กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: ผลไม้ป่าชายทุ่ง - 4  (อ่าน 3490 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ลุงชัยนรา

  • ความเปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร์
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3715
  • กระทู้: 910
  • Thank You
  • -Given: 3245
  • -Receive: 3715
  • ชีวิตนี้ยอมพลี เพื่อแผ่นดิน
ผลไม้ป่าชายทุ่ง - 4
« เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2013, 12:35:46 AM »
                                 
กำชำ - มะหวด

ช่วงนี้มีผลไม้สุดแสนโปรดสมัยเป็นเด็กเลี้ยงวัวเลี้ยงควายอยู่ชายทุ่งมาฝาก แต่ป็นผลไม้ชั้นสูงนา...ขอบอก.... (ก็มันอยู่บนแถวปลายกิ่งปลายก้าน หรือพูดง่าย ๆ คือ บนยอด โน่น!!!!) แต่ก็ขอทายเลยว่า พวกสาวๆ ปากแดงๆทั้งหลายคงจะไม่กล้ากินแน่ๆ.......ไม่เชื่อไปถามน้องอั้ม น้องเคท น้องเนทก็แล้วกัน!!! 555)
 และผลไม้ที่เป็นผลไม้ชั้นสูงที่ว่า คือ ลูกกำชำ ภาษาของภาคอื่นไม่แน่ใจว่า เค้ามีชื่อว่าอะไร แต่แถวปักษ์ใต้เราเรียก กำชำบ้าง ลูกหลาชำบ้าง และภาษาสามัญ เรียกว่า มะหวด แต่เอาเหอะ จะเรียกอะไรก็แลวแต่ แต่สุดท้าย ถ้าใครกินก็ฟันดำด้วยกันทุกคนแหละ !!!!

  ในสมัยอดีตวันวานเมื่อวัยเยาว์ของลุงชัยและผองเพื่อน ที่แม่แสนจะปวดหัว เพราะวันๆไม่ต้องได้ทำอะไรกัน แต่มัวถือไม้เรียววิ่งไล่หวดก้นที่ไม่รู้ว่า คนหรือลิง แต่ชอบจริ๊ง..ชอบจริง...ที่จะไปอยู่บนต้นไม้ โดยเฉพาะต้นพลา ต้นกำชำ


ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Lepisanthes rubiginosa (Roxb.) Leenh.

มะหวดเป็นไม้ต้น สูงถึง 16 ม. เปลือกค่อนข้างเรียบ สีน้ำตาลถึงสีเทา ใบ ประกอบแบบขนนก เรียงสลับ มีใบย่อย 3–6(–9) คู่ เรียงตรงข้าม หรือเยื้องกัน บางครั้งสลับ แผ่นใบย่อยรูปไข่ ถึงรูปใบหอกแกมรูปไข่กลับ กว้าง 2–11 ซม. ยาว 4–30 ซม. ปลายป้านถึงเรียวแหลม โคนมนถึงรูปลิ่มกว้าง ผิวใบมีขนยาวประปรายทั้ง 2 ด้าน ดอก เล็ก สีขาวถึงเหลือง กลิ่นหอมหวาน ออกเป็นช่อตามปลายกิ่งและตามง่ามใบใกล้ยอด ช่อดอกยาวถึง 50 ซม. ผล กลม กว้างประมาณ 7–10 มม.. ยาวประมาณ 8–15 ซม. ฉ่ำน้ำ เมื่อสุกสีม่วงแดงถึงเกือบดำ
         
มะหวดมีการกระจายพันธุ์ในป่าเกือบทุกชนิดทั่วทุกภาคของประเทศ ที่ความสูงตั้งแต่ระดับทะเลปานกลางถึง 300(–1,200) ม. ในต่างประเทศพบที่จีนตอนใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ และออสเตรเลีย ออกดอกเดือนพฤศจิกายน–เมษายน ผลแก่เดือนตุลาคม–เมษายน

คุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณ:

ราก  แก้ไข้เพื่อฝีภายใน แก้พิษร้อน แก้วัณโรค ขับพยาธิ แก้กระษัยเส้นเอ็น แก้ปอดพิการ แก้ไข้ แก้ซาง แก้ไอกรน แก้ไข้ที่มีพิษร้อน แก้งูสวัด แก้ไข้ปวดศีรษะ รักษาโรคผิวหนังผื่นคัน
ผล สมานแผล แก้บิดมูกเลือด แก้ไข้รากสาด แก้ท้องร่วง แก้ปวดมวนในท้อง
ใบ แก้ไข้ เป็นยาชูกำลัง ส่วน ผลสุก แก้อาการท้องร่วง
เมล็ด แก้ไข้ แก้ซาง หรือแก้ไข้ซาง แก้ไอกรน แก้ไอเรื้อรัง บำรุงเส้นเอ็น รักษาโรคไอหอบ               
เปลือกต้น แก้บิดมูกเลือด สมานแผล แก้ไข้รากสาด แก้บิด ปิดธาตุ แก้ธาตุพิการ
ลูกกำชำ ตอนที่สุกลูกจะมีสีดำ รสชาติหวาน  อร่อยจริงๆ แต่กินแล้วอย่าลืมคายเมล็ดออกนา ไม่งั้น...ท้องผูกหลายวันแน่ๆ ......ท่านใดในบ้านฯนี้ มีความหลังผูกพันกับไม้ต้นนี้เล่าสู่กันฟังบ้างนะครับและขอรบกวนเพื่อนๆ ชาวอีสาน ชาวเหนือ ช่วยบอกด้วยว่าแถวบ้านท่านเขาเรียกลูกอะไรครับ

 
 ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=1067)
ขอขอบคุณภาพและบางข้อความจาก กิมหยง.คอม
ขอขอบคุณ อ.ชาติ ผู้ฝึกสอนการวางภาพ
ขอขอบคุณคณะกรรมการและผู้ก่อตั้งบ้านเพลงไทยทุกท่านที่เอื้อเฟื้อพื้นที่
ขอบคุณเพื่อนร่วมบ้านทุกท่านที่เข้ามาอ่านและโพสตอบ
 

   
     
 


โชค

  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 1000
  • กระทู้: 496
  • Thank You
  • -Given: 1046
  • -Receive: 1000
Re: ผลไม้ป่าชายทุ่ง - 4
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2013, 07:30:23 PM »
หรอยแรงนิลุงชัย แต่ทว่าทุกวันนี้หายากเหมือนกรุเพลงเก่าเลย ... ขอบคุณครับ .. ว่างๆหา "ลูกโท๊ะ" มากินมั่งเหยียง ..  :52


บันทึกการเข้า