หอเกียรติยศ > ชาย เมืองสิงห์
เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
ทรงอาจ:
เรื่องราวของวงดนตรีหลังเขาประยุกต์ คุณลุงแก้ว แย้มๆ มาว่าจะเกี่ยวข้องกับเพลงนี้ด้วย ขอนำมาให้ฟังก่อน เพลง เอกา ชาย เมืองสิงห์ ร้อง ดาวฤกษ์ เรวดี แต่ง ลุงแก้ว สาริกา จัดหาไฟล์เพลง ผมจัดทำคลิปครับ
http://www.youtube.com/v/TALJOB6ZgOI?fs=1&hl=en_US
แก้ว สาริกา:
:zxdrn: : ครั้นพอได้จำนวน นักร้อง ทั้ง ชาย-หญิง ตามที่ต้องการ นักเต้นหางเครื่องไม่ต้องพูดถึง พี่ชายก็ให้ นักร้องทุกคน
นี่แหล่ะ ฝึกเต้น ซ้อมเต้น โดยมี พี่ติ๋ม (ดวงใจ เมืองสิงห์) เป็นผู้ฝึกสอน ฉนั้น นักร้อง ชาย-หญิง รุ่นแรกๆ จะเต้นได้ดีๆ กัน ทุกคน ผมเอง ก็เบาเสียเมื่อไหร่ ถึงตอนนี้ก็เหอะ พอได้โอกาสเหมาะโม้เลยเรา (โม้ทั้งปี ตาแก้ว 55555) พอจะเข้าที่เข้าทาง พี่ชายก็พา บรรดา นักร้อง นักเต้น เดินทางมุ่งสู่ อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี ไปกราบนมัสการ
หลวงพ่อ อภินันทจุฬ ( หลวงพ่อจุฬ หรือหลวงพ่อใหญ่ ) วัดถ้ำใหญ่คูหาสวรรค์ หาฤกษ์ หายาม ตรวจ ดวงชะตาราศรี
และตั้งชื่อ คณะวงดนตรี ...
ขออนุญาต ขยายความ พระคุณหลวงพ่อท่านนี้แหล่ะ ที่ เป็นผู้ ตั้งชื่อ วงดนตรี จุฬารัตน์ เป็นที่เคารพ ของ ครูมงคง อมาตยกุล และนักร้อง ทุกคน ของ จุฬารัตน์ ลูกศิษย์ ที่เป็นนักร้องดังๅ ก็มากมาย เช่น ไพรวัลย์ ลูกเพชร, วงดนตรี จุฬาภิรมย์,
วงดนตรี จุฬาโรจน์, ฯลฯ ...
เอาล่ะ เข้าเรื่อง จุฬาทิพย์ ต่อนะครับ หลวงพ่อ เอา วัน/เดือน /ปี เกิด ของผู้เป็นหัวหน้าวง ก็คือ ชาย เมืองสิงห์ ตรวจดู แล้วเขียนลงอักขระบรรจุ ลงในพระประจำวันเกิด คือพระปางพุทธไสยาส พระประจำวันอังคาร จัดเก็บไว้ ในที่อันสมควร
ที่ผมสังเกตุเห็น ก็คือ เป็นในช่องหินหลืบ ของถ้ำภูเขาในบริเวณวัด จากนั้น ก็ให้ นักร้องทุกคน ที่มาอยู่ร่วม ในพิธี รับสัจจะ
- ห้ามกินเนื้อสัตว์ใหญ่ ห้ามนำเนื้อสัตว์ใหญ่ขึ้นรถ คณะดนตรี ( ผมเองก็ไม่กินเนื้อตั้งแต่นั้นมา จนถึง เดี๋ยวนี้ )
จะสังเกตุเห็นได้ว่า วงจุฬารัตน์, วงจุฬาทิพย์, ไม่เคยมีปรากฏ เรื่องรถเกิดอุบัติเหตุเลยจริงๆ ...
หลวงพ่อตั้งชื่อ คณะให้ นั่นก็คือ " จุฬาทิพย์ "
ปล. โปรดสังเกตุนะครับ คำว่า จุฬารัตน์ หรือ จุฬาทิพย์ ขยายความมาจาก ชื่อ ของหลวงพ่อ" จุฬ "
แก้ว สาริกา:
:20 : ทีนี้ จะเล่า และกล่าวถึงนักร้อง ทั้ง ชาย และ หญิง ...
