กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: โรคเก๊าท์  (อ่าน 7218 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

น้องนางบ้านนา

  • การศึกษาของไทยคือ-อะไรก็ได้ที่ง่ายๆ แล้วได้ปริญญา
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2617
  • กระทู้: 546
  • Thank You
  • -Given: 2027
  • -Receive: 2617
โรคเก๊าท์
« เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2013, 02:40:31 PM »
  ต้นทางข้อมูล...http://nutrition.anamai.moph.go.th/temp/main/view.php?group=1&id=606
โรคเก๊าท์

โรคเก๊าท์ เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่ง เกิดจากการตกตะกอนของกรดยูริคภายในข้อซึ่งกรดยูริคมาจากสารพิวรีนที่มีมากในอาหารจำพวกเครื่องในสัตว์ ถั่วเมล็ดแห้ง ฯลฯ

     ความรุนแรงและปัญหาที่มีต่อร่างกาย

1. ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ต้องรักษาตลอดชีวิต เพราะโรคนี้จะเป็นๆหายๆ
2. ต้องทรมานต่อการเจ็บป่วยในระยะที่กำเริบ
3. ทำให้สูญเสียเวลา และค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาล
4. หากปล่อยทิ้งไว้ให้เป็้นโรคนี้นานๆจะทำให้ข้อบิดเบี้ยว เดินลำบากและทำให้เกิดพิการได้
5. กรณีที่มีการอักเสบอย่างเฉียบพลัน มักมีนิ่วในไตและนิ่วในทางเดินปัสสาวะ

    เครื่องชี้วัด

1. ในเพศชาย ควรมีระดับกรดยูริคในเลือดไม่เกิน 8 มิลลิกรัม ในเลือด 100 มิลลิลิตร ซึ่งพบว่าชายในวัยกลางคนขึ้นไป จะเป็นโรคเก๊าท์ถึง 90 %
2. ในเพศหญิง ควรมีระดับกรดยูริคในเืลือดไม่เกิน 6 มิลลิกรัม ในเลือด 100 มิลลิลิตร ซึ่งพบว่าหญิงวัยหลังหมดประจำเดือน จะเป็นโรคเก๊าท์ถึง 10 %

      การวินิจฉัย

1. ผู้ป่วยเป็นโรคเก๊าท์จะมีอาการปวดข้ออย่างเฉียบพลันครั้งแรกพบมากที่ข้อเท้าหรือหัวแม่เท้า โดยมีอาการบวมเมื่อคลำดูจะรู้สึกร้อน เวลากดเจ็บมากอาจมีอาการไข้เล้กน้อยถึงไข้สูงเป็นประมาณ 3-7 วัน
2. เจาะเลือดตรวจระดับกรดยูริคว่าสูงกว่าปกติหรือไม่ค่าของกรดยูริคสำหรับคนปกติไม่ควรเกิน 7.5 มิลลิกรัม ในเลือด 100 มิลลิลิตร

     สาเหตุ

1. กินอาหารชนิดที่มีสารพิวรีนมาก เช่น ตับ ไต สมอง และกินอาหารไขมันมากทำให้การขับถ่ายกรดยูริคเป็นไปได้ยาก
2. ร่างกายมีการสังเคราะห์กรดยูริคมากขึ้น มักเกี่ยวกับกรรมพันธุ์ และเพศ
3. การดื่มเหล้าและเบียร์ (เบียร์ทำจากยีสต์ซึ่งมีสารพิวรีนมาก เบียร์จึงเป็นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์น้อยแต่มีพิวรีนมาก)
4. ยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิต ทำให้มีกรดยูริคสูงในเลือด
5. เหตุอื่น ๆ เช่น บาดเจ็บ การผ่าตัด ความเครียด มี ผลให้กรดยูริคในเลือดสูง

