หอเกียรติยศ > ชาย เมืองสิงห์

เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์

<< < (32/34) > >>

แก้ว สาริกา:
                             
                              :teentob: :teentob: :teentob: :teentob:
                   
                        เพลง "นักเพลงคนโปรด ไพโรจน์ ภูชาญ"  แก้ว สาริกา  ขับร้อง

                              http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/4df77087b2ee070cb6dd8eee4936405a.swf

  : ถ้าจะพูดถึงนักร้องที่ผลิตแผ่นเสียง ออกมาสู่ท้องตลาด "ชาย เมืองสิงห์" เป็นหนี่ง ที่บุกเบิกตลาดแผ่นเสียง มาตั้งแต่อยู่ประจำวงดนตรี "จุฬารัตน์" ด้วยความเชื่อมั่นกล้าลงทุน กล้าได้กล้าเสีย ประกอบกับความโด่งดัง ใครๆก็อยากแต่งเพลงให้
"ชาย เมืองสิงห์" ร้อง และพี่ชายแต่งเพลงเอง โดยไม่จำเป็นต้องไปหาซื้อเพลงจากใคร พรสวรรค์มีอยู่ในสมอง มีพลังเต็มเปี่ยม เริ่มจาก แผ่นเสียง ตรา "นักร้อง" ที่ใช้รูปของตัวเองเป็นโลโก้ แต่มีน้อยมากที่ใช้ตรานักร้อง ต่อมา ก็ ตรา "ตุ๊กตาจ๋า" ตราที่กล่าวนี้ใช้เมื่อครั้งอยู่ "จุฬารัตน์" ครั้นได้มีวง จุฬาทิพย์ จะใช้ตรา "พานทอง" ตรา "จุฬาทิพย์" เป็นหลัก
ตรา "พานทอง" สำหรับตราพานทองนี้ มีเยอะมาก และหลายรูปแบบ พี่ชายใช้นามสกุลของตัวเองมาเป็นโลโก้ พี่ชายเก่งเรื่องการออกแบบ และเขียนลวดลายของตัวอักษรหนังสือ เมื่อทำเป็นหรือออกแบบมาแต่ละตรา ก็สุดสวยแสนสดุดตา ตรา "จุฬาทิพย์"
ก็ออกแบบมาหลายแบบ แต่ละแบบ ก็สวยๆทั้งนั้น ท่านที่เป็นนักเล่นแผ่นเสียง สะสมแผ่นเสียง ก็จะรับรู้ได้
      ถึงความเป็นนักร้อง นักแต่งเพลง และนักออกแบบ ของ " ชาย เมืองสิงห์" ...

แก้ว สาริกา:
 
   : ถ้าหากบังเอิญ จะมีใครสักคนถามผมว่า ในแวดวงของตราแผ่นเสียง มีตราอะไรบ้าง ผมก็จะตอบง่ายๆว่า ผมม่ายรู้ มันเยอะแยะมากมายเหลือเกิน นับจำนวนไม่ถูก ไม่รู้กี่ร้อยกี่พันตรา เอาจำเพาะตราที่ดังๆติดตลาดการค้าขายแผ่นเสียงก็จำกันไม่หวาดไม่ไหวแล้ว แต่ถ้าเป็นตราแผ่นเสียงยุคแรกๆ ที่ผมเกิดทันและจำความได้ ก็ แผ่นเสียง "ตรากระต่าย" ของห้าง ต. เง็กชวน มีทั้ง ลิเก ลำตัด เพลงไทยเดิม เพลงตลาดยุคโบราณ ...
  ห้องบันทึกเสียง ยุคต้นๆ "ห้องบันทึกเสียงกมลสุโกศล" เยื้อง สวนลุมพินี ปากซอยสวนพลู, ห้องบันทึกเสียงศรีกรุง
ซอยอโศก เอกมัย, ห้องบันทึกเสียง อ้ศวิน(อัศวินภาพยนตร์), ห้องบันทึกเสียงฉลอง ติ่งชัน ในคลองบางกอกน้อย,
ผมก็เห็นมีเพียงแค่นั้น
    บริษัท ผู้รับทำแผ่นเสียง ก็เห็นมีอยู่ไม่มาก จำได้ "บริษัท วิรุฬหัตถกิจ" อยู่ใกล้ๆ โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง
ยุคต่อมาก็เกิดห้องบันทึกเสียง ตามมาอีกมาก ทั้งในรูปแบบบริษัท และส่วนบุคคล ที่โดดเด่น  ห้องบันทึกเสียง ครูไพบูลย์ ศุภวารี บางโพธิ์, ห้องบันทึกเสียงบริษัทโรต้า, ห้องบันทึกเสียง คิงส์ซาวด์, ห้องบันทึกเสียง จาตุรงค์, ฯลฯ และที่เลิกกิจการไปแล้วก็เยอะ
จนปัจจุบัน ล่วงเวลาสู่ยุคนายทุน "ห้องบันทึกเสียง ประจำบริษัทค่ายเพลง" ของแต่ละค่าย
               คงไม่จำเป็นต้องบอกนะครับ ว่ามีค่ายใดบ้าง ...

