...สวัสดีครับเพื่อนร่วมบ้านเพลงไทยทุกท่าน..วันนี้ขอสานต่อเรื่องราวของนก(สัตว์ปีก)..ที่หากิน ร่วมพุ่มไม้ เรือนยอดเดียวกับ นกขมิ้น มา สัก 2 - 3 ชนิด แต่...ยังไรก็แล้วแต่ ขอเรียนฝากไปถึง ท่านผู้บริหารและคณะกรรมการทุกท่าน หากข้อความและภาพที่จะนำเสนอต่อไปนี้ ทำให้เปลืองเนื้อที่ หรือมีปัญหาอย่างใดก็ยินดีให้ทุกท่าน ลบออกได้เลยเพื่อความเหมาะสมครับ เพราะผมไม่มีเพลงมาแจก ไม่ได้ช่วยเปิดเพลง หรือทำอะไรเพื่อการ"ให้" กับบ้านแต่อย่างใด มีก็แต่ภาพและข้อมูล ต่างๆ เหล่านี้แหละครับที่จะร่วมสร้างสีสรรให้บ้านเรา...
...นกชนิดแรกคือ....
แซงแซวนกแซงแซวสีเทา
นกแซงแซวสีเทา (อังกฤษ: Ashy Drongo) เป็นนกประจำถิ่นและนกอพยพ พบได้ในแถบเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยเป็นนกประจำถิ่นของภาคเหนือ ภาคตะวันตก ส่วนนกอพยพนอกฤดูผสมพันธุ์พบที่ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ลักษณะรูปร่างโดยทั่วไปคล้ายนกแซงแซวหางปลา ขาสั้น ขนที่ลำตัวเป็นสีเทาตั้งแต่เทาอ่อนจนถึงเทาเข้ม สีจะเข้มในช่วงบนของลำตัว หากเป็นนกประจำถิ่นสีจะเข้มกว่านกอพยพ ส่วนนกอพยพจะมีสีขาวข้างหัว ในบางครั้งจะพบว่ามีสีเข้มเช่นเดียวกับนกประจำถิ่น
ถิ่นที่อยู่ พบได้ในเขตป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ ชายป่า ทุ่งโล่ง ป่าทุติยภูมิ ในพื้นที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 2,565 เมตร เช่น ประเทศอัฟกานิสถาน ตอนใต้ของประเทศจีน และประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
....ตัวต่อไปครับ...
แซงแซวหางปลา
นกแซงแซวหางปลา (อังกฤษ: Black Drongo , ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dicrurus macrocercus) เป็นนกจับคอนขนาดเล็กในวงศ์นกแซงแซว พบทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอิหร่าน ไปทางตะวันออกถึงอินเดียและศรีลังกา ทางใต้ไปถึงจีน และอินโดนีเซีย ในประเทศไทยพบได้บ่อยมากทั่วประเทศ จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535[9]
นกแซงแซวหางปลาจัดอยู่ในวงศ์นกแซงแซว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dicrurus macrocercus ชื่อสกุล Dicrurus มาจากภาษากรีก คือ dikroos, dikros หมายถึงแยกเป็นแฉก และ oura แปลว่า หาง ซึ่งรวมความแล้วหมายถึง สกุลของนกที่มีหางเป็นแฉก ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของนกแซงแซว
ชื่อบ่งชนิด macrocercus มาจากภาษากรีก คำว่า marokerkos แปลว่า หางยาว ดังนั้น ชื่อวิทยาศาสตร์ของนกแซงแซวหางปลาจึงหมายถึง นกที่มีหางยาวเป็นแฉก
ลักษณะนกแซงแซวหางปลาตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน ขนาดความยาวลำตัวประมาณ 28 เซนติเมตร ขนทั่วลำตัวมีสีดำเหลือบน้ำเงิน ปลายหางเป็นแฉกคล้ายหางปลาตะเพียน ปากบนขบปากล่าง ปากสีดำ ขาสีดำ เท้าสีดำ ตาแดงที่ม่านตา แต่ตาดำเป็นสีดำ
การกระจายพันธุ์ พบในอิหร่าน อินเดีย จีน ไต้หวัน ชวา อินโดจีน และในประเทศไทยเป็นนกประจำถิ่น พบทั่วไปเกือบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่ชุมพรลงไป ซึ่งจะพบว่าเป็นนกอพยพมาในช่วงฤดูหนาว
