...ผมขอสานต่อ จากคุณจารุมั่งนะครับ..ผมชอบดูหนังมาตั้งแต่เด็กๆ สมัยอยู่หาดใหญ่..จะมีพรรคพวก ที่มีทีมงานเป็นตัวประกอบ จะแจ้งข่าว ล่วงหน้ามาว่าจะมีการถ่ายทำหนัง เรื่องอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ พวกเรา ก็จะยกโขยง กันไปเป็น"ไทยมุง".แม้ในสงขลา ก็ยังโบกรถไปกัน..เพื่อ อย่างน้อย ก็จะได้มีข้อมูล มา "เม้าท์" ในห้องเรียน หรือ ในกลุ่ม...ผมก็ขอจัดอันดับ หนังที่ชอบ ตามลำดับ..พร้อมข้อมูล(ตามที่หาได้).....
1...หนังเรื่องนี้ ไปมุงมา ตอนถ่ายทำ พอเข้าโรง เฉลิมไทย หาดใหญ่ รีบไปดูรอบแรกเลย เพราะดารามาโชว์ตัวด้วย...
ข้อมูล - เจ็ดประจัญบาน (2506)
นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา, คริสติน เหลียง, รุจน์ รณภพ, ทักษิณ แจ่มผล, ส.อาสนจินดา, อาคม มกรานนท์, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ทองฮะ วงศ์รักไทย ร่วมด้วย ปันใจ นาควัฒนา, สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์, กัณฑรีย์ นาคประภา, สุวิน สว่างรัตน์, สิงห์ มิลิราศรัย, จำนงค์ คุณะดิลก, ถวัลย์ คีรีวัตน์, ล้อต๊อก, เทียว ธารา และ 3 ดาราจากต่างประเทศ คือ คริสติน เหลียง จาก ฮ่องกง, มิสจางเซฟาง จาก ไต้หวัน, มิสลินดา จาก ญี่ปุ่น
กำกับโดย ส.อาสนจินดา ถ่ายภาพโดย ฉลอง ภักดีวิจิตร บริษัทผู้สร้างโดย วัชรภาพยนตร์ เข้าฉายเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2506 ที่โรงภาพยนตร์คาเธ่ย์ ต้อนรับวันตรุษจีน เป็นต้นฉบับของ เจ็ดประจัญบาน รุ่นต่อๆมา
มีนักแสดงนำทั้ง 7 ได้แก่ ..
จ่าดับ จำเปาะ - ส.อาสนจินดา
เหมาะ เชิงมวย - ทักษิณ แจ่มผล
ตังกวย แซ่ลี้ - ทองฮะ วงศ์รักไทย
อัคคี เมฆยันต์ - อาคม มกรานนท์
ดั้น มหิทธา - มิตร ชัยบัญชา (ก่อนหน้านั้นคือ อดุลย์)
กล้า ตะลุมพุก - รุจน์ รณภพ
จุก เบี้ยวสกุล - สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม
2.ชุมทางหาดใหญ่ (เรื่องนี้ก็ไปร่วมมุงเกือบทุกที่ ในหาดใหญ่)
ข้อมูล - ชุมทางหาดใหญ่ นำแสดงโดย มิตร-เพชรา-ไอดาหลิน-ปรียา-ทักษิณ-รุจน์-อดุลย์-สมควร-ฑัต-สาหัส-สมพล สร้างและกำกับโดย ส.อาสนจินดา เข้าฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2509 ที่โรงหนังควีนส์..
(หาดใหญ่ฉายที่ เฉลิมไทย)
3.
ข้อมูล - ผู้ชนะสิบทิศ ตอน ยอดขุนพล เป็นภาคแรกของภาพยนตร์ไทย เรื่อง ผู้ชนะสิบทิศ สร้างระบบ 16 มม.สีธรรมชาติ พากย์ ของเจ้าพระยาภาพยนตร์ กำกับการแสดงโดย เนรมิต ออกฉายครั้งแรกเมื่อ 8 เมษายน พ.ศ. 2509 ที่โรงภาพยนตร์แกรนด์ วังบูรพา
นำแสดงโดย ไชยา สุริยันแสดงเป็นจะเด็ด, ชนะ ศรีอุบล แสดงเป็นมังตรา, กรุณา ยุวกร แสดงเป็นตะละแม่จันทรา และ พิศมัย วิไลศักดิ์ แสดงเป็นตะละแม่กุสุมา
2.
