กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติ พุ่มพวง ดวงจันทร์  (อ่าน 15885 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

สุริยะ

  • ชาวบ้านเพลงไทยอาวุโส
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 13
  • กระทู้: 18
  • Thank You
  • -Given: 3
  • -Receive: 13
ประวัติ พุ่มพวง ดวงจันทร์
« เมื่อ: เมษายน 06, 2015, 10:34:20 AM »
ประวัติ พุ่มพวง ดวงจันทร์
เจ้าของฉายา ราชินีลูกทุ่ง มีน้ำเสียงออดอ้อน หวาน จำเนื้อร้องได้แม่นทั้งที่ไม่รู้หนังสือ และเป็นแม่แบบให้กับนักร้องรุ่นหลัง

ประวัติ พุ่มพวง ดวงจันทร์ หรือ ผึ้ง รำพึง จิตรหาญ
    พุ่มพวง ดวงจันทร์ (4 สิงหาคม พ.ศ. 2504 - 13 มิถุนายน พ.ศ. 2535) ชื่อเล่น ผึ้ง หรือชื่อจริง รำพึง จิตรหาญ นักร้องเพลงลูกทุ่ง เจ้าของฉายา ราชินีลูกทุ่ง ได้ชื่อว่ามีน้ำเสียงออดอ้อน หวาน จำเนื้อร้องได้แม่นทั้งที่ไม่รู้หนังสือ และเป็นแม่แบบให้กับนักร้องรุ่นหลัง

ประวัติ พุ่มพวง ดวงจันทร์
     รำพึง จิตรหาญ เกิดที่ตำบลบ่อสุพรรณ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นบุตรคนที่ 1 จาก 3 คนของนายสำราญ และนางเล็ก จิตรหาญ ครอบครัวมีอาชีพรับจ้างทำไร่อ้อย
     ชื่อจริง : รำพึง จิตรหาญ
     ชื่อเล่น : ผึ้ง
     ฉายา : พุ่มพวง ดวงจันทร์ , น้ำผึ้ง เมืองสุพรรณ , น้ำผึ้ง ณ ไร่อ้อย
     วันเกิด :  4 สิงหาคม พ.ศ. 2504
     แหล่งกำเนิด :  จังหวัดสุพรรณบุรี
     วันที่เสียชีวิต : 13 มิถุนายน พ.ศ. 2535 (อายุ 30 ปี)
     แนวเพลง : เพลงลูกทุ่ง
     อาชีพ : นักร้อง
     ปี  : พ.ศ. 2515 - พ.ศ. 2535
     ค่าย : อโซน่า

เส้นทางนักร้อง
     รำพึง ชื่นชอบการร้องเพลงลูกทุ่งตั้งแต่เด็กเดินสายประกวดร้องเพลงลูกทุ่งใช้ชื่อว่าน้ำผึ้ง ณ ไร่อ้อย และมาอยู่กับวงดนตรี ดวง อนุชา ตั้งแต่อายุประมาณ 10 ขวบ เมื่ออายุได้ 15 ปี บิดาและน้าชายของรำพึงฝากฝังให้เป็นบุตรบุญธรรมของไวพจน์ เพชรสุวรรณ โดยใช้ชื่อว่า น้ำผึ้ง สกุณี ก่อนที่ไวพจน์ จะแต่งเพลงและอัดแผ่นเสียงชุดแรกให้ ชื่อเพลงแก้วรอพี่ และหันมาใช้ชื่อในการร้องเพลงว่า น้ำผึ้ง เมืองสุพรรณ เมื่อ พ.ศ. 2519