ที่ได้มาร่วมกับ วงจุฬาทิพย์ อย่างมีคุณค่าของความเป็นนักร้อง ที่ร้องเพลง ของ ชาย เมืองสิงห์ ได้แต่งให้ร้องไว้ จนเป็นขวัญใจ
ของนักนิยมเพลงลูกทุ่งอย่างกว้างขวาง เช่น โฆษิต นพคุณ เพลง ลั่นทม, บุปผา สายชล เพลง แก้มนวล, ดวงรัตน์ แสงอุทัย เพลง น้ำตาน้องติ๋ม และ ศรีไพร ใจพระ เพลง สาวซ้อมข้าว, ล้วนแต่เป็นนักร้องที่ได้ร้องเพลง ของ ชาย เมืองสิงห์ แต่งให้ร้อง จนมีชื่อเสียงโด่งดัง แต่ก็ให้เป็นที่น่าเสียดาย นักร้องทุกท่าน ที่ได้กล่าวนามมานี้ ก็มีวิถีทางเป็นของตัวเอง จึงร่วมงาน กับ จุฬาทิพย์ ไม่นาน ก็ต้องแยกย้าย ไปตามวิถีทางของแต่ละคน -
: นักร้องทีได้เข้าสู่ วงดนตรี จุฬาทิพย์ โดย แบบอัตโนมัติ อย่าง ยอด ธงชัย, เรไร ณ.โคราช, ทศพร หิมพานต์, แก้ว สาริกา, นักร้องบางท่าน ก็เคยได้เขียนในกระทู้ ไว้ก่อน หน้านี้บ้างแล้ว ก็มาถึงที นักร้อง นามว่า มรกต เมืองกาญจน์, เป็นญาติผู้พี่ ของ แมน เนรมิตร ศิษย์รัก ของ ชาย เมืองสิงห์, ไม่ต้องสาธยาย ยังไง ก็แน่นอน, บุตร บุญธรรม ดูเหมือนว่า เคยกล่าวถึง ตอนมาเป็นนักร้อง แล้วเช่นกัน ดวงมาลย์ มิ่งมิตร, (กลอย มิ่งขวัญ) ลาออกจาก ก้าน แก้วสุพรรณ มาพักอยู่ที่บ้าน แถวๆ บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ชาย เมืองสิงห์ ไปจัดสวนสนุก ที่สระโกสินารายณ์ กลอย มิ่งขวัญ เดินเข้ามาหา พี่ชาย สมัคร เป็นนักร้อง ด้วยความสามารถและหน้าตาที่สวยสดใส พี่ชายจึงรับไว้ เปลี่ยนชื่อ เป็น ดวงมาลย์ เนรมิตร, ต่อมาบันทึกเสียงเพลง ใจจืด, ชีวิตพยาบาล, เปลี่ยนชื่อเป็น " ดวงมาลย์ มิ่งมิตร " (ดวงมาลย์ มิ่งมิตร กะ เยาวมาลย์ มิ่งมิตร คนละคน กันนะครับ)
คราวนี้ก็ถึง นักร้องผู้มีความสำคัญอีกคนหนึ่ง ของ วงจุฬาทิพย์ บุญ บันดาล คนแรก (บรรพต สุกแสง)
ติดตาม ศรีไพร ใจพระ มาด้วย ศรีไพร ก็เลย บอกฝากให้อยู่ วงจุฬาทิพย์ มีเหตุการณ์ ที่น่าจดจำ คืนที่ พี่ชาย จัดงานสวนสนุกที่สระโกสินารายณ์ บรรพต ก็ช่วยงานอยู่ตลอด กลางดึกของคืนวันนั้น บรรพต ถูกงูแมวเซากัด เกือบตาย ชาย เมืองสิงห์ ให้ความเมตตา เป็นพิเศษ นำส่งโรงพยาบาล จ่ายค่ารักษาจนปลอดภัยเกื้อหนุน จุนเจือ เปลี่ยนชื่อ จาก บรรพต สุกแสง เป็น บุญ บันดาล ๆ แต่ง เพลง พ่อแก่แม่เฒ่า, ให้ ชาย เมืองสิงห์ ร้องบันทึกเสียง, เพลง " พ่อแก่แม่เฒ่า" โด่งดังเป็นอมตะ จนถึงทุกวันนี้ ...
