กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: การรักษาอนามัยทางใจ  (อ่าน 8696 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ภิรมย์

  • รักเมืองไทย
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2321
  • กระทู้: 480
  • Thank You
  • -Given: 2121
  • -Receive: 2321
  • คุณลูกกับคุณแม่
การรักษาอนามัยทางใจ
« เมื่อ: เมษายน 23, 2013, 11:47:36 AM »
                    การรักษาอนามัยทางใจ
          อนามัยทางใจ หมายถึงใจที่ไม่มีโรค  ปราศจากอารมณ์ร้ายมาเบียด
เบียน หายโศกเศร้าเจ่าจุกทุกข์ร้อนในชีวิต  มีแต่สุขสมบูรณ์สดชื่นเบิกบาน  มีกำ
ลังใจเข้มแข็ง มีอิสระ  เป็นตัวของตัวเอง  มีความพอใจในเบื้องหลัง  มีความหวัง
ในเบื้องหน้า    เมื่อพุทธศาสนิกชนหวังให้ใจมีอนามัย   ควรสงวนกำลังใจไว้ให้ดี
อย่าใช้กำลังใจไปในทางที่ผิด  พยายามระงับใจให้อยู่เป็นปกติ  ประพฤติตนเป็น
คนชื่นบานหรรษา   ให้มีแต่อารมณ์เย็นสบาย    จะทำอะไรอย่าให้ไกลจากธรรม
ชาติ  ไม่มักมากในสิ่งต่างๆ อย่าชักนำความทุกข์ร้อนมาใส่ใจ

                    ควรระวังโรคใจ ซึ่งมีฤทธิ์ร้ายแรง

          พึงทราบว่า  คนมีกำลังใจเข้มแข็งนั้น  ใหญ่โตกว่าอายุ    ย่อยทำคุณประ
โยชน์แก่ตนและคนอื่นได้มาก  แต่คนกำลังใจน้อยมีลักษณะอ่อนแอกว่าอายุ ทำ
คุณประโยชน์แก่ตนและคนอื่นได้น้อย      บางคนก็ไม่ได้อะไรนอกจากความว่าง
เปล่า  นั่นก็เพราะเขาเป็นโรคใจ  ซึ่งโรคใจมีฤทธิ์ร้ายแรงกว่าโรคกาย   เกิดขึ้นได้
อย่างรวดเร็วหมือนสายฟ้าแลบ   อาจขยายตัวในชั่วพริบตาเดียวได้เท่าภูเขาเลา
กา  และในวันหนึ่งอาจเกิดขึ้นได้ตั้งร้อยโรคหรือร้อยครั้ง   โรคใจตัวร้ายกาจนั้นมี
อยู่ ๓ โรค ซึ่ง ๓ โรคนี้ได้สังหารมนุษย์ให้พินาศย่อยยับไปแล้วนับไม่ถ้วน
        อันดับแรกคือ “โรคอยาก” หรือที่เรียกว่า “โลภะ”
       มีลักษณะทำให้คนไข้อยากมีอยากได้อยากเป็นเกินขอบเขต  ยั่วให้คนไข้
เห็นแก่ตัวและกระหายอย่างไม่มีที่สิ้นสุด   คนแป็นโรคอยากเมื่อได้สมอยากแล้ว
ควรจะได้รับความสุขสำราญ  แต่เพราะอยากไม่หยุด  จึงกลับเบียดเบียนตนเอง
ให้เดือดร้อน เมื่อไม่ได้สมอยากก็เกิดทุกข์โทมนัส และยังอาจขยายความทุกข์ไป
ยังคนอื่น ไปเบียดเบียนคนอื่นให้เดือดร้อนก็มี พึงใช้พุทธโอสถคือ สันตุฏฐี  การ
บำรุงใจให้ยินดีหาในทางที่ชอบ และยินดีในคุณค่าของสมบัติที่ได้มาหรือมีอยู่ รู้
จักออม รู้จักประหยัด รู้จักใช้ในทางที่พอเหมาะพอควร
          โรคอยาก   ยังมีโรคบริวารของมันเหมือนเป็นโรคแทรกซ้อนคอยแทรกซึม
ทำให้ใจมีอาการวิปริตไปต่างๆ คือ
          -มหิจฉตา คือโรคมักมาก เป็นโรคใจที่เร่งร้อนให้คนไข้มักได้ไฝ่มาก มีนิสัย
ชอบกอบโกย  ถือการได้มาเพื่อตนเป็นใหญ่ มีเท่าไหร่ก็ไม่พอ  พุทธโอสถคือ มัต
ตัญญุตา  การบำรุงใจให้รู้จักพอดี
          -ปาปิจฉตา    คือโรคอยากในทางที่เลว   เป็นโรคใจที่นำคนไข้ให้อยากใน
ทางตรงกันข้าม  เช่น  อยากไม่ทำแต่อยากได้มาเปล่าๆ   อยากสุขแต่เกลียดเหตุ
แห่งสุข  อยากมั่งมีแต่ชอบเกียจคร้าน  อยากดีแต่ชอบทำชั่ว  ไม่ทำดีแต่อยากให้
เขาชมว่าดี เหล่านี้ต้องแก้ด้วยพุทธโอสถ กุศลฉันทะ  การบำรุงใจให้สมัครทำแต่
ความดี
          -มายา  คือโรคเจ้าเล่ห์   จูงใจให้คนไข้มีอาการเป็นเล่ห์กระเท่ห์หลอกลวง
ปิดบังความชั่วของตนไว้ให้ลี้ลับ   แต่แสร้งทำกิริยาอาการอันดีมากลบเกลื่อนให้
เห็นเป็นอย่างอื่นไปเสีย โรคนี้พึงแก้ด้วยพุทธโอสถคือ สัจจะ คืออบรมใจให้รักใน
ความจริง  บูชาความจริง  ทำจริง  พูดจริง
          -สาเถยยะ คือโรคขี้อวด พาคนไข้ให้ดิ้นรนอยากอวดดีแต่ไม่มีอะไรให้อวด
จะคอยให้ผู้อื่นเขาชมไม่ทันใจ ก็โอ้อวดตัวเองจนน่าเกลียด พึงแก้ด้วยพุทธโอสถ
อัตตัญญุตา คืออบรมใจให้รู้จักภาวะ  ฐานะ  ภูมิชั้นของตน แล้วประพฤติตนให้
เหมาะสม