พฤติกรรม นกแซงแซวหางปลาเป็นนกแซงแซวชนิดเดียวที่ชอบเกาะอยู่ ตามกิ่งไม้ที่โล่งแจ้ง ตามท้องทุ่งริมทางตามแหล่งน้ำ ไม่ชอบลงมาตามพื้นดิน มักหากินเพียงตัวเดียว หรืออยู่เป็นคู่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ เป็นนกที่ไม่กลัวนกอื่น หากมีนกอื่นมาใกล้จะไล่จิกตี สามารถร้องเลียนเสียงนกชนิดอื่น กินอาหารโดยบินออกจากที่เกาะโฉบจิกแมลงที่กำลังบิน บางครั้งออกหากินฝูงเล็กๆ 3-6 ตัว
นกชนิดนี้ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนเมษายน-สิงหาคม ทำรังอยู่บนต้นไม้สูงด้วยกิ่งไม้เล็ก ๆ ขัดสานเป็นรูปถ้วย มีแอ่งตรงกลางไว้วางไข่รองด้วยขนสัตว์และหญ้าอ่อน วางไข่ครั้งละ 3-4 ฟอง
อีกตัวครับ....
นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่
นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ (อังกฤษ: Greater Racket-tailed Drongo) เป็นนกประจำถิ่นของประเทศในแถบเอเชีย เช่น ประเทศอินเดีย ประเทศศรีลังกา ประเทศบังคลาเทศ ประเทศจีนในตอนใต้ ประเทศอินโดนีเซีย หมู่เกาะนิโคบาร์ หมู่เกาะอันดามัน ประเทศสิงคโปร์ หมู่เกาะเล็กๆใกล้เกาะบอร์เนียว ในประเทศไทยเป็นนกประจำถิ่นที่สามารถพบได้ทั่วไป เช่น อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ในเขตเมือง เช่น สวนผลไม้ในจังหวัดนนทบุรี พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
ลักษณะ นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ เมื่อตัวโตเต็มวัยจะมีความยาวจากปลายปากจนจรดปลายหางประมาณ 62 เซนติเมตร กว่าครึ่งหนึ่งนั้นเป็นความยาวหาง ขนมีสีดำเป็นเงาเหลือบออกสีน้ำเงินตลอดลำตัวในส่วนบน สีของลำตัวด้านล่างเป็นสีดำเป็นเหลือบ มีขนหงอนสั้นๆขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นบริเวณหน้าผาก ปากหนา สันปากด้านบนจะโค้งลง งองุ้มเล็กน้อย เมื่อมีอายุครบหนึ่งปีขึ้นไปจะมีลักษณะเด่นคือขนหางคู่นอกสุดทั้งสองข้างจะยาวและยื่นออกมา ส่วนปลายของขนที่งอกออกมาจะบิดเป็นเกลียว ตัวผู้และตัวเมียจะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน สามารถเลียนเสียงของนกและสัตว์ได้หลายชนิด
นกแซงแซวหางบ่วงเล็ก
นกแซงแซวหางบ่วงเล็ก (อังกฤษ: Lesser Racket-tailed Drongo) เป็นนกที่พบได้ในป่าดงดิบ ที่มีระดับความสูงตั้งแต่ 800 เมตร ขึ้นไป ของเขตเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศบังคลาเทศ ภูฏาน กัมพูชา อินเดีย ลาว มาเลเซีย เนปาล เวียดนาม พม่า ในประเทศไทยพบได้ในภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
ลักษณะ สีขนของนกชนิดนี้มีสีดำเป็นมันบริเวณลำตัว โคนปากด้านบนมีขนปกคลุมเป็นกระจุก ขนลำตัวและหน้าอกส่วนบนสีดำเหลือบน้ำเงินอมเขียว
....นี่คือนกอีกชนิดหนึ่ง...ที่อยู่ร่วมโลกกับเรา และสร้างสีสันให้กับโลก มาร่วมกัน
รักษ์นก และรักษ์โลกขอขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต
ขอขอบคุณ ข้อมูลจากวิกิพีเดีย
ขอขอบคุณ
อ.ชาติ..... ผู้สอนการวางภาพ