สโมสรบ้านเพลงไทย > ห้องแนะแนว
แต่งเสียง
สมภพ:
เมื่อสมัยก่อนเราท่านจะฟังเพลงกันสักทีถ้าไม่อาศัยฟังจากสถานีวิทยุที่มีคนเปิดให้ฟังแล้ว ก็ต้องเปิดเครื่องเล่นแผ่นสียง ที่มีหลายระดับความเร็วในการหมุนที่นับเป็นรอบ/นาที ที่เราเรียกกันว่า สปีด 78 45 และ 33 เปิดเครื่องเล่นเทป ที่มีหลายรูปแบบ เริ่มตั้งแต่เทปรีลที่เป็นแบบม้วนใหญ่ๆ เวลาจะเล่นต้องเอาเส้นเทปมาพันกับลูกรอกผ่านหัวเทปไปยังรีลอีกด้านหนึ่งเพื่อเก็บเทปที่ฟังแล้ว ถัดมาก็เป็นเทป 8 แทรค เป็นตลับสำเร็จรูปยัดเข้าไปเครื่องเล่นมันก็อ่านของมันไปเรื่อย ถัดมาอีกที่ได้รับความนิยมมากสุดๆ ก็เป็นเทปคาสซ็ท ม้วนเล็กกระทัดรัด ตลับหนึ่งบรรจุเพลงได้ (ยุคแรกๆ) ยี่สิบกว่าเพลง พอมาหลังๆ นี่จะเหลือประมาณ 12 เพลง/ม้วน ถัดมาอีกยุคก็เป็นแผ่นซีดีที่มีคนชื่นชมกันนักหนาว่าเสียงดีเลิศประเสริฐศรี แทบไม่มีเสียงรบกวนอะไรเลย แต่สำหรับคนฟังเพลงเก่าอย่างพวกเรานั้น การได้ฟังดนตรีสังเคราะห์จากแผ่นซีดีนั้นมันช่างไร้อรรถรสสิ้นดี ยุคนั้น (เมื่อประมาณเกือบสามสิบปีที่ผ่านมา) มีนักร้องหลายท่านเอาเพลงเก่ามาบันทึกเสียงใหม่ ทำดนตรีใหม่ เสียงใสกริ๊บ มันก็แค่พอฟังได้แก้ขัด หลายคนเริ่มโหยหาเพลงเก่าต้นฉบับแท้ๆ ก็มีบริษัทจับจุดนี้ได้เลยไปเอาเพลงเก่าต้นฉบับมาแปลงไฟล์ใส่ลงบนแผ่นซีดี แต่บางเพลงก็ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของคนฟังเพลงเก่าได้ หลายคนเริ่มหันไปหาเครื่องเล่นแผ่นเสียง เริ่มหาแผ่นเสียงเก่า หาเทปเก่า เอามาแปลงไฟล์กันเองเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เรียกกันว่าไฟล์ .mp3 แต่เพลงที่ได้มานั้นบางเพลงก็มีเสียงรบกวนอยู่ค่อนข้างมาก
ด้วยเหตุนี้เอง การแต่งไฟล์เพลงโดยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จึงเข้ามาเป็นตัวช่วยทำให้เราได้ฟังเพลงที่เสนาะหูมากขึ้น การแต่งเสียงนี้แบ่งออกเป็นสองขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 การกำจัดเสียงรบกวน (ที่ชอบเรียกกันว่า”ตัดข้าวตอก”) ก็คือการเอาเสียงรบกวนต่างๆ ออกไปให้มากที่สุด รวมถึงการแก้ไขเสียงที่เกิดจากการตกร่องหรือโดดข้ามจากการเล่นแผ่น ทั้งนี้จะต้องคงความสมบูรณ์ของเสียงไว้ให้ได้มากที่สุด พูดง่ายๆ ก็คือไม่เพี้ยน นั่นแหละครับ
ขั้นตอนที่ 2 การปรับระดับของเสียงสามช่วงคือ ทุ้ม กลาง แหลม ให้พอเหมาะพอดีกับการรับฟัง ไม่ทุ้มจนบวม ไม่เบาจนแห้ง เสียงแหลมไม่ทึบจนไม่น่าฟัง ไม่จี๊ดจ๊าดบาดแก้วหู เสียงร้องและเสียงดนตรีที่เป็นเสียงกลางอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
