กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: แม้นไม่มีทำบุญไม่สิ้นดี แต่ถ้ามีตัวท่านจะเสียใจ  (อ่าน 16321 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

โชคดี

  • ชาวบ้านเพลงไทยอาวุโส
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 1359
  • กระทู้: 1270
  • Thank You
  • -Given: 1543
  • -Receive: 1359
ท่านทั้งหลายการเกิดยังมีอยู่ หากมีตัณหา
“พระโคดมผู้เจริญ !
ถ้าสมัยใด เปลวไฟ ถูกลมพัดหลุดปลิวไปไกล,
สมัยนั้น พระโคดมย่อมบัญญัติซึ่งอะไรว่าเป็นเชื้อแก่เปลวไฟนั้น ถ้าถือว่ามันยังมีเชื้ออยู่ ?”
วัจฉะ ! สมัยใด เปลวไฟ ถูกลมพัดหลุดปลิวไปไกลเราย่อมบัญญัติเปลวไฟนั้น ว่ามีลมนั่นแหละเป็นเชื้อ
วัจฉะ ! เพราะว่า สมัยนั้น ลมย่อมเป็นเชื้อของเปลวไฟนั้น.

“พระโคดมผู้เจริญ !
ถ้าสมัยใด สัตว์ทอดทิ้งกายนี้ และยังไม่บังเกิดขึ้นด้วยกายอื่น,
สมัยนั้น พระโคดมย่อมบัญญัติซึ่งอะไร ว่าเป็นเชื้อแก่สัตว์นั้น ถ้าถือว่ามันยังมีเชื้ออยู่ ?”
วัจฉะ ! สมัยใด สัตว์ทอดทิ้งกายนี้ และยังไม่บังเกิดขึ้นด้วยกายอื่น
เรากล่าว สัตว์นี้ ว่า มีตัณหานั่นแหละเป็นเชื้อ
เพราะว่า สมัยนั้น ตัณหาย่อมเป็นเชื้อของสัตว์นั้น แล.
พุทธวจน ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...) ข้อ ๑๐ หน้า ๓๗



ท่านทั้งหลาย ผู้เชื่อฟังพระตถาคตจะได้รับประโยชน์สุขสิ้นกาลนาน ๑


ดูก่อนภิกษุ ท. ! เราแล เป็นผู้ฉลาดในเรื่องโลกนี้ ฉลาดในเรื่อง โลกอื่น,
เป็นผู้ฉลาดต่อ วัฏฏะอันเป็ นที่อยู่ของมาร ฉลาดต่อ วิวัฏฏะอันไม่เป็ นที่อยู่ของมาร,
เป็นผู้ฉลาดต่อ วัฏฏะอันเป็ นที่อยู่ของมฤตยู ฉลาดตอ่ วิวัฏะอันไม่เป็ นที่อยู่ของ
มฤตยู. ชนเหล่าใดถือว่าเรื่องนี้ควรฟังควรเชื่อ ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์
เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ชนทั้งหลายเหล่านั้นสิ้นกาลนาน.
(ครั้นพระผู้มีพระภาคได้ตรัสคำนี้แล้ว พระสุคตได้ตรัสคำอื่นอีกดังนี้ว่า :-)
ทั้งโลกนี้แลโลกอื่น ตถาคตผู้ทราบดีอยู่ ได้ประกาศไว้
ชัดแจ้งแล้ว. ทั้งที่ที่มารไปไม่ถึง และที่ที่มฤตยูไปไม่ถึง
ตถาคตผู้รู้ชัดเข้าใจชัด ได้ประกาศไว้ชัดแจ้งแล้ว เพราะ
ความรู้โลกทั้งปวง. ประตูนครแห่งความไม่ตาย ตถาคต
เปิ ดโล่งไว้แล้ว เพื่อสัตว์ทั้งหลายเข้าถึงถิ่นอันเกษม. กระแส
แห่งมารผู้มีบาป ตถาคต ปิ ดกั้นเสียแล้ว กำจัดเสียแล้ว
ทำให้หมดพิษสงแล้ว. ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลายจงเป็ นผู้มากมูม
ด้วยปราโมทย์ ปรารถนาธรรมอันเกษมจากโยคะเถิด.

