กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: นิคมอาบแดดในไทย  (อ่าน 7314 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ภิรมย์

  • รักเมืองไทย
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2321
  • กระทู้: 480
  • Thank You
  • -Given: 2121
  • -Receive: 2321
  • คุณลูกกับคุณแม่
นิคมอาบแดดในไทย
« เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2013, 03:43:52 PM »
      “ได้รับข่าวว่ารัฐบาลผู้ฉลาดของเราจะเปิดการอาบแดดขึ้นในสยาม
ชั้นต้นจะใช้ดาดฟ้า ตึกโรงพยาบาลกลาง เป็นคั่นทดลอง  ถ้าได้ผลดีมีผู้นิ
ยมก็จะได้ตั้งนิคมขึ้น ณ ที่ใดที่หนึ่งอย่างประเทศต่างๆ ในยุโรปเขาทำกัน”
      นี่เป็นข่าวที่ผู้เขียน(เอนก นาวิกมูล)  พบโดยบังเอิญ  จากหนังสือที่ซื้อ
จากสนามหลวงซุ้มที่ ๓๑   เป็นหนังสือปกแข็งที่ทำออกขายอย่างประณีต
มากในสมัยนั้น
      “คู่มือบำรุงความงาม  หรืออาบแดด” เป็นชื่อหนังสือเล่มที่ว่านั้น มีรูป
วาดคนอาบแดดบนปกหนังสือ    หนังสือหนา  ๑  นิ้วเศษความยาว ๓๐๐
กว่าหน้า มีรูปประกอบเป็นรูปถ่ายและรูปวาดหญิงชายอาบแดดกัน  รวม
ทั้งท่าการบริหารร่างกายต่างๆ อีก ๖๐ กว่ารูป ราคาขาย ๔ บาท(ราคาใน
สมัยนั้น)แต่ผู้เขียนซื้อมาในราคา ๑๕ บาท


ภาพตัวอย่างจากในหนังสือ

      จากข้อความดังกล่าวทำให้ผู้เขียนรู้สึกสนใจขึ้นมาทันที  จึงเริ่มค้นหา
หลักฐานต่างๆ ว่าเรื่องจริง มันคืออะไรกันแน่
      การอาบแดดในหมู่ชาวตะวันตกมีมาแต่โบราณ  อย่างน้อยก็สมัยกรีก
โรมัน..โดยบรรยายให้ความรู้คร่าวๆ ไว้ว่า แสงแดดมีคุณประโยชน์ เพราะ
มีวิตามินช่วยบำรุงเลี้ยงร่างกายให้งามสมบูรณ์ได้  ในการอาบแดด ผู้อาบ
ต้องพยายามปล่อยผิวกายให้สัมผัสกับแสงแดดมากที่สุด และจำเป็นต้อง
เดินไปมาหรือออกกำลังกายด้วยจึงจะมีผล
      การอาบแดดมีจริงในไทยเราหรือไม่   และที่ว่าใช้ดาดฟ้าโรงพยาบาล
กลางเป็นที่ทดลองอาบนั้นจริงหรือเปล่า อย่าลืมหนังสือเล่มที่ว่าเป็นเรื่อง
ของข่าวที่เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๘ จะไปสอบถามจากโรงพยาบาลกลางก็
คงไม่สะดวก เดี๋ยวใครๆ จะหาว่ามาถามอะไรแปลกๆ  ผู้เขียนเลยต้องค้น
คว้าหาความจริงด้วยตัวเอง
      และเท่าที่พอจะสืบค้นได้ก็มาจากหนังสามเล่มก็พบว่าผู้ริเริ่ม ที่จะตั้ง
นิคมอาบแดดในไทยก็คือนาย สลิล ฟูไทย นั่นเอง หนังสือสามเล่มที่ว่าก็มี
      เล่มแรกก็คือ “คู่มือบำรุงความงามหรืออาบแดด”
      เล่มสองจากหนังสือ “เรื่องของชีวิต” เป็นหนังสือที่พิมพ์แจกในงานทำ
บุญศพ ๑๐๐ วันบิดาของนายสลิล   ซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับประวัติ   ชีวิต
เรื่องราวต่างๆ ของนายสลิล รวมทั้งความคิดในการตั้งนิคมอาบแดดด้วย
      เล่มสามคือ หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพนายสลิล ฟูไทย

