กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก.

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
การค้นหาขั้นสูง  

ข่าว:

ผู้เขียน หัวข้อ: นก....ในสวน ๑  (อ่าน 3413 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ลุงชัยนรา

  • ความเปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร์
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3715
  • กระทู้: 910
  • Thank You
  • -Given: 3245
  • -Receive: 3715
  • ชีวิตนี้ยอมพลี เพื่อแผ่นดิน
นก....ในสวน ๑
« เมื่อ: มิถุนายน 16, 2013, 10:28:16 PM »
...สวัสดีครับ เพื่อนบ้านเพลงไทย ที่รักทุกๆท่าน นราธิวาสช่วงนี้ ฝนตกลงมาประปราย...ในสวนผมก็เลยเป็นแหล่งพักพิงหลบฝนของนกพื้นบ้านหลายชนิดที่หากิน ร่วมกันมาช้านาน สร้างสีสัน มีชีวิตชีวา ให้ธรรมชาติ ....วันนี้ก็เลยขอใช้พื้นที่ ตรงนี้ และขอเวลาของเพื่อนๆ นำภาพนก ทั้งที่ถ่ายเอง และนำมาจากอินเตอร์เน็ต พร้อม ข้อมูล จากแหล่งต่างๆ มาฝากเพื่อความบันเทิงและเพิ่มสาระ เพิ่มจิคสำนึกในการ...รักษ์นก รักษ์โลก

1.ชนิดแรก  นกที่มักจะพบเห็นกันทั่วๆไปในเรือกสวนไร่นา และ บ้านเรือนพวกเรา นั่นคือนกกระจอก


      นกกระจอกบ้าน (อังกฤษ: Eurasian Tree Sparrow) เป็นนกเกาะคอนในวงศ์นกกระจอก มีสีน้ำตาลเข้มที่กระหม่อนและหลังคอ แก้มสีขาวมีจุดดำบนแก้มแต่ละข้าง นกกระจอกทั้งสองเพศมีชุดขนคล้ายกัน นกวัยอ่อนมีสีขนจืดกว่านกที่โตเต็มที่ นกชนิดนี้มีการกระจายพันธุ์เกือบทั้งทวีปยูเรเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Tree Sparrow (นกกระจอกต้นไม้) และมันถูกนำไปสู่ที่อื่นๆ รวมถึง สหรัฐอเมริกา ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Eurasian Tree Sparrow (นกกระจอกต้นไม้ยูเรเชีย) หรือ German Sparrow (นกกระจอกเยอรมัน) ต่างไปจากนกพื้นเมือง นกกระจอกต้นไม้อเมริกา (American Tree Sparrow) แม้ว่าจะมีหลายชนิดย่อยที่ได้รับการยอมรับ แต่ลักษณะที่ปรากฏของนกแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยตลอดแนวการกระจายพันธุ์ที่ กว้างขวาง

      นกกระจอกบ้านทำรังไม่เป็นระเบียบในโพรงธรรมชาติ รูในอาคาร หรือรังขนาดใหญ่ของนกสาลิกาปากดำหรือนกกระสาขาว นกจะวางไข่คราวหนึ่งห้าถึงหกฟอง ไข่จะฟักเป็นตัวภายในสองอาทิตย์ นกกินเมล็ดพืชเป็นอาหารหลัก แต่บางครั้งจะกินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเป็นอาหาร โดยเฉพาะช่วงฤดูผสมพันธุ์ นกกระจอกบ้านเหมือนกับนกขนาดเล็กทั่วไปซึ่งอาจเสียชีวิตจากการติดเชื้อจาก ปรสิต โรคภัยไข้เจ็บ และถูกล่าโดยนกล่าเหยื่อ ทำให้โดยทั่วไปมีช่วงชีวิตประมาณสองปี