ผู้เชื่อฟังพระตถาคตจะได้รับประโยชน์สุขสิ้นกาลนาน






ความมั่นคงในธรรมในสัจจความจริง จำต้องมีความไม่ประมาทใน 4 อย่างเหล่านี้ 4 อย่างไหนเล่า
1.ไม่ประมาทในช่วงวัย > อย่าได้มีความคิดว่า ยังหนุ่มอยู่ยังไม่ตายหรอก  > เพราะความตายแซกได้ทุกวินาที
2.ไม่ประมาทในความไม่มีโรค > อย่าได้มีความคิดว่า ยังสบายดีอยู่โรคภัยจักไม่มีหรอก  > โรคไม่มีแต่ก็ยังตายได้อีกหลายวิธีนะท่านทั้งหลาย
3.อย่าประมาทในชีวิต > อย่าได้มีความคิดว่า ยังไม่ตายหรอก    >  อย่าเป็นคนประมาทเลยท่าน
4.ไม่ประมาทในเวลา > อย่าได้มีความคิดว่า เดี๋ยวค่อยทำทีหลังหากินก่อน    >  แล้วถ้ามันตายวันนี้จะไม่เสียใจหรือ



พุทธวจน เสียงอ่าน
อนุโมทนาสาธุด้วยครับ กับท่านทั้งหลาย (อย่าปล่อยให้เวลาผ่านไปเลย โอกาสทองของเราแล้วหนอที่จะได้สดับรับฟังคำของพระตถาคต พระองค์ได้ทรงตรัสว่า ธรรมะบทเดียวก็เพียงพอ ที่จะเกื้อกูลประโยชน์สุขให้แก่ชนทั้งหลายเหล่านั้น ชั่วกาลนาน)



๑ ฉบับ ตามรอยธรรม
http://watnapp.com/audio/view_category/51
๒ ฉบับ คู่มือโสดาบัน
http://watnapp.com/audio/view_category/44
๓ ฉบับ ก้าวย่าง อย่างพุทธะ
http://watnapp.com/audio/view_category/1
๔ ฉบับ มรรค(วิธีที่)ง่าย
http://watnapp.com/audio/view_category/40
๕ ฉบับ แก้กรรม
http://watnapp.com/audio/view_category/45
๖ ฉบับ อานาปานสติ
http://watnapp.com/audio/view_category/30
๗ ฉบับ ฆราวาสชั้นเลิศ
http://watnapp.com/audio/view_category/60
๘ ฉบับ อินทรียสังวร
http://watnapp.com/audio/view_category/49
๙ ฉบับ ปฐมธรรม
http://watnapp.com/audio/view_category/31
๑๐ ฉบับ สาธยายธรรม
http://watnapp.com/audio/view_category/50
๑๑ ฉบับ ภพภูมิ
http://watnapp.com/audio/view_category/54
๑๒ ฉบับ เดรัจฉานวิชา
http://watnapp.com/audio/view_category/53
๑๓ ฉบับ ทาน
http://watnapp.com/audio/view_category/46
๑๔ ฉบับ ตถาคต
http://watnapp.com/audio/view_category/61



กระผมหวังว่า กระทู้นี้คงเป็นประโยขน์ให้กับท่านทั้งหลาย ไม่มากก็น้อยตามเหตุตามปัจจัยที่ได้สั่งสมกันมา อย่าได้ทิ้งหน้ากระทู้นี้ไป ทิ้งโอกาสนี้ไปประมาทต่อเลยท่าน ตถาคตกล่าวว่า พวกเธอทั้งหลายอย่าได้ต้องเป็นผู้เดือดร้อนใจในภายหลังเลย (อย่าต้องเสียใจในนรกเลย เพราะไม่เชื่อดำรัสท่านแท้ๆ)  ดั่งพระสูตรที่จะยกให้ท่านทั้งหลายทราบว่า..