ทั้งหมดนี้สามารถทำได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น อาจจะไม่สุดอย่างที่คาดหวังไว้ แต่เชื่อว่าเพลงนั้นจะฟังได้รื่นหูขึ้นในระดับหนึ่งครับ
ใช้โปรแกรมอะไรบ้าง เชื่อว่าท่านที่อ่านมาตั้งแต่ต้นคงสงสัยกันละครับว่าใช้โปรแกรมอะไรบ้าง ขั้นแรกผมต้องขอบอกก่อนว่า ที่ผมเขียนเรื่องนี้ขึ้นมาผมไม่ได้เป็นผู้ที่มีความรู้ทางวิชาการอะไรเลย ผมเขียนมาจากประสบการณ์ที่ผมพยายามฝึกหัดไปทีละเล็กละน้อยมาเป็นเวลามากกว่า 5 ปี แต่งเสร็จแล้ว ฟังแล้วไม่ได้เรื่อง ไม่ถูกใจ ลบทิ้งไปเป็นพันเพลง ตามมาครับ เดี๋ยวเราไปดูโปแกรมกัน
ผมใช้สองโปรแกรมร่วมกันครับ เอาจุดเด่นของโปรแกรมแต่ละตัวมาใช้ครับ
โปรแกรมที่ 1 Nero WaveEditor โปรแกรมนี้จะอยู่โปรแกรม Nero ตัวเต็ม ลองหาดูในเครื่องก่อนครับ ตามนี้
พอเปิดออกมาแล้ว หน้าตาโปรแกรมเป็นแบบนี้ครับ
โปรแกรมตัวนี้มีหลายรุ่น มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ผมใช้เวอร์ชั่น 7 ปัจจุบันพัฒนาไปถึงเวอร์ชั่น 12 แล้ว) แต่ทุกรุ่นมีวิธีการใช้งานบนพื้นฐานอันเดียวกันครับ
แต่ถ้าใครไม่ได้ลงไว้ในเครื่อง ไปโหลดได้ที่นี่ครับ
http://software.thaiware.com/11771-Nero-WaveEditor.html
และไปอ่านคำแนะนำวิธีการติดตั้งได้ที่นี่ครับ https://www.youtube.com/watch?v=Oq5s5iUqsvU
โปรแกรมที่ 2 Adobe Audition 1.5 โปรแกรมนี้ต้องหามาติดตั้ง สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ครับ
http://newlifecrc.com/?links=adobe-audition-1.5-crack-codes-for-software
การติดตั้งก็เหมือนกับติดตั้งโปรแกรมทั่วไป ถ้าสงสัยก็ไปท่านคำแนะนำได้ที่นี่ครับ
http://bc.msu.ac.th/project_file/appendix(613).pdf
ติดตั้งเสร็จ เปิดโปรแกรมออกมาหน้าตาเป็นแบบนี้ครับ
เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว ให้สร้าง short cut มาไว้ที่หน้าจอ เพื่อความสะดวกในการใช้งาน
สำหรับท่านที่หน้าจอรกไปด้วย short cut มากมาย แนะนำให้สร้างโฟลเดอร์ขึ่นมาสักหนึ่งโฟลเดอร์ แล้วเอา short cut ทั้งหมดมารวมกันไว้ในโฟลเดอร์นี้ แล้วตั้งมุมมอง (view) ให้เป็น detail นะครับ สะดวกและสะอาดโล่งเลยแหละ
สิ่งที่ท่านจะต้องเตรียมอีกอย่างก็คือ หูฟัง ไม่ต้องใช้ของแพงอะไรนักหนา ผมใช้หูฟังอันละสามร้อยกว่าบาท ยี่ห้อ oker (ของจีน) หาซื้อได้ตามร้านคอมฯ ทั่วไปครับ มีราคาเริ่มต้นที่ 195 บาท เลือกเอาที่ใส่แล้วสบาย ไม่เจ็บหูนะครับ อีกอย่างหนึ่งก็คือสายแยกสัญญาณเสียง ผมเคยหาซื้อได้ที่ร้านอมรฯ ในราคาอันละ 60 บาท เป็นสายแจ็คที่เอามาเสียบเข้ากับฃ่องลำโพงหลังคอมฯ แล้วจะมีสายแยกออกมาสองเส้น ไปที่ลำโพงปกติหนึ่งเส้น แล้วอีกเส้นก็เอามาเสียบกับหูฟังนี่แหละ เพื่อความสะดวกไม่ต้องถอดกันบ่อยๆ ครับ