               อันดับสอง “โรคชัง” มีชื่อว่า “โทสะ”
         เป็นโรคที่คอยเผาใจให้กลัดกลุ้มรุ่มร้อน   ถ้าไม่มีสิ่งใดคอยห้ามคอยรั้งไว้
ก็จะลุกวาบขึ้นในใจ ยั่วยุให้คนไข้เหี้ยมโหดดุร้ายเบ่งอำนาจออกมาถึงผิวพรรณ
ดันโลหิตให้ขึ้นถึงหน้าแดง พูดจาขู่ตวาดสาปแช่ง ทะเลาะวิวาทไปจนถึงใช้อาวุธ
เข้าทำร้ายกัน  ยังมีโรคบริวารที่คอยแทรกเข้ากัดกินใจคนให้ผุกร่อนอีกด้วย
          -โกธะ คือโรคขี้โกรธ ทำให้คนไข้เมื่อถูกผู้อื่นกระทำจะโดยเจตนาหรือไม่ก็
ตาม ให้ไม่พอใจจนขุ่นเคืองเคียดแค้น ขาดการยั้งคิดจนอาจทำให้ขาดสติในการ
ควบคุมตัวเอง ขาดเหตุผลจนอาจทำอะไรทที่รุนแรงขึ้นได้
          -อุปนาหะ  คือโรคผูกโกรธ  คนไข้โรคนี้เมื่อถูกผู้อื่นทำให้ไม่พอใจเกิดโกรธ
มาก่อน ก็ผูกเอาความโกรธไว้ให้กรุ่นอยู่ในใจและผูกใจเจ็บแค้นไว้ไม่รู้จักลืม  มุ่ง
แต่จะแก้แค้นตลอดเวลาไม่รู้จบ
          -พยาบาท คือโรคปองร้าย เป็นลำดับต่อจากโรคผูกโกรธ  ร้ายแรงที่สุดใน
ลำดับ เพราะเป็นโรคที่มุ่งแก้แค้น ทำร้ายเขาด้วยใจเหี้ยมโหด ถ้าทำไม่สำเร็จ  ก็
หาทางใหม่ ต่อๆไป
            โรคชังและโรคบริวารเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นอยู่ในใจแล้ว     การรักษาต้องใช้
พุทธโอสถ ความเมตตา  กรุณาและมุทิตาในการรักษา   โดยพยายามเปลี่ยนอา
รมณ์ให้เกิดรักสงสารและยินดีในลาภผลของผู้อื่นแทนชังโกรธผูกใจเจ็บแค้นและ
ปองร้ายเขาเสีย  ตั้งใจแผ่เมตตาไม่ใจจืดจาง  หวังดีมีแก่ใจอยากให้เขาได้ดีมีสุข
ตั้งใจแผ่กรุณาไม่ใจดำ หวังช่วยเหลือเขาผู้ตกทุกข์ได้ยาก  และตั้งใจแผ่มุทิตาไม่
ใจแข็งกระด้าง มีอัธยาศัยอ่อนโยน พลอยยินดีด้วยเขาที่ได้มีสุข  โรคชังพร้อมบริ
วารก็จะบรรเทาเบาบางหายไปในที่สุด