ข้อมูล - ผู้ชนะสิบทิศ ตอน บุเรงนองลั่นกลองรบ เป็นภาคที่ 2 ของภาพยนตร์ไทย เรื่อง ผู้ชนะสิบทิศ สร้างระบบ 16 มม.สีธรรมชาติ พากย์ ของเจ้าพระยาภาพยนตร์ กำกับการแสดงโดย เนรมิต ออกฉายครั้งแรกเมื่อ 15 เมษายน พ.ศ. 2510 ที่ ศาลาเฉลิมกรุง
นำแสดงโดย ไชยา สุริยัน แสดงเป็นจะเด็ด, ชนะ ศรีอุบล แสดงเป็นมังตรา, กรุณา ยุวกร แสดงเป็นตะละแม่จันทรา และ พิศมัย วิไลศักดิ์ แสดงเป็นตะละแม่กุสุมา ร่วมด้วย ศรินทิพย์ ศิริวรรณ, เมตตา รุ่งรัตน์, ประจวบ ฤกษ์ยามดี และ แมน ธีระพล
4.
ข้อมูล - ชนะสิบทิศ ตอน ถล่มหงสาวดี เป็นภาคที่ 3 หรือ ภาคสุดท้าย ของภาพยนตร์ไทย เรื่อง ผู้ชนะสิบทิศ สร้างระบบ 16 มม. สีธรรมชาติ พากย์ ของเจ้าพระยาภาพยนตร์ กำกับการแสดงโดย เนรมิต ออกฉายครั้งแรกเมื่อ 7 กันยายน พ.ศ. 2510 ที่ ศาลาเฉลิมกรุง
นำแสดงโดย ไชยา สุริยัน แสดงเป็นจะเด็ด, ชนะ ศรีอุบล แสดงเป็นมังตรา, กรุณา ยุวกร แสดงเป็นตะละแม่จันทรา และ พิศมัย วิไลศักดิ์ แสดงเป็นตะละแม่กุสุมา ร่วมด้วย ศรินทิพย์ ศิริวรรณ, เมตตา รุ่งรัตน์ และ ประจวบ ฤกษ์ยามดี
5.
***เรื่องนี้ได้ดูที่ โรงหนัง ศรีย่าน เมื่อเข้ามาเรียน กทม. 2513**
ข้อมูล - มนต์รักลูกทุ่ง เป็นภาพยนตร์ที่สร้างมาจากบทประพันธ์เรื่อง "มนต์รักลูกทุ่ง " ของ รังสี ทัศนพยัคฆ์ โดยใช้นามแฝงว่า "มหศักดิ์ สารากร" โดยมิตร ชัยบัญชา มีส่วนร่วมในเนื้อเรื่องด้วย ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายเมื่อวันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 ทำรายได้ถล่มทลายจากทั่วประเทศถึง 13 ล้านบาทและฉายติดต่อกันนาน 6 เดือน ที่โรงภาพยนตร์โคลีเซียม จนถึงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2513 คู่พระ-นาง คือไอ้คล้าว กับ ทองกวาว รับบทโดย มิตร ชัยบัญชา กับเพชรา เชาวราษฎร์ ส่วนคู่รอง คือแว่น กับบุปผา รับบทโดย ศรีไพร ใจพระ กับบุปผา สายชล
เพลงประกอบจากภาพยนตร์เรื่องนี้ จำนวน 14 เพลง เป็นเพลงลูกทุ่ง ซึ่งเพลงในภาพยนตร์ทั้ง 14 เพลงยังเป็นจนทุกวันนี้ เช่นเพลง มนต์รักลูกทุ่ง, สาวนาคอยคู่, อาลัย, สิบหมื่น, น้ำลงนกร้อง, นกร้องน้องช้ำ, น้อยใจรัก, แม่ร้อยใจ เป็นต้น และภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างชื่อเสียงให้ทั้งดารานำ และนักร้องลูกทุ่งที่ร่วมแสดงในครั้งนั้นด้วย
ภาพยนตร์มนต์รักลูกทุ่ง ได้กลับมาฉายใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ. 2515 และได้นำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ. 2525 และ พ.ศ. 2548
มนต์รักลูกทุ่ง มีการนำกลับมาทำใหม่เป็นละครโทรทัศน์ ในปี พ.ศ. 2538 ได้นำกลับมาสร้างใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2548 ทางช่อง 7 สี โดย ดาราวิดีโอ และได้มีการนำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง ใน พ.ศ. 2553 ทางไทยทีวีสีช่อง 3
ภาพยนตร์มนต์รักลูกทุ่ง ปี พ.ศ. 2513 เป็นภาพยนตร์ไทย 1 ในจำนวน 25 เรื่องที่ได้ประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติ โดยหอภาพยนตร์แห่งชาติ ซึ่งภาพยนตร์ทั้ง 25 เรื่องเป็นผลงานของคนไทยหรือเกี่ยวกับคนไทยและชาติไทย
6.