เจ้าหูฟังที่ว่านี้มันจะมีปุ่มปรับวอลุ่มมาด้วย เตรียมน้ำยาลบคำผิดไว้สักขวด หรือจะใช้แบบปากกาก็ได้ครับ พรุ่งนี้เราจะมาบอกวิธีการล๊อคปุ่มปรับวอลุ่มกัน เพื่อว่าจะใช้กี่ครั้งจะได้ระดับเสียงที่เท่าเดิมไงครับ
ลงโปรแกรมเรียบร้อยแล้ว พรุ่งนี้เจอกันครับ :tab_on: :tab_on:
สมภพ:
ไฟล์นามสกุลอะไรบ้างที่ใช้กับทั้งสองโปรแกรมนี้ได้
เท่าที่เคยใช้มา ไฟล์เสี่ยงที่ใช้ได้ก็มีนามสกุล .wav .mp3 .wma ส่วนไฟล์วิดีโอที่ใช้ได้ก็มีไฟล์นามสกุล .wmv .mp4 ไฟล์นามสกุลอื่นๆ ถ้าใช้ไม่ได้เวลาที่เราเปิดไฟล์โปรแกรมจะปฏิเสธทันที
• ไฟล์นามสกุล wma จะประมวลผลช้า
• ไฟล์ที่กำลังเปิดใช้อยู่ ในโปรแกรม Nero WaveEditor ไม่สามารถเปิดใช้ในโปรแกรม Adobe Audition 1.5 พร้อมกันได้ จะต้องปิดที่ Nero WaveEditor ก่อนครับ
เริ่มขั้นตอนการกำจัดเสียงรบกวนกันเลยครับ
ขั้นแรกผมขอให้ใช้เพลงนี้เป็นเพลงทดลอง เพื่อจะได้อธิบายแล้วเข้าใจได้ตรงกันครับ
คือเพลง น้ำสังข์ น้ำตา – ยอดรัก ลูกพิจิตร โหลดได้ตามลิงค์นี้เลยครับ
http://www.mediafire.com/download/806u8viuw6lat2r
เพลงนี้มีเสียงรบกวนอยู่พอสมควร เสียงทึบ เบสบวม เมื่อโหลดแล้วก็เปิดโปรแกรม Nero WaveEditor เสร็จแล้วลากไฟล์มาใส่ได้เลยครับ ตามภาพนี้เลย
ขั้นตอนที่ 1 เฟดหัวเพลง ให้คลิคบนเส้นกร๊าฟแล้วกลิ้งลูกกลิ้งบนหลังเมาส์ (scroll) เพื่อขยายดูที่หัวเพลงว่าตั้งแต่เริ่มมาจนถึงเสียงแรกที่เราได้ยินยาวเท่าไหร่ ปกติจะกำหนดให้ยาวประมาณ 1.5 วินาที (ดูที่สเกลด้านบน) ถ้ายาวให้ตัดออก โดยคลิคที่กร๊าฟ แล้วประมาณว่าจะเอาออกเท่าไหร่ แล้วใช้เครื่องมือที่เป็นรูปกรรไกรตัดออกจนได้ตามความต้องการ แต่ในเพลงนี้ยาวไม่ถึง 1.5 วินาที ต้องแก้ไขโดยวิธีการต่อหัวเพลงให้ยาวขึ้น วิธีการก็คือ คลิคบนเส้นกร๊าฟแล้วเลือกเอาว่าจะใช้ประมาณเท่าไหร่ แล้วคลิคที่คำสั่ง แก้ไข เลือก คัดลอก แล้วไปคลิคตรงที่เราจะต่อ เสร็จแล้วกลับไปคลิคที่แมนูแก้ไข เลือกคำสั่งวาง จนกว่าจะพอดี
วิธีการที่อธิบายมานี้ผมว่ามันไม่สะดวกครับต้องขยับเมาส์หลายครั้งหลายหน สำหรับผมถนัดที่จะใช้คำสั่งบนคีย์บอร์ดมากกว่า คือ ถ้าจะคัดลอก ผมจะเลือกพื้นที่แล้วกดที่แป้นพิมพ์ ที่ปุ่ม ctrl พร้อมกับปุ่ม c ถ้าจะวาง ใช้ปุ่ม ctrl พร้อมกับปุ่ม v
