...สวัสดีครับ เพื่อนๆชาวบ้านเพลงไทยทุกท่าน วันนี้ไปเก็บยอดผักริมสวน มากินกับน้ำพริกมียอดเสม็ดรวมอยู่ด้วย ก็เลย นึกขึ้นได้ว่า น่าจะนำเรื่องราว ข้อมูล และภาพ มาฝากเพื่อเสริมความรู้กัน ...เชิญ..ติดตามมาอ่าน มาชมกันได้ครับ...
ต้นเสม็ดชุน
เปลือกเสม็ดชุน
ลูกเสม็ดชุน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Syzygium gratum (Wight) S.N. Mitra var. gratum
ชื่อพื้นเมือง ผักเสม็ด, ผักเม็ก (นครราชสีมา); ไคร้เม็ด (เชียงใหม่); เม็ก
(ปราจีนบุรี); เม็ดชุน (นครศรีธรรมราช); เสม็ด (สกลนคร, สตูล);
เสม็ดเขา, เสม็ดแดง (ตราด); เสม็ดชุน (ภาคกลาง); ยีมือแล
(มลายู – ภาคใต้)นราธิวาสบางแห่งเรียก ต้นหัวหงอก
ชื่อวงศ์ MYRTACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น เสม็ดชุนเป็นไม้พุ่มต้น ไม่ผลัดใบ เปลือกต้นสีน้ำตาลแดง แตกสะเก็ดแผ่นบางๆ โคนต้นมักเป็นพูพอน
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ใบรูปหอก ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม
ดอก ดอกออกเป็นช่อซี่ร่มเล็กๆ สีเหลืองอ่อน ออกที่ปลายยอด ออกดอกเดือนมีนาคม - เมษายน
ผล ผลกลม สีขาว มีขนาดเล็ก ออกผลเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน
แหล่งที่พบ ป่าดิบแล้ง
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ชอบแสงแดดรำไร ขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด มักพบอยู่ตามริมลำห้วย
ฤดูกาลใช้ประโยชน์
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ใบอ่อน ยอดอ่อนรับประทานเป็นผักสดกับน้ำพริก ลาบ ยำ
รส เปรี้ยว
ประวัติอำเภอหาดใหญ่เป็นชื่อรวมของบ้านหาดใหญ่และ
หมู่บ้านโคกเสม็ดชุน ซึ่งหมู่บ้าน
โคกเสม็ดชุนนี้เดิมเป็นเนินสูงมีผู้อาศัยอยู่เบาบางการคมนาคมไม่สะดวกและมีป่าต้นเสม็ดชุนอยู่มากมาย เมื่อทางราชการได้ตัดทางรถไฟมาถึงหมู่บ้านซึ่งมีประชาชนอพยพมาตั้งหลักแหล่งทำมาหากินอยู่มากขึ้น สมัยนั้นสถานีรถไฟตั้งอยู่ที่สถานีอู่ตะเภา (อยู่ด้านเหนือของสถานีชุมทางหาดใหญ่ ปัจจุบันเป็นเพียงที่หยุดรถไฟ) เนื่องจากสถานีอู่ตะเภาเป็นที่ลุ่มน้ำท่วมบ่อย ทางการรถไฟจึงได้ย้ายสถานีเสียใหม่ไปอยู่ที่สถานีชุมทางหาดใหญ่ในปัจจุบัน เพราะเป็นที่เหมาะสมกว่าและเป็นเนินสูงน้ำท่วมไม่ถึง ประชาชนได้ทยอยติดตามกันไปสร้างบ้านเรือนอยู่บริเวณนั้นเอง ฉะนั้นอาจกล่าวได้ว่ากิจการรถไฟมีผลต่อการขยับขยายและความเจริญก้าวหน้าของอำเภอหาดใหญ่ตลอดมา