ต่อมา ลาออกจากวงไวพจน์มาพร้อมกับธีระพล แสนสุข ไปอยู่กับวงดนตรีศรเพชร ศรสุพรรณ เป็นทั้งนักร้องพร้อมกับเต้นหางเครื่องด้วย และย้ายมาอยู่กับขวัญชัย เพชรร้อยเอ็ด หลังจากอยู่กับศรเพชรไม่นาน และได้บันทึกเสียงจากการแต่งของก้อง กาจกำแหง ร้องแก้ขวัญชัย เพลงนั้นคือ รักไม่อันตรายและรำพึง ใช้ชื่อในการร้องเพลงว่า พุ่มพวง ดวงจันทร์ จากการตั้งชื่อโดย มนต์ เมืองเหนือและตั้งวงดนตรีเป็นของตนเอง โดยการสนับสนุนของคารม คมคาย นักจัดรายการวิทยุ มนต์ เมืองเหนือแต่ไม่ประสบความสำเร็จก็มาสังกัดบริษัทเสกสรรเทป-แผ่นเสียงผลงานของพุ่มพวง ดวงจันทร์เริ่มประสบความสำเร็จในเวลาต่อมาหลังจากได้รับการสนับสนุนจากประจวบ จำปาทองและปรีชา อัศวฤกษ์นันท์ให้ตั้งวงร่วมกับเสรี รุ่งสว่าง ในชื่อวง เสรี-พุ่มพวง จากจุดนี้ก็ได้รับความสำเร็จขึ้นพุ่มพวง มีชื่อเสียงสูงสุดในช่วงปี พ.ศ. 2515-2534หลังจากออกจากเสกสรรเทป-แผ่นเสียงมาอยู่ในสังกัดอโซน่าด้วยเพลงจากการแต่งของลพ บุรีรัตน์ที่พลิกแนวให้หันมาร้องเพลงสนุก ๆ และได้การตอบรับจากคนฟังเป็นอย่างมาก เพลงที่มีชื่อเสียง ได้แก่ สาวนาสั่งแฟน ซึ่งเป็นเพลงจุดประกาย ก่อนจะตามมาด้วยเพลง นัดพบหน้าอำเภอ, อื้อฮือหล่อจัง,ดาวเรืองดาโรย, คนดังลืมหลังควาย, นักร้องบ้านนอก, บทเรียนราคาเพลง, หม้ายขันหมาก และอื่นๆอีกมาก นอกจากนี้ ยังได้เป็นผู้ร้องเพลง ส้มตำ (เพลงพระราชนิพนธ์) พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีพุ่มพวงเข้าสู่วงการภาพยนตร์ และแสดงหนังเรื่องแรก สงครามเพลง สร้างโดยฉลอง ภักดีวิจิตร และอีกหลายเรื่อง ในช่วงที่แสดงภาพยนตร์เรื่อง มนต์รักนักเพลง ได้พบกับ (ไกรสร แสงอนันต์) ไกรสรได้พาพุ่มพวงพามาเข้าสังกัด อ.ไพจิตร ศุภวารี และมีผลงานอีกหลายชุด เช่น ตั๊กแตนผูกโบว์ โลกของผึ้ง หลังจากนั้นมาอยู่กับห้างท็อปไลน์

ลาลับ
     พุ่มพวงหายหน้าไปจากวงการเนื่องจากป่วยด้วยโรคเอสแอลอีหรือโรคแพ้ภูมิตัวเองก่อนจะเสียชีวิตเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2535สิริอายุได้ 31 ปี สวดอภิธรรมศพที่วัดมกุฏกษัตริยาราม พิธีพระราชทานเพลิงศพของพุ่มพวง ดวงจันทร์ จัดที่วัดทับกระดาน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. พ.ศ. 2535 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธี นอกจากนี้ยังมีการสร้างหุ่นพุ่มพวง ตั้งอยู่ในศาลาริมสระน้ำ วัดทับกระดาน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมีการจัดงานรำลึกถึงพุ่มพวงทุกปี ช่วง 13-15 มิถุนายน ซึ่งเป็นวันครบรอบการเสียชีวิตของเธอ

ผลงาน

การร้องเพลง

•ตั๊กแตนผูกโบว์
•หม้ายขันหมาก
•อื้อฮือหล่อจัง
•สาวนาสั่งแฟน
•ดาวเรืองดาวโรย
•อายแสงนีออน
•นักร้องบ้านนอก
•บทเรียนราคาแพง
•หม้ายขันหมาก
•ส้มตำ
•เพลงรักบ้านทุ่ง



แสดงภาพยนตร์
•2530 เพลงรัก เพลงปืน
•2530 เชลยรัก
•2528 ที่รัก เธออยู่ไหน
•2527 จงอางผงาด
•2527 ขอโทษที ที่รัก
•2527 อีแต๋น ไอเลิฟยู
•2527 อาจารย์เด๋อเจอพุ่มพวง
•2527 สาวนาสั่งแฟน
•2527 นางสาวกะทิสด
•2527 ชี
•2527 คุณนาย ป.4
•2527 มนต์รักนักเพลง
•2526 รอยไม้เรียว
•2526 สงครามเพลง (คู่กับ ยอดรัก สลักใจ)

*****ขอบคุณข้อมูลจาก วิกีพีเดีย*****






« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 06, 2015, 12:52:37 PM โดย สมภพ »
บันทึกการเข้า

** กระทู้แรกที่ควรอ่านเมื่ออยู่บ้านเพลงไทย **