ปาล์มสาคู (ชื่อวิทยาศาสตร์: Metroxylon sagu) เป็นพืชจำพวกปาล์มชนิดหนึ่ง ซึ่งมีแป้งในลำต้นและนำมาผลิตเป็นสาคู ภาษามาเลย์เรียก sagu เป็นที่พบตามที่ชื้นแฉะ ถิ่นกำเนิดอยู่ที่หมู่เกาะโมลุกกะ ประเทศอินโดนีเซีย และบริเวณใกล้เคียง [1]ต้นสาคูที่อายุ 9 ปี ขึ้นไปจะสะสมแป้งในลำต้นมาก เมื่อโค่นต้นจะจะลอกเอาแป้งที่มีลักษณะข้นเหนียวมาทำอาหารได้ เป็นอาหารที่ใช้ในยามขาดแคลนข้าว ในเกาะบอร์เนียว โดยนำแป้งไปใส่ถุงเสื่อแขวนไว้ให้ลอดช่องออกมาเป็นเม็ดๆ นำไปตากแห้ง แล้วจึงนำไปทำอาหาร เมื่อเริ่มมีพ่อค้าจากจีนและตะวันตกเข้ามาค้าขายในบริเวณหมู่เกาะโมลุกกะ เมื่อได้ชิมอาหารที่ปรุงจากสาคูและมีความชื่นชอบ ทำให้แป้งสาคูกลายเป็นสินค้า ก่อนจะถูกแทนที่ด้วยเม็ดสาคูที่ทำจากแป้งมันสำปะหลัง
ใบสาคูนำมาเย็บเป็นตับใช้มุงหลังคาและฝาบ้าน ก้านใบนำมาลอกเปลือกนอกออก นำไปจักสานเป็นชะลอมหรือแผงวางของได้ ผลของต้นสาคูรับประทาน ในภาคใต้ของไทยนิยมนำต้นสาคูไปสับใช้เป็นอาหารสัตว์ ไม่ได้นำไปทำแป้งสาคูแล้ว
ผลพลอยได้จากต้นสาคู
ด้วงสาคู
ปรุงสุกแล้ว(ผัดน้ำมัน)
การเลี้ยงด้วงสาคูในกาละมัง
เกษตรกรใน จ.สงขลาเพาะเลี้ยงด้วงสาคูในกะละมังจนประสบความสำเร็จ ได้ตัวด้วงที่มีคุณภาพส่งขายกิโลกรัมละ 250 บาท สร้างรายได้เสริมนอกเหนือจากการกรีดยางเดือนกว่า 5 หมื่น
นายสังวรณ์ มะลิวรรณ อายุ 48 ปี และนางสุนันท์ มะลิวรรณ สองสามีภรรยา ชาวบ้านหูแร่ หมู่ 3 ต.ทุ่งตำเสา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ได้หันมาเพาะเลี้ยงด้วงสาคูเป็นอาชีพเสริมนอกเหนือจากอาชีพหลักกรีดยางพารา โดยสร้างโรงเรือนเพาะเลี้ยงในบริเวณบ้าน และขยายการเลี้ยงมาตลอดช่วง 3 ปี จนถึงขณะนี้มีถึง 500 กะละมัง ผลิตด้วงสาคูออกจำหน่ายได้เดือนละ 200 กิโลกรัม ราคากิโลรัมละ 250 บาท เป็นที่ต้องการของตลาด ทำให้ในแต่ละรุ่นที่ออกมาไม่พอจำหน่าย
นายสังวรณ์เปิดเผยถึงการเลี้ยงด้วงสาคูว่า เริ่มจากการเพาะเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ด้วงสาคู หรือที่ชาวใต้เรียกว่าแมงหวังก่อน โดยเลี้ยงไว้ในต้นสาคูที่ตัดเป็นท่อนยาวประมาณครึ่งเมตร โดยใช้ขุยมะพร้าวละเอียดมาวางไว้ด้านบนเพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัย จากนั้นอีกไม่นานก็จะไข่ออกมา ปล่อยเอาไว้ 55 วันก็จะฟักตัวเป็นดักแด้ และอีก 15 วันก็จะกลับมากลายเป็นตัวแมงหวังหรือพ่อแม่พันธุ์อีกครั้ง พร้อมที่จะนำไปเลี้ยงต่อในกะละมังให้เป็นตัวด้วงเพื่อส่งขาย
ส่วนขั้นตอนการเลี้ยงในกะละมังจะใช้ต้นสาคูมาบดผสมกับอาหารหมูโต คลุกเคล้าให้เข้ากัน นำพ่อแม่พันธุ์ใส่ลงไปในกะละมัง 10 ตัว ใช้เปลือกสาคูวางทับลงไปให้เป็นที่อยู่อาศัย และนำฝามาปิดกะละมังไว้ให้วางไข่ และต้องคอยดูในเรื่องของความชื้นให้สม่ำเสมอ ซึ่งเป็นเคล็ดลับสำคัญที่จะทำให้ตัวด้วงโตเร็ว รสชาติหวานมัน และมีโปรตีนสูงเป็นที่ต้องการของตลาด ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ก็จับเอาตัวหนอนหรือตัวด้วงไปขายได้ โดยแต่ละกะละมังจะได้ประมาณ 1 กิโลกรัม
นายสังวรณ์กล่าวว่า ลูกค้ามีทั้งที่มาซื้อถึงบ้านและนำออกไปขายที่ตลาดนัด ซึ่งมีผู้นิยมบริโภคกันมากนำไปทำเป็นกับแกล้มกินเล่นหรือเมนูเด็ดสารพัดชนิด
การเลี้ยงด้วงเป็นอาชีพใหม่ที่น่าสนใจ เกษตรกรทั่วไปสามารถสร้างเป็นอาชีพเสริมได้ เพราะตลาดยังมีความต้องการสูง ที่สำคัญกากสาคูที่เหลือจากการเลี้ยงด้วงก็ยังนำไปปุ๋ยได้อีกด้วย
นี่คือแม่พันธ์
นี่คือผลผลิต