บ้านเพลงไทย ความภูมิใจของคนไทยรักษ์เพลง

สโมสรบ้านเพลงไทย => ห้องสันทนาการ => ข้อความที่เริ่มโดย: ลุงชัยนรา ที่ เมษายน 08, 2013, 12:23:06 AM

หัวข้อ: แมงพลัด ตัวชี้วัดระบบนิเวศน์
เริ่มหัวข้อโดย: ลุงชัยนรา ที่ เมษายน 08, 2013, 12:23:06 AM
                                          (http://www.siamsouth.com/suratthani/surat/7_4/1.jpg)


แมงพลับ หรือแมงพลัด  หรือแมงหวัง เป็นภาษาถิ่น ที่ใช้เรียกชื่อแมลงชนิดหนึ่ง เป็นแมงด้วงอยู่ในตระกูล Curculionidae,weevil  ซึ่งมีขา ๖ ขา แต่ชาวบ้านทั่วไปอาจจะเรียกสั้นๆว่า "แมง" (จริงๆแล้วแมงต้องมี ๘ ขา) ตัวขนาดเท่าแมลงกว่าง ลำตัวกลมรี ปีกชั้นนอกแข็งมีหลายสี สีเทา สีขาว ชาวบ้านเรียกแมงพลับชี ปีกสีน้ำตาลเรียก แมงพลับโหนด จนถึงสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ มีจุดสีขาวขึ้นที่ปลายปีกตัวใหญ่กว่าหัวแม่มือเล็กน้อย หัวเล็ก ตรงหัวมีตา ๒ ตา มีหนวด ๒ เส้น แต่ไม่ยาวมากนัก ต่อจากหัวเป็นหน้าอกและลำตัว มีก้นแหลม ปีกนอกแข็ง ปีกในค่อนข้างอ่อน ตัวคล้ายแมงดานา แต่แมงดานาตัวแบน ส่วนแมงพลัดตัวรีกลมอ้วน

 วงจรชีวิตของแมงพลับ ตัวอ่อนที่ออกจากไข่อาศัยอยู่ใต้ผิวดิน ชาวเรียกว่า "ด้วง" หรือ "หนอนทราย" จนตัวแก่มีปีกจะขึ้นจากดินมาหากินยอดใบไม้อ่อน เช่น ยอดเนียง ยอดหัวครก(มะม่วงหิมพานต์) ยอดมะขาม ยอดมันปู ยอดกำชำ(มะหวด) ซึ่งเป็นยอดไม้ที่แมงพลับชอบ จะกินยอดไม้อยู่ประมาณ ๒ สัปดาห์ จนไข่เจริญเติบโตเต็มที่ ตัวผู้จะผสมพันธุ์แล้วตัวเมียจะตายฝังตัวฝังไข่อ่อนไว้ในดิน ไข่ออกเป็นตัวประมาณ ๒ สัปดาห์ มีรูปลักษณะเป็นตัวหนอนด้วง ลำตัวนิ่มเป็นปล้อง อาศัยอยู่ใต้ดิน กินเศษอินทรีย์ทรากจนแก่ตัวสร้างปีก พอฝนตกดินชื้นก็จะขึ้นจากดิน จะตรงกับช่วงหลังฤดูฝนใบไม้ผลิใบพอดี แมงพลับกัดกินยอดไม้ เช่นยอดมะม่วงหิมพานต์ ยอดมันปู ยอดสะตอ เป็นต้น

                                           (http://image.ohozaa.com/i/a14/img_1503_resize.jpg)
หนอนทราย" ที่ถูกไข่ทิ้งไว้ให้เจริญเติบโตใต้ดิน รอวันติดปีกออกหากินหลังฤดูฝน

 แหล่งที่พบ

  แมงพลัด  ชอบอาศัยอยู่ตามต้นไม้ เช่น ต้นมะขาม ต้นมะม่วงหิมพานต์ ในสวนข้างบ้าน ต้นเนียง ต้นมันปู ในสวน..ในควน..ในเขา..ต้นสนแถบริมทะเล สามารถจับได้ทั้งกลางวันและกลางคืน   กลางวันใช้วิธีขึ้นไป เขย่า หรือขย่ม กิ่งไม้(ภาษาใต้เรียกว่า "หม"แมงพลับ) ถ้าเป็นกลางคืน ใช้ไฟล่อ ให้แมงพลัดมาเล่นไฟ   แล้วตกลงพื้นก็เก็บได้ง่าย   หรืออาจจะเขย่าต้นไม้ที่ใกล้แสงไฟให้ตกลงมา แล้วจึงเก็บไปทำอาหารต่อไป ปัจจุบันชาวบ้านทันสมัยขึ้น ที่ทุกปีราวๆเดือนมีนา-เมษายน ชาวบ้านจะนำหลอดไฟฟ้าอุลตร้าที่มีแสงสีม่วง หรือชาวบ้านเรียก "หลอดไฟแมงดา" พร้อมแบตเตอร์รี่รถยนต์ขึ้นไปจองพื้นที่เพื่อเปิดไฟสีม่วงล่อแมงดาประมาณ ๒๐-๓๐ จุด/คืน  แต่ละจุดแต่ละเจ้าสามารถเก็บแมงพลับได้คืนละ ๘,๐๐๐-๑๐,๐๐๐ ตัว วันรุ่งขึ้นมาล่อไฟจับกันใหม่เป็นเช่นนี้อยู่ประมาณ ๑ เดือนกว่าๆจึงหมดฤดูกาลจับแมงพลับของชาวบ้าน

