หลุมพี ส้มพี โลกกือพี (ชื่อวิทยาศาสตร์: Eleiodoxa conferta (Griff.) Burr. ) เป็นปาล์มชนิดหนึ่ง พวกปาล์มลำต้นสั้นแตกหน่อเป็นกอใหญ่ออกดอกผลแล้วตายไป ขึ้นในที่ลุ่มน้ำขังและป่าพรุ ออกดอกตั้งแต่เดือนมิถุนายน - กันยายน ออกผลตั้งแต่ดือนพฤศจิกายน - มีนาคม ตั้งแต่เริ่มออกช่อดอกจนถึงผลสุก ใช้ระยะเวลา ประมาณ 18 - 20 เดือน
หลุมพี เป็นพืชที่มีความสัมพันธ กับระบบนิเวศ ในป่าพรุอย่างเหนียวแน่น โดยสภาพทางธรรมชาติเป็นไม้ชั้นล่างในป่าพรุขึ้นได้และเจริญเติบโตได้ดีในที่มีร่มเงา และต้องมีน้ำขังตลอดปี ลักษณะของต้นหลุมพีออกเป็นกอใหญ่ แต่ละต้นออกผล แต่ละต้นออกผลครั้งเดียวแล้วตาย ต้นอื่นซึ่งเป็นหน่อในกอเดียวกัน จะออกผลหมุนเวียน กันต่อไป ทำให้พื้นที่ยึดครองของหลุมพี ขยายกว้างขึ้นตลอด สามารถเก็บความชื้นและน้ำไว้ได้ ซึ่งเอื้อต่อการดำรงชีวิต ของพืชและสัตว์ชนิดอื่นๆในป่าพรุ ที่ผูกพันเป็น ห่วงโซ่อาหาร เกิดผลดี ต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมโดยรวม อันเป็นปัจจัยหลักในการ ดำรงชีวิตของชุมชนรอบป่าพรุ
ลักษณะ
ใบ ประกอบรูปขนนก ออกเวียนสลับ ยาว300 - 500 ซม. กว้าง 100 - 200 ซม. ก้านใบและกาบใบมีหนามยาวแหลม เรียงเป็นแผง มีใบย่อยมาก ใบย่อยเรียวยาว ปลายแหลม เรียงเป็นระเบียบสองข้างก้านช่อใบ
ดอก เล็กสีแดง ออกเป็นช่อแยกแขนงที่ปลายลำ ยาว 50 -100 ซม. มีกาบหุ้มช่อหลายกาบ
ผล รูปไข่กลับ ปลายตัด กว้าง ยาวประมาณ 2.5 ซม. เปลือกเป็นเกล็ดเล็กๆ เรียงเกยซับกัน มีรสเปรี้ยว นิยมนำมาดองคุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณ:
ผลอ่อนของหลุมพี ซึ่งมีรสฝาดเปรี้ยว นิยมนำมาประกอบอาหารประเภทแกงส้มได้ ผลดิบนำมาประกอบในน้ำพริกแทนมะนาว หรือมะขามได้ ผลที่สุกดีแล้วรับประทานเป็นผลไม้ได้แต่ยาก เพราะถ้าผลสุกสัตว์ป่ามักจะกัดกินเสียก่อน เหตุนี้จึงนิยมบริโภคผลดิบกันเป็นส่วนใหญ่
ก้านใบเอาหนามออก ทุบพอแตก ตากแดดหยาบ ๆ จะมีความเหนียวมาก ใช้ทำเชือกได้เป็นอย่างดี
ผลสุกใช้ผสมตัวยาอื่น ๆ ใช้เป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย นำคั้นเอาน้ำผสมกับเกลือและน้ำตาล จิบกินเป็นตัวยาอื่น ๆ ใช้เป็นยาแก้ไข้ทับระดู
ในอดีตสมัยยังอยู่ ที่บ้านนัดศรีพง้น อ.ตากใบ จะมีวันติดตลาดนัด สองวัน คือ วันพุธ กับวันอาทิตย์ จะมีพ่อค้าแม่ค้า จาก นราฯ ยะลา มาเลย์ สุไหงโกลค นำสินค้าต่างๆ มากมายมาวางขาย การสัญจรสมัยนั้นใช้ได้เพียงทางเรืออย่างเดียว แม่ค้าจากนราฯ ก็จะไปก่อนวันติดตลาดนัดล่วงหน้า 1 วันโดยออกจากนราฯ ตอนเช้า 8 - 9 โมง ถึงศรีพงัน ก็ราว 3 - 4 โมง เย็น แล้วค้างคืนรอเปิดแผง รุ่งขึ้น ส่วนจากยะลา ก็จะมาลงรถไฟ ที่สุไหงโกลค แล้วจะล่องเรือมานอน ที่ตลาดนัดเช่นกัน ส่วนจากมาเลย์ ก็แค่ข้ามแม่น้ำมาก็ถึง เพราะศรีพงัน เป็นหมู่บ้าน ริมฝั่งแม่น้ำ สุไหงโกลคเอง จากตากใบก็มาเช้าเช่นกัน
