ใครหลายคนคงดีใจ ที่ใบตองกำลังจะกลับมาเป็นภาชนะบรรจุอาหาร ใน
รูปแบบ รูปลักษณ์ใหม่ หลังจากถูกโฟมเบียดจนชิดซ้ายตกขอบไปซะนาน
เป็นผลงานความคิดสร้างสรรของ ดร. งามทิพย์ ภู่วโรดม ภาควิชาเทค
โนโลยีการบรรจุ คณะอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่
พยายามหาภาชนะทดแทนโฟม จึงได้เสนองานวิจัยต่อสถาบันการวิจัยและ
พัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีนิสิตชั้นปี ๔ ร่วมวิจัยด้วย
เป้าหมายก็คือ พัฒนาบรรจุภัณฑ์จากใบตอง ให้สามารถใส่ของแห้งก็ได้
ของน้ำก็ดี ไม่มีกลิ่นอับ เก็บไว้ได้นาน ไม่เป็นเชื้อรา ไม่ต้องใช้ไม้กลัด ไม่ใช้
ลวดเย็บทำให้เกิดรอยรั่ว กว่าจะออกมาอย่างที่เห็น ทีมวิจัยผู้บุกเบิกงานนี้ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่ ตั้ง
แต่การศึกษาคัดเลือกพันธุ์กล้วย หาคุณสมบัติทางการบรรจุของใบตองสด
ของกล้วยพันธุ์ต่างๆได้แก่ กล้วยตานี กล้วยน้ำว้า กล้วยหอมทอง กล้วยหอม
เขียว กล้วยไข่ ว่าแต่ละพันธุ์ทนแรงดึง การฉีก การพับ แรงดันจากด้านล่าง
แรงกดได้ดีเพียงใด ปรากฎว่า ตานีดีที่สุด รองลงไปก็ น้ำว้า หอมเขียว หอม
ทอง กล้วยไข่ตามลำดับ
ถึงใบตองตานีจะดีที่สุด แต่ก็หายาก การศึกษาจึงเน้นไปที่ กล้วยน้ำว้า
และหอมเขียว เป็นหลัก
".เราได้ภาพรวมว่า ใบยิ่งแก่หรือใบสดสีเข้ม ที่ออกอยู่ด้านล่างเมื่อนับจาก
ยอดลงมาก็ยิ่งมีคุณสมบัติในการบรรจุที่ดี แต่เมื่อนำมาทำให้แห้งเพื่อขึ้นรูปมี
สีไม่สวย" อาจารย์งามทิพย์เล่าให้ฟัง
หลังจากนำใบตองสดมารีดให้แห้ง แล้วปล่อยให้ใบตองแห้งเหลือความ
ชื้นสัก ๑๒ % ....ก็นำมาขึ้นรูปภาชนะบรรจุด้วยวิธีอัดความร้อน คล้ายการอัด
พลาสติกให้เป็นถาด
ในขั้นนี้ใช้ใบตองแห้ง ๗ ชั้น ทากาวสังเคราะห์ชนิดที่สัมผัสอาหารได้
แล้วอัดในแม่พิมพ์ ...ภาชนะที่ได้มา มีความแข็งแรงสูง นำไปใช้งานได้ รูป
ทรงที่ดีที่สุดคือ ทรงกลม
"ต้องป้องกันกลิ่นอับ ความชื้น เชื้อรา ด้วยการเคลือบใบตองไม่ให้น้ำผ่าน
เข้าไปได้ เพราะใบตองแห้งมีคุณสมบัติดูดความชื้นได้และจะทำให้รูปทรง ที่
ได้เปลี่ยนไป ไม่คงรูป เราจึงต้องป้องกันด้วยการเคลือบไข และไขนั้นต้อง
สัมผัสอาหารได้ทั้งร้อนและเย็น สารเคลือบที่ใช้ต้องบริโภคได้ มีในธรรมชาติ
หาได้ในท้องตลาด ทนความร้อนสูง" ดร. งามทิพย์อธิบาย
ภาพตัวอย่าง ภาชนะใบตอง จากการวิจัยพบว่า ไขคานูบา ที่ทำจากต้นคานูบา ในบราซิล สามารถทน
ความร้อนได้ ๙๐ องศาเซลเซียส ถ้าใช้ไขรำข้าวทนได้ ๘๐ องศาเซลเซียส
และยังพบว่าสามารถกันน้ำ กันไขมันได้ดี สามารถนำมาล้างใช้ไหม่ได้ด้วย
แต่คุณสมบัติต่างๆ จะลดลงไป
แต่เนื่องจากไขเหล่านี้มีราคาสูง ทั้งยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ทีมวิ
จัยจึงต้องพยายามหาสารอื่นๆ เช่นกาวแป้ง มาใช้แทนเพื่อเป็นการลดต้นทุน
ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ดังนั้น ภาชนะใบตอง จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้บริโภค ที่ต้องการ
ช่วยลดโลกร้อน.....แต่
นี่เป็นงานวิจัยระหว่างปี พ.ศ.๒๕๓๕-๒๕๓๘ ปัจจุบัน ปี๒๕๕๖ ....ผ่านมา
อย่างน้อยก็ ๑๘ ปีแล้ว
พวกเราก็ยังใช้กล่องโฟม ถาดโฟม กันอยู่เลย....ไชโย..