         
                     นายสลิล ฟูไทย

      จากทั้งหมดทำให้เราได้ข้อมูลเรื่องของการอาบแดดแบบฝรั่งว่า
      ก่อนหน้าที่จะมีความคิดเช่นนี้นายสลิลเคยเป็นสมาชิกนิคมอาบแดด
ในต่างประเทศเมื่อครั้งที่ได้ไปอาศัยอยู่ต่างประเทศระยะหนึ่ง ครั้นกลับมา
เมืองไทยก็มีความคิดที่จะตั้งนิคมอาบแดดบ้าง   จึงได้แปลและเรียบเรียง
คู่มืออาบแดดขึ้นเผยแพร่ก่อน ๔๐๐๐ เล่มออกขายเล่มละ ๒.๘๕ บาทแต่
ภายหลังขาย ๑๕ บาท
      เมื่อเห็นว่าหนังสือคู่มือเผยแพร่ไปมากพอสมควร เลยคิดว่าน่าจะเปิด
นิคมอาบแดดได้    จึงไปขออนุญาตตั้งสมาคมอย่างเป็นทางการ   แต่ทาง
ราชการเห็นว่าเป็นการไม่เหมาะสมผิดวัฒนธรรม ประเพณีของเรา  จึงไม่
อนุญาตให้ตั้งเป็นสมาคม  แต่ก็กรุณาให้ผู้ริเริ่มใช้รั้วสังกะสีกั้นแก้ขัดได้
     ตามแนวคิดของนายสลิล  รูปแบบสมาคมอาบแดดนั้น  ตั้งใจจะทำให้
เหมือนเป็นคลับที่รวมทุกอย่างไว้ มีสิ่งอำนวยความสะดวก  มีศูนย์กีฬา มี
สถานเสริมความงามต่างๆ   มีที่ไว้พักผ่อน   มีสโมสรไว้พบปะสังสรรค์   มี
ศูนย์บริการ ดูแลสุขภาพสำหรับสมาชิกด้วย
      แต่ทุกอย่างไม่เป็นไปอย่างที่หวัง นอกจากทางการไม่อนุญาตแล้ว คน
ไทยเราก็ไม่เอาด้วย    นอกจากเห็นเป็นเรื่องน่าอายที่ต้องแก้ผ้าอยู่ร่วมกับ
ใครก็ไม่รู้แล้ว ยังเห็นว่าแดดเมืองไทยเราเยอะแยะไป ทำไมต้องไปเสียเงิน
เพื่อไปตากแดดอีก
      สุดท้ายสมาคมอาบแดดแห่งประเทศไทย ก็ไม่เกิดขึ้น...
          เป็นอะไร ๆ ที่น่าเสียดายมาก...


จากหนังสือ "แรกมีในสยาม ๒"
โดย เอนก  นาวิกมูล
สำนักพิมพ์ แสงแดด
ขอบคุณครับ



บันทึกการเข้า
 :42ดนตรีคือ สื่อภาษาสากล :42

** กระทู้แรกที่ควรอ่านเมื่ออยู่บ้านเพลงไทย **

เผ่าพงษ์ ปัตตานี

  • ชาวบ้านเพลงไทยอาวุโส
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2009
  • กระทู้: 507
  • Thank You
  • -Given: 3223
  • -Receive: 2009
Re: นิคมอาบแดดในไทย
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 16, 2013, 02:03:51 PM »
       อืม...ผมคิดว่ามันน่าจะเกี่ยวกับสภาพอากาศและธรรมชาติคนเอเชียของพวกเราเป็นสำคัญด้วยครับ  เพราะว่าเราเจอแดดแบบเต็มๆเกือบทั้งปีอยู่แล้ว สีผิวเราก็คล้ำพอดีๆ วิตมินดีก็ไม่ขาดแคลน  แถมเราน่าจะเหมาะกับการได้อยู่ในที่ร่มมากกว่ากลางแดดนะครับ ร้อนตับแลบอยู่แล้ว  ส่วนฝรั่งเขาถือเป็นธรรมเนียมนิยมว่าถ้าใครไปรับแดดในวันหยุดยาวมา จนผิวสีแทนถือว่าสุดยอดเจ๋งของวีคเอนด์เขาเลย เพราะบ้านเมืองเขาหาแดดแรงๆแบบเราไม่ค่อยจะมี ร่างกายไม่แกร่งเหมือนเราครับ  จึงนิยมการอาบแดดดังว่า  แต่ที่ฮือฮามากสำหรับบ้านเราก็คือทุกคนทั้งหญิงชายต้องแก้ผ้าหมด อันนี้เราจะชอบมากกว่าได้อาบแดดน่ะครับ (รวมผมด้วย) เปรียบได้ดังเราเป็นวัวชอบร้อน ฝรั่งเป็นควายชอบแช่น้ำ ความต้องการตามธรรมชาติและความจำเป็นแตกต่างกัน
      ทั้งหมดนี้เป็นความคิดผมเอง  ถูกผิดอย่างไรไม่ขอรับประกันนะครับ


บันทึกการเข้า