ส่วนการจะฟังเพลงตัวอย่าง ใช้วิธีการเคาะที่แป้นยาวบนคีย์บอร์ด เคาะครั้งแรกคือเปิด เคาะซ้ำอีกครั้งคือปิดครับ
เมื่อได้ความยาวของหัวเพลงตามที่ต้องการแล้ว ให้เลือกพื้นที่ตั้งแต่โน้ตตัวแรกถอยหลังมาถึงหัวเพลง แล้วใช้คำสั่ง ระดับเสียง – เฟดอิน – เอ็กซ์โปเนนเชียล ตามภาพประกอบครับ
ขั้นตอนที่ 2 เฟดท้ายเพลง ใช้วิธีการเช่นเดียวกันกับการเฟดหัวเพลง ก็คือ ถ้ายาวก็ตัด ถ้าสั้นก็ต่อ ให้ความยาวท้ายเพลงอยู่ที่ประมาณ 1 วินาที แต่ใช้คำสั่งกลับกันคือ ระดับเสียง – เฟดเอาท์ – เอ็กซ์โปเนนเชียล ตามภาพประกอบครับ
ขั้นตอนที่ 3 กำจัดเสียงรบกวน ครั้งที่ 1
3.1 กด ctrl พร้อมกับแป้นอักษร a เพื่อเลือกเต็มพื้นที่ไฟล์เพลง แล้วเลือกคำสั่ง เพิ่มขีดความสามารถ - วิเคราะห์เสียงรบกวน รอสักครู่เมือโปรแกรมวิเคราะห์เสร็จจะมีข้อความบอกพร้อมเสียงเตือน กด ok
3.2 ไปที่คำสั่งเพิ่มขีดความสามารถอีกครั้ง เลือกที่ ดีคลิคเกอร์ คลิคเข้าไปได้เลย
3.2.1 คลิคเข้าไปล้วจะมีหน้าต่างใหม่เกิดขึ้น ไปเลือกที่ ลบคลิคและรอยปริ จะทดลองฟังดูได้โดยการกดปุ่มเล่น (สีเขียว) เสร็จแล้วกด ตกลง
แนะนำให้ฟังเพลงหนึ่งรอบ เพื่อที่จะได้รู้ว่าเพลงนี้มีตำหนิตรงไหน แต่ถ้าไม่ฟังแล้วข้ามไปกดตกลงเลยนั้น โปรแกรมก็ยังคงทำงานตัดเสียงรบกวนตามปกติไม่มีผลต่อการทำงานของโปรแกรมอย่างได
3.2.2 เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการตาม 3.2.1 แล้ว ให้บันทึกไฟล์ครั้งที่ 1 โดยไปที่ คำสั่ง ไฟล์ – บันทึกเป็น จะมีหน้าต่างใหม่เกิดขึ้น เข้าไปตั้งคุณสมบัติได้เลยครับ สำหรับผมจะใช้วิธีการสร้างโฟลเดอร์ใหม่ขั้นมาสำหรับบันทึกไฟล์แต่งเสียงโดยเฉพาะ เสร็จแล้วไปกำหนดชื่อเพลง ชื่อนักร้อง ข้างท้ายให้ใส่หมายเลขกำกับ (ผมใส่เลข 1) เสร็จแล้วไปที่ปุ่ม ตัวเลือก กดเข้าไปจะมีคุณสมบัติของไฟล์ที่จะบันทึกมาให้เลือก ผมเลือกที่ mp3 : 320 kบิต, 44100 hz, สเตอริโอ เสร็จแล้วกดตกลง ครับ เมื่อทุกอย่งเรียบร้อยแล้ว กด save ครับ
3.2.3 เมื่อบันทึกไฟล์เรียบร้อยแล้ว ให้มาใช้คำสั่ง เพิ่มขีดความสามารถ – วิเคราะห์เสียงบกวน อีกครั้งหนึ่ง
3.2.4 เมื่อวิเคราะห์เสียงรบกวนเสร็จแล้ว ให้ ให้ใช้คำสั่ง เพิ่มขีดความสามารถ – ดีคลิคเกอร์ โดยเลือกคำสั่ง ลบรอยปริจางๆ แล้วกด ตกลง
3.2.5 ใช้คำสั่ง เพิ่มขีดความสามารถ - ตัดเสียงซ่ากล้อง จะมีหน้าต่างใหม่ลงมา เข้าไปตั้งค่าโดยกำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์ (ค่าสูงสุดไม่ควรเหิน 3%) เพราะจำทำให้รายละเอียดต่างๆ ลดลงไปมาก เมื่อทดลองฟังจะเห็นในจอแสดงผลเปลี่ยนเป็นสีแดง เสร็จแล้วกด ตกลง
