สโมสรบ้านเพลงไทย > ห้องสันทนาการ

สงกรานต์ไทย ประเพณี ดีๆ ที่กลายพันธุ์

<< < (2/3) > >>

เผ่าพงษ์ ปัตตานี:
        ผมเห็นด้วยทุกประการกับคุณเหมยขาบครับ (พูดแบบไม่ได้เอาใจนะ)  รวมถึงความเห็นของทุกๆท่านในเรื่องนี้  ทุกวันนี้ผู้คนบ้านเมืองเรามักจะติดอยู่ที่ "ทฤษฎี" ในเกือบทุกๆเรื่องจริงๆ   รู้ไปหมดทุกอย่างทุกขั้นตอน  แถมมีระเบียบกฏเกณฑ์แจ่มแจ้งแดงแจ๋ แต่ไม่ปฏิบัติตามซักกะอย่าง  มือใครยาวสาวได้สาวเอา  แต่เวลาใคร (คนต่างชาติ) วิจารณ์เราที่แทงใจดำ  พวกเรามักจะโกรธมากถึงมากที่สุด โดยไม่ยอมรับความจริง (ยกเว้นบางคนที่ไม่ได้เป็บอย่างที่ผมว่านะครับ)  ผมว่ากฎหมายหลักและรองบ้านเราค่อนข้างจะละเอียดยิบเลยละ แต่เราไม่ได้เน้นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือภาคปฏิบัติ,บังคับใช้ครับ ถึงจะมีก็ไม่เน้น เอาแต่พอเป็นพิธีว่ากูได้ทำแล้วนะจบ ผลลัพธ์เป็นอย่างไรช่าง(แม่ง)มัน
      จากกรณีตัวอย่างเรื่องประเพณีสงกรานต์ หรือทุกๆเทศกาลก็ว่าได้  เราจะคิดก่อนเสมอเลยว่าฝรั่งหรือนักท่องเที่ยวต่างชาติกระเป๋าหนักเหล่านี้ เขาสะดวกชอบอะไรแบบไหน ไทยเราก็จัดเต็มให้แบบนั้น มันก็เลยเพี้ยนไปเรื่อยๆ เพียงเพราะต้องการ "เงิน" ลูกเดียว อันนี้เป็นกฏธรรมดาทั่วๆไปใครก็ทำกัน ซึ่งต่างจากเกาหลี(ใต้)มากนะครับ เมื่อ 40-50 ก่อน เขาล้าหลังกว่าเราเยอะตั้งแต่ยุคสมัยเพลง "อารีดัง" อันลือลั่น  บ้านเมืองมีแต่ควนเขาหินแห้งๆ ทรัพยากรธรรมชาติน้อย ภัยพิบัติมากกว่าเรา แถมเรายังเคยส่งทหารไทยไปช่วยด้วยซ้ำ  แต่ลองหันมาดูบ้านเมืองเขาวันนี้ซิเป็นไง ไทยเทียบไม่ติด แถมทำท่าจะเป็นทาษทางวัฒนธรรมเขาเสียด้วยซิ  ทั้งๆที่เขาก็เคยโดนพิษ IMF มาเหมือนกันกะเรา  เพียงเพราะเขามีทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพมากกว่าเรา (อย่าเถียงนะครับ) ไม่ว่าจะเป็นระเบียบวินัย ความขยันอดทน รักชาติยิ่งชีพ ฯลฯ อันนี้ผมยืนยันได้เพราะเจอมาเอง  โดยเฉพาะระเบียบวินัยคนเขาจะปลูกฝังกันตั้งแต่เด็กๆ  ครูอนุบาลคุมเด็กไปดูพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เด็กๆเข้าแถวไม่ตรงนิดเดียว  ครู(สาว)ตบกะบาลเด็กหัวทิ่มเลยครับ  ผมอ้าปากหวอเลยเฮ้ยทำเด็กได้ไงนี่ ส่วนเสียเขาก็คงมี ส่วนดีเราก็เยอะ อยู่ที่การบริหารจัดการนำไปสู่เป้าหมายเท่านั้นเองว่าใครจะเจ๋งกว่ากัน
       ผมว่าเราจะเป็นรูปแบบไหนก็ให้มันเป็นไปซักอย่าง  สิ่งสำคัญคือ"ปฏิบัติ"กันให้ถูกต้องจริงจัง  และปลูกฝังให้คนซึมซับรับรู้ได้ว่าทำไปเพราะเหตุและผลอะไร  อย่าสักแต่ว่าทำไปตามรูปแบบประเพณีนิยมเท่านั้น  (ขออภัย)อย่างพระพุทธศาสนาก็เช่นกัน เราจะเชี่ยวชาญกันแต่ "ทฤษฎี" ส่วนภาค"ปฏิบัติ"เราได้ศูนย์ ทั้งๆที่นี่คือหนทางที่จะพัฒนาจริยธรรมของประชากรในแนวพุทธศาสนาที่สำคัญยิ่ง  เรากลับไปใช้วิธีการปฏิบัติแบบช๊อตน๊อคง่ายกว่าไม่เสียเวลาทำมาหากิน เช่น การไหว้พระสวดมนต์ แก้บน ขอพรสถานที่ศักดิ์สิทธิ์  ตักบาตรทำบุญ ฯลฯ ซึ่งเป็นกะผีกของธรรมะที่มิใช่แก่นแท้  จึงทำให้สังคมของเราเป็นอย่างที่เห็นนี่แหละครับ  (ซึ่งคงจะรวมถึงตัวผมเองด้วยถ้ายอมให้ไหลไปตามน้ำ)
       สิ่งสำคัญที่สุดผู้นำทางสังคมทุกระดับชั้น ควรต้องเป็นแบบอย่างที่ดีเพื่อให้เด็กรุ่นหลังประพฤติปฏิบัติตามได้อย่างมีสติและมีเหตุมีผล  โดยเราจะต้องเริ่มปฏิบัติกันที่ตัวเองก่อนทุกคน จึงจะได้ผลอย่างแท้จริง  ถ้าคิดอะไรไม่ออกให้ดูตัวอย่างได้จากการปฏิบัติตนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เป็นแบบอย่างได้ ขอให้ได้ 10 เปอร์เซ็นต์ของพระองค์ท่านก็เพียงพอแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้เอาแค่ความคิดจิตสำนึกแบบพระองค์ท่านมาก็พอแล้ว ไทยจะไปรอดและไปได้ดีด้วยฟันธง  (ขออภัยที่ต้องพูดมากครับ ไม่มีที่ระบายอากาศ)

