ่นใต้ มีถิ่นอาศัยอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทางตอนใต้ของพม่า ภาคใต้ของประเทศไทย ไปจนถึงมาเลเซียและหมู่เกาะใกล้เคียง มักอาศัยอยู่ตามภูเขาสูงชันและป่าดงดิบ อยู่รวมกันเป็นฝูงประมาณ 30-40 ตัว มีตัวผู้ที่แข็งแรงที่สุดเป็นจ่าฝูง ปกตินิสัยขี้อาย กลัวคน ไม่ก้าวร้าวดังเช่นลิง (นอกจากค่างแว่นถิ่นใต้แล้ว ในประเทศไทยยังพบค่างอีกสามชนิด ได้แก่ ค่างดำ ค่างหงอก และค่างแว่นถิ่นเหนือ ในปัจจุบันค่างทั้งสี่ชนิดถูกจัดให้เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีสถานภาพถูกคุกคาม)
                                             ในอุทยานฯมีน้ำตกอยู่หลายแห่ง เช่น น้ำตกภูแว น้ำตกปาโจ และน้ำตกปากอ แต่ที่รู้จักกันทั่วไป นักท่องเที่ยวเข้าถึงได้สะดวก คือ ?น้ำตกปาโจ? เป็นน้ำตกที่มีลักษณะเป็นหน้าผาสูงกว้าง คำว่า ?ปาโจ? เป็นภาษามลายูท้องถิ่นมีความหมายว่า ?น้ำตก? ที่น้ำตกปาโจนี้มีทางขึ้นไปสู่ต้นน้ำเป็นชั้นๆ รวม 9 ชั้น นับว่าเป็นน้ำตกที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดและสวยงามแห่งหนึ่งของภาคใต้
แต่เนื่องจากสภาพป่าโดยรอบไม่สมบูรณ์นัก ในหน้าแล้งน้ำจึงค่อนข้างน้อย นอกจากน้ำตกยังมีสถานที่น่าสนใจอื่นๆ ได้แก่ ศาลาธารทัศน์ ซึ่งเคยเป็นพลับพลาที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราวเสด็จประพาสจังหวัดนราธิวาส และยังมีก้อนหินสลักพระปรมาภิไธยตั้งอยู่ในบริเวณน้ำตกปาโจด้วย

ข้อมูลจาก: http://kanchanapisek.or.th/kp8/culture/nrt/nrt160.html
.............. http://www.oknation.net/blog/jazz021/2009/08/21/entry-2

                                     [http://www.youtube-nocookie.com/v/fWeYAx-Raw4?hl=th_TH&amp;version=3"></param><param name=น้ำตกปาโจ
คำร้อง ถาวร จุลตามะระ
ทำนอง สง่า อารัมภีร์        ขอบคุณ bang 10 baht จาก youtubeขอขอบคุณ อ.ลือ ผู้ฝึกสอนการวางภาพและเพลง

ลือ:
   1. ที่เจอมา มีทั้งชื่อ ปาโจ และ บาโจครับ...
          ถามพี่ชัย ในฐานะเจ้าถิ่น...
           ตกลงชื่อน้ำตกที่ถูกต้อง  คือ ชื่อไหนครับ

        2. เนื้อเรื่องมีสาระเพียบ ....ภาพประกอบก็พรั่งพร้อม
               แถมมีเพลง"น้ำตกบาโจ"-สุดา ชื่นบาน ให้ฟังกันอีก
                    ......ครบเครื่องเรื่องเล่าเลยครับ
                            :90

ลุงชัยนรา:
 "บาโจ" หรือ"ปาโจ "ตามภาษามลายูท้องถิ่น เรียกว่า น้ำตก แต่โดยทั่วไปแล้วคนจะรู้จักกัน  "ปาโจแปะบุญ ” แปลว่า น้ำตกแปะบุญหรือน้ำตกบาเจาะ คือใช้ได้ทั้ง สองคำ
  **แปะบุญ" ชื่อเดิมของ อ. บาเจาะ

ลือ:
 :11......
       ขอบคุณครับ

สมภพ:
ผมเพิ่งรู้ว่า แปะบุญ คือชื่อเดิมของอำเเภอบาเจาะ ทั้งที่ไปหากินอยู่แถวนั้นตั้งหลายปี ขอบคุณครับ

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

Go to full version