สโมสรบ้านเพลงไทย > ห้องสันทนาการ

มะไฟกา

(1/2) > >>

ลุงชัยนรา:
                                             มะไฟกา - มะไฟป่า
                                             
                                               
1. ชื่อ มะไฟกา

2. ชื่ออื่น มะไฟเต่า ส้มไฟป่า ส้มไฟดิน

3. ชื่อวิทยาศาสตร์ Baccaurea scortechinii Hook.f. (ชื่อพ้อง B. parviflira Muell. Arg.)

4. วงศ์ EUPHORBIACEAE

5. ชื่อสามัญ Chinese Lantern Tree.

6. แหล่งที่พบ ภาคใต้

7. ประเภทไม้ ไม้ยืนต้น
   

                                           
   

   
 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

    ต้น ไม้ยืนต้นสูงประมาณ 6-10 เมตร เปลือกลำต้นสีเทาอ่อนปนน้ำตาล แตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ บางๆ

    ใบ ใบเดี่ยวเรียงตัวตรงกันข้าม ออกรวมกันเป็นกลุ่มตามปลายกิ่งข้อต่อระหว่างโคนใบกับก้านใบจะบวมพอง ใบรูปไข่กลับปนขอบขนาน (obovate-oblong) ปลายใบแหลม (acute) ฐานใบสอบเว้า (cuneate) ขอบใบเรียบ (entire) ใบเกลี้ยงทั้งสองด้านใบอ่อนสีน้ำตาลแดง ขนาดใบกว้างประมาณ 5-7 ซม. ยาวประมาณ 10-16 ซม.
  ดอก ดอกไม่สมบูรณ์เพศมีดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่คนละต้นกัน (dioecious plant) ออกเป็นช่อแบบ raceme โดยจะออกบริเวณลำต้นและกิ่ง ช่อดอกเพศผู้ยาวประมาณ 10-12 ซม. กลีบเลี้ยงมี 4-5 กลีบ ไม่มีกลีบดอก มีขน (tomentose) สีขาวปกคลุมดอกเพศเมียมีขนาดใหญ่กว่าดอกเพศผู้ กลีบเลี้ยงมี 4-5 กลีบ ไม่มีกลีบดอก รังไข่อยู่เหนือฐานรองดอก (superior ovary) มีขนอ่อนนุ่ม (silkly) ปกคลุม ก้านชูยอดเกสรตัวเมีย (style) มี 3 อัน ยอดเกสรตัวเมีย (stigma) แยกออกเป็น 2 แฉก รังไข่มี 3 ห้อง (locule)

    ผล ผลสดเป็นแบน (berry) มี 3 ห้อง แต่ละห้องมี 1 เมล็ด ผลรูปร่างกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 ซม. ผลแก่มีสีแดงอมม่วง เปลือกหุ้มมีลักษณะเหนียวและหนา เนื้อหุ้มเมล็ดมีสีเหลืองอ่อนรสเปรี้ยว เมล็ดรูปร่างกลมแบน เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ซม.
ประโยชน์ :
                                        - ผลอ่อน มีรสเปรี้ยวอมฝาด ใช้บริโภคเป็นผักสด

- ผลสุก บริโภคเป็นผลไม้สด
- ราก ต้มน้ำดื่ม บำรุงร่างกาย แก้ไอ แก้ปวดท้อง โรคกระเพาะอาหาร อาหารไม่ย่อย หรืออาหารเป็นพิษ ท้องเสีย
ในแถบปัตตานี นราธิวาส นิยมนำเปลือกของผลมะไฟกามาใส่แกงส้มแทนส้มแขก หรือมะขาม
     ในอดีคเมื่อเข้าป่า ล่าสัตว์ ไม่ว่าค่าง หมูป่า หรือ ฟาน ตอนกลับออกมาก็จะนำมะไฟป่า ออกมาด้วย เพื่อนำมาปรุงอาหาร ที่ต้องการ รสส้ม ไม่ว่า ต้ม ยำ ทำแกงส้ม(เหลือง) ใช้ได้หมด และนำมากินกับพริกเกลือ ก็สะใจได้แรง ในรสชาต แต่ปัจจุบัน นับวันจะหายาก เพราะป่าเชิงเขา กลายเป็นสวนยางพารา ไปหมดแล้ว พืชป่าพันธ์เมือง นับวัน จะร่อยหรอ ไปหมดแล้ว ในอนาคต พวกเราทุกคนคงจะรู้จักกับมันเหล่านั้น ผ่าน เวปไซด์ ต่างๆ เท่านั้น...เอง

น้องนางบ้านนา:
ผลไม้ที่เอ่ยในกระทู้ แถวบ้านหายห่วงไปแล้วครับ ไม่เคยเห็นมาก่อน ..
....ยุคนี้พวกผลไม้ในธรรมชาติ หรือป่าดงดิบ....น่าจะอยู่ทางภาคไต้และทางตะวันตกของประเทศไปซ่ะมาก...

