หอเกียรติยศ > ชาย เมืองสิงห์
เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
แก้ว สาริกา:
:42 : หากจะย้อนรอยอดีต ไปเมื่อครั้งแต่ก่อน ปี 2507 คำว่า "เพลงลูกกรุง" "เพลงลูกทุ่ง, นักร้องลูกทุ่ง, นักร้องลูกกรุง, วงดนตรีลูกทุ่ง, วงดนตรีลูกกรุง" ยังไม่มีใครนำคำเหล่านี้มาจำกัดใช้
จะมีก็แต่เพียง คำที่เรียกกันติดปากว่า "เพลงตลาด" จนมีคำเปรียบเปรยเกิดขึ้น "เพลงตลาด กับ เพลงมาตรฐาน"
ต่อเมื่อจากนั้น พอมีคนนำคำว่า "ลูกทุ่ง" "ลูกกรุง" มาใช้กัน ก็ได้เกิดมีการโต้แย้งเกิดขึ้น แม้แต่ครูเพลง
อย่าง ครู "มงคล อมาตยกุล" ที่มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ยังพูดอยู่บ่อยครั้ง ว่าเพลงไหนลูกทุ่ง และเพลงไหนลูกกรุง
ต้องอย่าง สุเทพ วงศ์กำแหง, ชรินทร์ นันทนาคร, สวลี ผกาพันธ์, จินตนา สุขสถิตย์, หรือ ที่เรียกว่าลูกกรุง
และ อย่าง ทูล ทองใจ, สมยศ ทัศนพันธ์, ผ่องศรี วรนุช, วงจันทร์ ไพโรจน์, เรียกว่าลูกทุ่งกระนั้นหรือ ใครเอาอะไรมาวัด
ค่านิยมของเพลงก็ไม่เห็นว่าจะแตกต่างกันตรงไหน ทูล, สมยศ, ผ่องศรี, วงจันทร์, หรือ แม้แต่ ชาย เมืองสิงห์ ก็โด่งดัง แพ้ใครเสียที่ไหน คนฟังกันทั้งประเทศ ...
นี่คือคำพูดของ ครูยอดนักประพันธ์เพลง ครูของนักดนตรี ครูผู้ให้สำเนียงเรียบเรียงเสียงประสานดนตรี ที่สุดแสนจะไพเราะ
และเป็นอมตะ ยากที่จะหาใครมาเทียบเคียง จนถึงยุคปัจจุบัน ครูเพลง ที่แต่งเพลง "รักแท้" ให้ ชรินทร์ นันทนาคร ให้ ทูล ทองใจ
ให้ สุรพล สมบัติเจริญ ขับร้อง และอีกมากมาย ที่ "ฝากไว้ให้อนุชนคนรุ่นหลัง" ครู ที่ทุกคนให้ความเคารพเทิดทูนและยกย่อง
ครู ผู้ซึ่งเป็นเพื่อนรัก ของ ครู "ไพบูลย์ บุตรขัน"
ครู ผู้ซึ่งเป็นครูของนักร้อง-นักแต่งเพลง อย่าง ครู นคร ถนอมทรัพย์ , พระหลวงพ่อ พร ภิรมย์, ครู ลพ บุรีรัตน์,
ครู ชาย เมืองสิงห์, และเป็น ครู ของนักแต่งเพลง ที่ แต่งบทเพลง"ส่วนเกิน" ให้ "ดาวใจ ไพจิตร" ได้ขับร้อง จนดังคับฟ้า
เป็นอมตะแห่งเสียงเพลง ครูเพลง อย่าง จำนงค์ เป็นสุข หรือ สรวง สันติ
เป็นครู ที่ ครูไพบูลย์ บุตรขัน เรียกอย่างเต็มปาก "ครูมงคล อมาตยกุล"
สมภพ:
เรียกเพลงตลาดกับมาตรฐานวัดกันยังไง .............