     การป้องกันและบำบัดรักษา

     สิ่งที่สำคัญของโรคเก๊าท์อยู่ที่การป้องกันไม่ให้ไขข้ออักเสบกำเริบบ่อย ๆ ซึ่งมีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้
1. กินอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
2. หลีกเลี่ยงการดื่มเบียร์และเหล้า
3. ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อช่วยในการขับถ่ายกรดยูริค
4. พยายามทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส ไม่เคร่งเครียดต่อการงานจนเกินไป
5. ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตามความเหมาะสม การใช้อาหารบำบัดรักษาโรคเก๊าท์นั้น อาหารควรจะมีคุณค่าทางโภชนาการเพียงพอ ประกอบด้วยอาหารหลัก 5 หมู่ เพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วน

      แหล่งอาหาร

      เนื่องจากกรดยูริคจะได้จากการเผาผลาญสารพิวรีน ดังนั้นในการรักษาโรคเก๊าท์จึงต้องควบคุมสารพิวรีนในอาหารด้วย

     ตารางแสดงปริมาณพิวรีนในอาหารที่กินได้ 100 กรัม
กลุ่มที่ 1                    กลุ่มที่ 2                                          กลุ่มที่ 3    
(น้อย)                               (ปานกลาง)                                          (มาก)   
นมและผลิตภัณฑ์จากนม     เนื้อหมู                                              หัวใจไก่   น้ำสกัดเนื้อ
ไข่                               เนื้อวัว                                              ตับไก่   น้ำต้มกระดูก
ธัญญพืชต่างๆ                   ปลากระพงแดง                                 กึ๋นไก่   น้ำซุปต่างๆ
ผักต่างๆ                           ปลาหมึก                                 เซ่งจี้หมู   ซุปก้อน
ผลไม้ต่างๆ                 ปู                                              ตับหมู   ยีสต์
น้ำตาล                              ถั่วลิสง                                              ไต                เห็ด
ไขมัน                              ใบขี้เหล็ก                                 ตับอ่อน   ถั่วดำ
ผลไม้เปลือกแข็งทุกชนิด     สะตอ                                              มันสมองวัว   ถั่วแดง
วุ้น                              ข้าวโอ๊ด                                 เนื้อไก่,เป็ด   ถั่วเขียว
                               ผักโขม                                           ห่าน               ถั่วเหลือง
                               เมล็ดถั่วลันเตา                                ไข่่ปลา   กระถิน
                               หน่อไม้                                             ปลาดุก   ชะอม
                               ดอกกะหล่ำ                                ปลาไส้ตัน   กะปิ
                                                                           ปลาอินทรีย์   
                                                                           ปลาซาร์ดีน   
                                                                            กุ้งชีแฮ   
                                                                              หอย   
            


จากหนังสือ Normal and Therapcutic Nutrition ของ Gorinne H. Robinson 1072
จากการศึกษาปริมาณพิวรีนในอาหารชนิดต่างๆโภชนาการ 13:2522


บันทึกการเข้า
โชคอยู่ที่การแสวงหา วาสนาอยู่ที่การกระทำ
จงโง่บางโอกาส จงฉลาดบางเวลา
-

** กระทู้แรกที่ควรอ่านเมื่ออยู่บ้านเพลงไทย **

ชญาดา

  • กรรมการบ้านเพลงไทย
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3031
  • กระทู้: 959
  • Thank You
  • -Given: 2112
  • -Receive: 3031
Re: โรคเก๊าท์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2013, 03:57:57 PM »
อ่านข้อความแล้ว สังเกตุได้ว่า  อาหารที่รับประทานไป หากทานบ่่อย ๆ  ซ้ำ ๆ โอกาสเป็นโรคเก๊าท์สูงมาก  ผักพวกชะอม ยอดผักต่าง ๆ แตงกวาที่ทานทั้งผลก็ควรนำเมล็ดออกก่อนทานค่ะ รวมถึงมะเขือ ต่าง ๆ นำเม็ดออกก็จะดีค่ะ  ดังนั้นควรเปลี่ยนเมนูอาหารในแต่ละวัน ไม่ซ้ำกัน จะได้สารอาหารที่เป็นประโยชน์ไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเก๊าท์ ค่ะ


บันทึกการเข้า