2.นกเอี้ยง

นกเอี้ยงสาริกา

     นกเอี้ยง หรือ นกเอี้ยงสาริกา หรือ นกเอี้ยงสาลิกา (อังกฤษ: Common myna, Indian myna, Mynah; ชื่อวิทยาศาสตร์: Acridotheres tristis) เป็นนกในวงศ์นกเอี้ยงและนกกิ้งโครง (Sturnidae)  เป็นนกที่พบเห็นได้ง่ายในเขตเมืองหรือชุมชนของมนุษย์ มีความยาวประมาณ 25-26 เซนติเมตร ขาเรียวเล็ก นิ้วตีนแข็งแรง หัวและคอสีดำ ปากและหนังรอบตาสีเหลือง ลำตัวสีน้ำตาล ขอบปีกและปลายหางสีขาว หน้าอก, ท้อง และก้นสีน้ำตาลอ่อน ตัวผู้และตัวเมียคล้ายคลึงกัน หากินอยู่ตามพื้นดินปะปนกับนกชนิดอื่น ๆ มักเดินสลับวิ่งกระโดด มีความปราดเปรียว ชอบจิกตีต่อสู้กันเองหรือทะเลาะวิวาทกับนกชนิดอื่น ๆ
      กินแมลงและเมล็ดพืชต่าง ๆ รวมทั้งผลไม้เป็นอาหาร อาศัยอยู่ตามชายทุ่ง พื้นที่ทำการเกษตรใกล้หมู่บ้าน อาจอยู่เป็นคู่หรือรวมฝูง ชอบลงมาหากินอยู่ตามพื้นดิน ขณะหาอาหารมักส่งเสียงร้องไปด้วย มีฤดูผสมพันธุ์ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ทำรังตามชายคาบ้านเรือนหรือตามต้นไม้ด้วยกิ่งไม้ หรือใบหญ้าแห้ง วางไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง ผลัดกันกกไข่ทั้งตัวผู้และตัวเมีย ประมาณ 14 วัน ไข่จึงฟักเป็นตัว พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทวีปเอเชีย ตั้งแต่ อินเดีย, อัฟกานิสถาน, พม่า และภูมิภาคอินโดจีน ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค และปัจจุบันได้ถูกนำเข้าไปในบางพื้นที่ที่ไม่ใช่ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมด้วยเป็นนกอีกชนิดหนึ่ง ที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง ในประเทศไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า

นกเอี้ยงหงอน

    นกเอี้ยงหงอน(White - vented Myna)
ชื่อทางวิทยาศาสตร:Acridotheres grandis
วงศ์:Sturnidae
นกเอี้ยงดาหรือนกเอี้ยงหงอน ซึ่งนิยมเรียกโดยทั่วไปว่า"นกเอี้ยงเลี้ยงควายเป็นนกที่มีความน่ารัก เนื่องจากมีขนหงอนอยู่บนหัว เป็นนกเอี้ยงที่พบได้บ่อยมากพอๆกับนกเอี้ยงสาริกาขณะที่นกเอี้ยงสาริกาเป็นนกที่หาดูได้ง่ายมากๆในทุกภาคของประเทศไทย
ลักษณะทั่วไป
สีของขนปลายสุดของหางจะมีสีขาว และที่ส่วนปีกก็จะมีแถบสีขาวเช่นเดียวกันลักษณะเด่นชัดที่สำคัญของนกเอี้ยงพันธุ์นี้ก็คือ ขนหงอนสีดำซึ่งตั้งชูขึ้นบริเวณหน้าผาก ส่วนบริเวณ
ของปากและขาจะเป็นสีเหลืองขนาดของล าตัวเมื่อวัดจากจะงอยปากถึงปลายหางมีความยาว
ประมาณ๑๕–๑๘เซนติเมตรนกเอี้ยงหงอนมีจุดเด่นคือมีขนคลุมล าตัวสีด าสนิทและมีขนหงอนยาวบริเวณหน้าผากโดยขนหงอนหงอนที่หน้าฝากเป็นขนตั้งฟูๆและสีตัวเป็นพื้นสีดำ มีปากแหลมยาวพอประมาณสีเหลืองถึงส้มสดเช่นเดียวกับขาและเท้าซึ่งยาวแข็งแรงเล็บเท้าสีดำมีแถบสีขาวที่โคนขนปลายปีกท าให้ดูเป็นแถบสีขาวตัดกับสีดำสะดุดตาขนคลุมโคนหางและขนปลายหางก็มีสีขาว ส่วนความยาวของขาเมื่อวัดจากโคนขาถึงปลายนิ้วเท้าจะมีความยาวประมาณ ๕–๘เซนติเมตร
ตัวผู้และตัวเมียคล้ายคลึงกัน