**เรื่องนี้ มีโปสเตอร์ 3 ชุด***
ข้อมูล - แผลเก่า [ 2520 ] เชิด ทรงศรี :ผู้กำกับ
นักแสดง:
สรพงษ์ ชาตรี - ขวัญ
นันทนา เงากระจ่าง - เรียม
ส.อาสนจินดา
ชลิต เฟื่องอารมณ์
เศรษฐา ศิระฉายา
ศรินทิพย์ ศิริวรรณ
เนื้อเรื่องย่อ: สร้างจากบทประพันธ์คลาสสิกของ ไม้ เมืองเดิม เรื่องราวความรักของ ไอ้ขวัญ กับ อีเรียม ที่สุดท้ายกลายเป็นโศกนาฏกรรม ณ ปลายทุ่งคุ้งน้ำบางกะปิ ทำสถิติรายได้สูงสุดเมื่อออกฉายครั้งแรกในปี พ.ศ.2513 ลบสถิติภาพยนตร์ทุกเรื่องที่เข้าฉายในเวลานั้นทั้งไทยและเทศ นอกจากนี้ "แผลเก่า" ยังได้ไปประกาศศักดาของภาพยนตร์ไทยโดยคว้ารางวัลชนะเลิศจากงานประกวดภาพยนตร์ ณ เมืองน็องต์ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2524 และเป็นภาพยนตร์ไทยที่ถูกเรียกร้องให้นำกลับมาฉายใหม่บ่อยที่สุดเรื่องหนึ่ง
7.
ข้อมูล - เพื่อน-แพง เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2526 เขียนบทภาพยนตร์และกำกับการแสดงโดย เชิด ทรงศรี บทภาพยนตร์ โดยธม ธาตรีดัดแปลงจากเรื่องสั้น "เพื่อนแพง" ของยาขอบ(โชติ แพร่พันธุ์) ที่ตีพิมพ์ในวารสารของเทพศิรินทร์ ฉบับชื่นชุมนุม เมื่อ พ.ศ. 2476
นำแสดงโดย
คนึงนิจ ฤกษะสาร
ชณุตพร วิศิษฎโสภณ
สรพงศ์ ชาตรี
ปิยะ ตระกูลราษฎร์
วิโรจน์ ควันธรรม
จัดจำหน่ายโดย เชิดไชยภาพยนตร์
ฉาย 24 กันยายน พ.ศ. 2526
เพื่อน-แพง เป็นโศกนาฏกรรมเกี่ยวกับรักสามเส้า ระหว่าง เจ้าลอ (สรพงศ์ ชาตรี) กับลูกสาวสองคนของพ่อเฒ่าพิศ คือ เพื่อน (คนึงนิจ ฤกษะสาร) กับ แพง (ชณุตพร วิศิษฎโสภณ) ที่จบลงด้วยความตายของแพง พร้อมกับลูกในท้องที่เกิดจากเจ้าลอ และการฆ่าตัวตายของเจ้าลอ เพื่อเป็นการยืนยันในคำสาบานที่มีต่อเพื่อน และด้วยความเสียใจที่เป็นเหตุที่ทำให้แพงต้องตาย
เพื่อน-แพง ออกฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2526 โดยใช้คำโฆษณาว่า "ระหว่างความรักกับคำสาบาน อย่างไหนจะมีอำนาจสูงส่งกว่ากัน"
ได้เข้ารอบชิงรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดีและได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ประจำปี พ.ศ. 2526 โดยชณุตพร วิศิษฏโสภณ ที่รับบทแพง ได้รางวัลตุ๊กตาเงิน จากการประกวดในปีนั้น และคนึงนิจ ฤกษะสาร ที่รับบทเพื่อน ได้รับรางวัลนักแสดงประกอบยอดเยี่ยม รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ส่วนเชิด ทรงศรี ได้รับการเสนอเข้าชิงรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยม ทั้งรางวัลพระราชทานพระสุรัสวดีและรางวัลสุพรรณหงส์ แต่ไม่ได้รับรางวัล
8.
