ตะกวด (อังกฤษ: Bengal monitor, ภาษาอีสาน, ภาษาลาว, ภาษาไทยถิ่นใต้: แลน, ภาษาเขมร: ตฺรอกวต; ชื่อวิทยาศาสตร์: Varanus bengalensis) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง
มีรูปร่างคล้ายเหี้ย (V. salvator) ซึ่งเป็นสัตว์ที่อยู่ในสกุลและวงศ์เดียวกัน โดยมักจำสับสนกับเหี้ยหรือเรียกสลับกัน แต่ตะกวดมีขนาดเล็กกว่าเหี้ยมาก และตำแหน่งของโพรงจมูก อีกทั้งสีสันของตะกวดจะมีสีน้ำตาลหรือสีดำ ซึ่งแตกต่างจากเหี้ยที่มีสีเหลืองผสมอยู่เป็นลาย อีกทั้งอุปนิสัยมักจะไม่ค่อยอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำหรือชอบว่ายน้ำหรือหากินในน้ำเหมือนเหี้ย และไม่ดุร้ายเท่า ตะกวดมักอาศัยบนต้นไม้ ปีนต้นไม้เก่ง ชอบนอนผึ่งแดดตามกิ่งไม้ แต่หากินตามพื้นดิน มักอาศัยอยู่ตามป่าโปร่งมากกว่าป่าทึบ
ตะกวดจัดเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของคนโบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบเป็นภาพปั้นประดับกลองมโหระทึก ราชพงศาวดารกัมพูชาถือว่าต้นตระกูลของชาวกัมพูชาเป็นตะกวดที่ขึ้นมาฟังธรรมเทศนา ในนิทานชาดก พระพุทธเจ้าเคยเสวยพระชาติเป็นตะกวดเช่นกัน
หมายเหตุ ตะกวด ในพระไตรปิฏกไทย ดั้งเดิมแปลมาจากคำบาลีว่า โคธา อนึ่ง ในความจริง โคธา ชาวอินเดียในปัจจุบัน หมายถึงสัตว์ในตระกูล กิ้งก่า อีกัวน่า ไม่ใช่ สัตว์ในตระกูล ตะกวด หรือ เหี้ย อย่างที่เข้าใจผิดมาแต่เดิมแต่อย่างใด
ไข่แลน(ตะกวด)เทียบกับไข่ไก่
สภาพข้างในครับ
พี่น้องบ้าน เพลงไทย ครับที่ผมนำภาพ และเรื่องเหล่านี้มาก็เพื่อที่จะให้ท่านได้ รับรู้ถึงวิถีชีวิต ของเด็กบ้านนอกปักษ์ใต้สมัย ก่อน ในการดำรงค์ชีวิต หาอยู่หากิน สมัยก่อน เมื่อวันหยุดโรงเรียน เด็กๆก็จะยกพวก พาสุนัข คู่ใจ เข้าป่าใกล้ หมู่บ้าน เพื่อที่จะไปหากับข้าว มากินกัน เช่นยิก(ไล่)แลน ดักแย้ ดักนกคุ่ม ต่อไก่เถื่อน(ไก่ป่า) นอกจากสนุก สร้างความกลมเกลียวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ในการไล่ล่า แล้วยังมีอาหาร มื้อค่ำ เมนูต่างๆ(ตามที่หาอาหารมาได้) ผมจะไม่เล่า วิธีการหา แต่จะนำ เมนูมาฝากครับ เพื่อให้หลายๆท่าน ได้ร่วมระลึก ถึงความทรงจำดีๆ และต้องขออภัย บางท่านนะครับ หากภาพบางภาพ มันทำให้ท่านเกิดอาการผะอืดพะอม แต่เพราะนี่คือความจริง
คั่วกลิ้งแลน
เสร็จแล้ว พร้อมเสริฟ
อยากให้ท่านมาร่วมรื้อฟื้นความ ทรงจำกับการหาแลน คั่วแลน เล่าสู่กันฟังกันนะครับ
ขอแถมเพลงเกี่ยวกับแลนครับ
http://i176.photobucket.com/albums/w176/mrtbtt/cc12.jpg