...วันนี้ขอนำผลไม้ชายทุ่ง 2 ชนิด ที่ได้ผูกพันกับวิถีชีวิตเด็กบ้านนอก ในอดีต เพื่อได้ระลึกถึงความทรงจำดีๆ ที่นับวันจะสูญหายไปจาก สังคมยุคปัจจุบัน ขอเชิญเพื่อนๆ ที่มีความผูกพันกับไม้ 2 ชนิดนี้มาร่วมเล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ...เชิญล้อมวงเข้ามา....
โคลงเคลง ชื่อสามัญ Malabar melastome (Indian rhododendron) เป็นไม้ดอกล้มลุกประเภทใบเลี้ยงคู่ กิ่งสี่เหลี่ยมมักมีขนปกคลุม ใบเป็นใบเดี่ยวคู่ตรงข้าม เรียงแบบสลับน้อย เส้นใบ 3-9 ออกจากจุดเดียวกันตรงฐานใบ แล้วเบนเข้าหาปลายใบ เส้นใบย่อยเรียงแบบ ขั้นบันได ไม่มีหูใบ ดอก ดอกเป็นช่อ สมบูรณ์เพศ มีสมมาตรตามรัศมี กลีบเลี้ยง 3-6 (ส่วนใหญ่ 5) กลีบดอก 5 เรียงเกยซ้อนกันในดอกอ่อน เกสรเพศผู้(ก้านชูอับละอองเรณู)มีประมาณ 10 เกสรเรียงเป็น 2 วงและมีระยางค์ รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ ผลเมื่อแก่เปลือกจะแห้ง และแตกออก ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก
โคลงเคลง มีชื่อเรียกหลากหลายในแต่ละท้องถิ่น เช่น กะดูดุ (มลายู-ปัตตานี); กาดูโด๊ะ (มลายู-สตูล, ปัตตานี); โคลงเคลงขี้นก, โคลงเคลงขี้หมา (ตราด); ซิซะโพ๊ะ กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี); ตะลาเด๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); เบร์, มะเหร, มังเคร่, มังเร้, สาเร, สำเร (ภาคใต้); มายะ (ชอง-ตราด); อ้า, อ้าหลวง (ภาคเหนือ) และมีสรรพคุณเป็นยาพื้นบ้าน แก้คอพอก แก้อาเจียนเป็นเลือด และถ่ายเป็นเลือด รากใช้เป็นยา แก้ร้อนในกระหายน้ำ
เมื่อสมัยเด็ก ๆ (สมัยเป็นเด็กเลี้ยงวัวเลี้ยงควายตามชายทุ่ง) จำได้ว่า เจ้าลูกเบร๋ คือ ผลไม้อันโอชะอีกชนิดหนึ่งของพวกเรา กินกันเสียจนปากดำ ลิ้นดำ และก็ฟันดำ(ไม่ใช่ “ควันดำ”นะคะ เดี๋ยวจะโดนตำรวจจับข้อหา สร้างมลพิษให้แก่สังคม ฮิฮิ)
โท๊ะ ต้นโท๊ะ เป็นไม้ทางใต้ดังนั้น ศัพท์ภาษากลาง หรือ ภาษาราชการเขาเรียกชื่อต้นไม้ชนิดนี้ จากแหล่งอ้างอิง ก็ได้ข้อมูลมาว่า มีอีกชื่อว่า
ทุ หรือ พรวด และมีชื่อวิทยาศาสตร์ มาจากภาษากรีก โดยชื่อ Rhodon แปลว่า แดง ส่วน myrtos แปลว่า myrtle หรือเมื่อเรียกรวมกันคือ ดอกไม้สีแดงคล้ายดอกกุหลาบ (rose colored flower
แต่พวกเราจะเรียกว่า “ต้นโท๊ะ” มาตลอด
ต้นโท๊ะ เป็นไม้พุ่มเขียวชะอุ่มทั้งปี ความสูงประมาณ 2-3 เมตร และสามารถเติบโตขยายพันธุ์เป็นพืชเชิงเดี่ยวได้
ใบ รูปไข่ปลายมน (elliptic - oval) ยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1.5 - 4 เซนติเมตร หน้าใบเป็นมัน ส่วนหลังใบมีขนละเอียดปกคลุม โดยมีเส้นใบนูนสามเส้น
ดอก สีของดอกโท๊ะเป็นสีชมพูกุหลาบ กลีบดอกชั้นเดียว มีสีชมพูอ่อนถึงแก่ในช่อเดียวกัน ขนาดดอกกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 - 3 เซนติเมตร
ผลอ่อน มีสีเขียวแล้วจะค่อย ๆ สุกกลายเป็นสีแดง จนสุกจัดกลายเป็นสีม่วงอมดำ มีขนาดกว้างประมาณ 1 - 2 เซนติเมตร ลักษณะคล้ายผลบลูเบอรี่ แต่จะค่อนข้างจะแข็ง
ลูกโท๊ะแก่
โท๊ะขึ้นได้ในดินทุกประเภท แต่มักพบโท๊ะแถบป่าชายหาด และสามารถทนความเค็มและเกร็ดน้ำแข็ง (frost) ได้ สามารถทนอุณหภูมิได้ถึง -7 องสาเซลเซียสโท๊ะ ที่สำรวจพบเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อ Phoma sp . อาการของโรคมีลักษณะเป็นแผล กลม รี มีสีม่วงแดง ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ตรงบริเวณกลางแผลจะปรากฏ พิคนีเดีย (pynidia) คือเป็นตุ่มนูนสีดำ
การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากลูกโท๊ะ นอกเหนือจากการทำเป็นไวน์ผลไม้แล้ว ยังจะสามารถแปรรูปเป็นแยมลูกโท๊ะ หรือผลไม้กวนลูกโท๊ะ
ไม้โท๊ะนั้นมีการใช้ประโยชน์เป็นไม้ฟืน ไม้โท๊ะค่อนข้างแข็ง ชาวบ้านมักใช้เป็นไม้ขัดแตะ เป็นคอกสัตว์เล็ก แต่ทีผูกพันกับตัวลุงชัยเอง สมัยเป็นเด็กวัด ยามเมื่อถึงเทศกาลเดือนสิบ มีการชิงเปรต ก็จะมีข้าวต้มใบกระพ้อ มากมายพวกเราก็ต้องเข้าป่าใกล้ๆวัดเพื่อไปตัดไม้โท๊ะ มาไว้เตรียมเสียบข้าวต้มเอาไว้ย่าง เก็บไว้กินได้นาน..และในบางพื้นที่มีการปลูกโท๊ะเพื่อเป็นไม้ประดับในสวน ส่วนในฮาวาย มีการทำมาลัย (lei) โดยใช้ดอกโท๊ะมาประกอบ
....นี่คือผลไม้ชายทุ่ง ที่เด็กยุคก่อนได้พึ่งพายาม หิวโหย และกระหาย เป็นไม้ไร้ค่าในสมัยก่อน แต่ยุคปัจจุบัน กลายเป็นไม้ประดับ ที่หายากและราคาแพงแต่..ยังพอหาได้ในชายทุ่งแถวบ้านนอก...
ขอบคุณภาพจาก Internet
ขอขอบคุํณข้อมูลจากhttp://natres.psu.ac.th/ProjectSite/webpage/1tou-detail.htm
ขอขอบคุณ อ.ชาติ ผู้ฝึกสอนการวางภาพ