กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: นกใน..สวน...๔  (อ่าน 6780 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ลุงชัยนรา

  • ความเปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร์
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3715
  • กระทู้: 910
  • Thank You
  • -Given: 3245
  • -Receive: 3715
  • ชีวิตนี้ยอมพลี เพื่อแผ่นดิน
นกใน..สวน...๔
« เมื่อ: กรกฎาคม 03, 2013, 12:09:44 PM »
...สวัสดีครับเพื่อนร่วมบ้านเพลงไทย...ที่รักทุกท่าน...วันนี้ขอนุญาตใช้พื้นที่ตรงนี้ นำเรื่องราวของ"นก" ที่มีอยู่ในสวนที่เราสามารถพบเห็นได้บ่อย ๆ....นกคือสัตว์ปีกที่สวยงาม..และยังมีส่วนร่วมในการขยายพันธ์พืช ปลูกป่า..และสร้างสีสันให้โลกนี้สวยงาม..สดชื่น...และมีชีวิตชีวา....ขอเชิญตามมา...เลยครับ

นกกาฝาก (Flowerpecker)
เป็นนกในวงศ์ Dicaeidae ที่มีขนาดตัวเล็กมาก ส่วนมากจะมีความยาวตัวไม่เกิน 10 เซนติเมตร มีปากสั้น หางสั้น เป็นวงศ์ของนกที่ใกล้เคียงกับวงศ์ของนกกินปลี (Nectariniidae) เพราะมีลิ้นที่ยาวมากเหมือนกัน ลิ้นนี้ใช้สำหรับดูดกินน้ำหวานจากดอกไม้ แต่มีลักษณะของจะงอยปากไม่เหมือนกัน จะงอยปากของนกกาฝากจะหนาและสั้น ไม่เรียวยาว และโค้งลงเหมือนนกกินปลี นกกาฝากตัวผู้และตัวเมียมีสีตัวต่างกัน นกตัวเมียจะมีสีซีดกว่าและไม่สวยงามเหมือนนกตัวผู้ โดยนกตัวเมียจะมีขนสีน้ำตาลอมเหลือง ท้องสีขาวหรือครีม สีของนกตัวเมียหลายชนิดในวงศ์นี้คล้ายคลึงกันมากจนแทบจะแยกไม่ออกว่าเป็นชนิดใด ส่วนนกกาฝากตัวผู้จะมีสีน้ำตาลเข้มกว่านกตัวเมีย นกตัวผู้บางตัวจะมีสีอื่นแซมที่บนหัว หลัง หรือ สะโพก เช่น สีเหลือง แดงหรือส้ม

นกกาฝากส่วนมากชอบหากินอยู่ตามยอดไม้ มีบางชนิดเท่านั้นที่ลงมาหากินบริเวณไม้พื้นล่าง (undergrowth) หากินเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-5 ตัว กินแมลงเป็นอาหารหลัก บางครั้งกินน้ำหวานและละอองเกสรของดอกไม้ อาหารที่นกกาฝากชอบมากอีกอย่างหนึ่งคือลูกไม้สุก โดยเฉพาะลูกไทร และลูกกาฝาก เนื่องจากนกกาฝากเป็นนกขนาดเล็ก และชอบเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้สังเกตเห็นได้ยาก มักจะได้ยินเสียงร้องมากกว่าที่จะได้พบเห็นตัวนก

นกในวงศ์นกกาฝากนี้มีด้วยกันทั้งหมด 54 ชนิด แต่ที่พบในเมืองไทย มี 10 ชนิด ที่รู้จักกันดีมากที่สุดคือ นกสีชมพูสวน (Dicaeum cruentatum) เป็นนกที่พบเห็นได้เสมอเกือบทุกที่แม้แต่ในบริเวณบ้านพักอาศัย นกชนิดนี้จัดเป็นนกที่สวยที่สุดในหมู่นกกาฝากทั้งหมด โดยเฉพาะสีขนของนกตัวผู้ตั้งแต่กระหม่อมไปถึงโคนหางเป็นสีแดงเลือดนก นกตัวเมียมีหลังสีน้ำตาลอมเหลือง โดยเฉพาะโคนหางเท่านั้นที่เป็นสีแดงเลือดนก ดูแล้วไม่สวยงาม เหมือนนกตัวผู้  นกกาฝากนอกจากจะกินแมลงและน้ำหวานแล้ว มันยังชอบกินลูกไม้สุกอีกต่างหาก และลูกไม้ที่มันชอบที่สุดคือลูกไทรสุก และลูกกาฝาก ซึ่งจัดเป็นอาหารที่สำคัญที่สุดของนกและสัตว์อื่นๆ เมื่อกินอิ่มแล้ว มันจะบินไปเกาะพักตามที่ต่างๆ หลังจากอาหารย่อยแล้วมันก็จะถ่ายมูล ออกมา เมล็ดที่ไม่สามารถย่อยได้ก็จะถูกขับออกมาพร้อมกับมูลของนก ในขณะถ่ายมูลนั้น มันชอบทำก้นกระดกต่ำๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่าหลายๆ ครั้ง คล้ายกับจะเช็ดก้นกับกิ่งไม้ ทำให้เมล็ดติดแน่นกับกิ่งไม้แล้วก็งอกงามอยู่บนกิ่งไม้นั้นเอง ต้นกาฝากและต้นไทรเหล่านี้ก็จะเจริญเติบโตมีผลเล็กๆ อีกมากมาย เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของนกกาฝากและนกอื่นๆ





