กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: นก...พื้นบ้าน  (อ่าน 7169 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ลุงชัยนรา

  • ความเปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร์
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3715
  • กระทู้: 910
  • Thank You
  • -Given: 3245
  • -Receive: 3715
  • ชีวิตนี้ยอมพลี เพื่อแผ่นดิน
นก...พื้นบ้าน
« เมื่อ: มิถุนายน 03, 2013, 01:47:33 PM »
...สวัสดีครับเพื่อนร่วมบ้านเพลงไทยที่รัก ทุกท่าน..วันนี้ว่างเว้นกับการ ทำสวน ถางหญ้า นั่งหลบแดด ใต้ร่มเงาต้นพลับพลา เหลือบมองไปเห็น หมู่นกต่างๆแวะเวียนมากิน ลูกไทร ลูกพลา หลายชนิด ก็เลยนึกขึ้นได้ว่าน่าจะรวบรวม ข้อมูล ภาพ นกพื้นถิ่นที่พบง่ายตามที่พอหาได้มาฝากกัน ไม่เคยเป็นนักดูนก แต่เห็นกันทุกวันยามเช้า และยามเย็น เหมือนเพื่อนร่วมโลกต่างสายพันธ์ที่เป็นนักปลูกต้นไม้...เชิญ..ตามมานะครับ...

ตัวเมีย
ตัวผู้


                                            นกกาเหว่า
ชื่อท้องถิ่น:   นกกาเหว่า ดุเหว่า
ชื่อสามัญ:   นกกาเหว่า
ชื่อวิทยาศาสตร์:   Eudynamys scolopacea
ชื่อวงศ์:   Cuculidae
ประเภทสัตว์:   สัตว์ปีก
ลักษณะสัตว์:               รูปร่างลักษณะ คนไทยโดยทั่วไป มักเข้าใจว่า นกกาเหว่ามีอยู่ 2 ชนิด คือ นกกาเหว่าดำ และ นกกาเหว่าลาย ทั้งนี้เพรา นกตัวผู้ มีสีดำ และ นกตัวเมียมีสีน้ำตาลลายๆ ทั้งตัว และ ยังมีเสียงร้องแตกต่างกันด้วย แต่เป็นตัวผู้ และ ตัวเมีย นกกาเหว่า เป็นนกขนาดเล็ก - กลาง ความยาวจากปลายปากจด หาง 43 ซม. ลำตัวค่อนข้างยาว ในเวลาเกาะกิ่งไม้ ลำตัวจะอยู่ในแนวนอน