ถิ่นอาศัยและอาหาร
มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศปากีสถาน จีน ชวา พม่า อินโดนีเซีย และไทยซึ่งในประเทศไทยสามารถพบว่ามีนกเอี้ยงพันธุ์นี้อาศัยอยู่ทุกภาค กระจายพันธุ์อย่างแพร่หลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สำหรับในเวียดนามเป็นนกที่หายากและเป็นนกที่ถูกนำเข้าไปในสิงคโปร์และหลุดจากกรงไปอยู่ในธรรมชาติ ไม่ใช่นกดั้งเดิม ชอบอาศัยและหากินอยู่ตามที่โล่ง บริเวณชายบึงหรือบริเวณใกล้ ๆ หมู่บ้าน ซึ่งมีอยู่ใกล้เคียงและสามารถพบเห็นได้ตามท้องนาและในเมือง บริเวณที่ราบจนถึงความสูง
๑,๕๒๕เมตรจากระดับน้ าทะเล แต่ส่วนใหญ่จะพบในที่ราบอาหารของนกชนิดนี้มีหลากหลายมาก
ตั้งแต่แมลง ไส้เดือน เมล็ดข้าว น้ าหวานจากดอกไม้ และผลไม้สุกโดยจะพบเค้าเดินๆวิ่งๆหาไส้เดือน แมลง หรือเมล็ดพืชกินบนพื้น เกาะหลังควายกินแมลงกินผลไม้สุกคาต้นอย่างเช่นต้นมะละกอและกินแมลงและน้ าหวานอยู่บนต้นไม้ที่ออกดอกสะพรั่ง

3. นกเอี้ยงถ้ำ


    ลักษณะทั่วไป
     ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน ขนตามลำตัวมีสีน้ำเงินเข้มเป็นมันเงา บนหัวและหน้าอกแต้มด้วยลายสีฟ้าเล็กๆ นกเอี้ยงถ้ำมีสองชนิดย่อยคือ ชนิดปากสีดำและปากสีเหลือง
      ถิ่นอาศัย, อาหาร
     มีถิ่นอาศัยอยู่ในทวีปเอเซียแถบประเทศอินเดีย จีน อินโดนีเซีย พม่า เวียดนาม ลาว กัมพูชาและในประเทศไทยพบอยู่ทุกภาค ยกเว้นภาคกลาง นกเอี้ยงถ้ำกิน หนอน แมลงในน้ำ หอย และพืชบางชนิด

พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
     ชอบหากินตามป่าดงดิบชื้นใกล้ลำธารตามภูเขาสูง ส่วนมากจะอยู่ตามพื้นดินหรือเกาะบนกิ่งไม้เตี้ยๆ
     นกเอี้ยงถ้ำเริ่มผสมพันธุ์ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-สิงหาคม ทำรังด้วยรากไม้และใบหญ้า นำมาประกอบกับดินเหนียวตามซอกหินขนาดใหญ่ วางไข่ ครั้งละ 3-4 ฟอง ทั้งตัวผู้และตัวเมียต่างช่วยกันกกไข่ และเลี้ยงลูก
สถานภาพปัจจุบัน
     เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535


5. นกเขา
นกเขาเล็ก (นกเขาชวา)