                                           (http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/703/932/large_DSCF0894.JPG?1300939105)
ชาวบ้านพร้อมอุปกรณ์ จับจองพื้นที่รอเวลาเปิดไฟดักล่อแมงพลับ

  ที่นราธิวาสแต่ละปีชาวบ้านจับแมงพลับขายแบบเป็นล่ำเป็นสันประมาณ ๖ ล้านตัวขายสดตัวเป็นๆที่แม่ค้าในถิ่นรับซื้อตัวละ ๕๐ สตางค์ เพื่อนำไปปรุงโดยการผัดน้ำมันยัดไส้ถั่วขายตัวละ ๒ บาท ลองคำนวณดูว่าที่นี่แต่ละปี แมงพลับทำรายได้ให้กับชาวชุมชนปีละเท่าใด นับเป็นแมลงเศรษฐกิจอย่างหนึ่ง ที่ชาวชุมชนต้องช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศน์ที่เอื้อต่อการเป็นอยู่ของแมงพลับ โดยเฉพาะช่วยกันหันกลับมาใช้วิถีเกษตรอินทรีย์เพื่อพลิกฟื้นคืนชีพให้ผืนดินกันให้มากๆ
                                               
วิธีปรุงเป็นอาหารแบบบ้านบ้าน..โดยทั่วไป แมงพลับสามารถนำไปทำอาหารได้หลายอย่าง เช่น แมงพลัดยัดไส้ โดยเอาแมงพลัดมาลวกน้ำร้อนให้สุก แกะ ปีก ขา หัว และก้นออก ไส้ใช้เนื้อหมูสับละเอียด หัวผักกาดสับละเอียด น้ำปลา น้ำตาล ผัดแล้วนำไปยัดในตัวแมงพลัด นำไปทอด  นอกจากนี้ อาจนำแมงพลัดไปคั่วเกลือ ผัดกะทิ แกงส้ม หากจับได้มาก ๆ ก็สามารถนำไปจำหน่ายได้แมลงพลับเป็นอาหารของคน แมงพลับมีรสชาติ มัน ชาวบ้านจะเก็บมาคั่วหรือทอด นำมารับประทานเป็นกับข้าว หรือกับแกล้มให้โปรตีนสูง
                                        (http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcT-NHQ3ftF60NiLYpneaemJPBanrC0qfwsHg4UEq9GRX9lbIjKn)

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพ จาก http://www.gotoknow.org/posts/432542 (http://www.gotoknow.org/posts/432542)
หัวข้อ: Re: แมงพลัด ตัวชี้วัดระบบนิเวศน์
เริ่มหัวข้อโดย: เผ่าพงษ์ ปัตตานี ที่ เมษายน 09, 2013, 05:39:35 PM
    สมัยเด็กๆ แถวบ้านผมมีแมงอีกชนิดหนึ่ง ลักษณะเหมือนแมงพลับทุกประการ ต่างกันที่ขนาดเล็กกว่า ตัวออกสีน้ำตาลแดงเข้ม ปีกเป็นมัน เราเรียกกันว่า "แมงแร่ง" ชอบมาเกาะกินใบทุเรียนเทศ หรือใบน้อยหน่า เต็มไปหมด  หน้าแล้งจัดๆ เหมือนตอนนี้แหละ โดยเฉพาะตอนหัวค่ำจะบินมาเกาะกันอยู่มากที่สุด  พวกเราชาวแสวงหาของกินทั้งหลายก็ใช้ไฟฉายส่อง แล้วเขย่าลำต้นแรงๆ "แมงแร่ง"เหล่านี้ก็จะร่วงหล่นลงมาเต็มไปหมด ได้ทีเป็นร้อยๆตัว  จากนั้นนำไปคั่วเกลือ อร่อยมากครับ
หัวข้อ: Re: แมงพลัด ตัวชี้วัดระบบนิเวศน์
เริ่มหัวข้อโดย: ลือ ที่ เมษายน 09, 2013, 11:29:14 PM
   1. "แมงแร่ง" ผมเคยเห็น... แต่ไม่เคยกินครับ
   2.  แมงพลับ หรือแมงยาบผัดยัดไส้ถั่วลิสง หรือไส้อื่นๆ...ต้องกินระวังนิด
           เพราะจะเคี้ยวทั้งตัว....เปลือกลำตัว ต้องเคี้ยวให้แหลกจริงๆ
      ไม่งั้นอาจบาด ครูดลำไส้ของเราได้
            ...เวลาจะ "สุขา อยู่หนใด" อะครับ

                      :61 :61 :61