            อันดับสาม “โรคหลง”  มีชื่อว่า “โมหะ”
          เป็นโรคใจ  ที่ทำให้คนมีอาการคลุมเครือเพ้อหลงใหลงมงาย    ไม่รู้จักผิด
ชอบชั่วดี  ไม่รู้จักกิจที่ควรทำหรือมิควรทำ  ซ้ำยังเป็นปัจจัยให้หลงโลภหลงโกรธ
หลงเมา   เมื่อมากเข้าก็เป็นเหตุให้ลืมตัว  หนักเข้าก็ลืมพ่อ  แม่ พี่ น้อง ครู  สามี
ภรรยา ลูก ญาติ เพื่อน คุณความดี ลืมหมดทุกสิ่งทุกอย่าง
          โรคนี้แก้ด้วยพุทธโอสถ  คือสัมปชัญญะ  โดยใช้สติสัมปชัญญะพิจารณา
หาเหตุ  หมั่นกำหนดลักษณะอาการของโรคหลง ให้รู้แจ้งเห็นจริงเป็นอย่างๆ ไป
แล้วจำไว้เป็นเครื่องเทียบเคียงอย่างอื่นอีก  เมื่อพบสิ่งใดแล้ว ไม่ปล่อยให้ล่วงไป
หมั่นถามหมั่นคิดหมั่นสังเกตการณ์ ดูเยี่ยงอย่างผู้รู้แล้วจำไว้ ทำตนให้เป็นผู้หนัก
ในเหตุในผล   ไม่ปล่อยไปตามอำนาจความลุ่มหลงเพลิดเพลิน    เช่นนี้ก็จะเป็น
เครื่องป้องกันโรคหลงได้
          โรคกายก็ต้องรักษาด้วยทางโลก อันนี้เราๆ ท่านๆ ทราบกันดีอยู่แล้ว
          โรคทางใจก็ต้องรักษาทางใจ   ยาที่ใช้ก็คือพุทธโอสถ ซึ่งก็คือธรรมะของ
พระพุทธเจ้านั่นเอง เมื่อได้ยาที่ตรงกับโรค ใจเราก็จะสงบเย็น ชีวิตจะมีแต่ความ
สุข  กำลังใจก็เข้มแข็ง เมื่อกำลังใจแข็งแรง โรคร้ายทางใจต่างๆ ก็รบกวนเรามิได้
ตลอดไป

จากความตอนหนึ่งในเทศนาธรรม "อาโรคยกถา"
โดย สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธัมมธโร)
ในหนังสือ "วาระแห่งกรรม วงจรชีวิตที่ทุกคนต้องรู้จัก"
สำนักพิมพ์ ธรรมสภา


บันทึกการเข้า
 :42ดนตรีคือ สื่อภาษาสากล :42

** กระทู้แรกที่ควรอ่านเมื่ออยู่บ้านเพลงไทย **