          นกสีชมพูสวนตัวผู้                                     นกสีชมพูสวนตัวเมีย



ชื่อไทย   :   นกสีชมพูสวน
ชื่อสามัญ   :   Scarlet-backed Flowerpecker
ชื่อวิทยาศาสตร์   :   Dicaeum cruentatum (Linnaeus, 1758)
ลักษณะ   :   ตัวผู้ กระหม่อม ท้ายทอย คอ หลัง และตะโพกสีแดงอมชมพู ข้างคอสีดำ ท้องและก้นสีขาว ปากและหางสีดำ ตัวเมีย มีสีน้ำตาลเทาและตะโพกมีสีแดงอมชมพูสด
สถานภาพ   :   ไม่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
ถิ่นอาศัย   :   อาศัยในป่าดงดิบ พื้นที่การเกษตร ตั้งแต่พื้นราบจนถึง 1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล รวมไปถึงในสวน และใจกลางเมือง
การแพร่กระจาย   :   นกประจำถิ่น พบทุกภาคของไทย

นกกาฝากก้นเหลือง
ชื่อไทย:นกกาฝากก้นเหลือง
ชื่อสามัญ: Yellow-vented Flowerpecker
ชื่อวิทยาศาสตร์: Pachyglossa chrysorrhea
ขนาดเมื่อโตเต็มวัย: 9.5-10 เซนติเมตร
การกระจายพันธุ์: แนวป่าตะวันตกจนถึงภาคใต้ ภาคตะวันออก
การจำแนกชนิด: ก้นสีเหลืองสด
ถิ่นอาศัย: ป่าเบญจพรรณ ชายป่า ชุมชนใกล้ป่า
ข้อมูลทั่วไป: กินผลไม้ขนาดเล็กและน้ำหวานจากดอกไม้เป็นอาหาร นกประจำถิ่น พบบ่อย
นกกาฝากปากหนา
ชื่อไทย   :   นกกาฝากปากหนา
ชื่อสามัญ   :   Thick-billed Flowerpecker
ชื่อวิทยาศาสตร์   :   Dicaeum agile (Tickell, 1833)
ลักษณะ   :   ปากหนาสีดำ ปลายหางแผ่กว้างออกด้านข้าง อกมีลายสีเทาเข้ม ปีกสีเขียวอมน้ำตาล ตาสีแดงถึงสีส้ม
สถานภาพ   :   เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
ถิ่นอาศัย   :   อาศัยในป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ และป่ารุ่น จากพื้นราบจนถึง 1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล
การแพร่กระจาย   :   นกประจำถิ่น พบในภาคเหนือ ตอนบนของภาคตะวันตก บางส่วนของภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ



นกกาฝากอกเพลิง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า  Fire-breasted Flowerpecker  ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Dicaeum ignipectus
อยู่ในวงค์นกกาฝาก นกกินปลีและนกปลีกล้วย  Nictariniidaeนกกาฝาก นกกินปลีและนกปลีกล้วย  Nictariniidae  มีชนิดย่อย เรียกว่า  cambodianum  นกกาฝากอกสีเนื้อ Buff-bellied Flowerpecker

ลักษณะทั่วไป  รูปร่างมีขนาดเท่าๆ กับนกสีชมพูสวนพวกเดียวกัน ตัวผู้มีอกและท้องเป็นสีขาว หลังและปีกเป็นสีน้ำเงินอมเขียวสะท้อนแสง  หน้า คอและด้านข้างของอกมีปื้นสีดำ  มีแถบสีแดงเป็นปื้นใหญ่จากใต้คอลงมาถึงอกตอนบน  ปาก ขาและหางสีดำ นกตัวเมียมีหลังและปีกเป็นสีเขียวมะกอกปนน้ำตาล ท้องสีขาวอมเหลือง สีข้างแซมเขียวไพล  ปากสีดำ โคนปากล่างมีสีเหลือง หรือ เหลืองอมส้ม

พบได้ทั่วไป ตามป่าดงดิบ เขาสูงทางภาคเหนือและตะวันตก พบบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออก และภาคใต้   ชนิดย่อย cambodianum พบได้ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ตะวันออกเฉียงใต้ของไทย และประเทศกัมพูชา นกตัวผู้จะไม่มีแถบสีแดงเพลิงที่หน้าอก
หากินแมลง ผลไม้และน้ำหวาน

นกกาฝากอกสีเลือดหมู บนต้นเหมร๋(โคลงเคลง)
นกกาฝากอกสีเลือดหมู Crimson-breasted Flowerpecker
ตัวผู้  ปากหนา ลำตัวด้านบนเทาแกมฟ้า จุดกลางกระหม่อมแดง แถบหนวดขาว ลำตัวด้านล่างเหลืองสด กลางอกมีแต้มแดง
ตัวเมีย  จุดกลางกระหม่อมส้มแดง ลำตัวด้านบนและด้านล่างเขียวคล้ำแกมน้ำตาล ลำตัวด้านล่างสีอ่อนกว่า กลางอกและท้องเหลืองจางๆ ก้นขาว

ถิ่นอาศัยป่าดิบ ชายป่า ที่ราบถึงความสูง  1200 เมตร นกปรเะจำถิ่น พบค่อนข้างบ่อย
.....วันนี้ขอจบเรื่องราวของนก"กาฝาก" แม้สีสันจะไม่สวยสด งดงาม และไม่เป้นที่ชื่นชอบของชาวสวนมากนัก เพราะเป็นตัวแพร่พันธ์"ต้นกาฝาก" ที่ทำให้ต้นไม้ผล มีปัญหา..แต่เชื่อว่ายังดีกว่า"มนุษย์กาฝาก" อีกตั้งเยอะนะครับ...

ขอขอบคุณนายแบบและนางแบบ นกสวนสีชมพูในสวนลุงชัย
ขอขอบคุณภาพและข้อมูล จากอินเตอร์เน็ต หลายๆเวป
ขอขอบคุณ อ.ชาติ...ผู้ฝึกสอนการวางภาพ