ลุงชัยนรา:
ไอ...หย๊ะ..หรอย..พ่อถิ๊ บ่าว ว ว ว   

เผ่าพงษ์ ปัตตานี:
      ขอบคุณครับลุงชัย ผมรู้ว่าลุงชัย"หยบ"ให้ท้ายผมอยู่เสมอนะ  ว่าแต่ลุงเองต้องดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจให้อยู่ยาวๆนะครับ ที่สำคัญลุงชัยยังติดค้างเรื่องหนางวัวผมอยู่ 1 หม้อใหญ่ๆ นะครับ,ไม่ลืม,ไม่ลืม,ไม่ลื้มมมมม....ไม่ลืม ไม่ลืม ลุงชัย (ถ้ามีโอกาสผมจะครวญเพลงนี้ของครูสุรพลให้ลุงฟังสักครั้ง)   อย่าลืมเขียนเรื่อง"จำปะดะ"บ้างครับลุง ผมชอบกิน

ภิรมย์:

การขึ้นไปบนรถสาดน้ำคงมีกันมานานพอดูสังเกตุรถที่ใช้


น่าจะอันตรายมากถึงต้องมีป้ายเตือน

ขอบคุณเจ้าของรูปมากๆ ครับ

พีระ:
ผมไม่เคยเล่นสงกรานต์สักครั้งเลยครับ ยิ่งมาเห็นยุคปัจจุบันนี้ ยิ่งเบื่อหน่าย
เพราะคนทุกวันนี้ไม่เข้าใจแก่นแท้ของประเพณี สุดท้ายเลยเหลือแต่เปลือก

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

Go to full version