กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: ขี้กวาง... กินได้  (อ่าน 12578 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ลุงชัยนรา

  • ความเปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร์
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3715
  • กระทู้: 910
  • Thank You
  • -Given: 3245
  • -Receive: 3715
  • ชีวิตนี้ยอมพลี เพื่อแผ่นดิน
ขี้กวาง... กินได้
« เมื่อ: เมษายน 15, 2013, 09:34:27 AM »
    สวัสดีครับ วันนี้นำภาพและข้อมูล ผลไม้พื้นถิ่น ที่หากินยาก และเกือบจะสูญพันธ์ไปจากธรรมชาติเสียแล้ว แต่..ยังโชคดี ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง โครงการในพระราชดำริฯได้มองเห็นคุณค่าของไม้พื้นถิ่น ได้อนุรักษ์ ไม้ป่าพรุ ผลไม้พื้นเมืองภาคใต้หลายชนิด เพาะพันธ์ไว้ปลูก และแจกชาวบ้านที่สนใจ ร่วมอนุรักษ์ นี่คือ หนึ่งในจำนวนนั้น
                                           
 

ภาษาท้องถิ่น.(พังงา)   เรียก "ลูกเลือด"
ภาษานราธิวาส(ตากใบ) เรียก ขี้กวาง
ภาษาหาดใหญ่         เรียก ตาควม
ทางวิชาการ.            เรียก "หว้าหิน"
อยู่ในวงศ์.               Family Myrtaceae
ชื่อทางวิทยาศาสตร์.   Eugenia claviflora Roxb
ลักษณะโดยทั่วไป.   
 ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงกันขัาม ทรงรีแกมหอก กว้าง 4-8 เซนติเมตร ยาว 10-22 เซนติเมตร โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ผิวเรียบมัน ขอบเรียบ มีเส้นแขนงใบ 12-20 คู่
 ดอก ออกเป็นช่อกระจุกตามซอกและกิ่ง ดอกตูมเรียวยาว ป่องปลาย พอบานทรงคล้ายแตร โคนเป็นหลอดยาวสีขาว ดอกกว้างราวครึ่งเซนติเมตร ยาว 2-3 เซนติเมตร
 ผล กลมรี ผลแก่สุกสีเขียวแดง พอสุกสีคล้ำหรือดำ
 ขยายพันธุ์ ตอน เพาะเมล็ด เติบโตในทุกสภาพดิน ที่ความชื้นและแสงแดดปานกลาง
เป็นผลไม้คล้ายลูกหว้า แต่มีรสหวานอมเปรี้ยวนิดๆ ถ้าสุกมากจะมีรสหวาน ไม่มีรสฝาด เป็นผลไม้ทางใต้ ไม้พื้นบ้าน ที่นานวันค่อยจะห่างหายไป บางแห่งเรียกว่า ลูกเลือด ช่วงนี้ผลกำลังสุก สุกมากก็จะหล่นโคนต้น......หาข้อมูลในกูเกิ้ล ไม่มีข้อมูลครับ หรือว่าแต่ละพื้นที่จะเรียกไม่เหมือนกันก็ได้ครับ...
ในสวนผมก็มีต้นหว้าทั้ง ขี้กวาง ครับ เป็นหว้าลูกใหญ่ ผลคล้ายกันแต่ กลิ่นและรสชาดไม่
เหมือนกันครับ ......ผลหว้าสุก จะลักษณะสีม่วงดำ และมีรสเปรี้ยวฝาดอมหวาน
......ผลลูกเลือด  - ขี้กวาง - จะมีลักษณะสีม่วงดำ และมีรสเปรี้ยวอมหวาน แต่ไม่มีรสฝาดเจือปน
พันธุ์ของลูกเลือด.     จะมีทั้งต้นที่รสชาติเปรี้ยว หวานอมเปรี้ยว และรสชาติหวาน  บางต้นก็มีเนื้อมาก เมล็ดเล็ก บาง  ต้นมีเนื้อน้อย เมล็ดใหญ่ หากเปรียบเทียบกับลูกหว้าซึ่งเป็นไม้ผลที่อยู่ในวงศ์เดียวกันแล้ว ลูกเลือด จะมีรสชาติดีกว่ามาก  ผลใหญ่และมีเนื้อมากกว่า

                                             
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก kasetporpeang.com
ขอบคุณ ผู้สอนวางภาพ อ.ชาติ....


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 15, 2013, 10:38:20 AM โดย ลุงชัยนรา »
บันทึกการเข้า

** กระทู้แรกที่ควรอ่านเมื่ออยู่บ้านเพลงไทย **

เผ่าพงษ์ ปัตตานี

  • ชาวบ้านเพลงไทยอาวุโส
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2009
  • กระทู้: 507
  • Thank You
  • -Given: 3223
  • -Receive: 2009
Re: ขี้กวาง... กินได้
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 16, 2013, 02:52:59 PM »
    เมื่อก่อนชอบกินเหมือนกัน เป็นผลไม้บุพเฟ่ห์ของเด็กๆตามบ้านนอก  แต่เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยเห็นแล้วครับ


บันทึกการเข้า