     นกเขาชวา หรือ นกเขาเล็ก หรือ นกเขาแขก (อังกฤษ: Zebra dove; ชื่อวิทยาศาสตร์: Geopelia striata-เป็นภาษาละติน แปลว่า "รอยไถ" หรือ"ลาย" มีความหมายว่า "นกเขาที่มีลาย" เป็นนกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกพิราบและนกเขา (Columbridae)มีรูปร่างเหมือนกับนกชนิดอื่น ๆ ในวงศ์เดียวกันนี้ทั่วไป มีขนปกคลุมตัวสีน้ำตาลหัวสีเทา หรือมีสีที่หัวเป็นสีน้ำเงิน ด้านข้างคอมีแถบสีดำสลับกับแถบขาวเป็นลายตามขวาง ด้านหลังสีเข้มมีขีดขวาง คล้ายกับลายของม้าลายในต่างประเทศ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญในภาษาอังกฤษ ด้านท้องสีจาง ใต้ลำตัวเป็นสีขาวมีขีดขวางเล็ก ขอบท้ายของขนหางสีขาว ขนาดเมื่อโตเต็มที่ไม่เกิน 8-9 นิ้ว
     มีพฤติกรรมชอบอาศัยอยู่ตามป่าโปร่ง, ป่าละเมาะ, ชายทุ่งและบริเวณที่ทำการเพาะปลูก ชอบอยู่กันเป็นคู่หรือลำพังเพียงตัวเดียว แต่ไม่ชอบหากินอยู่เป็นฝูงใหญ่ มักร้องบ่อย ๆ ในเวลาเช้าและเวลาเย็น มีถิ่นกระจายพันธุ์ในภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย จนถึงมาเลเซีย, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์   นกตัวผู้จะมีลักษณะทั่วไปใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย หัวใหญ่ค่อนข้างยาว มีสีขาวที่หน้าผากสีขาวมากยาวถึงกลางหัว ขณะที่ตัวเมียหัวกลมเล็กและสีขาวที่ส่วนหัวจะไม่ยาวเท่า และมีรายละเอียดต่างกันเล็กน้อย เช่น หางที่ตัวเมียจะยกแอ่นกว่าตัวผู้ และเกล็ดที่ข้อเท้าจะละเอียดเล็กกว่าตัวผู้    นกเขาชวา เป็นนกที่ไม่เกรงกลัวมนุษย์ ซ้ำยังมีเสียงร้องที่ไพเราะ จึงเป็นที่นิยมอย่างยิ่งในการเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสำหรับฟังเสียง จนกลายเป็นวัฒนธรรมในคาบสมุทรมลายู โดยเชื่อว่ามีมาจากเกาะชวามีการจัดแข่งขันประกวด การเพาะขยายพันธุ์ ก่อตั้งเป็นชมรมหรือสมาคมต่าง ๆ ซึ่งในตัวที่มีเสียงร้องไพเราะอาจมีราคาสูงถึงหลักล้านบาท ตลอดจนแตกแขนงกลายเป็นอาชีพอื่น ๆ ต่อด้วย เช่น ประดิษฐ์กรงนกขาย
     นกเขาชวา ในปัจจุบันกลายเป็นนกประถิ่นในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย จากการที่ถูกนำเข้ามาในฐานสัตว์เลี้ยง และไม่จัดว่าเป็นสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองแต่ประการใด
- นกเขาใหญ่
     