ข้อมูล - วัยอลวน เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2519 กำกับโดยเปี๊ยก โปสเตอร์ จากบทประพันธ์ของ บุญญรักษ์ นิลวงศ์ เจ้าของเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงๆ ในหนัง ซึ่งรับหน้าที่เป็นผู้ช่วยผู้กำกับด้วย
วัยอลวนเป็นภาพยนตร์วัยรุ่นเรื่องแรกๆ ที่เปลี่ยนแนวทางของภาพยนตร์สมัยนั้น ที่พระเอกจะต้องเป็นสุภาพบุรุษหน้าตาดี ร่างกายกำยำ ชำนาญศิลปะการต่อสู้ ผู้กำกับเลือกใช้ไพโรจน์ สังวริบุตร นักแสดงหน้าใหม่รูปร่างผอมเกร็ง ท่าทางยียวนกวนประสาท มารับบทพระเอก
การที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ฉีกแนวไปจากเรื่องอื่น ทำให้ในระยะแรกภาพยนตร์เรื่องนี้ขายไม่ได้ ไม่มีโรงภาพยนตร์ใดยอมซื้อเรื่องนี้ไปฉาย ประกอบกับช่วงนั้นเพิ่งเกิดความรุนแรงในเหตุการณ์ 6 ตุลาได้ไม่นาน แต่จากการจัดกิจกรรมของผู้ฉาย จัดรอบพิเศษให้กับนักเรียน ทำให้เกิดกระแสบอกต่อ ประกอบกับมีเพลงประกอบที่ได้รับความนิยม คือเพลง สุขาอยู่หนใด น่ารัก ร้องและเล่นกีตาร์โดย ชัยรัตน์ เทียบเทียม ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้มีรายได้สูงสุด ถึง 8 ล้านบาท และมีการสร้างภาคต่อ คือ รักอุตลุด ฉายในปี พ.ศ. 2520 และ ชื่นชุลมุน ฉายในปี พ.ศ. 2521 จากความนิยมของภาพยนตร์เรื่องนี้ ทำให้ชื่อเล่น ตั้ม และ โอ๋ เป็นที่นิยมมากในสมัยนั้น
ในปี พ.ศ. 2530 ได้มีการสร้างเป็นละครโทรทัศน์ ทางช่อง 3 นำแสดงโดย ตฤณ เศรษฐโชค, เพ็ญพิสุทธิ์ คงสมุทร, รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง, สมควร กระจ่างศาสตร์
ในปี พ.ศ. 2548 วัยอลวน ได้กลับมาฉายอีกครั้งในเทศกาลภาพยนตร์ Bangkok Film เมื่อวันที่ 17 มกราคม และวันที่ 8 พฤษภาคม และ 13 พฤษภาคม เป็นส่วนหนึ่งของการประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์ภาคต่อ วัยอลวน 4 : ตั้ม-โอ๋ รีเทิร์น ผลงานกำกับโดย ฤทัยวรรณ วงศ์สิรสวัสดิ์
ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังเป็นหนี่งในภาพยนตร์ไทย 100 เรื่องที่คนไทยควรดู และหนึ่งในภาพยนตร์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติครั้งที่ 3