สโมสรบ้านเพลงไทย > ห้องสันทนาการ

ปลาตูหนา - ปลาไหลหูดำ

(1/2) > >>

ลุงชัยนรา:



                                              ปลาตูหนา                                           

ปลาตูหนา(บุหงา, สะแระ ) ภาษาอังกฤษรวมเรียกว่า " Ture eel "  หรือ ปลาไหลหูดำ (อังกฤษ: Shortfin eel, Level-finned eel; ชื่อวิทยาศาสตร์: Anguilla bicolor) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาตูหนา (Anguilidae) มีรูปร่างอ้วนป้อม ลักษณะโดยทั่วไปเหมือนปลาสะแงะ (A. bengalensis) ซึ่งอยู่ในวงศ์และสกุลเดียวกัน แต่ปลาตูหนามีรูปร่างที่เล็กกว่า ครีบอกของปลาตูหนามีสีคล้ำ ในปลาโตเต็มวัยครีบหลังและครีบก้นมีสีคล้ำด้วยเช่นกัน จึงเป็นที่มาของชื่อว่า "ปลาไหลหูดำ" ลำตัวสีน้ำตาลอ่อนไม่มีลวดลาย ใต้ท้องสีขาว ขนาดโตเต็มที่ได้ 1.5 เมตร

ในประเทศไทยพบได้ตั้งแต่ภาคใต้ฝั่งตะวันตกแถบริมชายฝั่งอันดามัน เรื่อยไปจนถึงประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย และในภาคตะวันตกในชายแดนที่ติดกับประเทศพม่า เช่น จังหวัดตาก แม่ฮ่องสอน เป็นต้น โดยชาวกะเหรี่ยงเรียกปลาชนิดนี้ว่า "หย่าที" ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกพบได้ตั้งแต่พม่า บังกลาเทศ จนถึงอินเดีย โดยปลาที่พบในประเทศแถบนี้จะเป็นสายพันธุ์ย่อยที่เรียกว่า A. b. pacifica ส่วนปลาที่พบในแถบเอเชียตะวันออกมีชื่อเรียกว่า A. b. bicolor

ปลาตูหนามีพฤติกรรมจะกลับไปผสมพันธุ์และวางไข่แถบป่าชายเลนหรือปากแม่น้ำ ลูกปลาแรกเกิดมีลำตัวใสเหมือนวุ้นเส้น มีสีแดงเรื่อ จากนั้นเมื่อโตขึ้นจะค่อยอพยพว่ายทวนน้ำมาสู่แหล่งน้ำจืด ซึ่งบางครั้งอาจพบได้ไกลถึงลำธารน้ำตกบนภูเขา

ปลาชนิดนี้เป็นที่นิยมอย่างมากโดยเฉพาะชาวไทยเชื้อสายจีนในแถบจังหวัดระนองหรือตรัง ถือเป็นเมนูราคาแพง สามารถนำไปปรุงได้หลากหลาย เช่น ต้มยำ ย่าง หรือทำน้ำแดง ในต่างประเทศที่นิยมบริโภคได้แก่จีนและญี่ปุ่น โดยหน่วยงานประมงของประเทศเหล่านี้ได้มีการส่งเสริมให้เป็นปลาเศรษฐกิจ มีการทำฟาร์มเพาะขยายพันธุ์ แต่ว่าเนื้อมีกลิ่นคาวมาก จึงนิยมปลาตูหนาญี่ปุ่น (A. japonica) มากกว่า ปลาตูหนาหูดำเนื้อนุ่มหวาน ชาวบ้านนิยมแกงส้มใส่ส้มจังกระ เล่ากันว่าเป็นอาหารโปรดของพระยารัษฎาฯ อดีตเจ้าเมืองตรัง ยามไปเยี่ยมราษฎรถ้ามีแกงส้มตูหนามาต้อนรับต้องใส่ส้มจังกระ เวลานี้ในหมู่บ้านชนบทของตรังมีต้นส้มจังกระแก่ๆ เหลืออยู่น้อยแล้วน้อยพอๆ กับปลาตูหนาที่ราคาแพงขึ้น และเปลี่ยนไปเป็นผัดเผ็ดหรือต้มยำอยู่ในจานอาหารของภัตตาคาร ลักษณะเนื้อแน่น มีเมือกมาก วิธีเอาเมือกออกให้เอาไปลวกน้ำร้อน
วงจรชีวิตของปลาตูหนาออกจะน่าทึ่ง เพราะเจริญเติบโตในน้ำจืด แต่เมื่อถึงคราวจะสืบพันธุ์ออกลูกหลานกลับต้องดั้นด้วางไข่กลางทะเลอันดามัน ครั้นพบไข่ฟักเป็นตัวอ่อน แล้วก็ถึงคราวจะเดินทางกลับมาอยู่น้ำจืดอีกครั้ง ทำมาหากินและเจริญเติบโตในน้ำจืด โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือแม่น้ำตรังและแม่น้ำปะเหลียน ลูกปลาที่เหลือกลับมาเป็นอาหารของมนุษย์จึงมีไม่สู้มากนัก ตูหนาจึงกลายเป็นของหายากและมีราคา โดยเฉพาะในยุโรปและญี่ปุ่นปลาชนิดนี้มีราคาแพงมาก คนรวยเท่านั้นจึงจะเสาะแสวงหามาบริโภคได้ แต่ในจังหวัดตรังคงไม่ต้องเป็นเศรษฐีก็สามารถสั่งปลาตูหนามาลิ้มรสได้โดยง่ายราคาไม่สูง หาทานได้ไม่ยาก ราคาตกราวตัวละ 700 บาท(ท่านั้น)
    สูตรอาหารปลาไหลทะเล เช่น ปลาไหลผัดซอสฮ่องกง และย่างซีอิ้ว
                                                       

