กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: เนื้อเทปลอก สามารถลอกออกเฉพาะจุดปัญหาได้ไหมครับ  (อ่าน 5052 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

สุธา

  • ชาวบ้านเพลงไทยอาวุโส
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 703
  • กระทู้: 307
  • Thank You
  • -Given: 310
  • -Receive: 703
ปกติเนื้อเทปที่เราเห็นจะเป็นสีน้ำตาลๆ บ้างก็ค่อนไปทางดำนะครับ ทีนี้ผมเจอเทปบางม้วน สีน้ำตาลดำที่เคลือบเนื้อเทปไว้มันเริ่มปูดและพร้อมลอกออกมา (แต่ผมยังไม่ลอกนะครับ) แง้มๆ ดูเห็นเส้นเทปใสเลยครับ เข้าใจว่าสารเคลือบบางอย่างหมดสภาพไปแล้ว ถ้าผมลอกออกซัก 1-2 มม. เฉพาะจุดที่มีปัญหา จะมีผลต่อเพลงที่ฟัง หรือการเล่นเพลงมากน้อยแค่ไหนครับ

ขอบพระคุณครับ


สมภพ

  • เก็บคนที่ไม่หวังดีไว้ใกล้ๆ จะได้ตบกบาลมันได้สะดวก
  • ผู้ดูแลระบบ
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 22120
  • กระทู้: 5078
  • Thank You
  • -Given: 13547
  • -Receive: 22120
           
                     ผมไม่ได้เรียนช่างอิเลคโทรนิค แต่ว่าตอนเรียนกินอยู่หลับนอนมุ้งเดียวกับเพื่อนที่เรียนอิเลคโทรนิคมาหลายปี เคยช่วยเพื่อนประกอบแอมป์ฯ  มาเสร็จเอาตอนตีสองแล้วต้องลองเสียง(เพราะมันลุ้นว่าจะใช้ได้มั้ย) จนชาวบ้านด่าเอาก็หลายหน  :tab_on: :tab_on: เอาเป็นว่าตอบคร่าวๆ ตามที่เคยแอบอ่านตำรามาก็แล้วกันครับ

                    เทปที่คุณสุธากล่าวถึงนี่น่าจะเป็นเทปคาสเซ็ท เส้นเทปจะเป็นพลาสติคกว้างประมาณ 5 มม. เคลือบผิวด้วยแถบแม่เหล็กบนเส้นเทป ที่เห็นเป็นสีน้ำตาลนั้นแหละ บนเส้นเทปนี้จะแบ่งครึ่งเพื่อบันทึกเสียงลงทีละหน้า ที่เราเห็นว่าเทปจะมีหน้า A และ หน้า B นั้นแหละ หมายความว่าหนึ่งหน้าของม้วนเทปจะมีพื้นที่ในการใช้งานเพียงครึ่งเส้นเท่านั้น หัวเทปจะอ่านสัญญาณเพื่อเข้ารหัสเป็นแบบอนาล๊อคส่งเข้าไปทำการแปลงออกมาเป็นสัญญาณเสียงออกมาทางลำโพงให้เราได้ยิน

                   คราวนี้ถ้าแถบแม่เหล็กนั้นลอกออก ก็หมายถึงว่าตรงจุดที่ชำรุดนั้นหัวเทปจะอ่านสัญญานไม่ได้ เสียงของการบันทึกในช่วงนั้นก็จะขาดหายไปครับ จะขาดมากหรือน้อยก็แล้วแต่ความยาวของแถบแม่เหล็กที่ชำรุดไปนั้นแหละครับ ถ้านิดเดียวก็เป็นเสียงสะดุด ถ้ามากนี่ถึงกับแหว่งเลยนะครับ   
                   สำหรับไฟล์เพลงที่มีปัญหาในลักษณะนี้ ถ้าตรงที่ชำรุดนั้นเป็นท่อนที่มีร้องซ้ำผมแก้ไขด้วยการเอามาเข้าโปรแกรม (ผมใช้ Adobe Audition 1.5) เอามาเข้าโปรแกรมแล้วหาจุดที่เป็นท่อนซ้ำแล้วตัดเอาตรงที่ดีของอีกท่อนหนึ่งมาแปะตรงที่ชำรุดครับ แต่ต้องนับยอดกร๊าฟกันแบบละเอียดยิบเลยนะครับ ยอดต่อยอดกันเลยทีเดียวแหละ ถ้าไม่เป๊ะก็ยังคงฟังได้แต่จะสะดุดจนจับได้แหละครับ ถ้าไม่ใช่ท่อนซ้ำนี่หมดสิทธิ์เลยครับ
                   อีกกรณี ถ้าจะไปเอาท่อนเดียวกันจากไฟล์อื่นนั้นผมไม่แนะนำเลยครับ เพราะว่ากว่าที่จะปรับระดับเสียงของสองไฟล์ให้เข้ากันได้แบบกลมกลืนนั้นเป็นเรื่องสุดหินจริงๆ เพราะมีองค์ประกอบคือ ความดัง ระดับเสียงทุ้ม แหลม ระดับเสียงร้อง เอาไฟล์อื่นมาทำง่ายกว่าครับ

                  มีเกร็ดสนุกๆ มาเล่าสู่กันฟัง ช่วง พ.ศ. 2515 - 2517 ผมเรียนช่างยนต์ เช่าบ้านอยู่กับเพื่อนเรียนอิเลคโทรนิค(ก็ไอ้คนนี้แหละ) ชาวบ้านแถวนั้นก็จะเอาวิทยุกระเป๋าหิ้วมาให้ซ่อม เพื่อนผมมันก็ซ่อมให้เขาไป ครึ่งเดือนแรกนี่ฟรีครับ ค่าอะไหล่ก็ไม่เอา ก็ค่าอะไหล่ในปีนั้นบางตัวสลึงเดียว บางตัวห้าสิบสตางค์ ฟรีเลยครับลุงครับป้า พอเราไม่เอาตังค์ ผลกลับมาเป็นกับข้าวครับ มาเป็นถุงเป็นถ้วยมาเลย แต่พอเข้าไปค่อนทางปลายเดือน เงินในกระเป๋าชักร่อยหรอ ลุงครับป้าครับ อะไหล่ตัวนี้แพงครับ ผมขอห้าบาท ครับ สิบบาทครับ 5555   :tab_on: :tab_on:





                   


บันทึกการเข้า
รับไม่ได้กับเพลงไทยสไตล์ฝรั่ง จนต้องมาวิ่งหาต้นฉบับไว้ฟังอยู่นี่ไง

สุธา

  • ชาวบ้านเพลงไทยอาวุโส
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 703
  • กระทู้: 307
  • Thank You
  • -Given: 310
  • -Receive: 703
ขอบพระคุณคุณสมภพมากๆ เลยครับ ทีแรกตั้งใจถามแค่ว่าจะทำยังไงกับเนื้อเทปลักษณะนี้ได้บ้าง มีหนทางแก้พร้อมกับเรื่องเล่ามาฝากด้วย ขอบพระคุณจริงๆ ครับ เทปที่ว่านี้เป็นของค่าย FS สังเกตว่าเนื้อเทปไม่ค่อยทนทานเท่าไหร่ครับ ผมเจอมาอย่างน้อยก็ 3 ม้วนแล้วครับ


บันทึกการเข้า