หอเกียรติยศ > ชาย เมืองสิงห์
เรื่องราวของชาย เมืองสิงห์ โดยอดีตนักร้องร่วมวงดนตรีจุฬาทิพย์
แก้ว สาริกา:
:78 :78 : ต่อมา การพัฒนาสื่อสารของบ้านเมืองเริ่มดีขึ้น :
เครื่องรับวิทยุก็ปรับระบบมาใช้ ทรานซิสเตอร์ขนาด ใช้ถ่านหกก้อนบ้าง สี่ก้อนบ้าง มีจัดรายการเพลง
เปิดเพลงทางสถานีวิทยุกระจายเสียง กันมากขึ้น และมากขึ้นเรื่อยๆ ที่มีบทบาทการเปิดเพลง และมีชาวบ้านชาวช่อง ติดตามฟังกันงอมแงม ยิ่งเสียกว่าคนแก่ติดหมาก ที่พอจะจำได้ ก็ "สถานีวิทยุยานเกราะ ขวัญใจประชาชน" มี "จำรัส วิภาตวัต" คอยควบคุมดูแล และ ท่านจำรัส ก็ดังมากๆ เสียด้วย ดังถึงขนาด ตั้งเป็นวงดนตรี คณะ "ชุมนุมศิลปิน" สร้าง เพลิน พรหมแดน,
นิตยา เปิดปัญญา, สุริยา แสวงธรรม, สมศักดิ์ ศรีบางช้าง, ชวนชัย ฉิมพะวงค์, อัญชุลี ฉัตรวิไล และ อีกมากมาย
จำรัส วิภาตวัต ใช้จังหวะเวลาช่วงนั้น รับงานถ่ายทอดสดตามงานวัด ออกอากาศทางวิทยุยานเกราะ โด่งดังไปทั่วทั้งประเทศ ที่ไหน วัดไหนมีงาน ก็จะถ่ายทอดสดออกอากาศ ชาวบ้านนอกอย่างเราๆ ก็ตื่นเต้น ไปยืนเกาะแผงลำแพน ที่เขาล้อมเครื่องส่ง
ยืนดูกันทั้งวัน ข้าวปลาก็ไม่อยากจะกิน ไม่อยากจะหิว อดทน หรือทนอด หรือไม่มีจะกิน (ก็ไม่รู้) 555 ...
ตามสถานีวิทยุอื่นๆ ก็มีเรื่องเปิดเพลงให้ชาวบ้านฟัง ไม่อยากเล่าเดี๋ยวจะเลอะกันไปใหญ่ แหล่งที่เปิดเพลงก็นี่แหล่ะ
สถานีวิทยุยานเกราะ, สทร. ปชส.7 เป็นที่รวมแหล่ง แห่งความบันเทิงของชาวบ้าน ที่พักใจในการฟังเพลงโดยแท้
เมื่อมีการเปิดเพลง ก็จะมีโฆษก นักจัดรายการ มาพูดคั่นโฆษณาขายยาขายสินค้า สลับกับการเปิดเพลง เอ้อ..อีตาคนนี้พูดเพราะดี แฮะ..ก็อยากเห็นหน้า เห็นตัวจริง ต้องยอมรับความจริงอย่างหนึ่งว่า "คนเรายังโง่อยู่" ชะโงกหน้าเข้าไปดูในเครื่องวิทยุ มองไม่ยักกะเห็นตัวแฮะ.. เลยใช้วิธีเขียนจดหมาย ส่งทางไปรษณีย์ ไปขอรูปถ่ายนักจัดรายการ กว่าจดหมายจะถึงมือผู้จัด ใช้เวลาเป็นเดือน เขียนผิด เขียนตก ขอรูปถ่าย เขียนเป็น "ขอรู ถ่าย 1 รู เพื่อไว้ดูต่างหน้ายามฟังรายการ โฆษก ผู้จัดรายการ ก็อ่านตามนั้นจริงๆ ฟังแล้วก็ขำกลิ้ง .. / ตลกรุ่นหลังๆ มักจะนำเอามาเล่นมุกตลกกัน ก็เอามาจากตรงนี้ แหล่ะ ...