กามมีสุขในปัจจุบันแต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป

ภิกษุ
ทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า โทษในกามทั้งหลายมิได้มี
จึงถึงความเป็นผู้ดื่มในกามทั้งหลาย บำเรอกับพวกนางปริพาชิกาที่เกล้ามวยผม. และกล่าวอย่างนี้
ว่า ไฉนท่านสมณเหล่านั้น จึงเห็นภัยในอนาคตในกามทั้งหลาย กล่าวการละกามทั้งหลาย บัญญัติ
ความกำหนดรู้ในกามทั้งหลายว่า อันที่จริงการสัมผัสที่แขนมีขนอ่อนนุ่มแห่งนางปริพาชิกานี้
นำให้เกิดสุข จึงถึงความเป็นผู้ดื่มในการกามทั้งหลาย. ครั้นถึงความเป็นผู้ดื่มในกามทั้งหลายแล้ว
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ก็เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก. ย่อมเสวยทุกขเวทนา
หยาบ เผ็ดร้อน ในที่ที่ตนเกิดนั้น และกล่าวในที่นั้นอย่างนี้ว่า ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น
เห็นภัยในอนาคตในกามทั้งหลายนี้ จึงกล่าวการละกามทั้งหลาย บัญญัติความกำหนดรู้กามทั้งหลายว่า พวกเรานี้ ย่อมเสวยทุกขเวทนาหยาบ เผ็ดร้อน เพราะกามเป็นปัจจัย ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานนี้ เรากล่าวว่า มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบาก ต่อไป.


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมสมาทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป
เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีราคะกล้าโดยปรกติ ย่อมเสวย
ทุกขโทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนืองๆ เป็นผู้มีโทสะกล้าโดยปรกติ ย่อมเสวยทุกขโทมนัสอันเกิด
แต่โทสะเนืองๆ เป็นผู้มีโมหะกล้าโดยปรกติ ย่อมเสวยทุกขโทมนัสอันเกิดแต่โมหะเนืองๆ
บุคคลนั้นถูกทุกข์บ้าง โทมนัสบ้าง ถูกต้องแล้ว เป็นผู้มีหน้านองด้วยน้ำตา ร้องไห้อยู่ แต่
ประพฤติพรหมจรรย์บริบูรณ์บริสุทธิ์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลก
สวรรค์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานนี้ เรากล่าวว่า มีทุกข์ในปัจจุบันแต่มีสุขเป็นวิบาก
ต่อไป.



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป
เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีราคะกล้าโดยปรกติ ย่อมไม่
เสวยทุกขโทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนืองๆ เป็นผู้ไม่มีโทสะกล้าโดยปรกติ ย่อมไม่เสวยทุกขโทมนัส
อันเกิดแต่โทสะเนืองๆ เป็นผู้ไม่มีโมหะกล้าโดยปรกติ ย่อมไม่เสวยทุกขโทมนัสอันเกิดแต่
โมหะเนืองๆ บุคคลนั้นสงัดจากกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจารมีปีติและสุขอันเกิด
แต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก
ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ บรรลุตติยฌาน ... แล้วและอยู่
บรรลุจตุตถฌาน ... แล้วและอยู่เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ดูกรภิกษุทั้งหลายธรรมสมาทานนี้ เรากล่าวว่า มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป:
 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานมี ๔ อย่างเหล่านี้แล.


พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๒ หน้า ๓๙๗








ยกเว้นแก่ผู้บรรลุธรรมแม้ขั้นต่ำ โสดาบันบุคคล ก็ไม่ต้องโทษข้อนี้
ปุถุชนยังไม่แน่นอนครับ เหมือนท่อนไม้ซัดขึ้นไปบนอากาศ บางคราวเอาโคนลง บางคราวเอากลางลง บางคราวเอาบนลง จิตสุดท้ายเกาะให้ดีๆ ที่ลมหายใจ นะอย่าลืม !!! พระตถาคตกล่าวว่าผู้ใดไม่ลืมกายคตาสติ ผู้นั้นไม่ลืมอมตะ (ลมคือกายอันหนึ่งๆในกายทั้งหลาย,อมตะเป็นชื่อเรียกแทนนิพพาน)



ขอบคุณครับ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 14, 2016, 07:11:46 PM โดย โชคดี »
บันทึกการเข้า

** กระทู้แรกที่ควรอ่านเมื่ออยู่บ้านเพลงไทย **