แก้ว สาริกา:
       

      : ค่านิยม - ค่าตอบแทน ของผู้ประพันธ์เพลง ผู้สร้างสรรค์งานเพลง หรือเรียกง่ายๆ นักแต่งเพลง :
     นักฟังเพลง คนเก่าๆแต่ปางก่อน เค้าฟังเพลงกันจริงๆ จะฟังว่าเพลงนั้นใครร้อง เพลงนี้เสียงใคร แล้วเพลงนั้นล่ะ เป็นเสียงของนักร้องชื่ออะไร เพลงโน้นล่ะใครร้อง น้อยนักไอ้เรื่องที่จะถามหาว่า เพลงโน้น เพลงนี้ เพลงนั้น ใครแต่งใครประพันธ์ หรือแม้แต่ เป็นผู้เรียบเรียงเสียงประสานดนตรี ให้กำเนิดเสียงดนตรี ยิ่งคนเล่นเครื่องดนตรี กว่าจะเล่นกว่าจะเป่าออกมาเป็นเพลงได้แต่ละเพลงก็แสนจะเหน็ดเหนื่อย แต่ไม่เคยเลยสักครั้งที่จะมีคนถามหา จนมาหลังๆนี้แหล่ะจึงมีคนค้นหา ถามหาเห็นคุณค่าขึ้นมากัน แต่ท่านเหล่านั้นก็หารับรู้ไม่แล้ว แถมยังมั่วๆ จับชื่อ คนโน้นมาใส่เพลงนี้ จับชื่อคนนี้ไปใส่เพลงนั้น ผมมองอยู่ห่างๆ พอทักเข้าไปบ้าง
ด้วยความหวังที่ว่าจะได้มีข้อมูลที่ถูกต้อง และเข้าใจตรงกัน เลยโดนจัด... เรียกว่าอยู่ดีไม่ว่าดี (เสือก 55555) ผมก็เลยนิ่ง ...
      ครูไพบูลย์ บุตรขันธ์,  ครูเบญจมินทร์,  ครู ป. ชื่นประโยชน์,  ครู ก. แก้วประเสริฐ์, ครูพิพัฒน์ บริบูรณ์,  บรมครูผู้ประพันธ์เพลง ยุคแรกๆ เพลงไทยสากล เพลงตลาด ซึ่งต่อมา ปี 2507 เพลงไทยสากล เปลี่ยนสรรพนามใหม่ คือเพลงลูกกรุง เพลงตลาดเรียกว่าเพลงลูกทุ่งจนถึงทุกวันนี้ ท่านเหล่านี้ท่านได้อะไรนอกจากความภูมิใจ ท่านเขียนเพลง แต่งเพลง รังสรรค์งานเพลงจากมันสมองอัจฉริยะ โดยคิดว่าเป็นงานศิลปของงานเขียนเป็นค่านิยม ไม่ใช่กำหนดออกมาเป็นค่าสินจ้างตอบแทนแต่อย่างใด สร้างนักร้องดังมากี่ยุคกี่สมัย จากรุ่นสู่รุ่น และอีกหลายๆรุ่น หากแม้นว่าครูเพลงท่าน คิดเป็นค่าจ้างเม็ดเงิน ผมเชื่อว่าแต่ละท่านต้องมีเงิน
นับเป็น ร้อยล้าน
    ห้างแผ่นเสียงแต่ละห้าง ร่ำรวยเพราะเพลงของครูผู้ประพันธ์สร้างงานเพลง เป็นจำนวนเงินมากมายมหาศาล แล้วบริษัทท่านเหล่านี้ได้ให้อะไรกับครูเพลงบ้าง ลูกหลานทายาทครูเพลง อดอยากปากแห้ง แต่ลูกหลาน บริษัท ห้างร้าน ร่ำรวยจากมรดกที่กอบโกยและเอารัดเอาเปรียบ ท่านสุขสบายอยู่บนกองเงินกองทอง แต่ครูเพลง อย่างดีก็ได้แค่รับผลบุญ จากท่านที่กรวดน้ำอุทิศส่งไปให้ ก็เท่านั้นเอง ...
      ครู "สนิท มโนรัตน์" ครูเพลงที่บางคนอาจจะลืมชื่อนี้ไปแล้ว ท่านเขียนเพลงไว้เยอะ โด่งดังไม่แพ้นักแต่งเพลงท่านใดๆ
อย่างเพลง "พี่ไปหลายวัน" ชาย เมืองสิงห์ เพลง "หนุ่มนารอนาง" ไวพจน์ เพชรสุพรรณ เพลง "ทหารเรือมาแล้ว" ยอดรัก สลักใจ ฯลฯ   บั้นปลายของชีวิตครู ท่านสิ้นใจ แทบจะไร้คนเหลียวแล จริง ๆ ...