             นกกาเหว่าเป็นนกในวงศ์คัคคู (Cuculidae) มีขนาดใกล้เคียงกับอีกา ลำตัวเพรียวยาว ตาสีแดง หางยาวและแข็ง เท้าจับกิ่งไม้มีลักษณะพิเศษต่างจากนกชนิดอื่น คือสามารถจับกิ่งไม้ได้รอบโดยใช้นิ้วหน้า 2 นิ้ว และนิ้วหลัง 2 นิ้ว ตัวผู้มีสีดำ ปากสีเขียวเทา ส่วนตัวเมียสีน้ำตาลแก่ มีลายเป็นจุดขาวทั่วตัว
             แหล่งอาศัยหากิน มักพบในพื้นที่หลายแบบ โดยพบทั้งในป่าโปร่ง สวนผลไม้ บนที่ราบต่ำ แต่ ในต่างประเทศ พบขึ้นไปหากินถึงระดับสูง 1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล นอกจากจะพบในป่าโปร่ง และ สวนผลไม้แล้ว นกกาเหว่า ยังอาจพบได้ ในป่าละเมาะ ป่าชายเลน ไร่ สวนสาธารณะ หรือตามสุมทุมพุ่มไม้ รอบๆหมู่บ้าน และ ภายในตัวเมือง ที่มีต้นไม้สูงๆ ขึ้นกระจัดกระจายทั่วไป บางครั้ง ก็พบบนต้นไม้สูงที่ขึ้นเดี่ยวๆ กลางทุ่งโล่ง จัดเป็นนกในเมืองด้วย เพราะอาจพบ เกาะตาม ต้นไม้สูงๆ ในสวนสาธารณะ ใจกลางตัวเมือง หรือตาม สถานที่ราชการ เอกชน ที่พอมีไม้ใหญ่ปลูกไว้ รวมทั้งบริเวณวัดต่างๆ ที่มักมีต้นไม้สูงๆขึ้นอยู่ แต่เรามักได้ยินเสียง มากกว่า จะมองเห็นตัว เนื่องจากมันชอบหลบซ่อนตัว อยู่ภายใน ร่มใบ หนาทึบ ของ ต้นไม้สูงๆ จนแลเห็นตัวได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นกตัวเมีย ซึ่งมีลายสีน้ำตาล เข้ากับสภาพแวดล้อม แต่ สีดำของ นกตัวผู้ จะกลมกลืนไปกับร่มเงาของต้นไม้ ได้ดีกว่า
        นกกาเหว่ามีนิสัยดุ ไม่ชอบเปลี่ยนที่นอน ชอบอยู่เป็นคู่ตัวผู้มีเสียงร้องดังกังวานในตอนใกล้รุ่งหรือใกล้ค่ำ(ที่บ้านนอนต้นตำเสาใกล้บ้าน ตี 4 ร้องแล้ว)จะร้องมากในฤดูหนาวและฤดูแล้งซึ่งเป็นฤดูผสมพันธุ์ มักจะร้องว่า "กา เว้า" ส่วนตัวเมียไม่มีเสียงร้อง
     นกชนิดนี้จับคู่ราวต้นเดือนพฤศจิกายน ออกไข่ราวเดือนมีนาคม ออกไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง มักออกไข่ในรังกา รังนกเอี้ยง(น่าสงสารมากเวลาคาบเหยื่อมาเลี้ยง หลายเที่ยวมาก) ไข่คล้ายไข่นกกามาก ไข่แล้วให้แม่กาฟัก เคยปรากฏพบไข่ในรังกาถึง 8 ฟอง เมื่อไข่ฟักออกมาลูกนกมีสีดำคล้ายกันหมด แต่เมื่อโตขึ้น ลูกนกกาเหว่าตัวผู้มีสีดำเช่นเดิม ส่วนตัวเมียขนเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแก่ มีลายเป็นจุดขาวทั่วตัว
พบตามสวนหรือป่าโปร่งทุกภาคในประเทศไทย
     นกกาเหว่าชอบกินแมลงต่าง ๆ งูบางชนิด กิ้งก่า จิ้งเหลน กบ เขียด นกเล็ก ๆ และผลไม้บางชนิด

กางเขนตัวผู้
กางเขนตัวเมีย

นกกางเขน
นกกางเขน หรือ นกกางเขนบ้าน (อังกฤษ: Oriental Magpie Robin, ชื่อวิทยาศาสตร์: Copsychus saularis) เป็นนกชนิดหนึ่งที่กินแมลง มีขนาดไม่ใหญ่นัก ยาวประมาณ 25 เซนติเมตร ส่วนบนลำตัวสีดำ ส่วนล่างตั้งแต่หน้าอกลงไปจะเป็นสีขาวหม่น ใต้หางมีสีขาว ปีกมีลายพาดสีขาว ตัวเมียสีจะชัดกว่าตัวผู้ ส่วนที่เป็นสีดำในตัวผู้ ในตัวเมียจะเป็นสีเทาแก่ มันมักจะอยู่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ หากินแมลงตามพุ่มไม้ บางครั้งก็โฉบจับแมลงกลางอากาศ หางของมันมักกระดกขึ้นลง ร้องเสียงสูงบ้าง ต่ำบ้าง ฟังไพเราะ ทำรังตามโพรงไม้ที่ไม่สูงนัก มันจะวางไข่ครั้งละ 3-6 ฟองและผลัดกันกกไข่ มันจะฟักไข่นานประมาณ 12 วัน อายุ 15 วัน แล้วจะเริ่มหัดบิน พบทั่วไปในทุกภาคแม้ในเมืองใหญ่ ๆ

นกเขาเล็ก
นกเขาชวา
หรือ นกเขาเล็ก หรือ นกเขาแขก (อังกฤษ: Zebra dove; ชื่อวิทยาศาสตร์: Geopelia striata-เป็นภาษาละติน แปลว่า "รอยไถ" หรือ"ลาย" มีความหมายว่า "นกเขาที่มีลาย" เป็นนกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกพิราบและนกเขา (Columbridae)