ลุงชัยนรา:
   ผมมองวิกกฤติ ให้เป็นโอกาสครับ คุณเหมยขาบ เพราะเกิดเหตุการณ์ร้ายๆ ขึ้นที่ภาคใต้ไง ธรรมชาติเลย ได้ถูกทำลายช้าไป หากสงบ ร่มเย็น เหมือนที่อื่น นายทุน คงยกทัพไปบุกแล้ว

ลือ:
   1.   ผมเจอ ต้นมะไฟป่าแบบนี้  ลูกสุกแดง ห้อยยัวะเยียะ เต็มต้นเลย....
     (เจอซัก 4-5 ต้น ...... และยังเจอ ต้นสะตอป่า มีฝักด้วยครับ 1 ต้น)
  ตรงข้างทาง ถนน รพช. ที่ขึ้นดอยไปบ้านลูกศิษย์ เผ่า ลาหู่(มูเซอ) ต. อินทขิล อ. แม่แตง จ.เชียงใหม่ ครับ...

      คือ ถ้าไปจาก อ.แม่ริม ระยะทาง คือ 50 กม.
            จะผ่าน ต.แม่มาลัย ( = ทางแยกไป อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน) แล้วผ่าน อ.แม่แตง
    ตรงไปอีก จนถึง "แก่งปันเต๊า"อ. เชียงดาว...ซึ่งเป็นที่ตั้งของ ด่านตรวจยาเสพติดของตำรวจ
           (= อีก 10 กม. จะถึง ตัวตลาด อ.เชียงดาว)
    เราก็จะเลี้ยวซ้ายที่ด่านนี้  ขึ้นดอยไปเลย ....อีก 8 กิโลเมตร จะถึง หมู่บ้านของคนเผ่า "ลาหู่"
             (หรือ ที่เราเรียกพวกเขาว่า มูเซอ)
         แต่เส้นทางไปหมู่บ้าน เลี้ยวไปมา วกกลับ...หมู่บ้านเลยติดเขต อ.แม่แตง ซะงั้น
        ระหว่างทาง จะผ่านไร่ชาชื่อดัง เช่น ไร่ชาระมิงค์ (มีสถานีรับซื้อใบชา และบ้านพักตากอากาศของพนักงาน)..มีปลูกกาแฟแซมบ้าง.....
            และเจอต้นมะไฟป่า-อย่างที่บอกครับ....พ่อลูกศิษย์ ก็เอาต้นอ่อนมาให้ปลูก อย่างที่ผมโพสต์ไว้
                    แถวนั้น เป็นดินลูกรังครับ...

   2.  ไหนๆ ก็พาขึ้นดอยแล้ว  ก็ขออนุญาต ฝากอีกเรื่องครับ
           คือการเรียกชื่อ ชนเผ่าชาวไทยภูเขา ให้ถูกต้อง ( =สบายหูของคนที่ถูกเรียก)
              ผมอยู่ที่นี่ ก็มีลูกศิษย์ที่ได้สอน ครบ เกือบจะทุกเผ่า (บางเผ่า จะข้ามจังหวัดเข้ามาเรียน ผ่านมูลนิธิ)
          ก็เลย ต้องพยายามเรียนรู้การเรียกชื่อเผ่าให้ถูกต้อง
     (ซึ่งผม เริ่มต้นค้นจากหนังสือสารานุกรมชนเผ่าฯในไทย ที่ห้องสมุดประชาชน อ.แม่ริม ครับ-เล่มใหญ่ยักษ์)

         เปรียบเทียบจากการเรียกขาน ชนพื้นราบ อย่างเราๆ

      ไม่ควรเรียก "เจ๊ก"(เพราะคำนี้ มันเหมือนดูถูกกัน)......แต่ควรเรียก "จีน"

   1.ไม่ควรเรียก "แม้ว".....แต่ควรเรียก "ม้ง"( Mongh)
   2. ไม่ควรเรียก "ยาง".....แต่ควรเรียก "ปกาเกอญอ" หรือ "กะเหรี่ยง" (Karen)
   3. ไม่ควรเรียก "อีก้อ".....แต่ควรเรียก "อาข่า" (Ah kha)
   4. ไม่ควรเรียก "มูเซอ".....แต่ควรเรียก "ลาหู่" (Lahu)
   5. ไม่ควรเรียก "ลีซอ"......แต่ควรเรียก "ลีซู" (Lisu)
            ที่ผมทราบ ก็มีเท่านี้ครับ....
         (คำภาษาอังกฤษทั้งหมดนั้น  ผมได้ตรวจสอบ การสะกด จากกูเกิ้ลเรียบร้อยแล้วครับ)
    แต่ยังมีเผ่า "ปะหล่อง" อีก...ที่ไม่ทราบว่าจะมีคำเรียกตัวเองที่ลึกๆ ของพวกเขาอีกไหม
         อีกอย่าง เขาจะอาศัยทาง อ.แม่แตง ครับ(ไม่ใช่แม่ริม )...
      เช่น ที่วัดครูบาเทือง จะมีชนเผ่าปะหล่องมาร่วมงานบุญมากมาย  เพราะ พวกเขานับถือท่านฯ...

                                 :61 :61 :61

น้องนางบ้านนา:
เพิ่มเติมอีกหนึ่ง
..แถวบ้านเราควรเรียก พี่น้องชาว-เย้า-ว่า-เมี่ยน-ครับ(ทั้งที่จริงๆแล้วคำเรียกว่า-เย้า-มันทับศัพย์มาจากภาษาจีนซึ่งทางจีนเขาเรียกแบบนี้มาแต่โบราณแล้ว ทุกวันนี้ก็ยังใช้กันอยู่...ความหมายดั้งเดิมคือ...瑤  yáo  เหยา แปลว่า หยก เปรียบเทียบเป็น ลํ้าค่าหรือสวยงาม)

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

Go to full version