สำหรับชาวพื้นเมืองในหมู่เกาะโซโลมอนจะชื่นชอบปลาชนิดนี้มาก โดยจะไม่มีการจับมาบริโภค แต่จะเลี้ยงด้วยเนื้อเมื่อพวกมันว่ายทวนน้ำมาถึงบริเวณต้นน้ำ เพราะปลาชนิดนี้กินเนื้อและซากสัตว์เป็นอาหารซึ่งทำให้แหล่งต้นน้ำนั้นสะอาด
                                                                                      
                                      จานนี้ปลาไหลไทยผัดเผ็ด                                               

                               นี่คืออาหารลูกทุ่ง ขึ้นเหลา ปลาไหลต้มเปรต

ส้มจังกระ - ส้มจังกระ”ภาษาเจ๊ะเห เรียก "ส้มกระ" ผลคล้ายมะกรูดแต่โตกว่า  มีรสเปรี้ยวเหมือนมะนาวแต่มีกลิ่นฉุนของน้ำมันที่ผิวเปลือกนิดๆ  ภาพจากอินเตอร์เน็ต(รวมเวป)
ข้อมูลจาก วิกีพีเดียและหลายเวป
อำนวยการสอนวางภาพโดย อ.ชาติ....

เผ่าพงษ์ ปัตตานี:
        ผมเคยไปอยู่ จ.ตรังมา 3 ปี จำไม่ได้ว่าเคยได้กินไหมนะ "ปลาตูหนา" ที่ว่านี่ แต่ถ้าดูจากราคาต่อตัวแล้ว คิดว่าคงไม่เคยซื้อกินแน่ ยกเว้นคนอื่นมาชวนกิน  แถวนั้นมีอีกอย่างที่ชอบและไม่แพงได้กินบ่อยคือ "ปลาไข่" ตัวอวบๆหนึบๆทอดกินอร่อยมากๆ
       จ.ตรัง มีอาหารทะเลสดๆ น่ากินหลายอย่างไม่ค่อยแพง แม้ไม่มีกินก็พออยู่ได้ โดยไปอาศัยกินของฟรีได้ที่บ้านแม่ถ้วน นายหัว ชวน หลีกภัย   เมื่อก่อนนักท่องเที่ยวชอบไปถ่ายรูปกับแม่ถ้วนเป็นประจำ  ที่บ้านเขาจะมีข้าวปลาอาหาร ขนมจีน เลี้ยงทั้งวันครับ  ถือเป็นจุดท่องเที่ยวอีกแห่งของตร้งเขานะ
       ทีมตกปลาอันดามันพรรคพวกกัน เขาจะจัดออกเรือกันบ่อยๆ เหมือนกัน  เวลาเขามาชวน ผมไม่เคยว่างไปซักที  ได้แต่บอกเขาว่า ผมชอบใช้เหยื่อใบ 500 ตกเบ็ด จะชัวร์กว่านะ แถมไม่ต้องไปตากแดดตากลมร้อนอีกด้วย....สบายกว่ากันเยอะเลย...ครับลุงชัย..555

ลุงชัยนรา:
พฤติกรรม ใช้ใบ 500 ตกปลา(นักร้อง) นี่เมื่อก่อน เคยใช้มั่งครับ ท่านเผ่าฯตานี ตอนต้นเดือน พอกลับมาบ้าน ตอนเช้าลูกขอตังค์ ไปโรงเรียน เพิ่ม  20  บาท(เมื่อ 40 ปีที่แล้ว) บ่นลูก จนเมียด่า เลย ต้องเงียบและให้ไป
     ปลาตูหนา นี่ดีเนาะ ย้อนความหลัง ได้ดี 5 5 5

เผ่าพงษ์ ปัตตานี:
     ทุกเรื่องราวที่สมาชิกผู้ทรงคุณวุฒิใน "บ้านเพลงไทย" หลังนี้ได้บอกกล่าวเล่าขานมา สามารถย้อนรอยอดีตชีวิตหนหลังครั้งรุ่งเรืองของผมได้เกือบทุกเรื่องครับ โดยเฉพาะเรื่องราวทางใต้แบบบ้านๆ ที่ลุงชัย,อ.ลือ,พี่สมพร และท่านอื่นๆ ฯลฯ ช่วยกันแจมมา ผมชอบอ่านทั้งสิ้นครับ เพราะหลายเรื่องพอเพื่อนเล่ามาก็นึกขึ้นมาได้เหมือนกัน หลายเรื่องก็หลงลืมกันไปแล้วเหมือนกัน  ถ้าผมแซวเล่นแบบลึ่งๆตึงตังบ้างโปรดอย่าถือสากันนะครับ ถือเสียว่าเป็น "เคงกันอวย"  ไอ้ผมมันสันดอนเป็นพั่นนั้นมานานนนนน...จังหูแหล่วครับเหอ.... :63 (ส่วนเรื่องที่ลุงชัยส่งมาหลังไมค์กะประมาณพั่นนั้นแลครับ)

ลือ:
เคยได้ยินพ่อพูดถึงบ่อยครับ...
         "ปลาตูน้า...ปลาตูน้า.... "
    ผมก็นึกว่า ปลาโอ-ปลาทูน่า....
               ที่จริงคือ ปลาตูหนา  หริอครับ?
    ...อันนี้เพิ่งทราบครับ ขอขอบคุณ เป็นความรู้ใหม่เลยครับ
         แต่ท่าทางจะ laeng rad-duang น่าดู
             เห็นว่าเมือก อย่างปลาไหล....

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

Go to full version