เพลง พ่อแก่แม่เฒ่า ชาย เมืองสิงห์ ขับร้อง
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/107fc8f040e36cbc14c6e711d81d47b5.swf
ผมเอ่ยชื่อมา เพื่อพอเข้าใจได้ ยังจะมีรายละเอียดประวัติของนักร้องแต่ละคนอีก เท่าที่ความจำจะอำนวย
สมภพ:
มาแล้วครับ
เพลงแรก พ่อแก่แม่เฒ่า - ชาย เมืองสิงห์
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/107fc8f040e36cbc14c6e711d81d47b5.swf
เพลงที่สอง ชวนชม - แมน เนรมิต
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/214a5fbf530ea4132d6abe64afc6a5c4.swf
เพลงที่สาม แก้มนวล - บุปผา สายชล
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/244de88dea262c0a072fd3479dc47989.swf
เพลงที่สี่ สะบัดสะบิ้ง - มรกต เมืองกาญจน์
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/72f303cd5e0503c2733942c48af9daef.swf
:zxdrn: :yenta4-emoticon-0102: :yuri1:
แก้ว สาริกา:
:teentob: :teentob:: แหม ๆ ไอ้ผมก็ชอบความสวยๆงามๆ ซ่ะด้วย เห็น คุณสมภพ วางเพลง หน้าปัต ทั้งเสียง สี แสง แสน สุดสวย เหมือนสายรุ้ง ยามเมื่อละอองสายฝนปรายโปรย โชยเมื่อต้องกับแสงแดด เลยนั่งพัก ฟังเพลงเพลิน หลับคาโต๊ะ เลยผม ...
ก็มันง่วง อ่ะ ครับ 55555 ...
อ่านต่อ เน๊าะ : ทีมโฆษก ครู ฉลอง ยังรับหน้าที่ เป็นผู้ประกาศเพลงเช่นเดิม (แต่ก่อนเขาเรียกกันสั้นๆ ว่าอะเน้าเพลง) ยังนะครับ เดี๋ยวหลังๆ จะมีโฆษก อะเน้า ขึ้นมาอีกที่ละคน สองคน โปรดติดตาม โฆษก ตลก มิสเตอร์เบ็นซิน, เยี่ยม ลูกยอด, (สองคนนี้มาจาก ฟ้าบางกอก) และเด๋อ ดุกดิก, ทีมตลกก็เช่นกัน เดี๋ยวมีอีก หลายคน
นักดนตรี หรือครับ นักดนตรี วงจุฬาทิพย์ จะมีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันอยู่ ตามเวลาอันจำเป็น แต่กาลสมัยไป ชุดแรก ที่มาร่วมงาน มือชั้นพระกาฬทั้งนั้นคนที่มานั่งชม ไม่รู้หรอกครับ ว่านั่นน่ะ มาจากทีมงาน จุฬารัตน์ เกือบทั้งทีม ครูฉลอง เป็นโฆษก และ เป่าทรัมเปท เป็นโฆษก มือถือ ทรัมเปท บางทีก็ถือขลุ่ย
มือกลองครู มนตรี แสงเอก , มือแซ๊กอัลโต้ พี่เชาวลิต, มือแซ๊กเทนเน่อร์ พี่แสวง (อดีต แฟนพี่ดวงรัตน์ แสงอุทัย), มือทรัมโบนล์ พี่จักกฤษ, มือเบสส์ พี่สมาน เบสส์สมัยนั้นตัวเบ่อเริ่ม ๆ คือตัวใหญ่ ครูฉลอง ขึ้นไปยืนเป่าทรัมเปทโชว์ผู้ชม ได้สบายๆ ถ้านึกไม่ออกก็ให้ดู รูปร่าง ไวโอลิน เหมือนกันเด๊ะ แต่ใหญ่กว่าหลายสิบเท่าตัว ..
กีต้าคอร์ด กีต้าสโลว์ ออร์แกน ตอนนั้นยังไม่นิยมใช้ ...