น้่อยเนื้อต่ำใจ - ยอด ธงชัย
http://www.banplengthai.com/imagehost/pics/3695d690211023033533525f6b959c84.swf
แก้ว สาริกา:
:teentob: : คำว่า "เพลงลูกทุ่ง" เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2507
โดยผู้ใช้คำนี้คนแรกอย่างเป็นทางการคือ อาจารย์"จำนงค์ รังสิกุล"
เผยแพร่ ออกอากาศครั้งแรกทางโทรทัศน์ ช่อง 4 บางขุนพรหม ยุค ทีวี ขาว-ดำ
ก่อนหน้านั้น ไม่ว่าจะเป็น ทูล ทองใจ, สุรพล สมบัติเจริญ, ปอง ปรีดา, และนักร้องดังท่านอื่น ๆ
ที่บันทึกเสียงไว้ก่อนปี พ.ศ. 2507 จะถูกเรียกว่า "เพลงตลาด" หากเนื้อหามีแนวเสียดสีสังคมอย่างเพลงของ เสน่ห์ โกมารชุน, คำรณ สัมบุนณานนท์ จะถูกเรียกว่า "เพลงชีวิต"
ผมไม่รู้ว่า ช่วงนั้น อาจารย์จำนงค์ รังสิกุล ใช้หลักเกณฑ์อะไร ในการแบ่งคั่ว แยกชั้น คำว่า "ลูกทุ่ง" กับ "ลูกกรุง" กันชัดเจน
จนทำให้เกิด มีการสั่งห้าม ไม่ให้เพลงลูกทุ่งสมัยนั้น เปิดทางสถานีวิทยุ คลื่น เอฟ เอ็ม ...
ถ้าจะให้เดากัน ร้องเสียงหวานๆ นุ่มๆ ทุ้มๆ ลึกๆ เรียกว่าลูกกรุง : หากเสียงเล็กๆ แบนๆ แบๆ โอ้บรรยายยากส์ เรียกว่าลูกทุ่ง งั้นรึ
สมภพ:
ผมคนบ้านนอก ไม่เคยรู้จักวิทยุเอฟเอ็ม วันๆ ฟังแต่วิทยุใส่ถ่านสี่ก้อน เช้ามืดก็ข่าวนายหนหวย ถัดมาหน่อยก็รายการลุงขาวไขอาชีพ ของลุงไฉน กลิ่นขาว พอสว่างก็รายการคุยโขมงหกโมงเช้า จัดโดยคุณดุ่ย ณ บางน้อย (อำนาจ สอนอิ่มศาสตร์) พอสายหน่อยออกทุ่งออกสวนก็ตั้งหน้าตั้งตาฟังละครกับรายการเพลง วิทยุเครื่องเล็กๆ สะพายข้างเอวขุดดินดายหญ้าเก็บพริกเก็บมะเขือกันไป มารู้จักวิทยุเอฟเอ็มก็ตอนที่ได้เข้ามาเรียนที่อำเภอ ถึงได้รู้ว่าในโลกนี้มันยังมีเพลงที่เรียกว่าลูกกรุงกับวงดนตรีสุนทราภรณ์(ที่เราไม่เคยรู้จัก) พอดีกับคุณครูที่โรงเรียนท่านชื่อว่าครูกาญจนา สุขสถิตย์ หน้าตาก็พิมพ์เดียวกับคุณจินตนาเป๊ะเลย แต่ผมก็ไม่เคยทราบว่าท่านเกี่ยวข้องอะไรกัน คุณครูท่านนี้แหละท่านฟังเพลงลูกกรุงกับเพลงสุนทราภรณ์แล้วท่านก็มีเครื่องเล่นแผ่นเสียงเอามาไว้ที่โรงเรียนด้วย มันช่างเป็นเรื่องแปลกใหม่สำหรับคนบ้านนอก(อย่างผม) เสียจริงครับ
สมภพ:
เพลงลูกทุ่งในยุคนั้น อย่าได้บังอาจเสนอหน้ามาทางิทยุเอฟเอ็มเป็นอันขาด เอฟเอ็ม (ซึ่งเสียงดังฟังเพราะ) ในสมัยนั้นต้องเพลงสากล เพลงลูกกรุง แล้วรุ่นต่อมาก็ต้องเพลงสตริงเริ่มจากดิอิมฯ พวกลำตัดลิเกอะไรนี่ อย่าได้เสนอหน้าเข้าไปเป็นอันขาด จนมาถึงสมัยหลังๆ นี่แหละ (ผมว่าก่อนปี 30 ไม่กี่ปีนะ) ที่เพลงลูกทุ่งได้มีโอกาสได้ไปโก่งคอเจื้อยแจ้วอยู่บนคลื่นเอฟเอ็ม แต่ในยุคนี้ ถ้าจะให้ฟังเอฟเอ็มบางสถานีต้องขอผ่านครับ เดี๋ยวนี้สถานีชุมชนมันเยอะแล้วความถี่ที่ออกอากาศนี่มันเบียดกันเสียจนฟังไม่รู้เรื่องเลยครับ
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version