มีรูปร่างเหมือนกับนกชนิดอื่น ๆ ในวงศ์เดียวกันนี้ทั่วไป มีขนปกคลุมตัวสีน้ำตาลหัวสีเทา หรือมีสีที่หัวเป็นสีน้ำเงิน ด้านข้างคอมีแถบสีดำสลับกับแถบขาวเป็นลายตามขวาง ด้านหลังสีเข้มมีขีดขวาง คล้ายกับลายของม้าลายในต่างประเทศ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญในภาษาอังกฤษ ด้านท้องสีจาง ใต้ลำตัวเป็นสีขาวมีขีดขวางเล็ก ขอบท้ายของขนหางสีขาว ขนาดเมื่อโตเต็มที่ไม่เกิน 8-9 นิ้ว

มีพฤติกรรมชอบอาศัยอยู่ตามป่าโปร่ง, ป่าละเมาะ, ชายทุ่งและบริเวณที่ทำการเพาะปลูก ชอบอยู่กันเป็นคู่หรือลำพังเพียงตัวเดียว แต่ไม่ชอบหากินอยู่เป็นฝูงใหญ่ มักร้องบ่อย ๆ ในเวลาเช้าและเวลาเย็น มีถิ่นกระจายพันธุ์ในภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย จนถึงมาเลเซีย, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

นกตัวผู้จะมีลักษณะทั่วไปใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย หัวใหญ่ค่อนข้างยาว มีสีขาวที่หน้าผากสีขาวมากยาวถึงกลางหัว ขณะที่ตัวเมียหัวกลมเล็กและสีขาวที่ส่วนหัวจะไม่ยาวเท่า และมีรายละเอียดต่างกันเล็กน้อย เช่น หางที่ตัวเมียจะยกแอ่นกว่าตัวผู้ และเกล็ดที่ข้อเท้าจะละเอียดเล็กกว่าตัวผู้

นกเขาชวา เป็นนกที่ไม่เกรงกลัวมนุษย์ ซ้ำยังมีเสียงร้องที่ไพเราะ จึงเป็นที่นิยมอย่างยิ่งในการเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสำหรับฟังเสียง จนกลายเป็นวัฒนธรรมในคาบสมุทรมลายู โดยเชื่อว่ามีมาจากเกาะชวา มีการจัดแข่งขันประกวด การเพาะขยายพันธุ์ ก่อตั้งเป็นชมรมหรือสมาคมต่าง ๆ ซึ่งในตัวที่มีเสียงร้องไพเราะอาจมีราคาสูงถึงหลักล้านบาท ตลอดจนแตกแขนงกลายเป็นอาชีพอื่น ๆ ต่อด้วย เช่น ประดิษฐ์กรงนกขาย

นกเขาชวา ในปัจจุบันกลายเป็นนกประถิ่นในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย จากการที่ถูกนำเข้ามาในฐานสัตว์เลี้ยงและไม่จัดว่าเป็นสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองแต่ประการใด
...วันนี้ขอนำมาแค่นี้ก่อนนะครับ วันต่อไปจะนำมาฝาก ที่ในสวนผม มีนกเยอะเลยครับ..เพราะต้นไม้ รกครึ้มเลย นี่คือความสุขที่ธรรมชาติให้มา...

ขอขอบคุณภาพ จากอินเตอร์เน็ต หลายเวป
ขอขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย
ขอขอบคุณ อ.ชาติ...ผู้สูญหายผู้สอนการวางภาพ


ชบาบาน

  • ชาวบ้านเพลงไทยอาวุโส
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 382
  • กระทู้: 95
  • Thank You
  • -Given: 412
  • -Receive: 382
Re: นก...พื้นบ้าน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 03, 2013, 09:16:03 PM »
ต่ออีกนะขอรับท่านลุงชัย  เรื่องราวดีๆพันนี้หายาก ภาพก็สดสวยชัดเจน ขออีกนะขอรับ


บันทึกการเข้า

เผ่าพงษ์ ปัตตานี

  • ชาวบ้านเพลงไทยอาวุโส
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 2009
  • กระทู้: 507
  • Thank You
  • -Given: 3223
  • -Receive: 2009
Re: นก...พื้นบ้าน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 04, 2013, 08:19:56 AM »
นกที่ชอบมากที่สุด คือ "นกกรงหัวจุก" ชอบเลี้ยงมากๆในวัยเด็ก แต่ดี๋ยวนี้ไม่เอาแล้วกลัวบาปกรรมที่เอานกมาติดคุกตลอดชีวิตแบบนั้น แต่ยังแอบชื่นชมเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะนกเสียงเล็ก กลาง ใหญ่ ร้องเพราะทุกตัวครับลุงชัย


บันทึกการเข้า