คนอะไร้.. จะขนาด น้ า น.. ขออะไรไม่ขอ มาขอรูถ่าย 1 รู เอาไปแล้ว โฆษก เค้าจะเอาที่ไหนถ่าย ล่ะครับ
สมภพ:
ประมาณปี 2508 พ่อพาผมมาปากคลองตลาด ตอนนั้นรถเมล์สายใต้ยังจอดข้างวัดเลียบ แล้วก็สถานีวิทยุ ปชส.7 เทศบาลนครกรุงเทพ ยังอยู่แถวเชิงสะพานพุทธ จำได้ว่าได้ขึ้นรถรางด้วย หลังจากนั้นอีก 7 ปี ถึงได้เข้ามาอยู่กรุงเทพฯ อย่างจริงๆ :tab_on: :tab_on:
แก้ว สาริกา:
:74 : คนจัดรายการ เปิดเพลง ประกาศชื่อเพลง บอกชื่อนักร้อง ผู้ร้องเพลง เอาล่ะ ทีนี้เริ่มรู้แล้ว ว่าเพลงนั้นเพลงนี้ ๆ ๆ ๆ ใครร้อง เพลงของ ครูคำรณ สัมปุณณานนท์ เปิดบ่อยและมากที่สุดในยุคหนึ่ง ต่อๆ มา เบญจมินทร์, สมยศ ทัศนพันธ์,
ชาญ เย็นแข, อุดม ผ.เมฆเจริญ, มีศักดิ์ นาครัตน์, ทูล ทองใจ, สุรล สมบัติเจริญ, ก้าน แก้วสุพรรณ, ชัยชนะ บุญนะโชติ,
ยงยุทธ เชี่ยวชาญชัย, วงจันทร์ ไพโรจน์, พร ภิมย์, ศิริจันทร์ อิศรางกูล ณ อยุธยา,
ไอ้เราจะฟังเพลง แม่จะฟังลิเก แม่เผลอ ออกไปไร่ ผมแอบโขมยเอาวิทยุซ่อน แม่กลับจากไร่
หาวิทยุไม่เจอ บ่นน้ำหมากกระจาย...
( แกล้งแม่ อย่าเอาอย่างนะครับ บาป )
ผมชอบฟังเพลง แม่ชอบฟังลิเก แกฟังของแกทุกคณะ ฟังจนอ้าปากน้ำหมากไหลไม่รู้ตัว พอรู้ตัว หยิบผ้าเหน็บอยู่ที่พุง
ขึ้นมาเช็ดน้ำหมาก ฟังต่อ ฟังของแกทั้งวัน คณะโน้นจบ ก็ย้ายหาคณะนี้ หมุนหาคลื่นฟังไม่ชัด เคาะ โป๊ก ๆ ๆ ๆ
เออ.. ก็มีเหมือนกันเน๊าะ รุ่นกระเทาะดัง แล้วจำแม่นจัง คณะนี้เล่นสถานีไหน เวลาเท่าไร จำได้หมด ฟังทุกคณะ เชน เมืองทอง, ก้อง ลือไกล, ทองใบ รุ่งเรือง, เสนาะน้อย เสียงทอง, จำลอง ณ.วังน้อย, จำลอง นาฏศิลป์, ช. เทพประสิทธิ์,
ขุนแผน ลูกปราจีณ, บุญเชิด ท่วงศิริ, เอื้อน คล่องอาษา, แมน ลือนาม, ทุเรียนเล็ก, ฯ
แม่ผมเล่น ยึดวิทยุเลยแหล่ะ...
