สโมสรบ้านเพลงไทย > ห้องสันทนาการ

การละเล่นของเด็กภาคใต้

(1/5) > >>

ลุงชัยนรา:

                                                  เป่ากบชื่อ  เป่ากบ: การละเล่นของเด็ก
ภาค  ภาคใต้จังหวัด  นราธิวาส
 อุปกรณ์และวิธีการเล่นอุปกรณ์
๑. ยางวง (ยางเส้น) วงใหญ่ หรือวงเล็กก็ได้ แล้วแต่ความชอบและความถนัด๒. ผู้เล่นจำนวนตั้งแต่
 ๒ คน หรือมากกว่า
เล่นทั้งเด็กชายและเด็กหญิงบางครั้งอาจเล่นเป็นทีมก็ได้
๓. สถานที่ เช่น พื้นซีเมนต์ พื้นกระดาน หรือพื้นโต๊ะ
วิธีการเล่น
เป่ากบเป็นการเล่นอย่างหนึ่งของเด็ก เล่นกันทั้งเด็กชายและหญิง ผู้เล่นมีจำนวน ๒ คน หรือเป็นทีมก็ได้ สถานที่เล่น ในที่ร่ม ใช้พื้นที่เรียบ ๆ เช่น พื้นซีเมนต์ พื้นกระดาน หรือพื้นโต๊ะ
ซึ่งผู้เล่นจะเอายางเส้น (ยางวง) จะเป็นวงเล็กหรือวงใหญ่ หรืออาจจะเป็นวงสีต่าง ๆ อยู่ที่ความชอบ ได้แก่ สีเขียว สีแดง สีน้ำตาล เป็นต้น นำมาวางบนพื้นคนละ ๑ เส้น
ให้อยู่ห่างกันประมาณ ๑ ฟุต ผู้เล่นจะผลัดกันเป่ายางเส้น (ยางวง) ของตนไปข้างหน้าทีละน้อย ๆ จนยางเส้นทั้งสองมาอยู่ใกล้กันผุ้เล่นคนใดเป่าให้ยางเส้นของตนไปทับยางเส้น
ของฝ่ายตรงข้ามได้ก็จะเป็นผู้ชนะ ฝ่ายแพ้จะต้องจ่ายรางวัลให้กับผู้ชนะ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นยางเส้น (ยางวง) แต่อาจให้รางวัลอื่น ๆ ก็ได้ตามแต่จะตกลงกัน
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
การเล่นเป่ากบของเด็ก ส่วนใหญ่เล่นกันในเวลาที่ว่าง และมีอุปกรณ์พร้อมที่จะเล่นกันทั้งสองฝ่าย
คุณค่า / แนวคิด/ สาระ
๑. การเล่นเป่ากบ เป็นการเล่นที่ให้ความสนุกสนานแล้วยังเป็นการฝึก การรู้กำหนดจังหวะและกะระยะด้วย๒. การเล่นเป่ากบเป็นการฝึกสังเกต ไหวพริบในการเป่าของคู่ต่อสู้
ซึ่งจะเป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้เด็กรู้จักคิดให้รอบคอบก่อนที่จะเป่า ถ้าเป่าโดยไม่คิดอาจจะผิดพลาดได้ จนทำให้ต้องแพ้
๓. เป็นการฝึกเด็กรู้จักความรัก ความสามัคคี

                                                    หมากขุม

ชื่อ  หมากขุม
ภาค  ภาคใต้
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์ในการเล่น
๑). รางหมากขุม เป็นรูปเรือทำจากไม้ ยาวประมาณ ๑๓๐ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๒๐ เซนติเมตร มีหลุมเรียงเป็น ๒ แถว หลุมกว้างประมาณ ๗ เซนติเมตร ลึกประมาณ ๔ เซนติเมตร