3.2.6 ใช้คำสั่ง เพิ่มขีดความสามารถ กล่องเครื่องมือฟิลเตอร์ จะมีหน้าต่างขึ้นมาให้ตั้งค่า ดูตามนี้เลยครับ
- ที่ช่อง แบนด์พาสฟิลเตอร์ ให้ติ๊กเครื่องหมายในช่องนี้ ถัดลงมาอีกแถว ตรงช่อง “สูงกว่า” ให้เลื่อนมาทางขวาสุด ตัวเลขจะอยู่ที่ 22050 หน่วยเป็น Hz
- ที่ช่อง “ต่ำกว่า “ (ช่องนี้ใช้ควบคุมเสียงเบส) เนื่องจากเพลงนี้เป็นเพลงที่มีปัญหาเรื่องเสียงเบสที่มากเกินไป จึงต้องตั้งตัวเลขให้เสียงเบสลดลง โดยวิธีการ scroll เมาส์แล้วทดลองฟัง ผมลองฟังแล้ว เพลงนี้ควรจะตั้งตัวเลขที่ 150 หน่วยเป็น Hz
- ที่ช่อง “น็อชฟิลเตอร์” เป็นช่องที่กำหนดตำแหน่งของเสียงสูง เสียงกลาง และเสียงต่ำ ช่องเสียงสูง(บนสุด) ผมตั้งไว้ที่ 22050 ช่องกลาง ลองเลื่อนดูแล้วฟังไปด้วย ผมตั้งไว้ที่ประมาณ 15600 ส่วนช่องล่าง เป็นเสียงต่ำ ลองเลื่อนดูแล้ว ผมตั้งไว้ที่ 1280
เมื่อลองเลื่อนทั้งสามช่องที่ว่านี้ให้ทดลองฟังไปด้วย ด้านเสียงสูงอาจจะไม่รู้สึกอะไรนัก แต่เสียงกลางและต่ำจะสังเกตุได้ว่าดูเหมือนตำแหน่งจะเลื่อนไปตามค่าที่เราตั้ง ลองเลื่อนดูจนกว่าจะพอใจ
- ดูที่ช่องบนสุด ติ๊กเครื่องหมายในช่อง “ผู้ใช้ถอนฟิลเตอร์ริสพอนส์” แล้วดูที่เส้นสีเขียว เอาเมาส์ลากทั้งหัวและท้าย ให้เส้นมาอยู่ที่ตัวเลข 60 ทั้งสองด้าน ลดขนาดของกร๊าฟลง เพื่อเตรียมที่จะยกระดับเสียงให้เป็นไปตามที่เราต้องการในขั้นตอนต่อไป
สำหรับขั้นตอนนี้ (กล่องเครื่องมือฟิลเตอร์) ถ้าเป็นเพลงที่ต้องการเอาเสียงรบกวนออกเพียงอย่างเดียว ไม่ได้มีปัญหาเรื่องเสียงทุ้มแหลมหรือว่าต้องการปรับแต่เพียงเล็กน้อย ให้ข้ามไปได้เลยครับ
เมื่อตั้งค่าเสร็จหมดแล้ว ให้บันทึกไฟล์ในชื่อเพลงเดิม ตั้งคุณสมบัติเหมือนเดิมแต่เปลี่ยนตัวเลขท้ายให้เป็นเลข 2 เมื่อบันทึกเสร็จ จะเห็นว่าเส้นกร๊าฟจะลดลงเหลือประมาณ 60 %
ทดลองฟัง จะพบว่าเสียงรบกวนส่วนใหญ่แทบจะไม่เหลือแล้ว ยังคงมีแต่เพียงจุดเล็กๆ ที่ยังพอมีอยู่บ้าง ถ้าอยากจะเอาออก ให้ปิดไฟล์นี้แล้วไปเปิดโปรแกรม Adobe Audition แล้วลากไฟล์ไปใส่ได้เลยครับ ต้องปิดก่อนนะครับ ถ้าไม่ปิดจะเอาไฟล์ไปใส่ใน Adobe Audition ไม่ได้นะครับ
เมื่อเอาไฟล์ไปเปิดในออดิชั่นได้แล้ว ให้กด ctrl+A แล้วใช้คำสั่ง Effect-Noise Reduction-Click Pop Eliminator เมื่อคลิคเข้าไปจะมีหน้าต่างออกมาให้ตั้งค่า
คลิคเลือกที่ Medium Amplitude Audio กดปุ่ม Find Thresold Levels Only ปล่อยให้โปรแกรมอ่านข้อมูลสักครู่ แล้วกดตกลง