แก้ว สาริกา:
:teentob: : พอมาปี พ.ศ. 2504 "ไพรวัลย์ ลูกเพชร" เริ่มดัง เพลง คำเตือนของพี่, แม่ผักบุ้งบ้านดอน, ดาวจำลอง, เพลง เสียงจากไพรวัลย์ ก็ดังกระหึ่มตามมา ไอ้เราก็ชอบฟังเป็นชีวิตจิตตใจ เพลงไพรวัลย์ร้องเนี่ยะ ฟังทีไรมันเกิดอารมณ์ อันรัญจวนใจเสียยิ่งนัก ฟังแล้วเกิดความสุข เกิดภาพเหมือนจินตนาการณ์ โดยเฉพาะเพลงที่ผมโปรดมาก " เพชรบุรีแห่งความหลัง "
"เห็นยอดตาล พริ้วไกวลมลู่ ยืนทะมึนเป็นหมู่ ดังซู่เหมือนใครกู่หา ฟังดั่งเหมือนเสียงน้องข้า ครวญฝากลมแผ่วมา ให้ข้าหวลคืนถิ่นหลัง" ฟังเนื้อหาของเพลง ท่วงทำนองการร้อง การหยอดเสียง ชวนให้น่าหลงไหลยิ่งนัก ใครคิดอย่างไรผมไม่รู้
แต่ผมคนหนึ่งล่ะ ที่จะบอกว่า ตลอดชีวิตนี้ ไม่ต้องหาอีกแล้ว นักร้องเสียงอย่างนี้
อีกเพลง "อยู่กับตายเท่ากัน" หากจะฟังแต่ชื่อของเพลง อาจจะพูดว่า "เพลงอะไรว่ะ" ชื่อน่ากลัวจัง ฟังให้ดีๆ เถิดครับเพลงนี้ ชวนให้หลงไหล ชวนให้เสน่หา ในบทเพลง บ่งบอกถึงความหมายที่ลึกซึ้ง เกินคำบรรยาย ผมเองก็ยังบรรยายยากจัง แต่เนื้อหานี่ซิ บอกถึงความสวยงามของท้องฟ้า ยามฟ้าสางใกล้สว่าง ท้องฟ้าจับเป็นแสงสีทองอร่ามงามตายิ่งนัก เปรียบเสมือนคนเราเกิดมา แรกเริ่มสดใส สมหวัง ผิดหวัง คงอยู่ และดับไป มองเห็นภาพเลยจากเนื้อเพลง บทเพลงที่ ครู "แฉล้ม โกยทา" บรรจงและเรียบเรียงรังสรรค์ เนื้อหาของเพลงไว้อย่างงดงาม กินใจเหลือเกิน
"ฟ้างามเมื่อจวนจะสาง รุ่งรางมองแสงทองส่องร่าง ปัจจุสมัยอรุโณทัยจะเยี่ยมขอบฟ้า รุ่งสางเหลืองงามอร่ามตา
ฟ้าช่างงาม งามกระไร"...
... ฟังแล้วเคลื้ม ชวนให้นอนฝัน เสียเหลือเกิน ...
แก้ว สาริกา:
:teentob: : กะว่าปีนี้ ขายข้าวได้ จะขอแม่ซื้อวิทยุสักเครื่องไว้ฟังเพลงอวดสาว สมัยก่อนจีบสาวไม่เป็น ก็ใช้วิธีเปิดเพลงที่เนื้อเพลงบ่งบอกถึงความรักความในใจ ส่วนใหญ่เนื้อหาของเพลงก็จะเป็นแนวเกี่ยวกับความรักแทบจะทุกเพลงอยู่แล้ว เราก็เปิดให้สาวได้ยิน สาวชอบ สาวก็ยิ้มให้ สาวไม่ชอบ สาวก็ไม่กล้าด่า เพราะเราฟังเพลง จริงป่ะ ..
เช้าออกไร่ เย็นออกไร่ รดน้ำเก็บผักพรวนดิน เช้าของทุกวัน ช่วยแม่หาบผักไปส่งที่ตลาดศาลเจ้าฯ ขึ้นชื่อแม่เชื้อ คนรู้จักกันทั้งตลาด ส่งแม่แล้ว เดินกลับบ้าน สายๆ ไปโรงเรียน สามโมงเย็นโรงเรียนเลิกกลับบ้าน นำควายออกไปเลี้ยงกลางทุ่ง ปล่อยควาย แล้วรดน้ำผักที่ไร่ต่อ จวนมืดตะวันโพล้เพล้ ไล่ต้อนควาย หาบผักกลับบ้าน ทำอยู่อย่างนี้ทุกวันจนเป็นกิจวัตร สมัยที่ผมเรียน โรงเรียนเขาหยุด วันโกนกับวันพระ ไม่ได้หยุด เสาร์-อาทิตย์ อย่างเดี๋ยวนี้ เสียเมื่อไหร่ วันหยุดช่วยแม่โขลกข้าวเกรียบ
(แม่เค้าทำข้าวเกรียบว่าวขายด้วย)
น่าฤดูเก็บเกี่ยว เสร็จจากงานนา จะขายข้าว สมัยนั้น ข้าวเปลือกขายเกวียนละ 600 กว่าบาท วิทยุทรานซิสเตอร์ "เนชั่นแนล" เครื่องละ 800 บาท อดอีกไม่ได้กันวิทยุวิทเยอะ ชวดกินแห้วตามเคย
ปลายปี พ.ศ. 2504 ต่อเนื่อง ปี 2505 "ชาย เมืองสิงห์" ดังระเบิดเทิดเทิง ทุกเพลงของ ชาย เมืองสิงห์ ที่ออกมาดังหมด
ดังไม่หยุด... เอาแล้วเราแทบคลั่ง ไหนจะ ไพรวัลย์เอย ชาย เมืองสิงห์เอย ทำไงวุ้ยเรา ...
