ขอร่วมชักว่าวด้วย
ขออนุญาตลุงชัยเสริมเติมภาพตามเนื้อหาของลุง
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
สะนู-แอก ว่าว
มารู้จักว่าวพื้นบ้านภาคใต้กันเถอะ
ว่าวบอก (ว่าวกระบอก) หรือว่าวรางหมูเป็นรูปแบบว่าวของเด็กๆ ที่ทำได้ง่ายโดยใช้กระดาษสี่เหลี่ยมผืนผ้าพับเข้าหากันให้เป็นรูปทรงกล่องที่เปิดด้านที่ 4 ไว้ พับว่าวให้มีสัดส่วนเป็น 4 ส่วน คือส่วนหลังกว้าง 2 ส่วน และส่วนข้างด้านละ 1ส่วน ใช้เชือกผูกส่วนข้างทั้ง 2 ข้างไว้เป็น (สายพานทรง)บริเวณส่วนบน ว่าวชนิดนี้ทำได้ง่ายเพราะไม่ต้องมีโครงว่าว เหมาะอย่างยิ่งกับพวกเด็ก ๆ
(ไม่มีภาพประกอบ)
ว่าวนก ภาษามลายูเรียกว่า วาบูรง ว่าวชนิดนี้ได้รับความนิยมน้อยกว่าว่าววงเดือน นิยมเล่นกันมากในจังหวัดพัทลุง ลักษณะคล้ายนกกางปีกร่อนอยู่บนฟ้า ส่วนหัวอาจทำเป็นรูปหางนกแผ่บานสวยงาม
ว่าวนกกา ภาษามลายูเรียกว่า วาบูรงกาเงาะ
ว่าวนกนางแอ่น ภาษามลายูเรียกว่า วาบูรงลาแย
ว่าววงเดือน ว่าวชนิดนี้บ้างเรียกว่าวเดือน หรือว่าวควาย บางพื้นที่เรียก วาบูแล (ภาษายาวี) ทั้งนี้เพราะมีรูปดวงจันทร์เป็นส่วนประกอบบริเวณลำตัวและหางเหมือนเขาควาย
ว่าวหัวควาย ว่าวชนิดนี้เกิดจากการผสมผสานระหว่างว่าวหลา (จุฬา) กับว่าววงเดือน แต่ได้เปลี่ยนส่วนที่เป็นรูปดวงจันทร์ให้เป็นรูปหัวควายแทน และจะติดปีกไว้เหนือปีก เพื่อให้เสียงดังเหมือนเสียงควายร้อง
ว่าวปลาเทวดาหรือจะละเม็ด ภาษามลายูเรียกว่า วาอีแก สามารถต่อตัวว่าวปลาติดต่อกัน 3 ตัว เล่นบนท้องฟ้าได้ครับ
ว่าวแลเมาะ
ว่าวแมว ภาษามลายูเรียกว่า วากูจิง
ว่าวจุฬา ภาษามลายูเรียกว่า วาจุลา
ว่าวเป้า (ปักเป้า) ว่าวชนิดนี้แบบไม่มีหาง เรียกว่าวอีลุ้ม มีลักษณะเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ไม้ไผ่ 2 ชิ้น ผูกกันเป็นโครงว่าว โดยปกติแล้วจะต่อหางเป็นแถบยาว เด็กๆ ชอบเล่น เพราะเล่นง่าย
ว่าวมโนราห์ ภาษามลายูเรียกว่า วานอรอหรือนอฆอ
ว่าวปลาเทวดาหรือปลาจะลาเม็ด ภาษามลายูเรียกว่า วาอีแกหรืออีกัน
ว่าวแลเมาะหรือลาเมาะ ภาษามลายูเรียกว่า วาลาเมาะหรือแลเมาะ
ว่าวตูดลิง ภาษามลายูเรียกว่า วาปาตะบือโระ
การแข่งว่าวที่ภาคใต้
ว่าวที่ชาวใต้นิยมนำมาแข่งขันกันคือ ว่าววงเดือน (แบบไม่มีแอก) ใช้แข่งเพื่อดูว่าว่าวตัวไหนขึ้นสูงกว่ากันโดยการปล่อยว่าวด้วยเชือกที่มีความยาวเท่ากัน แล้วเอาไปผูกกับไม้ฉากที่ปักไว้บนพื้นดิน จากนั้นจึงดูว่าเชือกของว่าวตัวไหนทำองศากับไม้ฉากได้มากกว่ากันก็จะเป็นฝ่ายชนะ
การเล่นว่าวในภาคใต้ยังเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวาง สังเกตได้จากการจัดประเพณีการแข่งว่าวในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคมซึ่งมีอยู่ในเกือบทุกจังหวัดของภาคใต้อย่างไรก็ตาม การเล่นว่าวพื้นบ้านภาคใต้ยังคงเป็นการละเล่นที่ให้ความสนุกสนานและผ่อนคลายจากการทำงานหลังฤดูเก็บเกี่ยวอยู่ดังเดิม
***สำหรับเด็กเล็กๆ ที่ยังทำว่าวเองไม่เป็นก็อาศัยวัตถุ สิ่งรอบๆด้าน มาทำว่าว เช่นใบเฟรินร์ ชนิดหนึ่ง ภาคใต้เรียก"ใบว่าว " เอาใบแห้งซึ่งจะมีความกว้างประมาณคืบกว่าๆ ยาวเกือบศอก เอาเชือกกล้วยเส้นเล็กๆ มาชักเล่น ก็ขึ้นได้สูงพอประมาณ สนุกไปตามวัย(หนึ่งในนั้นก็มีลุงชัยอยู้ด้วย)****