                             : ศิลปินอย่าดูหมิ่น ศิลปะ  กองขยะดูให้ดี ก็มีศิลป์
                               หากสาวใส้ออกมา ให้กากิน   ศิลปินก็ถูกมอง ของเหลือเดน : :yenta4-emoticon-0043:
 
     

สมภพ:
เสียดายที่ห้องนี้ไม่มีปุ่มกดขอบคุณ ไม่งั้นพี่แก้วน่าจะต้องเอาสิบล้อมาขนกลับบ้าน

แก้ว สาริกา:
   :teentob: ครูผู้มีแต่จะให้ ให้ ให้ แล้วก็ให้ ครูผู้มีแต่เสียสระ ครูผู้ที่จะไม่เอาเปรียบ ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นใคร ถ้าเข้ามาหาครู
ผมเคยสัมผัสครูเพลงมาก็หลายคน เมื่อท่านจะแต่งเพลงให้นักร้องคนหนึ่งคนใดสักเพลงสองเพลง ท่านจะฟังเนื้อเสียง
ของนักร้องแต่ละคนก่อน หากเป็นนักร้องดังที่คุ้นชื่อคุ้นเสียงก็ไม่กระไร แต่ถ้านักร้องที่ไม่คุ้นเสียงแล้ว ไม่ใช่ใครนึกจะร้อง
ก็เอาไปร้องได้ง่าย ๆ ซึ่งแตกต่างกว่าปัจจุบัน ...

    ทูล ทองใจ เป็นหนึ่งที่ยากมากๆ ถ้าจะร้องเพลงของใครสักคน ถ้านักแต่งเพลงผู้นั้น
ไม่ใช่ ครูมงคล อมาตยกุล, ครูไพบูลย์ บุตรขัน, ครูเบญจมินทร์, หรือ ครูพิพัฒน์ บริบูรณ์, เมินซะเถอะ
ที่ "พี่น้อยจะร้องให้ใครง่ายๆ ซ่ะเมื่อไหร่" เมื่อนึกถึงตรงนี้ผมนึกได้ว่า
     ครั้งหนึ่ง พี่หนก ผมหมายถึง ครู ลพ บุรีรัตน์ เมื่อท่านครั้งอยู่ วงดนตรี "จุฬารัตน์" ใช้นามนักร้องว่า "กนก เกตุกาญจน์" ในนามนักแต่งเพลง "หงิม คำเจริญ" และหรือ "วิเชียร คำเจริญ" ท่านเคยคุยเล่าสู่กันฟังว่า ครั้งแรกที่ท่านจะเข้า จุฬารัตน์ ได้มาหา ครู "มงคล อมาตยกุล" ขอสมัครเป็นนักร้อง แต่ ครูมงคล ปฏิเสธไม่รับ ด้วยความผิดหวัง ก็กลับไป ด้วยความพยายาม และใจรักการแต่งเพลง จึงแต่งเพลงขึ้นมาเพลงหนึ่งเป็นเพลงแรกในชีวิต แล้วนำไปให้ ครู "ไพบูลย์ บุตรขันธ์" เมื่อครูไพบูลย์ ได้อ่านทบทวน ก็บอกไป เพลงนี้ดี เนื้อหาก็ดีเยี่ยม จึงเขียนจดหมาย ฝากนำไปให้ครูมงคล ใจความง่ายๆ "ครูมงคล ช่วยรับเด็กคนนี้ให้อยู่วงด้วย แต่งเพลงดี" นั่นแหล่ะ ครูมงคล จึงรับ แล้วขอดูเพลงที่แต่งมา ด้วยเวลาที่ไม่นาน ครูมงคล อมาตยกุล ก็นำเพลงนี้ ที่นักแต่งหน้าใหม่ และเพิ่งจะแต่งเพลงเป็นเพลงแรก มอบให้ "ทูล ทองใจ" ร้องบันทึกเสียง  เพลง "กอดหมอนนอนเพ้อ" หงิม คำเจริญ หรือ วิเชียร คำเจริญ ให้คำร้อง และทำนอง ครูให้ใช้ชื่อนักร้อง "กนก เกตุกาญจน์"
      แต่งเพลง "หยาดฟ้ามาดิน" โฆสิต นพคุณ  ร้อง,  เพลง "บ้านใกล้เรือนเคียง"  เพลง "แม่ผักปอดเดือนแปด"  ชาย เมืองสิงห์ ร้อง ดังถึงขนาดไหน หลับตานึกภาพเอาเองเถิดครับ .....

ฟังเพลงกันครับ กอดหมอนนอนเพ้อ - ทูล ทองใจ
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/5f79444000fb77b6e32f0ea4c100d561.swf

อัีกเพลงที่เป็นผลงานการประพันธ์ของวิเชียร คำเจริญ หยาดฟ้ามาดิน - โฆษิต นพคุณ
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/6fe4a692d3df949850222521c13279b5.swf

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

Go to full version