มีด้านละ ๗ หลุม เรียกหลุมว่า เมือง หลุมที่อยู่ปลายสุดทั้งสองข้างเป็นหลุมใหญ่กว้างประมาณ ๑๑ เซนติเมตร เรียกว่า หัวเมือง
๒) ลูกหมาก นิยมใช้ลูกสวด(ลูกสวาด)เป็นลูกหมาก ใส่ลูกหมากหลุมละ ๗ ลูก จึงต้องใช้ลูกหมาก ในการเล่น ๙๘ ลูก
๓) ผู้เล่นมี ๒ คน

วิธีการเล่น
๑) ผู้เล่นนั่งคนละข้างกับรางหมากขุม แต่ละคนใส่ลูกหมากหลุมละ ๗ ลูก ทั้ง ๗ หลุม ส่วนหลุมหัวเมืองไม่ต้องใส่ให้เว้นว่างไว้
๒) การเดินหมาก ผู้เล่นจะเริ่มเดินพร้อมกันทั้ง ๒ ฝ่าย เรียกว่า แข่งเมือง โดยหยิบลูกหมากจากหลุมเมืองของตนหลุมใดก็ได้ แต่ส่วนใหญ่จะหยิบหลุมสุดท้ายของฝ่ายตนเอง เพราะคำนวนว่าเม็ด

สุดท้ายจะถึงหัวเมืองของตนพอดี การเดินหมากจะเดินจากขวาไปซ้าย โดยใส่ลูกหมากลงในหลุม ถัดจากหลุมเมืองที่หยิบลูกหมากขึ้นมาเดิน ใส่ลูกหมากหลุมละ ๑ เม็ด รวมทั้งใส่หลุมหัวเมือง

ฝ่ายตนเอง แล้ววนไปใส่หลุมของฝ่ายตรงกันข้าม ยกเว้นหลุมหัวเมือง เมื่อเดินลูกหมากเม็ดสุดท้ายใส่ในหลุม ให้หยิบลูกหมากทั้งหมดในหลุมนั้นขึ้นมาเดินหมากต่อไป โดยใส่ในหลุมถัดไป

เล่นเดินหมากอย่างนี้จนลูกหมากเม็ดสุดท้ายหมดลงในหลุมที่เป็นหลุมว่าง ถือว่าหมากตาย ถ้าเดินหมากตายในหลุมเมืองของฝ่ายตรงข้ามก็ถือว่าสิ้นสุดการเดินหมาก แต่ถ้า
ตายในหลุมเมืองฝ่ายตนเอง ให้ผู้เล่นกินหมากหลุมเมืองซึ่งอยู่ตรงข้ามกับหลุมที่เราเดินหมากมาตาย โดยควักลูกหมากทั้งหมดในหลุมไปไว้ในหลุมหัวเมืองของฝ่ายตน เรียกว่ากินแทน

เล่นอย่างนี้จนหลุมเมืองของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหมดลูกหมาก เดินต่อไปไม่ได้ ลูกหมากทั้งหมดจะไปรวมอยู่ในหลุมหัวเมืองของทั้ง ๒ ฝ่าย จึงเริ่มเล่นรอบใหม่ต่อไป
๓) การเดินหมากรอบสอง ผู้เล่นจะผลัดกันเดินทีละคน ทำเช่นเดียวกับการเดินรอบแรก นำลูกหมากจากหลุมหัวเมืองฝ่ายตนเองใส่ลงในหลุม ๆ ละ ๗ ลูก ในฝ่ายของตนเอง คราวนี้แต่ละฝ่าย

จะมีลูกหมากไม่เท่ากัน ฝ่ายที่มีลูกหมากมากกว่าจะเป็นผู้เดินหมากก่อน ฝ่ายที่มีลูกหมากน้อยกว่าจะใส่ไม่ครบทุกหลุม หลุมใดมีไม่ครบให้นำลูกหมากที่เหลือไปใส่ในหลุมหัวเมืองฝ่ายตน

หลุมใดไม่มีลูกหมากเรียกว่า เมืองหม้าย ตามปกติหลุมเมืองหม้ายจะปล่อยไว้หลุมปลายแถว หลุมเมืองหม้ายจะไม่ใส่ลูกหมาก ถ้าฝ่ายใดใส่จะถูกริบเป็นของฝ่ายตรงกันข้าม ในกากรเล่นจะ

