เท่าที่มีการค้นพบหลักฐาน การนำเอาขำขันมาตีพิมพ์เป็นลาย
ลักษณ์อักษรของประเทศไทยเรา เริ่มมีครั้งแรกสมัยรัชกาลที ๔
พ.ศ. ๒๔๐๘ โดยหมอสอนศาสนานามว่า แดน บีช บรัดเลย์ หรือ
ที่คนไทยเราเรียกว่า หมอบรัดเลย์
หมอบรัดเลย์ ถือเป็นบุคคลที่สำคัญต่อไทยเราอย่างมาก ท่าน
ท่านเป็นคนแรกที่ออกหนังสือพิมพ์ภาษาไทย พิมพ์หนังสือไทย
พิมพ์หนังสือไทยพจนานุกรมที่ชื่อ อักขราภิธานศรับท์ได้
เรื่องขำขันเก่าที่สุดที่พบนั้นได้รับการตีพิมพ์ไว้ในหนังสือพิมพ์
"บางกอกรีคอร์เดอร์"ฉบับวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๐๘ หรือ
ค.ศ.๑๘๖๕ เล่ม ๑ ใบที่ ๑๗(ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑๗) หน้า ๑๔๙ โดย
ที่ต้นฉบับตัวจริงเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ
ขำขันที่ว่ามีชื่อเรื่องว่า "ความเตือนอันอ่อน" ซึ่งนำมาให้ชมกัน
ในรูปลักษณะตามต้นฉบับเดิม
ครั้งก่อนมีขุนนาง ผู้ใหญ่,ได้นั่งกินโต๊ะด้วยกันกับคนอื่นมาก นั่ง
แน่นกันนัก.มีคนหนึ่งที่พูดมากๆ นั่งใกล้กันกับคนนั้น.คนที่พูดมากนั้น,
ครั้นพูดแล้วก็ยกมือไปตามคำที่เขาพูดด้วย. ขุนนางนั้นจึ่งบอกกับเขา
นั้นว่า, มือของท่านเป็นเครื่องรำคาญใจข้าพเจ้านัก. คนนั้นจึงตอบว่า,
ขอรับ(ใช้ ข ขวด)กระผม คนแน่นนัก,เกล้าผมไม่รู้ที่จะเอาไว้ที่ไหนได้,
ขุนนางนั้นจึ่งตอบว่า, ถ้าอย่างนั้นก็เอามือยัดไว้ในปากเสียเถิด. เป็นไงบ้างครับ ขำขันเก่าที่สุดของไทยเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว ไม่
ทราบพอจะเรียก ไม่ต้องถึงหัวเราะแค่อมยิ้มเล็กๆ ได้หรือเปล่า
จากหนังสือ ชวนหัวยุคคุณหลวง โดยเอนก นาวิกมูล ขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้