แม่เล่นติดลิเก ครองเลยวิทยุ อกแทบแตกเลยเรา ทำไงดี...
: มุมานะทำงาน หวังเอาใจแม่ ช่วยงานทุกอย่าง เท่าที่กำลังเด็กอย่างเราพึงทำได้ ช่วยแม่ขายของงานวัด
แม่ปิ้งข้าวเกรียบขาย, พุดซาเชื่อม, อ้อยควั้น, ข้าวโพดคั่ว, สับปะรดแช่อิ่ม, มันแกวแช่อิ่ม, มีงานที่ไหนไปที่นั่น งานวัด งานวิก หนังขายยากลางแปลง แม่สงสาร ตัดใจ ยกวิทยุเครื่องที่แม่ฟังอยู่ ให้เราเป็นของขวัญ รางวัล ที่ขยันช่วยแม่มาตลอด ดีใจแทบตาย แต่ก็คิดอยู่ว่า เอ๊ะ...แม่เอาวิทยุให้เรา แล้วแม่จะเอาที่ไหนฟังลิเก แกติดของแกจะตาย
อดกินหมาก อดฟังลิเก ให้อดข้าวดีกว่า ว่างั้นเถอะ แต่อะไรที่ไหนได้ พอแกเอาเครื่องเก่าให้เรา
แกก็งัดหยิบเครื่องใหม่ออกมา เปิดฟังเฉยเลย
เอ๊ะ...นี่ แม่เชื้อ แกแอบซื้อวิทยุเครื่องใหม่ ไว้ตั้งแต่เมื่อไหร่วุ้ย..แม่เนี่ยะ
:teentob: : ได้รับของขวัญ เป็นวิทยุจากมือแม่ ถึงจะเก่าไปสักหน่อย แต๋ก็ไม่ได้เสียหายอะไร เปิดเพลง ฟังเพลงทั้งวัน กำลังเห่ออะไรจะมีความสุขเท่า เมื่อได้ยินเสียงเพลง
แม่ฟังลิเกอยู่บนเรือน เราได้ที่เหมาะ อะไรจะเหมาะเท่าที่ริมกองฟางใต้ต้นมะขามเทศ ลมพัดโชยเอื่อยๆ ผ้ากะโถงผืนหนึ่งปูนอนเอกขะเนก ปลายเท้ากระดิกไปตามจังหวะของเพลง
"ก่อนจะอำลา น้องนางบ้านนาของพี่ น้องเอ๋ยโปรดฟังให้ดี คำเตือนของพี่นี้มาจากใจ
พี่ห่างเพียงตัว หัวใจพี่นี้อยู่ใกล้ ถึงแม้นพี่จะห่างไกล มิใช่ว่าใจพี่จะห่างตาม
ก่อนจะอำลา น้ำตาพี่รินไหลร่วง แสนรักแสนห่วงพุ่มพวง จนทรวงนี้ยอกเหมือนเหน็บด้วยหนาม
เจ็บแปลบแสบใจ เหลือทนจนมิอาจห้าม ก่อนลาน้องแม่โฉมงาม พี่ขอห้ามเตือนสักนิดเถิดกลอย ".....
ด้วยน้ำเสียงที่โหยไห้ยิ่งความไพเราะ จนนอนเพลิน
เผลอไผลหลับไหลและฝันไปพร้อมกับเสียงเพลงที่ได้ยินเพียงกระแส เสียงแผ่วๆอยู่ ข้างๆริมหู
******************************************************
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version