    นกเขาใหญ่ หรือ นกเขาหลวง (อังกฤษ: Spotted dove, Spotted turtle dove) เป็นนกชนิดหนึ่งในวงศ์นกพิราบและนกเขา (Columbidae) มีถิ่นอาศัยในเอเชียทางใต้จากประเทศปากีสถาน อินเดีย และ ศรีลังกา ทางตะวันออกถึงตอนใต้ของประเทศจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
 เป็นนกชนิดที่พบบ่อยและแพร่หลายในป่าเปิด พื้นที่การเกษตร และในเมือง ถูกนำเข้าสู่รัฐฮาวายและตอนใต้ของรัฐแคลิฟอร์เนีย นอกจากประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว ยังมีการนำนกเข้าสู่ประเทศสิงคโปร์, ประเทศฟิลิปปินส์, ทางเหนือของประเทศอินโดนีเซีย, ประเทศออสเตรเลีย และ ประเทศนิวซีแลนด์ ในประเทศออสเตรเลียนกถูกนำเข้ามาที่เมลเบิร์นในคริสต์ทศวรรษที่ 1860 และมีการกระจายพันธุ์แทนที่นกเขาพื้นเมือง
    นกเขาใหญ่กินเมล็ดธัญพืชเป็นอาหาร ชอบอาศัยอยู่ตามทุ่งนา ป่าโปร่ง แหล่งที่มีการเพาะปลูกพืชไร่ มักอยู่เป็นคู่และขันคูในตอนเช้าเย็น มักลงมาหากินตามพื้นดิน เวลาขันจะมีเสียงไพเราะ จึงนิยมนำนกเขาชนิดนี้มาเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ทำรังอยู่บนต้นไม้ใหญ่ โดยใช้กิ่งไม้ขัดสานกันทำให้เป็นแอ่งเพื่อวางไข่ ปกติจะวางไข่ครั้งละ 2-3 ฟอง
..........คิดว่าพอเหมาะสมกับ กับเนื้อที่แล้วนะครับ แล้วจะมาสานต่อข้อมูลกันอีก ขอบคุณที่เข้ามาอ่าน ไว้เจอกันใหม่ครับ...............................................................................
ขอขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต หลากหลายเวป และภาพส่วนตัว(บางส่วน)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย
ขอขอบคุณ อ. ชาติ ผู้สาบสูญ..ผู้สอนการวางภาพ


ดาวเรือง

  • กรรมการบ้านเพลงไทย
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 1932
  • กระทู้: 454
  • Thank You
  • -Given: 3088
  • -Receive: 1932
  • เพลงคือชีวิต
Re: นก....ในสวน ๑
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 17, 2013, 03:24:10 AM »
อ่านเพลินดีครับ...

คิดถึงครูลือเหมือนกัน ครูลือหายไปไหน...?


บันทึกการเข้า

สมภพ

  • เก็บคนที่ไม่หวังดีไว้ใกล้ๆ จะได้ตบกบาลมันได้สะดวก
  • ผู้ดูแลระบบ
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 22144
  • กระทู้: 5088
  • Thank You
  • -Given: 13577
  • -Receive: 22144
Re: นก....ในสวน ๑
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 18, 2013, 04:57:31 PM »
     
     ถูกอกถูกใจกับนกเอี้ยงถ้ำเป็นอย่างมาก สวยครับ  :90 :90

     ส่วนเจ้านกเขาเล็กแถวบ้านผมเยอะ มีอยู่สามตัวที่เดินเข้าเดินออกในบ้านผมแบบไม่ต้องเชื้อเชิญ เที่ยวหากินเศษอาหารตามใต้โต๊ะ ถึงขนาดที่ผมเดินเก็บจานยังต้องระวัง กลัวจะเหยียบมันเข้า จำได้คลับคล้ายคลับคลาว่าท่านมหาน่าจะเคยถ่ายรูปมันไว้ด้วย ไม่รู้ว่าภาพนั้นยังอยู่หรือเปล่า แต่ที่ลืมไม่ได้ก็ต้องขอบคุณลุงชัยที่สรรหากระทู้ดีๆ มาฝากครับ


บันทึกการเข้า
รับไม่ได้กับเพลงไทยสไตล์ฝรั่ง จนต้องมาวิ่งหาต้นฉบับไว้ฟังอยู่นี่ไง

ลุงชัยนรา

  • ความเปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร์
  • ชาวบ้านกิตติมศักดิ์
  • คะแนนอนุรักษ์เพลง 3715
  • กระทู้: 910
  • Thank You
  • -Given: 3245
  • -Receive: 3715
  • ชีวิตนี้ยอมพลี เพื่อแผ่นดิน
Re: นก....ในสวน ๑
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มิถุนายน 18, 2013, 10:16:19 PM »
ขอบคุณท่านสมภพ... คำชมคือกำลังใจครับ..ผมจะพยายามหาสิ่งดีๆ มีสาระ มาฝากบ่อยๆ ครับ..


บันทึกการเข้า