รอจนโปรแกรมทำงานเสร็จขั้นตอนนี้ แล้วลองฟัง จะได้ยินเสียงสะดุด ให้เอาเมาส์คลิคตรงบริเวณที่สะดุดนั้นแล้วขยายกร๊าฟดู จะเห็นเส้นกร๊าฟตรงนี้แตกต่างไปจากบริเวณใกล้เคียง
ขยายกร๊าฟต่อไปจนเห็นเป็นจุดไข่ปลาชัดเจน แล้วให้เมาส์ลากคร่อมหนึ่งจุดพร้อมกับคลิคค้างไว้ อีกมือกดที่ปุ่ม Delete บนคีย์บอร์ด เส้นกร๊าฟจะยุบตัวลง อาจจะกดครั้งเดียวใช้ได้เลย หรืออาจจะต้องกดซ้ำอีกหลายครั้งก็ได้
เมื่อฟังไปจนจบเพลงแล้ว ไม่ติดใจที่จะแก้ไขเสียงรบกวนอีกแล้ว ให้กด ctrl+A แล้วใช้คำสั่ง Effect -Filter – Grapgic Equalizer
หน้าต่างสำหรับเซ็ตค่า EQ
ปรับค่าจนพอใจแล้วกด ok
ขั้นตอนที่ 4 เป็นการยกระดับเสียง โดยใช้คำสั่ง Dynamic Processing ให้กด ctrl+A แล้วใช้คำสั่ง Effect – Amplitude – Dynamic Processing
ปรับยกระดับเสียงโดยการคลิคค้างไว้ที่เส้นแล้วลื่อนขึ้นหรือลง พอได้ที่แล้วปล่อย ด้านบนเคือเสียงแหลม ด้านล่างคือเสียงทุ้ม กด preview เพื่อลองฟังเสียง ปรับจนพอใจแล้วกด ok
เสร็จแล้วลองฟังอีกครั้ง สังเกตแถบไฟวิ่งด้านล่าง จะต้องไม่วิ่งไปจนถึงขีดแดงตลอดเวลา จะมีไปถึงเพียงบางจุดเท่านั้น และเส้นกร๊าฟจะไม่ล้นขอบทั้งสองด้าน เมื่อพอใจแล้วให้บันทึกไฟล์
สำหรับผม ใช้รหัสในการบันทึกไฟล์ที่ทำเสร็จแล้วด้วยตัวอักษร (f) ซึ่งย่อมาจาก final ส่วนท่านจะใช้โค๊ดอะไรก็ตามสะดวก การบันทึกไฟล์ครั้งนี้ไม่ต้องตั้งค่า โปรแกรมจะบันทึกคุณสมบัติเท่ากับไฟล์ที่เอาเข้ามาครับ
เมื่อบันทึกเสร็จแล้ว ให้ลบไฟล์หมายเลข 1 และ 2 ทิ้งไปได้เลย ส่วนไฟล์ที่เสร็จแล้วก็ไปลงไฟล์อินโฟ แล้วก็เอาเอาเก็บในโฟลเดอร์ได้เลย
ครั้งต่อไปจะมาแนะนำเรื่องเทคนิคการใช้โปรแกรมครับ
สมภพ:
จบขั้นตอนของการแต่งเสียงแล้ว ต่อไปจะเป็นการแนะนำเทคนิคการใช้โปรแกรม เร็วๆ นี้
อ่านแล้วไม่เข้าใจ ถามได้นะครับ
สมภพ:
ไฟล์ที่แต่งเสียงแล้ว จะลองฟังเสียง หรือโหลดได้นะครับ ไม่ได้ซ่อนลิงค์
http://picosong.com/zdXV
สมภพ:
เมื่อวานผมลืมไปสนิทเลย เรื่องวิธีการปรับวอลุ่มที่หูฟัง
ไม่ได้ยากอะไรครับ คือเอาเพลงของแม่ไม้เพลงไทยที่คิดว่าเสียงดีๆ สักเพลง ใส่เข้าไปในโปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่งแล้วลองฟังดู ปรับวอลุ่มให้เสียงดังพอฟังสบายหู พอได้ที่ดีแล้วให้เอาน้ำยาลบคำผิดป้ายไว้ที่ตัวปรับวอลุ่ม ทิ้งไว้ให้แห้งสนิท ถ้าจะให้เห็นชัดๆ ก็เอาสีเมจิกมาระบายให้เห็นชัดๆ อีกที คราวนี้จะปรับอีกกี่ครั้งก็หาจุดเดิมได้ไม่ยากเลยครับ
:48 :48 :48 :48
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
Go to full version