สโมสรบ้านเพลงไทย > ห้องสันทนาการ

แมงดด...มดแดง

<< < (2/2)

เผ่าพงษ์ ปัตตานี:
       ผมเพิ่งสอบถามเพื่อน มันบอกว่าตัวไฮ,ไง (ภาษาใต้) ที่ว่านี่มันจะชอบอยู่กับเถาวัลย์ในป่าชนิดหนึ่งบ้านผมเขาเรียก "ย่านสาวเอ้" (คล้ายกับใบทังแต่ใบลื่นมันกว่า) เพื่อดูดกินน้ำหวานในเถาวัลย์นี้เป็นอาหาร  เมื่อโตขึ้นอีกระดับหนึ่งจะมีปีกบินได้ ก็คงคล้ายๆจั๊กจั่น เรไร ที่ ลุงชัย,อ.ลือ ว่ามาแหละครับ ลำตัวยาวประมาณ 2 นิ้วฟุตได้ หน้านี้แหละ มี.ค.,เม.ย.จะเป็นฤดูของมันเลยครับ  อยู่เป็นกลุ่มๆตามย่านสาวเอ้ที่ว่านั่นแหละ  บางกลุ่มจะมีประมาณเป็น 100 ตัว พอได้คั่วเกลือสักมื้อ  ก่อนนำมาปรุงควรล้างน้ำให้เมือกแป้งสีขาวที่เกาะตัวมันออกเสียก่อนสัก 2-3 น้ำ หรือใช้น้ำร้อนลวกเสียก่อนก็ได้ เพราะบางคนแพ้อาจเมาได้   แต่เพื่อนผมบอกว่าเวลาปรุงให้ใส่น้ำในกะทะนิดหน่อยแล้วคั่วจนน้ำแห้งเลย ใส่เกลือแต่ไม่ต้องใส่น้ำมัน เมื่อแห้งดีแล้วยกลงกินได้เลย 
      เป็นที่น่าสังเกตุว่า "ตัวไฮ" ดังกล่าวนี้มีเฉพาะในภาคใต้เท่านั้นที่อื่นไม่มี  โดยเฉพาะแถวเชียงรายก็มีย่านสาวเอ้เยอะเหมือนกัน แต่ไม่เคยเห็นเจ้าตัวนี้ เพื่อนผมมันไปทำสวนยางอยู่ที่นั่นยืนยันมาอย่างนี้ครับ (อ.ลือ อาจมีข้อมูลทางเชียงใหม่)  ยังไงลุงชัยลองเดินดูตามย่านสาวเอ้ในสวนยางดูน่าจะเจอบ้างนะหน้านี้  ถ้าได้ผลพลั่นพรื่อก้าเล่าให้ควังกันบ้างนะครับ

ลือ:
1. ผมค้นกูเกิ้ลด้วยคำว่า "แมลงจักจั่น" ในหมวดค้นรูป (image)....
       ได้รูปนี้มาอีก อธิบายว่า "ตัวอ่อนของจักจั่น" ซึ่งก็ซ้ำรูปกับตัวเรไรที่ว่ามาก่อนนี้ครับ
    ถ้าตามนี้ แสดงว่า เรียก "จักจั่นเรไร" รวมกัน...

 
         link : http://www.talkystory.com/?p=16903

     ตัว"จักจั่น"นี้ (ที่เรามักเรียก และเขียนผิดศัพท์บัญญัติ เป็น "จั๊กจั่น")...กว่าจะฟักตัวจากไข่ใต้ดิน ขึ้นมาเป็นตัวได้
          ใช้เวลาประมาณ  5-7 ปี ตามข้อมูลนี้ครับ...
                   ไข่ (4 เดือน) - วางไข่ใต้เปลือกไม้
                      ตัวอ่อน (4-6ปี) - ใช้ชีวิตอยู่ใต้ดิน ดูดกินน้ำเลี้ยงจากรากไม้เป็นอาหาร
                           ตัวเต็มวัย (1-2 เดือน) - อาศัยอยู่ตามต้นไม้ดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นไม้เป็นอาหาร
              ตัวผู้ทำเสียงได้ดังมาก ประมาณ 200 เดซิเบล     ตัวเมียไม่สามารถทำเสียงได้
         ( ตามลิ้งค์ข้างบน ทางเหนือ เช่น จ.ลำปาง เรียกตัวอ่อนจักจั่น ว่า "เงาะจักจั่น" ...แต่ผมไม่เคยเห็นของจริงนะครับ)
2. อีกข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจครับ เรื่องแป้งที่ตัวอ่อนจักจั่น

     
       
       
      "...จากกรณีที่ชาวบ้านหลายจังหวัด เข้าป่าเพื่อขุดหาว่านจักจั่น โดยเชื่อว่าเป็นเครื่องรางศักดิ์สิทธิ์
             จนเกิดการซื้อขายตั้งแต่ราคา 199-5,000 บาท นั้น
     ดร.สายัณห์ สมฤทธิ์ผล นักวิจัยห้องปฏิบัติการราวิทยา ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) กล่าวว่า ว่านจักจั่น ที่ชาวบ้านกำลังนิยมนำมาบูชานั้น แท้จริงแล้วคือ จักจั่นที่ตายจากการติดเชื้อรา
       ไม่ใช่ว่านหรือพืชอย่างที่เข้าใจ โดยเป็นจักจั่นในระยะตัวอ่อนที่กำลังไต่ขึ้นมาเพื่อลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยเหนือพื้นดิน ซึ่งในระยะนี้ร่างกายจักจั่นมีการเปลี่ยนแปลงทำให้อ่อนแอ
      ประกอบกับช่วงต้นฤดูฝนมีความชื้นสูง จึงมีโอกาสติดเชื้อราแมลงที่มีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ ก่อให้เกิดโรคและทำให้จักจั่นตายในที่สุด
       ซึ่งเมื่อจักจั่นตาย เชื้อราก็จะแทงเส้นใยเข้าไปเจริญในตัวจักจั่นเพื่อดูดน้ำเลี้ยงเป็นอาหารและเจริญเติบโตเป็นโครงสร้างสืบพันธุ์ที่มีลักษณะคล้ายเขาบริเวณหัว ทำหน้าที่สร้างสปอร์เพื่อแพร่พันธุ์เชื้อราต่อไป
          ลักษณะที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า ราแมลง ส่วนชนิดของราที่เกิดขึ้นบนตัวจักจั่นนั้น เบื้องต้นสันนิษฐานว่าเป็นราสายพันธุ์คอร์ไดเซพ โซโบลิเฟอรา (Cordyceps sobolifera) .."
 
  link : http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1121
        ตัวนี้ ชื่อ "จักจั่นขาวซ่อนฟ้า"

               

3. ยังไง..ผมก็ขอกินแต่"มดแดง"ครับ...

           
   
                  :61 :61 :61

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[*] หน้าที่แล้ว

Go to full version