ส่วนที่จะเอ่ยถึง"หลุมพี" หรือแถวตากใบจะเรียกว่า "โลกกือพี" นั้นจะมีพ่อค้า แม่ค้าจาก ต. พร่อน เช่น โคกยาง โคกกือไต โคกอิฐ โคกไน บ้านปลักปลา และอีกหลายๆโคก(ชื่อโคกแต่น้ำท่วม) ซึ่งเป็นหมู่บ้าน ที่อยู่รอบๆ พรุโต๊ะแดง และจะมีป่าต้นหลุมพีมาก พายเรือขุด(ทำจากไม้ทั้งต้น) บรรทุกหลุมพีมาเพียบแปร้ ก็จะมานอนที่ตลาดนัดเช่นกัน เพื่อขายให้แม่ค้าจากจากแดนไกล นำไปแปรรูป(สมัยนั้นก็แค่ดองเค็ม กับแช่อิ่ม) พ.ศ. 2504 - 2507 ตกราวๆ ปี๊บ(น้ำมันก๊าด) ละ 3 - 5 บาท หากเหมาทั้งลำเรือ ก็ตกราวๆ 50 บาท ราวนั้น(แ่ต่ไม่ขอฟันธง เพราะนาน น น น แล้ว)
หลุมพีเชื่อม(สูตรส่วนตัว)
เครื่องปรุง
1. ผลหลุมพีสด (ผลแก่เมล็ดข้างในสีดำ)
2. น้ำตาลทราย ? ก.ก.(ตามใจชอบ หรือความเหมาะสม)
3. น้ำ
4. เกลือป่น 2 ช้อนชา
วิธีทำ
1. ผลหลุมพีแก่ปลอกเปลือกล้างน้ำให้สะอาด ใช้มีดกรีดผลหลุมพี
2. น้ำประมาณ 1/3 ของภาชนะที่ใส่ ตั้งไฟให้เดือด ใส่ผลหลุมพีต้มให้เดือดอีกครั้ง ประมาณ 10 นาที แล้วเทน้ำทิ้งให้หมด (เพื่อลดความเปรี้ยวของผลหลุมพี)
3. น้ำตาล ? ก.ก. น้ำ 1 แก้ว ใส่ภาชนะตั้งไฟเคี่ยวให้เป็นยางมะตูม
4. นำผลหลุมพีที่เตรียมไว้ใส่ภาชนะ ต้มจนกว่าน้ำตาลเข้าเนื้อผลหลุมพี
5. ใส่เกลือป่น 1 ช้อนชา
6. เติมน้ำประมาณ 2 แก้ว ตั้งไฟให้เดือดแล้วยกลง
7. เวลารับประทาน รับประทานกับน้ำแข็ง
หรือจะใช้วิธี ไม่ต้ม แต่จะดองเกลือไว้ก่อน ซัก 2 คืน ล้างน้ำเกลือ ออกแล้ว แช่ในน้ำตาลที่้เคี่ยวแล้ว อีกซักคืน สองคืน ก็นำมากินได้ รสชาต เปรี้ยวๆ หวานๆ เค็มๆ(สูตรส่วนตัว)
ปัจจุบันนี้หากินยากแล้ว เพราะพื้นที่พรุโดนรุกรานจากคน และโดนไฟ(จากมนุษย์) ป่า เผาเพื่อ ปลูกปาล์ม กันจนไม่เหลือหนามหลุมพีไว้ตำเท้า ใครอีกแล้ว มีแต่ความทรงจำที่ยังทิ่มแทงใจ คนที่หวนระลึก ถึงความหลังยังไม่ลืม...เลือน....แต่...ก็ยังมีคนที่ยังคิดที่จะอนุรักษ์ และคงไว้ ซึ่งไม้ป่าพรุชนิดนี้ คือ กลุ่มครู โรงเรียนบ้านปลักปลา ต.โฆษิต อ.ตากใบ ได้จัดตั้งโครงการ ชื่อ"หลักสูตรหลุมพี" เพราะว่า
***โรงเรียนบ้านปลักปลา ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ป่าพรุโต๊ะแดง ดังนั้นวิถีชีวิตของชุมชนบ้านปลักปลา จึงผูกพันอยู่กับป่าพรุอย่างเหนียวแน่น โดยเฉพาะหลุมพี ซึ่งเป็นพืชในป่าพรุ ที่สร้างรายได้ให้กับชุมชนมาอย่างยาวนาน และนับวันก็ถูกทำลายไปอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์****
วัตถุประสงค์
การให้นักเรียนได้ศึกษาเรียนรู้ถึงความสำคัญของหลุมพีที่มีต่อวิถีชีวิต เป็นเครื่องมืออันสำคัญ ที่จะปลูกฝังเยาวชน ให้เกิดความตระหนักและมีจิตสำนึก ในการร่วมกันอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าพรุ เพื่อให้ชุมชนกับป่าสามารถอยู่รวมกันอย่างยั่งยืน
****ลุงชัยขอชื่นชม คณะครูชุดนี้ ที่เป็นลูกหลานของ คนในพื้นถิ่น ที่ ยังรัก หวง ทรัพยากรที่ธรรมชาติให้มา และยังคงไว้ซึ่งวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม ให้อยู่ไปอีกนานแสนนาน***
ขอขอบคุณ บางข้อมูลจาก วิกิพีเดีย
ขอขอคุณภาพจาก อินเตอร์เน็ต
ขอขอบคุณ คณะครูจาก ร.ร.บ้านปลักปลา ต.โฆษิต อ.ตากใบ จ.นราธิวาส
และที่ลืมไม่ได้ และไม่ลืมเด็ดขาด คือผู้ฝึกสอน การดูดภาพมาวางที่นี่ อ.ชาติ....
****ลาละครับ แล้ว จะนำข้อมูลผลไม้พื้นถิ่น วิถีชีวิต ชาวใต้มาฝากกัยอีกนะครับ****