: พี่ชาย เริ่มบันทึกเสียงให้กับนักร้องหลายคน ทั้งนักร้องเก่า-ใหม่ ทั้งชาย และหญิง เป็นช่วงที่ "อัมพร สนธยา" เข้ามาพอดี จึงแต่งเพลงนำมาให้พี่ชาย
พี่ชาย คัดเพลง หาเพลงที่เหมาะกับเสียงนักร้องของแต่ละคน รวมถึงเพลงที่ ดาวฤกษ์ เรวดี, บรรพต สุกแสง, ซึ่งก็มีทุนเดิมเป็นนักร้องที่มีพรสวรรค์ในการแต่งเพลง เมื่อได้เพลง ก็ทำดนตรี (แยกเสียงประสาน หรือเรียกว่า อะเร้น) มี มนตรี แสงเอก, ฉลอง วุฒิวัย ดูแลเรื่องนี้ พอครบเครื่องสมบูรณ์แบบ ก็นัดเช่าห้องอัด ที่ห้องอัดฉลอง ตลิ่งชัน นั่งเรือเหมาเรือที่ท่าน้ำท่าพระจันทร์ แล่นไปตามคลอง บางกอกน้อย เลี้ยวเข้าคลองชักพระ อยู่ตรงข้ามวัดตลิ่งชัน เยื้องกันนิด ๆ ..
อัดเสียงเสร็จสรรพ ตัดแผ่น นำออกเปิดตามสถานีวิทยุต่างๆ จนนักร้อง " จุฬาทิพย์ "
เริ่มเป็นที่รู้จัก ของนักฟังเพลงลูกทุ่งมากขึ้น งานวิก งานวัด งานหา งานเสี่ยง ก็ประดังกันเข้ามา ..
: ครั้งหนึ่ง ช่วง ปี พ.ศ. 2510 ชาย เมืองสิงห์ รับงานการแสดงที่ จ. สุราษฏร์ธานี งานประเพณีชักพระ เขาจัดงานกันหลายวันหลายคืนครับ เจ้าภาพจัดให้มีดนตรีแสดง สองคณะ สลับสับเปลียนกัน ระหว่าง วงจุฬาทิพย์ - กับวง สมัยศิลปิน (สมัย อ่อนวงษ์) ทีนี้ ก่อนจะถึงงานประเพณีชักพระ พี่ชาย ก็ถือโอกาส นำวงเปิดการแสดงตามทางผ่านเป็นระยะๆ ที่จะผ่านไปถึง จ.สุราษร์ธานี โอ้..โห.. สนุกครับสมัยนั้น ต้องเดินทางโดยรถไฟ (พวกผมเรียกกันว่า เดินสายรถไฟ) ขึ้นรถที่สถานีรถไฟบางกอกน้อย เริ่มต้นการแสดงที่ จ .ชุมพร ก่อนเป็นที่แรก ต่อไป ก็ หลังสวน, ปากน้ำหลังสวน, ( ตอนนี้นั่งเรือตังเก ไปปากน้ำหลังสวน เพลินกับการนั่งเรือชมธรรมชาติ ของสองฝั่งริมแม่น้ำ ก่อนจะออกปากน้ำลงไปสู่ทะเล สวยจริงๆ ให้ดิ้นตาย ) เสร็จสิ้นการแสดงที่ปากน้ำหลังสวน นอนค้างอยู่ในโรงหนัง ที่นั่นหนึ่งคืน เช้าเดินทางกลับโดยเรือตังเกเหมือนเดิม มาขึ้นรถไฟไปงานต่อที่ หลังสวนคันธุลี,
( อันนี้เป็นงานฝังลูกนิมิตร ที่วัดคันธุลี ) แสดงกัน 7 คืน คณะเดียว คนก็อื้อฮือ.. เที่ยวกันยันสว่าง ทุกคืน บางคืนต้องเปลี่ยนเวลาแสดง จาก ตีหนึ่งถึงสว่าง หัวค่ำมี โนราห์, หนังตะลุง ที่ว่าสนุกหรือ ครับ การเดินทางต้องอาศัยรถไฟ
ถึงที่จุดหมายการแสดงที ขนเครื่องดนตรีกัน ชุลมุนชุลเก จ้าละหวั่น ต้องแข่งขันกับเวลา ให้ทันกับที่รถไฟออก
ผู้โดยสาร พอรู้เป็นวงดนตรี ของ ชาย เมืองสิงห์ ที่นี้แหล่ะ ตึม ๆ ๆ ...
แสดงเรื่อยๆไป ที่ท่าชนะ ที่ไชยา แล้วก็ งานชักพระ จ. สุราฏร์ธานี เป้าหมายสุดท้าย ...
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version