ขว้างราว
[/b]
กำลังขว้าง
ขว้างราวเป็นกีฬาพิ้นเมืองที่เล่นกันโดยทั่วไปในจังหวัดทางภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานีและนราธิวาสเป็นต้น มักเล่นในช่วงที่มะม่วงหิมพานต์ออกผล โดยนำเอาเมล็ดของมะม่วงหิมพานต์มาใช้ขว้างเล่นกัน ซึ่งเมล็ดมะม่วงหิมพานต์นี้สามารถนำไปใช้รับประทานได้ นิยมเล่นกันในหมู่เด็กชาย เป็นการเล่นสนุกสนานในลักษณะการพนันเอาเมล็ดมะม่วงหิมพานต์กัน ไม่ปรากฎหลักฐานว่าเริ่มมีการเล่นตั้งแต่เมื่อใด แต่พบว่ามีการเล่นในลักษณะการขว้างปาให้ถูกเป้าหมายกันแล้วในสมัยรัชกาลที่ ๕ เรียกว่า “ปากอง” ในสมัยรักาลที่ ๖ พบว่ามีการเล่นปาแม่นในการแข่งขันกรีฑานักเรียนจังหวัดต่างๆ ด้วย ปัจจุบันยังมีการเล่นในเฉพาะชนบท
โอกาสที่เล่น เล่นได้ทุกโอกาสที่ว่าง
ผู้เล่น เล่นในหมู่เด็กชาย(หรืออาจจะมีสาวแก่น) ร่วมเล่นด้วย ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น อย่างน้อยต้องมีผู้เล่นตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป
อุปกรณ์การเล่น ๑. เมล็ดมะม่วงหิมพานต์(โม่งหัวครก,ดากกือแหร-ภาษาถิ่น)) คนละประมาณ ๒๐ – ๓๐ เมล็ด
๒. รางไม้หรือราวไม้ ทำจากไม้ไผ่ผ่าซึก หรือจะใช้ไม้แบนๆ มีขนาดกว้างประมาณ ๒ นิ้วฟุต ยาวประมาณ ๑ – ๒ ฟุต จำนวน ๑ อัน
๓. ก้อนอิฐขนาดเท่ากัน ๒ ก้อน อาจใช้กะลามะพร้าวหรือสิ่งอื่นแทนได้
สถานที่เล่น บริเวณลานดินกลางแจ้งหรือบริเวณที่ว่างใต้ร่มไม้ ลานวัด หรือลานบ้าน เป็นต้น โดยกำหนดเส้นเริ่มเป็นเส้นยาวลงที่พิ้น ๑ เส้น จากเส้นเริ่มเป็นระยะทางประมาณ ๔ – ๕ เมตร วางรางไม้บนก้อนอิฐ ๒ ก้อน ให้ขนานกับเส้นเริ่ม บนราวไม้จะวางเมล็ดมะม่วงหิมพานต์กองกลางเรียงกันไว้
กำลังเรียงเมล็ด
กติกา ๑. ผู้เล่นตกลงกันว่า ใครจะเล่นก่อนหลัง และจะวางเมล็ดมะม่วงหิมพานต์คนละกี่เมล็ด เพื่อเป็นกองกลาง เมื่อตกลงกันได้แล้ว ให้นำเมล็ดมะม่วงหิมพานต์กองกลางทั้งหมดวางเรียงบนรางไม้ที่วางบนก้อนอิฐ ๒ ก้อน ตามที่กำหนดไว้ ผู้เล่นจะเลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ที่เหมาะกับตัวเอง เรียกว่า “ลูกฟัด” หรือ “ลูกเกย”
๒. เริ่มเล่นโดยผู้เล่นยืนหลังเส้นที่กำหนด แล้วขว้างเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ที่เป็นลูกฟัด หรือลูกเกย ให้ถูกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ที่อยู่บนราวให้ร่วง เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ก็จะตกเป็นของผู้ที่ขว้างได้
๓. ผู้เล่นจะผลัดกันคนละครั้ง จนเมล็ดมะม่วงหิมพานต์หมด ก็จะมีการลงเมล็ดมะม่วงหิมพานต์เป็นกองกลางอีก เริ่มเล่นเหมือนที่กล่าวมา
๔. ผู้ใดได้เมล็ดมะม่วงหิมพานต์มากที่สุด เป็นผู้ชนะ
กติกา
๑. ผู้เล่นทุกคนต้องยืนหลังเส้นเริ่ม และผลัดกันคนละครั้งตามลำดับก่อนหลัง
๒. ผู้เล่นอาจขว้างถูกราวไม้หรือขว้างให้ราวไม้ร่วงหล่นจากก้อนอิฐก็ได้ ถ้าราวไม้ร่วงหล่นจากก้อนอิฐ ก็จะได้เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ทั้งหมด...
...หลังจากการเล่นชนะมาได้เมล็ดมะม่วงฯมาเยอะแล้ว ก็จะเป็นการสนองอารมณ์ในความสนุกและความมันกับการคั่วและกินแบบเด็กๆ
อุปกรณ์เสริม
1.กระทะเก่าๆ หรือหม้อเก่าๆ ที่ทะลุ ไม่ใช้งานแล้ว
2.หากไม่มีก็เอาสังกระสีเก่าแทนก็ได้
3.ก้อนหิน ก้อนอิฐ(เอาไว้ทำก้อนเส้า)
4.เชื้อเพลิงตามที่หาได้ ไม้ฟืน เศษไม้ กะลามะพร้าว
กำลังฌาปนกิจเมล็ดมะม่วง
ครบแล้วก็ก่อไฟ ตั้งภาชนะ บนไฟใส่เมล็ดมะม่วง ใช้ไม้ยาวๆ คอยคนให้ทั่ว จะมีไฟลุกท่วม เพราะเมล็ดมะม่วงจะมียาง อย่าปล่อยไว้นานจะไหม้ หากว่าเวลาเหมาะสมแล้ว คว่ำภาชนะทื่ใช้คั่ว ลงดินหาทราย หาดินมากลบจนไฟดับ คะเนว่าเย็นดีแล้ว ก็นำมาเคาะๆ เอาเนื้อในมากิน มันอร่อย มือดำปี๋เลยแหละ...
ไฟลุกท่วม
หลังโดนเผา
ขั้นตอนหลังเผา
เนื้อขาวนวล หอมกรุ่น
ตรงข้ามกับเนื้อขาว"มือดำ"
....... นี่คือวิถีชีวิตของเด็กๆบ้านนอกในสมัยอดีตที่มีความผูกพันกับธรรมชาติ..ผูกพันกับชุมชน สร้างความรักความสามัคคีให้เกิดขึ้น..ท่านผู้ใดมีเรื่องราวเกี่ยวของกับกิจกรรมในกระทู้นี่ ขอรบกวนนำมาเล่าสู่กันฟังเพื่อช่วยกันย้อนอดีตความทรงจำดีๆกันนะครับ
ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจากboard.thaidarkside.com
ขอบคุณความทรงจำดีๆ ที่ยังหลงเหลือ
ขอขอบคุณ อ.ชาติ..ผู้ฝึกสอนการวางภาพ