เล่นจนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหมดลูกหมากเดินต่อไปไม่ได้และจะนับเมืองหม้าย ใครมีจำนวนเมืองหม้ายมากกว่าฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายแพ้

โอกาสหรือเวลาในการเล่น
การเล่นหมากขุมจะเล่นในยามว่างจากการงาน เล่นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เป็นพักผ่อนหย่อนใจ จึงเล่นได้ทั้งวัน

คุณค่า สาระ แนวคิด
๑. การเล่นหมากขุม มีคุณค่าในการฝึกลับสมอง การวางแผนการเดินหมากจะต้องคำนวน จำนวนลูกหมากในหลุม ไม่ให้หมากตาย และสามารถกลับมาหยิบลูกหมากในหลุมของตนเองได้อีก

ผู้เดินหมากขุมจึงต้องมีสายตาว่องไว คิดเลขเร็ว เป็นการฝึกวิธีคิดวางแผนจะหยิบหมากในหลุมใดจึงจะชนะฝ่ายตรงกันข้าม เป็นการฝึกให้ผู้เล่นรู้จักคิดวางแผนในการทำงานทุกอย่าง

สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

๒. เป็นการพักผ่อนหย่อนใจ นันทนาการภายในบ้าน ภายในชุมชน ให้ทั้งความสนุกสนาน และความใกล้ชิดระหว่างพี่น้อง ญาติมิตร
๓. ก่อให้เกิดการประดิษฐ์รางหมากขุม ที่มีความสวยงามและประณีต เป็นความภาคภูมิใจของผู้สร้างชิ้นงาน และยังสามารถสร้างรายได้ในการจำหน่ายรางหมากขุม

..นี่คือการละเล่น ของเด็กๆในภาคใต้ ยามเยาว์วัย ในอดีต..ซึ่งนับวันจะหายากมากในยุคปัจจุบัน ที่โดนโจมตีด้วยการละเล่นในยุค IT ที่ทำให้ความสัมพันธ์ ในครอบครัว ในชุมชนต้องห่างเหินกันไปโดยปริยาย.... ท่านผู้ใดที่เคยมีประสพการณ์จากการละเล่นประเภทนี้ เชิญมาแชร์ประสพการณ์กันนะครับ..เชิญ.....

ขอบคุณภาพจากและข้อมูลจาก www.prapayneethai.com
ขอขอบคุณ อ.ชาติ...ผู้ฝึกสอนการวางภาพ

ชบาบาน:
การเล่นทั้ง 2อย่างเคยเล่นตอนเป็นเด็ก  แต่น่าเสียดาย"หมากขุม" หารางให้ลูกหลานเล่นยากมาก
แต่ก่อนเคยซื้อจากเรือนจำ  เดี๋ยวนี้ไม่มีเสียแล้วน่าเสียดายมาก ส่วนลูกหมากขุมที่เป็นลูกสวาด ยัง
หาได้ตามริมทะเล มันลอยน้ำมา  ขอบคุณท่านลุงชัย ที่ช่วยฟื้นความหลัง

น้องนางบ้านนา:
เคยเล่นเป่ากบ...ครับปี2511.....

นิธิกร สกลนคร:
ขอบคุณความรู้ดีๆมากครับ คิดถึงการละเล่นทางอิสานบ้านผมตอนเด็กๆจัง เป่ากบ ม้าหลังโปก ไก่ต่อ และ อื่นๆอีกเยอะแยะ
ตอนนี้ไม่มีแล้ว มีแต่เกมส์มือถือ  :52

ลุงชัยนรา:
......ว่างๆ ขอเชิญคุณนิธิกร และเพื่อนๆ ร่วมบ้านเพลงไทยนำเรื่องราวแต่หนหลัง ในท้องถิ่นบ้านเมืองของท่านมาเล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ เพื่อเผยแพร่และแบ่งปันประสพการณ์ หวังว่า่คงไม่นานเกินรอนะครับ

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

Go to full version